เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 28724 เราควรจะสอนประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่อย่างไรดี
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:54


เราต้องเร่งปลูกฝังค่านิยมกันใหม่ ไม่เฉพาะในประเทศเราเอง แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วย ผมไม่เห็นประโยชน์ของลัทธิชาตินิยมนอกจากว่ามันนำความมั่นคงให้กับชนชั้นปกครองเท่านั้น และเป็นที่มาของสงครามตลอดมาด้วย
ก่อนจะให้เกรด A+ แก่เด็กชายประกอบ   ขอให้ยกตัวอย่างการปลูกฝังค่านิยมแบบใหม่ให้เห็นชัดๆด้วยค่ะ
เอาตัวอย่างประวัติศาสตร์ก่อนก็ได้   จะสอนใหม่ถึงความสัมพันธ์ของไทยกับลาวยังไงดี
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:34

ไอ้หยา  อาจารย์มาถามนักเรียนเหลวไหลแบบนี้ แล้วผมจะตอบได้ยังไงหละครับนี่ วันๆ เอาแต่หลับๆ ตื่นๆ  แต่ลองตอบดูก็ได้ครับ    ลังเล


อย่างแรก  เวลาเราเรียนถึงเพื่อนบ้าน เราถูกสอนให้มองว่าเพื่อนบ้านต่ำกว่าเรา โน่นก็เคยเป็นเมืองขึ้นเรา  นี่ก็ชาติใต้ปกครองเรามาก่อน   เวลาพูดถึงกษัตริย์ที่ไม่ใช่ของไทย เช่นเจ้าอนุวงศ์ หรือกษัตริย์กัมพูชาในอดีต ถ้ากษัตริย์เหล่านี้ไม่ต้องการขึ้นกับไทย ตำราของเราจะเรียกว่าเป็นกบฏ  เป็นผู้ที่หักหลังหรือไม่สำนึกบุญคุณไทย   ถ้าไปเข้ากับเวียดนามเรามองว่าเป็นนกสองหัว  แต่ถ้าเราเหยียบเรือสองแคมบ้าง เรากลับยกว่านี่คือความฉลาดของเรา


สำหรับเพื่อนบ้านที่ทัดเทียมกับเราในอดีต เช่นพม่า เราจะสร้างภาพว่าเป็นศัตรู  กษัตริย์พม่าที่ยกทัพมาตีสยามคือพวกทรราชย์ ผู้บุกรุก บ้าอำนาจ มาเพื่อทำลายล้างเรา    แต่ถ้ากษัตริย์ของเราเป็นนักรบ รุกรานเพื่อนบ้าน เรามองว่านี่คือกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่    เราสอนประวัติศาสตร์แต่ในมุมที่เราเป็นฝ่ายคนดี คนยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ไม่เคยเอามุมนี้ไปมองสิ่งที่เพื่อนบ้านกระทำ หรือถูกกระทำจากชาติเราเลย  ผลคือเราได้ความภาคภูมิใจจากความเหนือกว่า ดีกว่าเพื่อนบ้านเราโดยไม่รู้ตัว ฝังแน่นใน DNA ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น และแสดงอาการหยามเหยียดเพื่อนบ้านเราโดยไม่รู้ตัว เช่นการทำอะไรเชยๆ เราบอกว่าลาวมาก  หรือเขมรนกสองหัว อะไรทำนองนี้


บางเรื่องในอดีต เช่นการมาทำสัญญาของชาติตะวันตก  ตำราเราสอนกลายๆ ว่าเราถูกชาติตะวันตกบังคับให้เปิดประเทศ ทำสนธิสัญญาที่เอาเปรียบ หรือมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  แต่เราไม่เคยสอนว่าขณะนั้นพลเมืองทั่วไปของเราไม่มีสิทธิค้าขายอย่างเสรี   มีแต่ระบบผูกขาด   ระบบภาษีก็ไม่เป็นธรรม  ระบบกฏหมายและการพิจารณาคดีความที่เป็นหลักเป็นการก็ไม่มี   ระบบเกณฑ์แรงงานก็ย่ำแย่  เราสอนแต่ว่าการเข้ามาของต่างชาติเราเสียอะไร นอกจากจะบอกว่าเราแพ้เพราะกองทัพเราอ่อนแอกว่า แต่ไม่เคยบอกว่าตอนนั้นเราบกพร่องตรงไหน ทั้งในแง่สังคม การเมือง การศึกษา ระบบกฏหมายและแนวคิดของผู้คน  


เวลาเราเรียนประวัติศาสตร์ก็เช่นกัน เราถูกสอนให้จำชื่อวีรบุรุษ  วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ แต่ไม่เคยสอนให้วิเคราะห์เจาะลึกว่าเหตุการณ์นั้นๆ ความขัดแย้งโน้นๆ มันเกิดเพราะอะไร แต่ละฝ่ายคิดยังไง  นักเรียนเราเลยต้องท่องจำแต่ชื่อคน หรือวันเวลาเกิดเหตุการณ์ หรือจำนวนเท่านั้น เพื่อใช้ในการสอบ  แต่มองไม่เห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ที่มาที่ไปในเหตุการณ์ต่างๆ


นี่คือข้อบกพร่องหนึ่งของการสอนประวัติศาสตร์แบบบ้านเราในมุมมองของผมครับ ดังนั้น ถ้าจะแก้ไข เราต้องเปลี่ยนวิธีการสอนประวัติศาสตร์ของเราตั้งแต่ชั้นประถมใหม่หมดเลยครับ ถ้าเลิกค่านิยมเก่าๆ ไม่ได้ ก็หมดหวังปลูกค่านิยมใหม่ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 20:56

ต้องหัดร้องเพลงของน้าหงา

ไทย เขมร ลาว ญวน           ชักชวนคบหากันไป
แหลมอินโดจีนและไทย        ใช่อื่นไกลเชื้อสายสัมพันธ์

น้ำโขงไม่เคยคิดแบ่ง            เป็นกำแพงชนชาติชนชั้น
น้ำโขงเมื่อเป็นน้ำจัณฑ์          มาลัยสัมพันธ์จะคล้องคอเธอ


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 ส.ค. 12, 18:00

ใช่เลยครับ คนรุ่นผมได้รับการสอนประวัติศาสตร์มาแบบเล่าเรื่องเป็นยุคๆ เป็นตอนๆ  ไม่มีการตัดต่อใ้ห้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ    ผมมาสนุกเอาในช่วงก่อนจะเกษ๊ยณนี้เพราะได้อ่านมากขึ้น แล้วเอาเรื่องมาผนวกกันเป็นฉากๆ ต่อเนื่องกันเหมือนหนังเรื่อง ผนวกกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของประเทศรอบบ้านเราและของโลก ทำใ้ห้เข้าใจที่มาที่ไปและเหตุผลที่ทำให้เรื่องราวพัฒนาการไปเป็นอย่างนั้น

ไม่ทราบว่าในปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไข แม่น้ำสะโตง เป็นแม่น้ำเมยหรือยัง และใส่วงเล็บคำว่าโอกินาวาหลังคำอาณาจักรริวกิวหรือยัง เปลี่ยนชื่อภูเขาไฟฟูจีจากฟูจียาม่ะเป็นฟูจีซาน(ง)หรือยัง 
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 19:48

รู้สึกคล้ายๆกันกับที่คุณประกอบเขียนในความคิดเห็นที่ 181
การเรียน การสอนประวัติศาสตร์ของชาติเรา และคิดว่าคงมีคนอื่นจำนวนไม่น้อยก็รู้สึกเช่นเดียวกันนี้ เราจะสามารถทำอย่างไรกันได้บ้างเพื่อให้ ประเทศนี้มีการเรียน การสอนที่มีคุณภาพกว่านี้ได้

หรือว่าเรา
-ควรเข้าชื่อกันสักล้านชื่อ แล้วยื่นให้กระทรวงศึกษาธิการทบทวนตัวเอง
-ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายบังคับ
หรือว่า
 รูดซิบปาก แล้วก็ไปสอนกันเองครอบครัวใครครอบครัวมัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 18:59

การเรียน การสอนประวัติศาสตร์ของชาติเรา และคิดว่าคงมีคนอื่นจำนวนไม่น้อยก็รู้สึกเช่นเดียวกันนี้ เราจะสามารถทำอย่างไรกันได้บ้างเพื่อให้ ประเทศนี้มีการเรียน การสอนที่มีคุณภาพกว่านี้ได้

ขอเพิ่มข้อ 4
-  สอนกันในเรือนไทยนี่แหละค่ะ

เห็นด้วยกับคุณประกอบ เรื่องการสอนประวัติศาสตร์ นี้ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ติดใจอยู่
หลายท่านเห็นตรงกัน คุณสุจิต ที่ศิลปวัฒนธรรมก็พูดอยู่เสมอๆ นานมาแล้ว
จนผมอยากจะถามท่านว่า จะให้อ่านหนังสือสักกี่เล่มอะไรบ้าง
จะได้สมใจท่าน

ผมคิดว่า ระบบการการศึกษาของเราอาจจะเพี้ยนไปมากพอสมควรเลยทีเดียว
เรื่องแรก คือ เราสอนให้จำเพื่อจะได้สอบผ่านเกณฑ์ เราหันมาสนุกสนานกับการกาผิดกาถูกหรือเลือกข้อที่ถูกที่สุด เรียกว่าทำให้ง่ายเข้าไว้ทั้งคนสอนและคนเรียน ไม่ต้องเสียเวลาคิดก่อนเขียน ไม่ต้องอ่านก่อนให้คะแนน  เราไม่ได้สอนให้เกิดความเข้าใจว่าทำไมจึงต้องเรียนวิชานั้นๆ แล้วเราก็ขีดวงจำกัดสอนเฉพาะเรื่องภายในของเรา ไม่บอกเหตุผลและสภาพของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมรอบตัว รอบบ้าน และของโลก ที่อาจจะเป็นต้นเหตุของพัฒนาการของประวัติศาสตร์ในช่วงต่างๆ  แล้วก็ไม่ได้บอกว่าเมื่อเข้าใจเรื่องราวที่สอนในวิชานั้นๆแล้ว จะเกิด หรือจะมี หรือจะเป็นประโยชน์อย่างไร  จะยกสุภาษิตที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง มาอธิบายก็ยังได้

เรื่องที่สอง คือ ในระหว่างที่เรียนหรือสอนในวิชานั้นๆ มันก็มีซอยแยกมากมายที่เป็นเกล็ดเล็กเกล็ดน้อย ข้ามวิชากันบ้างนิดๆหน่อยๆ เพื่อไห้คนเรียนได้มีความเพลิดเพลิน ได้รู้อะไรมากขึ้น ไม่เกิดความเบื่อหน่ายเหมือนกับถูกบังคับให้มองเห็นเหมือนม้าเทียมรถม้าของเขลางค์นคร  เช่น มิใช่ใช้แต่คำว่า เลือกที่ตั้งอยู่ที่เมืองนั้นเพราะมีความอุมดมสมบูรณ์ อะไรทำนองนี้ หากไม่สมบูรณ์มันก็คงไม่เป็นที่ตั้งเมืองโดยปรกติอยู่แล้ว จะเล่าต่อไปว่าสมบุรณ์อย่างไร ในเรื่องอะไร เพื่ออะไร อีกสักหน่อยคงจะไม่เสียหายอะไร เช่น เป็นการหนีความอดอยาก หรือเป็นการเลือกชัยภูมิเพื่อการต่อสู้เนื่องจากมีศัตรู หรือเป็นการขยายพื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวของพลเมือง ฯลฯ  แน่นอนครับหลายเรื่องเราก็ไม่รู้ แต่หากเล่าสภาพแวดล้อมเพื่อชวนให้คิดต่อไปก็เกิดประโยชน์แล้ว

เรื่องที่สาม คือ เราวัดความดี ความดัง และความเก่งของสถานศึกษาจากความดังของอาจารย์ที่มีชื่อปรากฏอยู่ตามสื่อ หรือที่มักถูกถามความเห็นต่างๆโดยสื่อ เราไม่ได้วัดกันที่ขนาดของห้องสมุด ขนาดของแลป หรือดูจากปริมาณข้อเขียนทางวิชาการของคณาจารย์ในสังกัดสถาบันการศึกษานั้นๆ ที่เขียนในลักษณะของภาษาชาวบ้านให้คนอ่านทั้งหลายได้เข้าใจง่ายๆ ไม่ต้องแปลคำศัพท์บัญญัติทั้งหลายอีกทีหนึ่ง (ซึ่งก็แทบจะหาไม่ได้ เพราะอาจจะต้องไปรู้ถึงรากเง่าที่เป็นภาษาอังกฤษเสียก่อนจึงจะหาพบคำนั้น)

ประการที่สี่ คือ การเรียนประวัติศาสตร์ให้สนุก คนเรียนจะต้องรู้ที่ตั้งและภูมิศาสตร์ค่อนข้างดีด้วย หรือต้องสอนภูมิศาสตร์ไปด้วยพร้อมๆกัน มิฉะนั้นก็จะนึกไม่ออกว่าอะไรมันอยู่ที่ใหน ห่างกันมากน้อยเพียงใด เช่น ทำไมไทยเราจึงให้ความสำคัญกับเมืองราชบุรี เพราะว่ามีเส้นทางเดิน (ทัพ) ด่านมะขามเตี้ย และด่านบ้องตี้ หรือเปล่า หรือทำไมเมืองกาญจนบุรีจึงสำคัญ เพราะว่าเป็นจุดร่วมของแควใหญ่และแควน้อยหรือเปล่า (ทางเดินทัพ) หรือทำไมต้อง ต.ลาดหญ้า เพราะว่ามีเขาชนไก่เป็น land mark หรือเปล่า หรือ ทำไมต้องอู่ทองและอ่างทอง เพราะว่ามีช่องลัดสำหรับการเดิน (ทัพ) จากแควใหญ่ มาโผล่หรือเปล่า เหล่านี้เป็นต้น
ฯลฯ

ทางออกที่สำคัญ จึงคือ อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า แยกแยะข้อมูลเก็บใว้ในลิ้นชักความจำเป็นเรื่องๆ เช่น อ่านจากหนังสือเที่ยวฝรั่งเศส ก็อาจจะเจอ Rue de Siam ก็จะทำให้เราไปค้นต่อไป ฯลฯ   ถึงจุดๆหนึ่ง (หากมีความสนใจอยู่ในก้นบึ้ง) พอได้อ่านเรื่องที่มันคลิ๊ก มันก็จะเป็นอัตโนมัติที่เรื่องต่างๆมันจะมาผูกกัน เป็นภาพออกมาในสมองนึกคิดของเราเอง

ผมเห็นว่าข้อมูลที่มีอยู่ในกระทู้ต่างๆของเรือนไทย หากพินิจพิจาณาพิเคราะห์ดีๆแล้ว แฝงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยอย่างมากมายเลยทีเดียว

ขออภัยท่านอาจารย์ทั้งหลาย ที่ผมได้ข้ามเส้นเข้าไปไกลโขอยู่ทีเดียวครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 20:52

ตั้งกระทู้ใหม่ แยกจากระทู้เก่าที่ไปกินพื้นที่ AEC ของคุณตั้ง      ต่อจากนี้ก็คือเช็คชื่อนักเรียนจากกระทู้เดิมว่า ในชั้นเรียนใหม่นี้ใครจะโดดเรียนบ้าง
ดิฉันคงร่างหลักสูตรในเรือนไทยไม่ไหว ว่าถ้าจะวางแผนการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่ เราจะสอนกันอย่างไรตั้งแต่มัธยมเป็นต้นไป   แต่จะลองยกตัวอย่างจากเรื่องเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ที่เราเพิ่งพูดกันถึง     เราก็รู้กันว่า ลาวมองเจ้าอนุวงศ์เป็นวีรบุรุษ  แต่ไทยมองเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ    มันสวนทางกันอย่างนี้  เราจะทำให้เส้นทางที่สวนกันมาบรรจบกันได้อย่างไรดี

ความเห็นของดิฉันคือ หลักฐานข้อมูลในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง   ก็อย่าไปบิดเบือนมันด้วยการทำเหมือนมันไม่เคยเกิดขึ้น   หรือไปอ้อมแอ้มเอาใจกันด้วยการลดเครดิตทางฝ่ายเราลงไป  อย่างนั้นไม่ได้ทำให้เกิดผลดีในระยะยาว      แต่เราสามารถสอนให้นักเรียนเข้าใจได้ว่า  ในสมัยโบราณ การรบพุ่งกันระหว่างอาณาจักรที่อยู่ติดกันเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าส่วนไหนของโลก    ฝรั่งเศสก็รบกับอังกฤษกันมานักต่อนักไม่รู้ว่ากี่ร้อยปี   ไทยรบกับพม่าทางตะวันตกยังไม่พอ  เรารบกับทางใต้และทางตะวันออกอีกด้วย    เพราะสมัยนั้นถือว่าใครเข้มแข็งกว่า  ผู้นั้นก็มีความชอบธรรมที่จะอยู่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การรบไม่ใช่การดูถูกเหยียดหยามกันไม่รู้จบ      การที่สองอาณาจักรรบกัน ต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน  ฝ่ายหนึ่งอาจชนะเพราะกำลังพลเหนือกว่า แม่ทัพนายกองมีฝีมือรบดีกว่า  หรือโอกาสและสภาพแวดล้อมเป็นใจให้มากกว่า ฯลฯ  จึงเกิดผลว่ามีฝ่ายหนึ่งชนะและอีกฝ่ายหนึ่งแพ้    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายแพ้จะต้องถูกประณามหยามเหยียดไปอีกไม่รู้ว่ากี่ร้อยปี    ฝ่ายแพ้อาจเป็นวีรบุรุษก็ได้  ถ้านับที่น้ำใจองอาจกล้าหาญ    เหมือนเราเองก็ถือว่าชาวบ้านบางระจันเป็นวีรบุรุษของคนไทย   ไม่ได้ถือว่าพม่าที่ตีค่ายบางระจันแตกเป็นวีรบุรุษ     
ด้วยเหตุนี้  ครูจึงควรสอนนักเรียนให้เข้าใจว่า ในขณะที่เราถือว่าเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ แต่ทางลาวถือว่าเป็นวีรบุรุษเพราะอะไร    ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตัวเองเท่าเทียมกัน   เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็จะเกิดความเห็นใจกันและกัน   ไม่ถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่   ประวัติศาสตร์ก็จะช่วยฝึกนิสัยเด็กให้ใคร่ครวญและคิดกว้างขึ้น   ไม่ใช่ว่ารู้จักประวัติศาสตร์แค่ท่องพ.ศ. กับเหตุการณ์สำคัญๆจนเบื่อเต็มทน
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 21:44

นักเรียนมารายงานตัวแล้วคร๊าบบ คราวนี้จองหน้าชั้นเลย เจ๋ง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 22:06

ใครเข้าชั้นนี้  จะได้รับอภิสิทธิ์ให้ยืนขึ้นพูดค่ะ    ไม่ใช่นั่งฟังเฉยๆ


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 23:01

ขออนุญาตถกด้วยครับ ก่อนจะถามว่าจะสอนประวัติศาสตร์กันอย่างไร คงต้องขอถามกลับก่อนว่า

๑. คุณภาพของนักเรียนเรียนเราพร้อมแค่ไหน ?

๒. นโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างกรณีประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นสอนอย่างหนึ่ง แต่ประเทศที่โดนญี่ปุ่นย่ำยีสอนอีกอย่าง แล้วก็มีปัญหาเรื่องที่เรียน อย่างญี่ปุ่นหรือประเทศที่ได้รับผลกระทบเช่น จีน,เกาหลีใต้ ฯลฯ น่าจะมีคุณภาพการศึกษาที่ดีกว่าเรา แต่ก็ยังมีปัญหาแบบนี้

๓. แต่ละระดับชั้นควรจะรู้แค่ไหน ? และเนื้อหาสอดคล้องกันแค่ไหน ?

ไม่ใช่ว่าตอนเด็ก ๆ เรียนแบบหนึ่ง โตมาเจออีกแบบหนึ่ง เด็กก็คงจะงง ตกลงอย่างไหนถูกกันแน่

และการเรียนประวัติศาสตร์ ไม่พ้นการคิดวิเคราะห์และวิจารณ์ ปัญหาก็คือสังคมไทยจะยอมรับการวิจารณ์บางกรณีได้หรือเปล่า ?

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ก.ย. 12, 07:09

ก่อนจะไปไกลถึงประวัติศาสตร์ต่างประเทศ  ขอเรียนเสนอว่าเราควรให้ความสนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นลำดับแรก
เช่น เชียงใหม่มีประเพณีลอยกระทงปีละ ๒ วันๆ หนึ่งเป็นลอยกระทงเล็ก  อีกวันลอยกระทงใหญ่
คำถามคือทำไมต้องลอยกระทงถึง ๒ วัน  และเริ่มกันมาแต่เมื่อไร?
คำถามต่อไปคือ ตัวเมืองเชียงใหม้แต่ดั้งเดิมทั้งในส่วนกำแพงเมืองและกำแพงดินล้วนเป็นเมืองที่อยู่บนที่ดอน
ไม่ใช่เมืองริมน้ำ  แล้วเหตุไฉนจึงจัดงานลอยกระทงกันเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต
เมื่อตอบคำถามนี้ได้แล้ว  ก็จะนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าเรื่องอื่นๆ  ซึ่งคงจะรวมไปถึงเรื่องพระแก้วมรกตไปเมืองลาว
เมื่มีพื้นฐานการคิดวิเคราะห์ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยเช่นนี้แว  เมื่อนำประสบการณ์ไปคิดวิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์
กับประเทศเพื่อนบ้าง  ผู้ศึกษาย่อมจะปล่อยวางอคติลงได้มาก เพราะมีแนวความคิดพื้นฐานที่กว้างขวางดังที่คุณพี่ นายตั้ง
ได้กล่าวไว้ในความเห็นข้างต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ก.ย. 12, 12:35

รอติดตาม
ตอนนี้ขอถามล่วงหน้า
๑  คุณสายพินไม่ได้บอกว่าท้าวสุรนารีไม่มีตัวจริง     แต่บอกว่าวีรกรรมของย่าโมหรือท้าวสุรนารี เป็นการเสริมแต่ง ขยายขึ้นมาในภายหลัง ในสมัยจอมพลป. เพื่อสนับสนุนลัทธิชาตินิยม  โดยหลวงวิจิตรวาทการ ใช่หรือไม่
๒  หลักฐานที่เกี่ยวกับท้าวสุรนารี ชั้นปฐมภูมิเท่าที่หาเจอกันในประวัติศาสตร์  คือใบบอกที่แจ้งเข้ามาถึงเมืองหลวง ว่าระหว่างการสู้รบระหว่างทัพไทยกับทัพเจ้าอนุวงศ์    ย่าโมยืนอยู่ข้างกองเกวียน  (แปลว่าไม่ได้รบ?)  ใช่หรือไม่
๓  คุณสายพินพูดถึงหลักฐานที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี  ว่าไม่มีจริง หรือค้นไม่พบ หรือเปล่า?  หรือว่าโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจริง   หรือว่าคุณสายพินข้ามประเด็นนี้ไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ก.ย. 12, 13:28

ขออนุญาตถกด้วยครับ ก่อนจะถามว่าจะสอนประวัติศาสตร์กันอย่างไร คงต้องขอถามกลับก่อนว่า

๑. คุณภาพของนักเรียนเรียนเราพร้อมแค่ไหน ?

๒. นโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างกรณีประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นสอนอย่างหนึ่ง แต่ประเทศที่โดนญี่ปุ่นย่ำยีสอนอีกอย่าง แล้วก็มีปัญหาเรื่องที่เรียน อย่างญี่ปุ่นหรือประเทศที่ได้รับผลกระทบเช่น จีน,เกาหลีใต้ ฯลฯ น่าจะมีคุณภาพการศึกษาที่ดีกว่าเรา แต่ก็ยังมีปัญหาแบบนี้

๓. แต่ละระดับชั้นควรจะรู้แค่ไหน ? และเนื้อหาสอดคล้องกันแค่ไหน ?

ไม่ใช่ว่าตอนเด็ก ๆ เรียนแบบหนึ่ง โตมาเจออีกแบบหนึ่ง เด็กก็คงจะงง ตกลงอย่างไหนถูกกันแน่

และการเรียนประวัติศาสตร์ ไม่พ้นการคิดวิเคราะห์และวิจารณ์ ปัญหาก็คือสังคมไทยจะยอมรับการวิจารณ์บางกรณีได้หรือเปล่า ?
หมัดคุณ samun007 หนักและเข้าเป้าทุกข้อ  ขอตอบตามนี้ค่ะ

๑  เด็กพร้อมจะเรียนทุกอย่างที่ครูสอน   ขึ้นกับครูว่าจะถ่ายทอดอย่างไร 
๒  ก่อนเริ่มวางหลักสูตรใดๆก็ตาม ประเด็นแรกคือต้องดูถึงจุดมุ่งหมายของการสอน ว่านโยบายการสอนปวศ. เป็นไปเพื่ออะไร    ต้องชัดเจนพอควร  ไม่ใช่กว้างๆอย่าง..." สอนเพื่อความรู้ความเข้าใจในอดีต.." แบบนี้กำปั้นทุบดินเกินไป
     สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  หรือระหว่างนั้น   เมื่อนโยบายชาตินิยมมาแรง   การสอนปวศ.สมัยนั้นก็เน้นหนักไปทางเทิดทูนวีรกรรมและยกย่องความเป็นใหญ่ของไทยในอดีต    เพื่อปลุกใจให้คนไทยภูมิใจในชาติของตัวเองว่าไทยยิ่งใหญ่ขนาดไหน     แต่เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง  ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นมากมายใน 60 กว่าปีต่อมา    จุดมุ่งหมายเดิมนี้ก็ใช้ไม่ได้แล้ว
    ลองมาสมมุติดูว่า ถ้าเราจะร่างหลักสูตรประวัติศาสตร์ไทยเพื่อรองรับ AEC (หรือ AC  ดิฉันยังจำไม่ได้สักที)   เราก็ต้องสอนใหม่  ลบล้างความคิดเดิมว่าไทยใหญ่กว่าคนอื่นเขา   เขาเป็นศัตรูกับเรา ที่เราต้องปราบให้เหี้ยนเตียน  อันมีแต่จะโดดเดี่ยวไทยออกจากประเทศอื่นๆ   แต่ต้องสอนให้รู้ว่าการแพ้ชนะเป็นเหมือนกีฬา  ต้องรู้จักแพ้รู้จักชนะ     นี่คือตัวอย่างที่ลองเสนอดู
๓  ระดับมัธยมต้น  รู้พื้นฐานทั่วไป   จดจำเรื่องที่ควรจำ   มาถึงมัธยมปลาย รู้จักวิเคราะห์และตั้งคำถาม เพื่อรองรับวิธีเรียนในระดับอุดมศึกษา
    ถ้ามีการวิเคราะห์วิจารณ์เกิดขึ้น  ดิฉันว่าเราฝึกเด็กม.ปลายให้รู้หลักการคิดแบบวิเคราะห์ได้   บอกให้รู้ว่าความคิดต่างๆหลากหลายจากกันได้ แล้วแต่ว่าจะมองมุมไหน  แต่การมองทุกมุมต้องมีหลักฐานรองรับ      โดยมากหลักสูตรเราไปเน้นด้านการจำอย่างเดียวเพื่อสะดวกในการตรวจข้อสอบปรนัย   นักเรียนไม่ค่อยมีโอกาสวิเคราะห์จึงคิดไม่เป็น     
    ที่สำคัญคือ การเรียนประวัติศาสตร์ ต้องฝึกให้รู้จักอ่านละเอียดลออ จนเข้าใจแจ่มแจ้ง   จะได้ตัดปัญหาฟังไม่ได้ศัพท์จับเอามากระเดียด    หรือเชื่อทันทีโดยไม่ตั้งคำถามย้อนกลับไป   จนทำให้เกิดปัญหาตามหลังมาอย่างปัญหาบางเรื่องที่เราพูดกันอยู่ในกระทู้นี้

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ก.ย. 12, 13:41

1. เราถูกสอนให้อยู่ในกรอบแนวคิดเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง และเราเชื่อว่าเมืองหลวงของไทยมี ๓ อาณาจักรใหญ่ ๆ เทา่นั้นคือ สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งในความเป็นจริงยังมีรัฐการปกคอรงที่เติบโตมาก่อนนี้อีกมากมาย และเชื่อมโยงกันด้วยการค้ากับต่างประเทศมากมาย เหล่านี้เราไม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในชั้นเรียนเลย

2. เรากถูกสอนให้มีการแบ่งแยกชัดเจน นั้นเขา นั้นเธอ ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเท่าที่ควรระหว่างกันและกัน ทำให้เกิดการแบ่งแยกและมีอคติเกิดขึ้นในใจ

3. เราละเลยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและชุมชนในบางครั้ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ก.ย. 12, 13:47

สมัยนี้มีนักคิดหักมุมมากมายให้เลือกคิด

1. พระเจดีย์นครปฐมเก่าที่สุดจริงหรือ

2. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ แท้หรือไม่

3. ย่าโมมีจริงไหม

4. เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่ไหน

5. นางนพมาศมีจริงหรือ

6. ฯลฯ

เหล่านี้บางครั้งก็ก่อให้เกิดประเด็นโต้เถียงกันในสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็ช่วยให้คนอีกหลายคน เหลียวมามอง มาฟังประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ซึ่งบางคนไม่สนใจเสียด้วยซ้ำว่าจะมีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร บางครั้งยังไม่รู้จักก็น่าจะมี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง