เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 47695 หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.ย. 12, 17:55

คติพจน์ที่หลวงวิจิตรวาทการ แต่งไว้

"รวมกันเราอยู่  แยกกันเราตาย"

"ความจริงเป็นเหมือนน้ำมัน  ย่อมจะลอยขึ้นข้างบนเสมอ"

"จะต้องคิดการก้าวหน้าไว้เสมอ  ก่อนที่จะหลับควรกำหนดไว้ให้แน่นอนว่า พรุ่งนี้จะทำอะไรอีกบ้าง  ถ้าเขียนไว้ด้วยยิ่งดี  และพอถึงวันรุ่งขึ้น  ก็ต้องทำให้ได้ตามกำหนดนั้นจริงๆ"

"นักการเมืองมีหน้าที่ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ฉะนั้นสินเชื่ออันสำคัญที่สุดในทางบุคคลิกก็คือ หลักประกันที่ว่าจะไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตัว  ไม่มีอะไรที่ประชาชนจะระวังระแวงเท่าเรื่องประโยชน์ส่วนตัว"


   
หลวงวิจิตรวาทการ ผู้ปฏิวัติอาชีพเต้นกินรำกิน

สังคมไทยสมัยโบราณนี่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ  ถึงแม้ทุกผู้คนจะชอบดนตรี  และชอบดูการแสดง   แต่กลับไม่ค่อยจะยกย่องผู้มีอาชีพนี้  เพราะถือว่าเป็นอาชีพชั้นต่ำ ดูได้จากการเรียกขานผู้มีอาชีพนี้ว่าพวก“เต้นกิน รำกิน” และครอบครัวที่มีสถานะทางสังคมสูง ก็ยากนักที่จะยอมรับคนอาชีพนี้ เข้ามาเป็นเขย หรือสะใภ้  เข้าทำนอง “เกลียดตัวกินไข่  เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง” 

ผู้ที่เข้ามามีบทบาทปฏิวัติอาชีพ “เต้นกิน รำกิน”   ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมสมัยนั้นได้ในระดับหนึ่งก็คือ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ  ผู้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรคนแรก  ซึ่งได้ทำการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะศิลปการแสดง  โดยการก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้นมา

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ก.ย. 12, 19:23

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ  ผู้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรคนแรก  ซึ่งได้ทำการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะศิลปการแสดง  โดยการก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้นมา
คำกล่าวข้างต้นน่าจะเกิดความเข้าใจผิดเสียแล้วครับ
โรงเรียนที่สอนนาฏดุริยางคศาสตร์แห่งแรกคือ โรงเรียนทหารกระบี่หลวงหรือโรงเรียนพรานหลวงที่สวนมิสกวัน  ผลผลิตของโรงเรียนนี้มีอาทิ ครูโฉลก  เนตรสูตร  ครูมนตรี  ตราโมท  ครูอาคม  สายาคม  ครูนายรงคภักดี (เจียร  จารุจรณ)  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน ฯลฯ
โรงเรียนนี้ถูกยุบไปเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต  แล้วเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วหลวงวิจิตรวาทการจึงได้คิดรื้อฟื้นโรงเรียนพรานหลวงขึ้นมาใหม่  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ เพื่อให้รับกับว่าตนเป็นผู้คิดก่อนึ่ง  แต่รากเดิมของโรงเรียนนี้ก็คือโรงพรานหลวง  ซึ่ง ดร.ศุภชัย  จันทร์สุวรรณ ศิลปินแห่งชาติได้ทำวิจัยเรื่องนี้ไว้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของท่านแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง