เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 47619 หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


 เมื่อ 01 ก.ย. 12, 20:45

"อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี
แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้
จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย
ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน"

ที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งไว้มีเนื้อมากที่นี้หรือไม่ ช่วงเวลาใดที่แต่ง แล้วยังมีกลอน หรือคำคม อื่นอีหรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 21:17

ไม่ทราบค่ะ      บางทีผู้รู้ท่านอื่นในเรือนไทยอาจจะทราบ
โดยส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับคุณหลวงวิจิตรวาทการในความคิดข้อนี้ ก็เลยไม่ได้ติดตามต่อไปว่าท่านเขียนไว้ที่ไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 21:29

    บางทีคุณหลวงอาจจะเขียนจากประสบการณ์ของท่าน เพราะท่านก็เป็นคนเด่นคนหนึ่งในยุคสมัย    จุดมุ่งหมายของท่าน ไม่ว่าเขียนเตือนตรงๆหรือเขียนประชดประชันใครก็ตาม    ดิฉันก็ไม่อยากให้คนอ่านยึดทัศนะนี้ว่าถูกต้องควรถือเป็นแบบอย่าง  
    จริงๆแล้ว คนที่ควรถูกเตือนคือคนที่ไปอิจฉาคนอื่นว่าเด่นกว่า เพราะความอิจฉาไม่ว่าในโอกาสไหนมันเป็นสิ่งผิดทั้งนั้น     แต่นี่กลับไปเตือนคนที่ทำดีให้เขาระแวงระวังอะไรก็ไม่รู้ ที่ไม่ใช่ความผิดของเขาเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 21:33

คำคมของพล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ

ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมผสมคลื่น
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน
ต้องทนฝืนยิ้มได้ เมื่อภัยมา

บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 22:05

   บางทีคุณหลวงอาจจะเขียนจากประสบการณ์ของท่าน เพราะท่านก็เป็นคนเด่นคนหนึ่งในยุคสมัย    จุดมุ่งหมายของท่าน ไม่ว่าเขียนเตือนตรงๆหรือเขียนประชดประชันใครก็ตาม    ดิฉันก็ไม่อยากให้คนอ่านยึดทัศนะนี้ว่าถูกต้องควรถือเป็นแบบอย่าง  
    จริงๆแล้ว คนที่ควรถูกเตือนคือคนที่ไปอิจฉาคนอื่นว่าเด่นกว่า เพราะความอิจฉาไม่ว่าในโอกาสไหนมันเป็นสิ่งผิดทั้งนั้น     แต่นี่กลับไปเตือนคนที่ทำดีให้เขาระแวงระวังอะไรก็ไม่รู้ ที่ไม่ใช่ความผิดของเขาเลย


LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE
บันทึกการเข้า
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.ย. 12, 22:26

กลอนพูดเป็นนัย ถ้ามีหัวท้ายคงสมบูรณ์ คล้ายกับของที่อื่นเหมือนกันแบบหลิวปัง ฆ่าหานซิ่น จางเหลียงไม่รับตำแหน่ง เซียวเหออยู่แบบคนเฝ้าเสือ

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล

นกสิ้นเกาทัณฑ์ซ่อน กระต่ายตาย ฆ่าสุนัขล่าเนื้อ

卸磨杀驴 Xiè-mò-shā-lǘ ฆ่าลาเมื่องานเสร็จ

ข้ามแม่น้ำแล้ว รื้อสะพาน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 07:27

ในความเห็นของผม ท่านอาจจะหมายถึงตัวท่านเอง?



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 08:23

ก็เป็นได้ค่ะ   แต่คนอ่านไปตีความว่าเป็นสุภาษิตที่ท่านให้คนอื่นๆ  ซึ่งไม่ใช่

กลอนพูดเป็นนัย ถ้ามีหัวท้ายคงสมบูรณ์ คล้ายกับของที่อื่นเหมือนกันแบบหลิวปัง ฆ่าหานซิ่น จางเหลียงไม่รับตำแหน่ง เซียวเหออยู่แบบคนเฝ้าเสือ

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล

นกสิ้นเกาทัณฑ์ซ่อน กระต่ายตาย ฆ่าสุนัขล่าเนื้อ

卸磨杀驴 Xiè-mò-shā-lǘ ฆ่าลาเมื่องานเสร็จ

ข้ามแม่น้ำแล้ว รื้อสะพาน
ทั้งหมดที่คุณ bahamu ยกมาไม่ใช่สุภาษิต แต่เป็นคำพังเพย  คนละอย่างกับกลอนของคุณหลวงวิจิตรวาทการค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 10:48

ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เทาชมพูนะครับ กลอนทั้งบริบทที่ลงบาทสุดท้ายที่ว่า ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกินนั้น ทำให้ด้อยค่าไปเกือบหมด ทั้งที่คนส่วนใหญ่ทีเดียวที่ไม่ได้ขี้อิจฉาตาร้อน เที่ยวหมั่นไส้คนเก่งกว่า ดีกว่า เด่นกว่าตัว ถ้ามี ก็เห็นจะเป็นพวกโรคประสาทรับประทาน เหมือนนังแม่เลี้ยงของนางสโนว์ไวท์ กับพวกนางร้ายในละครทีวีเมืองไทยเท่านั้น ที่คิดว่าตัวเองดีวิเศษไม่มีใครเทียม

ความจริงการทำดีกับทำเด่น ก็มีความหมายต่างกันในตัวเอง คนที่ชอบทำเด่นอาจจะไม่ได้กำลังกระทำดีก็ได้ อย่างนักการเมืองที่ชอบชิงบทกันเวลาออกข่าวทีวีเป็นต้น พวกเขาย่อมไม่อยากเห็นใครมาเด่นเกิน

อ้าว เผลอไปแขวะเค้าเข้าให้แล้ว

แม้ว่าจะพร้อมกันกระทำดีก็เถอะ ดูหนังสงครามประเภททหารกล้าทั้งหลายที่นายสั่งให้วิ่งไชโยโห่ร้องตลุยบุกเข้าไปแนวศัตรูนั่นประไร ไอ้คนที่วิ่งถือธงมักจะถูกยิงล้มก่อนหมู่  ผู้กล้าคนใหม่คว้าธงมาวิ่งต่อ ก็ถูกยิงอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกที่สามารถตลุยไปถึงแนวข้าศึกจนเอาชนะได้นั้น มักจะผลุบๆโผล่ๆ วิ่งมั่งหลบมั่ง ไม่มีบทเด่นหน้าจอ

คือการที่จะชนะการต่อสู้ไม่ใช่การยอมตายอย่างไร้ความคิดนะครับ แม่ทัพใหญ่ของอเมริกาคนหนึ่ง ดูซิผมนึกชื่อไม่ออกเสียแล้ว เขากล่าวกับพี่น้องทหารหาญว่า เรามาที่นี่ ไม่ใช่มุ่งหมายจะมาสละชีพเพื่อชาติ(นะโว้ย) แต่เราจะมาทำให้พวกข้าศึกสละชีวิตเพื่อชาติของมันต่างหาก

สรุปว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัยนั้น คิดตรองให้ดี เอาบาทนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ในหลายกรณีย์ทีเดียวนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 11:17

ท่าน NAVARAT.C มาเปิดประเด็นยาวแล้ว  เห็นจะต่อประเด็นได้อีกยาว

ได้ยินกลอนบทนี้เป็นครั้งแรกเมื่อแม่ท่องให้ฟัง   สมัยลูกสาวยังเป็นเด็กนักเรียนอยู่     ก็ถามแม่ด้วยความสงสัยจริงๆประสาเด็กว่า...ต้องทำความดียังไงถึงจะไม่เด่นล่ะคะ   แม่ก็หัวเราะแล้วตอบว่า..เออ จริงซี
ตอนนั้นงงจริงๆกับกลอนบทนี้  เพราะอยู่ร.ร.  เวลาเพื่อนคนไหนได้ที่ 1 หรือได้รางวัลอะไร ชนะเลิศกลับมา     ก็มีการประกาศให้รู้กันอย่างชื่นชมในโรงเรียน  ครูก็พอใจ  เพื่อนฝูงก็นับถือคนนั้นว่าเก่ง   ก็ไม่เห็นใครรู้สึกขึ้นมาว่า..แหม  เก่งแล้วร.ร.ต้องยกย่องให้เด่นเกินหน้าคนอื่นด้วย  เงียบๆหน่อยไม่ได้รึไง     
ใครคิดยังงั้นก็คงถูกมองว่าบ้า    ก็คนนี้เขาทำอะไรได้มากกว่าคนอื่นเขาถึงเด่น   ไม่เห็นผิดตรงไหน   ทำไมจะต้องแอบๆ เอาไว้ราวกับไปทำอะไรอับอายขายหน้ามา
 
ถ้ายึดถือเคร่งครัดว่า " อย่าเด่นจะเป็นภัย"  คัทเอาท์ตามหน้าโรงเรียนที่ลงรูปและรางวัลของนักเรียนเก่งทำชื่อเสียงให้ร.ร. ต้องถูกปลดลงมาให้หมด    มิฉะนั้นเด็กคนนั้นจะอยู่กับเพื่อนได้ลำบาก เพราะใครๆก็หมั่นไส้     พวกศิษย์เก่าหรือศิษย์ปัจจุบันดีเด่นในสถาบันทั้งหลาย  พวกข้าราชการดีเด่น  นักธุรกิจดีเด่นฯลฯ ได้รางวัลแล้วต้องปกปิดเป็นความลับ ห้ามเผยแพร่ข่าว   คณะกรรมการต้องส่งโล่ไปให้ทางไปรษณีย์ หรือสั่งให้คนเดินหนังสือแอบเอามามอบให้ที่โต๊ะ ห้ามเพื่อนร่วมงานรู้ เดี๋ยวเขาจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ถูกเกลียดชังหมั่นไส้เพราะเด่นเกิน 
เท่ากับส่งเสริมประชากรให้เข้าใจไปในทางเดียวกันทั้งประเทศว่า  ความอิจฉาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด    ไม่ต้องแก้ไข  รักษามันเอาไว้  ส่วนเหยื่อนั้นต้องหาทางปกป้องตัวเองไปตามยะถากรรม  ใครก็ช่วยไม่ได้จริงๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 13:07

กลอนบทนี้ของหลวงวิจิตรฯ ตรงกับสุภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งที่ว่า

出る杭は打たれる。 - でるくいはうたれる อ่านว่า เดะรุ คุอิ วะ อุทะเระรุ แปลว่า ลิ่มที่ยื่นออกมาจะถูกตอก

ช่างไม้ย่อมตอกลิ่มหรือตะปูที่โผล่ออกมา



เป็นคำเปรียบเทียบว่า ผู้ที่มีความสามารถเด่นล้ำหน้ากว่าผู้อื่น ย่อมถูกอิจฉาริษยา หรือถูกกลั่นแกล้ง

หรือใช้เปรียบเทียบกับการกระทำที่ออกนอกหน้า หรือแตกต่างกว่าคนอื่น ย่อมถูกรังเกียจ และถูกลงโทษจากสังคม

สำนวนนี้แสดงถึงขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของชาวญี่ปุ่น คือการผสานความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมที่ให้เกียรติต่อผู้อาวุโส โดยคำนึงถึงประสบการณ์ มากกว่าการให้เกียรติต่อผู้เยาว์ ที่แม้จะมีความสามารถมากเป็นพิเศษก็ตาม

ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นจึงมักเก็บความสามารถหรือความคิดของตนเอง และไม่ทำตนให้โดดเด่นหรือผิดแปลกไปจากสังคม อันถือเป็นมารยาทประการหนึ่ง ในการให้เกียรติฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง

จาก เว็บสอนภาษาญี่ปุ่น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 13:33

มาเพิ่มเติมถึงวัฒนธรรมอื่นบ้าง นอกจากญี่ปุ่น

ภาษาอังกฤษมีคำว่า self-esteem  คำนี้กูเกิ้ลแปลว่า ความนับถือตัวเอง     ความหมายคือรู้จักภูมิใจในตัวเอง ที่เราเกิดมาเป็นเราอย่างนี้   เป็นอย่างนี้ มีอย่างนี้ โดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆว่าเขามีน้อยหรือมีมากกว่าฉัน      ฉันเป็นได้น้อยกว่าเขาหรือมากกว่าเขา  มันเป็นเรื่องป่วยการเปล่าๆ
เมื่อคนเราถูกปลูกฝังให้มี self-esteem ก็จะเห็นคุณค่าของตัวเอง   ค้นพบจนเจอว่าตัวเองมีอะไรดีบ้าง   อย่างน้อยคนเราก็ต้องมีอะไรดีสักอย่างในตัวเอง  ต่อให้เกิดมาจน  ขี้ริ้วขี้เหร่ หรือแม้แต่พิการไม่สมประกอบทางใดทางหนึ่ง  แต่ธรรมชาติก็ไม่ให้มนุษย์เคราะห์ร้ายไปทุกอย่าง      ถึงไม่เจออะไรดีสักอย่างในตัวเอง ก็ยังต้องพบว่า..ฉันก็คือฉัน  เป็นตัวของฉันเองไม่ซ้ำกับคนอื่น  ไม่ใช่ต้นหมากรากไม้หรือสิ่งของที่เหมือนกันจะแยกไม่ออก

การค้นพบบางอย่างในตัวเองทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองขึ้นมา   ความรู้สึกว่ามนุษย์อื่นมีดีกว่า ข่มตัวเองให้ด้อยลงไปเมื่อนึกถึงเขา ก็จะหายไป      ความอิจฉาคนอื่นก็จะไม่เข้ามารุกราน    เพราะคนที่อิจฉาหรือหมั่นไส้คนอื่น คือคนที่ยอมรับโดยอัตโนมัติว่าคนนั้นดีกว่าเรา    ไม่มีใครอิจฉาหรือหมั่นไส้คนที่เราเห็นว่าอ่อนด้อยกว่าเราทุกทาง
ความภูมิใจในตัวเอง จะทำให้มนุษย์คนนั้นรู้จักพัฒนาส่วนดีที่ค้นพบในตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้น     ไม่ได้ต้องการจะเหมือนใคร  ไม่ต้องการเลียนแบบใคร หรือแข่งกับใคร   แต่เป็นไปตามแบบของตัวเองตามใจเลือกนี่แหละดีที่สุดแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 13:43

ส่วนค.ห.นี้  วัฒนธรรมไทย

กลอนบทนี้ของหลวงวิจิตรฯ ตรงกับสุภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งที่ว่า

出る杭は打たれる。 - でるくいはうたれる อ่านว่า เดะรุ คุอิ วะ อุทะเระรุ แปลว่า ลิ่มที่ยื่นออกมาจะถูกตอก

ช่างไม้ย่อมตอกลิ่มหรือตะปูที่โผล่ออกมา
 ยิงฟันยิ้ม


ไทยมีคำพังเพยตรงกันข้ามว่า

โตเพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน  (ระยะหลังใช้คำเปลี่ยนไปจากเดิมว่า แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน  ความจริงผิดค่ะ  ไม่มีใครแก่เพราะกินข้าว มีแต่โตเพราะกินข้าวเยอะ)

โคลงโลกนิติ  พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

                  มีอายุร้อยหนึ่ง                  นานนัก
         ศีลชื่อปัญจางค์จัก                       ไป่รู้
         ขวบเดียวเด็กรู้รัก                         ษานิจ  ศีลนา
        พระตรัสสรรเสริญผู้                       เด็กนั้นเกิดศรี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 14:43

อ้างถึง
เวลาเพื่อนคนไหนได้ที่ 1 หรือได้รางวัลอะไร ชนะเลิศกลับมา ก็มีการประกาศให้รู้กันอย่างชื่นชมในโรงเรียน ครูก็พอใจ เพื่อนฝูงก็นับถือคนนั้นว่าเก่ง ก็ไม่เห็นใครรู้สึกขึ้นมาว่า..แหม เก่งแล้วร.ร.ต้องยกย่องให้เด่นเกินหน้าคนอื่นด้วย เงียบๆหน่อยไม่ได้รึไง
ใครคิดยังงั้นก็คงถูกมองว่าบ้า ก็คนนี้เขาทำอะไรได้มากกว่าคนอื่นเขาถึงเด่น ไม่เห็นผิดตรงไหน ทำไมจะต้องแอบๆ เอาไว้ราวกับไปทำอะไรอับอายขายหน้ามา

อันนี้ตรงกับที่ผมเขียนไว้ตรงนี้

อ้างถึง
กลอนทั้งบริบทที่ลงบาทสุดท้ายที่ว่า ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกินนั้น ทำให้ด้อยค่าไปเกือบหมด ทั้งที่คนส่วนใหญ่ทีเดียวที่ไม่ได้ขี้อิจฉาตาร้อน เที่ยวหมั่นไส้คนเก่งกว่า ดีกว่า เด่นกว่าตัว ถ้ามี ก็เห็นจะเป็นพวกโรคประสาทรับประทาน เหมือนนังแม่เลี้ยงของนางสโนว์ไวท์ กับพวกนางร้ายในละครทีวีเมืองไทยเท่านั้น ที่คิดว่าตัวเองดีวิเศษไม่มีใครเทียม

ส่วนว่า
อ้างถึง
ถ้ายึดถือเคร่งครัดว่า " อย่าเด่นจะเป็นภัย" คัทเอาท์ตามหน้าโรงเรียนที่ลงรูปและรางวัลของนักเรียนเก่งทำชื่อเสียงให้ร.ร. ต้องถูกปลดลงมาให้หมด มิฉะนั้นเด็กคนนั้นจะอยู่กับเพื่อนได้ลำบาก เพราะใครๆก็หมั่นไส้ พวกศิษย์เก่าหรือศิษย์ปัจจุบันดีเด่นในสถาบันทั้งหลาย พวกข้าราชการดีเด่น นักธุรกิจดีเด่นฯลฯ ได้รางวัลแล้วต้องปกปิดเป็นความลับ ห้ามเผยแพร่ข่าว คณะกรรมการต้องส่งโล่ไปให้ทางไปรษณีย์ หรือสั่งให้คนเดินหนังสือแอบเอามามอบให้ที่โต๊ะ ห้ามเพื่อนร่วมงานรู้ เดี๋ยวเขาจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ถูกเกลียดชังหมั่นไส้เพราะเด่นเกิน
เท่ากับส่งเสริมประชากรให้เข้าใจไปในทางเดียวกันทั้งประเทศว่า ความอิจฉาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ต้องแก้ไข รักษามันเอาไว้ ส่วนเหยื่อนั้นต้องหาทางปกป้องตัวเองไปตามยะถากรรม ใครก็ช่วยไม่ได้จริงๆ

อันนี้ผมได้เขียนไว้ว่า

อ้างถึง
ความจริงการทำดีกับทำเด่น ก็มีความหมายต่างกันในตัวเอง คนที่ชอบทำเด่นอาจจะไม่ได้กำลังกระทำดีก็ได้

“จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย”เห็นจะใช้ไม่ได้ในเรื่องการเรียน ตลอดจนการทำงานตามหน้าที่ ซึ่งคิดดีแล้ว ชอบแล้ว และความดีนั้นถูกยกให้เด่นขึ้นโดยผู้อื่นที่อยู่ร่วมสังคม ไม่ใช่ยกหางตนเองให้คนทั้งหลายยกย่อง
แต่หากว่าจะต้องตกเป็นเหยื่อของพวกโรคประสาทประเภทขี้อิจฉาแล้ว ก็เห็นจะต้องยอมละครับ ส่วนจะปกป้องตนเองอย่างไร ก็ว่ากันไปอีกประเด็นหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ก.ย. 12, 16:43

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง