เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 28834 "ราชา" แปลว่าอะไร?
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


 เมื่อ 28 ส.ค. 12, 20:34

ผมกำลังทำรายงานการศึกษาเสนอต่อวุฒิสภา
พยายามหาทั้งใน google และ ใน "เรือนไทย" แล้ว แต่ไม่พบคำตอบที่จะใช้อ้างอิงได้
รบกวนท่านผู้รู้ทุกท่านด้วยครับ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 21:01

จาก พจนานุกรม สันสกฤต-อังกฤษ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 21:03

ต่อไป  ถ้าติดขัดเรื่องศัพท์ อยากทราบคำแปล   เข้าไปที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานนะคะ

http://rirs3.royin.go.th/

หาคำแปลมาให้ค่ะ

ราชา ๑   น. พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์. (ป., ส.).
ราชา ๒   ว. ตรง เช่น แผ่กิ่งก้านราชา. (ป. อุชุ; ส. ฤชุ).
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 21:05

ความหมายดั้งเดิมของคำว่า "ราชา"

คำว่า "ราชา" ท่านพุทธทาสภิกขุเคยเทศฯว่า รากศัพท์ดั้งเดิมจริงๆ นั้นมาจากคำที่แปลว่า พอใจ ท่านบอกว่าในสมัยโบราณสมัยสังคมคนยังไม่วัวัฒนาการ ยังแทบไม่ต่างจากมนุษย์ถ้ำสักเท่าไหร่นั้น (พระพุทธศาสนามีบางพระสูตรที่พูดถึงสังคมบุพกาลแบบนี้ เช่น อัคคัญญสูตร ซึ่งมีคนชอบยกไปเทียบกับทฤษฎีการเมืองของฮอบส์หรือสัญญาประชาคมของรุสโซ) คนเพิ่งจะรู้จักรวมตัวกันเป็นชุมชน มีผู้นำ ผู้นำนั้นบางคนก็ไม่เข้าท่า บางคนก็หลงอำนาจโหดร้าย (ผมพูดถึงผู้นำชุมชนสมัยสังคมโบราณนะครับ ไม่ใช่นักการเมืองเดี๋ยวนี้) แต่บางคนก็มีความสามารถในการปกครองบริหารและบริการชุมชน จนกระทั่งทำให้คนอื่นในสังคมมีความสุข ออกอุทานออกมาได้ว่า พอใจ พอใจ คำอุทานว่า พอใจ พอใจ นั่นแหละ ที่ต่อมากลายเป็นชื่อตำแหน่งของผู้นำสังคม ผู้ปกครองสังคม คือ "ราชา" ราชา คือผู้ที่สามารถทำให้คนใต้ปกครองของพระองค์ พอใจในชีวิต นั่นคือความหมายดั้งเดิมแท้ๆ ของคำว่า "ราชา" อันนี้ตามทีท่านพุทธทาสท่านเทศน์นะครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเล่าไว้ในสูตรนั้น ถึงมูลเหตุของการที่คำว่า "ราชา" คำนี้จะเกิดขึ้นในโลก ในสมัยแรกที่มนุษย์เพิ่งจะมีกันขึ้นในโลก คนอยู่กันอย่างไม่มีการปกครอง คือ อยู่กันอย่างตามธรรมชาติ

ครั้นมีมากคนขึ้น ความเดือดร้อนก็เกิดขึ้น เนื่องจากมีคนประพฤติเกเร เช่น ขโมยข้าวที่คนอื่นทำไว้ เป็นต้น และนับวัน จะมีแต่เรื่องชนิดนี้มากมายขึ้นทุกที ครั้นมาถึงวันหนึ่ง มนุษย์เหล่านั้นเหลือที่จะทนความเดือดร้อนต่อไปไหว ได้หาทางแก้ไข

จนในที่สุดตกลงกัน สมมุติให้มนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างงดงาม น่าเลื่อมใส มีสติปัญญาดี ประพฤติตัวน่านับถือ น่าไว้วางใจ เป็นต้น ให้เป็นหัวหน้าผู้ทำหน้าที่แบ่งปันที่ดิน สั่งสอนลงโทษคนทำผิดกติกา และให้รางวัลคนทำดี ทำถูก เป็นต้น

เมื่อมนุษย์ผู้ได้รับสมมุติคนนี้ ปฏิบัติหน้าที่ของตนมานานนัก ผลก็เกิดขึ้นอย่างตรงข้าม อย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อน คือ อยู่เป็นสุขสงบ ไม่มีใครต้องเดือดร้อนชนิดที่ บาลีท่านมักใช้สำนวนว่า นอนไม่ต้องปิดประตูเรือน หรือทำบ้านไม่ต้องมีประตู มารดาเอาแต่ให้ลูกน้อย ๆ เต้นรำอยู่ที่หน้าอก เพราะไม่มีเรื่องร้อนใจ ดังนี้เป็นต้น

เมื่อมนุษย์เหล่านั้น ซึมซาบในรสของความสงบสุขอันใหม่นี้ มากเข้า ๆ จนถึงวันดีคืนดีวันหนึ่ง คำพูดได้หลุดออกมาเองจากปากของคนเหล่านั้นว่า "ราชา ๆ"

ท่านอย่าหลงผิดว่า คำว่า "ราชา" นี้ เป็นคำพิเศษหรือคำสมมุติแต่งตั้ง สำหรับเราซึ่งไม่ใช่มีภาษาบาลีเป็นภาษาของตน ได้ยึดถือเอาความหมายของคำ ๆ นี้ สูงไปเสียทางหนึ่งแล้ว แต่สำหรับมนุษย์ ซึ่งเป็นเจ้าของภาษานั้น เขารู้สึกในคำ ๆ นี้ อย่างธรรมดา ๆ เหมือนคำ ๆ อื่น ๆ คือ หมายความว่า " ผู้ที่ทำความยินดีพอใจให้เกิดแก่คนอื่น "

คำว่า ราชา นี้ รากหรือธาตุของคำ ก็คือ "รช" ซึ่งแปลว่า กำหนัดหรือยินดีนั่นเอง รากคำ ๆ นี้ สำเร็จรูปเป็นคำอื่นต่าง ๆ กันออกไป เช่นคำว่า ราคะ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความกำหนัดยินดีทางกามารมณ์โดยเฉพาะ แต่นั่นมันยินดีจัดเกินไป

ขอให้ท่านผู้ฟังทุกคน กำหนดความหมาย ของคำว่า ราชา ๆ นี้ ไว้อย่างถูกต้อง พระราชา มิได้หมายถึงผู้มีอำนาจตัดคอคน หรือเสกสรรคนให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้ นั่นเป็นเพียงส่วนประกอบของการกระทำ เพื่อทำหน้าที่ตามอุดมคติ แต่อุดมคติของคำ ๆ นี้ อยู่ที่ "ทำความยินดีพอใจ ให้เกิดแก่ผู้อื่น" ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องตัดคอคนเลยก็ได้ เอาใจความสั้น ๆ ก็คือว่า "ผู้ทำความยินดีให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง" นั่นเอง

จากหนังสือ "ภูตผีปีศาจ ในตัวคน ข้าราชการ และ นักการเมือง" ของ ท่านพุทธทาสภิกขุ

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 22:27

ต่อไป  ถ้าติดขัดเรื่องศัพท์ อยากทราบคำแปล   เข้าไปที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานนะคะ

http://rirs3.royin.go.th/

หาคำแปลมาให้ค่ะ

ราชา ๑   น. พระเจ้าแผ่นดิน, พระมหากษัตริย์. (ป., ส.).
ราชา ๒   ว. ตรง เช่น แผ่กิ่งก้านราชา. (ป. อุชุ; ส. ฤชุ).

ท่านอาจารย์เทาชมพูคงเข้าใจเจตนาหรือความประสงค์ของผมผิด อาจเป็นเพราะผมไม่ได้อธิบายความถึงสาเหตุที่ต้องถามโดยละเอียด
ผมเองก็นึกตำหนิเวลาใครถามอะไรในเว็บนี้เพื่อส่งรายงานโดยที่ีไม่ค้นหาเองก่อนและผมก็ทราบอย่างที่ทุกท่านทราบว่า "ราชา" หมายถึง กษัตริย์ (ซึ่งก็เหมือนใน royin)
ในกรณีนี้ ผมกำลังจะนำส่วนหนึ่งของรายงานของคณะหนึ่ง (ซึ่งพูดถึง "ราชา" ว่าหมายถึง “ผู้ให้ความสุข” โดยไม่มีการอ้างอิง) มาปรับเพื่อเสนอรายงานที่กล่าวข้างต้น
นิสัยผมมักจะเริ่มจากถามตัวเองว่า "จริงรึเปล่า?" ก่อนที่จะเชื่อ และยิ่งถ้าจะไปถ่ายทอดต่อ ผมยิ่งต้องตรวจความถูกต้องโดยละเอียด
จึงต้องตั้งกระทู้ถามครับ
อนึ่งเมื่อได้อ่านคำตอบที่สามของ ท่านเพ็ญชมพู แล้ว ผมพอใจมากเพราะคือสิ่งที่ต้องการ นั่นคือ "ที่มาที่ไป" แม้นว่าจะยังมีคำถามอยู่อีกบ้างว่า "จริงหรือไม่?" แต่ก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านอย่างมากครับ

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 22:29

ที่มาตั้งถามในเว็บนี้เพราะผมเชื่อแน่ว่าต้องได้รับความกระจ่างระดับ "ราก" และ "เชื่อถือได้" จากท่านอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายอย่างแน่นอน
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 08:50

เรื่องที่มาของ ราชา ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้กำลังใจสามเณรวาเสฏฐะและสามเณรภารทวาชะ เมื่อเปลี่ยนจากวรรณะพราหมณ์มาบวชศึกษาธรรม ได้ถูกพราหมณ์ทั้งหลายเหยียดหยามด้วยถือว่า พราหมณ์เป็นพวกเดียวที่บริสุทธิ์ พราหณ์อยู่ในอกพรหม เกิดมาจากทางปากของพรหม เป็นทายาทของพรหม  ต่อว่าสามเณรที่ละทิ้งวรรณะอันประเสริฐที่สุด ไปเข้ารีดวรรณะอันทรามของสมณะโล้น พระพุทธองค์ตรัสบอกว่าพวกพราหมณ์ทั้งหลายก็เกิดจากนางพราหมณ์ซึ่งมีระดและมีครรภ์ เกิดมาแต่โยนีของนางพราหมณ์ทั้งหลายแท้ พวกพราหมณ์เข้าใจผิดเรื่องวรรณะและได้ตรัสบอกเล่าที่มาของวรรณะทั้ง 4 ให้สามเณรทั้งสองฟัง ขอคัดมาเป็นบางส่วนครับ (สังคมให้อำนาจบุคคลผู้หนึ่งที่ดูน่าเกรงขามเป็นตัวแทน ในการว่ากล่าวติเตียนลงโทษในผู้ที่ควรถูกติเตียนลงโทษตามควร เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยในสังคมโดยได้รับสิ่งตอบแทนจากคนทั้งปวง)
      ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ผู้หนึ่งเป็นคนโลภ สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์ทั้งหลายจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนอย่างนี้ว่า แน่ะสัตว์ผู้เจริญ ก็ท่านกระทำกรรมชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์ผู้นั้นแล รับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์นั้นสงวนส่วนของตนไว้ ไปเก็บเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค สัตว์เหล่านั้นจึงช่วยกันจับสัตว์ผู้นั้น ครั้นแล้ว ได้ตักเตือนว่าแน่ะ สัตว์ผู้เจริญ ท่านทำกรรมอันชั่วช้านัก ที่สงวนส่วนของตนไว้ ไปเอาส่วนที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันชั่วช้าเห็นปานนี้อีกเลย สัตว์พวกหนึ่งประหารด้วยฝ่ามือ พวกหนึ่งประหารด้วยก้อนดินบ้าง พวกหนึ่งประหารด้วยท่อนไม้ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็นัยเพราะมีเหตุเช่นนั้นเป็นต้นมาการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จึงปรากฏ การติเตียนจึงปรากฏ การกล่าวเท็จจึงปรากฏ การถือท่อนไม้จึงปรากฏ ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุมกัน ครั้นแล้ว ต่างก็ปรับทุกข์กันว่า พ่อเอ๋ย ก็การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้จักปรากฏ การติเตียนจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือท่อนไม้จักปรากฏ ในเพราะบาปธรรมเหล่าใด บาปธรรมเหล่านั้นเกิดปรากฏแล้วในสัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราจักสมมติสัตว์ผู้หนึ่งให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ ส่วนพวกเราจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น ดังนี้ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้น พากันเข้าไปหาสัตว์ที่สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่าเกรงขามมากกว่าสัตว์ทุกคนแล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้ว่า ข้าแต่สัตว์ผู้เจริญ มาเถิดพ่อ ขอพ่อจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบเถิด ส่วนพวกข้าพเจ้าจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่พ่อ ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์ผู้นั้นแลรับคำของสัตว์เหล่านั้นแล้ว จึงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบส่วนสัตว์เหล่านั้นก็แบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่สัตว์ที่เป็นหัวหน้านั้น ฯ
             ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ ดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรกเพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลาย ดังนี้แล อักขระว่ากษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชนเหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังนี้แล การบังเกิดขึ้นแห่งพวกกษัตริย์นั้น มีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณอย่างนี้แล เรื่องของสัตว์เหล่านั้น จะต่างกันหรือเหมือนกัน จะไม่ต่างกันหรือไม่เหมือนกัน ก็ด้วยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่นอกไปจากธรรม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ความจริง ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุดในประชุมชนทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า ฯ
  จาก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค อัคคัญญสูตร
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 09:45

ขอยกมาจากอรรถกถาครับ เกินความสามารถจะอธิบายด้วยตัวเอง
 อรรถกถาจักกวัตติสูตร สังยุตตนิกาย
"ชื่อว่าพระราชา เพราะอรรถว่าทรงยินดีในสิริสมบัติของพระองค์ หรือทรงให้พสกนิกรยินดีด้วยสังคหวัตถุ ๔"
       
 สังคหวัตถุ 4 อธิบายโดยท่าน ป.อ. ปยุตฺโต

            สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ - bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)
       1. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - giving; generosity; charity)
       2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม - kindly speech; convincing speech)
       3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม - useful conduct; rendering services; life of service; doing good)
       4. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี - even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)
           
           สังคหวัตถุของผู้ครองแผ่นดิน หรือ ราชสังคหวัตถุ 4 (สังคหวัตถุของพระราชา, ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชน, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง -a ruler's bases of sympathy; royal acts of doing favors; virtues making for national integration)
       1. สัสสเมธะ (ความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร - shrewdness in agricultural promotion)
       2. ปุริสเมธะ (ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ - shrewdness in the promotion and encouragement of government officials)
       3. สัมมาปาสะ (ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น - 'a bond to bind men's hearts'; act of doing a favor consisting in vocational promotion as in commercial investment)
       4. วาชเปยะ หรือ วาจาเปยยะ (ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ น้ำคำควรดื่ม คือ รู้จักพูด รู้จักปราศรัย ไพเราะ สุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าในอันดี และความนิยมเชื่อถือ - affability in address; kindly and convincing speech)

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 13:48

ขอบคุณท่านนิลนนท์ครับ ชัดแจ้งมากครับ
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 17:48

ด้วยความยินดีครับคุณ sujittra ผมเองก็ได้ความรู้จากในนี้มากมาย แต่อย่าเรียกผมว่าท่านเลยครับ
ขออธิบายเพิ่มคำว่า ประหาร ในพระสูตรที่ยกมา หมายถึง การทุบตีทำร้าย ไม่ได้หมายถึงการฆ่ากันเสมอไป

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 16:27

ทราบและกระจ่างในที่มาที่ไปแล้วครับ
แต่ยังขาดอยู่นิดหนึ่ง
ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยแจ้งถึง "รากศัพท์" ของ "ราชา" ในเชิงภาษาศาสตร์จริง ไม่ว่าบาลี สันสกฤต ฯลฯ จะเติมเต็มในเรื่องนี้อย่างมากครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 16:30

คำว่า ราชา นี้ รากหรือธาตุของคำ ก็คือ "รช" ซึ่งแปลว่า กำหนัดหรือยินดีนั่นเอง รากคำ ๆ นี้ สำเร็จรูปเป็นคำอื่นต่าง ๆ กันออกไป เช่นคำว่า ราคะ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความกำหนัดยินดีทางกามารมณ์โดยเฉพาะ แต่นั่นมันยินดีจัดเกินไป

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 18:52

อีกคำอธิบายนึงครับ ท่านว่า ราชา รากศัพท์สันสกฤตมาจาก Indo-European ภาษาละติน คำว่า Rex แปลว่าพระราชา

อ่านเองแปลเองแล้วกันครับ

 [Hindi r j , from Sanskrit, king; see reg- in Indo-European roots.]
Word History: Rajah is familiar to us from the Sanskrit r j , "king," and mah r j , "great king." The Sanskrit root raj-, "to rule," comes from the Indo-European root *reg-, "to move in a straight line, direct, rule." The same Indo-European root appears in Italic (Latin) and Celtic. R x means "king" in Latin, coming from *reg-s, whence our regal and, through French, royal. Two of the Gaulish kings familiar to us from Caesar, Dumnorix and Vercingetorix, incorporate the Celtic word r x, "king," in their names. (R x also forms part of the name of that fictitious, indomitable Gaul Asterix.) Germanic at some time borrowed the Celtic word r x. It appears as reiks, "ruler," in Gothic, as well as in older Germanic names ending in -ric, such as Alaric and Theodoric, the latter of whom has a name that is equivalent to German Dietrich, "people's king." A derivative of Celtic r x, *r g-yo-, meaning "rule, domain," was also borrowed into Germanic, and is the source of German Reich, "rule, empire."


http://www.thefreedictionary.com/Raja


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 09:39

อ้างถึง
คำว่า ราชา นี้ รากหรือธาตุของคำ ก็คือ "รช" ซึ่งแปลว่า กำหนัดหรือยินดีนั่นเอง รากคำ ๆ นี้ สำเร็จรูปเป็นคำอื่นต่าง ๆ กันออกไป เช่นคำว่า ราคะ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความกำหนัดยินดีทางกามารมณ์โดยเฉพาะ แต่นั่นมันยินดีจัดเกินไป

ผมยังค้างคาใจในคำตอบของคุณเพ็ญชมพูมากว่า ความหมายของคำว่าราชา ที่แปลว่า ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ หรือผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข จะมีรากศัพท์มาจาก ราคะ ซึ่งหมายถึง ความกำหนัดยินดีทางกามารมณ์โดยเฉพาะได้อย่างไร

ผมไม่มีภูมิรู้ทางบาลีหรือสันสกฤตมากไปกว่าการเปิดพจนานุกรม ซึ่งฉบับที่ผมมีก็ไม่ได้กล่าวลึกลงไปกว่านั้น จึงเขียนไปถามท่านผู้รู้ ซึ่งคำตอบของท่าน แม้จะถ่อมตนมากว่าไม่ใช่ผู้ชำนาญด้านนี้ แต่คำอธิบายก็เป็นที่เข้าใจได้แก่สติปัญญาของผมได้ จึงอยากถ่ายทอดให้อ่านครับ

ในภาษาบาลี เขามีรากคำ  เรียกว่าธาตุ     แค่ธาตุเฉยๆยังนำมาใช้ไม่ได้  เวลาใช้พูดหรือเขียน ต้องผันคำให้เป็นศัพท์ขึ้นมา  การผันคำเรียกว่า "ลงวิภัตติปัจจัย" 

เพราะฉะนั้น  ธาตุของคำ บวกวิภัตติปัจจัยอย่างหนึ่งก็มีความหมายแบบหนึ่ง  ธาตุตัวเดียวกันไปบวกวิภัตติปัจจัยอีกตัว  ความหมายก็เปลี่ยนไปได้อีก   

จาก  "รช" มาเป็นราชา ก็ได้    ไปเป็น ราคะ ก็ได้  ขึ้นกับว่าเอาวิภัตติปัจจัยอะไรมาบวกเข้าไป

เพราะฉะนั้น  สองคำที่ความหมายแตกต่างกันลิบลับ อาจมาจากรากคำตัวเดียวกัน คือจากธาตุเดียวกันก็ได้  แต่ไม่ได้หมายความว่าสองคำที่ว่านั้น มีความหมายเป็นเรื่องเดียวกัน

รช  ที่กลายไปเป็นราชา ก็วิภัตติปัจจัยอย่างหนึ่ง  รช ที่ไปเป็น ราคะ ก็วิภัตติปัจจัยอีกอย่างหนึ่ง


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 10:50

คำว่า ราชา นี้ รากหรือธาตุของคำ ก็คือ "รช" ซึ่งแปลว่า กำหนัดหรือยินดีนั่นเอง รากคำ ๆ นี้ สำเร็จรูปเป็นคำอื่นต่าง ๆ กันออกไป เช่นคำว่า ราคะ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความกำหนัดยินดีทางกามารมณ์โดยเฉพาะ แต่นั่นมันยินดีจัดเกินไป

 ยิงฟันยิ้ม

ต้องขอบคุณท่านเพ็ญชมพูที่ช่วยชี้แนะอีกครั้งทั้งที่มีในกระทู้อยู่แล้ว ผมได้อ่านแล้วครับ เพียงแต่ว่า.....
เพียงแต่ว่า ที่อ้างอิงนั้นมาจาก หนังสือของท่านพุทธทาส ที่แม้จะเป็นที่เคารพนับถือของทุกคนในสังคม แต่โดยนิสัยที่ไม่ดีของผมผมก็ยังไม่ปักใจสนิทที่จะรับมาเชื่อหรือถ่ายทอดต่อเพราะ มิใช่ primary source (ไม่รู้จะแปลเป็นไทยว่าอะไร และไม่ทราบว่าทุกท่านจะเข้าใจคนอย่าง "ผม" หรือไม่)
ต้องกราบขออภัยท่านเพ็ญชมพูเป็นอย่างสูง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง