เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11329 กุลสตรีคนนั้นคือใคร?
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


 เมื่อ 27 ส.ค. 12, 23:40

ในหนังสือชีวประวัติของหลวงปู่หลุย จันทสาโร ชื่อ "จันทสาโรบูชา" เขียนโดยคุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต
กล่าวถึงเหตุการณ์ที่หล่มสักใต้ชื่อบท "อดีตที่ฝังรอยมาจากบุพชาติ"  ครั้งนั้น หลวงปู่หลุยซึ่งพ้นพรรษา
ที่ห้าแล้วได้ออกธุดงค์วิเวกมาทาง จ.เลยและเพชรบูรณ์ ท่านแวะที่หล่มสัก รับนิมนต์ไปสวดงานศพที่บ้านหลังหนึ่ง

ระหว่างหยุดพักการสวด เจ้าบ้านก็นำน้ำปานะมาถวายพระแก้คอแห้ง บังเอิญตาท่านชำเลืองมองไปในหมู่แขก
ที่กำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ เพียงตาสบตา ท่านก็รู้สึกแปล้บเข้าไปในหัวใจ เหมือนสายฟ้าฟาด
แทบจะไม่เป็นสติสมประดี ท่านกล่าวว่า เพียงตาพบตาแว้บเดียว ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ท่านก็เซแทบจะล้ม เผอิญขณะนั้นท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม...สังเกตถึงอาการหรือว่าท่านอาจจะ
กำหนดจิตทราบเหตุการณ์ก็ได้ ท่านจึงเข้ามาประคองไว้ เพราะมิฉะนั้นหลวงปู่คงจะล้มลงจริงๆ
ฝ่ายหญิงที่นั่งอยู่ทางด้านโน้นก็เป็นลมไปเช่นกัน คงจะเป็นอำนาจความเกี่ยวข้องแต่บุพชาติมา
ที่มาบังคับให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น"
   
"หลวงปู่เล่าภายหลังว่า ท่านรู้สึกเหมือนกับว่าหัวอกแทบจะระเบิด อกกลัดเป็นหนอง แต่ใจหนึ่งก็คิดมุ่งมั่น
ว่าจะต้องบำเพ็ญเพศพรหมจรรย์ต่อไป ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เข้าใจในความรู้สึกของผู้เป็นศิษย์ได้ดี
ท่านจึงควบคุม"นักโทษหัวใจ" ผู้นั้นรีบหนีออกจากหล่มสักโดยเร็วที่สุด เที่ยววิเวกลงมาตามป่าตามเขา
และเร่งทำตบะความเพียรอย่างหนัก"
   
"กุลสตรีท่านนี้เป็นแบบสาวสมัยใหม่ ขี่ม้าเก่ง... สวมกางเกงขี่ม้า ใส่รองเท้าท็อปบู๊ต ต่อมาภายหลัง
หลังจากที่ต้องจากกันแล้ว เมื่อเธอกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร เธอก็ได้มามีชื่อเสียงอย่างมาก
และเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับผู้ที่รักหนังสือทั้งหลาย เข้าใจว่าผู้ที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไปนั้นจะต้องเคยได้ยิน
ชื่อของเธอมามาก"
   
อ่านเหตุการณ์นี้แล้ว อยากรู้น่ะครับ ลองสืบค้นตามกำลังว่านักเขียนหญิงท่านนี้คือใคร แต่ความรู้ไม่พอ
จึงขอเรียนถามท่านผู้รู้ครับว่าพอจะคาดเดาได้หรือไม่ว่าเธอน่าจะเป็นใคร?   
บันทึกการเข้า
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ส.ค. 12, 23:49

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

"ฝ่ายหญิงได้ถูกส่งตัวเข้ามารับการศึกษาในพระนครเสียตั้งแต่ยังเด็ก ได้รับการศึกษามาอย่างดี
จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสตรีที่มีชื่อทางภาษาต่างประเทศ นานๆ เมื่อกลับไปเยี่ยมบ้าน
ก็กลับไปแบบหญิงสาวสมัยใหม่ รูปสวย นัยน์ตาโตงาม...แต่งตัวสวย แบบสาวชาวกรุงแท้"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 07:43

สตรีชาวหล่มสักที่มาเรียนกรุงเทพฯ แล้วรับราชการอยู่กรุงเทพฯ จนเสียชีวิต  เท่าที่นึกออกคือ คุณจุไร  ลียากาศ (ไม่แน่ใจว่าจำชื่อถูกหรือไม่) อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 
ที่ถึงแก่กรรมไปแล้วโดยมิได้สมรส  ถ้ามีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบันก็น่าจะ ๘๐ เศษ แต่ท่านจะเป็นนักเขียนดังหรือไม่ ข้อนี้ไม่ทราบครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 09:01

ช่วยกลับไปเปิดหนังสือดูได้ไหมคะ ว่าเหตุการณ์ที่ว่านี้เกิดในพ.ศ.อะไร   ดิฉันจะได้คำนวณอายุกุลสตรีในเรื่อง

เธอไม่น่าจะใช่คุณจุไร ลียากาศ    ท่านเป็นนักบริหารการศึกษาชั้นผู้ใหญ่ น่าจะจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อยหรืออาจถึงขั้นปริญญาโท  แต่กุลสตรีในคำถามนี้  บอกว่าจบชั้นมัธยมบริบูรณ์  แปลว่าไม่ได้ศึกษาต่อมากกว่านั้น   
จบจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทางภาษาต่างประเทศเสียด้วย   หมายถึงร.ร.คอนแวนต์ทั้งหลาย  หรือว่าร.ร.ไทยอย่างร.ร.ราชินี  ร.ร.เขมะศิริ ?  ถ้าขี่ม้าเก่ง แต่งตัวสวยเป็นสาวสมัยใหม่   น่าจะจบจากคอนแวนต์

เมื่อกลับมากรุงเทพเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้รักหนังสือ   ก็คงเป็นนักเขียนหรือนักแปล 
นักเขียนสตรีที่เป็นชาวอีสานโดยกำเนิดมีน้อยมาก   เท่าที่รู้ก็ไม่ใช่ชาวหล่มสัก จ. เพชรบูรณ์เลยสักคนเดียวค่ะ  มีร.จันทพิมพะเป็นชาวขอนแก่น  เพ็ญแข วงศ์สง่าเป็นชาวสกลนคร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 09:48

ช่วยกลับไปเปิดหนังสือดูได้ไหมคะ ว่าเหตุการณ์ที่ว่านี้เกิดในพ.ศ.อะไร   ดิฉันจะได้คำนวณอายุกุลสตรีในเรื่อง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากเสร็จงานพิธีบรรจุอัฐิธาตุท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ ในเจดีย์ที่ก่อขึ้นมา ณ บริเวณวัดพระบาทบัวบก ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=26088

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 10:02

ประมาณว่า พ.ศ. 2473  กุลสตรีคนนั้นอายุประมาณ 18-20 ปี    คืออยู่ในรัชกาลที่ 7   ต่อมาเป็นนักประพันธ์หญิงที่มีชื่อเสียง ช่วงเวลาน่าจะยุคสงครามโลกครั้งที่สองมาจนถึงหลังสงครามโลก   นักประพันธ์หญิงในสมัยนั้นมีไม่กี่คน ที่มีชื่อเสียงขนาดวงการรู้จักกันดี
บันทึกการเข้า
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 10:52

หลวงปู่หลุย เกิดปี พ.ศ. 2444  หากเหตุการณ์นี้เกิดในปี พ.ศ. 2473 ดังที่คุณ เพ็ญชมพู กล่าว อายุของหลวงปู่หลุยก็คือ 29 ปีครับ
ท่านมรณภาพปี พ.ศ.2532  แต่มีเล่าไว้ที่ไหนสักแห่ง (ต้องใช้เวลาค้นครับ) ว่ากุลสตรีท่านนี้เสียชีวิตไปก่อนท่านหลายปี จึงไม่น่าจะใช่คุณเพ็ญแข วงศ์สง่า นะครับ

ในย่อหน้าใกล้ๆ ที่เล่าเหตุการณ์นี้ คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต เขียนไว้ว่า "...สุดท้ายวันนั้นท่านได้ยกกรณีของท่านขึ้นมาว่า องค์ท่านเองยังแทบเป็นลม ฝ่ายท่านนั้นพระเถระต้องเข้าประคอง ฝ่ายหญิงเป็นลมญาติผู้ใหญ่และมารดาต้องเข้าประคอง ขณะฟังไม่ทราบว่าเพราะอะไรผู้เขียนรู้สึกสว่างวาบขึ้นในใจ เข้าใจนึกถึงชื่อเธอขึ้นมา กราบเรียนท่านโดยเอ่ยชื่อเธอ...ว่าใช่ไหมสุภาพสตรีท่านนั้น หลวงปู่ค่อนข้างจะตกใจที่ทำไมศิษย์เกิดรู้จักขึ้นมาได้แต่ท่านก็อึ้งและยอมรับว่าเข้าใจถูกแล้ว ฉะนั้น การพรรณนารูปร่างลักษณะของเธอ ซึ่งผู้เขียนเผอิญรู้จัก และมีความเคารพนับถือ...นับถือในอัจฉริยะของเธอ จึงเป็นการบรรยายจากผู้เขียนฝ่ายเดียว"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 11:15


นักเขียนสตรีที่เป็นชาวอีสานโดยกำเนิดมีน้อยมาก   เท่าที่รู้ก็ไม่ใช่ชาวหล่มสัก จ. เพชรบูรณ์เลยสักคนเดียวค่ะ  มีร.จันทพิมพะเป็นชาวขอนแก่น  เพ็ญแข วงศ์สง่าเป็นชาวสกลนคร

ดิฉันเขียนไว้ชัดเจนว่าท่านทั้งสองนี้เป็นชาวจังหวัดอื่นทางอีสาน ไม่ใช่ชาวหล่มสัก   ที่ยกชื่อขึ้นมา เพื่อแสดงเป็นตัวอย่างว่านักเขียนสตรีจากอีสานที่ว่ามีน้อยคนนั้น มีใครบ้าง     ไม่ได้หมายความว่าคุณเพ็ญแขคือกุลสตรีในเรื่อง    ไม่ทราบว่ามีใครอ่านแล้วไปเข้าใจผิดอย่างคุณ matoom หรือเปล่า เลยต้องมาย้ำอีกที  
คุณเพ็ญชมพูทำลิ้งค์มาให้  ก็แสดงว่าประวัติหลวงปู่หลุยในส่วนนี้ บันทึกเผยแพร่เอาไว้เปิดเผย   ไม่ได้เก็บเป็นความลับ เพียงแต่เว้นชื่อบุคคลไว้เท่านั้น
สุภาพสตรีผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม  เราอาจไม่มีวันรู้   แต่อย่างหนึ่งที่อ่านแล้ว  ช่วยยืนยันถึงพระพุทธวัจนะ ใน ธัมมปทัฏฐกถา ภาคที่๒  
ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา
เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปลํ ว ยโถทเก ฯ

ดอกบัวอุบลจะเกิดในน้ำได้ก็ต่อเมื่ออาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ ๑ น้ำ ๒ เปลือกตม ฉันใด ความรักจะเกิดได้ก็อาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ ๑ เคยอยู่ร่วมกันมาก่อน    ๒ ต้องเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ฉันนั้น

แต่ตัวอย่างจากประวัติหลวงปู่หลุยตอนนี้ก็ทำให้เข้าใจได้อีกเหมือนกันว่า ถ้าใจจะมุ่งสู่การหลุดพ้นจริงๆแล้ว  การผูกพันใดๆที่ท่านกับผู้หญิงคนนั้นเคยมีต่อกันมาในอดีตกาล ก็ไม่มีแรงเหนี่ยวรั้งเอาไว้ได้    
ความผูกพันที่เคยมีต่อกันจบกันไปนับแต่นั้น เพราะไม่มีการต่อเชื้อให้ยืดเยื้อต่อไปอีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 11:38

ขอโอกาสครับ

ผมคิดว่าความลับบางอย่างนั้นยังเป็นความลับอยู่ก็ดีแล้ว โดยเฉพาะความลับที่ไม่ก่อประโยชน์อะไรต่อสังคม
ในกรณีย์ชื่อของสุภาพสตรีท่านนี้ หากเราทราบไปก็เท่านั้น และก็ยังเป็นเรื่องตีความช้างเดียวอีก หากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็อาจปฏิเสธว่า ไม่ใช่ เข้าใจผิด จะยิ่งแล้วกันไปใหญ่

ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่า ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์นั้น เมื่อบวชแล้วท่านก็ปลดปล่อยคู่หมั้นของท่านเหมือนกัน ผู้เขียนประวัติของท่านก็วนๆอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่เอ่ยชื่อฝ่ายหญิงสักที เหมือนยั่วให้อยากรู้

แต่บัดนี้ผมก็ยังไม่รู้ คุณวีหมีไม่ต้องเข้ามาบอกนะครับ เพราะรู้แล้วก็คงไม่ทำให้ผมบรรลุอะไร นอกจากสนองกิเลศได้อีกตัวนึง และทำให้มันขยายพันธุ์ขึ้นมาอีก

ขอโทษนะครับ พอดีเห็นว่าเป็นกระทู้เกี่ยวกับพระ ความเห็นเลยออกมาแนวนี้แต่ไม่ได้ซีเครียดอะไร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 12:16




ขอแสดงความเคารพความเห็นของคุณ  navarat.ซี  เป็นอย่างยิ่ง

รายละเอียดของสุภาพสตรีผู้นั้น  ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใด

เอกสารทางประวัติศาสตร์หนาเป็นหลายร้อยหน้าแจกกันว่อน   มีสองฉบับด้วยซ้ำ

บันทึกน่าอ่านเรื่องเด็ก ๆ ของรัฐมนตรีไทยก็เอื้อเฟื้อเจือจานกัน  แต่ไม่มีใครกล้าเปิดเผยเพราะสำนักพิมพ์ใหญ่ถือต้นฉบับอยู้ในมือ
บันทึกการเข้า
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 12:25

อ.เทาชมพู ขอบคุณครับที่ช่วยตอบคำถามเรื่องนี้ อ.เขียนชัดเจนครับ ผมก็เข้าใจตามนั้น แต่เพราะใจคิดไปว่าเรื่องถิ่นเกิดอาจคลาดเคลื่อนได้ เช่นเกิดที่อื่นแต่ไปโตที่นั่น หรือผู้เล่าอาจเล่าโดยไม่ต้องตามรายละเอียดนัก เพราะท่านรู้แล้วว่าเป็นใคร ผมจึงยกการเสียชีวิตของกุลสตรีท่านนั้นขึ้นมาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่คุณเพ็ญแข วงศ์สง่า แน่นอน (ขออภัยครับหากไม่เหมาะสมด้วยประการใด)

ส่วน ร.จันทพิมพะ เกิด ปี พ.ศ.2452 ดังนั้นใน พ.ศ. 2473 ท่านจึงมีอายุ 21 ปี เริ่มทำงานเขียนพ.ศ. 2483 และมีชื่อเสียงตั้งแต่นั้น อ.อาจจะรู้จักท่านมากจนพอนึกถึงประเด็นที่จะยืนยันได้ว่าไม่ใช่ท่าน  ...ก็ อ.ยกชื่อท่านขึ้นมานี่นา...

แต่ที่จริง ทางที่ง่ายกว่า อาจเป็นการกระซิบถาม "ชาววัด" ใกล้คุณหญิงสุรีพันธ์ซึ่งอาจจะทราบกันดีแล้วก็เป็นได้ พอดีผมไม่อยู่ในแวดวงนั้นน่ะครับ

คุณ NAVARAT.C รับฟังด้วยความเคารพครับ ผมอ่านประวัติหลวงปู่หลุยแล้วเกิดความเข้าใจใหม่ๆ ในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเพราะมักได้อ่านชีวประวัติแบบที่ลูกศิษย์ลูกหาเล่ายกย่องเทิดทูน แต่เรื่องนี้ประทับใจเพราะเห็นความเป็นมนุษย์ที่ต้องต่อสู้กับใจตัว เพื่อมุ่งมั่นกับทางที่เลือกต่อไปให้ได้ เรื่องที่พอจะรู้ได้ก็อยากรู้ให้สุดๆ น่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 12:44

ถ้าหากว่าสุภาพสตรีผู้นั้นไม่ใช่คนที่มีผลงานต่อสาธารณชน   ชีวิตส่วนตัวของเธอก็ไม่มีประโยชน์กับใครอื่น      แต่ถ้าเธอมีผลงานต่อสาธารณชนอย่างที่คุณหญิงสุรีพันธุ์แย้มๆไว้ ก็อย่าเพิ่งมองข้ามไปง่ายๆ       
เรื่องส่วนตัวของศิลปินหรือกวีมักเป็นแรงบันดาลใจต่อผลงาน   ดังนั้นการศึกษาศิลปะหรือวรรณกรรมจึงต้องศึกษาชีวประวัติของผู้สร้างสรรค์ควบคู่กันไป  เพื่อจะเข้าใจถึงทัศนคติเฉพาะตัวบางอย่าง    ว่าอาจมีที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้  จะนำไปสู่การวิเคราะห์วิจารณ์ซึ่งเป็นการศึกษาวรรณคดีวิจารณ์โดยตรง

อย่างไรก็ตาม   ในกรณีนี้  เมื่อคุณ NAVARAT.C ให้ความเห็นอย่างนี้  ดิฉันก็เคารพต่อความเห็นของท่าน     คงจะยุติเอาไว้แค่นี้  ต่อให้รู้ชื่อก็คงไม่มาบอกหน้าไมค์   ใครสนใจก็ไปค้นคว้าต่อกันเองดีกว่านะคะ
บันทึกการเข้า
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 16:58

ผมสนใจไปค้นคว้าต่อแล้วครับ ทั้งนี้โดยเดินไปตามทางที่ อ.เทาชมพู ชี้ไว้ให้
ไปพบปริญญานิพนธ์เข้าเล่มหนึ่ง
ฝากลิงค์ไว้เผื่อผู้สนใจเข้าไปโหลดอ่าน พอจะเป็นคำตอบรึเปล่าครับ?

http://kb.tsu.ac.th/jspui/handle/123456789/372




บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 20:04

ด้วยเหตุและผลเห็นด้วยกับท่านอาจารย์นวรัตนครับ ว่ารู้ไปก็เท่านั้น

แต่ด้วยกิเลสส่วนตัว  ทั้งที่ไม่มีประโยชน์อันใด กลับยิ่งอยากรู้ว่าสตรีท่านนั้นคือใคร แล้วชีวิตของเธอหลังจากนั้นเป็นเช่นไร ได้แต่งงานแต่งการ มีลูกมีหลานไหม หรือครองตัวเป็นโสดตลอดชีวิต เพราะอ่านจากเรื่องราวเธอก็คงมีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่มาแต่กาลก่อนจริง แม้ผมไม่เชื่อเรื่องภุมเทวาระดับกลางสายวิทยาธรกึ่งยักษ์ แต่เรื่องกรรม ภพชาติ  วาสนาบารมี การเวียนว่ายตายเกิดและนิพพานนี่ผมเชื่อครับ

อีกประโยชน์หนึ่งของกระทู้นี้ คือทำให้ผมเกิดความสนใจได้ไปตามหาประวัติหลวงปู่หลุยฉบับที่ว่ามาอ่านบ้าง หาได้แล้วกำลังอ่านอยู่  ต้องขอขอบพระท่านผู้ตั้งกระทู้ด้วยตรงจุดนี้ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 20:52

อ้างถึง
แม้ผมไม่เชื่อเรื่องภุมเทวาระดับกลางสายวิทยาธรกึ่งยักษ์ แต่เรื่องกรรม ภพชาติ  วาสนาบารมี การเวียนว่ายตายเกิดและนิพพานนี่ผมเชื่อครับ

เกือบเนียนแล้วครับ อีกนี๊ดเดียวจริงๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง