เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 20130 กระดานชนวนโบราณ
Nithi Kanisthanon
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


 เมื่อ 25 ส.ค. 12, 02:35


กระดานชนวนสมัยโบราณเป็นอย่างไร
ร้อยแปดเรื่องไทย, "ส.พลายน้อย", ตุลาคม ๒๕๔๑, หน้า ๔๑-๔๒ เมื่อพูดถึงกระดานชนวน ส่วนมากจะนึกถึง แผ่นหินชนวนสีดำ เพราะยังมีให้เห็นอยู่ ส่วนกระดานชนวน ทำด้วยไม้หายไป

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้อธิบายไว้ว่า กระดานที่ใช้เขียน มีสองอย่าง สำหรับ นักเรียนชั้นแรกหัดเขียน ก ข เรียกว่า กระดานดำ ทำด้วยไม้กระดานกว้างประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๒-๓ ศอก หนาราว ๒ กระเบียด ด้านที่ใช้เขียนหนังสือ ไสกบ จนเกลี้ยงเรียบ ทาด้วย เขม่าหม้อ กับน้ำข้าว ผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อจะลบตัวหนังสือ ที่เขียนด้วยดินสอขาว ใช้น้ำลบทำให้ กระดานเปียก ฉะนั้นจึงต้องหยุด ตากกระดาน ให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงเรียนต่อไป เด็กที่ขี้เกียจเรียน จะแกล้งเอาน้ำ ลบมากๆ กระดานจะได้แห้งช้า มีที่สังเกตว่า กระดานของเด็กที่ขี้เกียจ สีดำจะจางเร็ว จนเห็นเนื้อกระดาน เรียกว่า กระดานแดง
กระดานชนวน อีกชนิดหนึ่ง สำหรับนักเรียนชั้น ๓ ทำด้วย ไม้ทองหลาง หรือไม้งิ้ว ทำให้เป็นแผ่นกระดาน กว้างศอก ยาวศอกคืบ ที่ต้องใช้ไม้ดังกล่าว ก็เพื่อจะให้ ทารัก ติดแน่นดี (ขี้รัก ผสม ขี้เถ้าใบตองแห้ง เรียกว่า สมุก ทาให้เป็นสีดำ) ต่อจากนั้น ใช้ผงกระเบื้องถ้วยที่ป่นละเอียด คลุกกับน้ำรัก ทาฉาบอีกครั้งหนึ่ง ให้เรียบเสมอกัน แล้วขัดเงาด้วยหิน หรือเมล็ดสะบ้า เมื่อเรียบร้อยดีแล้ว ก็ทำกรอบ

ดินสอที่ใช้เขียนกับกระชนวน ใช้ดินสอพอง คือเอาดินสอพองแช่น้ำให้เปียก หรือโขลกให้แหลก พรมน้ำพอให้ปั้นได้ ทำเป็นแท่ง ขนาดหัวแม่มือ ยาวไม่เกินคืบ ด้วยเหตุที่ ดินสอพองถูกน้ำแล้วเหนียว จึงต้องคั้นน้ำใบตำลึง พรมที่กระดาน สำหรับปั้นดินสอเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ดินสอพองก็จะเหนียว ติดมือ ปั้นยาก เสร็จแล้วตากให้แห้ง ก็ใช้เขียนได้


บันทึกการเข้า
Nithi Kanisthanon
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ส.ค. 12, 02:57

ที่คุณ เทาชมพู ออกความเห็นไว้ใน กระทู้ การเขียนหนังสือในสมัยรัชกาลที่๖
และเล่าถึงเกร็ดประวัติของ พ.ท.โพยม จุลานนท์ ในสมัยเด็ก เรื่องดินสอกับกระดานชนวน
ผมว่าท่านกล่าวถึงกระดานชนวนไม้คล้ายๆแบบนี้แน่ ด้วยเหตุที่กระดานชนวนหิน ดินสอหินนั้นหายาก
และพอจะมีราคาในสมัยนั้น แต่เดี๋ยวนี้กลับกลายเป็นว่ากระดานชนวนหินพบเจอหาได้ง่ายกว่ากระดานชนวนไม้ ถ้าขยันเดินหาตามร้านขายของเก่าโบราณ


บันทึกการเข้า
Nithi Kanisthanon
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ส.ค. 12, 03:24

อันนี้ไปเจอมาที่วัดแห่งหนี่งเลยถ่ายรูปไว้ซะ เจ้าของเดิมเป็นโหร กระดานชนวนไม้แผ่นนี้อายุน่าจะหลักร้อยปี
เท่าที่ทราบบางที่ก็เรียกกระดานชนวนแบบนี้ว่ากระดานครู กระดานโหร กระดานลบผง(หมายถึงผงปถมัง)
ใครมีหรือเคยเห็นตามร้านขายของเก่าแจ้งมาเลยนะครับผมอยากได้อยู่ต้องการนำไปใช้เรียน  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ส.ค. 12, 08:43

บันทึกพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง สาคริก) เขียนบรรยายเรื่องการเรียนเริ่มแรกของท่านไว้ว่า การเรียนที่วัดต้องนั่งเรียนแบบนั่งเพียบกับพื้นกระดาน เครื่องเขียนมีกรดานแผ่นเดียว กว้างประมาณ ๑๕ ซม. ยาวประมาณ ๔๐ ซม. หนาเพียง ๓ ใน ๔ ของ ๑ ซม. ใช้ขูดเอาดินหม้อดำ ๆ ที่เป็นผงติดอยู่ตามก้นหม้อดินที่ใช้หุงต้มในครัวมาสัก ๑ พายมือ เทลงในกะลามะพร้าว ซึ่งมีน้ำข้าวข้น ๆ แล้วกวนให้เข้ากันสักนิด ใช้เศษผ้าขี้ริ้วชุบทากระทานจนทั่วแผ่นและเรียบดี

นำไปผึ่งแดดพอแห้งไม่เปื้อนมือและเสื้อผ้าก็แบบใส่บ่าเดินบ่ายไปโรงเรียน เมื่อเข้าเรียนต้องไหว้ครูก่อนและนำกระดานไปมอบให้ครูทีละคน ครูจะใช้ดินสอพองเขียนทีละวรรคให้ดังนี้

กขฃคฅฆง   จฉชซฌญ  ดตถทธ(ตัวเฑาว์)น  ฎฏฐฑฒณ บปผฝภม ยรวศษสหฬอฮ

เมื่อเสร็ตวรรค ๑ แล้วสอนให้ใช้ไม้ก้านธูปที่ศาลาเจ้าพ่อหลักเมืองชี้อ่านออกเสียงทีละตัว

ใครจำไม่แม่นครูจะดุและหยิกขาอ่อนจนร้องไห้ ท่านกวดขันให้จำชี้ตัวถูก ออกเสียงถูกเป็นวรรค ๆ จนจบ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ส.ค. 12, 08:47

เรื่องดินสอ (คัดจากวชิรญาณวิเศษ)

ดินสอนั้นมีหลายอย่างนักที่เกิดในประเทศ
สยาม นี้ก็มีที่มาแต่ประเทศอื่นก็มี    ที่เกิดในประเทศนี้
คือ   ดินสอสิลา    ดินสอพอง    ดินสอดำ      ดินสอดิน
ที่มาแต่ประเทศอื่นนั้น                มาแต่ประเทศพม่าคือ
ดินสอแก้ว      มาแต่ประเทศยุโรปคือ          ดินสอสิลา
ดินสอตะกั่ว        คือที่เรียกกันว่าดินสอฝรั่ง     ดินสอ
เขียวแดง    ดินสอพอง  กล่าวตามที่ได้รู้จักแลได้ฟังมา
     (๔)   ดินสอที่เกิดในประเทศนี้ ดินสอสิลา  ได้ยินว่า
มาแต่เมืองสงขลา    เมืองนครศรีธรรมราชก็มี     มาแต่
เมืองราชบุรี           เมืองกาญจนบุรีก็มี        หมายใจว่า
คงจะมีอีกหลายเมือง              ถึงเมืองที่ยังไม่ได้มีผู้พบ
ก็คงจะมีอีก             บางทีที่เนื้อเปนดินสอสิลาที่มาแต่
ประเทศยุโรปก็คงจะมี ดินสอสิลาที่เกิดขึ้นในประเทศนี้
ซึ่งใช้ขายซื้อกันอยู่โดยชุกชุมเปน    ๒   ชนิด         คือ
ดินสอขาว ๑ ดินสอเหลือง ๑  ดินสอเหลือง ๆ   มีราคา
ด้วยมีผู้ชอบใช้มาก        เพราะไม่สู้แขงนัก         แต่ยังมี
อีกอย่าง ๑ สีแดง ๆ             ได้ยินว่ามาแต่เมืองนครศรี
ธรรมราช            ข้าพเจ้าได้ใช้แล้ว            เขียนดีกว่า
ดินสอเหลือง        เพราะเส้นไม่แตกแพร่เหมือนดินสอ
เหลือง ๆ   ที่ได้พบใช้อยู่    บางแท่งยุ่ยบางแท่งไม่สู้ยุ่ย
ดินสอแดงนั้นไม่ยุ่ย  เขียนเส้นแน่นกว่าดินสอเหลืองมาก
ผู้ที่นำมาให้ข้าพเจ้า           พูดว่าดินสอชนิดนี้       หายาก
กว่าดินสอเหลือง         เขียนดีกว่าดินสอเหลืองอยู่โดย
ธรรมดา ใช่ว่าจะเลือกอันดีนั้นหามิได้ ดินสอพองนั้น
เกิดที่เมืองลพบุรี                  ดินสอดำนั้นได้ยินว่าทำด้วย
แก้วแกลบเปนต้น       สำหรับเขียนในกระดาษข่อยมา
แต่เดิม      ดินสอดินนั้นไม่เปนสินค้าซื้อขาย    ไม่กำหนด
ที่เกิด   เพราะเปนแต่เด็ก ๆ วัดทำใช้สำหรับเขียน
ในกระดานเขียนหนังสืออย่างเก่า ๆ            ซึ่งลบด้วย
เขม่าดินหม้อนั้น
     (๕)   ดินสอแก้ว         ใช้ตีตารางปฏิทินเปนอย่างดี
ด้วยไม่ลบง่าย      แลเปนมันแปลกจากเส้นดินสอขาว
ดินสอเหลืองซึ่งเปนตัวเลขด้วย ดินสอพองซึ่งมาแต่
ประเทศยุโรป เขาทำเปนแท่ง ๔ เหลี่ยม      เนื้อลเอียด
เหนียวดี ใช้เขียนในกระดานชนวนไม้ซึ่งลบด้วยเขม่า
เปนอย่างดีกว่าดินสออื่น          เช่นที่ใช้อยู่ในโรงเรียน
หลวง        มีโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเปนต้น
ดินสอพองในประเทศนี้  ใช้ทำเลขลบตัวด้วยกระดาน
ชนวนไม้ทองหลางลงรักเปนอย่างดี           ดินสอสิลา
ที่เกิดในประเทศนี้แลที่มาแต่ประเทศยุโรปก็ดี สำหรับ
เขียนในกระดานชนวนสิลาแลในสมุดดำเปนต้น    แต่
ถ้าจะเขียนในกระดานชนวนสิลาแล้ว          เขียนด้วย
ดินสอสิลาที่มาแต่ประเทศยุโรปอย่างอ่อน  ดีกว่าเขียน
ด้วยดินสอสิลาที่เกิดในเมืองนี้   เมื่อจะเขียนลงในสมุด
หรือกระดาษข่อยแล้ว            เขียนด้วยดินสอที่เกิดใน
ประเทศนี้ดีกว่า         พรรณนาด้วยการใช้ดินสอมาดังนี้
ตามความชอบใจของข้าพเจ้า       ไม่ต้องสงไสเลยว่า
ผู้ที่เห็นสมควรจะใช้อย่างอื่นจะไม่มี   ที่กล่าวมานี้เพื่อ
จะให้เรื่องดินสอต่อเนื่องกันไปเปนหมวดเปนข้อเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Nithi Kanisthanon
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ส.ค. 12, 23:04

ผมมีตัวอย่างดินสอที่ใช้เขียนกับกระดานชนวน เหลืออยู่ ๒ แท่ง เป็นชนิดที่ทำด้วยดินสอพองครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siri
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 09:42

พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ทำการบ้านบนกระดานชนวน เดินไปโรงเรียนฝนตกเอากระดานชนวนบังฝน การบ้านลบหมดเลย โดนครูตี
บันทึกการเข้า
mutita
มัจฉานุ
**
ตอบ: 93


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ต.ค. 13, 15:53

ขอบคุณมากๆเลยค๊าคุณ siamese ได้ความรู้เพิ่มเติมแยะเลย ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 19 คำสั่ง