samun007
|
เนื่องจากได้เห็นคำอธิบายในแผนผังบนพระนครคีรี(เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี มีสถานที่หนึ่งคือโรงม้า และโรงเก็บราชรถ ซึ่งเมื่ออ่านจากบันทึกแล้ว คร่าว ๆ ก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระองค์จะทรงเสด็จฯ ทางชลมารคเพื่อไปยังท่าเรือบ้านแหลม จากนั้นจะทรงม้าต่อมาที่พระนครคีรี ก็เลยเป็นที่มาแห่งความสงสัยว่า ในสมัยนั้นมีการสร้างทางขึ้นไปยังยอดพระนครคีรีหรือยังครับ ?
รบกวนสอบถามเท่านี้ก่อนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 10:58
|
|
จำได้ว่าตอนไปเที่ยวที่เขาวัง ทางเดินรอบ ๆ นั้นจะปูด้วยอิฐตะแคงตลอดเลยครับ จะมีส่วนเป็นบันได้ก็เพียงเล็กน้อย
ยกภาพถ่ายทางอากาศวิลเลี่ยม ฮันท์ ให้ชมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 11:03
|
|
ขออภัยที่ตอบคำถามคุณ samun007 ไม่ได้ว่าในรัชกาลที่ 4 เขาสร้างทางกันหรือยัง แต่ก่อนหน้ารัชกาลที่ 4 หาหลักฐานจากนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ทั้งเจ้านายทั้งมหาดเล็กเมื่อขึ้นจากเรือแล้ว ต้องขี่ช้างบุกป่าฝ่าดง ไปจนกระทั่งถึงตัววัดเลยละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samun007
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 11:25
|
|
ขอบพระคุณทั้งสองท่านครับ  ถ้าเป็นอย่างที่ อ.เทา บอกมาแสดงว่าก่อนหน้านั้นก็คงจะเดินทางกันด้วยช้าง ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาในการที่จะต้องไต่ระดับขึ้นที่สูง ไม่ทราบว่า คุณหนุ่มพอจะมีภาพมุมอื่น ๆ บ้างไหมครับ เพราะผมยังติดใจเรื่องกรณีราชรถอยู่ว่า จะทรงใช้เฉพาะบนพระนครคีรีตามถนนปูด้วยอิฐของคุณหนุ่มบอกเท่านั้นหรือไม่ หรือว่ามีการใช้รับเสด็จตั้งแต่ทางขึ้นเลย ก็คงมีอีกสองประเด็นที่สงสัยเท่านี้ล่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 11:35
|
|
อิฐตะแคงปูลาดอยู่ทั่วไปในบริเวณเขาวัง ส่วนถนนที่มุ่งหน้าสู่เขาวัง คงเป็นดินบดแน่นครับ ทั้งนี้เมืองเพชรบุรีมีความเจริญมากแล้ว จะเห็นได้จากภาพเก่าสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการก่อสร้างสะพานช้าง (เพื่อให้ช้างข้าม) ทอดขวางแม่น้ำเพชร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานพระจอมเกล้าฯ
ส่วนเรื่องราชรถนั้น มีข้อความให้อ่านไหมครับว่าอ้างถึงอย่างไรบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 12:04
|
|
อ่านของ CARL BOCK ที่เข้ามาสมัยต้น ร5 แกไปทางเรือจนถึงบ้านแหลม แล้วเปลียนไปขึ้นเรือเล็กจนถึงเมืองเพชร
แกเล่าว่ามองเห็นยอดเขาวังตั้งแต่บ้านแหลม เมื่อไปเขาวังสภาพทรุดโทรม เพราะคนไทยชอบสร้างแต่ไม่บำรุงรักษามักปล่อยให้ทรุดโทรม แต่ไม่เล่ารายละเอียดมากนัก
ผมอ่านของแหม่มเอดน่า บรูเนอร์ ในหนังสือสยามคือบ้านของเรา ตอนนั้นปลาย ร5 แกไปทางรถไฟแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 13:13
|
|
ภาพยอดเขาวัง น่าจะเป็นฝีมือแหม่ม เอดน่า บรูเนอร์
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 13:35
|
|
เทียบกับภาพด้านบน ภาพถ่ายโดยวิลเลี่ยม ฮันท์ 2489
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เสมา
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 13:51
|
|
ในหนังสือเรื่อง วังเจ้า วังเดิม ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่๔ นั้นเจ้านายจะเสด็จขึ้นโดยใช้รถม้ากันนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
art47
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 15:16
|
|
ลาวโซ่งเมืองเพชร มีหน้าที่รักษาพระราชวัง และเป็นลูกหาบ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินอยู่บ่อยๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 16:04
|
|
จากรูป1307 เป็นไปได้ไหมครับที่จะเป็น ข้าราชการรักษาพระราชวัง พระนครคีรี(เขาวัง) ที่เรียกว่า เด็กชา เมื่อรับราชการปฏิบัติหน้าที่บนพระนครคีรี เด็กชาชาวโซ่งจะแต่งกายตามความนิยมของเผ่าตน สวมกางเกงสีดำ เรียกว่า ซ่วง ปลายขาแคบเกือบจรดข้อเท้า สวมเสื่อสีดำแขนกระบอกจรดข้อมือ ชายเสื้อยาวคลุมสะโพก เสื้อผ่าอกตลอดติดลูกกระดุมเงินชิดถี่ตั้งแต่ลำคอไปถึงเอว เรียกว่า ก่อม และคาดกระเป๋า โซ่งเรียกว่า หลวม คาดไว้ที่เอว ถ้ารับเสด็จในหลวง โซ่งจะสวมเสื้อยาว เรียกว่า เสื้อฮี ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายชุดใหญ่ ใช้ได้ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งใช้งานมงคล และงานอมงคล ใช้อีกด้านหนึ่ง มีลวดลายหลากสี
เด็กชาเหล่านี้แบ่งกันทำหน้าที่รับใช้เจ้านาย แต่ละพระองค์ เด็กชาบางคนรับใช้ใกล้ชิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ บ้างทำหน้าที่หามคาน หามเสลี่ยง ขึ้นลงเขา ยามพระองค์ทรงเสด็จฯ เด็กชารุ่นเก่า ๆ หลายคน คุ้นเคยกับเจ้านาย ข้าราชบริพาร พระเจ้าลูกยาเธอที่ยังทรงพระเยาว์ บางพระองค์ได้ขี่คอพวกเด็กชาขึ้นลงเขาวัง เป็นที่สนุกสนาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อยังทรงพระเยาว์ตามเสด็จฯ มาพระนครคีรีอยู่เนือง ๆ พระองค์จึงทรงคุ้นเคยกับเด็กชารุ่นเก่า ๆ
เด็กชาเหล่านี้นอกจากรับใช้ในหลวง และเจ้านายต่าง ๆ เวลาเสด็จมาประทับแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ รักษาข้าวของในพระนครคีรีอีกด้วย เด็กชาจะเข้าเวรผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นชุด ๆ ชุดละ ๓-๔ คน โดยมีมหาดเล็กเป็นหัวหน้าควบคุมอีกทีหนึ่ง หัวหน้าผู้ดูแลพระนครคีรีมีบรรดาศักดิ์ที่พระบริบาลคีรีมาตย์ ดูแลพระราชวังโดยรวมทั้งหมด
http://th.wikipedia.org/wiki/เด็กชาเด็กชาที่เขาวังในรัชกาลที่ ๔ คงแต่งตัวลักษณะนี้ สองคนทางขวามือใส่เสื้อฮี มีบางคนคาดกระเป๋าที่เอวด้วย  
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 19:25
|
|
คัดจากสถานก่อสร้างที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔
พระนครคิรีเมืองเพ็ชรบุรี โปรด ฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมเปนแม่กองให้จมื่นราชามาตย์ ท้วม๑ ซึ่งได้เคยออกไปประเทศยุโรปกับราชทูตที่ไปเมืองอังกฤษ เลื่อนเปนพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ตำแหน่งปลัดเมืองเพ็ชรบุรีเปนนายงาน สร้างพระราชวังขึ้นที่บนเขามหาสมณแห่ง ๑ และเขามหาสมณนั้นมี ๓ ยอด ยอดเหนือโปรดให้สร้างพระเจดีย์วิหารยอดกลางมีพระเจดีย์อยู่แต่เดิมโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ดังจะกล่าว ในตอนที่ว่าด้วยพระเจดีย์วิหารซึ่งทรงสร้างต่อไปข้างน่า ยอดข้างใต้นั้นโปรดให้สร้างพระราชวัง การที่ก่อสร้างล้วนเปนเครื่องอิฐปูนของถาวรพระราชทานนามเรียกรวมกันว่า พระนครคิรี แลเขามหาสมณนั้นพระราชทานนามใหม่ว่า เขามหาสวรรค์ พระที่นั่งในบริเวณพระนครคิรีมีหลายหลัง พระราชทานนามต่าง ๆ กัน คือ พระที่นั่งเพ็ชรภูมิไพโรจน์ เปนท้องพระโรง พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เปนที่ประทับ พระที่นั่งเวชยันตวิเชียรปราสาท เปนปราสาทหลังน้อยยอดปรางค์สร้างขึ้นโดยทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชวังใหญ่แต่โบราณเช่นพระนารายน์ราชนิเวศน์ที่เมืองลพบุรี ย่อมมีปราสาท จึงทรงสร้างขึ้นเปนสังเขปที่พระนครคิรี พระที่นั่งราชธรรมสภา เปนที่ทรงธรรมแลพระราชพิธีสงฆ์ ตำหนักสันถาคารสถาน เปนที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน
๑ คือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี.
หอพิมานเพ็ชรมเหศวร์ เปนที่ทำนองศาลพระภูมิ หอจัตุเวทประดิษฐพจน์ เปนหอพระปริต มีซุ้มตะเกียงใหญ่ที่ริมพระที่นั่งราชธรรมสภาซุ้ม ๑ จุดตะเกียงแลเห็นได้ถึงทเล พระราชทานนามว่า หอชัชวาลเวียงไชย ๑
ประตูรอบบริเวณพระราชวังมีชื่อขนานต่าง ๆ กัน ประตูบริเวณพระราชวัง ๔ ประตูชื่อ ประตูนารีประเวศ ๑ ประตูวิเศษราชกิจ ๑ ประตูราชฤทธิแรงปราบ ๑ ประตูอานุภาพเจริญ ๑ ประตู ในบริเวณพระราชมณเฑียร ๓ ประตู ชื่อ ประตูดำเนินทางสวรรค์ ๑ ประตูจันทร์แจ่มจำรูญ ๑ ประตูสูรย์แจ่มจำรัส ๑
ภายนอกพระราชวังมีป้อมตามไหล่เขารายรอบ ๕ ป้อม มีชื่อ ป้อมธตรฐป้องปก ๑ ป้อมวิรุฬหกบริรักษ์ ๑ ป้อมวิรูปักษ์ป้องกัน ๑ ป้อมเวศสวรรณรักษา ๑ ป้อมวัชรินทราภิบาล ๑
มีหอพราหมณ์คู่กับหอพิมานเพ็ชรมเหศวว์อิกหลัง ๑ น่าจะมีชื่อรับสัมผัสมา ต่อชัชวาลเวียงไชย แต่หาพบชื่อปรากฏไม่ และยังมีศาลาลูกขุนทิมดาบโรงม้าและสถานที่ต่าง ๆ อิกหลายอย่าง
ถนนใหญ่ทำแต่เชิงเขาลงมาถึงท่าน้ำ พระราชทานนามว่า ถนนราชวิถี และที่เมืองเพชรบุรีนั้นโปรดให้สร้างสพานช้างก่ออิฐ ถือปูนข้ามลำน้ำสพาน ๑ สร้างตึกแถวริมถนนตลาดเมืองเพ็ชรบุรี ๒ แถว สร้างถนนแต่เชิงเขามหาสวรรค์ไปถึงเขาหลวงสาย ๑ ถนนแต่เชิง สพานช้างไปถึงเขาบันไดอิฐสาย ๑ ถนนขวางแต่ถนนราชวิถีมาถึงถนนเขาบันไดอิฐสาย ๑ สร้างประปามีเครื่องสูบน้ำขึ้นถังที่ริมลำน้ำ ฝังท่อให้ ไหลไปลงอ่างที่เชิงเขา ให้คนตักหาบขึ้นไปบนพระนครคิรี เจ้านายแลข้าราชการที่ไปตามเสด็จสร้างตึกที่พักขึ้นที่ริมน้ำ ๔หลัง คือตึกของกรมหมื่นวิศณุนารถนิภาธรหลัง ๑ ของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์หลัง ๑ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์หลัง ๑ ของพระยามนตรีสุริยวงศ์ชุ่ม หลัง ๑ การก่อสร้างสำเร็จแต่รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จไปประทับหลายคราว ในรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เสด็จไปประทับที่พระนครคิรีหลายคราว ( ในรัชกาลที่๕ ได้โปรด ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระนครคิรีขึ้นสำหรับ รับแขกเมืองเจ้าต่างประเทศ เพราะฉนั้นยังอยู่บริบูรณ์ดีหมดทุกอย่าง ตึกที่พักที่ริมน้ำก็ยังใช้เปนที่พักข้าราชการอยู่ แต่ตึกแถวที่ตลาดนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก แล้วไฟไหม้เสียเมื่อในรัชกาลปัตยุบันนี้ )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 21:21
|
|
การปูอิฐแนวนอนสลับกัน ถ่ายไว้เมื่อราว พ.ศ. 2550 ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 24 ส.ค. 12, 21:24
|
|
ความงามของประตูสูรย์แจ่มจำรัส ประดับพระอาทิตย์ลอบ เมฆ และนกยูง นำแนวคิดมาจากราชรถพระอาทิตย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samun007
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 27 ส.ค. 12, 11:10
|
|
อิฐตะแคงปูลาดอยู่ทั่วไปในบริเวณเขาวัง ส่วนถนนที่มุ่งหน้าสู่เขาวัง คงเป็นดินบดแน่นครับ ทั้งนี้เมืองเพชรบุรีมีความเจริญมากแล้ว จะเห็นได้จากภาพเก่าสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการก่อสร้างสะพานช้าง (เพื่อให้ช้างข้าม) ทอดขวางแม่น้ำเพชร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสะพานพระจอมเกล้าฯ
ส่วนเรื่องราชรถนั้น มีข้อความให้อ่านไหมครับว่าอ้างถึงอย่างไรบ้าง
ต้องขออภัยที่มาตอบช้านะครับ เรื่องราชรถนี่ ผมสงสัยขึ้นมาเองน่ะครับ เพราะเห็นว่ามีอาคารที่เขาเขียนไว้ว่าเป็นโรงเก็บราชรถและโรงม้า ก็เลยสงสัยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่จะมีการใช้ราชรถจากถนนหน้าเขาวังจนไปถึงด้านบนของเขาวังน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|