เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13885 สวัสดีครับ ขอฝากตัวเป็นสมาชิกใหม่ด้วยครับ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 07:00

อ้างถึง
ส่วนเรื่องในวิกี้ื ที่กล่าวว่า "แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีเรื่องเล่าถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารีอย่างแพร่หลายแล้ว ซึ่งงานวิจัยของสายพิณ แก้วงามประเสริฐกลับละเลยที่จะกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว"
อันนี้ถ้าแพร่หลายอย่างมากเหตุใดวีรสตรีระดับนี้สถูปจึงดูไม่เหมาะสมกับ ฐานะทางสังคมในระดับวีระสตรี (รูปสถูปวีระสตรีก่อนบูรณะค่อนข้างเล็กมาก) ทั้งๆที่เป็นเรื่องวีรสตรีที่แพร่หลายในขณะนั้นอีกทั้ง technology ขณะนั้นสามารถหล่อรูปเหมือนทองแดงขนาดใหญ่ได้


ผมยังงงๆกับคำถาม ไม่ทราบคำว่าtechnologyขณะนั้นคุณหมายถึงขณะไหน ขณะที่สร้างสถูปกระนั้นหรือ

ต้องเข้าใจพื้นฐานนิดนึงนะครับว่าธรรมเนียมการสร้างอนุสาวรีย์เป็นรูปเหมือนของมนุษย์นั้น เมืองไทยรับอิทธิพลทางความคิดมาในสมัยรัชกาลที่๕ และสร้างกันเยอะๆจริงๆก็ตอนเมื่อได้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมาเป็นปฏิมากรของกรมศิลปากร ตั้งแต่ในรัชกาลที่๖เป็นต้นมา

สมัยก่อนๆนั้น ท่านนิยมสร้างเป็นสถูปเจดีย์ ก็ถูกต้องแล้วครับที่อนุสรณ์สถานเดิมของท่านหญิงโมจะเป็นเช่นนั้น (ผมยังคิดว่าสถูปในรูปที่เห็น จะไม่ใช่ที่จอมพลประภาสกล่าวถึง อาจเป็นสถูปที่สร้างขึ้นใหม่แทนอันเดิมที่ปรักหักพังในช่วงหลังจากที่จอมพลประภาสค้นพบของเดิมแล้วก็ได้)

อนึ่งtechnologyการหล่อสัมฤทธิ์ในขณะนั้น ถ้าคนไทยมี ก็คงจะเป็นแนวพระพุทธรูป แต่ในอิสานคงยาก แม้พระพุทธรูปก็จะเป็นปูนปั้นหรือแกะสลักหินเป็นส่วนใหญ่ จะหล่อเป็นโลหะเห็นจะยากที่จะหาวัตถุดิบ เมืองหลวงคงไม่ยอมให้มี เพราะเดี๋ยวเอาไปหล่อปืนใหญ่จะยุ่ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 07:14

อ้างถึง
จากรูปของอาจารย์ Navarat.c น่าจะหมายถึงบาทหลวงJoseph Marchand  ซึ่งไม่ใช่กษัตริย์ รายนั้นโดนling chi (รูปวิธีการling chi น่ากลัวมากๆ) ซึ่งพิเข้าใจระดับความโหดของโทษสามัญชนได้ แต่ในกรณีกษัตริย์ หรือผู้สำเร็จราชการในศตวรรษที่19
ที่โดนโทษ ling chi น่าจะหมายถึง ซู่ซุ่น ไจ่หยวน และ ตวนหวา (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง) โทษกบฎกล่าวโทษโดยพระนางซูซีไทเฮา แต่ได้รับการลดหย่อนเปลี่ยนวิธีตายในภายหลังซึ่งหลักการประหารน่าจะมีวิธีแน่นอนในประเทศจีนมานานมาก น่าจะต่างจากไทย ตามที่ผมเข้าใจที่สงสัยคือระดับ กษัตริย์ น่าจะโดนท่อนจันทร์ หรือ บั่นเศียรแต่ในกรณีนี้ทำไมกลายเป็นขังกรงประจานทางไทยต้องการส่งสัญญาณอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ครับ

ครับ ผมเพียงแต่ต้องการแสดงให้ทราบสามัญสำนึกของคนเอเซียสมัยนั้นว่า การทรมานทรกรรมนักโทษก่อนประหารนี้ ไม่ว่าระดับไหน สมัยนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาๆไม่ใช่เป็นเรื่องพิเศษอันได จะถือว่าต้องการส่งสัญญาณก็ใช่ ที่ทำกับเจ้าอนุ ก็เพื่อให้พวกเจ้าประเทศราชทั้งหลายเกรงกลัวอำนาจ ที่ทำกับโจรสามัญ ก็เพื่อให้คนเกรงกลัวไม่ทำชั่วต่อคนอื่น

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 08:04

เนื้อหาในนิราศเวียงจันทน์ ของ ก.ศ.ร. กล่าวไว้ในเรื่องการจับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์ไว้ว่า ได้จับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์บนยอดเขาเอามือไพล่หลัง พร้อมจับครอบครัวภรรยาได้กลางป่าและจับตัวทั้งหมดแข้ามาสอบสวน แล้วทำกรงใหญ่จับเจ้าอนุวงศ์ใส่กรงไว้แล้วหามเข้ากรุงเทพฯ

เมื่อถึงกรุงเทพก็มีการชำระความและนำกรงนั้นประจานในเวลาบ่ายเลียบถนนมหาไชย ซึ่งกรมเมืองเตรียมขอเบ็ด กะทะน้ำมัน ครกสาก เอาไว้สำหรับทรมานร่างกาย ดังนั้นเจ้าอนุวงศ์เห็นว่าไม่รอดตัวจึงได้ให้คนสนิทหายาพิษมากินก่อนที่จะมีการทรมานเกิดขึ้น ครั้นสิ้นชีพแล้วก็นำโลงไปฝัง ส่วนบุตรหญิงกับเมียก็ส่งเข้าวัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 08:28

อ้างถึง
ดังนั้นเจ้าอนุวงศ์เห็นว่าไม่รอดตัวจึงได้ให้คนสนิทหายาพิษมากินก่อนที่จะมีการทรมานเกิดขึ้น
ข้อความนี้น่าเชื่อถือและสอดคล้องกับฉบับอื่นที่ว่า
อ้างถึง
ทำดั่งนี้อยู่ได้ประมาณ ๗ วัน ๘ วัน พออนุป่วยเป็นโรคลงโลหิตก็ตาย

คือ คนเราไม่อยากตายบางครั้งก็ตายง่ายๆ ส่วนที่อยากตายมันก็กลับไม่ตายเองตามธรรมชาติ ต้องอาศัยตัวช่วยจึงจะตายได้เร็วสมใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 08:37

ยังมีคนร่วมสมัยกับก.ศ.ร. กุหลาบบางคน ที่ไม่เชื่อว่าเจ้าอนุวงศ์เสียชีวิตในกรง

จากสยามประเภทเล่ม ๒





 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 08:52

^
คุณเพ็ญฯ ยกมาแสดงว่ากระแสเรื่องเจ้าอนุวงศ์ มีปรากฎแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนเรื่องตายนอกกรง "มันเป็นเรื่องโพยมยาน"  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:00

^
^
แหะ แหะ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
kmint
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:02

ขอขอบคุณอาจารย์ navarat.c มากนะครับ ขออภัยที่ผมพิมพ์ผิดจากจอมพลประภาส เป็นจอมพลผิน พอดีใช้ ipad มันเติมให้ auto ประกอบกับไม่ได้ดูเลยผิดหลายคำ ขออภัยครับ เศร้า

หลายปีก่อนผมเคยไม่ชอบงานเขียน การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  จนถึงขั้นละเลยไป เพราะอ่านแล้วทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เนื่องจากขัดกับความเชื่อหลักของผมเอง
แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ารู้สึกเสียดายหนังสือเล่มนี้อย่างมาก อาจเป็นเพราะค้นหาข้อมูลหลายๆอย่างทั้งจากคุณ google คุณ wiki และอื่นๆ

ผมเดินมาถึงบางอ้อเมื่อได้อ่านบทของอาจารย์เพ็ญชมพู
ส่วนเรื่องในวิกี้ื ที่กล่าวว่า "แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีเรื่องเล่าถึงวีรกรรมของท้าวสุรนารีอย่างแพร่หลายแล้ว ซึ่งงานวิจัยของสายพิณ แก้วงามประเสริฐกลับละเลยที่จะกล่าวถึงประเด็นดังกล่าว"
อันนี้ถ้าแพร่หลายอย่างมากเหตุใดวีรสตรีระดับนี้สถูปจึงดูไม่เหมาะสมกับ ฐานะทางสังคมในระดับวีระสตรี (รูปสถูปวีระสตรีก่อนบูรณะค่อนข้างเล็กมาก) ทั้งๆที่เป็นเรื่องวีรสตรีที่แพร่หลายในขณะนั้นอีกทั้ง technology ขณะนั้นสามารถหล่อรูปเหมือนทองแดงขนาดใหญ่ได้

คนสมัยนี้โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าวีรกรรมของคุณหญิงโมคงเป็นที่รู้จักแพร่หลายของคนสมัยโน้น คือคนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ หลังเหตุการณ์เจ้าอนุวงศ์ลงมา, แต่ปรากฏว่า ไม่ใช่

สายพิน แก้วงามประเสริฐ ผู้ค้นคว้าและวิจัยเรื่อง การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เล่มนี้ ตรวจพบว่าวีรกรรมของคุณหญิงโมไม่ปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่เพิ่งมีสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ เมื่อเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) แต่งพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ แล้วใส่เรื่องนี้เข้าไปด้วยข้อความสั้น ๆ เพียงไม่กี่บรรทัด สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๗๗ กราบทูลสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (สาส์นสมเด็จ, เล่ม ๔, คุรุสภา ๒๕๐๕, หน้า ๓๑๓) ว่า "เรื่องท่านผู้หญิงโม้นี้ดูก็ประหลาด ดูในพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ซึ่งถวายมา ไม่เห็นแสดงว่าแผลงอิทธิฤทธิ์อะไร เป็นแต่ว่าคุมพวกผู้หญิงเป็นกองหลังเท่านั้น ทำไมจึงยกย่องกันนักหนาไม่ทราบ"

จากคำนำเสนอ : การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

 ขยิบตา


เลยสรุปได้จากไอคอนตกใจของอาจารย์เพ็ญ ขยิบตา(นั่งหัวเราะประมาณสิบนาที ท่านอ้างถึงเองตกใจเอง  ผมคิดว่าท่านตอบโดยไอคอนนี้ช่างลุ่มลึกในความคิดยิ่งนัก ) เปรียบเทียบสรุปแบบนี้ได้ไหมครับ
บางครั้งประวัติศาสตร์บางเรื่องเปรียบเหมือน ต้นไม้ใหญ่(ถ้ามันสามารถโตใหญ่ได้)ในพื้นที่บ้านเรา ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกา ให้ความร่มเย็นกับพื้นที่บ้าน ออกดอกให้ผล
ต้นไม้ต้นนี้สวยงามมีประโยชน์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปขุดรากดูว่าต้นไม้นี้ ผู้ดูแลสวนขุดจากที่อื่นมาปลูกหรือขึ้นเองจากเมล็ดพันธุ์ การขุดให้ลึกบางครั้งอาจทำลายต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ได้แม้เราจะได้คำตอบที่ชัดเจนว่า
ต้นนี้ไม่มีรากแก้ว
ตอนนี้เลยรู้สึกมีความสุขกับต้นไม้รอบบ้านมากขึ้น แต่ในใจลึกๆก็กลัวว่า เวลาเดินเข้าไปดูใกล้ๆ อาจเห็นเครื่องหมายตกใจแปะอยู่ทุกต้นก็ได้
 ยิ้ม
ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:19

เหตุการณ์การปกครองหัวเมืองระบบประเทศราชนั้น เป็นการปกครองที่ใช้กันแพร่หลายในภุมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยก่อนถือคำมั่นสัญญาและถือน้ำพิพัฒน์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยึดถือด้วยวาจาเป็นหลัก หากผิดหลักสาบานก็ถือว่าเป็นกบฏ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงอำนาจการปกครองระหว่างสยาม - ลาว - เวียดนาม ประกอบซึ่งจะเห็นว่าเมืองที่กำลังอ่อนกว่าก็มักจะไปเข้ากับเมืองที่มีกำลังแข็งแกร่งกว่า เรียกว่า "ทู้เมือง"

ซึ่งการทู้เมืองนี้เองทำให้เกิดปัญหากันมาโดยตลอด เดี่ยวเข้ากับประเทศนั้น เดี่ยวรบกับประเทศนี้เป็นประจำ ในสมัยนี้โชคดีที่มีนักคิดนักวิเคราะห์หลายท่าน มีข้อมูลมาเสนอวิเคราะห์ซึ่งก็ต้องเลือกพิจารณาความให้ดีว่าจริงหรือไม่จริง

การที่จะเรียกว่า "กบฏ" สำหรับเจ้าอนุวงศ์ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองสำหรับคนสมัยนี้ แต่สำหรับคนสมัยก่อนเขารักชาติรักแผ่นดินเขาก็ย่อมที่จะต้องเลือกต่อสู้เพื่อคานอำนาจระหว่างรัฐ ยิ่งเวียดนามให้การสนับสนุนก็ยิ่งมีแรงที่จะต่อสู้ สำหรับฝ่ายสยามก็มองว่าไม่อ่อนน้อมต่อบ้านเมือง ก็ยกทัพไปปราบปรามสั่งสอนไม่ให้กระด้างกระเดื่องอีกต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:23

เข้ามาอ่านด้วยความสนใจ   แต่ยังขออยู่ในรอบนอกนะคะ  เชิญท่านทั้งหลายล้อมวงกันวิจารณ์ไปก่อน
ไปเปิดประวัติศาสตร์ลาวที่นักวิชาการลาวเขียน ในอินทรเนตรแล้ว   เขาก็มองเจ้าอนุวงศ์เป็นวีรบุรุษ อย่างมหาศิลา วีระวงศ์เขียนไว้  ข้อนี้ก็ไม่แปลก   ผู้นำในอาณาจักรไหนถ้าทำอะไรลงไปเพื่อผลดีแก่อาณาจักรตัวเอง ก็สมควรได้รับการยกย่องอยู่ดี  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:29

ข้อสำคัญอยู่ที่คุณkmintคิดว่าตนเองมีจิตวิญญาณของนักประวัติศสาตร์ หรือนักสังคมวิทยา นักการเมือง ?

ถ้าเป็นอย่างแรก คุณสงสัยในข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์อย่างไร ก็ควรจะค้นหาให้ถึงที่สุด หากได้หลักฐานมั่นคงขึ้นมาใหม่ ก็เชื่ออย่างใหม่ ส่วนว่าตนเองเชื่อแล้วจะทำให้คนอื่นเชื่อเช่นนั้นด้วย โดยวิธีการอย่างไร นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง

แต่ถ้าจิตวิญญาณของคุณไม่ถึงขั้นนั้น ก็แล้วไป คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ก็เลือกที่จะเชื่อในเรื่องที่ต้องกับจริตของตนเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:34

เลยสรุปได้จากไอคอนตกใจของอาจารย์เพ็ญ ขยิบตา(นั่งหัวเราะประมาณสิบนาที ท่านอ้างถึงเองตกใจเอง  ผมคิดว่าท่านตอบโดยไอคอนนี้ช่างลุ่มลึกในความคิดยิ่งนัก )

ตกใจ  ถึงจะแปลว่า "ตกใจ"

ขยิบตา  แปลว่าอะไร ทิ้งไว้ในตีความหมายเอง

หนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีของคุณสายพินซื้อมานานแล้ว เห็นว่าเธอค้นคว้าได้ละเอียดครบถ้วนดี เธอไม่ได้สรุปว่าคุณหญิงโมไม่มีตัวตนจริง เพียงแต่สงสัยว่าวีรกรรมที่กล่าวขานกันนั้นเป็นความจริงมากน้อยเพียงใด

บางครั้งประวัติศาสตร์บางเรื่องเปรียบเหมือน ต้นไม้ใหญ่(ถ้ามันสามารถโตใหญ่ได้)ในพื้นที่บ้านเรา ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกา ให้ความร่มเย็นกับพื้นที่บ้าน ออกดอกให้ผล
ต้นไม้ต้นนี้สวยงามมีประโยชน์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปขุดรากดูว่าต้นไม้นี้ ผู้ดูแลสวนขุดจากที่อื่นมาปลูกหรือขึ้นเองจากเมล็ดพันธุ์ การขุดให้ลึกบางครั้งอาจทำลายต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ได้แม้เราจะได้คำตอบที่ชัดเจนว่า
ต้นนี้ไม่มีรากแก้ว
ตอนนี้เลยรู้สึกมีความสุขกับต้นไม้รอบบ้านมากขึ้น แต่ในใจลึกๆก็กลัวว่า เวลาเดินเข้าไปดูใกล้ๆ อาจเห็นเครื่องหมายตกใจแปะอยู่ทุกต้นก็ได้
 ยิ้ม

คุณสายพินบอกกล่าวไว้ตอนต้นของหนังสือว่า

คนทั่วไปมักเข้าใจว่า "ประวัติศาสตร์" คือ "ความจริง" ที่รอคอยการถูกค้นพบ เสมือนเป็นซากผุพังทางโบราณคดี ดังนั้น จึงเชื่อว่าเรื่องที่ปรากฏในแบบเรียนประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงโดยหลงลืมไปว่า เรื่องราวเหล่านั้นถูกเขียนขึ้นโดยบุคคลในยุคหลังเหตุการณ์นั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มี "อัตตะ" ของตนเอง ด้วยความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้าต้องเขียนประวัติศาสตร์ในมุมมองของข้าพเจ้า

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 09:58

อ้อ เรื่องเขียนหรือเรื่องเล่าที่อ้างว่าเป็นประวัติศาสตร์ทั้งหลาย จะประกอบด้วยมูลและฝอย

นักประวัติศาสตร์พึงสนใจเรื่องมูล มากกว่าเรื่องฝอย
หากฝักไฝ่เรื่องฝอยมาก เดี๋ยวจะไปคว้าเอาขยะมูลฝอยมายึดติดได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 10:39


หลายปีก่อนผมเคยไม่ชอบงานเขียน การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  จนถึงขั้นละเลยไป เพราะอ่านแล้วทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เนื่องจากขัดกับความเชื่อหลักของผมเอง
แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ารู้สึกเสียดายหนังสือเล่มนี้อย่างมาก อาจเป็นเพราะค้นหาข้อมูลหลายๆอย่างทั้งจากคุณ google คุณ wiki และอื่นๆ

บางครั้งประวัติศาสตร์บางเรื่องเปรียบเหมือน ต้นไม้ใหญ่(ถ้ามันสามารถโตใหญ่ได้)ในพื้นที่บ้านเรา ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกา ให้ความร่มเย็นกับพื้นที่บ้าน ออกดอกให้ผล
ต้นไม้ต้นนี้สวยงามมีประโยชน์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปขุดรากดูว่าต้นไม้นี้ ผู้ดูแลสวนขุดจากที่อื่นมาปลูกหรือขึ้นเองจากเมล็ดพันธุ์ การขุดให้ลึกบางครั้งอาจทำลายต้นไม้ใหญ่ต้นนี้ได้แม้เราจะได้คำตอบที่ชัดเจนว่าต้นนี้ไม่มีรากแก้ว
ตอนนี้เลยรู้สึกมีความสุขกับต้นไม้รอบบ้านมากขึ้น แต่ในใจลึกๆก็กลัวว่า เวลาเดินเข้าไปดูใกล้ๆ อาจเห็นเครื่องหมายตกใจแปะอยู่ทุกต้นก็ได้
 ยิ้ม
ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านครับ
ต่อให้พบว่าต้นไม้ไม่มีรากแก้ว  แต่ถ้าต้นไม้ให้ความร่มเย็น  ออกดอกออกผลให้คุณชื่นตาชื่นใจ    คุณก็ไม่ต้องไปสนใจว่ารากแก้วจะมีหรือไม่มี   ยึดเอาผลดีที่คุณได้รับจากต้นไม้ต้นนี้เป็นหลัก  เท่ากับต้นไม้ได้ทำหน้าที่ที่ควรทำแก่บ้านคุณแล้ว
แต่ถ้าใจยังไม่หยุดนิ่ง  อยากจะรู้มากกว่านั่งเล่นอยู่ใต้ต้นไม้    คุณก็ค้นคว้าต่อไปได้ ไม่เสียหายอะไร   ไม่ว่าจะพบว่ามีรากแก้วหรือไม่มีก็ตาม     เพราะขั้นสุดท้ายคนที่ตัดสินใจคือตัวคุณเองค่ะ

คุณสายพินเธอก็ไม่ได้ฟันธงว่าย่าโมหรือท้าวสุรนารีไม่มีตัวจริง  เพียงแต่เธอสงสัยว่าวีรกรรมนั้นถูกปลุกกระแสให้ยกย่องกันมากในชั้นหลังด้วยเหตุผลทางการเมืองชาตินิยมที่ถูกกระพือขึ้นในยุคประมาณสงครามโลกครั้งที่ ๒  ต่างหาก  
ส่วนความเห็นของดิฉันก็คือวีรกรรมก็คือวีรกรรม     ใครจะสรรเสริญมากหรือน้อย  จะตื่นเต้นฮือฮา หรือแค่พยักหน้ารับรู้เฉยๆ  ก็ไม่ได้ทำให้วีรกรรมนั้นกลับตาลปัตรกลายเป็นพฤติกรรมขลาดไปได้      สายตาของแต่ละยุคที่มองแตกต่างกัน  คือมุมมองของคน  เกิดจากค่านิยมและกระแสนิยมในแต่ละยุค   จึงทำให้คำตอบเปลี่ยนแปลงไปอยู่เรื่อยๆ
เจ้าอนุเองก็ถูกมองคนละแบบจากสายตาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์ลาว   จอร์ช วอชิงตันผู้เป็นวีรบุรุษคนหนึ่งของอเมริกาก็ย่อมจะถูกรัฐบาลอังกฤษในสมัยพระเจ้าจอร์จมองว่าเป็นหนึ่งในกบฏแน่นอน    โจโฉเองก็มีคนยกย่องว่าเป็นมหาเสนาบดีที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่  หรือเล่าปี่ก็ถูกมองได้ว่าเสแสร้งและมักใหญ่ใฝ่สูง   เพราะงั้นถ้ากรณีย่าโมจะเกิดคำถามขึ้นมาบ้าง ก็อย่าถือเป็นเรื่องเสียหายต่อเกียรติคุณของท่านเลย
บันทึกการเข้า
kmint
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ส.ค. 12, 11:28

ขอบคุณ อาจารย์เทาชมพู มากครับ (ท่านมีความเป็นครูสูงจริงๆ) ความเห็นของท่านกระจ่างแจ้งมาก ผมถึงสนใจประวัติศาสตร์ แม้ไม่ได้เรียนมาทางนี้
เพราะรู้สึกสนุก และเห็นว่านี่คือสีสันของวิชานี้ เพราะทั้งนี้ทั้งนั้นอะไรก็ตามล้วนเกิดในจิตเราเองเสมอ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง