เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 14040 แอนเนลี ภมรมนตรี
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 08:28



        หนังสืออนุสรณ์งานปลงศพ    นายพันตรี  พระชำนาญคุรุวิท (แย้ม  ภมรมนตรี) 

และนางชำนาญคุรุวิท(แอนเนลี   ภมรมนตรี)



จดหมายเหตุ  เรื่องเจ้าพระยาภูธราภัยยกทัพไปปราบฮ่อ

โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรปี

๒๔๗๓
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 08:46





        เรื่องมารดาของพลโทประยูร  ภมรมนตรี  มีข้อมูลน้อยมาก

ต่อมาได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่ถูกฉีกปกออกแล้วใส่ปกขาว  ที่เอ่ยเรื่องนางชำนาญคุรุวิทไว้เล็กน้อย

ข้อมูลด้านการเมืองนั้น  ไม่ได้นำมาใช้   แต่เรื่องราวส่วนตัวของท่านนั้นน่าสนใจมากจึงนำมาเล่าสู่กันฟัง

ว่าสุภาพสตรีเยอรมันเลี้ยงลูกอย่างไรในสยาม


สหายที่มีข้อมูลเรื่องคุณนายแอนเนลี  ขอเชิญมาเพิ่มเติมความรู้

เรื่องนายพันตรี พระชำนาญคุรุวิท (แย้ม  ภมรมนตรี) นั้นจะเขียนต่อไปในเวลาอันสมควร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 09:07



        แอนเนลี   เกิดเมื่อวันที่  ๒๗  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๑๐   ณ ตำบลดิสเซน

จังหวัด ฮัมเบิด  ประเทศเยอรมันนี     

บิดาคือ เรคเตอร์ไฟร

แอนเนลีได้ศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัย   มีความรู้ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส

        สมรสกับนายร้อยเอก  พระชำนาญคุรุวิทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓      คุณพระออกไปศึกษาต่อณประเทศยอรมันนี

ในพ.ศ. ๒๔๓๐    และกลับสู่สยามในปี ๒๔๓๔      แอนเนลีก็เดินทางมากับสามีด้วย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 12:33



        ประวัติของแอนเนลีเขียนไว้แต่เพียงว่า  ได้เคยไปตรากตรำลำบากกับสามีในราชการรักษาชายพระราชอาณาเขต



        พลิกกลับไปที่ประวัติสังเขปของคุณพระ   ระหว่างปี ๒๔๓๕ - ๓๘    ได้ออกไปรับราชการเป็นผู้บังคับการทหารมณฑลอุดร     

และได้ตั้งกองทหารรักษาชายพระราชอาณาเขตต์ที่เมืองมุกดาหารริมฝั่งแม่น้าโขง    ในสมัยที่มีข้อพิพาทระหว่างสยามกับ

ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ (ร.ศ. ๑๑๒)   เมื่อกลับมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้น ๓ เป็นบำเหน็จ

และเข้ารับราชการเป็นนายเวรแบบธรรมเนียมในกรมยุทธนาธิการทหารบก




        ประวัติของคุณพระบันทึกไว้อีกว่า   ในปี ๒๔๓๙  ได้ออกไปรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยทูตในราชการทหารบกประจำประเทศเยอรมันนี

พ.ศ. ๒๔๔๕   กลับเข้ามารับราชการในโรงเรียนนายร้อยทหารบก   เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง    และมียศสูงกว่าคณะครูในสมัยนั้น

จึงได้รับหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาบรรดาครูทั้งหมด        ตำแหน่งนี้เท่ากับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาสามัญในกรมยุทธศึกษาทหารบกสมัยนี้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:07



กลับมาที่ประวัติของแอนเนลี


        ครั้นสมัยเมื่อนายพันตรี พระชำนาญคุรุวิท  เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก      นางชำนาญคุรุวิท

ได้ช่วยรับหน้าที่สอนภาษาต่างประเทศแก่นักเรียนนายร้อยที่ราชการได้คัดเลือกไปเรียนเพิ่มเติมในต่างประเทศ

เป็นการเตรียมตัวชั้นต้น    ดังปรากฎในบัดนี้ว่า   มีนายทหารผู้ใหญ่ซึ่งได้เคยเป็นศิษย์อยู่หลายคน


        กลับไปที่ สมุดปกขาว(ห้ามจำหน่าย)    พลโทประยูร  ภมรมนตรีเล่าว่า    มารดาได้สอนภาษาเยอรมันให้แก่  พลเอก

พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์  พหลโยธิน)   พันเอกพระยาทรงสุรเดช(เทพ  พันทุมเสน)   พลตรีหม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ 

และนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกหลายคน    สำหรับท่านพระยาพหล ฯ นั้นได้มากินนอนอยู่ในบ้านเป็นเวลาหลายเดือน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:18



สมุดปกขาวเล่าต่อไปว่า   ท่านมารดาซึ่งเป็นแพทย์(หนังสืองานศพแจ้งเพียงว่าได้เรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย)

ได้ทำการรักษาพยาบาลเจ้านายฝ่ายใน   และสะสมวัตถุโบราณมาบูรณตกแต่งส่งไปขายยุโรป   


ได้คุณหลวงวิศาล (เชื้อ)  เป็นผู้ช่วยเขียนแบบปรับปรุงและได้ตั้งร้านค้าใหญ่โต  เรียกว่าสโมสรข้าราชการ

นับว่าได้สะสมเงินทองเป็นกอบเป็นกำ   ซื้อที่ทางไว้เป็นสมบัติแก่ลูกหลานตลอดมา


นอกจากนั้นยังทำไร่สวนครัว  เลี้ยงปศุสัตว์  ทำเนย  ขนมปัง   ช่วยตัวเองทุกอย่างด้วยความวิริยะอุตสาหะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:36



ครอบครัวของ นายพันตรี  พระชำนาญคุรุวิท (แย้ม  ภมรมนตรี)  อาศัยบ้าน  พล.อ.เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (แย้ม  ณ นคร)

ที่หลังวัดราชนัดดาอยู่   เพราะว่าบ้านเดิมที่อนุญาตให้น้าของบิดาอยู่ระหว่างไปเป็นทูตทหาร  น้านำไปจำนำและหลุดจำนำไป

แอนเนลลีมีตะเกียงน้ำมันก๊าซโป๊ะสีเขียวอันใหญ่   เธออ่านนิทานกริมม์ให้ลูก ๆ ฟังในยามค่ำคืน    และเล่าเรื่องโลก

ชีวิต  ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์แต่โบราณให้ฟัง 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:46



นางชำนาญคุรุวิท เกิดบุตรและธิดาด้วยพระชำนาญคุรุวิทรวม ๖ คน

ที่มีชีวิตอยู่บัดนี้(พ.ศ. ๒๔๗๓)  มี ๓ คนคือ

นางสาวอรุณ  ภมรมนตรี

นายวรกิจบรรหาร (ประยงค์  ภมรมนตรี)

นายร้อยโท ประยูร  ภมรมนตรี

   เธอเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน  พ.ศ. ๒๔๕๖     อายุ ๔๖ ปี

เมื่อสามีของเธอเสียชีวิตในปี ๒๔๗๓   เมื่ออายุ ๖๗ ปี    ลูก ๆ ก็ได้จัดงานปลงศพพร้อมกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 ส.ค. 12, 16:44

หารูปแม่ไม่ได้ครับ เอารูปลูกๆมาลงประกอบก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ส.ค. 12, 12:43

ได้มาจากกระทู้เก่า "วีรเวร-วีรกรรมของร.ล.ธนบุรีในยุทธนาวีที่เกาะช้าง"

กับเรื่องราวของแอนเนลี ภมรมนตรี

เทาชมพู:
อ้างจาก: NAVARAT.C ที่  28 ก.ย. 11, 16:54

ก่อนการรบท่านผู้นำได้ส่งพันเอกประยูร ภมรมนตรีบินด่วนนำสารของพระยาพหล อดีตนักเรียนนายร้อยไกเซอร์เกลอเก่าของเกอริงไปเยี่ยมคำนับเพื่อ“ขออนุญาต”เพราะฝรั่งเศสเป็นเด็กในคาถาของเยอรมันไปแล้ว ถ้าไม่บอกกล่าวเดี๋ยวผู้ปกครองเขาจะโกรธเอา แม่ทัพใหญ่เยอรมันเห็นใจที่ไทยอยากได้ดินแดนคืนก่อนที่ญี่ปุ่นจะชุบมือเปิบไปอีกทีหนึ่ง จึงบอกว่าถ้าไทยจะบุกเข้าไปในอินโดจีนเฉพาะในดินแดนเดิมของไทยก็จะไม่ห้าม แต่อย่าล้ำเส้นเกินเข้าไปในอินโดจีนส่วนอื่นก็แล้วกัน ดังนั้นเมื่อรบกันจริงๆ กองทัพเรือจึงถูกรัฐบาลสั่งให้รักษาพรมแดนไว้ อย่าได้รุกล้ำน่านน้ำของเขาเข้าไปสร้างปัญหาเป็นอันขาด

พันเอกประยูร ภมรมนตรี หรือต่อมาคือพลโทประยูร ภมรมนตรี  เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕    ท่านเป็นบุตรของนายพันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ซึ่งเป็นบุตรพระยามนเทียรบาล(บัว) และเป็นหลานปู่ พระยาราชมนตรี (ภู่) สืบประวัติขึ้นไปได้ถึงพระยาธิเบศรบดี จางวางมหาดเล็กในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัต ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
นายพันตรีแย้มเคยไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศเยอรมนี ได้ภรรยาเป็นสาวเยอรมัน ชื่อแพทย์หญิงแอนเนสีร์ ไฟ.เอ ธิดาศาสตราจารย์ ดร.ไฟร์ เอ อธิการบดีมหาวิทยาลัยในรัฐฮาโนเวอร์   เมื่อจบการศึกษาวิชาการทหารปืนใหญ่และสรรพาวุธแล้ว ได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อมด้วยภรรยาชาวเยอรมัน
พลโทประยูร จึงเป็นลูกครึ่งไทย-เยอรมัน พูดเยอรมันได้คล่อง ก็เหมาะสมแล้วที่จะไปเป็นทูตเจรจาในครั้งนี้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ส.ค. 12, 13:19


ขอบคุณคุณนวรัตน และคุณลุงไก่เจ้าค่ะ

        ประวัติของท่านผู้ใหญ่ที่หาได้ยาก   เมื่อลูกท่านเล่าไว้  ก็น่าจะใช้ได้

จากหนังสือปกขาว  หน้า ๑๑๖ - ๑๑๗   พลโทประยูร  ภมรมนตรีเล่าว่า


        "แห่งแรกที่ไปคือไปเปิดประตูเจดีย์ที่ฝังแม่       นำดอกไม้เข้าไปกราบศพ     นั่งสงบนิ่งอยู่เป็นครู่ใหญ่

พลางกระซิบ      แม่จ๋า ...ลูกกลับมาแล้ว        น้ำตาหยดลงรดดอกไม้ที่แจกัน    รุ่งขึ้นตักบาตร

แล้วไปถวายสังฆทานที่วัดคฤหบดี

ที่เจดีย์ฝังศพมารดานั้น   มีคนร้ายหักเอาหูมือจับกับเชิงเทียนทองเหลือง ๒ อัน   แต่ทำแจกันเคลือบตกแตก

แล้วเลยเหยียบได้แผลเบ้อเริ่ม   ต้องทิ้งของไว้ในร่องสวน    เลยถือกันว่าเฮี้ยนนัก     ท่านมารดาได้เลี้ยงอัลเซเชี่ยนไว้ตัวหนึ่งสีดำให้ชื่อว่า  เนโร่

(แปลว่าดำ)  เป็นสุนัขที่รักมาก        ตอนนำท่านบรรจุ  มันไม่ยอมไปไหน   นอนเฝ้าเจดีย์อยู่จนตาย   บางทีพระจันทร์ดั้นเมฆ  ลมพัดกรรโชก

ก็หอนโหยหวน           ความกตัญญูของสุนัขนี้ซาบซึ้งตรึงใจเป็นที่สุด"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง