เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34525 ท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมแห่งภาคพื้นเอเซีย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 17 ส.ค. 12, 10:47

กรุงเทพมหานครมีสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นศูนย์กลางแหล่งการค้า แหล่งท่องเที่ยวอันทันสมัย แต่ยังมีอีกมุมเล็ก ๆ มุมหนึ่งซึ่งยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทยผสานความทันสมัยได้อย่างงดงาม สถานที่แห่งนี้คือ "ศาลท่านท้าวมหาพรหมเอราวัณ"

กระทู้นี้จะขอรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ของสถานที่แห่งนี้ไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 11:07

เอ๊ะ  นี่ แถวที่ทำงานของใครหรือเปล่าเนี่ย คุ้นๆ นะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 11:16

ราว ๑๕๐ ปีมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๔ พื้นที่แถวนี้เป็นทุ่งนาข้าว สลับกับป่าละเมาะ จนเมื่อรัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างวัดสระปทุมขึ้น พร้อมกับการเริ่มมีถนนกรุยทางเข้ามาด้านฝั่งตะวันออกของเมือง ก็เริ่มมีชุมชนเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินกันแต่ไม่มาก เนื่องจากอยู่ไกลจากกำแพงพระนครมาก

๑๐๐ ปีมาแล้วบริเวณพื้นที่ตรงนี้ว่างเปล่ามี "คลองราชดำริ" ซึ่งถูกขุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ขุดผ่านเพื่อเปิดพื้นที่นำน้ำเข้าพื้นที่ปลูกข้าว หลังจากนั้นในย่านทุ่งปทุมวันก็มีสนามม้าฝรั่ง มีโรงเรียนสาระวัด และถนนราชดำริเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ ๔ กับถนนประแจจีน มีการก่อสร้างประตูน้ำที่คลองบางกะปิยังผลให้เกิดตลาดและชุมชนมากขึ้น

ราวช่วงรัชกาลที่ ๖ มีการตัดถนนเพลินจิตออกไปยังเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ที่ดินย่านนี้จึงถูกจับจองจากข้าราชการและเจ้านายต่าง ๆ ด้วยแถวนี้อากาศโปร่ง เป็นท้องทุ่งกว้างอากาศดีเรื่อยไปจนซอยร่วมฤดี


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 11:34

ทั้งมวลเริ่มต้นในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงของการกำหนดทิศทางประเทศด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจกันอย่างใหญ่โต และการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวหนึ่งในนั้นก็คือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งสามารถนำเงินเข้าประเทศได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าว คณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงมีความเห็นว่า รัฐบาลควรจะสร้างโรงแรม หรือ ศูนย์การค้า สถานที่บันเทิง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

กลุ่มเจ้าของที่ดินย่านดังกล่าวคือ "พระยาศรีวิกรม์" ท่านเป็นเจ้าของที่ดินย่านดังกล่าว

ทางรัฐบาลก็อยากจะมีโรงแรมระดับหรูให้บริการกับแขกของรัฐบาลที่เข้ามายังประเทศไทย ดังนั้น พลโท ประยูร ภมรมนตรี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) จึงได้เสนอโครงการก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อรองรับแขกต่างประเทศ โดยจะดำเนินในรูปแบบ "บริษัท สหโรงแรมกรุงเทพ จำกัด" ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด" ขึ้นกับกระทรวงการคลัง

การเลือกที่จะสร้างโรงแรมนั้นเดิมจะสร้างที่สวนลุมพินี แต่ได้ถูกคัดค้านเนื่องจากเห็นว่าไม่เหมาะสมจึงย้ายมาก่อสร้างที่ตั้งปัจจุบันนี้ และเริ่มก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 12:01

เมื่อการก่อสร้างเริ่มดำเนินการได้ราว ๒ ปีกว่า กลับพบปัญหาและอุปสรรค์ต่าง ๆ จากการก่อสร้างคือ สั่งของเข้ามาผิดสเป๊ค ต้องใช้เวลานานในการแก้ไข และยังมีกรณีการเสียชีวิตของคนงานก่อสร้าง ซึ่งล่าช้ามากมากแล้วทำให้ขวัญและกำลังใจการก่อสร้างเริ่มสั่นคลอน จุดนี้เองทำให้เกิดความที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างอันหนึ่งขึ้นมาเพื่อบรรเทา ปัดเป่า และเรียกขวัญกำลังใจให้กลับมาเหมือนเดิม การติดต่อผ่านผู้ใหญ่สู่ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ขอความช่วยเหลือไปยัง พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญด้านโหราศาตร์มาทำการดูสถานที่ก่อสร้าง

พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ แนะว่าเนื่องจากชื่อของโรงแรมนั้นเป็นอุปสรรคในการดังกล่าว ท่านจึงได้ทำการสักการะท้าวมหาพรหมและบอกว่าหากโรงแรมสร้างเสร็จดีแล้ว ก็จะสร้างศาลพระพรหมขึ้นในโรงแรมเพื่อเป็นการบนบานเอาไว้ และแล้วการก่อสร้างโรงแรมก็สำเร็จและมีพิธีเปิดโรงแรมเอราวัณ ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙

หลังจากนั้นเมื่อโรงแรมแล้วเสร็จจึงมีการก่อสร้างศาลท้าวมหาพรหมในเวลาต่อมา โดยเลือกที่ตั้งมุมสี่แยกราชประสงค์หันหน้าออกถนน จึงเป็นที่มาของการสร้างศาลดังกล่าวขึ้นในสังคมไทยยุค ๒๔๙๙


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 12:15

ในยุคนั้นการสร้างท้าวมหาพรหม มีดังนี้

- พระพรหม โรงแรมเอราวัณ

- พระพรหม ทำเนียบรัฐบาล

- พระพรหม โบสถ์พราหมณ์


โดยพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ สร้างโดยกรมศิลปากร ฝีมืออาจารย์จิตร พิมพ์โกวิท จากกองหัตถศิลป์ การปั้นหุ่นองค์พระพรหมด้วยปูนพลาสเตอร์จากฝรั่งเศส ครั้นขึ้นหุ่นแล้วพร้อมที่จะนำเข้าหล่อโลหะ ปรากฏว่าทางโรงแรมต้องการอัญเชิญไปตั้งเพื่อจะประกอบพิธี จึงได้อัญเชิญท้าวมหาพรหมขึ้นประดิษฐานในซุ้ม ๔ หน้าและเมื่อการบวงสรวงเสร็จสิ้นลง ก็ไม่ได้นำพระพรหมกลับไปเพื่อทำงานเททองเป็นองค์โลหะ จึงยังคงประดิษฐานสืบมา

ส่วนตัวศาลา ๔ หน้านั้นออกแบบโดย ม.ล. ปุ้ม มาลากุล และนาลจุลรวี ชมเสวี เป็นซุ้มทรงปราสาทสีหน้าทาสีขาว และมาประดับกระจกภายหลัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 12:41

นาลจุลรวี ชมเสวี ที่ถูกคือ"เจือระวี ชมเสวี"ครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 12:59

ติดตามรายงานจากคุณหนุ่ม

เพื่อนผมที่เคยเรียนร่วมห้องกันมา ๓ ปี เป็นบุตรคนสุดท้ายของคุณหลวงสุวิชานแพทย์
บ้านของท่านอยู่ข้างวัดดุสิตาราม บางยี่ขัน ฝั่งธนบุรี .. วัดเสาประโคนปัก ที่ท่านสุนทรภู่เอ่ยถึงนั่นแหละ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 14:00

สิ่งที่เป็นเสน่ห์ของศาลท่านท้าวมหาพรหมเอราวัณ อีกประการคือ "นางรำแก้บน"

ดั้งเดิมเมื่อเปิดศาลท่านท้าวมหาพรหม ยังคงไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีเพียงศาล พร้อมกระถางธูปหัวสิงโตทองเหลืองใบใหญ่และต้นไม้ตัดทรงพุ่มเตี้ย ๆ เท่านั้น แขกที่พักชาวต่างชาติหากเป็นชาวยุโรปก็ไม่สนใจ มีแต่คนไทยที่เดินผ่าน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ก็พากันมาไหว้เท่านั้น และเมื่อราว ๔๐ ปีก่อนเมื่อผู้มาสักการะเกิดประสบความสำเร็จในการที่ได้บนบานไว้ ก็หาละครมารำแก้บนถวายเป็นครั้งคราว โดยติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่คุมศาลพระพรหม ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้มาจากเจ้าหน้าที่ของโรงแรมเอราวัณ ที่ลงชื่อหมุนเวียนมาทำความสะอาด มาดูแลบริเวณศาล เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของโรงแรมเอราวัณ

ละครรำสมัย ๔๐ ปีก่อนรำถวายแก้บนแล้วก็กลับบ้านไป ไม่ได้มีประจำเหมือนอย่างปัจจุบันนี้ นาน ๆ จะมีคนมาจ้างหาไปรำถวายสักรอบ

ชาวฮ่องกงผู้มาเข้าพักที่โรงแรมเอราวัณ ผู้ที่เข้ามาขอพรท้าวมหาพรหม เกิดประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ และได้บอกต่อไปยังเพื่อนพ้องว่า ให้มาไหว้พระสี่หน้า (ซี่ เมี่ยน ฝู) ที่เมืองไทยแล้วคุณจะโชคดีประสบความสำเร็จ และให้หาละครรำแก้บน (หว่าน ซั่น) ด้วยจึงจะโชคดี จึงเป็นที่มาของการละครที่เริ่มเข้ามามีบทบาท เนื่องจากผู้คนชาวไทย และต่างชาติเริ่มมีการให้มีการรำละครแก้บนหน้าองค์พระเกิดขึ้น

หลังจากนั้นก็มีการจัดระเบียบการรำขึ้นด้วยมีคณะละครรำเข้ามารำถึง ๔ คณะด้วยกัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 14:04

ละครรำในอดีตมีชื่อคณะดังนี้

๑. คณะจำรัสศิลปิน

๒. คณะดำรงนาฏศิลป์

๓. คณะจงกลนาฏศิลป์

๔. คณะละม่อม

ภายหลัง พ.ศ. ๒๕๔๖ มีคณะละครดังนี้

๑. คณะรวมสิน

๒. คณะดำรงนาฏศิลป์

๓. คณะจงกลนาฏศิลป์

๔. คณะละม่อมทิพย์โอสถ
 
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 14:09

"ชาวฮ่องกงผู้มาเข้าพักที่โรงแรมเอราวัณ ผู้ที่เข้ามาขอพรท้าวมหาพรหม เกิดประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ และได้บอกต่อไปยังเพื่อนพ้องว่า ให้มาไหว้พระสี่หน้า (ซี่ เมี่ยน ฝู) ที่เมืองไทยแล้วคุณจะโชคดีประสบความสำเร็จ"

ที่ผมได้เคยฟังมา มีสามีภรรยาชาวฮ่องกงคู่หนึ่งอยู่กันมานานไม่มีบุตรสืบสกุลสักที แกมาเที่ยวเมืองไทย ก็เลยลองไหว้ขอลูกกับพระพรหม ปรากฏว่าเมื่อกลับฮ่องกงไป แกได้ลูกสมความปรารถนา ก็เลยเป็นเรื่องฮือฮากันมาก

จากนั้นก็เลยเป็นที่นิยมกันในฮ่องกงและไต้หวันว่าใครมีลูกยากอยากมีลูก ให้มาขอที่พระพรหมหน้าโรงแรมเอราวัณ เมืองไทย
และส่วนมากที่มาไหว้ขอ ก็มักจะสมปรารถนาซะด้วย

เรื่องรำแก้บน ก็เคยมีประสบการณ์ด้วยตัวเองมาแล้ว ตอนที่เหลือวิชาสุดท้ายแล้ว จะเรียนจบหรือไม่จบก็วิชานี้แหละ และท่านก็ช่วยดันให้จบจนได้ เลยถวายด้วยละครชุดใหญ่ให้ท่านเลย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 15:12

^
ใช่แล้วครับลุงไก่ เรื่องการขอบุตรนั้น ปัจจุบันชาวจีนโพ้นทะเล ไม่ว่าที่มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนิเซีย มาเก๊า ฮ่องกง บางครั้งก็จะนำลูกที่ขอนั้นนำกลับมาแสดงความเคารพ บ้างก็คุยให้รู้ไปทั่วเลยเพราะดีใจขนาดหนักว่าตนเองได้ลูกชายแล้ว เพราะติดยากมากมาขอท่านแป๊บเดียว ได้ลูกสมใจอยากในที่สุด
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 15:32

เมื่อการก่อสร้างเริ่มดำเนินการได้ราว ๒ ปีกว่า กลับพบปัญหาและอุปสรรค์ต่าง ๆ จากการก่อสร้างคือ สั่งของเข้ามาผิดสเป๊ค ต้องใช้เวลานานในการแก้ไข และยังมีกรณีการเสียชีวิตของคนงานก่อสร้าง ซึ่งล่าช้ามากมากแล้วทำให้ขวัญและกำลังใจการก่อสร้างเริ่มสั่นคลอน จุดนี้เองทำให้เกิดความที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างอันหนึ่งขึ้นมาเพื่อบรรเทา ปัดเป่า และเรียกขวัญกำลังใจให้กลับมาเหมือนเดิม การติดต่อผ่านผู้ใหญ่สู่ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ขอความช่วยเหลือไปยัง พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญด้านโหราศาตร์มาทำการดูสถานที่ก่อสร้าง

พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ แนะว่าเนื่องจากชื่อของโรงแรมนั้นเป็นอุปสรรคในการดังกล่าว ท่านจึงได้ทำการสักการะท้าวมหาพรหมและบอกว่าหากโรงแรมสร้างเสร็จดีแล้ว ก็จะสร้างศาลพระพรหมขึ้นในโรงแรมเพื่อเป็นการบนบานเอาไว้ และแล้วการก่อสร้างโรงแรมก็สำเร็จและมีพิธีเปิดโรงแรมเอราวัณ ในวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙

หลังจากนั้นเมื่อโรงแรมแล้วเสร็จจึงมีการก่อสร้างศาลท้าวมหาพรหมในเวลาต่อมา โดยเลือกที่ตั้งมุมสี่แยกราชประสงค์หันหน้าออกถนน จึงเป็นที่มาของการสร้างศาลดังกล่าวขึ้นในสังคมไทยยุค ๒๔๙๙

จริง ๆ แล้วคุณหลวงฯ ไม่ได้เชี่ยวชาญวิชาโหราศาสตร์นะครับ ถ้าจะให้ถูกต้องเรียกว่าเป็นจิตศาสตร์เสียมากกว่าครับ
เพราะมีหลายครั้งที่ท่านได้รับการเชิญให้ไปช่วยประกอบพิธีกรรมครับ

พื้นเพแต่เดิมท่านเป็นคนสมุทรสาคร ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่อยู่ตามที่คุณลุงไก่บอกมาครับ

ตระกูลของท่านแต่เดิม ก็เป็นผู้ศรัทธาปฏิปทาของพระครูวิหารกิจจานุการ( ปาน โสนันโท ) วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นทุนเดิมอยู่แล้วครับ และคุณหลวงฯ ก็มีศักดิ์เป็นน้าของพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร ปธ.๔) วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ. อุทัยธานี ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 15:38

ที่ไต้หวันก็มีศาลพระพรหม



แต่แก้บนไม่เหมือนเมืองไทย

 ขยิบตา


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 15:40

ความเชื่อเรื่องพระพรหมนี้ ในฮ่องกง ท่าทางจะเป็นที่นิยมมาก เพราะสมัยเด็ก ๆ ผมเคยดูภาพยนต์เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปราบผีดิบ แล้วฝ่ายหมอผี จะต้องมีการเข้าทรงเพื่อนำวิญญาณต่าง ๆ มาช่วยปราบผีดิบ หนึ่งในนั้นคือเข้าทรงพระพรหมครับ พอพระพรหมประทับผ่านร่าง คน ๆ นั้นก็จะกลายเป็น 4 คนในร่างเดียวตามหน้าของพระพรหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง