NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 20:19
|
|
ที่สร้างจริงๆก็ไม่เหมือนแบบเมื่อกี้อีกนั่นแหละ คงมีแก้กันอีก คฤหาสน์หลังนี้ถือเป็นนีโอ-คลาสสิกแบบกอธิก ผนังชั้นนอกเป็นหินแกรนิตสีเทาเข้ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 20:25
|
|
เหงาก็ไม่เป็นไทยๆแล้ว คราวนี้ดูเป็นฝรั่งจ๋า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 20:35
|
|
ภายในบุด้วยไม้โอ๊คแกะสลักแบบอิตาเลียน เตาผิงเป็นหินอ่อนสีแดงสั่งมาจากอิตาลี ซึ่งพบว่ามีเพียงสองแห่งในกรุงโตเกียวเท่านั้นที่ใช้ คือที่นี่กับพระราชวังอากาซากะขององค์มกุฎราชกุมาร ประตูหน้าตึกทำด้วยทองแดง ลวดลายแบบคลาสสิกบานใหญ่
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 20:56
|
|
คิจิเอมองเจ้าของบ้านมีน้องชาย๓คน และน้องสาว๒คน น้องสาวคนโตชื่อ ฮิซาโกะ ไปแต่งงานกับขุนนางเชื้อพระวงศ์ในราชสำนัก ชื่อท่านซาเนโตะ ซางะ ซึ่งเป็นพระญาติกับสมเด็จพระจักรพรรดิ ท่านซาเนะโตะและนางฮิซาโกะ มีบุตรชายคนหนึ่ง บุตรสาว๔คน ลูกสาวคนโต ฮิโระ ได้มาอยู่กับลุงตั้งแต่เด็กที่คฤหาสน์แห่งนี้
แม่นางฮิโระสำเร็จการศึกษาด้านศิลปะที่โรงเรียนการเรือนกุลธิดา เดี๋ยวนี้คือมหาวิทยาลัยกากุชิอิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 21:05
|
|
ภาพอิริยาบทต่างๆที่แม่นางถ่ายในคฤหาสน์ของลุง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 21:07
|
|
ภาพถ่ายโดยใช้ด้านหลังของคฤหาสน์เป็นฉาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 21:08
|
|
ในสวนสวย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 21:37
|
|
หลังอภิเษกสมรส เจ้าหญิงฮิโระได้เสด็จออกจากบ้านของคุณลุง เพื่อไปประทับกับพระสวามีที่วังในอำเภออินาเงะ จังหวัดชิบา และต่อจากนั้นหกเดือน ทั้งสองก็เสด็จไปประทับที่เมืองมุกเดน ประเทศแมนจูกัวที่ญี่ปุ่นสถาปนาขึ้นเมื่อยึดแมนจูเรียจากสาธารณรัฐจีนได้สำเร็จ
หลังสงครามโลกครั้งที่๒ระเบิดขึ้นและทำให้โตเกียวไม่ปลอดภัยจากเครื่องบินสหรัฐอีกต่อไป ท่านมหาเศรษฐีคิจิเอมอง ฮามางูจิ จึงต้องการขายคฤหาสน์หลังนี้พร้อมทุกสิ่งทุกอย่างด้วยราคาต่ำกว่าทุนมหาศาล เพื่อย้ายไปพำนักในที่ซึ่งปลอดภัยกว่า ขณะนั้นดร.ดิเรก ชัยนามเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่นได้ทราบข่าว จึงปรึกษามาทางรัฐบาลซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่น จอมพล ป.พิบูลสงครามเห็นด้วยจึงมอบหมายให้ท่านดิเรกเป็นตัวแทนรัฐบาลไทย เจรจาต่อรองซื้อคฤหาสน์แห่งนี้มาด้วยราคา๑ล้านเยนหรือประมาณ๓ล้านบาทในขณะนั้น เพื่อใช้เป็นทำเนียบเอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่นตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา
มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดประเมินเดี๋ยวนี้คงมีค่าต่ำกว่าห้าร้อยล้านบาทไปสักไม่เท่าไหร่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 22:25
|
|
มาชมทำเนียบกันต่อ
ห้องรับแขก ตกแต่งและใช้เฟอร์นิเจอร์แบบหลุยส์ของฝรั่งเศส พื้นไม้ปาร์เกต์ไม้สนสลับลวดลาย ฝ้าเพดานเป็นปูนปลาสเตอร์หล่อแบบหลุยส์ หน้าต่างแบบฝรั่งเศสใช้บานกระจกเจียรนัย ด้านตะวันตกห้องรับแขกเป็นห้องนั่งเล่นรับแสงพระอาทิตย์ ฝาบุด้วยไม้โอ๊กแกะสลัก ปูด้วยพรมเปอร์เซียบนพื้นไม้ปาร์เกต์สลับสี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 22:27
|
|
รายละเอียดต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 22:31
|
|
บันไดสู่ชั้นที่สองเป็นแบบยุโรป เกาะกับฝาผนังไม่มีเสา ราวบันไดข้างบนเป็นไม้โอ๊ก ลูกกรงเป็นโลหะผสม หล่อเป็นลวดลายยุโรปแบบคลาสสิก
ชั้นที่สอง มีห้องพระอยู่หน้าห้องนอนใหญ่ ชั้นล่างของโถงบันไดเป็นห้องรับรองส่วนนอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 22:34
|
|
ในโถงบันไดชั้นล่างนั้น วางแกรนด์เปียนโนไว้ อายุเกือบร้อยปีแต่ยังใช้เล่นได้ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 22:44
|
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ ๒๗ พฤษภาคมถึง๔มิถุนายน๒๕๐๖นั้น ได้เสด็จมาที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแห่งนี้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 13 ส.ค. 12, 23:03
|
|
ทำเนียบทูตไทยอลังการ น่าตื่นตาตื่นใจมากค่ะ พรุ่งนี้จะหาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องเจ้าชายเจ้าหญิงมาตัดซอยแยกออกไปจากกระทู้ใหญ่ คงได้สักซอยสองซอย ส่วนวันนี้ เลยเวลาทำโอ.ที. แล้ว ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 14 ส.ค. 12, 08:18
|
|
เข้าไปอ่านในเว็บของคุณเอกชัย เอก ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ที่เคยไปพักค้างคืนที่ทำเนียบแห่งนี้มาเหมือนกัน ได้เรื่องและรูปมาเสริมให้ท่านผู้อ่านกระทู้ของผมอีกหน่อย
คุณเอกเล่าว่า สถาปนิกผู้ออกแบบถนัดทำแบบบ้านลักษณะนี้โดยสร้างขึ้นมาจำนวน ๑๐๓ หลังในญี่ปุ่น หลังนี้มี ๕ ห้องนอน เจ้าของบ้านแก้แบบ ๒๑ ครั้ง โคมไฟ ลายไม้ปาเก้ปูพื้นจะออกแบบโดยเจ้าของทั้งหมด ปัจจุบันที่สร้างไปเหลืออยู่ ๘ หลังรวมทั้งหลังนี้ สาเหตุที่หายไปเกือบร้อยหลังเพราะ เกิดแผ่นดินไหวบ้าง ไฟไหม้บ้าง พายุ ทุบทิ้งเพราะทนภาษีไม่ไหวก็มี ภาระภาษีมรดกในญี่ปุ่นแพงมากๆว่ากันว่าแม้แต่พระจักรพรรดินีได้สมบัติเป็นวังมายังต้องยกให้หลวง ความที่เจ้าของบ้านหลังนี้รักบ้านมากหากทุบทิ้งก็เสียดาย และทราบว่าถ้าเป็นของรัฐบาลต่างชาติแล้วก็จะรักษาไว้ได้เพราะไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายญี่ปุ่น จึงพยายามขายให้ประเทศไทย
ผมขอเสริมว่า ผมเคยเจอกับเพื่อนคนญี่ปุ่นคนหนึ่ง เห็นเขาสวมแขนทุกข์ก็ถามจึงเล่าว่าบิดาเพิ่งเสียชีวิต และเขาซึ่งเป็นลูกชายคนเดียวได้รับมรดกมา แต่จะต้องโดนเก็บภาษีมรดกถึง๗๕% แล้วบ่นต่อมากมายจนผมคิดว่า เขาคงไว้ทุกข์ให้พ่อ๒๕% ที่เหลือไว้ทุกข์ให้ตนเอง เพราะเขาว่าพ่อยืดยาวว่าประมาทไปคิดว่าจะไม่ตายเร็ว เพราะถ้าเอากิจการจดเป็นบริษัทเสียก่อน แล้วให้เป็นหุ้น ก็จะโดนภาษีน้อยลงมาก
ผมเอารูปที่คุณเอกถ่ายห้องใต้ดิน ที่ใช้เป็นห้องเย็นเก็บอาหารและครัวมาให้ชม ผมเคยลงไปดูแล้ว ไม่สงสัยเลยว่าเวลาสถานทูตจัดเลี้ยงคน ไม่ว่าจะเป็นสิบเป็นร้อย จะทำได้อย่างไรไม่โกลาหลเป็นงานวัดอย่างบ้านเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|