เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 28730 ว่าด้วยเรื่องเครื่องโขน-ละครโบราณ
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


 เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:12

เครื่องโขน-ละครของไทยนั้น มีวิวัฒนาการมายาวนาน และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีชาติใดในภูมิภาคนี้เสมอเหมือน
เครื่องประดับ และหัวโขน ล้วนสร้างขึ้นตามบทบาทของตัวละครในวรรณคดีเรื่องต่างๆ
เช่น หากตัวละครเป็นพระมหากษัตริย์ ก็สร้างเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เช่น ชฎา ทับทรวง ปั้นเหน่ง ชายไหว ชายแครง เป็นต้น
ในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเครื่องโขน ละครนั้น เคยมีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพระราชบัญญัติที่อ้างถึงเครื่องโขน ละคร โดยขออนุญาตยกข้อความจาก http://3king.lib.kmutt.ac.th/King4_200/chap15/page2.html ดังนี้...................

พระราชกรณียกิจอันสำคัญที่ควรกล่าวถึงในเรื่องการอนุรักษ์และการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย คือการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หัดละครผู้หญิงกันได้โดยทั่วไป และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทพระราชนิพนธ์ไปเล่นได้

เมื่อเริ่มรัชกาล ยังไม่มีละครหลวง เพราะละครหลวงเลิกไปเสียแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงรัชสมัยของพระองค์มิได้ทรงรังเกียจ ดังนั้นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี จึงทรงหัดละครเด็กผู้หญิงในพระบรมมหาราชวังขึ้นชุดหนึ่ง แต่ไม่ทันได้ออกแสดง เนื่องจากสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีได้สิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาเมื่อทรงรับช้างเผือก (คือพระวิมลรัตน กิริณี) สู่พระบารมี ใน พ.ศ. 2396 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมละครของสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ฝึกหัดเป็นละครหลวงได้ออกโรงเล่นสมโภชช้างเผือกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2397

ในรัชกาลนี้ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าด้วย ละครผู้หญิง พ.ศ. 2398 โปรดอนุญาตให้เจ้านาย ขุนนาง และผู้มีบรรดาศักดิ์หัดละครผู้หญิงขึ้นได้ แต่ได้ขอจำกัดสิทธิ์บางประการไว้สำหรับละครหลวง เช่นรัดเกล้ายอด เครื่องแต่งตัวลงยา พานทอง หีบทอง ซึ่งใช้เป็นเครื่องยศ เครื่องประโคมแตรสังข์ และห้ามมิให้บังคับผู้ที่ไม่สมัครใจเล่นละครให้ได้รับความเดือดร้อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 2 58 (หอพระสมุดวชิรญาณ 2465 : 55-56) ความว่า

“...แต่ก่อนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แลแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย มีลครผู้หญิงแต่ในหลวงแห่งเดียว ด้วยมีพระราชบัญญัติห้ามมิให้พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝึกหัดลครผู้หญิง เพราะฉนั้นข้างนอกจึงไม่มีใครเล่นลครผู้หญิงได้ ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดลคร แต่ทว่าทรงแช่งชักติเตียนจะไม่ให้ผู้อื่นเล่น ถึงกระนั้นก็มีผู้ลักเล่นเงียบ ๆ อยู่ด้วยกันหลายราย มาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ผู้ใดเล่นลครผู้ชายผู้หญิงก็มิได้ทรงรังเกียจเลย ทรงเห็นว่ามีลครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เปนเกียรติยศแผ่นดิน เดี๋ยวนี้ท่านทั้งปวงเห็นว่าลครในหลวงมีขึ้นก็หามีใครเล่นลครเหมือนอย่างแต่ก่อนไม่ คอยจะกลัวผิดแลชอบอยู่ การอันนี้มิได้ทรงรังเกียจเลย ท่านทั้งปวงเคยเล่นอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็ให้เล่นไปเถิด ในหลวงมีการงานอะไรบ้าง ก็จะได้โปรดหาเข้ามาเล่นถวายทอด พระเนตรบ้าง จะได้พระราชทานเงินโรงรางวัลให้บ้าง ผู้ใดจะเล่นก็เล่นเถิด ขอยกเสียแต่รัดเกล้ายอดอย่างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวลงยาอย่างหนึ่ง พานทองหีบทองเปนเครื่องยศอย่างหนึ่ง เมื่อบททำขวัญยกแต่แตรสังข์อย่างหนึ่ง แล้วอย่าให้ฉุดบุตรชายหญิงที่เขาไม่สมัคเอามาเปนลคร ให้เขาได้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่ง ขอห้ามไว้แต่การเหล่านี้ ให้ท่านทั้งปวงเล่นไปเหมือนอย่างแต่ก่อนเถิด”
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:21

ตัวอย่างภาพถ่ายโบราณเกี่ยวกับเครื่องละคร (โรงนอก) ในสมัยรัชกาลที่ ๕


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:35

เครื่องแต่งกายแบบต้นกรุง จากการสังเกต และถามจากผู้รู้ ท่านอธิบายว่า ส่วนใหญ่แล้ว มักจะใช้ลายผ้าแทนการปักดิ้นเงิน ดิ้นทอง หรือปักเลื่อม
ถ้ามีการปักเลื่อม หรือดิ้นเงิน ดิ้นทอง ก็จะมีลวดลายเล็กๆ และปักลงไปบนพื้นผ้าไม่มาก ดูพองาม
มุ่งให้เห็นถึงความงามในลวดลายของผ้าที่นำมาตัดชุดมากกว่าการมุ่งเน้นให้เห็นความวิจิตรด้านลวดลายปักอย่างสมัย รัชกาลที่ ๖ (เครื่องแต่งกายของกรมมหรสพ หรือเครื่องแต่งกายของละครในวังเจ้านายพระองค์ต่างๆ)
ภาพต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเครื่องแต่งกายของสำนักละครเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ละครวังหน้า ซึ่งสืบทอดวิธีการแสดง
และท่ารำมาจากละครหลวงราชสำนักรัชกาลที่ ๒ (ปรากฏชื่อครูละครของสำนักเจ้าจอมมารดาเอม ที่เป็นหม่อมละครในรัชกาลที่ ๒ คือ คุณน้อยงอก ไกรทอง และคุณอิ่ม ย่าหรัน นอกจากนี้ยังมีครูละครจากสำนักละครสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) คือ หม่อมแสง จินตหรา)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:36

ภาพบน : ตัวอย่างเครื่องแต่งกายละครแบบต้นกรุงที่ยังคงหลงเหลือให้เห็น ปัจจุบันเป็นสมบัติของเอกชน
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:38

ละครสำนักเจ้าคุณจอมมารดาเอม หรือ ละครวังหน้า


บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:45

ตัวอย่างเครื่องละครโบราณแบบต้นกรุง ที่คุณพีรมณฑ์ ชมธวัช ทำการศึกษา และเก็บรวบรวมหลักฐานเพื่อเป็นวิทยาทาน



บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:50

 ตัวอย่างชายผ้าห่มนางละครสมัยรัชกาลที่ 5 งานปักดิ้น และเลื่อม เป็นลายพฤกษาบนผ้ากำมะหยี่ ละเอียด ประณีต และสวยงามมาก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:54

ตัวอย่างภาพ กรองคอ ของนางละคร (โรงนอก) อายุประมาณ 50-60 ปี ปัจจุบัน ตกไปอยู่ในคอลเลคชั่นของต่างชาติ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:55

กรองคอ


บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 10:58

ตัวอย่างภาพ "อินทรธนู" ส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายของโขน และละครโบราณ ที่ยังคงหลงเหลือให้เห็น คาดว่าชิ้นขวาสุดจะเป็นชิ้นที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เนื่องจากลายปักที่ละเอียด เล็ก และมุ่งให้เห็นความงดงามของเนื้อผ้า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 11:11

รบกวนคุณ benzene ให้ความรู้เรื่องการแต่งกาย "ยืนเครื่องกลาย" เป็นความรู้สักนิดเทอญ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 11:58

เท่าที่ถามครูบาอาจารย์มานะครับ "ยืนเครื่องกลาย"
อธิบายตามศัพท์เลยครับ คือการแต่งกายยืนเครื่องที่ประยุกต์ และทำให้แปลกตาไปจากการแต่งกายยืนเครื่องพระนางที่มีองค์ประกอบครบถ้วน
แต่ยังคงนุ่งผ้า หรือสวมเครื่องประดับแบบจารีตเดิม การนุ่งผ้าและสมเครื่องประดับแบบจารีตเดิมในที่นี้ ผมจะอธิบายด้วยภาพประกอบไปด้วยครับ
ในภาพนี้ เป็นการแสดงละครคนแก่ ในงานขึ้นพระที่นั่งสวนดุสิต
แสดงละครเรื่อง คาวี
นางแบบในภาพนี้คือ หม่อมผาด บุนนาค แสดงเป็น คาวี
หม่อมผาดแต่งกายตามจารีตเดิม คือ สวมชฎา สวมเสื้อ สวมสนับเพลง และนุ่งผ้าเยียรบับ

ดูตามภาพนะครับ เริ่มจากหัวลงมาเลย

๑ สวมชฏา ไม่มีอะไรผิดแผกไปจากยืนเครื่องพระ

๒ กรองคอ อันนี้แปลกหน่อย ตรงที่เป็นเครื่องประดับ ที่ทำจากโลหะ (ผมเดาว่าเป็นโลหะ) ที่เป็นแผงๆ คล้ายกรองคอ ซึ่งกรองคอแบบจารีตยืนเครื่องพระ
จะเป็นกรองคอที่ปักเลื่อม และดิ้นเงินทอง ลงบนผ้าตาด เป็นลวดลายต่างๆ หรือง่ายๆ ก็คือ กรองคอผ้า อันนี้ "กลาย"

๓ ไม่เห็นว่าหม่อมผาดประดับอินทรธนูไว้บนบ่า ซึ่งดูตามภาพด้านบนที่ผมลงเอาไว้ จะเห็นว่าละครตัวพระ จะประดับอินทรธนูบนบ่าด้วย แต่รูปนี้หม่อมผาดไม่มีอินทรธนู อันนี้ "กลาย"

๔ มองที่ต้นแขน เราจะเห็นว่าหม่อมผาด ใส่ "พาหุรัด" ซึ่งปกติแล้ว ละครยืนเครื่องไม่ค่อยนิยมใส่พาหุรัดกันนัก ผมเกิดมาก็ไม่เคยเห็นละครที่ใส่พาหุรัดสักที
ทั้งที่รู้ว่ามันใส่ได้ แต่ก็ไม่เห็นว่าเขาจะเอามาใส่กัน ก็เลยเห็นแต่ในภาพนี้ แล้วก็ภาพละครของกรมพระนราธิป ฯ ที่ทั้งพระ และนางใส่พาหุรัดด้วย อันนี้ "กลาย"

๕ สังวาลย์ หม่อมผาดสวมสังวาลย์ที่เป็นรูปดอกไม้ สังเกตได้ในภาพครับ สังวาลย์ของหม่อมผาด ผมว่าน่าจะเป็นเป็นวัสดุจำพวกโลหะรูปดอกไม้ที่นำมาร้อยกันเป็นสายสังวาลย์ ต่างจากจารีตเดิมที่เป็นผ้าตาดเย็บเป็นสายสังวาลย์ และเอาเครื่องประดับโลหะปักลงไปบนสายสังวาลย์ผ้านั้นอีกที อันนี้ "กลาย"

๖ การนุ่งผ้า ผ้าเยียรบับของหม่อมผาด นุ่งแปลกแหวกแนวจากจารีตเดิมอย่างมาก เพราะเธอนุ่งแบบทิ้งชายไปด้านหลัง ซึ่งแต่เดิม ยืนเครื่องพระ จะนุ่งผ้าแบบหางหงส์แบบเจ้านายในพิธีโสกันต์ แต่หม่อมผาดทิ้งชายผ้า แล้วคลี่ออก เรียกว่า "นุ่งหางปรก"  อันนี้ "กลายสุดๆ"

๗ รัดสะเอวที่เห็นอยู่ในรูปด้านหน้าของหม่อมผาด เป็นชายผ้าที่คลี่ลงมาจากผ้าคาดเอว ห้อยหน้า ห้อยข้าง ก็เช่นกัน เป็นชายของผ้าคาดเอวอีกชั้นหนึ่งที่ห้อยลงมา ผิดไปจากการคาดชายไหวชายแครงที่เป็นผ้าปักดิ้น เลียนแบบชายไหวชายแครงของเจ้านายในพิธีโสกันต์ อันนี้ก็ "กลายสุดๆ"

๘ หม่อมผาดมีเครื่องประดับที่เพิ่มมาอีกชิ้นหนึ่ง คือ อุบะดอกไม้สดที่ห้อยเอาไว้ด้านข้างสะโพกทั้งสองข้าง อันนี้ "กลาย"

เท่าที่ผมเข้าใจ และถามครูบาอาจารย์มานะครับ ครูท่านก็อธิบายคำว่า "ยืนเครื่องกลาย" มาแบบนี้ ถ้าผิดไปจากความเข้าใจ ของคุณ Siamese ที่อาจเห็นแบบอื่นที่เรียกว่ายืนเครื่องกลาย ผมก็ต้องขออภัยด้วยนะคร้าบบบบบบบ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 12:07

อันนี้ละครกรมพระนราธิป ฯ อาจจะไม่ใช่ยืนเครื่องกลาย แต่มีเครื่องประดับหลายอย่างที่เพิ่มเข้าไป เช่น พาหุรัด ที่รัดอยู่ตรงต้นแขนของทั้งนาง และพระ
และผ้าปักที่ห้อยอยู่ตรงจีบหน้านาง ก็ทำเป็นชายพลิ้วๆ คล้ายกับในภาพจิตรกรรม ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายของละครที่งดงามแปลกตาอีกโรงหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 13:43

อันนี้ละครกรมพระนราธิป ฯ อาจจะไม่ใช่ยืนเครื่องกลาย แต่มีเครื่องประดับหลายอย่างที่เพิ่มเข้าไป เช่น พาหุรัด ที่รัดอยู่ตรงต้นแขนของทั้งนาง และพระ
และผ้าปักที่ห้อยอยู่ตรงจีบหน้านาง ก็ทำเป็นชายพลิ้วๆ คล้ายกับในภาพจิตรกรรม ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายของละครที่งดงามแปลกตาอีกโรงหนึ่ง

งดงามมากครับ ตัวนางแสดงโดยหม่อมแก้ว วรวรรณ ส่วนตัวพระแสดงโดยหม่อมช้อย วรวรรณ

เครื่องทรงจะเห็นความงดงามและอลังการ เนื่องจากละครของกรมพระนราธิปฯ ท่านต้องฟู่ฟ่าอลังการไว้ก่อนเพื่อให้สมกับเป็นคณะละครปรีดาลัย สิ่งที่เก๋อย่างหนึ่งคือ การใส่ปลอกคอ (Collar) ประดับเพชรเป็นการประยุกต์โชคเกอร์ให้เข้ากับความงามด้านเครื่องแต่งกายละครไทย

สังวาลย์ที่สวม เรียกว่า สังวาลย์คแฝด ซึ่งวางเป็นคู่กันเมื่อสวนใส่

การวางตัวของอุบะ ก็วางไม่เหมือนสมัยนี้

ผ้านุ่งนางก็จัดให้เพิ่ม "ผ้าปักแทรก" ลงไปเพื่อความสวยงาม ซึ่งผ้าปักแทรกนี้เป็นอย่างธรรมเนียมกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีภาพจิตกรรมเขียนไว้ในตัวนางนุ่งผ้าจีบหน้านางและมีปักแทรก

ทั้งหมดงามมากครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 13:44

มาดูภาพเก่าภาพนี้ ไม่ทราบว่าคุณ benzene มีเก็บไว้ในคลังภาพหรือยัง เป็นภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๔

ตัวพระนุ่งผ้ากราบค่อนข้างเล็กมาก ตัวนางนุ่งผ้าริ้วสายบัว ทั้งคู่สวมปลอกเล็บยาว


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง