เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 16491 สำนักละครวังสวนกุหลาบ
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


 เมื่อ 08 ส.ค. 12, 23:15

สำนักละครวังสวนกุหลาบ เป็นคณะละครในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
พระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
คณะละครวังสวนกุหลาบ มีชื่อเสียงเป็นที่ยกย่องในสมัย รัชกาลที่ 6 ว่าเป็น “สถาบันที่ฝึกหัดละครแบบหลวงที่ดีที่สุด”
เป็นคณะละครที่สืบทอดแบบแผนการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย และรูปแบบการแสดงมาจาก ราชสำนักรัชกาลที่ 2
 
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 23:20

สำนักละครวังสวนกุหลาบ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1.  ความพิถีพิถันในการสรรหาครูผู้สอนที่มีฝีมือเป็นเลิศ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงอุปถัมภ์และพิถีพิถันในการสรรหาครูผู้สอนที่มีฝีมือเป็นเลิศ
เข้ามาถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับข้าหลวงละครของพระองค์ ทำให้ละครวังสวนกุหลาบมีชื่อเสียง และเป็นที่ยกย่อง
 2.  รูปแบบการฝึกหัดที่เคร่งครัด
คุณท้าวนารีวรคณานุรักษ์ (พระอภิบาลในทูลกระหม่อมอัษฎางค์ ฯ) กวดขันให้การฝึกหัดเป็นไปอย่างเคร่งครัด มีรูปแบบที่ชัดเจน
 และเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพของศิลปินตั้งแต่ขั้นแรกเริ่มจนสู่ขั้นสูงสุด กลายเป็นรูปแบบที่ศิลปินรุ่นหลังยึดถือและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
3.   วิชาความรู้อันเป็นมรดกที่ประเมินค่ามิได้
วิชาความรู้ และแบบแผนด้านนาฏศิลป์ไทยจากวังสวนกุหลาบ เสมือนการเชื่อมรอยต่อวิวัฒนาการละครไทยในราชสำนักรัชกาลที่ 2 มาสู่ยุคปัจจุบัน
มรดกอันล้ำค่านี้ได้ถูกสืบทอดและเผยแพร่ไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยโดยศิษย์สำนักละครวังสวนกุหลาบ
สะท้อนให้เห็นความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่ชาวต่างชาติให้การยอมรับ กลายเป็นการแสดงประจำชาติที่คนไทยทุกคนรู้จักและสัมผัสอยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวันแต่มิเคยได้ทราบที่มา และละเลยในความสำคัญ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 23:24

พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
องค์อุปถัมภ์สำนักละครวังสวนกุหลาบ


บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 23:29

โปสการ์ดละครวังสวนกุหลาบ นางแบบ คือ นางสร้อยทอง ชื่นศิริ รับบท ท้าวสันนุราช ในละครเรื่อง คาวี ตอน เผาพระขรรค์


บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 23:37

ทูลกระหม่อมอัษฎางค์ และพระชายา หมอ่มแผ้ว หรือ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 00:22

อ่านหนังสือ สมัย รัชกาลที่ ๖ เวลามีงานฉลองของหลวง หรือ วังเจ้านาย  จะมีละครของทูลหม่อมอัษฏางค์ มาเล่นให้แขกได้ชมเสมอๆ ดีจังครับ จะได้ทราบเรื่องราว รายละเอียด

ตามอ่านครับ..........
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 07:32

เข้ามาจับจองเก้าอี้แถวหน้า จะได้ดูชุดละครได้ง่าย ๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 22:42

ละครวังสวนกุหลาบ มีจุดเด่นคือ "มีครูดี" เพราะล้วนแต่เชิญยอดฝีมือมาสอนทั้งสิ้น คุณครูผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยท่านหนึ่ง เคยกล่าวกับผมว่า
ทูลกระหม่อมอัษฎางค์ ท่านเป็นคนพิถีพิถัน ท่านจะหาแต่ครูดีๆ มีฝีมือมาทั้งนั้น  เช่น เจ้าจอมมารดาวาด แมว อิเหนา (ท้าววรจันทร์) ปกติแล้วพอเป็นเจ้าจอมมารดา
ท่านก็ไม่ค่อยได้ปฏบัติหน้าที่เกี่ยวกับละครสักเท่าไร ที่เคยบันทึกไว้เป็นชิ้นเป็นอัน ก็เห็นแค่ว่าได้เป็นครูละครหลวง และผู้อำนวยการละครหลวงบ้าง
ที่เห็นชัดก็เห็นมีละครเรื่องอิเหนา ตอน เข้าเฝ้าท้าวดาหา ในสวนศิวาลัย เมื่อคราวสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับจากยุโรป คุณท้าว เล่นเป็นอิเหนา และควบคุมการแสดงเอง
และไม่ปรากฎเลยว่านางละคร หรือหม่อมคนใดเป็นศิษย์เอกของท่าน เพราะท่านไม่ใคร่ที่จะชอบสอนใครสักเท่าไร
แต่เพราะเห็นว่าเป็นทูลกระหม่อม ฯ มาขอให้ไปสอนเอง ท่านก็เลยยอมรับสอนเป็นครูพิเศษของสำนักละครวังสวนกุหลาบ
บรรดานางละครวังสวนกุหลาบ ก็ต้องไปหาท่านที่วังของพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตบ้าง หรือที่อื่นบ้าง แต่ไม่ค่อยจะได้เข้ามาสอนในวังสวนกุหลาบนัก
แล้วเวลาจะสอนใคร ก็จะคัดเอาแต่หัวกะทิไปทั้งนั้น เช่น ครูลมุล ยมะคุปต์ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี และคนอื่นๆ อีกไม่กี่คน
มรดกที่ถ่ายทอดมาก็มี เพลงช้านารายณ์ และท้าวมาลีวราชลงสรง ซึ่งชุดท้าวมาลีวราชลงสรงนี้ เมื่อคราวสมัยรัชกาลที่ ๔ คุณท้าววรจันทร์เคยแสดงเป็นท้าวมาลีวราช
เจ้าจอมลิ้นจี่ เป็นทศกัณฐ์ เป็นที่เลื่องลือมากว่าการแสดงในวันนั้น บทบาทถึงอกถึงใจ และคุณท้าวก็งามสง่ามากในชุดท้าวมาลีวราชที่สวมมงกุฎของเจ้านายที่ใช้สำหรับพิธีโสกันต์
รัชกาลที่ ๔ ท่านพระราชทานให้ใส่เป็นโอกาสพิเศษ และพระราชทานน้ำสังข์รดศีรษะคุณท้าวด้วยก่อนใส่ชฎา
ท่านมีชื่อเสียงมากในบทบาทอิเหนา เพราะเป็นศิษย์คุณเอกของคุณโต แย้ม หรือ เจ้าจอมมารดาแย้ม อิเหนา ในรัชกาลที่ ๒
และที่เด่นกว่าใคร คือ ได้รับถ่ายทอดกระบวนท่ารำจากผู้ชาย คือ นายบัว อิเหนา ละครนอกที่เจ้าจอมมารดาแย้มให้สอนบทบาทอิเหนาให้กับคุณท้าว จนต้องโทษคุมขัง
แต่ถือว่าโชคดี ในความโชคร้าย เพราะท่าทางในการรำของผู้ชาย จะไม่เหมือนผู้หญิง จะมีความสง่าผ่าเผย และงดงามแปลกตากว่าท่าที่ครูผู้หญิงสอนให้
ท่านนี้ คือ ท่านแรกที่ถือว่าเป็นครูละครของสำนักละครวังสวนกุหลาบ ที่มีฝีมือเป็นที่เลื่องลือ



บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 22:54

คุณครลมุล ยมะคุปต์ นางละครที่เป็นตัว "นายโรง" อีกท่านหนึ่งของสำนักละครวังสวนกุหลาบ ศิษย์ของคุณท้าววรจันทร์
ท่วงท่าสง่างามแบบนี้ ไม่พบว่านางละครในสมัยหลังๆ มานี้ จะทำได้งามเทียบเท่ากับคุณครูเลย
ท่านผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยนาฏศิลป พูดเป็นเสียงเดียวกัน
ผมเคยเอารูป "เจ้าเงาะ" ในเรื่อง สังข์ทอง ที่คุณครูลมุล ถ่ายเอาไว้ เมื่อคราวสำนักละครวังสวนกุหลาบโอนไปอยู่วังเพ็ชรบูรณ์ (แต่ยังใช้ชื่อละครวังสวนกุหลาบ)
ทั้งๆ ที่ครูลมุลสวมรูปเงาะ เอาไปให้แม่ครูทุกท่านดู ทุกท่านก็บอกว่า "นี่แม่มุล ครูจำได้ ท่าแบบนี้ไม่มีใครเหมือนอีกแล้ว" พูดในทำนองนี้ทุกคน
นอกจากนี้คุณครูลมุลก็ยังเป็นศิษย์ของเจ้าจอมมารดาเขียน (อิเหนา) ซึ่งก็เป็นศิษย์คุณโต แย้ม เหมือนคุณท้าววรจันทร์อีกด้วย
ได้กระบวนท่าของละครพันทาง เรื่อง พระลอ มามากจากเจ้าจอมมารดาเขียน
และชุดการแสดงอื่นๆ อีกมากจากครูหลายๆ ท่าน
ผมขออนุญาตนำรูปคุณครูมาลงให้ชมกัน คุณครูรำในบทพระนารายณ์ เล่นละครเรื่องอะไร ตอนอะไรนั้น ผมจำไม่ได้แล้ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 22:57

นี่คือ รูปเจ้าเงาะที่เอ่ยถึง ท่วงท่าไม่ต่างอะไรกับอีกภาพที่คุณครูรับบทพระนารายณ์เลย การวางเท้า และการเยื้องตัวเป็นเอกลักษณ์ และดูเท่มากๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 23:06

จะเห็นได้ว่าเครื่องแต่งกายงามมาก เพราะเป็นฝีมือช่างหลวง ลวดลายได้จังหวะลดหลั่นกันดี ละเอียด อ่อนช้อย ดูไม่แข็งและหยาบเหมือนในยุคปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 07:43

จะเห็นได้ว่าเครื่องแต่งกายงามมาก เพราะเป็นฝีมือช่างหลวง ลวดลายได้จังหวะลดหลั่นกันดี ละเอียด อ่อนช้อย ดูไม่แข็งและหยาบเหมือนในยุคปัจจุบัน

รู้ไหมว่าการแต่งกายเครื่องโขนชุดละคร ในแต่ละยุคนั้นบางยุคก็ยังแอบซ่อนแฟชั่นยุโรปเข้าไปด้วย เป็นการสอดแทรกเข้าไปรวมกับความเป็นไทยได้อย่างลงตัว
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 08:18

ครับ มีเครื่องโขนละครหลายสำรับที่ทับทรวง ตาบทิศ หรือหัวเข็มขัด สั่งทำจากยุโรป เช่น สำรับของเจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเทวา ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้
อันนี้เป็นสำรับของเจ้าพระยารามราฆพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 08:19

รูปบนเป็นทับทรวงเพชร ที่สั่งทำจากยุโรป
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 08:20

อันนี้เป็นตาบทิศที่สั่งทำจากยุโรป สำรับของเจ้าพระยารามราฆพ เช่นเดียวกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง