เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 20682 เจ้าจอมละม้าย (ละม้าย สุวรรณทัต) ในรัชกาลที่ ๕
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


 เมื่อ 08 ส.ค. 12, 01:29

อยากทราบประวัติเจ้าจอมละม้าย (ละม้าย สุวรรณทัต) ในรัชกาลที่ ๕ ครับ
ถ้าใครมีภาพเจ้าจอม ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ เพราะตอนนี้ต้องการนำไปจัดนิทรรศการเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย เป็นวิทยาทานให้กับนักเรียน นักศึกษา
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 08:04

เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ ๕  ต.จ.  ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา
เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๗๖ อายุ  ๗๘ ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 08:55

ไปเปิดหนังสือ พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาของคุณส.พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ    ซึ่งรวบรวมรายชื่อของเจ้าจอมในรัชกาลต่างๆไว้ด้วย    ไม่พบชื่อเจ้าจอมละม้าย   แสดงว่าชื่อท่านตกสำรวจไปค่ะ

ไปเปิดอ่านหลักฐานของสกุลสุวรรณทัต  จึงได้มา ว่า
เจ้าจอมละม้าย มีพี่สาวอีกคนชื่อเจ้าจอมจำเริญ  เป็นเจ้าจอมในรัชกาลเดียวกัน    ท่านทั้งสองเป็นธิดาของพระยาอนุชิตชาญชัย(พึ่ง สุวรรณทัต)  จางวางกรมพระตำรวจขวา    มารดาชื่อคุณหญิงเกษร เป็นธิดาพระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม (เสือ) ต้นสกุล สุนทรศารทูล 
คุณจอมละม้ายมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ ท่านคือเจ้าจอมจำเริญ  เจ้าจอมละม้าย   พระยาธรรมศาสตร์นาถประนัย(จุ้ย สุวรรณทัต) และคุณหญิงเชย ภรรยาพระยาอนุชิตชาญชัย(สาย สิงหเสนี)
มีประวัติแค่นี้   ไม่มีประวัติเมื่อท่านไปอยู่ในวัง

เสียดายไม่มีรูปของเจ้าจอมละม้าย  คุณ benzene อาจจะต้องไปค้นที่หอจดหมายเหตุนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 08:59

เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ ๕  ต.จ.  ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา
เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๗๖ อายุ  ๗๘ ปี
แสดงว่าเจ้าจอมละม้ายเกิดเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๘ ในรัชกาลที่ ๔
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 09:22

เจ้าจอมละม้ายในรัชกาลที่ ๕ ถือเป็นครูสอนนาฏศิลป์ที่มีฝีมือท่านหนึ่ง ท่านได้รับการถ่ายทอดจากละครหลวงสายรัชกาลที่ ๒ เรื่องอิเหนา และเป็นละครหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๔ .
ในช่วงพ.ศ. ๒๔๒๕ เจ้าจอมละม้ายได้เป็นครูละครซ้อมเรื่องอิเหนาให้กับเจ้านายต่าง ๆ ไว้สำหรับการแสดงสมโภชเฉลิมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

การระบำกิ่งไม้เงินไม้ทองหน้าม่านเป็นการแสดงรูปแบบใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเจ้าจอมละม้ายท่านได้มีท่วงท่าการรำกิ่งไม้เงินกิ่งไม้ทองได้งามเลิศ และยังจัดท่ารำฝรั่งคู่ได้อย่างงดงาม จนการรำเป็นท่าแบบฉบับของเจ้าจอมละม้ายไปในที่สุดคือ ท่ารำฉุยฉายนางถือกิ่งไม้เงินทอง (สองนางเนื้อเหลือง) ไปในที่สุด

เมื่อละครฝ่ายวังสวนกุหลาบเริ่มมีการหัดนางในมีการคัดสรรครูละครหลวงมาต่อท่ารำให้กับละครวังสวนกุหลาบด้วย ซึ่งเจ้าฟ้ากรมขุนราชสีมาท่านก็โปรดให้เรียกเจ้าจอมละม้ายเข้ามาสอน เนื่องจากเป็นละครที่ได้รับท่วงท่าสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยลูกศิษย์ที่สอนคือ ครูเฉลย ศุขวณิชย์ (ตัวพระ)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 09:27

ผมเคยค้นหาเจ้าจอมกิมเนียวมาครั้งหนึ่ง
จำได้ว่ามีชื่อเจ้าจอมละม้ายอยู่ด้วย

ผู้เข้าเรี่ยรายทำบุญให้แก่สภานี้คราวเดียว  จัดเปนผู้ศรัทธาเข้าเรี่ยราย เรียงตามรายวันรับ....
เจ้าจอมเจิม     อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมถนอม  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๔๐  บาท
เจ้าจอมสวน    อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๔๐  บาท
เจ้าจอมจีน      อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมลม้าย  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมสาย    อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมสว่าง   อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมจำเริญ อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐๐  บาท
เจ้าจอมเนื่อง   อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมเพิ่ม     อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมน่วม    อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๔๐  บาท
เจ้าจอมทับทิม อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมทิพย์   อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมกิมเนียว  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๔๐  บาท
เจ้าจอมลิ้นจี่   บุตรพระยาไชยสุรินทร์  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมทับทิม อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมลิ้นจี่   บุตรพระยาเพ็ชรพิไชย  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมจำเริญ  บุตรพระยาประชาชีพบริบาล  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมใย      อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมจำเริญ  บุตรพระยาพิพัฒโกษา  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมเปรม    อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมอิ่ม      อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมเอี่ยม   อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐  บาท
เจ้าจอมเชย     อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๑๖๐  บาท
เจ้าจอมเพิ่ม     อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๑๖๐  บาท
เจ้าจอมช่วง     อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
เจ้าจอมแฉ่ง     อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๒๐๐  บาท
เจ้าจอมสงวน   อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๑๐๐  บาท
เจ้าจอมสวาดิ์   อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๑๐๐  บาท
............................................

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 09:44

ผมเคยค้นหาเจ้าจอมกิมเนียวมาครั้งหนึ่ง
จำได้ว่ามีชื่อเจ้าจอมละม้ายอยู่ด้วย

ผู้เข้าเรี่ยรายทำบุญให้แก่สภานี้คราวเดียว  จัดเปนผู้ศรัทธาเข้าเรี่ยราย เรียงตามรายวันรับ....
เจ้าจอมลม้าย  อยู่ในพระบรมมหาราชวัง  ๘๐  บาท
............................................


เจ้าจอมชื่อละม้าย   มีอีกท่านหนึ่งคือเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ละม้าย ธิดาหม่อมเจ้าพีระพงษ์ สิงหรา

ชื่อที่คุณหลวงอ้างมา มีโอกาสเป็นอีกท่านได้หรือไม่หนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 10:06

เพิ่มได้อีกนิดหน่อย
เจ้าจอมละม้าย สุวรรณทัตมีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าจอมมารดาเขียนในรัชกาลที่ ๔    เจ้าจอมมารดาเขียน( หรือที่เรียกกันว่า เขียนอิเหนา เพราะรำเป็นตัวอิเหนา)เป็นเจ้าจอมมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรวรรณากร  กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุลวรวรรณ
เจ้าจอมมารดาเขียนเป็นหลานลุงของพระยาราชภักดี(ทองคำ สุวรรณทัต)ปู่ของเจ้าจอมละม้าย  และเป็นหลานป้าของเจ้าจอมมารดางิ้วในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี     พระยาราชภักดีอุปถัมภ์เลี้ยงดูเจ้าจอมมารดาเขียนมาแต่เล็กก่อนจะเข้าวังเป็นนางข้าหลวงของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี   เมื่อเข้าวังแล้วก็ได้ฝึกหัดละครในพระตำหนัก     หลังจากสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสฯสิ้นพระชนม์ เจ้าจอมมารดางิ้วได้นำครูละครของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสฯขึ้นถวายตัวในรัชกาลที่ ๔    เป็นได้ว่าท่านเป็นครูฝึกละครให้เจ้าจอมละม้ายที่เป็นญาติของท่านด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 11:27

นอกจากสองท่านที่กล่าวนามมาแล้ว  ยังมีเจ้าจอมละม้ายอีกท่านหนึ่งเป็นซึ่งเป็นมุสลิมคือเจ้าจอมละม้าย ธิดาพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน)

http://www.alisuasaming.com/index.php/historyofislaminthailand/1530-historyofislaminthailand11
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 11:30

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ คุณหลวงเล็ก คุณเทาชมพู คุณสยาม คุณเพ็ญชมพู มากๆ ครับ ที่อนุเคราะห์ประวัติ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ผมติดตามงานของทุกท่านมานาน ดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ทุกๆท่านเข้ามาตอบกระทู้ของผม
ผมเป็นน้องใหม่ของบอร์ดนี้ ฝากตัวด้วยครับ เรื่องที่ผมสนใจ คือ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี - นาฏศิลป์ เพื่อจะพยายามรวบรวมความรู้ไว้เป็นวิทยาทานแก่นักศึกษาในสมัยนี้
ปัจจุบันนักศึกษาในสายวิชาชีพนาฏศิลป์ ดนตรีไทย ไม่ค่อยมีข้อมูลให้ค้นกันเลย
ผมจบจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ คิดน้อยเนื้อต่ำใจมาตลอด ว่าข้อมูลต่างๆ เหล่านี้หาได้ยากมาก (ในสมัยที่ผมเรียนอยู่) แต่พอมาปัจจุบัน เริ่มมีคนเข้ามาให้ข้อมูล ผมพยายามรวบรวม และตอนนี้ได้มาทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม จัดกิจกรรมใหญ่ขึ้นปลายปีนี้ "101 ปี ละครวังสวนกุหลาบ" ซึ่งจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูล และบุคคลสำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องมาจัดนิทรรศการ
รวมทั้งงานนี้ จะเปรียบเสมือนที่รวมเหล่าทายาทของเจ้าจอมหม่อมละคร และเชื้อสายสกุลต่างๆ ของครูละครวังสวนกุหลาบ
ตอนนี้ที่รวบรวมข้อมูลครูละครวังสวนกุหลาบได้ก็คือ
1. ท้าววรจันทร์ (แมว อิเหนา) หรือเจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ 4 พระมารดาของต้นสกุล โสณกุล
2. เจ้าจอมมารดาเขียน (เขียน สิริวันต์) ในรัชกาลที่ 4 พระมารดาของกรมพระนราธิป ฯ ต้นราชสกุล วรวรรณ
3. เจ้าจอมมารดาสาย (สุกุมลจันทร์) ในรัชกาลที่ 5
4. เจ้าจอมละม้าย (สุวรรณทัต) ในรัชกาลที่ 5 (*ไม่มีภาพ)
5. ท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์) ผู้อำนวยการละครวังสวนกุหลาบ และพระอภิบาลทูลกระหม่อมอัษฎางค์
6. เจ้าจอมมารดาทับทิม (โรจนดิศ) ในรัชกาลที่ 5 พระมารดาต้นราชสกุล จิรประวัติ และวุฒิไชย
7. หม่อมครูแย้ม อิเหนา หม่อมละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ศิษย์เจ้าจอมมารดาแย้ม อิเหนา ในรัชกาลที่ 2 (คุณโต แย้ม) (*ไม่มีภาพ)
8. หม่อมครูนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา ละครเจ้าคุณจอมมารดาเอม (วังหน้า)
9. หม่อมครูอึ่ง หสิตะเสน ละครเจ้าคุณจอมมารดาเอม (วังหน้า) สำรับเดียวกับหม่อมครูนุ่ม
10. คุณครูหงิม นางละครเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ท่านนี้ให้วิชากับสำนักละครวังสวนกุหลาบไว้มาก แต่ไม่มีประวัติเลย รู้แต่ว่าเป็นภรรยานายมี มหาดเล็ก ข้าหลวงของทูลกระหม่อมอัษฎางค์ (*ไม่มีภาพ)
11. พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เจ้ากรมโขนหลวง รัชกาลที่ 6
12. คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) * สองท่านนี้ทราบว่าเคยเป็นข้าหลวงละคร-โขน แห่งสำนักละครเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
ใครมีประวัติหรือเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยเพิ่มเติมขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับวงการนาฏศิลป์ไทย และนักเรียนนักศึกษา โครงการนี้จัดเพื่อการกุศลจริงๆ จะจัดพิมพ์หนังสือด้วย ผมจะขอแจกให้ทุกๆ ท่านด้วยความเคารพด้วยครับ
Benzene...^^

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 12:06

ลืดลีบของครูละครวังสวนกุหลาบยังมีเลือดศิลปินหลงเหลืออยู่

เพ็ญชมพู
อ้างถึง
ประการหนึ่ง นอกจากครูละครหลวง ในรัชกาลที่ ๔ ได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบแล้ว ยังมีครูละครวังหน้า (เชื่อว่าน่าจะเป็นละครเจ้าคุณมารดาเอม) คือ หม่อมครูอึ่ง หสิตเสน และหม่อมครูนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา ซึ่งได้เข้าไปเป็นครูผู้วางรากฐานให้กับคณะละครวังสวนกุหลาบ ละครเจ้าคุณจอมมารดาเอมนี้ นิยมแสดงตามรูปแบบละครหลวง เป็นต้น(สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ.๒๕๔๖:๓๗๘)
หม่อมครูนุ่ม เป็นนางเอกละครวังหน้าที่ท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอมท่านรักมาก ต่อมาได้เป็นหม่อมห้ามในพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์

ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตท่านเขียนไว้ว่า คำที่อยู่ในชุดเดียวกัน "ลูก - หลาน - เหลน คือ  “ลื่อ” (ไม่ใช่โหลน) ถัดจาก "ลื่อ" ไปก็คือ "ลืด" และ "ลืบ" พจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำทั้ง ๒ ไว้ดังนี้

      "ลืด น. ลูกของลื่อ, หลานของเหลน."

      "ลืบ น. ลูกของลืด."


แม้เลือดศิลปินไม่เข้มข้นเหมือนราชสกุลนโรดม แต่ด.ญ. ณัฐเรขา นวรัตน ณ อยุธยา ลืบของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม หรือลืดของหม่อมนุ่มคนนี้อายุ๕ขวบ ชอบเล่นแต่งกายเป็นนางละครและชอบร่ายรำโดยไม่มีใครสั่งเคยสอนมาก่อนเลย




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 12:16

แต่ลืบของหม่ิมครูนุ่ม สาวน้อยคนนี้ มีเค้าโครงใบหน้า และแววตาคล้ายหม่อมครูนุ่มอยู่มากนะครับ หน้ารูปไข่ ปากนิด จมูกหน่อย คอระหงแบบนี้ ถ้าหม่อมครูนุ่มยังอยู่คงคัดเลือกให้เป็นตัวพระ หรือถ้าเอ็นดูมาก ก็ให้เป็นตัวนาง กล้วสอนเองเลย เสียดาย ลืบของหม่อมครูเกิดไม่ทัน อิอิ ไม่งั้นเป็นศิลปินไปแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 13:22

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ คุณหลวงเล็ก คุณเทาชมพู คุณสยาม คุณเพ็ญชมพู มากๆ ครับ ที่อนุเคราะห์ประวัติ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ผมติดตามงานของทุกท่านมานาน ดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ทุกๆท่านเข้ามาตอบกระทู้ของผม
ผมเป็นน้องใหม่ของบอร์ดนี้ ฝากตัวด้วยครับ เรื่องที่ผมสนใจ คือ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี - นาฏศิลป์ เพื่อจะพยายามรวบรวมความรู้ไว้เป็นวิทยาทานแก่นักศึกษาในสมัยนี้

Benzene...^^



ได้อ่านเล่มนี้หรือยังครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 13:31

^
^
http://www.homebankstore.com/dl/ebookthbl/174.pdf

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 13:47

อ้างถึง
แต่ลืบของหม่อมครูนุ่ม สาวน้อยคนนี้ มีเค้าโครงใบหน้า และแววตาคล้ายหม่อมครูนุ่มอยู่มากนะครับ หน้ารูปไข่ ปากนิด จมูกหน่อย คอระหงแบบนี้ ถ้าหม่อมครูนุ่มยังอยู่คงคัดเลือกให้เป็นตัวพระ หรือถ้าเอ็นดูมาก ก็ให้เป็นตัวนาง กล้วสอนเองเลย เสียดาย ลืบของหม่อมครูเกิดไม่ทัน อิอิ ไม่งั้นเป็นศิลปินไปแล้ว

ลืบของหม่อมครูนุ่มคนนี้ พูดกับคนอื่นคะขาไพเราะห์มากแม้แต่กับแม่ค้าข้างถนน แต่กับพ่อแม่ปู่ย่า แต่ไหนแต่ไรพูดไม่มีหางเสียง ถ้าเคี่ยวเข็ญมากๆก็นิ่งเสียเฉยๆ(นอกจากมีสินบนมาล่อ จะยอมนิดนึง) ไม่ทราบติดอะไรมาจากชาติก่อนหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง