เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16185 ม.ล. ชุ่ม ขำสวัสดิ์ (จริงหรือ ?)
สมภพ เจ้าเก่า
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 15:53

ทะเบียนบ้านปู่ ที่มีชื่อทวดชุ่ม แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ระบุคำนำหน้าชื่อนะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 17:29

ในเมื่อข้อมูลระบุชัดว่า คุณทวดชุมของคุณสมภพเคยรับราชการที่พระราชวังสนามจันทร์ก็ไม่ต้องไปค้นต่อแล้วครับ
เพราะสามารถระบุได้ว่า คุณทวดชุ่มท่านนั้นรับราชการกรมชาวที่ประจำกรมรักษาพระราชวังสนามจันทร์  เมื่อรัชกาลที่ ๖
สวรรคตแล้ว  พระราชวังสนามจันทร์ถูกโอนไปให้กระทรวงมหาดไทยใช้เป็นศาลารัฐบาลมณฑลนครไชยศรี  ตำแหน่งราชการ
กรมรักษาพระราชวังสนามจันทร์จึงถูกยุบเลิกไปเมื่อเสร็จการถวายพระเพลิงพระบรมศพในเดือนมีนาคม  ๒๔๖๘
และเมื่อถูกดุลย์จากราชการใน พ.ศ. ๒๔๖๙  จึงทำให้ท่านได้ย้ายไปรับราชการที่กรมรถไฟเช่นเดียวกับข้าราชการ
กรมมหาดเล็กจำนวนมากที่ถูกดุลยภาพในคราวเดียวกันนั้น  ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ม ล นั้นคือยศ มหาดเล็กวิเศษ
ไม่ใช่ฐานันดร หม่อมหลวงครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 17:39

ทะเบียนบ้านปู่ ที่มีชื่อทวดชุ่ม แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ระบุคำนำหน้าชื่อนะครับ
หลักฐานทะเบียนบ้านของคุณปู่คุณสมภพ ที่มีชื่อคุณทวดชุ่มเป็นบิดา  เขียนชื่อเฉยๆ ไม่มีคำนำหน้า  ก็แสดงว่าคุณทวดชุ่มเป็น "นาย" ค่ะ
ดิฉันเห็นด้วยกับคุณ V_Mee ว่า ม.ล.น่าจะหมายถึงยศมหาดเล็กวิเศษนะคะ  บุคลิกหน้าตาคุณทวดชุ่มก็ดูเหมาะสมจะเป็นชาววังมาก่อนเมื่อตอนหนุ่มๆ
บันทึกการเข้า
สมภพ เจ้าเก่า
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 20:02

ขอบคุณทุกคนมากครับ ได้ความรู้ที่ไม่เคยรู้มากมาย
กระทู้นี้ไม่คาดหวังจะได้คำตอบในสองสามวันครับ  ถ้ามีหลักฐานหรือคำบอกเล่าเพิ่มเติมก็จะมานำเสนออีก  ซึ่งจะทำให้กระทู้เด่งขึ้นมาด้านบนอีกครั้ง ^_^

จุดมุ่งหมายของสมภพคือ? จะเขียนประวัติต้นตระกูลขำสวัสดิ์ครับ แหะแหะ  คือเราเรียนประวัติศาสตร์ประเทศกันแล้ว  ก็เกิดสงสัยในประวัติศาสตร์ตระกูลของตัวเองขึ้นมาบ้าง
แต่กว่าจะมาเป็นเราทุกวันนี้ คงต้องหลายสายมารวมกัน ทั้งพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย  และทวดอีก 8 คน(มัง) แล้วจะเน้นไปทางสายไหนดี?
ก็การกำหนดนามสกุลถือตามฝ่ายชาย  ก็เลยได้กรอบให้คิดไปง่ายๆ ว่าควรจะพุ่งไปทาง พ่อของพ่อของพ่อ ฯ  พุ่งไปไกลแค่สมัยตั้งนามสกุลคงพอครับ  จะได้ทราบว่าใครใช้นามสกุลนี้เป็นคนแรก?
เพื่อให้เป็นที่ศึกษาของเหล่าทายาทนั่นเองครับ ^_^ และก็อยากให้ท่านๆมีชื่อจารึกในอินเตอร์เน็ตหาพบโดย google (เหมือนกระทู้นี้) แต่เหล่าทายาทคงต้องช่วยกันเขียน  ซึ่งคงต้องพึ่ง google หา ขำสวัสดิ์ แล้วติดต่อเท่าที่จะติดต่อได้

ทวดชุ่มมีภรรยาสองคนครับ (คงไม่มากไม่น้อยไปสำหรับคนสมัยนั้นนะครับ แหะแหะ) ปรากฎว่า สมภพ และ จักรภพ มาจากภรรยาของทวดคนละคนกันครับ

เรื่องนามสกุล ณ อยุธยา  คุณจักรภพ บอกว่า  เป็นนามสกุลเก่าของย่าเค้าครับ  แต่ย่าในที่นี้คงหมายถึงภรรยาของปู่ ซึ่งเป็นลูกของทวดชุ่ม  ดังนั้นย่าคุณจักรภพคงเกี่ยวข้องกับทวดชุ่มในฐานะลูกสะใภ้ครับ

สำหรับข้อสันนิษฐานเรื่อง ม.ล. นั้น ดูกระทู้นี้จะเป็นที่สรุปได้แล้ว  แต่ไม่ทราบว่าสามารถดูได้จากมรดกตกทอดได้หรือไม่(พวกทรัพย์สินหรือที่ดิน) เพราะปรากฎว่าปู่ผมไม่ได้มีมรดกตกทอดอะไร และมีการย้ายถิ่นฐานจากพญาไท(ใกล้มักกะสัน) มาอยู่แถวบางเขนตามทะเบียนบ้านดังกล่าว
ช่วยตอกย้ำข้อสันนิษฐานว่าท่านเป็นสามัญชนมากขึ้น?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 20:52

ถ้าถามว่าใครใช้นามสกุลขำสวัสดิ์เป็นคนแรก   ดิฉันเชื่อว่าเป็นคุณทวดชุ่ม   เพราะบวกลบอายุโดยประมาณแล้ว  ท่านน่าจะเกิดในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นสมัยคนไทยยังไม่มีนามสกุล    ก็แสดงว่าคุณเทียดของคุณสมภพซึ่งน่าจะเป็นคนสมัยรัชกาลที่ ๔  ไม่เคยใช้นามสกุลแน่นอน
คุณทวดชุ่มทำงานที่พระราชวังสนามจันทร์ในรัชกาลที่ ๖   ท่านคงได้รับนามสกุลในช่วงที่คนไทยทุกคนต้องมีนามสกุล  ท่านก็ย่อมเป็นคนแรกที่ใช้นามสกุลขำสวัสดิ์     

ถ้าคุณทวดชุ่มเป็นเจ้าของที่ดิน(และบ้าน)ก็ต้องมีชื่อในโฉนด    ลองสืบจากทางคุณจักรภพได้ไหมคะ ว่าปู่ของเขาได้มรดกจากคุณทวดชุ่มเป็นที่ดินบ้างหรือเปล่า   อาจมีหลักฐานเป็นชื่ออยู่ในโฉนดเก่าแก่ใบนั้นก็ได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 20:59

ถ้าถามว่าใครใช้นามสกุลขำสวัสดิ์เป็นคนแรก   ดิฉันเชื่อว่าเป็นคุณทวดชุ่ม   เพราะบวกลบอายุโดยประมาณแล้ว  ท่านน่าจะเกิดในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นสมัยคนไทยยังไม่มีนามสกุล    ก็แสดงว่าคุณเทียดของคุณสมภพซึ่งน่าจะเป็นคนสมัยรัชกาลที่ ๔  ไม่เคยใช้นามสกุลแน่นอน
คุณทวดชุ่มทำงานที่พระราชวังสนามจันทร์ในรัชกาลที่ ๖   ท่านคงได้รับนามสกุลในช่วงที่คนไทยทุกคนต้องมีนามสกุล  ท่านก็ย่อมเป็นคนแรกที่ใช้นามสกุลขำสวัสดิ์     

ถ้าคุณทวดชุ่มเป็นเจ้าของที่ดิน(และบ้าน)ก็ต้องมีชื่อในโฉนด    ลองสืบจากทางคุณจักรภพได้ไหมคะ ว่าปู่ของเขาได้มรดกจากคุณทวดชุ่มเป็นที่ดินบ้างหรือเปล่า   อาจมีหลักฐานเป็นชื่ออยู่ในโฉนดเก่าแก่ใบนั้นก็ได้

ถ่ายสำเนาหลังโฉนดมาดูกันด้วยนะครับ คุณสมภพ เจ้าเก่า  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 21:06

ในเมื่อข้อมูลระบุชัดว่า คุณทวดชุมของคุณสมภพเคยรับราชการที่พระราชวังสนามจันทร์ก็ไม่ต้องไปค้นต่อแล้วครับ
เพราะสามารถระบุได้ว่า คุณทวดชุ่มท่านนั้นรับราชการกรมชาวที่ประจำกรมรักษาพระราชวังสนามจันทร์  เมื่อรัชกาลที่ ๖ สวรรคตแล้ว  พระราชวังสนามจันทร์ถูกโอนไปให้กระทรวงมหาดไทยใช้เป็นศาลารัฐบาลมณฑลนครไชยศรี  ตำแหน่งราชการกรมรักษาพระราชวังสนามจันทร์จึงถูกยุบเลิกไปเมื่อเสร็จการถวายพระเพลิงพระบรมศพในเดือนมีนาคม  ๒๔๖๘ และเมื่อถูกดุลย์จากราชการใน พ.ศ. ๒๔๖๙  จึงทำให้ท่านได้ย้ายไปรับราชการที่กรมรถไฟเช่นเดียวกับข้าราชการกรมมหาดเล็กจำนวนมากที่ถูกดุลยภาพในคราวเดียวกันนั้น  ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ม ล นั้นคือยศ มหาดเล็กวิเศษ  ไม่ใช่ฐานันดร หม่อมหลวงครับ

คำตอบของคุณ V_Mee น่าจะตอบโจทย์ได้อีกข้อว่าทำไมคุณทวดชุ่มไม่มีบรรดาศักดิ์   ท่านเป็นมหาดเล็กในระดับต้นที่ยังไม่มีบรรดาศักดิ์     ถูกดุลย์ในพ.ศ. ๒๔๖๙  มาเริ่มต้นใหม่เป็นข้าราชการกรมรถไฟ  ก็เท่ากับท่านต้องนับหนึ่งใหม่อีกครั้งในหน่วยงานใหม่   ทำได้ ๖ ปี เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ๒๔๗๕  ราชการยกเลิกบรรดาศักดิ์ ไม่มีเพิ่ม ไม่มีเลื่อน   คุณทวดชุ่มจะมีตำแหน่งสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหนก็ตาม  ถ้าไม่มีบรรดาศักดิ์มาแต่แรกแล้วก็เป็นอันว่าไม่มี   
บันทึกการเข้า
สมภพ เจ้าเก่า
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 21:27

การดุลย์ หรือ ดุลยภาพ  นี่คืออะไรเหรอครับ ^_^

ว่าแต่ปู่ผมเกิดปี 2453  ก่อนตั้งนามสกุลเหมือนกัน  อย่างงั้นคงได้นามสกุลพร้อมๆทวดใช่มั้ยครับ ความน่าเชื่อถือถึงที่มานามสกุลจึงอาจสูง  แต่อายุปู่ตอนนั้นอาจเป็นเลขหลักเดียวอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 21:38

ความหมายของดุลยภาพ
 
   เริ่มรัชกาลที่ 7 ประเทศไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก    รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายของบ้านเมืองที่เห็นว่าไม่จำเป็นออกไปมาก  เช่นยุบหน่วยงานสมัยรัชกาลที่ 6  ออกไปหลายหน่วย      ปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมาก จัดการยุบมณฑลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ประกาศยุบจังหวัด งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงข้าราชการ    เพื่อปรับงบประมาณประจำปีให้สมดุลย์กับรายรับรายจ่ายของประเทศ
   ดุลยภาพก็เลยมีความหมายสำหรับข้าราชการสมัยนั้นว่า ถูกให้ออกจากงานโดยไม่มีบำเหน็จบำนาญ  ทั้งๆไม่มีความผิด   ทั้งนี้เพื่อปรับดุลย์ให้รายจ่ายลดลงพอกับรายรับของประเทศ     ถ้าเรียกสั้นๆเป็นภาษาพูดก็เรียกว่า ถูกดุลย์
   ถ้าจะขอให้อธิบายโดยละเอียดเห็นจะต้องถามคุณ V_Mee ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 21:40


ว่าแต่ปู่ผมเกิดปี 2453  ก่อนตั้งนามสกุลเหมือนกัน  อย่างงั้นคงได้นามสกุลพร้อมๆทวดใช่มั้ยครับ ความน่าเชื่อถือถึงที่มานามสกุลจึงอาจสูง  แต่อายุปู่ตอนนั้นอาจเป็นเลขหลักเดียวอยู่
พอคุณทวดมีนามสกุลแล้ว   ภรรยาและลูกของท่านก็ได้ใช้นามสกุลไปด้วยทั้งครอบครัวโดยอัตโนมัติค่ะ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 22:02

ความหมายของดุลยภาพ
 
   เริ่มรัชกาลที่ 7 ประเทศไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก    รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายของบ้านเมืองที่เห็นว่าไม่จำเป็นออกไปมาก  เช่นยุบหน่วยงานสมัยรัชกาลที่ 6  ออกไปหลายหน่วย      ปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมาก จัดการยุบมณฑลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ประกาศยุบจังหวัด งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงข้าราชการ    เพื่อปรับงบประมาณประจำปีให้สมดุลย์กับรายรับรายจ่ายของประเทศ
   ดุลยภาพก็เลยมีความหมายสำหรับข้าราชการสมัยนั้นว่า ถูกให้ออกจากงานโดยไม่มีบำเหน็จบำนาญ  ทั้งๆไม่มีความผิด   ทั้งนี้เพื่อปรับดุลย์ให้รายจ่ายลดลงพอกับรายรับของประเทศ     ถ้าเรียกสั้นๆเป็นภาษาพูดก็เรียกว่า ถูกดุลย์
   ถ้าจะขอให้อธิบายโดยละเอียดเห็นจะต้องถามคุณ V_Mee ค่ะ
หากรายรับและรายจ่ายไม่สมดุลกันก็กำไรหรือไม่ก็ขาดทุน ซึ่งก็คือการทำให้เข้าสู่สมดุลกันคือ balance
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 22:04

จะถามว่ามีบรรดาศัดกิ์ไหม เพราะไปหารายนามข้าราชการรถไฟ 2475 ไม่มีชื่อท่าน หรือว่าลาออกไปก่อนหน้า
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 06:57

ดุลยภาพคือ การปรับรายจ่ายให้สมดุลกับรายรับ
การดุลยภาพข้าราชการในพระราชสำนักมีขึ้น ๓ ด้วยกัน ๓ ครั้ง
ครั้งแรกเมื่อเสร็จการถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๖  เหตุผลที่อ้างกันคือ เพราะปัญหาเศรษฐกิจอันเนื่องมาแต่สงครามโลกครั้งที่ ๑
แต่เหตุผลที่แท้คือในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในพระราชสำนัก  จนต้องโปรดให้องคมนตรีตรวจตัดรายจ่าย  และ
ในตอนปลายรัชกาลได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกส่วนราชการในพระราชสำนักที่ตั้งในหัวเมือง เช่น กองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.
ที่นครศรีธรรมราช (สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท)  ยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่  ที่จังหวัดเชียงใหม่

การปรัลดค่าใช้จ่ายในพระราชสำนักเพิ่งเริ่มดำเนินการได้ไม่นาน  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ก็เสด็จสวรรคต  เมื่อรัชกาลที่ ๗ เสด็จขึ้น
ครองราชย์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ลดเงินปีที่รัฐบาลจัดถวายรัชกาลที่ ๖ จากปีละ ๙ ล้านบาท เหลือเพียง ๖ ล้านบาท  และโดยที่ค่าใช้จ่าย
สำหรับส่วนราชการกระทรวงวังและกรมมหาดเล็กล้วนเบิกจ่ายจากเงินส่วนที่รัฐบาลจัดถวายนี้  เมื่อเงินลดลงจึงทำให้ต้องปรับลด
ส่วนราชการในพระราชสำนักลง  มีการปรับลดอัตรากำลังกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.จาก ๒ กองพันๆ ละ ๔ กองร้อยลงเหลือเพียง
๒ กองร้อย  ยุบเลิกกรมศิลปากร  กรมมหรสพ  กรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์  กรมศิลปากร ฯลฯ  เมื่อปรับลดส่วนราชการลง
บรรดาข้าราชการก็ต้องถูกปลดออกรับพระราชทานเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญกว่า ๑,๘๐๐ คน  เรียกกันว่า "ดุลยภาพ"

แต่การดุลยภาพคราวนั้นจะว่าไปแล้วเป็นเพียงการผ่องถ่ายข้าราชการในพระราชสำนักในส่วนที่ไม่เป็นที่ต้องการหรือเป็นผู้ที่ผู้เป็นใหญ่
ในรัชกาลที่ ๗ ท่านไม่ปรารถนา  จึงปรากฏว่า กรมศิลปากรถูกยุบเลิกไปไม่นานก็มีการจัดตั้งศิลปากรสถานขึ้นเป็นส่วนราชการใน
สังกัดราชบัณฑิตยสถาน  และเปลี่ยนให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร  กฤดากร มาเป็นผู้อำนวยการศิลปสถานแทนอธิบดีกรมศิลปากรเดิม
ยุบเลิกกรมมหรสพ  แล้วตั้งกรมพิณพาทย์หลวงเป็นส่วนราชการใหม่นอกพระราสำนัก  ยุบกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์  และ
มีความคิดที่จะยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  โรงเรียนราชวิทยาลัย และโรงเรียนพรานหลวงทั้งหมด  แต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
พระยาบรมบาทบำรุง และพระราชธรรมนิเทศ ถวายฎีกาคัดค้่นว่า ถ้ายุบโรงเรียนมหาดเล็กหลวงก็เท่ากับยุบพระอารามหลวงประจำ
รัชกาลที่ ๖  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยุบโรงเรียนพรานหลวง  และรวมโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย  เมื่อยุบรวมโรเรียนแล้วโปรดให้ตั้งโรงเรียนเยาวกุมารขึ้นที่สวนจิตรลดา  และโปรดให้ครูที่ถูกปลดจากโรงเรียน
มหาดเล็กหลวง เช่น พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (พ้อง  รจนานนท์) ไปสอนที่โรงเรียนเยาวกุมาร

ข้าราชการที่ถูกดุลยภาพคราวนั้น  เมื่อออกจากราชการในพระราชสำนักแล้ว  ส่วนหนึ่งได้ไปรับราชการที่กรมรถไฟหลวง  บางส่วนก็ไป
ศึกษาต่อแล้วกลับมารับราชการตามกรมกองต่างๆ  หรือประกอบการค้าขายตามความถนัด

การดุลยภาพรอบที่สองเกิดขึ้นในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ข้าราชการในกระทรวงวังถูกดุลยภาพออกรับพระราชทานเบี้ยหวัดบำเหน็จ
บำนาญอีกครั้ง  เพราะเหตุ "เป็นพวกเจ้า" ที่คณะราษฎรไม่ไว้วางใจ  ปลดแล้วคณะราษฎรก็ส่งคนของตนเข้ามาทำหน้าที่แทน  จนเกิด
กรณีสวรรคต  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์) ย้ายมา
ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังแล้ว  จึงได้มีการดุลยภาพคนของคณะราษฎรออกไปแล้วเรียกข้าราชการเก่าที่ถูกดุลยภาพออกไปใน
ตอนต้นรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นผู้รู้ขนบประเพณีในพระราชสำนักเป็นอย่างดีกลับมารับราชการอีกครั้ง  แล้วจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟู
พระราชพิธีสำคัญต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้ง
ไม่ชอบหน้า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ส.ค. 12, 07:11

เยี่ยมครับ นี่..V_Meeของแท้


บันทึกการเข้า
took154
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 10 พ.ค. 14, 05:05

ดิฉัน ได้อยู่บ้าน มล ชุ่ม นี้เองค่ะ
โดยเป็นทวดของคุณพ่อสามีค่ะ

วันนี้ได้เสิจหา นามสกุลขำสวัสดิ์ เลยได้มาเจอ เคยได้ยินสามีเล่าว่า
มีปู่ทวดเป็นหม่วมหลวงเชียวนะ แล้วบ้านหลังนี้อยู่ก็อยู่มาเปนร้อยปี
สามี ชอบเล่าติดตลกให้ฟัง ว่าเรามีเชื้อเจ้า
ดีใจที่ยังมีคนอยากเขียนประวัติขำสวัสดิ์นะคะ
ไม่แน่ใจว่ายังมีรูปอยู่รึปล่าว เด๋วพรุ่งนี้จะไปดูที่หิ้งบรรพบุรุษ นะคะ

เราน่าจะเป็นญาติกันจริงๆ ปัจจุบันบ้านหลังนี้ยังอยู่ที่พญาไท ใกล้ทางรถไฟสายแปดริ้ว
ครอบครัวเราอยู่เป็นรุ่นสุดท้าย ที่ใช้นามสกุลขำสวัสดิ์ ปัจจุบันได้ขายให้คนอื่นไปแล้วค่ะ

พรุ่งนี้ จะเอารูปไปให้คุณแม่สามีดูคงดีใจ เท่าที่ฟังประวัติ ท่านเป็นคนดุมาก และไม่ได้ย้ายกลับไปบางเขนนะคะ
ท่านเป็นคนหวงบ้าน และเสียชีวิตที่นี่ ไม่แน่ใจว่าประวัติจะตรงกันไหม
แต่เท่าที่ฟังความดุของท่าน และคุณแม่สามีเล่าให้ฟังว่า ตอนท่านเสียไม่มีใครกล้าผ่านบ้าน
เพราะตอนมีชีวิตอยู่ท่านดุมาก และอายุค่อนข้างยืนนะคะ จำได้คร่าวๆ ว่าอายุเกือบร้อยปี

พรุ่งนี้รอคุณแม่สามีตื่น จะถามมาให้นะคะ ดีใจที่เจอคนนามสกุลเดียวกัน มีญาติคนเดียวกัน
แต่ดันเจอตอนตี5 ขออนุญาต ไปถามคุณแม่สามีพรุ่งนี้นะคะ
สวัสดีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง