เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16228 ม.ล. ชุ่ม ขำสวัสดิ์ (จริงหรือ ?)
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 15:56

รัชกาลที่๖ นามสกุลพระราชทานหมวด ข. มีเพียงเท่านี้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 16:02

สมัยรัชกาลที่ ๗ มีตามที่เห็น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 16:06

สุดท้าย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 16:08

คราวนี้คุณสมภพต้องถามญาติๆเองว่า นอกจากรูป ที่คุณปู่เขียนชื่อเองแล้ว ยังมีหลักฐานที่เป็นหนังสือราชการ บัตรประจำตัว ฯลฯ อีกบ้างไหม ที่แสดงว่าคุณปู่ของคุณเป็นหม่อมหลวง
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 16:29

มาเพิ่มเติมครับ
ผมขออนุญาตรวบรวมข้อมูลจากในเรือนไทยนี่แหละครับ เกี่ยวกับรามสกุลพระราชทานใน รัชกาลที่ ๗
ประมาณ ๓๘​ นามสกุล แยกได้เป็น
พระราชทานแก่หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๕ และพระอนุวงศ์ในรัชกาลที่ ๒ ๓ และ ๔ ที่ยังไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ ๖ รวม ๒๔​ ราชสกุล
๑ กิติยากร ณ อยุธยา   
  ๒ คัคณางค์ ณ อยุธยา
๓ งอนรถ ณ อยุธยา       ๔ จักรพงศ์ ณ อยุธยา
๕ จิรประวัติ ณ อยุธยา      ๖ จุฑาธุช ณ อยุธยา
๗ ฉัตรชัย ณ อยุธยา        ๘ บริพัตร ณ อยุธยา
๙ ประวิตร ณ อยุธยา   ๑๐ พรหมเมศ ณ อยุธยา
๑๑ เพ็ญพัตร ณ อยุธยา    ๑๒ มรกฎ ณ อยุธยา
๑๓ มหิดล ณ อยุธยา         ๑๔​ ยุคล ณ อยุธยา
๑๕ รพีพัฒน ณ อยุธยา      ๑๖ รังสิต ณ อยุธยา
๑๗ ลำยอง ณ อยุธยา  ๑๘ วิบูลพรรณ ณ อยุธยา
๑๙ วิสุทธิ ณ อยุธยา       ๒๐ วุฒิชัย ณ อยุธยา
๒๑ สุธารส ณ อยุธยา       ๒๒​ สุริยง ณ อยุธยา
๒๓ อาภากร ณ อยุธยา   ๒๔ อุไรพงศ์ ณ อยุธยา

พระราชทานแก่สามัญชนที่กราบบังคมทูลขอพระราชทาน ๑๔ นามสกุล
๑ กงสุวรรณ         ๒ จุฬารัตน     
๓​ ตันติลีปิกร        ๔ ตันสุหัช
๕ เทวานุเคราะห์    ๖ ประภาวิวัฒน์
๗ พรหมนารท         
๘ มณีลดา         ๙ มหาณรงค์
๑๐ หิรัณยเลขา    ๑๑ วรรณโกมล   
๑๒ วัฒนสุทธิ      ๑๓ วิเศษสุมน
๑๔​ ธันวารชร

(เรียงลำดับตามตัวอักษร นะครับ ข่้อมูลของคุณครู V_Mee และคุณชัชวาล จากกระทู้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4267.0 )
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 17:11

นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๗  เท่าที่เคยเห็นประกาศในราชกิจจานุเบกษา เข้าใจว่ามีเท่านั้น
แต่ยังมีนามสกุลพระราชทานที่ไม่ได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกจำนวนหนึ่ง
ไว้มีโอกาสจะได้นำมาเผยแพร่ในเรือนไทยกันต่อไป

ส่วนนามสกุลพระราชทานในรัชกาลปัจจุบัน   มีการรวบรวมไว้เป็นสมุดบัญชี
และกำลังจะ...ในโอกาสอันเหมาะสม   ทราบว่ามีจำนวนมากเช่นกัน

อนึ่ง  นามสกุลอีกจำพวกหนึ่งที่ยังไม่มีใครรวบรวมไว้  คือนามสกุลที่เจ้านายต่างๆ
พระราชทานหรือประทานแก่บุคคลต่างๆ  นามสกุลเหล่านี้ เข้าใจว่าจะมีไม่น้อย
เท่าที่ทราบ  อย่าง ธีมากร เป็นนามสกุลที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ประทาน
ตะละภัฏ เป็นนามสกุลที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานแก่เจ้ากรมหลี (หลวงสงขลานครินทร์)

ไม่แน่ว่า  บางทีนามสกุล ขำสวัสดิ์  อาจจะเป็นนามสกุลที่เจ้านายประทานก็ได้

ทราบว่า ม.ล.ชุ่ม  ขำสวัสดิ์ เคยรับราชการอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์
แล้วย้ายไปรับราชการอยู่สถานีรถไฟมักกะสัน  ถ้าเคยรับราชการอย่างนี้
น่าจะหาข้อมูลได้ไม่ยากนัก   ยังพอมีความหวัง (แต่...) 
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 17:20

ยังพอมีความหวัง แต่......ต้องรออ่านภาคสองในตอนต่อไป    ยิงฟันยิ้ม
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 18:59

เด๋วช่วยตอบข้อมูลพื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับผมนะครับ ผม นายสมภพ ขำสวัสดิ์
คือเกิดที่โคราช(ปากช่อง)ก็จริง  แต่พ่อมาจากกรุงเทพฯตั้งแต่ผมยังไม่เกิดครับ และปู่ก็คนกรุงเทพ(แต่เสียแล้ว)

นามสกุลพระราชทานมั้ย? อันนี้เคยถามจากปู่เองสมัยที่ผมยังเด็ก  ก็ได้รับคำยืนยันจากปู่เลยว่า  เป็นนามสกุลพระราชทานครับ แต่ไม่ทราบ ร.๖ หรือ ร.๗
แต่ปู่ไม่ได้บอกว่าเป็น ม.ล. หรือไม่อย่างไรครับ

ญาติอีกสายที่เป็นเจ้าของรูป(รู้จักกันในเฟชบุ๊ค จักรภพ ขำสวัสดิ์) ทำให้ผมเห็นคำว่า ม.ล. นำหน้าชื่อทวดเป็นครั้งแรก  เค้าบอกว่าทวดชุ่มเคยทำงานพระราชวังสนามจันมาก่อนครับ คือเป็นคนนครปฐมมาก่อน  แล้วต่อมา(อย่างไรไม่แน่ใจ) มาอยู่สถานีรถไฟมักกะสัน  ซึ่งกรณีรถไฟมักกะสันนี้  ทางสายของผมก็ยืนยันเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะพี่น้องปู่บางคนก็ทำงานที่นั่น(แต่ก็ล้มหายไปแล้ว)
มาต้อนรับคุณสมภพเช่นเดียวกันค่ะ

แกะรอยจากคำบอกเล่าของคุณปู่คุณที่ได้รับคำบอกเล่าจากคุณทวดชุ่ม
๑   นามสกุลขำสวัสดิ์   ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัว (หรืออย่างน้อยก็ประทานจากเจ้านาย) ก็ต้องนับเป็นนามสกุลทางสายบิดาของคุณทวดชุ่ม
๒   คุณทวดชุ่มเคยทำงานที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม  น่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่ ๖  ไม่น่าจะเป็นก่อนหน้านั้น เพราะพระราชวังสนามจันทร์รุ่งเรืองเฟื่องฟูในรัชกาลที่ ๖
๓  คุณทวดชุ่มถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๓  เกิดเมื่อใดไม่แจ้ง  แต่ดูจากในรูปท่านอยู่มาจนชรา  รูปนี้ถ่ายก่อนท่านถึงแก่กรรมกี่ปีก็ไม่ทราบ   แต่ขอเดาว่าอายุท่านคงไม่ต่ำกว่า ๗๐ ปี     ถ้าอย่างนั้นท่านก็คงจะเกิดเมื่อรัชกาลที่ ๕ ครองราชย์ได้สัก ๑๐ ปี
๔  ต่อมาท่านมาทำงานที่สถานีรถไฟมักกะสัน  มีความเป็นไปได้ว่าท่านอาจทำงานที่สถานีรถไฟสนามจันทร์มาก่อน  เพราะข้าราชการทั่วไป โดยเฉพาะข้าราชการหนุ่มเริ่มทำงานได้ไม่นาน  มักทำงานหน่วยงานไหนก็หน่วยงานนั้น ไม่ถูกย้ายข้ามกรมหรือกระทรวง
๕ คุณปู่ของคุณสมภพเป็นคนกรุงเทพ   แสดงว่าคุณทวดชุ่มอาจเริ่มมีครอบครัวเมื่อย้ายมาทำงานที่กรุงเทพ   หรือหอบหิ้วบุตรเล็กๆมาจากนครปฐมแล้วมาปักหลักอยู่กรุงเทพ  ไม่กลับไปอีก
๖ คุณทวดชุ่มมีเชื้อสายราชสกุล แต่ท่านมิได้ให้บุตรและหลานของท่านใช้ ณ อยุธยาต่อท้าย    และไม่ได้บอกเล่าเก้าสิบให้รู้ด้วยว่าท่านมีเชื้อสาย  ไม่งั้นคุณปู่และคุณพ่อของคุณสมภพคงรู้เรื่องไปนานแล้ว  
๗ แม้ว่าคุณทวดชุ่มรับราชการอยู่สถานีรถไฟมักกะสัน  ลูกท่านบางคนก็ทำงานที่นี่ (คือบรรพบุรุษสายของคุณจักรภพ ขำสวัสดิ์)  แต่ท่านไม่มีบรรดาศักดิ์   จะว่าท่านไม่ทันได้รับบรรดาศักดิ์เพราะเลิกล้มกันไปก่อนก็ไม่ใช่  คำนวนจากอายุแล้วท่านน่าจะรับราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ หรืออาจจะปลายรัชกาลที่ ๕   จะว่าท่านถึงแก่กรรมก่อนก็ไม่ใช่เพราะท่านอยู่มาจนพ.ศ. ๒๔๙๓   การแต่งกายในรูปที่เป็นเสื้อราชปะแตนก็แสดงว่าท่านน่าจะมีความเป็นอยูู่ที่สูงกว่าชาวบ้านธรรมดา   อาจจะรับราชการมาจนชราก็ได้
๘  ไม่มีการเอ่ยถึงพี่น้องท้องเดียวกันกับคุณทวดชุ่ม ว่าเป็นม.ล.หรือไม่     คุณปู่ของคุณสมภพคงไม่มีลุงไม่มีอาให้เห็นเลยตั้งแต่จำความได้   ไม่งั้นคงมีลูกพี่ลูกน้องใช้ ณ อยุธยากันบ้างแล้ว
๙  คุณจักรภพผู้เป็นเจ้าของรูป  ย่อมมีพ่อและปู่ที่รู้ว่าคุณทวดของตนเป็นม.ล.  แต่ตัวคุณจักรภพเองก็ไม่มี ณ อยุธยาต่อท้ายนามสกุล   แปลว่าพ่อและปู่ของคุณจักรภพก็ใช้ "ขำสวัสดิ์" เฉยๆเหมือนกับคุณสมภพ
 ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 22:58

เพิ่งกลับมาจากต่างจังหวัด  เบยเพิ้งจะมาเห็นกระทู้นี้วิ่งฉิวไปไกลพอสมควร
ในความเห็นส่วนตัว  ขอเรียนยืนยันว่าสกุลนี้มิใช่ราชสกุลหรือนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๖ หรือที่ ๗
แต่อักษรย่อ ม ล หน้าชื่อ ผมกลับแปลความหมายว่า น่าจะเป็น "มหาดเล็ก" ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งมหาดเล็กสำรอง
หรือมหาดเล็กวิเศษ  ซึ่งเป็นยศมหาดเล็กที่เทียบเท่าว่าที่นายร้อยตรี หรือนายร้อยตรี
ท่านผู้นี้อาจจะได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงในรัชกาลที่ ๖  จึงอาจจะได้รับพระราชทานยศดังกล่าว
เพราะในรัชกาลที่ ๗ มีการยุบรวมกรมมหาดเล็กเข้ากับกระทรวงวังจึงเลิกยศมหาดเล็กไปด้วยเลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 23:08

น่าสนใจมาก

เคยมีมหาดเล็กผู้ใดใช้อักษรย่อเช่นนี้หรือครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ส.ค. 12, 23:45



เมื่อบ่ายวันนี้มีสหายมาเร่งรัดให้ช่วยกันคิดเรื่องนี้  เพราะคุณสมภพก็เป็นที่นับถือ

คิดวาบถึงคำว่า  มหาดเล็ก

ถามไปที่ที่ปรึกษา    ที่ปรึกษาเอ่ยว่า  น่าคิดอยู่เหมือนกัน

ตั้งแต่บัดนั้นก็อ่านหนังสือมหาดเล็กไป ๓ เล่ม  คือ ตำนานทหารมหาดเล็ก  กรมทหารราบที่ ๑  มหาดเล็กรักษาพระองค์ เล่มสีแดง

ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก อนุสรณ์ของพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน(ม.ล. วราห์  กุญชร) ๒๕๐๐   

และตำนานกรมทหารราบที่ ๑    มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ลิขสิทธิ์กระทรวงกลาโหม ๒๔๔๔
พิมพ์ ๒๔๖๔

ไม่พบคำว่า  ม.ล. นำหน้า

ในหนังสือเก่ามีคำว่า       นายโก  มหาดเล็ก     นายศล  มหาดเล็ก  เป็นต้น

ม.ร.ว. หนึ่งท่านก็รับใช้ขนต้นไม้ เลื่อนกระถางหนัก ๆ ในพระบรมมหาราชวังในวัยหนุ่ม   จนความทราบถึงทูลละอองธุลีพระบาท  จึงให้นำเฝ้า
ถวายตัวรับราชการมีเบี้ยหวัด  จนเลื่อนตำแน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ

มีพระราชดำรัสว่า  "ลูกหลานของข้าทั้งนั้น"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 09:14

^
ก็จริงของพระองค์ท่าน
อดีตมหาดเล็กยกกระถาง  เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา) สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ต้นราชสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา

ถ้าคุณทวดชุ่มไม่ได้มาจากราชสกุล  เพราะท่านไม่ได้ให้ลูกหลานใช้ ณ อยุธยากันสักคน  ม.ล. สำหรับท่านอาจหมายถึงมหาดเล็กหลวง ก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 11:30

น่าสนใจมาก

เคยมีมหาดเล็กผู้ใดใช้อักษรย่อเช่นนี้หรือครับ

เคยอ่านพบในเอกสารจดหมายเหตุครับ  แต่จำไม่ได้ว่าเป็นใตร
สมัยก่อนมักจะใช้อีกษรย่อเพียง ๒ ตัว เช่น หมาอมราชวงศ์ ใช้ ม.ว.
ฉะนั้น มล ที่สับสนกันอยู่นี้น่าจะมาจากยศ มหาดเล็กวิเศษ  เพราะใช้นำหน้าชื่อ
แต่ถ้าเป็นผู้ที่ถวายตัวแล้ว  ยังไม่ได้รับพระราชทานยศจะใช้คำว่า มหาดเล็กต่อท้ายชื่อ
เช่น ม.ล.ทศทิศ  มหาดเล็ก  ต่อเมื่อได้รับพระราชทานยศแล้ว  ใช้ยศนำหน้าชื่อก็จะตัด
คำว่ามหาดเล็กที่ท้ายชื่อออก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 11:41

หมาอมราชวงศ์ ยิงฟันยิ้ม

งงอยู่๓วินาที
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 ส.ค. 12, 13:21

รีบตอบเลยพิมพ์ผิด  ขอประทานโทษครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง