เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8792 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


 เมื่อ 05 ส.ค. 12, 12:57

เราถือว่าพระองค์ทรงเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งของไทยอีกพระองค์หรือไม่ครับ พอดีได้อ่านในวิกิพีเดียว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า ” แปลว่า “ พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ ”
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 15:59

อดีตบูรพมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา การตั้งสมัญญามหาราชหากตั้งทุกพระองค์คงเฝือ ทุกพระองค์ล้วนมีจุดเด่นในแต่ละรัชกาล ในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างบ้านแปลงเมืองให้พระนครกรุงรัตนโกสินทร์งดงามและแข็งแรง ป้อมเมือง กำแพงเมืองแข็งแรงแน่นหนา วัดวาอารามล้วนสร้างเสริมและสร้างใหม่ต่อจากรัชกาลที่1 การค้าขายรุ่งเรืองเป็นอย่างมากจนเก็บสะสมเงินพระคลังข้างที่ไว้จำนวนมากจนนำมาไถ่บ้านไถ่เมืองในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 การสร้างพระพุทธรูปมีจำนวนมากมายทั้งใหญ่และเล็ก และที่สำคัญพระองค์ทรงรักแผ่นดินสยามมากทรงเห็นแก่บ้านเมืองเหนือสิ่งอื่นใด
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 17:29



        ถ้าสหายทั้งปวงว่าง   เราน่าจะคุยกันเรื่อง จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ   

จะได้เห็นราชกิจอันหนักหน่วง  และความรู้ความสามารถของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเดินเรือ

สมัยที่ตามหาหนังสือเล่มนี้  ลำบาก  หาไม่ค่อยได้      เดี๋ยวนี้มีหลายฉบับ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 17:48



        ถ้าสหายทั้งปวงว่าง   เราน่าจะคุยกันเรื่อง จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ   

จะได้เห็นราชกิจอันหนักหน่วง  และความรู้ความสามารถของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเดินเรือ

สมัยที่ตามหาหนังสือเล่มนี้  ลำบาก  หาไม่ค่อยได้      เดี๋ยวนี้มีหลายฉบับ


หลวงอุดมมีความจำที่ดีเลิศมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 21:03

        "ทูลเรื่องอื่นมิได้ชื่นเหมือนเรื่องวัด
        เวียนแต่ตรัสถามไถ่ให้ใฝ่ฝัน
        ถึงวัดนั้นวัดนี้เป็นนิรันดร์
        ถึงเรื่องปั้นเขียนถากสลักกลึง"
                              กลอนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
                              ผู้แต่ง นายมี (หลวงศุภมาตรา)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 07:37

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอุทิศพระราชทรัพย์และพระวรกายในการทำนุบำรุงพระศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงสร้างวัดวาอารามประดับพระนครเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองเป็นจำนวนมาก

เมื่อขุนนางชั้นผู้ใหญ่เห็นว่าท่านโปรดการสร้างวัด ข้าราชการต่าง ๆ ก็ล้วนดำเนินรอยตาม บริจาคที่ดินสร้างวัดตามอย่างและถวายเป็นพระราชกุศลอย่างมากมาย

วัดที่โดดเด่นในกรุงเทพ มีด้วยกันหลายวัดคือ

๑. วัดกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ด้วยการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ด้วยปูนปั้น สูงราวพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง (พระพุทธไตรรัตนนายก)

๒. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งทรงได้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เปลี่ยนโฉมหน้าวัดไปให้ใหญ่โต งดงามปานประหนึ่งเทวดาสร้าง

๓. พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นพระปรางค์ที่สร้างครั้งยังทรงเป็นเจ้าฟ้า และสำเร็จด้วยงานศิลป์กระเบื้องถ้วยในสมัยพระองค์

๔. พระสมุทรเจดีย์ เริ่มสร้างยังทรงเป็นเจ้าฟ้า และก่อสร้างมาแล้วเสร็จในสมัยพระองค์

๕. วัดยานนาวา ทรงประมาณเหตุการณ์ล่วงหน้าไว้ว่าเรือสำเภาต่อด้วยไม้จะลดบทบาทลงไป จึงทรงให้จำลองไว้

๖. พระปรางค์วัดสระเกศ เป็นพระปรางค์สูงใหญ่ริมคลองมหานาค หากสร้างสำเร็จจะมีความใหญ่โตกว่าพระปรางค์วัดอรุณ

๗. พระพุทธรูปที่โปรดเกล้าให้หล่อด้วยทองแดงก็มี พระพุทธรูปที่หล่อด้วยกลักฝิ่นก็มี พระพุทธรูปทรงเครื่องถวายพระนามแผ่นดินต้น แผ่นดินกลางก็มี พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์งดงามที่วัดนางนองก็มี พระพุทธรูป ๓๔ ปางถวายเฉลิมพระเกียรติอดีตบูรพมหากษัตราธิราชเจ้าสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 08:43

ยอดพระเจดีย์เอียง

ณ เดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๘๒

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเสด็จออกขุนนาง พระองค์เข้าชุมสาย กราบทูลว่ายอดพระเจดีย์ใหญ่นั้นเอียงทั้ง ๓ องค์ โดยองค์เหนือเอียงไปด้านเหนือ องค์กลางเอียงไปทางตะวันตก องค์ใต้เอียงไปทางใต้ด้านละศอกเศษ

ทรงตรัสถามถึงว่า "ทำไมจึงเอียงไปทั้งสามองค์"

หลังจากนั้นทรงไม่เสด็จออกขุนนางกว่า ๗ วัน ทรงประชวรด้วยมึนพระยอด เสวยได้ ๓ องค์บ้าง ๕ องค์บ้าง ครันบแล้วทรงออกเสด็จขุนนางโดยไม่ทรงประทับบังลังก์ ทรงหลับพระเนตรด้วยยังมีอาการเวียนพระยอด แต่ก็ยังทรงดำรัสถามถึงเรื่องยอดพระเจดีย์เอียง เหล่าขุนนางจึงกราบทูลว่าจะขอรับอาสาทำยอดพระเจดีย์ ซึ่งเอียงไปเนื่องด้วยหนักบัวกลุ่มโดย

พระมหาเทพ จัดการดูแลยอดพระเจดีย์ด้านเหนือ

พระอินทรเดชา จัดการดูแลยอดพระเจดีย์องค์กลาง

พระยาราชรองเมือง จัดการดูแลยอดพระเจดีย์ด้านใต้

ครั้นแล้วเดือน ๘ แรม ๕ ค่ำ  ตรงกับวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๒ ทรงออกว่าราชการและทรงถามถึงเรื่องยอดพระเจดีย์ที่เอียงว่า "ช่างกระเลย เอียงไปเสียทั้งหมดสามองค์ จะเหลือให้สักหนึ่งองค์ก็ไม่ได้ พระยาศรีพิพัฒน์ออกมาเสียแล้ว จะอาศัยพระยาเพ็ชรพิไชยช่วยดูแลให้ดีก็ไม่ได้ อายเขาหนักหนา"

คิดแล้วเสียพระทัย พระอาการพระวาโยกำเริบขึ้นมาเนื่องจากพระโรคเก่า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 09:09

ทรงแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียที่สวนขวา

ครั้งสวนขวาในพระบรมมหาราชวังเกิดตมเน่าเสียเนื่องจากน้ำที่ขังไม่มีการระบายออกไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเป็นทรงกรมเจษฏาบดินทร์ทรงช่วยเป็นพระราชภาระในการจัดการออกแบบวางท่อไขน้ำเข้าสวนขวาเสียใหม่ ทรงจ้างช่างชาวจีนมาทำการซ่อมแซมและทรงวางแผนการวางท่อไขน้ำเข้าออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ทรงถือไม้วาเข้าออกประตูอนงคลีลาด้วยไม่ถือพระองค์ ทรงงานสนองพระเดชพระคุณพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วยความกระฉับกระเฉง

การสำเร็จด้วยการไขน้ำเข้าสวนขวาได้อย่างงดงาม ด้วยการวางท่อนำน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่พระบรมมหาราชวังโดยตรง น้ำจึงหมุนเวียนไม่เน่าเสีย และไม่เกิดโคลนตมก้นบ่อเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 09:39

อ้างถึง
หลังจากนั้นทรงไม่เสด็จออกขุนนางกว่า ๗ วัน ทรงประชวรด้วยมึนพระยอด

เคยอ่านราชาศัพท์ พบว่าพระยอดหมายถึง หัวฝี    แต่ในที่นี้เห็นจะหมายถึงพระเศียรละมังคะ  ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 09:43

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 09:44

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 09:45

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 10:19

อ้างถึง
หลังจากนั้นทรงไม่เสด็จออกขุนนางกว่า ๗ วัน ทรงประชวรด้วยมึนพระยอด

เคยอ่านราชาศัพท์ พบว่าพระยอดหมายถึง หัวฝี    แต่ในที่นี้เห็นจะหมายถึงพระเศียรละมังคะ  ?

"ทรงวิงเวียนพระเจ้า" ครับผม  อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 11:01

ทรงวิงเวียนพระเจ้า ----> เวียนศีรษะ
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 11:16

จุลศักราช ๑๒๑๒ พุทธศักราช ๒๓๙๓ นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรไม่สบายพระองค์มาตั้งแต่เดือน ๑๐ บรรทมไม่หลับ ให้ทรงคลื่นเหียน เสวยพระกระยาหารไม่ถึงประมาณตามปกติได้ ไม่สบายพระองค์เสด็จออกได้บ้าง มิได้บ้าง มาหลายเดือน ครั้นรุ่งขึ้นวันพฤหัสบดี เดือน ๒ ขึ้น ๗ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๙ มกราคม พระโรคมากขึ้น พระบังคนเบาก็ขุ่นข้นเป็นตะกอน พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในมีความร้อนใจ พร้อมกันกันปรึกษาให้แพทย์ประกอบพระโอสถ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย แล้วก็พากันนอนประจำซองอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนทุกแห่ง พระโรคไม่คลาย พระอาการประทังอยู่ กำลังพระกายทรุดไปทีละน้อย ๆ

 
ในข้อความของคุณ siamese ข้างบนนี้ บอกว่า
"หลังจากนั้นทรงไม่เสด็จออกขุนนางกว่า ๗ วัน ทรงประชวรด้วยมึนพระยอด เสวยได้ ๓ องค์บ้าง ๕ องค์บ้าง ครันบแล้วทรงออกเสด็จขุนนางโดยไม่ทรงประทับบังลังก์ ทรงหลับพระเนตรด้วยยังมีอาการเวียนพระยอด แต่ก็ยังทรงดำรัสถามถึงเรื่องยอดพระเจดีย์เอียง "
แสดงว่าทรงวิงเวียนพระเศียรมากจนลืมพระเนตรไม่ขึ้น   เสวยอะไรก็ไม่ลงถึงขั้นไม่เสด็จออกขุนนางถึง ๗ วัน  พระบังคนเบาขุ่นเป็นตะกอน
อ่านจากที่พงศาวดารบันทึกพระอาการประชวรไว้ตามนี้     ผู้รู้เรื่องการแพทย์ ที่อยู่ในเรือนไทยพอจะสันนิษฐานได้ไหมคะว่า พระโรคน่าจะเกี่ยวกับอะไร 
ความดันโลหิตสูง? ไต?
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง