เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 19 ส.ค. 12, 12:11
|
|
การที่นางเอกในอิเหนาสำนวนนี้ต้องออกไปเร่ร่อนอยู่ต่างบ้านต่างเมือง เกิดจากการตัดสินใจของเจ้าตัวเอง ไม่ได้เกิดจากเทวดาบันดาลให้ลมหอบอย่างอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ระเด่นจันตะหราน่าจะเป็นนางเอกแบบที่พวกเฟมินิสต์ชอบ เพราะเธอแกล้วกล้าหลายอย่าง ไม่แพ้ผู้ชาย เดินทางกันมาถึงระยะทางกึ่งกลางระหว่างเมืองดาหากับเมืองกุรีปั่น ระเด่นจันตะหราก็ให้พักขบวน สร้างพลับพลาขึ้นเป็นที่พัก เมื่อเห็นทำเลตรงนี้มีชัยภูมิเหมาะสมดี ก็เรียกมนตรี ซึ่งดูจากหน้าที่แล้วน่าจะเป็นขุนวังมาเข้าเฝ้า แล้วสั่งว่า "ลุงมนตรี ถ้าลุงสร้างเมืองขึ้น ณ ที่นี้สักเมืองหนึ่งจะดี ด้วยข้านี้ใคร่จะเป็นราชาครองเมืองอยู่ที่นี่" มนตรีก็คุมไพร่พลไปตัดฟันโค่นต้นไม้ ถากถางบริเวณ สร้างเมืองใหม่ขึ้นมาเป็นเมืองไพจิตรงดงาม มีเครื่องตกแต่งพร้อม ระเด่นจันตะหราเห็นเมืองใหม่สร้างเสร็จก็ยินดีอย่างยิ่ง ยิ้มสรวลบอกตนเองว่า "บัดนี้เมืองใหม่ก็สร้างเสร็จแล้ว เราจะเป็นราชาครองเมือง เพื่อปล้นตีชิงไพร่ฟ้าประชาชนชาวกุรีปั่น ถ้าเราจะต้องตายลง ณ ที่นี้ก็ยิ่งชอบใจ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 19 ส.ค. 12, 12:20
|
|
เนื้อเรื่องเดิมของตอนนี้ก็ฟังดูพิลึกเอาการอยู่ เพราะแทนที่ระเด่นจันตะหราจะไปแค้นเมืองดาหา กลับไปหาเรื่องกลั่นแกล้งชาวเมืองกุรีปั่นซึ่งไม่ได้รู้อีโหน่อีเหน่ด้วยสักนิด สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ก็ทรงจะทรงฉงนเช่นกัน จึงทรงใส่ไว้ในเชิงอรรถว่า อาจเป็นได้ว่าระเด่นจันตะหราอยากตาย ถึงได้ยั่วยุให้ท้าวกุรีปั่นส่งทหารมาปราบปรามจะได้ตายสมใจในที่รบ แต่ผู้รู้บางท่านก็อธิบายว่า ยั่วให้อินูตามมารบจะได้พบกัน
ดิฉันคิดว่านิทานสมัยโบราณจะเอาหลักการเหตุผลสมัยนี้ไปจับก็คงยาก เพราะจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสนุกสนานผจญภัยของเนื้อเรื่อง ถ้าจะแต่งใหม่ด้วยเหตุผลก็ง่าย คือให้ระเด่นจันตะหราพาข้าราชบริพารไปเฝ้าท้าวกุรีปั่นเสียโดยตรงก็หมดเรื่อง จะได้พ้นภัยจากพ่อและได้พบหน้าอินูสะดวกสบาย อภิเษกกันได้เลย ง่ายดายกว่ามาทำอะไรอ้อมค้อมแบบนี้เยอะ แต่ถ้าแต่งให้ถูกตามเหตุตามผล นิทานก็คงจบเรื่องแค่นี้ พระเอกนางเอกไม่มีบทบาทอีกยืดยาวเท่ากับแต่งให้ระเด่นจันตะหราคิดอะไรประหลาดๆแบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:45
|
|
แผนต่อจากนั้นก็คือระเด่นจันตะหราก็เสด็จสู่ตำหนัก แต่งองค์ทรงเครื่องแปลงเป็นชาย รูปทรงงามเหมือนเทวดาเสด็จลงมาจากสวรรค์ เหน็บกริชอย่างชาย เสร็จแล้วก็ออกจากตำหนักของตนเสด็จไปที่ตำหนักของมหาเดหวี แม่เลี้ยงซึ่งตามมาด้วย สาวสรรค์กำนัลในในตอนแรกก็จำไม่ได้ นึกว่าเป็นองค์เทพปะตาระชคัต( องค์เดียวกับองค์ปะตาระกาหลาในอิเหนา) เสด็จลงมา ก็ตื่นตะลึงชวนกันบังคม จนเข้ามาใกล้เห็นชายรูปงามผู้ยืนเท้าบั้นพระองค์ หัตถ์กุมกริชอยู่ ถึงจำได้ว่าเป็นระเด่นจันตะหรา มหาเดหวีเองก็เพิ่งจำได้ ออกปากชมว่า "ลูกแม่ฉลาดแปลงกาย แม่นึกว่าเป็นเทพลงมาเสียอีก" ระเด่นจันตะหราก็แย้มสรวล ทูลขอให้มหาเดหวีเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ ต่อไปเธอจะแปลงกายเป็นชาย ใช้ชื่อใหม่ว่า ปันหยีสะมิหรัง อัสมารันกะตะ ชื่อปันหยี ก็คือชื่อของระเด่นมนตรีหรืออิเหนาในรัชกาลที่ ๒ นั่นเอง เป็นชื่อที่ใช้เมื่อปลอมตัวเป็นโจรป่าออกเดินทางไปตามเมืองต่างๆ จากนั้นระเด่นจันตะหราก็ให้มนตรีชายทั้งสี่ที่ช่วยสร้างเมืองเดินทางกลับเมืองดาหา กำชับมิให้แพร่งพรายความลับเรื่องมาตั้งเมืองใหม่ มนตรีทั้งสี่ก็เดินทางกลับและรักษาสัญญาไว้อย่างดี แม้ระตูดาหาก็มิได้ล่วงรู้ว่าลูกสาวหายไปไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 22 ส.ค. 12, 14:27
|
|
พี่เลี้ยงทั้งสองของระเด่นจันตะหราก็ปลอมกายเป็นชายเช่นกัน ทั้งสองมีฝีมือในการรบ จึงได้รับแต่งตั้งเป็นทหารเอก ออกดักตีชิงปล้นทรัพย์สินข้าวของของคนเดินทางผ่านไปมา ตามคำสั่งของระเด่นจันตะหราหรือชื่อใหม่ว่าปันหยี สะมิหรัง ถ้าหากว่าเป็นชาวกุรีปั่นจะเดินทางไปเมืองดาหา ก็จะถูกปล้นหมดจนสิ้นเนื้อประดาตัว แต่ถ้าเป็นคนยากจนจรจัด ก็ถูกปล่อยตัวไป พี่เลี้ยงทั้งสองทำอย่างนี้มาหลายครั้งก็ได้ความสำเร็จทุกครั้ง จนเมืองใหม่ที่ตั้งเริ่มขยายใหญ่มีทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์ ผู้คนก็ยอมสวามิภักดิ์ด้วย อยู่กันอย่างสนุกสนานร่าเริงด้วยละครและการบันเทิงต่างๆ จนวันหนึ่งมีพ่อค้าชาวเมืองมันตาหวัน ซึ่งเป็นเมืองที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวงศ์อสัญแดหวาในตอนต้นเรื่อง เดินทางผ่านมาจะไปค้าขาย ก็ถูกปล้นตามเคย พ่อค้าพยายามสู้แต่สู้ไม่ได้ก็หนีกลับไปเมืองของตน ไปทูลฟ้องท้าวมันตาหวันพระราชาว่าถูกรังแก ท้าวมันตาหวันก็จัดทัพให้ทหารเอกของเมืองยกมาปราบปรามเมืองโจรเสียให้ราบคาบ เมื่อทัพทหารมันตาหวันยกมา พี่เลี้ยงทั้งสองของปันหยีก็ยกพลออกรบ ปะทะกัน แม่ทัพหญิงเก่งกว่าแม่ทัพชาย ฆ่าแม่ทัพชายตายคาสนามรบทั้งสองคน ฝ่ายทหารมันตาหวันก็ยอมแพ้วางอาวุธมาสวามิภักดิ์กับปันหยี ปันหยีจึงปรึกษาแม่ทัพนายกอง ยกทัพไปตีเมืองมันตาหวันมาเป็นเมืองขึ้น
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของระเด่นจันตะหราห้าวหาญกว่าอุณากรรณในอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ มาก จนเกือบๆจะกลายเป็นชายแท้ไปเสียแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 23 ส.ค. 12, 19:15
|
|
การวางตัวของระเด่นจันตะหราออกจะคล้ายๆกับบุษบาเมื่อปลอมตัวเป็นอุณากรรณ เพราะเวลาอยู่ในที่รโหฐานเธอก็กลับแต่งกายอย่างหญิง สยายผม อุ้มตุ๊กตาทองคำมาเห่กล่อมเล่นด้วยเหมือนเคย มหาเดหวีก็ร่วมมือด้วยการกั้นม่านอย่างแน่นหนาไม่ให้ใครเห็นพระธิดา ต่อเมื่อรุ่งเช้าเสด็จออกว่าราชการจึงแต่งกายเป็นชาย จะว่าไปการปกปิดเรื่องเป็นหญิงของระเด่นจันตะหราดูไม่น่าจะเป็นความลับไปได้ เพราะตอนยกขบวนออกมาจากตำหนัก ข้าราชบริพารทั้งชายหญิงก็รู้กันทั้งนั้นว่าเจ้านายเป็นหญิง มิใช่ชาย มีแต่ชาวเมืองที่ถูกปล้นชิงทรัพย์เท่านั้นที่ไม่รู้ แต่เมื่อพวกนี้สวามิภักดิ์เข้ามาอยู่ในเมืองปะปนกับชาวเมืองเดิม ก็ไม่น่าจะมีใครหุบปากเก็บความลับเอาไว้ได้สนิท ผิดกับอิเหนา ที่บุษบาถูกลมหอบไปกับพี่เลี้ยงอีก 2 คน ปลอมเป็นชายนับแต่อยู่กลางป่า คนมาเห็นทีหลังก็เมื่อกลายเป็นหนุ่มน้อยไปแล้ว จึงน่าจะปกปิดความลับได้ดีกว่า แต่ในเมื่อเรื่องนี้เป็นนิทาน อะไรๆก็เป็นได้อยู่ดี
กลับมาที่เรื่องอีกครั้ง ปันหยีหรือระเด่นจันตะหรายกทัพไปตีเมืองมันตาหวัน ระตูเคราะห์ร้ายผู้นั้นเกิดความหวาดหวั่นพรั่นใจ เพราะส่งกองทัพไปก่อนหน้านี้ทั้งกองทัพก็หายสูญไปหมด ไม่กลับมารายงานข่าวเลยสักคน ก็เดาได้ว่าแพ้ศัตรูไปแล้ว เมื่อปันหยียกทัพมา ระตูมันตาหวันจึงไม่คิดสู้ แต่ขอยกธิดาสาว 2 คนให้เป็นบรรณาการ เหตุการณ์ตอนนี้คล้ายๆกับเมื่ออุณากรรณยกทัพไปตามเมืองต่างๆ ระตูทั้งหลายมาอ่อนน้อมยกธิดาให้ เวลาเข้าเมือง ทั้งชาวเมืองทั้งพระราชาเห็นรูปโฉมเข้าก็ตะลึงงัน ชื่นชมโสมนัสเหมือนเห็นเทวดาลงมาตรงหน้า เกิดความรักใคร่ยินดียอมสวามิภักดิ์ไปตามๆกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 25 ส.ค. 12, 14:30
|
|
กลับไปทางเมืองกุรีปั่น ทั้งท้าวกุรีปั่นและพระโอรสอินูพระเอกของเรื่องนี้ไม่ทรงทราบเลยว่าระเด่นจันตะหราหายสาบสูญไปจากเมืองดาหา เมื่อถึงเวลา ราชทูตก็นำสินสอดทองหมั้นเดินทางจากกุรีปั่นไปเมืองดาหาเพื่อจะถวายระตู เตรียมอภิเษก พอผ่านมาทางเมืองของปันหยี สะมิหรัง ก็ถูกตีชิงปล้นสินสอดไปหมด เหลือขุนนางสองคนรอดชีวิตไปได้ หนีกลับไปเมืองกุรีปั่นเพื่อทูลเจ้านายให้ทราบ เมื่อท้าวกุรีปั่นกับอินูทราบเรื่องก็กริ้วโกรธเป็นอันมาก อินูก็ยกทัพมาเองเพื่อจะมาตีเมืองของปันหยี สะมิหรังให้ได้ พอปันหยีรู้ข่าวว่าคู่หมั้นที่ตนเองไม่เคยเห็นหน้ายกทัพมาถึง ก็แต่งตัวเป็นชายออกจากเมืองไปเผชิญหน้ากัน เมื่อพระเอกนางเอกมาพบหน้ากันครั้งแรก ต่างฝ่ายต่างก็ตะลึงงงงันในรูปโฉมงดงามของแต่ละฝ่าย อินูเองก็หมดความเคืองแค้น กลายเป็นเสน่หาอยากจะผูกมิตรไมตรีด้วย ทั้งสองก็ตกลงนับเป็นพี่น้องกัน เมื่อปันหยีออกปากเชิญ อินูก็ตามเข้ามาในเมือง เห็นปันหยีมีสนมกำนัลหมอบเฝ้าอยู่มากมายก็นึกเสียดายว่ามิใช่หญิงอย่างที่อยากให้เป็น มิฉะนั้นจะอภิเษกด้วย ปันหยีตกลงคืนสินสอดทองหมั้นที่ตีชิงมาได้ จากนั้นอินูก็ล่ำลาปันหยีแล้วเดินทางต่อไปยังเมืองดาหา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 28 ส.ค. 12, 16:55
|
|
เมื่ออินูเข้าเฝ้าระตูดาหา ลิกูผู้ซึ่งกลายเป็นมเหสีเอกไปแล้วก็มารับรองแขกเมืองด้วย เห็นอินูเป็นชายหนุ่มสง่างามเด่นเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญก็โปรดปรานอยากจะได้เป็นเขย ส่วนก้าหลุอาหยังแอบดูอินูตามช่องรั้วเห็นหน้าตาเขาก็เกิดหลงใหลพิศวาสจนลืมตน ออกมาถวายบังคม ลิกูก็รวบรัดกับท้าวดาหาว่า ควรจะจัดให้อินูได้อภิเษกสมรสกับก้าหลุอาหยังเสียเลย เพราะคู่หมั้นเดิมคือระเด่นจันตะหรานั้นหายสาบสูญไปจากวังนานแล้ว ไม่รู้ไปไหน ระตูดาหาซึ่งอยู่ในอำนาจเสน่ห์ของลิกู ก็ไม่ต้องสงสัยเลย ตกลงเอออวยด้วยทันที ไม่ได้ดูว่าอินูเห็นด้วยหรือไม่ ฝ่ายปันหยีสะมิหรัง เมื่ออินูออกเดินทางไปเมืองดาหา ก็ลอบติดตามไปด้วยตามลำพัง เข้าไปดูเหตุการณ์ในเมืองดาหาก่อนกลับไปสู่เมืองของตน มหาเดหวีถามว่าไปไหนมา เธอก็ตอบตามตรงว่าไปเมืองดาหา เห็นเขาเตรียมจัดงานวิวาห์ใหญ่โต ลิกูกับก้าหลุอาหยังเบิกบานหัวร่อต่อกระซิกกันใหญ่ มหาเดหวีก็ตบอกผางว่าช่างกล้าแอบเข้าไปได้ ไม่กลัวถูกจับ ปันหยีก็ไม่ว่าอะไร กลับเข้าแท่นที่บรรทมด้วยความเศร้าหมอง ส่วนในเมืองดาหาก็เกิดเรื่องใหญ่คือพบกันว่ามีมือลึกลับมาทุบถ้วยชามข้าวของเครื่องใช้ที่จะใช้ในงานอภิเษกแตกหักเสียหายไปมากมาย แต่ไม่มีของหาย จับมือใครดมก็ไม่ได้ ในหนังสือไม่ได้บอกว่าฝีมือใคร แต่เราก็คงเดากันได้ไม่ยาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 29 ส.ค. 12, 12:31
|
|
ทางฝ่ายอินู ถูกรวบรัดมัดมือชกให้กลายเป็นเจ้าบ่าวโดยไม่มีสิทธิ์จะปฏิเสธได้ ก็หมดกะจิตกะใจ ไม่อยากแต่งองค์ทรงเครื่อง ไม่อยากทำอะไร ได้แต่ทอดถอนใจ หวนคำนึงถึงปันหยีสะมิหรังที่เพิ่งจากกันมา ผิดกับก้าหลุอาหยังที่ส้มหล่นได้เป็นเจ้าสาว ก็รื่นเริงระริกระรี้รับตำแหน่งด้วยความเต็มใจ จากนั้นอินูก็จำต้องขึ้นม้าเผือกแห่ไปรอบพระนคร มหรสพทั้งหลายก็ประโคมดนตรีกันครึกครื้น ชาวบ้านชาวเมืองแห่กันมาดูเจ้าบ่าวเจ้าสาวกันแน่นชนัด คล้ายฉากในเรื่องอิเหนาตอนอิเหนาเข้าเมืองดาหา พอแห่เสร็จก็เชิญเจ้าบ่าวเจ้าสาวขึ้นประทับเหนือบัลลังก์ทองประดับแก้วมณีที่เรียกว่าอุสงหงัน คำนี้ในอิเหนาแปลว่าเสลี่ยงหรือวอ พอล่วงเข้ายามราตรี อินูจำต้องเข้าห้องหอไปรออยู่ก่อน ลิกูก็พาลูกสาวมาส่งตัว พร้อมกับสั่งสอนจริตกิริยาต่างๆให้อย่างที่เจ้าสาวในคืนส่งตัวพึงรู้ แต่เอาเข้าจริงเมื่อถึงเวลาก็เสียเวลาเปล่า เพราะอินูมิได้ไยดีเจ้าสาวแม้แต่น้อย ก้าหลุอาหยังร้องห่มร้องไห้ อินูก็เกิดเบื่อหน่ายจึงนอนหันหลังให้ทั้งคืน ปล่อยให้เจ้าสาวนอนร้องไห้ตาบวมไปจนเช้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 31 ส.ค. 12, 20:19
|
|
พระเอกในวรรณคดีไทยไม่ค่อยจะปฏิเสธผู้หญิง ไม่ว่าจะรักหรือไม่รักก็ตาม แต่ถ้าเข้าห้องหอหรือมีโอกาสอยู่กันตามลำพังแล้ว เป็นต้องเกิดเรื่องทุกครั้ง อิเหนาเองทั้งๆตามหาบุษบาอยู่แท้ๆก็ยังไม่วายเตรียมปีนห้องเข้าหาสการะหนึ่งหรัด เพียงแต่ทำไม่สำเร็จเพราะเกิดเรื่องน้องสาวถูกลักตัวไปเสียก่อน ผิดกับอินูฉบับสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ที่รักษาตัวเคร่งครัด ถ้าไม่ชอบก็ไม่แตะต้องแม้แต่ปลายนิ้ว ผลจึงเป็นว่าอภิเษกกันไปสี่ห้าวันก็ยังไม่เกิดอะไรขึ้น ก้าหลุอาหยังร้องไห้ฟูมฟายก็แล้ว ออดอ้อนฉอเลาะก็แล้ว ชวนไปนั่นไปนี่ก็แล้ว ก็ไม่ได้ผล อินูไม่ไยดีอยู่นั่นเอง ต่างคนต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกันตลอดสี่ห้าวัน อินูอึดอัดกับสภาพเจ้าบ่าวถูกบังคับจนทนไม่ไหว ใจก็ยังประหวัดถึงสหายรักที่ชื่อปันหยีสะมิหรังไม่คลาย อดรนทนไม่ได้ก็สั่งมนตรีที่ตามเสด็จมาด้วยให้จัดขบวนทัพ บอกว่าจะไปเที่ยวป่าให้สบายใจ ว่าแล้วก็เสด็จออกจากเมืองดาหาไปกับไพร่พล ทิ้งก้าหลุอาหยังเอาไว้ข้างหลัง จุดมุ่งหมายของอินูก็คือกลับไปที่เมืองของปันหยี สะมิหรัง เพื่อจะได้พบหน้าเจ้าเมืองหนุ่มน้อยอีกครั้งให้หายคิดถึง แต่จะว่าอินูเป็นพวกแอบจิตก็เห็นจะไม่ใช่ เพราะในใจอินูอยากให้ปันหยีกลายเป็นหญิง โดยเฉพาะเป็นเจ้าหญิงคู่หมั้นของตน จะได้อภิเษกสมรสกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 01 ก.ย. 12, 20:28
|
|
ทางฝ่ายปันหยีสะมิหรัง ตั้งแต่อินูเข้าพิธีอภิเษกไปแล้ว เธอก็มีอาการอย่างคนอกหัก โทมนัสคร่ำครวญอยู่คนเดียว ความกลัดกลุ้มต่างๆก็เข้ารุมล้อม จนเกรงว่าจะรักษาสภาพของเจ้าเมืองหนุ่มต่อไปไม่ได้ เดี๋ยวความลับแตก ราษฎรล่วงรู้ว่าตนเองเป็นหญิง เรื่องก็จะไปกันใหญ่ ปันหยีคิดไปคิดมาก็ตกลงใจว่าจะแก้กลุ้มด้วยการออกจากเมืองไปมะงุมบาหรา(คือท่องเที่ยวไปไม่มีกำหนด) สักพัก จุดหมายปลายทางก็คือไปขอเข้าเฝ้าสมเด็จอา อันได้แก่พระนางบุตรีบีกู คันฑะส้าหรี ซึ่งบวชเป็นชีอยู่บนภูเขาชื่อกุหนุงวิลิส จึงสั่งมนตรีให้ไปจัดขบวนไพร่พลยกออกจากเมืองไปเงียบๆ ทั้งนี้ลอบไป มิได้นำเอาพระมารดาเลี้ยงคือมหาเดหวีไปด้วย คงให้อยู่ในตำหนักตามเดิม มหาเดหวีตื่นบรรทมเห็นปันหยีสะมิหรังหายไป ก็โศกาอาดูรตีอกชกหัวเป็นการใหญ่ ครวญคร่ำรำพันถึงลูกเลี้ยงว่าเหตุไฉนมาทิ้งแม่ไว้คนเดียว ประจวบเหมาะ อินูยกพลออกจากเมืองดาหามาถึงเมืองของปันหยี เดินเข้าไปในวังเห็นเงียบสงัดไม่มีคน ได้ยินแต่เสียงผู้หญิงร่ำไห้อยู่คนเดียว ก็ฟังได้ความว่านางคร่ำครวญถึงลูกเลี้ยงคือระเด่นจันตะหรา ที่หนีออกจากเมืองดาหามาด้วยกัน หลังจากประไหมสุหรีถูกลิกูวางยาพิษ อินูก็ประจักษ์แจ้งว่าปันหยีสะมิหรังคือระเด่นจันตะหราคู่หมั้นของตนเอง แต่ปิดบังไม่บอกความจริง อินูก็โทมนัสจนกระทั่งล้มลงสิ้นสติไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 02 ก.ย. 12, 21:16
|
|
เมื่ออินูฟื้นคืนสติขึ้นมา ก็เข้าไปพบพระมเหสีมหาเดหวีของดาหา ปลอบโยนด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน ทั้งๆใจก็ยังโทมนัสด้วยความคิดถึงปันหยี สะมิหรัง จากนั้น อินูก็เรียกมนตรีเข้ามาให้เชิญเสด็จมหาเดหวีกลับไปอยู่เมืองดาหา เพราะจะทิ้งนางเอาไว้ในวังเมืองนี้คนเดียวก็ไม่ได้อยู่แล้ว ตัวอินูเองรั้งรออยู่นอกเมืองดาหา เนื่องจากรังเกียจที่จะต้องกลับเข้าไปในพระราชวังดาหา เมื่อมหาเดหวีเข้าเฝ้าระตูดาหา ในตอนนั้นแม้ระตูดาหาไม่เคยคิดถึงนางเลยตั้งแต่หายออกไปจากวัง แต่เมื่อเห็นหน้าก็อดเวทนาไม่ได้ ประกอบกับคุณไสยที่ลิกูทำให้หลงใหลเสื่อมลงไปมาก ระตูดาหาก็รับมหาเดหวีกลับเข้าไปอยู่ในวังตามเดิม แล้วยกขึ้นเป็นประไหมสุหรีแทนคนเก่าที่สิ้นพระชนม์ไป ฝ่ายอินูเห็นมหาเดหวีกลับเข้าพระราชวังเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางกลับเมืองปันหยี เข้าไปพำนักอยู่ในวัง ใจก็เศร้าโศกถึงคู่หมั้น จนคร่ำครวญหาไม่รู้จบ ในที่สุดทนไม่ได้ อินูก็ตัดสินใจจะออกมะงุมบาหราตามระเด่นจันตะหรา ถ้าไม่พบก็จะไม่กลับกรุงกุรีปั่น ให้มนตรีไปทูลท้าวกุรีปั่นตามนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 04 ก.ย. 12, 16:53
|
|
ทางฝ่ายท้าวกุรีปั่นและประไหมสุหรี เมื่อมนตรีของอินูมาถึงเมือง เข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวตามที่อินูสั่งมา ทั้งสองพระองค์ก็เดือดเนื้อร้อนพระทัยกันอย่างยิ่ง ประไหมสุหรีถึงกับกันแสงพิลาปร่ำไห้ด้วยความห่วงใยพระโอรส ส่วนท้าวกุรีปั่นก็กริ้วโกรธว่าเกิดเหตุทั้งหมดนี้ขึ้นเพราะลิกูทำเสน่ห์ยาแฝดระตูดาหาให้คล้อยตามไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จากนั้นเมืองกุรีปั่นก็เหงาเงียบ ด้วยพระราชาและพระมเหสีพากันกำสรดแรงกล้า ไพร่บ้านพลเมืองก็พลอยเศร้าหมองไปด้วย ส่วนอินู เมื่อตัดสินใจออกมะงุมบาหรา ก็ปลอมตนเสียใหม่ ใช้ชื่อว่าปะเงรัน ปันหยี ยาเหย็ง กะสุมา แม่ทัพนายกองก็พากันเปลี่ยนชื่อใหม่ทั่วกัน สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ทรงทำเชิงอรรถอธิบายความหมายชื่อไว้ในตอนนี้ว่า " ในชวาทุกวันนี้ "ปะเงรัน" เป็นยศทำนองเจ้าต่างกรมฝ่ายชาย คือเมื่อยังเยาว์ใช้ยศอุสตี พออายุ ๑๖ ปี เข้าพิธีสุหนัด แล้วก็รับยศปะเงรันพร้อมกันไป และเปลี่ยนนามเหมือนระเบียบนามกรมของไทยเรา อนึ่งพระยาเมืองที่รับราชการนาน มีความชอบมาก ยกขึ้นเป็นปะเงรันก็มี"
ข้อนี้น่าคิดเหมือนกันว่าธรรมเนียมการตั้งเจ้านายต่างกรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ไปพ้องโดยบังเอิญกับของชวา หรือว่ามีอิทธิพลเกี่ยวเนื่องกันอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 05 ก.ย. 12, 22:55
|
|
ปันหยียาเหย็ง กะสุมาก็ออกรอนแรมไปกลางป่า ค่ำไหนนอนนั่นพร้อมกับไพร่พล พระเอกในเรื่องนี้ของชวาดูจะอ่อนไหวเอาการ เพราะมีบทคร่ำครวญร้องไห้น้ำตาชุ่มโชกด้วยความคิดถึงปันหยีสะมิหรังหรือระเด่นจันตะหรา คิดถึงทีไรก็เอาผ้ารัดเอวที่ปันหยีสะมิหรังเคยมอบให้ออกมาจูบ ด้วยความคิดถึง วันหนึ่งปันหยียาเหย็งก็เดินทางผ่านไปถึงเมืองหนึ่งชื่อเมืองสะดายุ ก็หยุดพัก สั่งให้ไพร่พลสร้างพลับพลาที่พักขึ้น ความรู้ไปถึงท้าวสะดายุก็คิดว่าเป็นศัตรูยกทัพมาล้อมเมือง จึงจัดทหารออกมาต่อสู้ แต่ทหารเมืองนี้ไม่เก่ง รบสู้ทหารของอีกฝ่ายไม่ได้ ก็แตกพ่ายกันไปทั้งทัพ ระตูสะดายุจึงจำต้องอ่อนน้อมยอมแพ้ ยกธิดาโฉมงามชื่อนางบุตรี ก้าหลุ นาหวัง จันตะหราให้เป็นบาทบริจาริกา ในตอนแรกพระบุตรีก็ร้องห่มร้องไห้เกรงว่าจะต้องเป็นนางเชลยของโจรป่าหยาบช้าน่ากลัว แต่พอมาเห็นตัวจริงของปันหยียาเหย็งว่ารูปงามขนาดไหน ก็เกิดหลงรัก ยอมเป็นชายาโดยดี ครั้งนี้ พระเอกของเราไม่ได้เล่นตัวอย่างคราวเข้าเมืองดาหา แต่รับพระบุตรีเมืองสะดายุเป็นชายาด้วยความเต็มใจ จากนั้นก็เดินทางติดตามหาระเด่นจันตะหราต่อไปอีก ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 06 ก.ย. 12, 13:02
|
|
ระเด่นปันหยีพระเอกของเราก็มะงุมบาหราต่อไป ไปเจอเมืองไหนก็ตั้งพลับพลาประสังคราหันขึ้นนอกเมือง เป็นเหตุให้รบกับเจ้าเมือง แล้วก็ชนะทุกครั้ง ได้กำลังคนมาเพิ่มพูนในกองทัพตัวเองก่อนจะยกทัพเดินทางต่อไป ที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่อะไร ก็เพื่อจะค้นหาปันหยี สะมิหรังให้เจอนั่นเอง ย้อนกลับไปทางเมืองดาหา ก้าหลุ อาหยังมาพบว่าพระสวามีที่ผ่านงานวิวาห์มาหยกๆแต่ยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากันจริงๆ จู่ๆก็หายออกจากเมืองไป ไม่มีแม้แต่คำบอกลา นางก็เที่ยวค้นหาเป็นจ้าละหวั่นรอบตำหนัก หาแทบพลิกวังหาก็ไม่พบ ก็ได้แต่ลงนอนดิ้นร่ำไห้โศกาตามแบบฉบับที่เคยได้ผลมาแล้วในอดีต ว่าร้องไห้ตีโพยตีพายเมื่อใดพระบิดาจะต้องรีบร้อนมาเอาใจเนรมิตทุกอย่างให้ตามประสงค์ แต่คราวนี้ก้าหลุ อาหยังผิดหวัง เพราะว่ามนต์เสน่ห์ยาแฝดที่ลิกูผูกมัดใจระตูดาหาเกิดเสื่อมคลายไปหมดแล้ว ระตูก็เลยทำเฉยๆ ไม่เอาธุระกับลูกสาวด้วย ประกอบกับได้สติขึ้นมา นึกละอายใจที่ปล่อยให้ประไหมสุหรีถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์ไปเปล่าๆ ก็เลยเกิดเกลียดชังลิกูเป็นของแถมตามมาด้วย
ทางฝ่ายอินูหรือระเด่นปันหยี กรีฑาทัพผ่านมายังแว่นแคว้นหนึ่งชื่อ "จกรกา" ระตูผู้ครองเรียกกันว่าท้าวจกรกา ชื่อนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ทรงอธิบายเพิ่มว่า ต้นฉบับเขียนว่า ชะคะ ระคะ ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเขียนว่า จะกะ ระกะ ก็ได้ จึงทรงสันนิษฐานว่านี่คือจรกาในฉบับมลายู ท่านทรงสะกดเป็น จกรกา จะอ่านว่า จอ-กอ-ระ-กา หรือ จะ-กะ-ระ-กา ก็แล้วแต่ใจชอบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 07 ก.ย. 12, 21:48
|
|
ท้าวจกรกาที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ ทรงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อจรกาในอิเหนา เป็นพระราชามีพระโอรสธิดาอย่างละหนึ่ง พระโอรสชื่อระเด่น วิรันตะกะ ส่วนพระธิดาชื่อนิลวาตี เกิดจากพระชายารอง เมื่อได้ข่าวว่ามีข้าศึกมาตั้งพลับพลาประชิดติดเมือง คือปันหยี ยาเหย็ง ที่ได้ข่าวว่าไปรบรุกตีบ้านเมืองมาหลายเมืองแล้ว ก็พิโรธเป็นการใหญ่ ยกทัพออกไปรบด้วยทันทีเพื่อจะจับตัวศัตรูมาเข้าคุกเสียให้ได้ การรบครั้งนี้ ในหนังสือบรรยายว่าเป็นศึกใหญ่ รบกันถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน ในที่สุดท้าวจกรกาพลาดท่าถูกกริชของปันหยี ยาเหย็งแทงโดยแรง ก็ล้มลงสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ปันหยี ยาเหย็งก็เข้าเมืองได้ ระเด่นวิรันตะกะยอมอ่อนน้อมยกบัลลังก์ให้ ส่วนนางบุตรีนิลวาตีก็ยอมเป็นบาทบริจาริกา ปันหยีก็รับนางมาเป็นพระสนม และแนะนำให้รู้จักก้าหลุ นาหวัง จันตะหรา พระสนมซึ่งติดตามมาในกองทัพด้วย สองนางก็ปรองดองเป็นอันดีต่อกัน ปันหยี ยาเหย็งครองเมืองจกรกาอยู่พักหนึ่งก็ตัดสินใจออกเดินทางมะงุมบาหราตามหาปันหยี สะมิหรังต่อไป ระเด่นวิรันตะกะและนางนิลวาตีก็ขอเดินทางติดตามไปด้วย
ขอตั้งข้อสังเกตว่า ท้าวจกรกาในเรื่องนี้เหมือนจรกาแต่เพียงชื่อ ส่วนพฤติกรรมไม่เหมือน แต่ไปคล้ายกับท้าวกะหมังกุหนิงในอิเหนาตรงที่รบเก่ง แต่มาพ่ายแพ้อิเหนาถูกฆ่าตายในสนามรบแบบเดียวกัน ส่วนระเด่นวิรันตะกะพระโอรสออกจะคล้ายสังคามาระตา เจ้าชายที่ติดตามไปเป็นคนสนิทของอิเหนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|