เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6992 วังเก่าแถว รองเมือง มีใครทราบบ้างค่ะ
พุดแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


 เมื่อ 31 ก.ค. 12, 10:34

พอดีได้ฟังเรื่องราวเก่าที่คุณป้าฟังจากย่าชวดที่ทำงานเป็นแม่ครัวในวังมา เลยมีความสงสัยว่า วังเก่าแถว รองเมือง มีชื่อว่า อะไรค่า รู้สึกคุณป้าจะบอกว่าเป็นของ  พระองค์เจ้าพงษ์ภูวนาตรอะไรประมาณนี้ค่ะ แต่หาข้อมูลไม่เจอเลย เลยลองมาถามผู้รู้ทุกท่านว่าพอจะทราบข้อมูลของวังแถวรองเมืองไหมค่ะ ตอนนี้วังได้ถูกรื้อแล้วไปเป็นทรัพษ์สินของพระมหากษัตริย์แล้วค่ะไม่ทราบว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไรค่ะ
ปล.พระองค์เจ้าพงษ์ภูวนาตร ไม่ใช่องค์เดียวกับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ นะค่ะ ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 11:49

อันนี้มั้ง อยู่ตีนสพานกษัตริย์ศึกฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

พระองค์เจ้าพงษ์ภูวนาตรไม่มีนะหนู ไปเรียนคุณป้าด้วยว่าฟังคุณย่าชวดมาผิดๆจ้า


บันทึกการเข้า
พุดแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 16:00

ค่ะ เดียวหนูจะถามรายระเอียดแล้วนำมาแจ้งอีกครั้งค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะที่กรุณาให้ข้อมูล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 11:03

รอฟังตอนสองนะครับผม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 12:06

อ๋อ  บ้าน...หรืออีกชื่อหนึ่งว่าบ้าน...  อายุผ่านมาร้อยปีแล้ว
คนออกแบบคือ ศาสตราจารย์...  วิศวกรที่ควบคุมการก่อสร้าง ชื่อ ...  เป็นชาวอิตาลีทั้งคู่
บ้านหลังนี้ เมื่อตอนญี่ปุ่นเข้าไทย  โดนเครื่องบินทิ้งระเบิดเสียหายมาก  
ผู้ครอบครองไม่มีเงินบูรณะให้ดีดังเดิมได้  ปี ๒๔๘๔  จึงเสนอขายแก่รัฐบาลในขณะนั้น

บ้านหลังมีสัญลักษณ์สำคัญ คือ  .... อันระบุถึงตำแหน่งราชการของเจ้าของบ้านคนแรก
คือ  ....    ผู้ครอบครองต่อมาก่อนเสนอขายแก่รัฐบาล คือ ....

อารมณ์ดีครับ  พอดีมีข้อมูลอยู่ในมือ  เลยเล่นจุดจุดจุดไว้ให้เดากันไป  อิอิ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 13:29

อ๋อ  บ้าน...หรืออีกชื่อหนึ่งว่าบ้าน...  อายุผ่านมาร้อยปีแล้ว
คนออกแบบคือ ศาสตราจารย์...  วิศวกรที่ควบคุมการก่อสร้าง ชื่อ ...  เป็นชาวอิตาลีทั้งคู่
บ้านหลังนี้ เมื่อตอนญี่ปุ่นเข้าไทย  โดนเครื่องบินทิ้งระเบิดเสียหายมาก  
ผู้ครอบครองไม่มีเงินบูรณะให้ดีดังเดิมได้  ปี ๒๔๘๔  จึงเสนอขายแก่รัฐบาลในขณะนั้น

บ้านหลังมีสัญลักษณ์สำคัญ คือ  .... อันระบุถึงตำแหน่งราชการของเจ้าของบ้านคนแรก
คือ  ....    ผู้ครอบครองต่อมาก่อนเสนอขายแก่รัฐบาล คือ ....

อารมณ์ดีครับ  พอดีมีข้อมูลอยู่ในมือ  เลยเล่นจุดจุดจุดไว้ให้เดากันไป  อิอิ

เออ..พ่อคุณ มัวแต่ จุด จุด จุด  ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 13:41

ฝากบ้านงาม ๆ ให้อ่าน

ย้อนรอยสถาปัตย์สยาม ที่ "เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช"

ความโดดเด่นในการก่อสร้างและตกแต่ง ของ "เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช" ทำให้เรือนหลังนี้มีความสำคัญในฐานะอาคารที่แสดงถึงพัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฎในสยามประเทศ
 
 
 
พระยาศรีธรรมาธิราช (เจิม บุณยรัตพันธุ์) นับว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานมากที่สุดผู้หนึ่ง ท่านได้รับราชการในกระทรวงนครบาลและได้รับพระราชทานเลื่อนตำแหน่งราชการเรื่อยมา จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทย และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีธรรมาธิราช เช่นเดียวกับต้นสกุลของท่านคือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด)
 
"เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช" คือ "บ้าน" ที่พระยาศรีธรรมาธิราชได้สร้างขึ้นเป็นอาคารที่พักอาศัย เรือนหลังนี้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปัจจุบันอยู่ภายในบริเวณของโรงเรียนสีตบุตรบำรุง ถนนรองเมือง ซอย1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ความโดดเด่นในการก่อสร้างและตกแต่ง ทำให้เรือนหลังนี้มีความสำคัญในฐานะอาคารที่แสดงถึงพัฒนาการของรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฎในสยามประเทศ

ปัจจุบันเรือนพระยาศรีธรรมาธิราช อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยทางโรงเรียนสีตบุตรบำรุงเป็นผู้เช่าพื้นที่เพื่อสร้างเป็นที่ทำการและอาคารของโรงเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ.2490
 
ที่ผ่านมาเคยมีการเสนอให้รื้อเรือนหลังนี้เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบสมัยใหม่ขึ้นแทนที่ โชคดีที่มีการเจรจาจนกระทั่งเกิดกระบวนการอนุรักษ์เรือนหลังนี้ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะให้กลับมาคงความงดงามเช่นเดียวกับในช่วงเวลาที่ท่านเจ้าของเรือนยังมีชีวิตอยู่
 
"เคยมีการขอรื้ออาคารหลังนี้ตั้งแต่ประมาณ 10 ปีที่แล้วเพื่อจะสร้างอาคารสมัยใหม่ขึ้นมาแทน เราเข้าไปดูแล้วก็ต้องบอกว่ารื้อไม่ได้เพราะตรงนี้มีความสำคัญ และอยู่ในรายชื่ออาคารอนุรักษ์ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียน ก็ใช้เวลาเจรจากันต่ออีก 5 ปี จนได้ข้อตกลงว่าจะอนุรักษ์อาคารนี้ไว้ ทางมูลนิธิไทยจีนที่เป็นเจ้าของโรงเรียนก็ให้งบประมาณ 12 ล้านบาท ทางเราก็ตั้งคณะกรรมการเข้าไปดูการก่อสร้าง เดิมถูกทาสีทับไว้พอเราขูดสีออกก็พบว่ามีภาพเขียนสีบนผนังปูนทั้งชั้น 1 และชั้น 2 ถ้าดูภายนอกเหมือนโรงเรือนธรรมดาแต่ภายในวิจิตรอลังการมาก ต่อไปหลังจากบูรณะอาคารเสร็จเรียบร้อยอาคารนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมได้อย่างดี" อรนุช อิ่มอารมณ์ หัวหน้ากองอาวุโส กองโครงการอนุรักษ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

คุณค่าทางสถาปัตยกรรมของ "เรือนพระยาธรรมาธิราช" รูปแบบอาคารเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสไตล์โคโลเนียล มีการยื่นระเบียงหรือ "ฉนวน" ออกมาเพื่อระบายอากาศ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือรูปแบบการตกแต่งอาคารแบบที่เรียกว่า "อีเคล็กติก" (Eclectic) หมายถึงการไม่เดินตามรูปแบบศิลปะแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ผสมผสานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมหลากยุคสมัยหลายสกุลมาประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว
 
"ในสาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นจดหมายโต้ตอบ ระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีการบันทึกเกี่ยวกับพระยาศรีธรรมาธิราชว่าท่านเป็นคนที่ละเอียดละออมาก และที่สำคัญคือเป็นคนแปลก ชอบหาของแปลกๆ มา แต่แปลกในทางที่ดีนะครับ ก็คงสะท้อนออกมาเวลาท่านสร้างบ้าน เพราะพอดูข้างนอกก็กลมกลืนดีไม่มีอะไร แต่พอดูข้างในซ่อนงานที่น่าสนใจไว้เยอะมาก คือการเอาองค์ประกอบทางศิลปะหลายๆ อย่างมาไว้ด้วยกัน ดูแล้วเรียบง่ายแต่รายละเอียดอลังการมาก" ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร ที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าว 

อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.alepaint.com/update_details.php?cate=TVRjPQ==&txtNo=T0RNMg==&pageC=TVE9PQ==&id=TVE9PQ==&file=ZFhCa1lYUmxMbkJvY0E9PQ==&chk=1343349365


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 17:50

อ่านเรื่องบ้านนทีหรือบ้านพิบูลธรรมที่คุณหลวงใส่จุดไว้เยอะแยะนั้น  แล้วเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า ที่ว่าขายให้รัฐบาลใน พ.ศ. ๒๔๘๔ นั้น
ดูแล้วช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ช่างใจดีรับซื้อบ้านขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ไว้หลายหลังทีเดียว
ทั้งบ้านนรสิงห์  บ้านบรรทมสินธุ์  บ้านมนังคศิลา  แล้วก็บ้านนนที  ทุกหลังซื้อแล้วเปลี่ยนชื่อหมด  เว้นแต่มนังคศิลาหลังเดียวที่ไม่ได้เปลี่ยน

ที่ว่าน่าสงสัยนั้นเพราะเคยอ่านจดหมายที่พระยาอุดมราชภักดีกราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ดินและเงินสร้างบ้านมนังคศิลา  ประกอบกับ
ทายาทท่านเจ้าคุณเคยพาไปชมบ้านนั้น  จึงเชื่อได้แน่ว่ามีการพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านให้ท่านเจ้าคุณอุดมฯ เป็นสิทธิ์ขาด

แต่บ้านอีก ๓ หลังนั้น  นัยว่าสร้างพระราชทานแก่ ๒ เจ้าพระยา กับพระยาอีก ๑ ท่าน  แต่ไม่เคยเห็นหลักฐานการพระราชทานกรรมสิทธิ์
จึงเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า บ้านทั้ง ๓ หลังนั้นน่าจะสร้างพระราชทานด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง  แต่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เป็นของเจ้าบ้าน
ทั้งสาม  และเจ้าล้านทั้งสามล้วนเป็นข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิดล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เป็นอย่างยิ่ง  และทั้งสามท่านนี้ก็ดูจะไม่ต้องชะตากับ
เจ้านายผู้ทรงอิทธิพลยิ่งในรัชกาลที่ ๗  เหตุไฉนบ้านทั้งสามหลังนี้จึงไม่ถูกเรียกคืนกลับไปเป็นของพระคลังข้างที่  ดังเช่นการเรียกคืนที่ดิน
ริมถนนราชวิถีที่พระราชทานแก่พระญาติในสกุลสุจริตกุล  ทั้งที่เมื่อเสร็จการถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว  เจ้าบ้านนรสิงห์ต้องหนีไปตั้งหลัก
อยู่ที่อังกฤษ  โดยอ้างว่าไปเรียนภาษาอังกฤษตั้งหลายปี  เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงกลับมา  เพราะคู่กรณีลี้ภัยไปอยู่ปีนังแล้ว 

แล้วจู่ๆ เมื่อมีการจัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัติย์ขึ้นแล้ว  เจ้าบ้านทั้งสี่จึงเกิดพร้อมใจกันขายบ้านทั้ง ๔ หลังให้แก่รัฐบาล  หรือ
กการขายบ้านนรสิงห์  บ้านบรรทมสินธุ์  รวมทั้งบ้านนที ให้แก่รัฐบาลในคราวนั้นคือข้ออ้างในการจ่ายเงินชดเชยให้ท่านเจ้าคุณทั้งสามให้ย้าย
ออกจากบ้านทั้งสามนั้น  และเพื่อกลบร่องรอยการขายที่ดินของพระคลังข้างที่หลายแปลงให้แก่พวกพ้องที่กุมอำนาจรัฐในเวลานั้นหรือไม่?

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 20:59

^
คุณวีหมีนี่่สุดยอดจริงๆ เป็นนักสืบเชลยศักดิ์ด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง