เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8027 อยากทราบประวัติ หลวงวิเศษสุวรรณกิจ(วัน)กรมช่างทอง มีใครพอทราบบ้างครับ
ddjirawat
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


 เมื่อ 29 ก.ค. 12, 16:59

อยากทราบประวัติ หลวงวิเศษสุวรรณกิจ(วัน)กรมช่างทอง มีใครพอทราบบ้างครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 20:14



หนังสือพิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ๒๔๗๔   หน้า  ๑๒๘๓  แจ้งว่า

ท่านเป็นคุณพระ  (วรรณ   วรรณศิลปิน)  เสวกตรี   เบี้ยหวัดกระทรวงการคลังค่ะ

จะไปหารายละเอียดในกระทรวงการคลังให้อีกแห่งหนึ่งนะคะ

ท่านที่ชำนาญราชกิจจานุเบกษาอาจมีข้อมูลเพิ่มเติม

ถ้าเป็นญาติผู้ใหญ่ของท่านผู้ตั้งกระทู้    พวกเราก็ยินดีจะค้นเพิ่มเติมให้เรื่อย ๆ นะคะ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 20:21

ในราชกิจจานุเบกษา "ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗" เขียนว่า หลวงวิเศษสุวรรณกิจ (วรรณ) ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "วรรณะศิลปิน"  แต่ปัจจุบันเห็นเขียนว่า "วรรณศิลปิน"

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 21:50

จากข้อมูลของคุณ Wandee พอจะอธิบายได้ว่า พระวิเศษสุวรรณกิจนั้น เดิมท่านเป็นข้าราชการกระทรวงวังจึงได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกตรี
แต่ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ นั้น คงจะถูกดุลยภาพออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙  แล้วรับพระราชทานบำนาญทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ข้อนี้ก็ดูแปลกๆ เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีการแยกรายจ่ายในพระราชสำนักออกจากรายจ่ายแผ่นดินโดยเด็ดขาด
ข้าราชการสังกัดกระทรวงวังและกรมมหาดเล็กล้วนรับพระราชทานเงินเดือน และเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญจากกรมพระคลังข้่างที่
ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 08:21

จากข้อมูลของคุณ Wandee พอจะอธิบายได้ว่า พระวิเศษสุวรรณกิจนั้น เดิมท่านเป็นข้าราชการกระทรวงวังจึงได้รับพระราชทานยศเป็นเสวกตรี
แต่ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ นั้น คงจะถูกดุลยภาพออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙  แล้วรับพระราชทานบำนาญทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ข้อนี้ก็ดูแปลกๆ เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีการแยกรายจ่ายในพระราชสำนักออกจากรายจ่ายแผ่นดินโดยเด็ดขาด
ข้าราชการสังกัดกระทรวงวังและกรมมหาดเล็กล้วนรับพระราชทานเงินเดือน และเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญจากกรมพระคลังข้่างที่
ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 

บางทีคุณพระท่านอาจจะถูกย้ายมาสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติก่อนจะถูกดุลย์ (หรือปลดเกษียณ แล้วแต่กรณี)

ซึ่งเป็นเรื่องปกติหากจะย้ายข้าราชการจากกระทรวงหนึ่งไปทำงานอีกกระทรวงหนึ่ง

นายพันตรีทหารบก มาเป็นนายอำเภอ
เสวกตรีแพทย์กรมมหาดเล็ก มาเป็นสาธารณสุขจังหวัด

เช่น คุณหลวงเทพดรุณานุศิษฎ์ เปรียญ พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านอยู่กรมธรรมการ แต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ถูกย้ายมาอยู่กรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังฯ
(ข้อมูลในพิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ บอกไว้ชัดเจน)

และเมื่อถูกดุลย์แล้ว ก็คงรับพระราชทานบำนาญจากทางต้นสังกัดสุดท้ายที่ทำงานด้วย

คงเป็นเช่นนี้แล  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 08:27

เข้ามาดูลาดเลา  เนื่องจากไม่มีความชำนาญในการค้นหาข้อมูลประวัติข้าราชการเก่าๆ
จึงของดแสดงความเห็น ยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 09:42

เข้ามาดูลาดเลา  เนื่องจากไม่มีความชำนาญในการค้นหาข้อมูลประวัติข้าราชการเก่าๆ
จึงของดแสดงความเห็น ยิ้ม

ช่างถ่อมตนจริง  เจ๋ง

นึกว่าใต้เท้ารับราชการฉลองพระเดชพระคุณสมัยเดียวกับคุณหลวงวิเศษฯ เสียอีก

อ่อ! ต่างกระทรวงกันซีนะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 09:49

ช่างถ่อมตนจริง  เจ๋ง

นึกว่าใต้เท้ารับราชการฉลองพระเดชพระคุณสมัยเดียวกับคุณหลวงวิเศษฯ เสียอีก

อ่อ! ต่างกระทรวงกันซีนะ

รู้แล้ว ก็ยังจะมาถาม  แปลกคนจริงนะพนาย ลังเล
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 10:08

กรณีหลวงเทพดรุณานุศิษฏ์  ย้ายจากกระทรวงธรรมการไปกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
หรือนายพันตรีทหารบกย้ายไปเป็นนายอำเภอ
หรือปลัดกระทรวงศึกษาธิการย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยนั้น
ต่างก็เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน
แต่ที่ย้ายจากกระทรวงพลเรือนไปราชสำนักแล้วย้ายกลับส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ขอยืมตัวมา
เช่น รายพระยาอวาทวรกิจที่กรมมหาดเล็กขอยืมตัวมาจากกระทรวงธรรมการ
เมื่อกระทรวงธรรมการขาดคนก็ขอตัวกลับ
แต่มีข้อที่น่าคิดว่า ราชทินนามนั้นนามเฉพาะตำแหน่งและสังกัด  เมื่อย้ายเปลี่ยนตำแหน่งหรือสังกัด
ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามไปใช้ราชทินนามของสังกัดใหม่เช่น พระยาไพศาลศิลปสาตร์ ย้ายไปเป็น
ปลัดกระทรวงมหาดไทยก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาราชนกูล วิบุลยภักดี ซึ่งเป็นราชทินนาม
สำหรับตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย  หรือหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ย้ายจากกรมมหาดเล็กกลับไป
กระทรวงธรรมการ ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามเป็น หลวงประพนธ์เนติประวัติ ดังนี้เป็นต้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 10:19



งานของคุณวีมี  กระจ่าง  และสว่าง อย่างยิ่ง   ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 11:04

แต่มีข้อที่น่าคิดว่า ราชทินนามนั้นนามเฉพาะตำแหน่งและสังกัด  เมื่อย้ายเปลี่ยนตำแหน่งหรือสังกัด
ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามไปใช้ราชทินนามของสังกัดใหม่เช่น พระยาไพศาลศิลปสาตร์ ย้ายไปเป็น
ปลัดกระทรวงมหาดไทยก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาราชนกูล วิบุลยภักดี ซึ่งเป็นราชทินนาม
สำหรับตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย  หรือหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ย้ายจากกรมมหาดเล็กกลับไป
กระทรวงธรรมการ ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามเป็น หลวงประพนธ์เนติประวัติ ดังนี้เป็นต้น

ข้อนี้ก็แล้วแต่ภาวะโอกาสเช่นกัน

ด้วยต้องรอว่าราชทินนามสำหรับตำแหน่งนั้นๆ มีผู้ใดได้รับอยู่หรือเปล่า

พระยาอิศรพัลลภ (สนิท จารุจินดา) ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง กว่าจะได้ที่ "บำเรอภักดิ์"
ก็รั้งรออยู่นาน (มีเอกสารในหอจดหมายเหตุฯ ถึงเรื่องนี้หลายหน้า)
ด้วยท่านคนเก่า (จำไม่ได้ว่าท่านใด) ยังไม่ได้เปลี่ยนราชทินนาม

พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ (รื่น ศยามานนท์) แม้จะเป็นทูลฉลองมหาดไทย ก็คงไม่ได้เป็นที่ "ราชนกุูล"
หากพระยาราชนกูลคนเก่า (อวบ เปาโรหิตย์) ไม่ขึ้นเป็นเจ้าพระยานาหมื่น

หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ (นัดดา ตฤษณานนท์) ไม่ทราบว่าย้ายจากกรมมหาดเล็กหรือไม่
แต่อยู่กรมตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ก็มิได้เห็นเปลี่ยนราชทินนาม  ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 12:44



หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์(นัดดา  ตฤษณานนท์)  บันทึกบอกว่า  รองอำมาตย์เอก

นายทะเบียนกรมตรวจคนเข้าเมือง

เอกสารชิ้นหนึ่งที่หอจดหมายเหตุบอกว่าท่านเคยถวายฎีกาเมื่อต้นรัชกาลที่ ๗   ส่วนเรื่องอะไรนั้นไว้คุยกันในโอกาสหน้า
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 14:51

หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ ที่เปลี่ยนเป็นหลวงประพนธืเนติประวัตินั้นมีชื่อเดิมว่า ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา)
เมื่อท่านย้ายกลับกนะทรวงธรรมการแล้ว  ราชทินนามนี้ว่างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ครูเพียร  ไตติลานนท์
จึงได้เป็นแทน  แต่ราชทินนามนี้แม้จะเป็นของกรมมหาดเล็ก  แต่จำกัดเฉพาะตำแหน่งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
เมื่อหลวงอภิบาลฯ (เพียร) ย้ายจากปลัดกรมโรงเรียนมหดเล็กหลวงไปเป็นผู้บังคับการโรงเรียนราชวิทยาลัย
ก็เปลี่ยนราชทินนามเป็นราชธรรมนิเทศ  และถูกดุลยภาพเมื่อเป็นพระราชธรรมนิเทศ

เมื่อหลวงอภิบาลฯ (เพียร) ย้ายไปโรงเรียนราชวิทยาลัยแล้ว  ราชทินนามนี้ว่างอยู่หลายปีกว่าจะ
พระราชทานให้ครูนัดดา  ตฤศณานนท์  หลวงอภิบาลฯ (นัดดา) คงใช้ราชทินนามนี้ต่อมาจนถูกดุลยภาพ
ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ เพราะยุบเลิกกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์  ราชทินนามนี้จึงติดตัวท่านต่อมาจน
เข้ารับราชการใหม่ที่กรมตรวจคนเข้าเมือง  หรือพระมหาเทพกษัตรสมุห อดีตเจ้ากรมพระตำรวจในขวา
เมื่อถูกปลดจากราชการเพราะยุบเลิกกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์  ต่อมาท่านก็ไปรับราชการอยู่ที่
กระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน  ราชทินนามก็คงติดตัวท่านไปด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ ๗ นั้นมีบันทึกว่า ข้าราชการผู้ใหญ่ในพระราชสำนักชั้นมหาเสวกและจางวางถูกดุลยภาพ
ออกไปราว ๒๓ คน และระดับรองลงมาอีกกว่าพันคน  ส่วนหนึ่งเมื่อถูกดุลยภาพแล้วถ้ามีพรรคพวกก็จะดึง
กันไปรับราชการที่ส่วนราชการอื่น เช่นที่กรมรถไฟหลวง  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ขึ้นครองราชย์และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ ย้ายมาเป็นเลขาธิการพระราชวังแล้ว
จึงมีการเรียกข้าราชสำนักเก่าๆ ที่กระจัดกระจายกันไปรับราชการที่ต่างๆ กลับคืนมา

กรณีพระยาราชนกูลวิบุลยภักดีนั้น  เป็นเพราะท่านคุณอวบท่านเลื่อนเป็นสุหพระนครบาลซึ่งเดิมเป็นตำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงนครบาลจึงได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามุขมนตรี  เมื่อท่านเลื่อนเป็นเจ้าพระยาแล้ว  ราชทินนามนั้น
ว่างลง  เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ (กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ
ทรงเห็นว่าไม่อาจจะทรงทำงานร่วมกับพระยาไพศาลฯ ปลัดทูลฉลองได้  ประกอบกับเป็นจังหวะที่จะปลด
พระยาศรีธรรมาธิราช (ชื่อเดิมจำไม่ได้) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ
จึงได้ทีย้ายพระยาไพศาลฯ ไปเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย  เมื่อย้ายไปก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ราชทินนามของ
มหาดไทย  ก็พอดีราชทินนาม ราชนกูล ว่างอยู่พอดี

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 17:45

พระยาศรีธรรมาธิืราช (เจิม  บุณยรัตพันธุ์) หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 21:12

พระยาศรีธรรมาธิืราช (เจิม  บุณยรัตพันธุ์) หรือเปล่า?

แม่นแท้นัก  ยิ้มกว้างๆ

บุตรเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธ์)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง