เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 33422 สารคดี ๒๔๗๕ ออกอากาศทาง Thai PBS
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 10:27

จาก  facebook ของคุณ  Nantiwat Samart อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

อย่าผิดซ้ำรอย​ 2475

เมื่อวานนี้​ 24 มิถุนายน​ กลุ่มนักศึกษาและประชาชนจำนวนหนึ่ง​ (น้อยนิด)​ ออกมาชุมนุมแสดงอุดมการ 2475​ บอกว่าจะสานต่อภารกิจ 2475​

ประวัติศาสตร์ไม่ได้มีหน้าเดียว​ อ่านให้หมดทุกหน้า​ จะได้ไม่ถูกแกนนำผลักออกมาสู้แต่แกนนำหลบอยู่ข้างหลัง​ อย่าให้เหมือนที่พระยาทรงสุรเดชเขียนก่อนตาย​ ว่า​ "ไม่มีความผิดครั้งใดในชีวิตของฉันจะใหญ่หลวง​ เท่ากับนำคนหิวเงินหิวอำนาจ​ เข้าเปลี่ยนแปลงการปกครอง​ 24​ มิถุนายน​ 2475

คณะราษฏรไม่เคยให้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์​ นอกจากการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจของตนเอง​ และหวงอำนาจ​ รัฐธรรมนูญครึ่งใบ​ มีสมาชิกสภามาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่ง​


เอาเข้าจริง ตัวปัญหามันก็มีอยู่ไม่กี่คนครับ อ่านในกระทู้เจ้าคุณทรงก็จะรู้ว่าใครเป็นตัวปัญหา และพฤติกรรมของตัวปัญหาก็ส่งต่อมายังรุ่นน้อง รุ่นหลาน ในที่ทำงานเดียวกัน  กลายเป็นวัฒนธรรมประจำองค์กรไปเสียอย่างนั้น

โลกมันเปลี่ยนไปทุกวัน  แน่นอนว่าคนจะมาคิดเห็นและชอบไปในทางเดียวกันไม่ได้ทั้งหมด  แต่ถ้าทุกคนเคารพในความเห็นต่าง ทุกอย่างมันก็จบ  ปัญหามันเกิดมาจากไม่ยอมรับความเห็นต่างจากตนเอง  เลยต้องไปทำลายอีกฝ่ายให้สูญสิ้นไป  ฝ่ายไหนก็ฝ่ายนั้น เหมือนกันหมด  

ทำไมไม่เปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ว่า  ทำความดีแข่งกันจะดีกว่า ถ้าคิดแบบนี้ได้ จะปกครองแบบไหนก็เจริญทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 11:28

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลดอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
 
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์นี้มีความพยายามทำให้ถูกลืมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นวาระที่ถูกพูดถึงเสมอในทุกปี และยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้นอย่างเข้มข้นในช่วงสำคัญของเหตุบ้านการเมือง
 
คณะราษฎร มีมรดกหลายอย่างที่ทิ้งไว้ ในขณะเดียวกันก็มีข้อบกพร่องจนไม่อาจลงหลักปักฐานระบอบประชาธิปไตย และความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดให้คงอยู่อย่างมั่นคง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 11:46


ทำไมไม่เปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ว่า  ทำความดีแข่งกันจะดีกว่า ถ้าคิดแบบนี้ได้ จะปกครองแบบไหนก็เจริญทั้งนั้น
ความเห็นต่างเป็นเรื่องธรรมดาโลกค่ะ    ไม่มีสังคมไหนทำให้คนเห็นในทางเดียวกันได้หมดโดยไม่ต้องบังคับ
ฝ่ายที่แตกต่างทั้งสองฝ่ายก็มีทัศนะว่าตัวเองกำลังทำดีให้สังคม   
ในเรือนไทยก็เหมือนกัน   คุณเพ็ญชมพู ดิฉัน และท่านอื่นๆ ก็ไม่ได้มีความเห็นตรงกันในหลายๆเรื่อง   แต่ถ้าแสดงความเห็นกันไป โดยไม่มีใครพยายามปิดปากใคร แบบไม่ยอมให้ออกความเห็น  ดิฉันก็ถือว่าที่นี่ประชาธิปไตยพอแล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 16:12

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยนี้ นอกจากจะได้รับการบันทึกผ่านเอกสาร จดหมายเหตุ ข้อเขียน และภาพถ่ายต่าง ๆ ซึ่งตกทอดมาสู่คนรุ่นหลังแล้ว ยังมีภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวที่ถ่ายทำโดยพี่น้องตระกูลวสุวัต แห่งบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบัน ภาพยนตร์อันมีค่าชุดนี้ได้หายสาบสูญไป

อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังของปฏิบัติการถ่ายหนังในวัน “พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน” ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในข้อเขียนของ ขุนวิจิตรมาตรา หรือ สง่า กาญนาคพันธุ์ นักเขียนและผู้กำกับภาพยนตร์ของศรีกรุง ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวในวันนั้นไว้อย่างเห็นภาพ


วันที ๒๔ มิถุนายน พ.ศ ๒๔๗๕ ตอนบ่ายรถยนต์ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงมารับผู้เขียน บอกว่าให้ไปช่วยกะถ่ายหนัง ผู้เขียนถามถึงหลวงกล (หลวงกลการเจนจิต-เภา วสุวัต) เขาบอกว่าอยู่ในพระที่นั่งอนันต์แล้ว คุณกระเศียร ไปถ่ายรอบ ๆ นอก ระหว่างนั่งไปในรถยนต์คุณกระแสหยิบปลอกแขนมาสองอัน และส่งให้ผู้เขียนอันหนึ่งสำหรับเป็นใบเบิกด่าน สองฟากถนนราชดำเนินมีทหารบก ทหารเรือ พลเรือน เป็นหย่อม ๆ ประชาชนพลเมืองเป็นกลุ่ม ๆ ตลอดไป รถหยุดที่มุมสวนมิสกวันซึ่งมีทหารยืนปิดกั้นถนน เราลงจากรถยนต์แสดงปลอกแขนให้ดูแล้วก็ผ่านเข้าไปทางถนนซอยมีแถวทหารเรือตั้งอยู่ เราเดินผ่านตรงไปลานพระบรมรูปซึ่งมองเห็นรถตีนตะขาบ รถถัง รถเกราะ จอดอยู่เรียงราย เห็นรถยนต์ทหารวิ่งไปมาขวักไขว่ คันหนึ่งเป็นรถเก่า ๆ ย่อม ๆ สวนออกมาสู่ถนนราชดำเนิน ในรถมีท่านจอมพลป.พิบูลสงคราม กับนายทหารอีกสองสามคน นั่ง ๆ ยืน ๆ มาด้วยท่าทางทะมัดทะแมงและรีบร้อน พอเข้าถึงลานพระบรมรูป ก็พบบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ศรีกรุงเดินออกมา พวกเราถามถึงเหตุการณ์ เขายิ้มบอกว่าสงบไม่มีอะไร คุณมานิตกับหลวงกลอยู่ข้างใน เวลานี้ไม่ได้ถ่าย พวกเราจึงตกลงไปโรงถ่ายสะพานขาวเพื่อพบนายกระเศียร วสุวัต ซึ่งเป็นผู้ถ่ายภาพเหตุการณ์รอบ ๆ นอก


ไปถึงโรงถ่ายสะพานขาว รถยนต์สำหรับถ่ายหนังจอดนิ่งอยู่หน้าโรง กล้องใหญ่มิตเชลยังอยู่บนรถ ในสำนักงานเกลื่อนกลาดไปด้วยฟิล์มหนังและอะไรต่ออะไรยุ่งไปหมด ตัว “แคมเมอร่าแมน” นั่งคอพับอยู่บนเก้าอี้นวม มีท่าทางบอกว่าอ่อนเปลี้ยเต็มที พอผู้เขียนไปถึง แคมเมอร่าแมนก็รายงานว่า ถ่ายหนังเงียบใช้กล้องใหญ่มิตเชลบ้าง เบลโฮเวลบ้าง กล้องมืออายโมบ้าง ถ่ายอะไรต่ออะไรไว้มากมาย สิ้นฟิล์มไปร่วม ๒,๐๐๐ ฟุต ยังอยู่ที่กล้องอายโมที่หลวงกลอีก และว่าจะควรถ่ายอะไรต่อไปอีก ผู้เขียนเห็นว่าถ่ายเก็บเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้มากแล้วก็ไม่ถ่ายอะไรอีก คืนนั้นก็ลงมือล้างเนกาติฟ


รุ่งขึ้นตอนบ่าย ผู้เขียนไปตรวจเนกาติฟที่ถ่ายทั้งหมด เป็นฟิล์มรวม ๓,๐๐๐ ฟุต บางตอนมัวไปบ้าง และเสียบ้างเล็กน้อยเลยตกลงพิมพ์เป็นโปซิทิฟทั้งหมด


ตกเย็นได้รับโทรเลขจากบริษัทหนังในอเมริกา ๒ บริษัท มีข้อความยืดยาวแต่คล้ายกัน ซึ่งรวมเป็นใจความว่า ให้ถ่ายหนังคุปเดต้าต์ในสยามไว้มีเท่าไรเอาหมด คิดราคาให้ตามอัตราพิเศษ ส่งเนกาติฟทางเรือบินด่วน พวกเราทุกคนมองหน้ากันแล้วก็ยิ้ม แล้วเราก็ดื่มไชโย

พอค่ำ พิมพ์โปซิทิฟเสร็จก็ทดลองฉายดู ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ตัดต่อ จบแล้วผู้เขียนกับนายกระเศียรก็เข้าห้องต่อหนัง ตัดเนกาติฟแล้ว คัดซีน (Scene) ที่จะทำเป็นเรื่องสำหรับของเราไว้ให้ครบชุดพวกหนึ่ง ตัดแบ่งซีนยาว ๆ และเลือกซีนคล้าย ๆ กันออกมารวมไว้อีกพวกหนึ่ง สำหรับแบ่งแยกส่งให้สองบริษัทฝรั่ง เสร็จแล้วผู้เขียนเอาโปซิทิฟ (สำหรับเนกาติฟ) ที่จะส่งฝรั่งมาตรวจด้วยเครื่องมูฟวิโอล่า ดูภาพสำหรับเขียนคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ แล้วรีบจัดส่งไปอเมริกาทางเรือบินให้บริษัททั้งสองทันที


เสร็จเรื่องทางฝรั่งแล้วก็มาจัดทำทางเรา คือทำไตเติ้ลนำเรื่องและไตเติ้ลอธิบายภาพเหตุการณ์ทุกตอน ที่จริงเวลานั้น ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงทำหนังพูดได้แล้ว แต่ถ่ายเป็นหนังพูดไม่ทันก็ต้องทำเป็นหนังเงียบ ถ่ายไตเติ้ลแล้วก็ตัดต่อลำดับภาพ พิมพ์เป็นโปซิทิฟเสร็จสมบูรณ์เป็นหนังข่าวเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕

ประมาณอีก ๓ วันต่อมา ภาพยนตร์เสียงศรีกรุงก็ได้รับโทรเลขจากอเมริกา เป็นของบริษัทหนึ่งที่เราส่งหนังไปให้ เขาตอบมาเป็นใจความว่า คุปเดต้าต์เมืองไทยไม่เห็นมียิงกันสักหน่อย บริษัทไม่เอา


มิหนำซ้ำข้างท้ายโทรเลขยังบอกมาอีกว่า ถ้าจะเอาหนังคืนก็ให้ส่งเงินไปสำหรับเป็นค่าส่งกลับ พวกเราทุกคนมองหน้ากันแล้วก็พยักหน้าแล้วเราก็ดื่มเงียบ ๆ


แต่การที่บริษัทนี้ยังมีแก่ใจตอบมาก็ต้องนับว่าดี เพราะทำให้เราได้รู้ถึงความเข้าใจของเขาในเรื่องดุปเดต้าต์ ส่วนอีกบริษัทหนึ่งเงียบหายไม่ตอบเลย บางทีเขาจะโกรธว่าเอาหนังคุปเดต้าต์อะไรไปให้ก็ไม่รู้

จาก หนังไทยในอดีต หนังเงียบวันปฏิวัติ โดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน นิตยสารปาริชาต ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒

ภาพ : มานิต และ เภา วสุวัต ถ่ายรูปร่วมกับคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ที่บ้านศรีกรุง บางกะปิ
แถวหน้า   : พันเอก ทวน วิชัยขัตคะ, มานิต วสุวัต, เภา วสุวัต (หลวงกลการเจนจิต)
แถวกลาง  : พลเรือตรี สงวน รุจิราภา, นาวาตรี หลวงนิเทศกลกิจ, ควง อภัยวงศ์
แถวหลัง   : หลวงนฤเบศมานิต, จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พลโท ประยูร ภมรมนตรี, พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 19:27


ทำไมไม่เปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ว่า  ทำความดีแข่งกันจะดีกว่า ถ้าคิดแบบนี้ได้ จะปกครองแบบไหนก็เจริญทั้งนั้น
ความเห็นต่างเป็นเรื่องธรรมดาโลกค่ะ    ไม่มีสังคมไหนทำให้คนเห็นในทางเดียวกันได้หมดโดยไม่ต้องบังคับ
ฝ่ายที่แตกต่างทั้งสองฝ่ายก็มีทัศนะว่าตัวเองกำลังทำดีให้สังคม   
ในเรือนไทยก็เหมือนกัน   คุณเพ็ญชมพู ดิฉัน และท่านอื่นๆ ก็ไม่ได้มีความเห็นตรงกันในหลายๆเรื่อง   แต่ถ้าแสดงความเห็นกันไป โดยไม่มีใครพยายามปิดปากใคร แบบไม่ยอมให้ออกความเห็น  ดิฉันก็ถือว่าที่นี่ประชาธิปไตยพอแล้วนะคะ

ต้องขออภัยที่ทำให้เข้าใจผิดครับ  ผมกำลังหมายถึงผู้ที่มีบทบาทในทุกฝ่ายครับ  ควรแข่งกันทำความดี  ในที่นี้หมายถึงว่า อะไรที่ดีกว่าฝ่ายตรงข้ามเคยทำไว้ / เคยไปวิจารณ์เขาไว้ ก็ควรเร่งทำให้ออกมาเป็นรูปธรรม ขอไม่ยกตัวอย่างนะครับ  เพราะคิดว่าสิบกว่าปีมานี้  ก็น่าจะพอทราบกันดีอยู่แล้วว่า อะไรควรทำบ้าง


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 21:39

เหมือนกับว่าช่วงนี้มีข่าวว่าสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับคณะราษฎรจะหายไป เช่นแท่นหมุด รูปปั้น แถมกองทัพก็มีสร้างอาหารตั้งชื่อห้องที่เกี่ยวกับกฏบวรเดช มีพูดชื่นชมอีก ทำให้งงกับการเมืองสมัยนี้จริงๆว่าจะทำอะไร
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 25 มิ.ย. 20, 22:47

เหมือนกับว่าช่วงนี้มีข่าวว่าสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับคณะราษฎรจะหายไป เช่นแท่นหมุด รูปปั้น แถมกองทัพก็มีสร้างอาหารตั้งชื่อห้องที่เกี่ยวกับกฏบวรเดช มีพูดชื่นชมอีก ทำให้งงกับการเมืองสมัยนี้จริงๆว่าจะทำอะไร

ความจริงก็ยังมีเหมือนเดิมไงครับ หมายถึงตัวข้อมูลไม่มีใครไปทำลายหรือเปลี่ยนแปลงแต่การตีความนั้นจะเปลี่ยนไปเพราะมีการศึกษารอบด้านขึ้น ตีความด้วยมุมมองตามสภาวการณ์มากขึ้น อย่าพึ่งไปปักใจที่รู้มาแต่เดิมนั้นผิด ก็ต้องใช้เหตุผลมาคุยกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 26 มิ.ย. 20, 14:26

๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ กองบัญชาการกองทัพบก พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้แทนกองทัพบก เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และบำเพ็ญกุศลแก่ พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของนายทหารที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันและยังเป็นนายทหารประชาธิปไตย

บางคนอาจจะเห็นด้วยกับกองทัพ บางคนไม่เห็นด้วย หนึ่งในนั้นคือ คุณเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

กองทัพบกในประเทศประชาธิปไตยอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน ต้องพึงระวังการแสดงออกทางการเมืองที่ไม่เหมาะสม และขัดกับบทบาทหน้าที่ การจัดงานรำลึกกบฎบวรเดชในวันรำลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในวันที่ ๒๔ มิถุนายน นั้น ยิ่งเป็นการเมืองอย่างยิ่ง เอกสารของสำนักงานเลขานุการกองทัพบก ซึ่งถือเป็นแถลงการณ์ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรถือเป็นการรัฐประหารเพื่อล้มราชบัลลังก์ นับเป็นคำประกาศที่น่าละอายและสร้างความแตกแยกของกองทัพในศตวรรษที่ ๒๑ และจะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ ของคณะราษฎร เป็นการปฏิวัติสยามซึ่งเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจการปกครองจากระบอบกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันเป็นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ Constitutional Monarchy ทำให้เกิดระบบรัฐสภา และรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้เช่นเดียวกับ อังกฤษ เดนมาร์ก สวีเดน นอรเวย์ ฟินแลนด์ และญี่ปุ่น และวิกฤตเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ ไม่ใช่การรัฐประหารรัฐบาลประชาธิปไตยเหมือนในช่วงหลั ๘๘ ปีประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมา

หากกองทัพบกยังจำได้ ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๙ ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏหรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญขึ้นที่บริเวณหลักสี่ บางเขน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นนักโทษทางการเมืองส่วนหนึ่งถูกส่งไปเกาะตะรุเตา และต่อมามีการนิรโทษกรรมทางการเมืองทั้งหมด แต่วันนี้อนุสาวรีย์หายไปไหน ⁉️

https://www.facebook.com/750777768351249/posts/2986136641482006/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 24 มิ.ย. 21, 09:05

ร่วมรำลึก ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

แปดสิบเก้าขวบปีที่ผันผันผ่าน    
หมุนเวียนกาลนานเนิ่นเชิญค้นหา
วันชาติเดิมยี่สิบสี่มิถุนา          
ทรงคุณค่าร่วมสมัยให้จดจำ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 10:35

จากวันนั้น ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถึง วันนี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕

วันนั้นถึงวันนี้           เก้าสิบปีล่วงเลยมา
อธิปัตย์ของประชา     ยังไม่ครบจบกระบวน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 10:43

ขอร่วมรำลึก

พุฒ วินิจฉัยกุล”ผู้ถูกจับตายคนแรกสังเวยการเริ่มต้นของยุคทมิฬ 2475 – ม.ล. ชัยนิมิตร นวรัตน

http://www.siammanussati.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 11:35


ต้นฉบับจาก เฟซบุ๊กของคุณนวรัตน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 13:58

“ไม่มีความผิดครั้งใดในชีวิตของกันจะใหญ่หลวง​ เท่ากับการนำ “คนหิวเงิน หิวอำนาจ”​ เข้าเปลี่ยนแปลงการปกครอง​ 24​ มิ.ย. 75”
~ พันเอก พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือที่ร่วมก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ได้บอกกับ ท.ส. ก่อนเสียชีวิต ~


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 25 มิ.ย. 22, 08:46

7 บทเรียนปฏิวัติ 2475 'ปรีดี' รับเมื่อมีอำนาจก็ขาดประสบการณ์ ถ้ารู้อย่างนี้ก็ไม่ทำ
25 มิถุนายน 2565 เวลา 7:13 น.


25 มิ.ย.2565 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า ขอร่วมระลึกถึงวันครบรอบ 90 ปีของการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ภายใต้การนำของคณะราษฏร เสียหน่อยครับ

มีหลายแง่มุมที่เราจะดูเรื่องนี้ แต่อาจยาวเกินไป ผมจึงขอพามาดูแค่แง่มุมเดียว ก็น่าจะพอบอกได้ว่า การทำปฏิวัติในครั้งนั้น ส่งผลดี หรือ ผลเสีย ต่อประเทศไทย
ก่อนเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ ในรัชสมัยของ ร.5 และ ร.6 นั้น พระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 2 พระองค์ ได้ทุ่มเทต่อ การพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทั้งในการสร้าง “คน" และ "โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ” จนครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ ไฟฟ้า น้ำประปา โรงงานปูนซิเมนต์ ขุดคลองส่งน้ำ สร้างสพาน ถนน หนทางฯลฯ โดย ร.6ทรงกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาร่วมด้วย แต่ก็สามารถส่งคืนเงินกู้ได้อย่างรวดเร็ว แค่ในปีแรกของ ร.7 เท่านั้น

เมื่อคณะราษฎร ปฏิวัติสำเร็จภายใต้การส่งเสริมของ ร.7 แล้ว คณะราษฏร ได้บริหารประเทศ แบบไร้ประสบการณ์ เล่นพรรคเล่นพวก จนทำลายโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ของประเทศลงเกือบทั้งหมด โดยไม่ตั้งใจ เพราะมุ่งแต่คิดจะต้องการรักษาอำนาจไว้เท่านั้น เช่น

(1) นักเรียนทุนต่างประเทศ ของ ร.5 ละ ร.6 จำนวน 510 คน ไม่มีโอกาศที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศเลย เพราะทุกกระทรวงเต็มไปด้วยคนของคณะราษฏร โดยอ้างเรื่องความมั่นคง แม้กระทั่งในพระมหาราชวังก็ส่งคนเข้าไปคุมไว้ นักเรียนทุน ส่วนหนึ่งต้องคอยหลบหนีการจับกุม เพราะเห็นต่างไปจากแกนนำคณะราษฏร บางคนก็ถูกจับ ไปขังคุก บางคนก็ต้องหลบอยู่เฉยๆ การลงทุนสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ของ ร.5 และ ร.6 จึงล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง คนเก่งที่สุดของประเทศจึงไม่มีโอกาศได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศชาติ ในขณะนั้น( ญี่ปุ่นส่งนักเรียนทุนไปเรียนเหมือนไทยในจำนวนไกล้เคียงกัน แต่พวกเขากลับมาทำงานให้ชาติ ส่วนของไทยดันกลับมาทำปฏิวัติ คนที่ส่งตัวเองไปเรียน แบบซึ่งๆหน้า นอกจากนั้นยังกีดกั้นคนเก่งไม่ให้เข้ามาช่วยชาติอีกด้วย )

(2) การทำลายการเรียนทางวิทยาศาสตร์ หันไปผลิตบัณทิตทางสังคมศาสตร์แทน เพื่อสร้างฐานอำนาจทางการเมือง แทนประชาชนซึ่งไม่ยอมรับ บทบาทของ คณะราษฏร นักทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังกว่าญี่ปุ่น เมื่อเวลาผ่านไปได้แค่ 5 ปีเอง เท่านั้นเอง

(3) สร้างวิธีแก้ปัญหาทางการเมือง แบบผิดพลาดมาตลอดด้วยการใช้ อำนาจเงิน และ ปืน (การรัฐประหาร) จนส่งผลกระทบต่อค่านิยมที่ผิดพลาดทางการเมืองมาจนถึงในปัจจุบันนี้

(4) สร้างวัฒนธรรมการเล่นพรรค เล่นพวกขึ้นมา เป็นผลทำให้คนดี มีความรู้ในระบบราชการ อยู่ไม่ได้ หรือถูกให้ออก (ร.7 ทรงตั้ง กพ.ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากแกนนำคณะราษฏร หลายคน)

(5) มีการแย่งชิงอำนาจกันตลอดเวลา 25 ปีที่คณะราษฎรผลัดกันขึ้นมา บริหารงาน แย่งชิงกัน เสมือนไม่ได้เคยเป็นเพื่อนร่วมทำงานใหญ่กันมาก่อน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เลวร้ายมากในห้วงเวลานั้น จนเป็นผลทำให้เรื่องดีๆ คือ “ เป้าหมาย 6 ประการ “ของคณะราษฏร ที่ประกาศว่าจะทำหลังการปฏิวัติก็ทำไม่สำเร็จเลย สักข้อเดียว

(6) ทำลายขบวนการยุติธรรม จนประชาชนพึ่งพาไม่ได้ เช่น การจัดตั้งศาลพิเศษ เพื่อเอาผิดฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีขึ้นเป็นประจำ, การสร้างรัฐตำรวจ, ไม่รักษาแบบธรรมเนียมที่ถูกต้องเช่น รมว.มท.ซึ่งเป็นคนคุมตำรวจ ลงมาเป็นพยาน ให้ผู้ต้องหาคดี ร.8 เรื่องบ้าๆแบบนี้มีอีกแยะครับ

(7) บริหารงานบ้านเมืองจนเกิดความแตกแยกขึ้นภายในชาติอย่างมากมาย เพียงต้องการ ลดบทบาทของพระมหากษัตริย์ลงมาให้เท่ากับ” รัฐธรรมนูญ “ เท่านั้น

ยังมีอีกหลายสิบเรื่อง ซึ่งทางแกนนำคณะราษฎร์เองก็ทยอยกันออกมายอมรับในข้อผิดพลาดดังกล่าวโดยเฉพาะฝ่ายทหาร หลายคนบอกว่า “ไม่น่าจะทำเลย”จอมพล ป.ก็ออกมายอมรับเช่นกัน ส่วน อ.ปรีดีนั้นยอมรับว่า “เมื่อมีอำนาจก็ขาดประสบการณ์ “( สมเด็จพระนางรำไพพรรณี ได้ทรงเล่าว่า อ.ปรีดี ไปขอเข้าเฝ้าฯกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลำบากยากเย็นถึงเพียงนี้ ถ้ารู้ยังงี้ก็ไม่ทำ…”)

การปฏิวัติ 2475 จึงควรเป็นบทเรียนสำคัญของประเทศชาติมากกว่า เพื่อจะได้กลับไปเริ่มต้นทำงานให้บ้านเมืองกันอย่างจริงๆซะที ส่วนการนำเรื่องนี้มาปลุกระดม นั้น ไม่น่าจะมีผลอะไรในปัจจุบันนี้ เช่น เรื่องของหมุดคณะปฏิวัตินั้น ยิ่งเป็นเรื่องที่ไร้สาระเข้าไปใหญ่ ก็เหมือนกับการพยายามสร้าง“รูปปั้นรัฐธรรมนูญ”ไว้ให้ประชาชนกราบไหว้กันทุกจังหวัดในยุคของคณะราษฏร นั้นเอง เหลวไหลจริงๆครับ

พลโท นันทเดช / 24 มิถุนายน 2565 (อ้างอิงจาก หนังสือ วิวัฒน์รัตนโกสินทร์ /ศูนย์หนังสือจุฬาฯ)


https://www.thaipost.net/hi-light/168573/?fbclid=IwAR3vAh_89Ls6BoJSah6u3WJKVr104S8bL1xXOOoVZtX3JK3DHfprWneJg-w
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 27 มิ.ย. 22, 09:40

ขอเชิญอ่านข้อเขียนถึงประวัติพระยาศราภัยพิพัฒ  ประกอบด้วยค่ะ จะเห็นภาพการเมืองหลัง 2475  ได้ชัดขึ้น

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7307.msg181282;topicseen#msg181282
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง