เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 33425 สารคดี ๒๔๗๕ ออกอากาศทาง Thai PBS
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:38

การวางศิลาฤกษ์ ที่แยกถนนดินสอ ก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิไตย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 21:31

ต่อจากข้างบน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 21:32

ช่วงก่อสร้าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 21:34

อนุสาวรีย์สร้างเสร็จ แต่ประชาธิปไตยยังสร้างไม่เสร็จ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 10:18

เอาวาทะที่มีชื่อเสียงของคนดังในอดีตของประเทศแม่บททางประชาธิปไตยมาให้อ่านเล่นๆครับ ภาษาไทยที่กำกับนั้นไว้ผมถอดความเอง ใครที่เห็นว่าผมบิดเบือนตรงไหนก็ลองแปลมาประกบไว้ก็ได้นะครับ ไม่ว่ากัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 10:24

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

ธรรมชาติของประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งชั่วคราว ไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยถาวรไม่ว่าในรัฐบาลไหนๆ ประชาธิปไตยจะถึงที่สุดเมื่อผู้มีสิทธิ์ออกเสียงค้นพบว่าตนสามารถลงคะแนนเสียงเพื่อให้ได้มาซึ่งของแจกที่เอามาจากทรัพย์สินของชาติ  ซึ่งเมื่อนั้น เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ก็จะเลือกผู้สมัครที่สัญญาว่าจะใช้เงินงบประมาณมาอวยประโยชน์ให้ตนมากที่สุด ทำให้ให้ประชาธิปไตยไม่ว่าที่ใดก็จะต้องม้วนเสื่อเพราะความแหลกเหลวทางนโยบายการเงินการคลัง แล้วที่จะติดตามมาก็คือรัฐบาลเผด็จการ


1787, Alexander Tyler (a Scottish history professor at The University of Edinborough)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 10:28

"The end of democracy and the defeat of the American Revolution will occur when government falls into the hands of lending institutions and moneyed incorporations."
 
จุดจบของประชาธิปไตยและความพ่ายแพ้ในการปฏิวัติของคนอเมริกันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลตกอยู่ในกำมือของกลุ่มเงินและกลุ่มทุน
 
Thomas Jefferson
ประธานาธิบดีคนที่๓ ของสหรัฐอเมริกา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 10:32

Democracy is two wolves and a lamb voting on what to have for lunch. Liberty is a well-armed lamb contesting the vote.
ประชาธิปไตยคือ การโหวตของหมาจิ้งจอกสองตัวกับแกะตัวนึงว่าจะกินมื้อกลางวันอะไรกันดี เสรีภาพคือแกะที่ถืออาวุธอย่างครบเครื่องมาโหวตกับเค้า
                                   ................................

When the people find that they can vote themselves money, that will herald the end of the republic.
เมื่อใดประชาชนพบว่าสามารถจะลงคะแนนเสียงเพื่อให้ตนได้เงินได้ เมื่อนั้นคือการแจ้งจุดจบของประเทศชาติ


Benjamin Franklin
นักคิด นักวิทยาศาสตร์


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 12:03

รู้สึกหนาวขึ้นมาฉับพลัน....
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 13:45

รู้สึกต้อง ฉุกคิดขึ้นมา เช่นกัน ....... ขอบคุณ คุณ NAVARAT.C  มากครับ น่าสนใจมากๆ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 17:40

ประชาธิปไตยที่นำเสนอผ่านสารคดีทั้ง ๓ ตอนนั้นเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก
แต่สำหรับสังคมไทย  เรามีประชาธิปไตยในทางพระพุทธศาสนาที่เราถือปฏิบัติกันมานับร้อยนับพันปีเหมือนกัน
แต่ไม่ยักมีใครฉุกคิดถึงหลักพระศาสนากันบ้างเลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 18:11

อ้างถึง
ประชาธิปไตยในทางพระพุทธศาสนาที่เราถือปฏิบัติกันมานับร้อยนับพันปี

? ? ?
อยากให้คุณวีหมีช่วยกรุณาขยายความตรงนี้หน่อยครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 18:19

ในทางพระพุทธศาสนาไม่มีชนชั้นวรรณะ  เคารพอาวุโสตามพรรษกาล  เวลาญัตติต่างๆ มีการถามความเห็นของที่ประชุมสงฆ์
หากมีสงฆ์แม้เพียงรูปหนึ่งคัดค้าน  สังฆกรรมนั้นก็อาจจะดำเนินต่อไปไม่ได้  เรียกว่าเคารพเสียงส่วนน้อยครับ  มิใช่พวกมาลากไป 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 18:24

ก่อนจะจบสารคดีในคืนที่ ๓  มีการนำเสนอบทสัมภาษณ์ของหลวงประดิษฐมนูธรรมในบั้นปลายของชีวิต
ชวนให้นึกถึงพระราชบันทึกในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่ทรงพระราชวิจารณ์เรื่อง "คอนสิตูชั้น" ไว้ใน
สมุดจดพระราชบันทึกรายวัน (ไดอารี) ส่วนพระองค์  หลังจากเกิดเกตุ ร.ศ. ๑๓๐ ไม่นาน
พระราชบันทึกนี้ทรงพระราชวิจาร์ไว้ทั้งระบบประชาธิปไตยและบอลเชวิก  แต่จะขอคัดมาเฉพาะที่ทรง
กล่าวถึงคอนสติตูชั้น

มีนาคม

.....เรื่องราวของผู้อื่นก็จะเห็นฃันอยู่บ้าง  คือจะเห็นฃันว่าคนยังมีความฤศยาหยุมหยิมอยู่ฉนี้ฤา  จะเปนผู้ที่จัดการปกครองชาติบ้านเมืองอย่างริปับลิคได้  อย่าว่าแต่ริปับลิคเลย  ถึงแม้จะปกครองอย่างลักษณเจ้าแผ่นดินมีคอนสติตูชั่นก็ไม่น่าจะทำไปได้  ยังไม่รู้จักเอาความรักชาติเข้าฃ่มความฤศยาในใจตนเองแล้ว  จะทำการให้เปนประโยชน์แก่ชาติฝ่ายเดียวอย่างไร

ถ้ามีผู้ต้องการ “คอนสติตูชั่น” จริงๆ และเปนไปได้จริง  จะเปนคุณอย่างใดฤาไม่  แต่ถ้าแม้ต่างว่ามีคนอยู่จำพวก ๑  ซึ่งตั้งใจดีจริง  มีความมุ่งดีต่อชาติจริง จะมาร้องฎีกาขึ้นโดยตรงๆ ขอให้มีคอนสติตูชั่น  เราเองจะไม่มีความแค้นเคืองเลย  ตรงกันข้าม  เราจะยอมพิจารณาดูว่า  จะสมควรยอมตามคำขอร้องของคนนั้นฤาไม่  ถ้ายิ่งมีคอนสติตูชั่นได้จะยิ่งดี  เพราะเรารู้สึกอยู่แล้วเหมือนกัน  ว่าการที่มอบการปกครองไว้ในมือเจ้าแผ่นดินคนเดียวผู้มีอำนาจสิทธิ์ฃาดนั้น  ดูเปนการเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมอยู่  ถ้าเจ้าแผ่นดินเปนผู้ที่มีสติปัญญาสามารถและมีความตั้งใจมั่นอยู่ว่า  จะทำการให้บังเกิดผลอันดีที่สุดแก่ชาติบ้านเมืองฉนี้แล้วก็จะเปนการดีที่สุด  จะหาลักษณปกครองอย่างใดมาเปรียบปานได้โดยยาก  แต่ถ้าแม้เจ้าแผ่นดินเปนผู้ที่โฉดเขลาเบาปัญญา  ฃาดความสามารถ  ฃาดความพยายาม  เพลิดเพลินไปแต่ในความศุขส่วนตัว  ไม่เอาใจใส่ในน่าที่ของตน  ฉนี้ก็ดี  ฤาเปนผู้ที่มีน้ำใจพาลสันดานหยาบดุร้ายและไม่ตั้งอยู่ในราชธรรม  เห็นแก่พวกพ้องและบริวารอันสอพลอและประจบ  ฉนี้ก็ดี   ประชาชนก็อาจจะได้รับความเดือดร้อน  ปราศจากความศุข  ไม่มีโอกาศที่จะเจริญได้  ดังนี้จึงเห็นได้ว่าเปนการเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมอยู่

แสดงคุณแห่งลักษณปกครอง  โดยมี “คอนสติตูชั่น”  ส่วนการมีคอนสติตูชั่นนั้น  เปนอันตัดความไม่แน่นอนไปได้มาก  เพราะอำนาจมิได้อยู่ในมือคนๆ เดียว  ซึ่งถึงแม้ว่าจะดีฤาชั่วปานใดก็เปลี่ยนไม่ได้  ประชาชนได้มีเสียงในการปกครองชาติบ้านเมืองของตนเอง  เสนาบดีผู้รับตำแหน่งน่าที่ปกครองก็รับผิดรับชอบต่อประชาชน  จำเปนต้องทำการให้เปนไปอย่างดีที่สุดที่จะเปนไปได้  เพราะถ้าแม้ว่าทำการในน่าที่บกพร่อง  ประชาชนไม่เปนที่ไว้วางใจต่อไป  ก็อาจจะร้องขึ้นด้วยกันมากๆ จนเสนาบดีต้องลาออกจากตำแหน่ง  คนที่ประชาชนไว้วางใจก็จะได้มีโอกาศเฃ้ารับตำแหน่งน่าที่  ทำการงานให้ดำเนินไปโดยทางอันสมควรและถูกต้องตามประสงค์แห่งประชาชน  เช่นนี้เปนการสมควรอย่างยิ่ง  และถ้าแม้จะกล่าวไปแต่โดยทางว่าเปนแบบแผนดีฤาไม่คงไม่มีใครเถียงเลย  คงต้องยอมรับว่าดีทั้งนั้น  แต่แบบอย่างใดๆ ถึงแม้ว่าจะดีที่สุดเมื่อเขียนอยู่ในกระดาษ  เมื่อใช้จริงเฃ้าแล้วบางทีก็มีที่เสียหายปรากฏขึ้น  ดังปรากฏอยู่แก่ผู้ที่ได้ศึกษาและรู้เหตุการณ์ที่เปนไปในนานาประเทศ  เพราะเหตุหลายประการ  จะยกมาว่าแต่พอเปนสังเขปก็มีอยู่คือ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 18:25

แสดงโทษอันอาจจะมีมาได้  แม้เมื่อใช้ลักษณปกครองมี “คอนสติตูชั่น”  ๑.  ประชาชนยังไม่มีความรู้พอที่จะทำการปกครองตนเองได้  เพราะฉนั้นอาจที่จะใช้อำนาจอันอยู่ในมือตนในหนทางที่ผิดวิปลาศ  บางทีสิ่งซึ่งต้องการให้มีขึ้นฤาให้เปนไป  จะไม่เปนสิ่งที่ซึ่งนำประโยชน์มาสู่ชาติ  ฤากลับจะให้โทษ  แต่ประชาชนมีความเห็นพร้อมๆ กันมาก  ก็ต้องเปนไปตามความเห็นของพวกมาก  ต่อเมื่อกระทำไปแล้วจึ่งแลเห็นว่าให้ผลร้ายเพียงใด  จะยกอุทาหรณได้อย่าง ๑  คือต่างว่ามีสาเหตุเกิดวิวาทบาดหมางกันกับชาติอีกชาติ ๑  ซึ่งถ้าแม้ทำความเฃ้าใจกันเสียแล้วก็อาจจะเปนที่เรียบร้อยไปได้  แต่ประชาชนพากันเห็นไปว่า  ถ้าแม้ยอมผ่อนผันให้จะเปนการเสียเกียรติยศเสียรัศมีของชาติ  ก็อาจจะพากันร้องเซ็งแซ่ให้ทำสงครามได้  การทำสงครามนั้นในขณที่กำลังรบพุ่งกันอยู่ไม่สู้จะกระไรนัก  เพราะใจประชาชนกำลังฮึกเหิม  คิดแต่ถึงส่วนการต่อสู้และหวังเอาไชยแก่สัตรูเท่านั้น  ต่อเมื่อสงบศึกแล้ว  จึ่งจะรู้สึกโทษแห่งการสงคราม  คือการทำมาหาเลี้ยงชีพจะฝืดเคือง  การค้าขายซึ่งต้องงดไว้ในระหว่างสงครามนั้น  มาจับลงมือทำขึ้นอีกก็ย่อมจะไม่สดวกเหมือนแต่ก่อน เปรียบเหมือนเครื่องกลไกอันจักร์และใยเคลื่อนที่เสียหมดแล้ว  กว่าจะแก้ไขให้เดินดีและเรียบร้อยอย่างเดิมก็เปนการยากนัก  ทั้งการปกครองท้องที่ก็ต้องจัดการเอาลงระเบียบอีก เมื่อแลเห็นผลแห่งสงครามฉนี้แล้ว  ประชาชนจึ่งรู้สึกตัว  ถ้ายิ่งในกาลสงครามนั้นได้พ่ายแพ้แก่สัตรูภายนอกด้วย  ความลำบากยากเข็ญต่างๆ อันจะมีมาเปนเครื่องตามหลังก็จะยิ่งมากขึ้นเปนทวีคูณเปนแน่แท้  ที่กล่าวมาแล้วนี้เปนโทษแห่งการที่ประชาชนอันไม่รู้จักใช้อำนาจจะใช้เองในที่ผิด  แต่ยังมีอยู่อีกประการ ๑  ซึ่งควรคำนึงและพิจารณาดูเหมือนกันคือ

๒. ประชาชนรู้สึกตนว่าไม่มีความสามารถพอที่จะถืออำนาจและใช้อำนาจทุกๆ คน  จึ่งไว้ใจมอบอำนาจให้บุคคลบางคนถืออำนาจและใช้อำนาจนั้นแทน  บุคคลเหล่านี้คือที่เลือกสรรให้เฃ้าไปนั่งในรัฐสภา (ปาร์ลิย์เมนต์) เปนผู้แทนประชาชน  ผู้แทนเช่นนี้  ถ้าแม้ว่าประชาชนรู้จักจริง  รู้แน่นอนว่าเปนคนดีจริงแล้ว  จึ่งเลือกเฃ้าไปเปนผู้แทนตน  ดังนี้จะไม่มีที่เสียหายจะบังเกิดขึ้นได้เลย  แต่ตามความจริงหาเปนเช่นนั้นไม่  ตามความจริงนั้น  ประชาชนโดยมากก็มีกิจธุระทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ด้วยกันทุกคน  จะมัวสละเวลาเพื่อกระทำความวิสาสะกับผู้ที่จะเปนผู้แทนตนในรัฐสภาก็ไม่ได้อยู่เอง  เพราะฉนั้นแบบธรรมเนียมจึ่งมีอยู่ว่า  เมื่อถึงเวลาจะต้องเลือกผู้แทนเฃ้านั่งในรัฐสภา  ก็มีคน๒ คน ฤา ๓ คน มายืนขึ้นให้เลือก  ว่าจะชอบคนไหนใน ๒  ฤา ๓ คนนั้น  เมื่อชอบคนไหนก็เลือกคนนั้นโดยต่างคนต่างให้คะแนนของตน  ใครได้คะแนนมากก็ได้เฃ้าไปนั่งในรัฐสภาดังนี้  แต่ถ้ามีผู้ที่มารับเลือกแต่คนเดียว  ก็นับว่าไม่เปนปัญหา  ประชาชนไม่ต้องลงคะแนน  คนๆ นั้นเปนอันได้เฃ้านั่งในรัฐสภาทีเดียว  ส่วนการที่จะจัดให้มีคนมารับเลือกนั้น  ตามคอนสติตูชั่นว่า  ให้มีผู้ใดผู้ ๑ ในเขตรนั้นๆ เปนผู้นำขึ้นว่าผู้ใดควรได้รับเลือก  ถ้าไม่ผู้อื่นนำเสนอนามใครขึ้นอีกคน ๑ แล้ว  คนที่ ๑  ก็เปนอันได้เฃ้ารัฐสภาอยู่เอง  แต่ถ้ามีผู้เสนอนามบุคคลขึ้นอีกคน ๑  จึ่งต้องนัดวันให้ประชาชนในเขตร์นั้นลงคะแนนในระหว่างคน ๒ คน  ที่ได้มีผู้เสนอนามขึ้น ดูเผินๆ เพียงนี้ก็ยังดีอยู่  แต่ตามความจริงนั้น ไม่ใช่ว่าใครๆ สักแต่เปนมนุษย์แล้วก็จะมีโอกาศได้รับเลือกได้  ผู้ที่หยิบยกตัวบุคคลมาให้ราษฎรเลือกนั้น  คือคณะฤาปาร์ตี  ซึ่งมีแบ่งกันอยู่ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป  การที่ต้องมีปาร์ตีนั้น  เพราะถ้าแม้ผู้ที่เฃ้าไปนั่งประชุมในรัฐสภา  ต่างคนต่างพูดไป  แสดงความเห็นไปตามอัตโนมัตของตนๆ ทุกคน  ก็คงจะไม่มีความตกลงกันได้ในเรื่องใดเลยสักเรื่องเดียว  จึ่งต้องเกิดใช้วิธีจัดรวมเปนคณะ  คือผู้ที่มีความเห็นพ้องกันในปัญหาสำคัญๆ รวมกันเฃ้าเปนคณะฤาปาร์ตี  เพื่อจะได้ช่วยกันลงความเห็นเหมือนๆ กันมากๆ  ในเมื่อเฃ้าที่ประชุมรัฐสภา  ดังนี้เปนที่ตั้ง  ครั้นเมื่อเวลาจะมีการเลือกสมาชิกเฃ้ามาใหม่  ต่างคณะก็ย่อมจะต้องมีความประสงค์ที่จะให้ผู้มีความเห็นพ้องกับคณะตนได้รับเลือก  ต่างคณะจึ่งต่างจัดหาบุคคลอันพึงประสงค์ไปให้รับเลือก  และต่างคณะจึ่งต่างคิดดำเนินการให้คนของตนได้รับเลือก  วิธีดำเนินอันถูกต้องตามกฎหมายนั้น  คือแต่งสมาชิกแห่งคณะไปเที่ยวพูดจาเกลี้ยกล่อมราษฎรให้แลเห็นผลอันดีที่จะพึงมีมา  โดยทางที่ให้คณะได้มีโอกาสทำการโดยสดวก  เมื่อกล่าวมาถึงแค่นี้แล้ว  ก็ยังไม่มีสิ่งไรที่นับว่าเสียหายอันจะบังเกิดมีมาได้จากการใช้วิธีเช่นนี้  และถ้าความจริงเปนไปแต่เพียงเท่านี้  ก็เปนอันไม่มีที่ติ  แต่ความจริงมิได้หมดอยู่เพียงแค่นี้  คือการเกลี้ยกล่อมมิได้ใช้แต่เฉพาะทางเที่ยวพูดจา  ไม่ได้ใช้ฬ่อใจราษฎรแต่ด้วยถ้อยคำเท่านั้น  ยังมีฬ่อใจโดยทางอื่นๆ อีก  ตั้งแต่ทางเลี้ยงดู  จัดยานพาหนะให้ไปมาโดยสดวกและไม่ต้องเสียทุนทรัพย์  จนถึงติดสินบนตรงๆ เปนที่สุด  คณะใดมีทุนมากจึ่งได้เปรียบมากอยู่  ก็ตกลงรวบรวมใจความว่า  ราษฎรไม่ได้เลือกผู้แทนของตน  เพราะรู้แน่ว่าเปนคนดี  สมควรจะเปนผู้แทนตนด้วยประการทั้งปวงฉนี้เลย  ตามจริงเลือกบุคคลผู้นี้เพราะมีผู้บอกให้เลือกฤาติดสินบนให้เลือกเท่านั้น  เมื่อเปนเช่นนี้แล้ว  ก็นับว่าผิดความมุ่งหมายเดิมของคอนสติตูชั่นแล้ว  คืออำนาจไม่ได้อยู่ในมือประชาชนจริงๆ  แต่ไปอยู่ในมือแห่งคนส่วน ๑  ซึ่งเปนส่วนน้อยแห่งชาติเท่านั้น  แต่ถ้าคนเหล่านี้มีความตั้งใจดีอยู่  และเปนผู้ที่มีความรักชาติบ้านเมืองของตน  ก็คงจะอุส่าห์พยายามกระทำการงานไปตามน่าที่อันได้รับมอบไว้นั้นโดยสุจริต  แต่ผู้ที่มีความคิดซื่อตรงต่อชาตืฝ่ายเดียว  ไม่คิดถึงตนเองฤาผลประโยชน์ของตนเองมีอยู่บ้างฤาเฃ้าใจว่าถึงจะมีก็จะไม่มากปานใด  คนโดยมากถึงว่าจะรักชาติบ้านเมืองก็มักจะมีความคิดถึงประโยชน์ส่วนตัวเจือปนอยู่เปนอันมาก  คงยังมีความต้องการอำนาจและต้องการผลอันจะพึงมีมาแต่การเปนผู้มีอำนาจต้องการโอกาศที่จะได้อนุเคราะห์แก่ญาติพี่น้องฤาคนชอบพอกันบ้างเปนธรรมดาอยู่  ความประสงค์อันนี้ทำให้เกิดมีผลอัน ๑  ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ริเริ่มคิดวิธีปกครองด้วย “คอนสติตูชั่น”  มิได้ตั้งใจไว้ว่าจะให้มี คือ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง