เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 33423 สารคดี ๒๔๗๕ ออกอากาศทาง Thai PBS
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 27 ก.ค. 12, 09:52

ผู้สร้างบอกว่าจะเป็นกลาง และไม่ชี้นำ
สารคดีนี้จะมี๓ตอน ออกอากาศช่วงดึก๓คืนติดต่อกัน

ขอเชิญท่านที่สนใจคลิ๊กเข้าไปชมตอนที่๑ ที่ออกอากาศเมื่อคืนที่ผ่านมาได้เลยครับ

บันทึกการเข้า
bomoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 10:04

สวัสดีค่ะอาจารย์NAVARAT.C เพิ่งสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ขอฝากตัวเป็นศิษย์อีกคนนะคะ ยิ้ม
เพราะได้อ่านกระทู้"ชะตากรรมของท่านพระยาทรงสุรเดช" แล้วก็ติดเลย
ชอบมากๆ เพราะเป็นเรื่องเบื้องลึก เบื้องหลัง ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
ทีนี้ติดใจนักโทษประหารท่านหนึ่งที่ชื่อว่า "ร.ท.ณเณร  ตาละลักษณ์" เพราะงงตรงที่ท่านทำใจเผชิญกับความตายอย่างกล้าหาญได้อย่างไร
และสงสัยอีกว่าหลังจากนั้นครอบครัว พ่อแม่ ลูกเมีย ได้รับการเยียวยาบ้างไหมคะ
และแค่ความคิดเห็นต่างเท่านั้นหรือคะ ถึงขนาดที่โดนตัดสินรุนแรงขนาดนั้น มีเบื้องลึกมากกว่านั้นหรือเปล่า
อยากเห็นรูปและอยากทราบประวัติของท่านด้วยน่ะค่ะ

หาซื้อหนังสือที่เกี่ยวเนื่องมาอ่านก็จบแค่ตรงที่ท่านโดนประหาร
หลังจากนั้นก็ไม่เอ่ยถึงอีกเลย ขอความกรุณาอาจารย์NAVARAT.C ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 10:08

ขอบคุณครับ วันนี้ จะรอชมตอนต่อไป.....

ชอบเสียงคนดำเนิรเรื่อง คุณสุรัสวดี เชื้อชาติ (แหม่ม มาม่า บลูส์) เสียงทุ้ม น่าฟังจัง  ......เธอพากษ์เสียงเอง และกำกับเองด้วย ชื่นชมครับ


ไม่ไ้ด้ฟังเสียงเธอนาน ก็เลยอดนึกถึงเพลงของเธอในสมัยเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน (ไม่มีอะไรเกี่ยวกับสารคดีเลย)




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 10:51

อ้างถึง
ติดใจนักโทษประหารท่านหนึ่งที่ชื่อว่า "ร.ท.ณเณร  ตาละลักษณ์" เพราะงงตรงที่ท่านทำใจเผชิญกับความตายอย่างกล้าหาญได้อย่างไร
และสงสัยอีกว่าหลังจากนั้นครอบครัว พ่อแม่ ลูกเมีย ได้รับการเยียวยาบ้างไหมคะ

และแค่ความคิดเห็นต่างเท่านั้นหรือคะ ถึงขนาดที่โดนตัดสินรุนแรงขนาดนั้น มีเบื้องลึกมากกว่านั้นหรือเปล่า
อยากเห็นรูปและอยากทราบประวัติของท่านด้วยน่ะค่ะ

ณ เณร ตาละลักษณ์มีลูกสาวคนหนึ่ง หลังจากที่หัวหน้าครอบครัวได้ชื่อว่าเป็นกบฏและถูกประหารชีวิต ทั้งแม่และลูกถูกสังคมบีบคั้นมาก แม้แต่ในกลุ่มพี่น้องเองก็ยังตีตนออกห่างเพราะไม่อยากตกเป็นเป้าของสายลับสันติบาล ในที่สุดลูกสาวต้องออกจากโรงเรียนและต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลแม่เพื่อหาที่เรียนใหม่

ญาติทางมารดาของผมมีสายตาละลักษณ์อยู่ด้วย ทุกปีในช่วงสงกรานต์จะไปทำบุญให้บรรพบุรุษร่วมกัน ผมทราบจากพวกพี่ๆสายโน้นว่าลูกสาวของ ณ เณร ทุกวันนี้ยังมีชีวิตอยู่แบบตัวคนเดียว เรียบง่ายและยังปกปิดตนเอง ผมไม่เคยพบเห็นเลย  เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ผมเคยฝากไปเรียนว่าผมอยากรู้จัก จะไปหา แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธกลับมา

ส่วนเบื้องลึกที่นำ ณ เณรไปสู่หลักประหารมีประการเดียว คือเป็นมนุษย์ที่ขาดสำนึกของความกลัว เป็นคนเดียวทั้งในสภาและนอกสภาที่กล้าท้าทายผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าอย่างเปิดเผย ในสมัยที่คนอื่นๆเขาเลือกที่จะหดหัวเข้าไปอยู่ในกระดองเพื่อความปลอดภัย
บันทึกการเข้า
bomoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:07

อ้างถึง
ติดใจนักโทษประหารท่านหนึ่งที่ชื่อว่า "ร.ท.ณเณร  ตาละลักษณ์" เพราะงงตรงที่ท่านทำใจเผชิญกับความตายอย่างกล้าหาญได้อย่างไร
และสงสัยอีกว่าหลังจากนั้นครอบครัว พ่อแม่ ลูกเมีย ได้รับการเยียวยาบ้างไหมคะ

และแค่ความคิดเห็นต่างเท่านั้นหรือคะ ถึงขนาดที่โดนตัดสินรุนแรงขนาดนั้น มีเบื้องลึกมากกว่านั้นหรือเปล่า
อยากเห็นรูปและอยากทราบประวัติของท่านด้วยน่ะค่ะ

ณ เณร ตาละลักษณ์มีลูกสาวคนหนึ่ง หลังจากที่หัวหน้าครอบครัวได้ชื่อว่าเป็นกบฏและถูกประหารชีวิต ทั้งแม่และลูกถูกสังคมบีบคั้นมาก แม้แต่ในกลุ่มพี่น้องเองก็ยังตีตนออกห่างเพราะไม่อยากตกเป็นเป้าของสายลับสันติบาล ในที่สุดลูกสาวต้องออกจากโรงเรียนและต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลแม่เพื่อหาที่เรียนใหม่

ญาติทางมารดาของผมมีสายตาละลักษณ์อยู่ด้วย ทุกปีในช่วงสงกรานต์จะไปทำบุญให้บรรพบุรุษร่วมกัน ผมทราบจากพวกพี่ๆสายโน้นว่าลูกสาวของ ณ เณร ทุกวันนี้ยังมีชีวิตอยู่แบบตัวคนเดียว เรียบง่ายและยังปกปิดตนเอง ผมไม่เคยพบเห็นเลย  เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ผมเคยฝากไปเรียนว่าผมอยากรู้จัก จะไปหา แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธกลับมา

ส่วนเบื้องลึกที่นำ ณ เณรไปสู่หลักประหารมีประการเดียว คือเป็นมนุษย์ที่ขาดสำนึกของความกลัว เป็นคนเดียวทั้งในสภาและนอกสภาที่กล้าท้าทายผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าอย่างเปิดเผย ในสมัยที่คนอื่นๆเขาเลือกที่จะหดหัวเข้าไปอยู่ในกระดองเพื่อความปลอดภัย

[/quoteขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่กรุณาตอบข้อสงสัย แหะๆ ถ้าเป็นไปได้อยากเห็นรูปด้วยค่ะ
เป็นยุคที่ "เชื่อผู้นำ แล้วพ้นภัยจริงๆ" เฮ้อ น่าเห็นใจครอบครัวของท่านและนักโทษประหารท่านอื่นๆนะคะ
ยิ่งสมัยก่อน การสื่อสารไม่มากเท่าสมัยนี้ คนมักจะเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น แม้สิ่งนั้นอาจจะเป็นภาพลวงตา เสียงลวงใจก็เหอะ

คนที่เหลืออยู่ โดยเฉพาะลูกเมีย ต้องเข้มแข็งมากจริงๆถึงจะผ่านวิกฤตมาได้
มาถึงปัจจุบันนี้ ขนาดแค่อ่านไม่ได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ ก็ยังคิดว่าต้องจับแพะแน่ๆ
จะยังไงก็แล้วแต่ ขอยกย่องในความกล้าที่จะชนกับอำนาจที่ไม่สุจริตของ "ท่านณเณร" นะคะ
บันทึกการเข้า
bomoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:12

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่กรุณาตอบข้อสงสัย แหะๆ ถ้าเป็นไปได้อยากเห็นรูปด้วยค่ะ
เป็นยุคที่ "เชื่อผู้นำ แล้วพ้นภัยจริงๆ" เฮ้อ น่าเห็นใจครอบครัวของท่านและนักโทษประหารท่านอื่นๆนะคะ
ยิ่งสมัยก่อน การสื่อสารไม่มากเท่าสมัยนี้ คนมักจะเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น แม้สิ่งนั้นอาจจะเป็นภาพลวงตา เสียงลวงใจก็เหอะ

คนที่เหลืออยู่ โดยเฉพาะลูกเมีย ต้องเข้มแข็งมากจริงๆถึงจะผ่านวิกฤตมาได้
มาถึงปัจจุบันนี้ ขนาดแค่อ่านไม่ได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ ก็ยังคิดว่าต้องจับแพะแน่ๆ
จะยังไงก็แล้วแต่ ขอยกย่องในความกล้าที่จะชนกับอำนาจที่ไม่สุจริตของ "ท่านณเณร" นะคะ


ยังงงๆกับการใช้งานอยู่ส่งซ้ำไปสองครั้งขออภัยนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:29

เคยเห็นรูปของณ เณรในเครื่องแบบร้อยโทสมัยผมยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมครับ เป็นหนังสือที่อยู่ในห้องสมุด

ณ เณร จะร่างท้วมสักหน่อย แต่หน้าตาสมชายชาตรี

ที่พยายามติดต่อกับลูกสาวของท่าน ก็อยากได้รูปถ่ายเก่าๆนี่แหละครับ ตอนนี้ยังไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:43

รูปพี่ชายคนโตของณ เณรครับ

พลโท ปาระณี ตาละลักษณ์
ก็เจริญรุ่งเรืองด้วยดีทั้งยุคสมัยหลวงพิบูลและจอมพลป.

รูปร่างหน้าตาของณ เณรก็ออกแนวนี้


บันทึกการเข้า
bomoo
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:50

พี่ชายรอดพ้น น้องชายไม่รอดพ้นเกมการเมือง

จริงๆแล้วหลังจากที่รู้ว่าจับแพะไปประหาร
น่าจะมีอะไรชดเชยให้กับครอบครัว และลบคำว่า "กบฎ" ออกนะคะ
อ่านแล้วมีอารมณ์ร่วมเลย สงสารชะตากรรมของผู้ที่ทั้งโดนตัดสินประหาร
และโดนไปอยู่เกาะเต่า เกาะตะรุเตา จริงๆ ไม่เห็นภาพในอดีตของเกาะ
แต่ก็พอจะเดาความทุกข์ยากได้

ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 18:02

คิดตามชมมา ๒ คืน พอจะสรุปได้ว่าทุกท่านที่มานำเสนอความคิดเห็นต่างก็ยึดติดกับตำราที่เขียนขึ้นในยุค ๒๔๗๕ 
โดยบางท่านถึงกับยกย่องกลุ่มกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ว่าเป็นต้นธารของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เลยทีเดียว
ในขณะที่บางท่านก็หยิบยกความไม่พร้อมของราษฎรมาอ้างว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ทั้งยังกล่าว
เลยไปถึงการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕  ว่าเป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง  แต่ไม่เห็นนักวิชาการ
ท่านใดกล่าวถึงการลดอำนาจของมหาดไทยโดยกระจายอำนาจตัดสินใจไปไว้ที่อุปราชภาคและสมุหเทศาภิบาลใน
สมัยรัชกาลที่ ๖  รวมถึงการแยกศาลซึ่งเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยออกจากอำนาจบริหาร  ให้ศาลมีอิสระในการ
พิจารณาพิพากษาอรรถคดีในสมัยรัชกาลที่ ๖  ซึ่งดูไปแล้วเป็นขั้นตอนของการเตรียมการวางรากฐานประชาธิปไตย
แบบอังกฤษ

จากที่ได้ติดตามชมมา ๒ คืน  ก็เชื่อว่า จบ ๓ คืนในคืนนี้แล้วผู้ชมก็คงจะยังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายตามธงที่ตนเชื่อกันอยู่
เพราะไม่มีการศึกษาแบบเจาะลึกลงไปถึงการวางรากฐานการปกครองท้องถิ่นในสมัยรัชกาลที่ ๖  ตัวอย่างเช่น
วิทยากรยังเข้าใจว่า ดุสิตธานีเป็นเพียงเมืองตุ๊กตาที่วิทยากรท่านนั้นก็ยังคิดแต่เพียงว่า เป็นเพียงเมืองตุ๊กตา
แต่แก่นแท้ของการสร้างเมืองจำลองนั้นท่านกลับมองไม่เห็น  คำถามคือ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งเมือง
จำลองดุสิตธานีนั้นมีคนไทยสักกี่คนที่รู้จักการเลือกตั้ง  มีคนไทยกี่คนที่รู้จัก สิทธิและหน้าที่ ของประชาชน
ในระบอบประชาธิปไตย

การสอนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นเรื่องนามธรรมนั้น  จะสอนกันอย่างไรให้คนที่ไม่เคยรู้เรื่องเข้าใจได้
วิธีการที่ทรงนำมาใช้คือ วิธีที่รู้จักกันในชื่อ Play to Learn ที่เรียนรู้ได้ด้วยการเล่น  ได้เรียนพร้อมกับการปฏิบัติ
ส่วนบ้านตุ๊กตานั้นนอกจากจะเป็นอุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนแล้ว  หากมองอีกมุมหนึ่งว่าเมืองจำลองนี้ถือกำเนิด
ในวันครบรอบปีของการประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑  ล้นเกล้าฯ ย่อมทรงหวังไว้แล้วว่า เมื่อสงครามสงบลง
ชาวยุโรปคงจะหลั่งไหลมาหาซื้อสินค้าไปฟื้นฟูบ้านเมืองที่ย่อยยับเพราะสงคราม  และการเดินทางในสมัยนั้นต้องนั่งเรือกันมา
เป็นแรมเดือน  เมื่อมาถึงแล้วก็ต้องเที่ยวให้คุ้ม  เมืองจำลองที่จำลองสถาปัตยกรรมที่หลากหลายแห่งแรกของโลกนี้
ก็จะเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกทาง 

ในขณะเดียวกันเมื่อลองย้อนดูว่า เมื่อทรงรับราชสมบัตินั้นทรงตระหนักแน่ในพระราชหฤทัยแล้วว่า ประชาชนไทยยัง
ไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง  ต้องเร่งให้การศึกษาเสียก่อน  จึงทรงเร่งรัดให้จัดแผนการศึกาาชาติ  เร่งฝึกหัดครู
เมื่อพร้อมแล้วจึงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา  ซึ่งมอบอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดการศึกษา  จะว่าไป
แนวความคิดในการให้ท้องถิ่นจัดการศึกษากันเอง  ก็คือการเตรียมการไปสู่การปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น
ที่มีเรื่องเล่ากันว่า มีรับสั่งว่าจะพระราชทานการปกครองให้คนไทยเมื่อขึ้นครองราชย์ครบ ๑๕ ปี  แต่กระทรวงธรรมการ
ทำงานล่าช้า  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการจึงถูกกริ้วเสียยกใหญ่

แต่พยานที่ว่าทรงเตรียมการพระราชทานการปกครองท้องถิ่นนั้นน่าจะเห็นร่องรอยจากการพระราชทานอภัยโทษก่อนกำหนด
แก่กลุมกบฏ ร.ศ.๑๓๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ ๑๕ ปี (นับเรียงปี)  และเดือนมีนาคม ๒๔๖๗
นั้นเอง  ที่เริ่มมีนักเรียนเริ่มจบชั้นประถมศึกษาตาม พรบ.ประถมศึกษา เป็นครั้งแรก  ซึ่งตามกำหนดอีก ๙ เดือนต่อมาจะ
มีการสมโภชสิริราชสมบัติเสมอรัชกาลที่ ๒  จะมีการจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์และชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งแรกในงาน
สยามรัฐพิพิธภัณฑ์  ก็ยิ่งชวนให้เชื่อว่า คงจะมีพระบรมราชโองการพระราชทานการปกครองท้องถิ่นแก่ปวงชนชาวไทย
ในช่วงงานดังกล่าว  แต่ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่จะถึงกำหนดนั้นเพียงเดือนเศษ  พระราชกรณียกิจหลายๆ เรื่องที่ทรง
เตรียมการไว้จึงเป็นอันล้มเลิกไปหมด  ไม่แน่ถ้าสวรรคตช้ากว่านั้นประเทศไทยเราคงจะมีประชาธิปไตยโดยเริ่มจาก
การปกครองท้องถิ่นแล้วค่อยขยับขึ้นสู่ระดับชาติ  แทนที่จะเป็นจากบนลงล่างดังเช่นที่เป็นอยู่มนทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 19:34

ขอบคุณครับ การบรรยายในช่วงต้นเป็นการบรรยายที่ลึกซึ้งมาก เราถูกยัดเยียดให้จำ และลืมในสิ่งที่ควรจำ ดังเพลงอยากจำ กลับลืม อยากลืม กลับจำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 19:45


ณ เณร ตาละลักษณ์มีลูกสาวคนหนึ่ง หลังจากที่หัวหน้าครอบครัวได้ชื่อว่าเป็นกบฏและถูกประหารชีวิต ทั้งแม่และลูกถูกสังคมบีบคั้นมาก แม้แต่ในกลุ่มพี่น้องเองก็ยังตีตนออกห่างเพราะไม่อยากตกเป็นเป้าของสายลับสันติบาล ในที่สุดลูกสาวต้องออกจากโรงเรียนและต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลแม่เพื่อหาที่เรียนใหม่

ญาติทางมารดาของผมมีสายตาละลักษณ์อยู่ด้วย ทุกปีในช่วงสงกรานต์จะไปทำบุญให้บรรพบุรุษร่วมกัน ผมทราบจากพวกพี่ๆสายโน้นว่าลูกสาวของ ณ เณร ทุกวันนี้ยังมีชีวิตอยู่แบบตัวคนเดียว เรียบง่ายและยังปกปิดตนเอง ผมไม่เคยพบเห็นเลย  เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ผมเคยฝากไปเรียนว่าผมอยากรู้จัก จะไปหา แต่ได้รับคำตอบปฏิเสธกลับมา

คนเรามีวิธีเยียวยาตัวเองจากบาดแผลในใจคนละแบบกัน     บางคนเลือกที่จะไม่แตะต้องแผลนั้นอีก เพราะเคยเจ็บมากเกินกว่าจะอยากนึกถึง   แต่บางคนก็ใช้วิธีรักษาด้วยการเผชิญความเป็นจริง  เพื่อรู้ว่ามันไม่ใช่โรคร้ายอย่างที่คนอื่นประณาม  จากนั้นแผลจะได้ทุเลา หรืออาจถึงขั้นหายสนิท

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 19:46

ค.ห. 9 ของคุณ V_Mee ทำให้ดิฉันยิ่งเชื่อว่า ความเป็นกลางไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:00

ผมขอเป็นผู้ชม และผู้อ่านความเห็นของนักวิชาการเช่นคุณวีหมีไปก่อนนะครับ ขออนุญาตที่จะงดวิจารณ์ไว้ก่อน

ตอบคำถามของคุณbomoo

พอปลายสงครามโลกครั้งที่๒ หลวงพิบูลถูกแซะออกจากเก้าอี้ นายควงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนเพื่อรับหน้ากองทัพญี่ปุ่น แต่สิ่งแรกที่รัฐบาลใหม่ได้กระทำก็กลับกลายเป็น การตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทุกรุ่นทุกสมัย เมื่อ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๗ มีผลให้ผู้ต้องคดีทางการเมืองทุกคนพ้นโทษ ทั้งจากเรือนจำบางขวางและเกาะเต่า

แต่การเมืองไทยยังพลิกผันอีกหลายตลบ

จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร ๖ เมษายน ๒๔๙๑ ที่เรียกกันว่า"รัฐประหารเงียบ"ทำให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กลับมามีอำนาจทางการเมือง และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นานก็มีการไถ่บาปครั้งใหญ่โดยประกาศคืนยศแก่อดีตนักโทษการเมืองที่ได้รับนิรโทษกรรมไปแล้ว และให้สามารถตกเบิกเงินเดือนข้าราชการย้อนหลังได้เสมือนไม่เคยมีความผิดใดๆมาก่อน

ขอประทานโทษที่ผมไม่ทราบจริงๆว่าผู้ที่ถูกประหารชีวิตไปแล้วจะมีโอกาสได้รับอานิสงส์เป็นตัวเงินด้วยหรือไม่ แต่เรื่องยศและบรรดาศักดิ์คงได้คืนแน่

ในช่วงปลายปีนั้นเอง ที่พลโทพระยาเทพหัสดิน ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลเอก และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๑
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:17

ตอน๒ครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง