เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 33430 สารคดี ๒๔๗๕ ออกอากาศทาง Thai PBS
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 20:00

คุณประกอบครับ ความเห็นที่ 81  ไม่รู้จะใช่ อจ คนเดียวกันหรือเปล่านะครับ  แต่ผมเองที่ชื่นชอบและเห็นด้วยกับแกหลายๆประการก็ยังถามคำถามเดียวกับที่คุณประกอบถามเลยครับ

อจ ใหญ่ที่สุด ท่านนั้น ท่านบอกว่าท่านเป็นกัลยาณมิตรของเจ้าจึงต้องติติงตามความจริง (ซึ่งผมเห็นด้วยครับ) แต่ผมก็สงสัยต่อว่าทำไมเวลา เจ้า หรือสถาบัน ถูกใส่ร้ายป้ายสี ทำไมกัลยาณมิตรท่านนี้จึงไม่ออกมาอธิบายปกป้อง ชี้แจงผู้ที่ตนบอกว่าเป็นกัลยาณมิตรด้วยเลย?  หรือ อจ ใหญ่ที่สุดท่านนั้นเห็นด้วยกะเขาไปเสียหมด?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 20:37

อจ ใหญ่ที่สุด ท่านนั้น ท่านบอกว่าท่านเป็นกัลยาณมิตรของเจ้าจึงต้องติติงตามความจริง (ซึ่งผมเห็นด้วยครับ)
เรื่องอื่นไม่มีความเห็นนะคะ เพราะไม่รู้ว่าคุณผกานินีพูดถึงใคร  แต่สะดุดนิดหนึ่งตรงคำที่ขีดเส้นใต้   คือดิฉันได้รับการสั่งสอนมาว่า อย่าตั้งตัวเองเป็นกัลยาณมิตรของใคร    ต้องให้อีกฝ่ายเขาเป็นคนตั้ง  หรืออย่างน้อยเขาต้องเป็นฝ่ายออกปากเรียกเราเอง ถึงจะผ่านการรับรองว่าเป็นกัลยาณมิตรจริง  
ยิ่งถ้าอีกฝ่ายท่านอยู่ในฐานะสูงกว่า จะด้วยวุฒิใดๆก็ตาม   เรายิ่งไม่ควรปริปาก    จะถูกเข้าใจผิดได้ว่าเป็นการยกตัวเองมากกว่ายกท่าน  
คนเป็นมิตรนั้น ติติงกันได้เสมอ แต่ถ้ารักกันจริงก็หาทางส่งสารกันเงียบๆได้   ไม่ต้องประกาศให้คนทั่วโลกที่ไม่ใช่มิตร พลอยได้ฟังไปด้วย  โดยเฉพาะเมื่ออีกฝ่ายไม่อยู่ในฐานะจะมาถกมาเถียงอะไรด้วยได้
แต่ก็อย่างว่าละค่ะ  การสั่งสอนอบรมใดๆนั้นเป็นค่านิยมเฉพาะกลุ่ม    คนเราคิดไม่เหมือนกัน   ไม่งั้นในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ คงไม่เขียนว่า
ฝูงชนกำเนิดคล้าย              คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ          แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน             กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง              อ่อนแก้ฤๅไหว
        
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 21:23

กด LIKE  ความเห็น 91

ทำให้ผมเข้าใจความหมายของคำว่า กัลยาณมิตร ลึกซึ้งเข้าไปอีก
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 03:54

เข้ามาลงชื่อว่ายังคงตามอ่านอยู่ครับ


ขอบพระคุณทุกๆท่านครับผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 05:36

ขอบคุณคุณผกานินี.     และมาทักทายคุณ Diwali. ค่ะ
ก็คงไม่มีอะไรจะพูดมากกว่านี้.  รอท่านอื่นๆออกความเห็นดีกว่า
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 10:21

มีคุณ samun007 มาร่วมสนทนาอีกท่าน

เรื่องของประชาธิปไตยเองมีขอบเขต จริงอยู่ที่ว่ากฏหมายแต่ละประเภทที่ออกก็ไม่ได้ผ่านประชามติ แต่สิ่งที่แตกต่างจากศาสนาพุทธคือกฏหมายต่างๆ ที่สำคัญ ยกเว้นระดับพวกกฏกระทรวงซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นแค่ระเบียบปฏิบัติถูกออกโดยผ่านตัวแทนที่คนส่วนใหญ่เลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนไงครับ  เพราะการให้มหาชนลงมติทุกครั้งเป้นเรื่องที่สิ้นเปลืองและเป็นไปไม่ได้ เราจึงมีระบบการเลือกตัวแทน เลือก ส.ส.  เลือก ส.ว.  ผู้บริหารมีการหมดวาระ
แต่ศาสนาพุทธไม่มีการเลือกตัวแทนโดยณะสงฆ์  พระวินัยทุกข้อพระพุทธองค์ทรงออกเองเมื่อมันมีเหตุให้ต้องมีพระวินัยข้อนั้นๆ  ซึ่งถ้าเทียบกับระบบการออกกฏหมายในสังคมประชาธิปไตยแล้วจะเห็นว่าแตกต่างกัน  


เรื่องการลงมติมหาชน

ส่วนตัวผมมองว่า เรามักจะไปติดกับคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ซึ่งมักจะไปผูกโยงกับคำว่า "งบประมาณ" และ "ตัวแทนของปวงชน"

ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงแล้ว เป็นเพราะบรรดาผู้มีอำนาจตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบันต่าง ละเลย และ เมินเฉย ต่อขนบเดิม ๆ ของคนไทย

เราได้ทำลายรากเหง้าของ "สังคมชนบท" เสียเละเทะ แล้วมุ่งทุกอย่างให้ไปเป็น "สังคมเมืองอย่างยุโรป"  ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง

ความเป็นสังคมชนบทมันได้ซึมอยู่ใน DNA ของคนไทยจนแยกไม่ออกแล้ว ดังจะเห็นได้จากนิสัยการแสดงออกของคนไทยที่ไม่ได้เกิดในกรุงเทพ แต่อพยพเข้ามาทำงานใน
กรุงเทพนั่นเอง (รวมถึงนิสัยของนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ตลอดจนข้าราชการทั้งหลายโดยส่วนมาก)

ถ้าเรานำข้อดีของความเป็นสังคมชนบทตรงนี้มาใช้ได้ ประชาชนก็จะมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้น รู้สึกหวงแหน "อำนาจอธิปไตยของตน" มากขึ้น

ผู้แทนก็จะมีโอกาส "งาบ" น้อยลง , ทหารก็จะไม่มีข้ออ้างออกมาเพ่นพ่านอีก , ข้าราชการที่ไม่ดีก็จะอดอยากปากแห้งกันมากขึ้น ฯลฯ

ตัวอย่างที่ดีที่เห็นได้ว่าสามารถทำได้โดยที่ประชาชนมีส่วนร่วมก็คือ การออกเสียงลงประชามติในการรับร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๐  ซึ่งมีการลงไปให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
กับประชาชน ก่อนที่ประชาชนจะลงมติต่อไป แม้ว่าจะมีการบังคับกลาย ๆ จากผู้มีอำนาจอื่น ๆ ให้รับก็ตาม แต่ผมมองว่าก็ดีกว่าปล่อยให้อำนาจทุกอย่างอยู่กับคนที่มักจะอ้างว่าเป็นตัวแทนประชาชน
ทั้งในส่วนของฝ่ายรัฐหรือฝ่ายค้านซึ่งก็ไม่ได้ดีกว่ากันเท่าไรเลย เพราะจะกลายเป็นว่า มันจะไม่ใช่ประชาธิปไตยจริง ๆ จะกลายเป็น "คณาธิปไตย" แทนครับ

=================================================================

เรื่องของพระพุทธศาสนา

ตามจริงแล้ว พระพุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการปกครองแบบใดแบบหนึ่งมากนัก แต่เน้นไปที่เรื่องของ "ธรรมาธิปไตย" ซึ่งประกอบไปด้วยพระธรรมและพระวินัยมากกว่า

ดังจะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงประทาน ทศพิธราชธรรม สำหรับการปกครองแบบราชาธิปไตย , จักรวรรดิวัตร ๑๒ สำหรับการปกครองแบบจักรวรรดิ หรือจะเป็น อปริหานิยธรรม ๗
สำหรับการปกครองในแบบคณาธิปไตย

ซึ่งก็เป็นจริงตามสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ เพราะในหน้าประวัติศาสตร์ ไม่มีระบอบการปกครองไหนจะยั่งยืนและดีที่สุด ทุกระบอบมีขึ้นมีลง มีเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
ขึ้นแล้วกับว่าผู้ปกครองในแต่ละระบบจะสามารถประพฤติตัวตามธรรมาธิปไตยที่เหมาะกับรูปแบบการปกครองนั้น ๆ ได้ดีมากน้อยแค่ไหน  ถ้ายึดถือและปฏิบัติได้ดีมาก ผู้ปกครอง
ก็จะปกคกรองได้นาน แต่ถ้าเมื่อไรที่ละเลย ก็จะอยู่ได้ไม่นาน จนสุดท้ายก็จะสลายตัวไปในที่สุดครับ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 16:50

รับฟังทุกความเห็น แต่บางคนความคิดฟิกซด์เป็นแผ่นเสียงตกร่อง น่าเบื่อ
เราอ่านหนังสือพอๆกับท่าน รู้เห็นเหมือนท่าน
เรียนมาไม่น้อยกว่าท่านแม้ไม่ใช่ด้านการเมืองการปกครองโดยตรง
จึงพอมีความเห็นเป็นของตัวเองเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องไปตามก้นท่าน
การปฎิวัติ การกบถ การใช้กำลัง ล้วนเพื่ออำนาจตัวเองทั้งนั้น
ไอ้ที่อ้างโน้นอ้างนี้ อ้างเพื่อประชาชน มันการแก้ตัว   
สุดท้ายคงหนีไม่พ้นความจริงไปได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 24 มิ.ย. 16, 08:47

จากวันนั้น ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถึง วันนี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙

เจ็ดรอบนักษัตร      อธิปัตย์ของประชา
มุ่งมั่นฝ่าฟันหา       ยังไม่ครบจบกระบวน


อนุสาวรีย์สร้างเสร็จ แต่ประชาธิปไตยยังสร้างไม่เสร็จ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 24 มิ.ย. 16, 11:02

การปฏิวัติมิได้จบแค่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เห็นไหมครับ เดี๋ยวนี้ถึงแม้ตัวแสดงจะเปลี่ยนไป แต่การสู้รบกันเองที่ทุกฝ่ายต่างอ้างว่าเพื่อประชาธิปไตยในเมืองไทยยังไม่เคยจบได้สนิทเลย ยังจะต้องมีการเสียเลือดเสียเนื้ออีกหรือเปล่าก็ไม่รู้
   
ผมขออัญเชิญพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯพระราชทานแก่นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๕ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วมาให้อ่าน ท่านคงจะเข้าใจได้ว่า การขาดการศึกษาของคนไทยนั้นไม่ได้มีความหมายแค่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หากขาดพื้นฐานที่จะสามารถเข้าใจความเป็นประชาธิปไตย ดังที่ประเทศต้นแบบเขาปลูกฝังให้ประชาชนตั้งแต่วัยเรียน

"เมื่อเราจะปกครองแบบรัฐสภาแล้ว  ก็ต้องมีคณะการเมืองเป็นธรรมดา  เกมการเมืองก็ย่อมต้องมีกฎของเกมเหมือนกัน  ถ้าเราเล่นผิดกฎการเมืองก็ย่อมจะมีผลเสียหายได้มากทีเดียว  เพราะการปกครองแบบเดโมคราซีย่อมต้องมีการแพ้และชนะ  ซึ่งถือเอาตามเสียงของหมู่มากว่าฝ่ายใดแพ้และชนะ  เพราะคณะการเมืองย่อมมีความเห็นต่างๆ กันเป็นธรรมดา  ต่างฝ่ายก็ต้องมุ่งที่จะให้หมู่มากเห็นด้วยกับตน  และเลือกตนเข้าเป็นรัฐบาล  ฝ่ายไหนประชาชนส่วนมากเห็นด้วยฝ่ายนั้นก็เป็นผู้ชนะ  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เมื่อเวลาจะพูดชักชวนให้ประชาชนลงความเห็นด้วยกับตนนั้น  ถ้าเราใช้วิธีโกงต่างๆ เช่นติดสินบนหรือข่มขืนน้ำใจก็ต้องเรียกว่าเล่นผิดเกมการเมืองโดยแท้  ต้องพูดให้คนอื่นเห็นตามโดยโวหารและโดยชอบธรรมจึงจะถูกกฎของเกม  การปกครองแบบเดโมคราซีนั้น  ผู้ที่ชนะแล้วได้เข้ามาปกครองบ้านเมือง  ก็ควรจะต้องนึกถึงน้ำใจของฝ่ายน้อยที่แพ้เหมือนกัน  ไม่ใช่ว่าเราชนะแล้วก็จะหาวิธีกดขี่ข่มเหงผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ต่างๆนานาหาได้ไม่  ย่อมต้องมุ่งปกครองเพื่อประโยชน์ของคณะต่างๆ ทั้งหมด  ส่วนผู้ที่แพ้ก็เหมือนกัน  เมื่อแพ้แล้วก็ต้องยอมรับว่าตนแพ้ในความคิดในโวหาร  แพ้เพราะประชาชนส่วนมากไม่เห็นด้วย  เมื่อแพ้แล้วถ้าตั้งกองวิวาทเรื่อย  บอกว่าถึงแม้คะแนนโหวตแพ้ กำหมัดยังไม่แพ้ เช่นนั้นแล้วความเรียบร้อยจะมีไม่ได้  คงได้เกิดตีกันหัวแตกเต็มไป  ฝ่ายผู้แพ้ควรต้องนึกว่า  คราวนี้เราแพ้แล้วต้องไม่ขัดขวางหรือขัดคอพวกที่ชนะอย่างใดเลย  ต้องปล่อยให้เขาดำเนินการตามความเห็นชอบของเขา  ต่อไปภายหน้าเราอาจเป็นฝ่ายที่ชนะได้เหมือนกัน  น้ำใจที่เป็นนักกีฬาที่เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่ง  ก็คือว่าเราต้องเล่นสำหรับคณะเป็นส่วนรวม  แม้ในโรงเรียนเรานี้แบ่งออกเป็นคณะต่างๆ  เมื่อเล่นแข่งขันในระหว่างคณะ  เราก็เล่นสำหรับคณะของเราเพื่อให้คณะของเราชนะ  แต่เมื่อโรงเรียนทั้งโรงเรียนไปเล่นเกมกับโรงเรียนอื่น  ไม่ว่าคณะใดก็ตามต้องร่วมใจกันเล่นเพื่อโรงเรียนอย่างเดียวเท่านั้น  เวลานั้นต้องลืมว่าเราเคยแบ่งเป็นคณะ  เคยแข่งขันกันมาในระหว่างคณะอย่างไรต้องลืมหมด  ต้องมุ่งเล่นเพื่อโรงเรียนอย่างเดียวเท่านั้น  สำหรับประเทศชาติความข้อนี้เป็นของสำคัญอย่างยิ่งเหมือนกัน  เพราะตามธรรมดาย่อมต้องมีคณะการเมืองคณะต่างๆ ซึ่งมีความเห็นต่างๆ กัน  แต่เมื่อถึงคราวที่จะต้องนึกถึงประเทศแล้ว  ต่างคณะต้องต่างร่วมใจกันนึกถึงประโยชน์ของประเทศอย่างเดียวเป็นใหญ่  ต้องลืมความเห็นที่แตกต่างกันนั้นหมด  ถึงจะเคยน้อยอกน้อยใจกันมาอย่างไร  ต้องลืมหมด  ต้องฝังเสียหมด  ต้องนึกถึงประโยชน์ของประเทศของตนเท่านั้น  จะนึกเห็นแก่ตัวไม่ได้  อย่างนี้จึงจะเรียกว่ามีใจเป็นนักกีฬาแท้  เป็นของจำเป็นที่จะต้องปลูกให้คนมีน้ำใจอย่างนั้น  จึงจะปกครองอย่างแบบเดโมคราซีได้ดี"
   
ประชาธิปไตยในพระบรมราโชวาทคงไม่มีโอกาสได้เห็นในประเทศนี้ เพราะต้นประชาธิปไตยที่คณะราษฎรนำมาปลูกให้กับสยามนั้น เล่นกันแบบกติกามวยวัด
และตราบใดที่การศึกษาของชาติยังล้าหลัง เราก็คงจะเล่นมวยวัดกันไปทุกเรื่อง ไม่เฉพาะแต่การเมืองด้วยครับ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 24 มิ.ย. 16, 13:38

พระบรมราโชวาทที่ท่านอ.นวรัตน์ดอทซียกมาช่างตรงกับใจดิฉันเหลือเกินค่ะ ทุกวันนี้คนไทยยังเอาตนเอง พวกตนเอง กลุ่มตนเองเป็นหลัก ไม่เคยคิดถึงประเทศชาติเลย ดิฉันมองการเมืองไทยเคยนึกถึงประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่านักการเมืองฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลจะมีความเห็นที่ขัดแย็งกันอย่างไร แต่พอมีอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประเทศชาติแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นแก่ประเทศชาติบ้านเมืองตัวเองก่อนเป็นหลัก ฝ่ายค้านยอมถอยให้กับรัฐบาลเมื่อเห็นว่านั่นเป็นผลประโยชน์ของชาติ ไม่มีการดื้อดึงจะเอาชนะให้ได้เพราะเห็นว่ารัฐบาลกำลังเพลี่ยงพล้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันไม่เคยเห็นในการเมืองไทยเลย ดิฉันเห็นแต่เมื่อฝ่ายใดล้มอีกฝ่ายพร้อมจะเหยียบซ้ำให้มันจมดิ แล้วประเทศชาติจะไปอยู่ได้อย่างไร ทุกวันนี้คืออยู่โดยวางอุเบกขา ถือเสียว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมค่ะ ร้องไห้
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 24 มิ.ย. 17, 08:58

จากวันนั้น ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ถึง วันนี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐

ขวบปีแปดสิบห้า             ประทับตรามิลืมเลือน
ยักย้ายคลายคล้อยเคลื่อน  มิสะเทือนเตือนให้จำ


บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้านั้น ด้านทิศเหนือจะเป็นพระที่นั่งอนันตสมาคม ด้านทิศตะวันตกจะเป็นสวนอัมพร
ด้านทิศตะวันออกจะเป็นสนามเสือป่า และด้านทิศใต้เป็นถนนราชดำเนินนอก

บนพื้นทางด้านขวาของพระบรมรูปทรงม้าจะมีเส้นตีไปทางขวาเข้าหาประตูทางเข้าสนามเสือป่า

บนแนวเส้นนั้นจะมีหมุดโลหะฝังอยู่บนพื้นถนน  นิยมเรียกกันว่า หมุดคณะราษฎร เป็นตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร มีข้อความว่า

"ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"




บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 28 มิ.ย. 17, 22:11

ขอเสนอความเห็นในแง่อาถรรพ์วิทยาครับ

เป็นไปได้มั้ยครับว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นไม่พัฒนาสักทีล้มลุกคลุกคลานอยู่เรื่อยเพราะการสร้างอนุสาวรีย์นี่เอง(ฮาาาา)

เพราะตามธรรมเนียมการสร้างอนุสาวรีย์ จะสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ในด้านต่างๆของบุคคล"ที่ล่วงลับไปแล้ว"

แต่ประเทศไทยเรากลับสร้างอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงประชาธิปไตย แล้วประชาธิปไตยของไทยล่วงลับไปแล้วยังงั้นหรือ? 

นี่มันเหมือนกับทำเพื่อแช่งชักการปกครองของประเทศชัดๆ  (ฮาๆๆๆ)
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 29 มิ.ย. 17, 09:36

ผมลอง search google ด้วยคำว่า 'democracy monument'

ผลที่ได้ ฌ เวลานี้ ดูเหมือนจะมีที่เดียวในโลกนะครับ
คือ ที่ถนนราชดำเนิน บ้านเรา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 01 ก.ค. 17, 07:52

บุคคลทั้งสามในภาพ คือผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475
จากซ้าย นายควง อภัยวงศ์ หรือหลวงโกวิทอภัยวงศ์  อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย   คนกลาง  นายปรีดี พนมยงค์      และขวา นายชม จารุรัตน์ หรือหลวงคหกรรมบดี  อดีตรัฐมนตรี
ทั้งสามคนเป็นนักเรียนไทยในปารีส   เป็นเพื่อนสนิทซึ่งวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองมาด้วยกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 01 ก.ค. 17, 09:56

มีบางท่านได้นำมาเล่าสู่กันฟังแล้ว
ยังคงมีหลายท่านน่าจะนำมาเล่ากันต่อไป
ที่นี้หรือที่อื่นๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.259 วินาที กับ 19 คำสั่ง