เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 33592 สารคดี ๒๔๗๕ ออกอากาศทาง Thai PBS
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 09:48


ส่วนเรื่องศาสนาพุทธ ผมเห็นด้วยกับท่าน(อาจารย์)นวรัตนนะครับว่าศาสนาพุทธ ถ้าใช้นิยามคำว่าประชาธิปไตยแบบสมัยปัจจุบัน ศาสนาพุทธคงไม่ใช่ศาสนาประชาธิปไตย  เพราะไม่ได้ใช้หลักความเห็นของคนหมู่มากในการตัดสินทุกสิ่งทุกอย่าง
แต่สิ่งที่ต่างกันคือศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาแห่งการใช้เหตุผล  อย่างพระวินัยต่างๆ ที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้น  บัญญัติขึ้นอย่างไม่เป็นประชาธิปไตย คือพระพุทธองค์ไม่ได้ถามความเห็นจากคณะสงฆ์  ไม่มีการโหวตหรืออภิปราย แต่ทุกข้อจะมีที่มาที่ไป และทรงมีเหตุผลกำกับเสมอ ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องทรงบัญญัติพระวินัยข้อนั้นๆ ขึ้นมา

ถ้ามีประชาธิปไตย แต่ไม่มีเหตุผล สุดท้ายสังคมประชาธิปไตยนั้นก็ต้องล่มสลายไป ดูตัวอย่างการขึ้นครองอำนาจของฮิตเลอร์ได้ ขึ้นมาจากระบอบประชาธิไตย แต่สุดท้ายคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่มีเหตุผล ไม่มีสติ เป็นที่มาของการฆ่าฟันนองเลือดเดือดร้อนไปทั้งโลก

แต่ถ้าทั้งสังคมใช้แต่เหตุผล  ทุกคนมองผลประโยชน์ของส่วนรวมก่อนเป็นหลัก เคารพซึ่งกันและกัน  ประชาธิปไตยก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสังคมนั้นๆ


ขออนุญาตร่วมสนทนาครับ

ในประชาธิปไตยเอง ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบไม่มีขอบเขตนี่ครับ เพราะถึงที่สุดแล้วประชาธิปไตยก็ต้องมีรัฐธรรมนูญ , พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฏีกา, กฎกระทรวง ฯลฯ
ซึ่งถ้าว่ากันตามจริง กฎหมายทุกประเภทที่ว่ามานี้ ก็ไม่ได้ผ่านการรับฟังประชามติ หรือไม่ได้มีการให้ประชาชนลงคะแนนเสียงว่าจะเลือกรับหรือไม่รับกฎหมายเหล่านี้ทุกประเภท

รัฐธรรมนูญมีการให้ลงคะแนนยอมรับหรือไม่ก็จริง แต่กฎหมายอื่นไม่มีการให้ลงคะแนนเลย ถ้ามองในมุมที่ว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วม ผมเดาว่าก็ยังไม่ใช่ประชาธิปไตยอยู่ดีครับ

ย้อนกลับมาเรื่องพระวินัย จริง ๆ แล้วในตอนต้น พระสงฆ์ทั้งหลายท่านมีจุดประสงค์บวชเข้ามเพื่อละกิเลส เพราะฉะนั้นท่านเหล่านั้นก็จะมุ่งทำหน้าที่ละกิเลสอย่างเดียว โอกาสที่จะไปทำอะไรที่มันนอกลู่นอกท่าก็น้อย ภายหลังสมมติสงฆ์ที่เป็นปุถุชน ที่ไม่ได้ต้องการจะละกิเลสจริงจัง แต่มาหากินกับพระพุทธศาสนาบวชเข้ามามากขึ้น บุคคลเหล่านี้ก็ย่อมหาทางทำในสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำ เพราะว่าไม่มีกฎบังคับไว้
จึงทำให้เกิดเป็นที่มาของพระวินัยขึ้น

เพราะฉะนั้น การที่จะมองว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ผมคิดว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่จะต้องมองครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 10:57

เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและอยู่ได้นาน
            ครั้งนั้น พระสารีบุตรได้ไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นานและพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน  จึงได้เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาค
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า มีพระศาสนาของพระพุทธเจ้าอยู่สามพระองค์ที่ไม่ดำรงอยู่นาน และอีกสามพระองค์ที่ดำรงอยู่นาน
            พระสารีบุตรจึงทูลถามถึงสาเหตุปัจจัยที่เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า การที่ศาสนาที่ไม่ดำรงอยู่ได้นาน เพราะพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์ ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย  อนึ่ง  สุตตะ  เคยยะ  เวยยากรณะ  คาถา อุทาน  อิติวุตตกะ  ชาดก  อัพภูตธรรม  เวทัลละ  ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้แสดงแก่สาวก เพราะอันตราธานแห่งพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน  ต่างโคตรกัน  ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน เหมือนดอกไม้ต่างพรรณที่กองไว้ ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย กำจัดดอกไม้เหล่านั้นได้
            การที่พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้นาน เพราะพระผู้มีพระภาคทั้งสาม มิได้ทรงท้อพระทัย  เพื่อจะทรงแสดงพระธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย  อนึ่ง  สุตตะ  เคยยะ  เวยยากรณะ  คาถา  อุทาน  อิติวุตตกะ  ชาดก  อัพภูตธรรม  เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามเหล่านั้น สาวกชั้นหลังจึงดำรงพระศาสนา ไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน เหมือนดอกไม้ต่างพรรณที่กองไว้ ใช้ด้ายร้อยไว้ดีแล้ว ลมย่อมกระจาย กำจัดดอกไม้เหล่านั้นไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 13:44

ขอเป็นเรื่องสุดท้าย

ผมฟังๆเขาอภิปรายกัน พยายามทำใจเปิดรับความคิดเห็นของแต่ละท่านมาวิเคราะห์ว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อะไรทำให้ประชาธิปไตยของไทยสะดุดอยู่เสมอ คำตอบก็คือ การปฏิวัติของทหาร ถ้าจะพูดให้ถูก ต้องพูดว่า ทหารการเมืองทำการปฏิวัติ เพราะเอาชนะนักการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยไม่ได้ นอกจากจะใช้กำลังอาวุธ
ทว่าสมัยหลังๆมานี่ ทหารถูกต้อนเข้ากรมกอง มิได้ออกมาเล่นการเมืองวุ่นวายอยู่ในสภาเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่คุณภาพของนักการเมืองก็มิได้ดีขึ้น เป็นเหตุให้ทหารสามารถใช้เป็นข้ออ้างที่ออกจากกรมกองมาขับไล่ออกไป และประชาชนนับเป็นเปอร์เซนต์ไม่น้อยเลยเห็นด้วย

แทนที่จะช่วยกันชำระนักการเมืองปากมอมทั้งหลาย ป้องกันไม่ให้เข้ามาโกงกินชาติ นักวิชาการและกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่าเป็นพวกหัวก้าวหน้าจำนวนหนึ่งกลับพุ่งเป้าไปที่พระราชอำนาจ
ในสารคดีทางทีวีที่กำลังพูดถึงกันอยู่นี้ วิทยาการบางท่านก็ได้พูดถึงพระราชอำนาจที่เกินมาจากรัฐธรรมนูญปี๒๔๗๕ ฟังประหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่เกินจากขอบเขตที่ระบอบประชาธิปไตยกำหนด

ผมเพิ่งจะสนใจในคราวนี้ว่า มันมีที่มาที่ไปอย่างไร จึงเข้าเน็ทไปค้นคว้ามาให้ดูด้วยกัน สงสัยว่าจะมีที่มาจากอันนี้

"สาร" (message) จากปรีดี พนมยงค์ ถึง ในหลวงภูมิพล เมื่อปี 2516: "พระราชปิตุลาทรงให้สัตยาธิษฐานไว้แล้วว่า พระราชปิตุลาและพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีองค์ต่อๆไปทุกพระองค์ จะต้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และไม่ลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญที่ได้มาจากการยึดอำนาจที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ"

จากบทความของ
"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


บทความเดิม :
http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=18143.0


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 13:50

ผมขอนำความเห็นของท่านผู้หนึ่งที่ผมอ่านแล้วคิดว่าผมมีความเห็นเหมือนกันแทบทั้งหมดมาลงแทนที่ผมจะเขียนเอง ดังนี้ครับ

Submitted by บางกอก (visitor) on Mon, 2010-12-06 11:43.

http://prachatai.com/journal/2010/12/32177

ผมได้อ่านบทความของปรีดี จากที่สมศักดิ์เจียมlinkไว้ให้แล้วครับ...ขอบคุณมาก อยากจะให้ความเห็นต่างจาก สมศักดิ์เจียมบ้างดังนี้

ร.๗ พระยาพหล พระยามโน และปรีดี ได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญ๑๐ธค.๒๔๗๕ ขึ้นมาเพื่อหวังไว้ใช้ปกครองสยาม ร.๗ท่านทรงงานนี้ละเอียดมากเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการเมืองสังคมเศรษฐกิจในยุคนั้นอย่างแท้จริง
ปรีดีเองหลังจากเฟอะฟะเขียนประกาศคณะราษฏรฉบับที่๑ ก็พึ่งได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน ทำความเข้าใจเจตน์จำนงของพระองค์ท่าน และยอมรับความคิดเห็นทุกประการของพระองค์ท่าน
..กรณีกบฎบวรเดชนั้นชัดเจนยิ่ง และ ต้องถือว่า ร.๗ได้ใจคณะราษฏรฝ่ายประชาธิปไตย
แต่กรณีกบฏบวรเดชนั้นในขณะเดียวกันก็สร้างฐานอำนาจให้คณะราษฎรฝ่ายเผด็จการทหาร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้กันเองภายในคณะราษฎร ตั้งแต่บัดนั้นมาจน จอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ

ในหลวงรัฐกาลที่๗ ท่านรักษาสัตย์ต่อรัฐธรรมนูญที่พระองค์ท่านมีส่วนร่วมร่าง คือฉบับเต็ม๒๔๗๕ เท่านั้นครับ จะเหมารวมว่าพระองค์ท่านต้องการให้กษัตริย์พระองค์อื่นต้องกระทำเช่นเดียวกันกับรัฐธรรมนูญฉบับอื่นนั้น เห็นจะเป็นตรรกะที่รับไม่ได้

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า..
ตั้งแต่ ร.๗ สละราชย์ยาวนานมาจนก่อนตุลา๑๖นั้น สถาบันกษัตริย์นั้นไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงกับระบอบการปกครองไทยเลยครับ เรื่องร่วมร่างรัฐธรรมนูญนั้นยิ่งเป็นไปได้ยากมาก คณะราษฏร คณะทหาร และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่แต่งตั้งกันขึ้น ล้วนแอบอ้างสถาบันกษัตริย์ เอาไปใช้หลอกลวงประชาชนทั้งสิ้น ปรีดีกับจอมพลป.นั้น ก็พระเอกกับผู้ร้ายแบบผลัดกันเป็น ก่อน๒๔๘๙ ปรีดีเล่นบทพระเอก อ้าว หลังจากนั้น ดันถูกหาว่าเป็นผู้ร้ายไปแล้ว

ตุลา๑๖นั้น..........แท้จริงแล้วมหาประชาชนทั้งสิ้นครับไม่ใช่นักการเมืองหรือทหาร ที่ได้ร่วมกัน นำเอาสถาบันกษัตริย์กลับมาเป็นหลัก ให้กับประเทศไทยอีกครั้ง.....ความสำเร็จของสถาบันกษัตริย์ไทยนั้น ไม่ได้เกิดมาแบบฟลุ๊กๆ หรือมีเทพอุ้มสมแต่ประการใด แต่ด้วย พระราชกรณียกิจ ที่ทำให้มหาประชาชน เป็นเวลา ๒๗ปี ก่อนเหตุการณ์นั้น ที่ทำให้ประชาชนยอมรับว่า ประชาชนหวังพึ่งสถาบันกษัตริย์ได้ ในยามบ้านเมืองไม่มีทางออก.......

อนึ่ง...ตัวบทความของปรีดีนั้นยกตัวอย่างกรณีของอิตาลี และญี่ปุ่น ที่สถาบันกษัตริย์ใช้อำนาจจอมทัพ อย่างได้ผลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่มหาประชาชน อะไรไปบังตาสมศักดิ์เจียมหรือครับ ถึงกล่าวถึงเฉพาะกรณี ภูฐาน ประเทศกระจ้อยร่อยนักถ้าเอามาเทียบกับประเทศไทย..
บทความของปรีดียังพูดถึงการใช้ระบบแต่งตั้งพฤฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ๒๔๗๕ ที่ทั้งปรีดีและร.๗ มีความเห็นสอดคล้องกันว่าให้ใช้เป็นบทเฉพาะกาล ซึ่งก็คล้ายคลึงกับวุฒิสภาแบบแต่งตั้งของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน.......สมศักดิ์ น่าจะพูดถึงด้วยไหมครับ.........

ประวัติศาสตร์นั้นถ้าถูกบันทึกไว้ถูกต้องแน่นอน มันก็ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ทำการศึกษาว่า ปัจจัยและผลลัพธ์ของแต่ละเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลต่อเนื่องอย่างไร ในทัศนะของผู้ศึกษาแต่ละคน.....
คงไม่มีใครผิดทั้งหมดถูกทั้งหมดได้ ในมุมมองของคนอื่น......ซตพ.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 13:55

ขอเพิ่มเติมว่า ผมเห็นด้วยกับวิทยากรหลายท่านที่กล่าวว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่มีรูปแบบตายตัว รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศจึงหลากหลายไปด้วยบทบัญญัติที่เหมาะสมสำหรับประเทศนั้นๆ ประเทศไทยที่มีอายุความของระบอบนี้มา๘๐ปี ก็น่าจะมีรูปแบบของเราเองที่เอาไว้ป้องกันปัญหาเดิมๆ ที่ประชาชนมีการศึกษาไม่พอที่จะทันเล่ห์ของนักการเมือง ทำให้ผู้ที่ด้อยคุณภาพทางจริยธรรมซื้อเสียงเข้ามาสู่สภาและจัดตั้งรัฐบาลได้

แต่ถ้าหลุดเข้ามาแล้ว จะใช้อะไรถ่วงดุลได้โดยทหารไม่ต้องออกมาทำลายบรรยากาศบ้านเมืองเล่า  ก็หากประเทศเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง มีคณะองคมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตตามชีวประวัติอันเป็นที่พิสูจน์แล้ว คงจะทำหน้าที่กลั่นกรองเรื่องต่างๆที่จะต้องมีพระบรมราชวินิจฉัย เพื่อถวายความเห็นก่อนจะทรงลงพระปรมาธิไภยให้บังคับใช้ตามกฎหมาย ไม่ได้เป็นตรายางเหมือนที่สมัยหลวงพิบูลกระทำกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผลดีนั้นย่อมเกิดกับประชาชนใช่หรือไม่

ถ้าจะให้ประชาชนเชื่อใคร ระหว่างพระมหากษัตริย์กับนักการเมือง  ผมขอตะโกนออกมาจากหน้าประวัติศาสตร์ ให้ดังมาถึงปัจจุบันเลยครับ ว่า

“เรารักในหลวง”


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 14:01

^


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 14:27

มีคุณ samun007 มาร่วมสนทนาอีกท่าน

เรื่องของประชาธิปไตยเองมีขอบเขต จริงอยู่ที่ว่ากฏหมายแต่ละประเภทที่ออกก็ไม่ได้ผ่านประชามติ แต่สิ่งที่แตกต่างจากศาสนาพุทธคือกฏหมายต่างๆ ที่สำคัญ ยกเว้นระดับพวกกฏกระทรวงซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นแค่ระเบียบปฏิบัติถูกออกโดยผ่านตัวแทนที่คนส่วนใหญ่เลือกเข้าไปทำหน้าที่แทนไงครับ  เพราะการให้มหาชนลงมติทุกครั้งเป้นเรื่องที่สิ้นเปลืองและเป็นไปไม่ได้ เราจึงมีระบบการเลือกตัวแทน เลือก ส.ส.  เลือก ส.ว.  ผู้บริหารมีการหมดวาระ
แต่ศาสนาพุทธไม่มีการเลือกตัวแทนโดยณะสงฆ์  พระวินัยทุกข้อพระพุทธองค์ทรงออกเองเมื่อมันมีเหตุให้ต้องมีพระวินัยข้อนั้นๆ  ซึ่งถ้าเทียบกับระบบการออกกฏหมายในสังคมประชาธิปไตยแล้วจะเห็นว่าแตกต่างกัน  

ผมเองเป็นสมาชิก facebook ของ ............ เพราะผมเองติดตามทั้งฝ่ายไม่นิยมสถาบันฯ และฝ่ายนิยมสถาบันฯ  ผมเองก็แปลกใจว่าทำไม อ. แกมีความเกลียดชังมากขนาดนั้น คือแกมองทุกอย่างของสถาบันฯเป็นลบไปหมด ซึ่งอคติเหล่านี้ทำให้แกมองมุมอื่นๆ ที่ดีของสถาบันฯไม่เห็น และโยนปัญหาทุกอย่างไปที่ฝ่ายเจ้าหมด ในขณะที่ออกจะเกรงใจและไม่วิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายการเมืองฝั่งแดงๆ เช่นพวก นปช.  ซึ่งมีภาพลักษณ์ไม่นิยมสถาบัน แต่สมประโยชน์เข้ากับความชอบส่วนตัวของแก ดังนั้นแกจะยั้งๆ ไม่วิจารณ์ฝั่งนี้รุนแรงเท่าที่แกแสดงออกต่อสถาบัน ทั้งเรื่องการคอรัปชั่น แกไม่เคยพูดถึง  หรือการปล่อยให้แนวร่วมที่โดนเล่นงานด้วยกฏหมายหมิ่นฯอยู่ในคุก เห็นแกได้แต่บ่นน้อยอกน้อยใจ แต่ไม่กล้าต่อว่ารุนแรงทั้งที่ฝั่งที่แกเชียร์กำลังมีอำนาจในตอนนี้ แต่แกกล้าประชดประชันสถาบันฯแบบไม่เกรงกลัว ทำให้ไม่มีสมดุลในความเห็นต่างๆ ของแก


และแบบที่ผมเคยแสดงความเห็นมาก่อนหน้า ปัญหาของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ตอนนี้คือคนจำนวนมากนิยมฟังหรือเชื่อสิ่งที่ตัวเองอยากฟังอยากเชื่อ มากกว่าไปล้วงลึกหาข้อเท็จจริงหรือเหตุผลมาชั่งน้ำหนัก แถมสื่อในบ้านเราก็แทบจะพึ่งพาไม่ได้ โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก เพราะมักจะนำเสนอข้อมูลด้านเดียว คือด้านที่ผู้บริหารสื่อนั้นๆ สังกัดหรือนิยม และเลี่ยงที่จะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่อาจจะสร้างความไม่พอใจแก่ผู้มีอำนาจฝ่ายต่างๆ ในสังคมซะอีก ทำให้โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลของคนในสังคมมีน้อยมากๆ และเป็นที่มาของประเทศหยุดพัฒนาในขณะนี้ ในขณะที่ประเทศรอบๆ บ้านเราปรับตัวกันขนานใหญ่เพื่ออนาคต แต่ประเทศเรากำลังใช้เกมส์การเมืองและนโยบายประชานิยมทำลายตัวเองอย่างขนานใหญ่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ก.ค. 12, 14:31 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 14:29

หวังว่ากระทู้นี้คงไม่ก่อความให้เกิดซีเรียสกันมากนัก  
ขอความเห็นใจท่านนวรัตน และท่านอื่นๆที่เข้ามาอ่าน   กรุณาอย่าซีเรียส หรือถือเป็นจริงเป็นจังกับบุคคลใด -ไม่ว่าได้ชื่อว่าเป็นนักวิชาการหรือไม่ใช่นักวิชาการ- ที่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- เชิดชูสังคมนิยมในไทย   โดยไม่รู้ว่าประเทศแม่ของสังคมนิยมอย่างจีนและรัสเซีย เขาเลิกระบบคอมมูนกันไปนานแล้ว   ตอนนี้รัสเซียก็รูดม่านเหล็ก   เปิดประเทศให้คนเข้าไปท่องเที่ยว   ชื่อเมืองเลนินกราดที่ตั้งเป็นอนุสรณ์ถึงเลนินผู้นำคอมมิวนิสต์ก็เลิกใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2534  เปลี่ยนกลับเป็นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่สร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช ตามเดิม    ส่วนจีนนั้นก็พัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี่ไม่หยุดยั้ง  ขายสินค้าทั่วโลกรวมทั้งอเมริกา  นำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ จนบัดนี้ว่ากันว่ามหาเศรษฐีจีนเกิดใหม่เฉลี่ยแล้ววันละคน
- เทิดทูนนายทุนบิ๊กๆ  ควบคู่ไปกับแนวคิดสังคมนิยม  โดยไม่รู้ว่าอีกน่ะแหละ   ว่าของสองอย่างนี้มันตรงกันข้ามเหมือนน้ำกับน้ำมัน   อยู่รวมกันไม่ได้
- ยังมีความจำเป็นต้องใช้ชีวิตอย่างชาวเมืองหลวง  ไม่อาจไปตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรมอยู่ในที่ห่างไกล    จำเป็นต้องไปธุระ หรือดูงานต่างประเทศในบางครั้ง  โดยเฉพาะประเทศของนายทุน
- พูดซ้ำๆ เป็นพิมพ์เดียวกันเหมือนท่องตามกันมา  จากก๊อปปี้เมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 14:33

ฮิฮิ  สงสัยจะรุนแรงไป ต้องให้ท่านอาจารย์ใหญ่เอาไม่เรียวมาตี อายจัง
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 15:24

อ้างถึง
หวังว่ากระทู้นี้คงไม่ก่อความให้เกิดซีเรียสกันมากนัก    ขอความเห็นใจท่านนวรัตน

ผมมีจุดยืนที่มั่นคง คือเน้นประวัติศาสตร์ที่นิ่งแล้ว และหลีกเลี่ยงที่จะแสดงความเห็นกับการเมืองที่ยังไม่นิ่งจนใสเห็นพื้นในปัจจุบัน โดยให้ความเคารพต่อความเห็นของปัจเจกบุคคลที่แสดงออกมาจากใจจริง หากแต่ละท่านแสดงออกอย่างไม่เสแสร้ง

และสิ่งที่ผมอยากจะเขียนตามสิทธิที่เป็นพลเมืองในประเทศประชาธิปไตย ก็จบไปตั้งแต่บรรทัดโน้นแล้วครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 17:20

ปัญหาที่ท่านอาจารย์ใหญ่ยกมาน่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากลัทธิบูชาหนังสือหรือตำราจนเกินเหตุ
ข้างฝ่ายนักวิชาการก็มีทฤษฎีที่ร่ำเรียนมาจากตะวันตก  แล้วก็นำทฤษฎีนั้นมาใช้วิเคราะห์ปัญหาแบบไทยๆ
ทั้งที่สังคมไทยกับสังคมตะวันตกนั้นต่างกัน  อีกทั้งยังขาดสำนึกที่จะขวนขวายศึกษาเอกสารหลักฐาน
ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติม  ผู้ใดเขียนอะไรไว้ก็หลับหูหลับตาเชื่อตามกันเป็นลัทธิเอาอย่าง  เราจึงได้ดู
สารคดีที่จบไปแบบแปร่งๆ เช่นนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 17:40

ความเห็นของคุณ V_Mee ทำให้ดิฉันนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาได้   เป็นหนังสือเก่าแก่ เดิมเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยนักเขียนชาวอิตาเลียน   มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้เท่าทันการรัฐประหาร จะได้ไม่เสียท่าให้อีกฝ่ายรัฐประหารเอาได้    แต่เป็นความเคราะห์ร้ายของนักเขียน ที่หนังสือเล่มนี้กลายเป็นมีดสองคม    เพราะมุสโสลินีกลับมองเห็นว่า นี่คือหนังสือบอกเคล็ดลับวิธีรัฐประหารกันชัดๆนี่นา    ก็เลยจับนักเขียนเข้าคุกอยู่หลายเดือน ก่อนจะเนรเทศปล่อยเกาะอีกหลายปี
หนังสือเล่มนี้ไม่มีขายตามร้าน    มีผู้สั่งเพื่อนฝูงให้ซื้อส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยให้ฉีกปกออกเสียก่อน เพราะชื่อมันอันตราย   แล้วมอบให้จอมพลป. ด้วยมิตรภาพอันดีต่อกันในสมัยที่ยังเป็นมิตรกันอยู่   คนสั่งคือดร.ปรีดี พนมยงค์        ว่ากันว่าจอมพลป.ท่านอ่านแล้วก็ได้แนวคิดมาบริหารบ้านเมือง  รวมทั้งบริหารเพื่อนผู้ส่งหนังสือให้ท่านด้วย  จริงเท็จอย่างไรไม่แจ้ง เขาเขียนเล่าอย่างนี้มาอีกต่อหนึ่ง

ชื่อฝรั่งเศสของหนังสือเล่มนี้แปลเป็นไทยว่า กลวิธีของการรัฐประหาร   มีคนนำมาแปลเป็นไทย  แต่ขอไม่ลงฉบับแปล  เพราะไม่อยากให้เป็นการโฆษณาขายหนังสือในเรือนไทยค่ะ


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 18:45

บังเอิญไปเจอพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เรื่อง "โคลนติดล้อ" ซึ่งเมื่อผมอ่านแล้วทำให้รู้สึกว่า ภูมิใจที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาและห่วงใยบ้านเมือง

โคลนติดล้อ

ในการกระทำความติดต่อซึ่งกันและกันในหมู่นานาประเทศนั้น บางทีก็เหลือที่จะแก้ไขป้องกันมิให้เครื่องกีดขวางต่าง ๆ มาติดล้อแห่งความเจริญของชาติได้ ของกีดขวางเหล่านี้ ในชั้นต้นก็ดูไม่สู้จะสลักสำคัญอะไรนัก แต่ครั้นเวลาล่วงไปก็กลับกลายเป็นของใหญ่โตขึ้นทุกที จนถึงวันหนึ่งเราจึ่งรู้สึกว่าแทบจะทนทานไม่ได้

ธรรมดารถซึ่งขับเร็วไปในถนนซึ่งมีโคลน โคลนนั้นก็ย่อมกระเด็นเปรอะเปื้อนรถเป็นธรรมดา และบางทีก็เป็นอันตรายได้โดยเหตุที่ม้าพลาดหรือล้มลง แต่ล้อแห่งรถนั้นในเวลาที่ถึงที่หยุดแล้ว จะมีโคลนก้อนใหญ่ๆ ติดอยู่ก็หาไม่ เพราะว่าโคลนซึ่งติดล้อในระหว่างที่เดินทางนั้นได้หลุดกระเด็นไปเสียแล้วด้วยอำนาจความเร็วแห่งรถนั้น ส่วนรถที่ขับช้า ๆ ไปในถนนซึ่งมีโคลนทางเดียวกันย่อมไม่สู้จะเปรอะเปื้อนหรือเป็นอันตรายด้วยเหตุที่ม้าพลาดหรือล้มนั้นจริง แต่ล้อแห่งรถนั้นย่อมจะเต็มไปด้วยโคลนอันใหญ่และเหนียวเตอะตัง ซึ่งนอกจากแลดูไม่เป็นที่จำเริญตาแล้ว ยังสามารถเป็นเครื่องกีดขวางและทำให้ล้อเคลื่อนช้าลงได้

ข้อนี้ย่อมได้แก่ประเทศซึ่งดำเนินไปสู่ความเจริญ หรือซึ่งโดยมากชอบเรียกกันว่า "ความศิวิไลซ์" ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย คือ ญี่ปุ่นเขาได้ดำเนินขึ้นสู่ความเจริญด้วยความรวดเร็วยิ่งนัก ประเทศญี่ปุ่นมีรอยโคลนเปรอะเปื้อนอยู่เป็นอันมาก แต่เราต้องยอมว่าล้อของเขาไม่ใคร่จะมีก้อนโคลนติด

ส่วนประเทศสยามของเรานั้นเล่าเป็นอย่างไรบ้าง ?

เราได้ดำเนินขึ้นสู่ความเจริญด้วยความระวังระไว เพราะว่าเราเห็นควรที่จะใช้สติและความไตร่ตรองดูโดยรอบคอบ และถึงแม้เมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ความเจริญของเรานั้นช้าก็จริงอยู่ แต่ดูเราไม่สู้จะเปรอะเปื้อนมากนัก และตัวรถของเราก็นับได้ว่ายังสะอาดดีอยู่

ส่วนล้อของเรานั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ล้อของเรานั้นหรือมีก้อนโคลนติดกรังไปทั้งล้อ ! รถของเรายังเคลื่อนไปได้จริง แต่ก้อนโคลนเหล่านั้นช่างกีดขวางเสียจริง ๆ เพราะฉะนั้นวันจะมาถึงเข้าวันหนึ่ง ซึ่งเราจะรู้สึกว่า ถึงแม้เราจะต้องเดินเร็วจริงๆ เพื่อให้รอดอันตราย เราก็จะไม่สามารถไปเร็วได้เสียแล้ว

เจ้าของรถที่เขามีสติปัญญา เมื่อได้เห็นโคลนติดล้อของเขามากมายเช่นนั้น ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่เขาจะต้องขวนขวายจัดการเปลื้องโคลนออกเสียจากล้อ ก่อนที่เขาจะเริ่มออกเดินทางต่อไปในที่อันสำคัญไม่ใช่หรือ ?

เราทั้งหลายควรจะลืมตาของเรา และพิจารณาดูก้อนโคลนต่าง ๆ ซึ่งติดอยู่กับล้อแห่งความเจริญของชาติเรา เราจะเห็นได้ว่าโคลนเหล่านี้ บางก้อนได้ติดมานานแล้ว และเป็นการลำบากที่จะเปลื้องออกให้เกลี้ยงได้ในคราวเดียว แต่ถ้าประกอบด้วยวิริยภาพและความบากบั่น เราก็สามารถที่จะชำระโคลนนั้นออกได้หมดในเวลาอันควรเหมือนกัน ของย่อมมีอยู่ บางอย่างที่เราจะเปลี่ยนแปลงได้ทันใดตามความพอใจ เพราะไม่เกี่ยวข้องแก่ผู้ใดนอกจากตัวเราเอง แต่ย่อมมีของบางอย่างเหมือนกัน ซึ่งยากจะเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยเหตุว่ามีผู้อื่นเขามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

เราควรจะพิจารณาในสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวเราเองก่อน และในการพิจารณานี้เราจะได้เห็นของอัศจรรย์ต่าง ๆ มาก ซึ่งจะทำให้เรานึกพิศวงว่าเหตุใดเราจึงคงมีหรือคงทำสิ่งนั้น ๆ อยู่
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 18:52

พระราชนิพนธ์อีกบทหนึ่งคือ





หลักราชการ

"ในสมัยปัจจุบันนี้ใคร ๆ ก็ย่อมทราบอยู่แล้วว่า การศึกษาเจริญขึ้นมากกว่าในเวลาก่อน ๆ นี้เป็นอันมาก และมีตำรับตำราสำหรับสอนศิลปและวิทยาแทบทุกอย่าง เหตุฉะนี้ จึงทำให้คนบางจำพวกหลงไปว่า "รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา" และด้วยความหลงอันนี้จึงเลยทำให้หลงเลยนึกต่อไปว่า ไม่ว่าจะทำการในหน้าที่ใด ๆ ข้อสำคัญมีอยู่อย่างเดียวแต่เพียงจะพยายามให้ได้คะแนนมาก ๆ ทุกคราวที่สอบไล่ในโรงเรียน และให้ได้ประกาศนียบัตรหลาย ๆ ใบ แล้วพอออกจากโรงเรียนก็เป็นอันจะไม่ต้องพยายามทำอะไรอีกต่อไป ทั้งลาภ ทั้งยศ ทั้งทรัพย์ จำจะต้องหลั่งมาไหลมาทีเดียว

บุคคลจำพวกที่คิดเห็นว่าวิชาเป็นแก้วสารพัดนึกเช่นนี้เมื่อเข้าทำการแล้ว ถ้าแม้นไม่ได้รับตำแหน่งสูงเพียงพอแก่ที่ตนตีราคาของตนไว้ และลาภยศทรัพย์หลั่งไหลมาไม่ทันใจ ก็บังเกิดความหลากใจ แล้วบังเกิดความไม่พอใจ เมื่อบังเกิดความไม่พอใจแล้วก็บังเกิดความริษยา เมื่อเกิดความริษยาขึ้นแล้วก็หมดความสุข

แท้จริงบุคคลจำพวกนี้ลืมนึก หรือไม่เคยนึกทีเดียวว่ามีภาษิตโบราณ ท่านได้กล่าวไว้แล้วว่า "วิชาท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" คำที่ท่านกล่าวไว้เช่นนี้ควรที่จะหวนคำนึงดูบ้างว่าท่านมุ่งความกระไร ? ท่านย่อมมุ่งความว่า วิชานั้นเปรียบเหมือนเครื่องแต่งตัว ซึ่งใครมีทุนแล้วก็อาจจะหาแต่งได้เท่ากัน แต่ถึงแม้ว่าจะนุ่งหางหงส์ผัดหน้าใส่ชฎาทอง ถ้าแม้ว่ารำไม่งามเขาก็ไม่เลือกเอาเป็นตัวอิเหนาเป็นแน่ละ ถ้าคนเราต้องการแต่วิชาอย่างเดียวเป็นเครื่องนำไปสู่ความเป็นใหญ่ ป่านนี้พวกครูบาอาจารย์ทุกคนคงต้องเป็นคนใหญ่คนโตไปด้วยกันหมดแล้ว แต่แท้ที่จริงศิษย์ที่ดีกว่าครูมีถมไป ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วไม่ควรที่จะเป็นไปได้ เพราะครูเป็นผู้สอนวิชาให้แก่ศิษย์ เหตุใดศิษย์จึงจะวิ่งไปดีกว่าครูเล่า ถ้าลองไตร่ตรองดูข้อนี้ให้ดีหน่อยจะเห็นได้ว่า ไม่ใช่เพราะวิชาอย่างเดียวเสียแล้ว ต้องมีคุณวิเศษอื่นประกอบด้วยอีก ฯลฯ"

อ่านแล้วรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่อกาลิโกจริงๆครับ อ่นเมื่อไร สมัยใดก็ได้ประโยชน์เมื่อนั้น



บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 19:54

ชื่นชม การคุยเรื่องการเมืองในอดีตแล้วเทียบกับปัจจุบันในห้องเรือนไทยแห่งนี้มากครับ โดยเฉพาะ อ นวรัตน์ ซี และ อ เทาชมพู

โดยส่วนตัวเชื่อว่าทุกท่านในห้องที่คุย คุยด้วยความบริสุทธิ์ใจและพยายามมองอย่างเป็นกลาง(ในแบบที่ไม่ใช่กลางแบบเพิกเฉย) ไร้อคติหรือไม่ก็มีน้อยที่สุดแล้วล่ะครับ ด้วยเหตุนี้จึงต้องชื่นชม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง