เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 35
  พิมพ์  
อ่าน: 198171 รำลึกถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 11:23

ถ้าใครชอบเพลงเพื่อชีวิต  คงจะเคยได้ยินชื่อคำรณ สัมบุญณานนท์   เขาเป็นนักร้องยุคเดียวกับชาญ เย็นแข  ถือกันว่าคำรณเป็น "บิดาของวงการลูกทุ่งไทย" และเป็นนักร้องลูกทุ่งสมัยต้นๆ ของวงการ
คำรณอยู่ในยุครัฐบาลจอมพลป.  เพลงหลายเพลงที่คำรณร้องมีเนื้อหาแสบเผ็ดทางการเมืองและสังคม     เสียดแทงใจคนฟัง  อย่างเพลงนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 11:31

ขึ้นชื่อว่าลักษณะการเมืองไทย ไม่ค่อยจะล้าสมัยอยู่แล้ว  เพลงนี้แต่งประมาณ พ.ศ. 2495  คือ60 ปีมาแล้ว  แต่ก็ยังฟังได้อยู่
ได้ยินมาว่าเป็นเพลงต้องห้ามในสมัยนั้น



ผู้แต่ง  สุเทพ โชคสกุล

เสียงโฆษณาของนักการเมือง
ยกเอาแต่เรื่องที่ดีงามมาพูดจา
มีหนังมาฉายให้ชาวไร่ชาวนา
ได้ดูได้ชมกันทั่วหน้าระรื่นตื่นตากันทั่วไป
จะสร้างคุณโน่นจะทำคุณนี่ ที่ยังขาดแคลน
ทั่วทุกถิ่นทุกแดนฟัง ดูก็แสนจะชื่นใจ
ถนนหนทางลำคลอง จะสร้างให้มากมาย
เลิกเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย จะซื้อรถให้มาไถนา
ดีอกดีใจ แต่นี้ต่อไปคงสุขอารมณ์
ชาวนาพากันชื่นชมนิยมดังเขาพูดมา
พอเป็นผู้แทนนั่งแท่นอยู่ในสภา
ตั้งหลายปีที่ผ่านมาจะไถนายังต้องใช้ควาย
ถนนหนทางที่ว่าจะสร้างก็ยังไม่มี
มันกินอิฐทรายกันป่นปี้ ถนนจะมีกันได้ยังไง
เขาเป็นผู้แทนกันยังไม่ทันเท่าไร
ทรัพย์สินเงินทองมีมากมาย
มันน่าแปลกใจเมื่อคิดขึ้นมา
ปากบอกรักชาติผมฟังอนาถใจจริง
เห็นแต่เขาจะช่วงจะชิงตำแหน่งใหญ่ยิ่งกันในสภา
วิ่งเต้นหาเสียงกินเลี้ยงกันใหญ่ตามเหลาตามบาร์
บางคราวยกพวกเข้าเข่นฆ่า 
มันเหลือระอาผู้แทนเมืองไทย
ผมขอวิงวอนราษฎรทั่วทั้งแผ่นดิน
คุณพวกชอบโกงชอบกิน คุณพวกกังฉินอย่าเลือกเข้าไป
เลือกแต่คนดียังมีอยู่อีกมากมาย
แล้วพี่น้องจะสุขใจ จะพาชาติไทยเรารุ่งเรือง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 15:54

เพลงลูกทุ่งแบบสนุกๆที่คำรณร้องก็มีเหมือนกัน อย่างเพลงนี้
มีเสียงโห่ตามแบบเพลงคันทรีของอเมริกาด้วย



สวรรค์ชาวนา
คำร้อง - ทำนอง :  ไพบูลย์ บุตรขัน
ขับร้อง :  คำรณ  สัมบุญณานนท์

รุ่งแสงสุริยา  เสียงไก่ขันมา ก้องกังวาน
กาเหว่าครวญเสียงหวาน  แว่วกังวานป่าดงพงไพร
ชีวิตบ้านท้องนา เช้าตื่นขึ้นมา ไล่ควายไป
ในบ่าแบกคันไถ จุดเหล็กไฟ สูบยาใบตอง

ไถนาไปพลางร้องเพลง  ไม่หวั่นเกรงแดดจะร้อนส่อง
ตกเพลวัดโบสถ์ตีกลอง  หยุดไถนาพลัน

ค่ำแล้วกลับบ้านมา  หาข้าวหาปลา แบ่งกินกัน
นี่แหละคือสวรรค์  ที่พวกฉันอยู่กันจำเจ
..โห่....

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 16 ส.ค. 12, 16:01

น้อยครั้งที่จะมีนักแต่งเพลงหยิบเอาชีวิตครูมาเป็นเนื้อหา  ใครเป็นครู คงชอบเพลงนี้



เมื่อหวนคำนึงถึงชีวิตครู โธ่เอ๋ยใครๆ ไม่รู้คงคิดว่าครูนี้แสนสบาย
แต่แท้ที่จริง งานครูใหญ่ยิ่งสร้างชาติไทย
โครงการณ์นั้นแสนโตใหญ่ที่ใครๆ มองไม่เห็น
เดี๋ยวนี้ครูไทยเราต้องใส่ใจสอนเช้าจนเย็น
แม้จะพบกับความยากเข็ญ ก็ยังไม่เว้นนึกถึงเด็กไทย
สอนเด็กๆ โอ้เด็กๆ ช่างกวนใจ 
แต่ว่าครูนั้นทนได้ ใครจะอดใจได้เหมือนอย่างครู
อีกทั้งวิชาอุตสาห์ใฝ่หามาให้เรียนรู้
เพื่อให้พ่อหนูแม่หนูได้มีความรู้เพื่อสร้างตน

คุณธรรมความดี ครูนี้ช่วยกันฝึกฝน
บุญคุณของครูเลิศล้น สุดจะคิดค้นมาพรรณา
กลางวันไปสอน กลางคืนก่อนนอนค้นหาวิชา
บันทึกการสอนล่วงหน้า ความรู้หามาเพื่อเด็กไทย
เกียรติของครู ช่างสวยหรูเลิศงามวิไล
แต่ที่โธ่เอ๋ยใครๆ เขาเปรียบครูไว้เหมือนเรือจ้าง
รับขนส่งมุ่งตรงจนถึงฝั่ง
เด็กที่เราเคยสอนเคยสั่ง พอส่งถึงฝั่งครูยังปลื้มใจ
ใครเขาจะว่าเราเป็นเรือจ้างก็ช่างปะไร
แต่ชีวิตอุทิศให้ ขอเป็นครูไปตลอดกาล
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 14:14

           ช่วงหนึ่งเคยหาอ่านเรื่องเกี่ยวกับประวัติเพลงไทย ครับ

            เพลง(เพื่อ)ชีวิตซึ่งเป็นที่นิยมของนิสิตนักศึกษาหัวก้าวหน้าคนเดือนตุลา 2516-19 นั้นมีกำเนิด
ก่อนหน้านั้นมานานโดย แสงนภา บุญราศรี ราชาเพลงชีวิตผู้ถูกลืม แต่งเพลงไทยสากลสะท้อนชีวิต
ชนชั้นล่างเป็นครั้งแรกช่วงทศวรรษ 2480 เรียกกันว่า “เพลงชีวิต” เพลงเอกของเขานำเสนอรายละเอียด
ชีวิตคนปาดตาล,คนลากรถขยะ,คนจรหมอนหมิ่น,ลูกศิษย์วัด,นักหนังสือพิมพ์,กุลีท่าเรือ,ทหารกองหนุน ฯลฯ

            นักแต่งเพลงรุ่นราวคราวเดียวกับแสงนภาอีกท่านคือ เสน่ห์  โกมารชุน ผู้โด่งดังจากหนังเรื่อง
แม่นาคพระโขนง ก่อนหน้านั้นเขาเคยแต่งเพลงชีวิตตามหลังแสงนภามาติดๆ จนในที่สุดต้องยุติบทบาทนี้ลง
เมื่อเพลง สามล้อ,ผู้แทนควาย กลายเป็นเพลงต้องห้าม เขาถูกเชิญตัวเข้าพบอธิบดีกรมตำรวจ  อัศวินเผ่า  
ศรียานนท์ จนต้องเลือกที่จะเลิกแต่งเพลงเสียดสีเพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป

            ช่วงต้นทศวรรษ 2495 เมื่อเสน่ห์ต้องหยุดงานเพลงชีวิต และแสงนภา บุญราศรี ลดบทบาท
นักร้องนักแต่งเพลงเป็นช่วงที่ดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการเพลงชีวิตคนใหม่ คือ คำรณ  สัมบุณณานนท์เปล่งรัศมี
ขึ้นมาแทนที่
             คำรณเป็นนักร้องในตำนาน เป็นหนึ่งในผู้ปักหมุดหมายในหน้าประวัติศาสตร์เพลงไทย

             เมื่ออายุ 18 ปี เขาได้ร้องเพลงประกอบละครวิทยุในเรื่อง สาวชาวไร่ เพลงชื่อว่า โอ้เจ้าสาวบ้านไร่
ของครูเหม เวชกร ในเวลาต่อมาเพลงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงแรกที่มีลีลาของเพลงลูกทุ่ง
             นอกจากนี้เขายังร้องเพลง ชมหมู่ไม้ แต่งโดยครูไพบูลย์ บุตรขัน เป็นเพลงที่มีการร้องแบบโห่(yodel)
เพลงแรกของไทย

      

            เพลงชีวิตของคำรณโด่งดังเป็นที่นิยมจนได้รับการยกย่องให้ผลงานเพลงร้องของคำรณเป็นต้นแบบ
เพลงชีวิต ชีวิตของคนโดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง และเพลงสะท้อนการเมือง เช่น   หาเช้ากินค่ำ,กรรมกรรถราง,
ตาสีกำสรวล,ชาวนากำสรวล,น้ำตาชาวนา,มนต์การเมือง,ชีวิตนักโทษการเมือง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 16:34

ไปค้นรายชื่อเพลงจากที่คุณ SILA เล่าไว้   ได้เพลงนี้มา  สะท้อนภาพทหารตัวเล็กๆที่ได้รับผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน โดยไม่มีผู้ใหญ่เหลียวแล



    เบื้องหลังเพลงของคำรณ สัมบุณณานนท์  ไปเจอจากอินทรเนตร เลยลอกเอามาให้อ่านกันค่ะ

    คำรณเข้ามาเป็นนักร้องในยุคที่หนังคาวบอยกำลังเฟื่องฟู เขามักจะแต่งชุดชาวนา คาวบอยเมืองไทย เที่ยวร้องเพลงสลับฉากตามโรงละคร บางวันเขาก็บอกว่า เขาคือแฮงค์ วิลเลี่ยม เมืองไทย และนี่เองเป็นที่มาของเพลงโห่ แบบแฮงค์ วิลเลี่ยมที่ต่อมาภายหลัง เป็นที่มาของการร้องโห่ แบบ เพชร พนมรุ้ง
  
   ในระยะนั้นคือ ก่อน พศ.2500 สองขุนพลเพลงผู้ยิ่งใหญ่ในเวลานั้น คือ เสน่ห์ โกมารชุน และ คำรณ สัมบุณณานนท์ ทั้งสองคนเคยร่วมกัน ทำเพลง สามล้อแค้น จนกระทั่งดังไปถึงโรงพัก นี่เองที่ทุกคนกล่าวขวัญถึงเขา ว่าเป็นนักร้องอันตราย
  
   เสน่ห์ โกมารชุน เป็นคนพูดจาจริงจังโผงผาง ส่วนคำรณ เป็นคนที่กล้าร้องเพลง ที่บอกถึงเรื่องราวการเมือง และ เสียดสีอำนาจรัฐ ในยุคนั้น เพราะเขาถือว่าชีวิตนี้ เขาไม่มีอะไรสูญเสียต่อไป คุกก็เข้ามาแล้ว เป็นกบฏก็เป็นมาแล้ว เพลงหนักๆ ที่คำรณ เข็นออกมา ท้าทายอำนาจเผด็จการทหารช่วงนั้น เป็นเรื่องกล้าหาญอย่างที่ไม่มีนักร้องคนใดเทียบติดได้ อย่างเพลง ใครค้านท่านฆ่า หรือ อสูรกินเมือง กล่าวถึงการสังหารโหดทางการเมือง โดยกล่าว ชื่อนาม สกุล ของนักการเมืองในเนื้อร้องออกมาอย่างชัดเจนว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง เดี๋ยวนี้เพลงเหล่านี่ผมหาเนื้อเพลงไม่ได้แล้วครับ จำได้กระท่อนกระแท่นมาก หากมีเวลาจะค้นหามาให้ดูกันครับ
                                                  
   คำรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2463 เป็นชาววัดเกาะ กทม. แต่มีหลายคนบอกว่าเขาเป็น คนสุพรรณ โดยวิเคราะห์ เอาจากสำเนียงภาษาของ เขานั่นเอง
   ครูไพบูลย์ บุตรขันธ์ เป็นอีกคนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลัง งานเพลงของคำรณ เป็นกำลังสำคัญ ในการถ่าย ทอดเรื่องราว ทางการเมืองของ คำรณ ... นอกจากครูไพบูลย์ บุตรขันธ์ แล้วคนที่ แต่งเพลงป้อน ให้กับ คำรณ คนสำคัญก็คือ เสน่ห์ โกมารชุน ยังเป็นคนให้ความคิดทางการเมือง และ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ของ คำรณด้วย ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมี ป.ชื่นประโยชน์ สุรพล พรภักดี เป็นต้น             
   มิใช่มีเพียงเพลงสะท้อน ภาพทางการเมืองเท่านั้น คำรณยังมีเพลงสะท้อนภาพชนชั้นล่าง ในสังคม ทั่วไปอย่างเพลง ชีวิตครู คนขายยา คนเพนจร พ่อค้าหาบเร่ ชีวิตคนเครื่องไฟ ฯลฯ และแน่นอน ใน จำนวนนั้นเพลงที่กล่าวถึง ชาวนาชนชั้นล่าง ของประเทศ มาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเพลงตาสี กำสรวล หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ชาวนากำสรวล ยอมดับคาดินเป็นต้น
            
     คอนเซ็ปอย่างนี้ได้กลายมาเป็นคอนเส็ปในเพลงเพื่อชีวิตทุกวันนี้ แม้วงทัพหน้าอย่างคาราวาน จะไม่มี อิทธิพล ของ คำรณ แต่สำหรับ วงดนตรี ยุคหลัง หลายวงต่างพยายามศึกษา ความเป็นไปของยุค เสน่ห์ - คำรณ อยู่ไม่ขาดสาย อย่างโฮป คาราบาว คันไถ เป็นต้น  
   นอกจากเขาจะเป็นนักร้องเพลงการเมืองแล้ว คำรณ ยังเป็นพระเอก หนังหลายเรื่อง อย่างเช่น ชายสามโบสถ์ รอยไถ เลือดทรยศ หญิงสามผัว เกวียนหัก ฯลฯ
  
   สมยศ ทัศนพันธ์ ขุนพลเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้กล่าว ถึงความเป็นไปอย่างโดดเด่นของคำรณ ไว้ทำนองว่าเขาเป็นคนมีความเป็นศิลปินสูง จึงอยู่ในวงดนตรีดุริยางค์ทหารเรือร่วมกับตนได้ไม่นาน    ลูกคอแบบชนบทของคำรณ คือเสน่ห์ อย่างหนึ่ง ที่ ทำให้ประชาชน นิยมชมชอบเขามาก
  
   คำรณเสียชีวิต เมื่อ 30 กันยายน 2512 ด้วยโรคปอด (เพราะเขาเล่นทั้งกัญชา ยาฝิ่น และบุหรี่ใบจาก)รวมอายุได้ 48 ปี เท่านั้นเอง
   http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=941.0;wap2

  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 11:20

ขอต่อด้วยดาวเสียงฝ่ายหญิงอีกท่านหนึ่ง เจ้าของเสียงเย็น และเศร้าซึ้ง    ผู้จากไปเมื่อพ.ศ. 2550   เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)พ.ศ. 2534

ปี พ.ศ. 2490 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คุณเพ็ญศรีขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์เพลง "สายฝน" ซึ่งเพิ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ก่อนหน้านั้นไม่นาน โดยเป็นการร้องสดในรายการบรรเลงดนตรีรายการหนึ่ง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2491 จึงได้ขับร้องเพลงนี้บันทึกแผ่นเสียง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 11:48

เพลงนี้ มักเป็นที่รู้จักกันในโรงเรียนยุคก่อน     เวลามีงานแสดงบนเวที  หนูน้อยอายุ ๗-๘ ขวบหรือน้อยกว่านั้นมักจะต้องแต่งชุดบัลเล่ต์สีขาวมาเต้นกันเป็นหมู่เป็นเหล่า



คำร้อง: แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง: เวส สุนทรจามร

หงส์เหมราขเอย สง่าผ่าเผยงามสคราญ ณ แดนหิมพานต์ หวงตัวรักวงศ์วาน หิมพานต์สถานสำราญมา
หงษ์ร่อนผกเผิน บินดั้นเมฆเหินเกินปักษา กางปีกกวักลมท่วงทีสมสง่า เหินลมล่องฟ้านภาลัย
หงส์ทรงศักดิ์เรือง ยามเจ้าย่างเยื้องงามกระไร สวยงามวิไล สวยเกินนกใดๆ เยื้องไปแห่งไหนสวยสอางค์
หงส์ลงเล่นธาร สรงสระสนานธารสุรางค์ ลงสระอโนดาษชำระร่าง ไซร้ขนปีกหางสรรพางค์กาย
ทรงหงส์อ่อนงอน ปกปีกซ้อนเชยฉอ้อนช้อนโอบกาย เคล้าคู่กันผันเรียงราย พร้อมกันว่ายแหวกธาร
ว่ายน้ำฉ่ำกาย ต่างผันผายพากันว่ายฟ้าเบิกบาน เหินสู่แดนแสนสราญ ถึงหิมพานต์อันสุขใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 13:14

เพลงนี้ได้ยินและชอบร้องมาตั้งแต่เด็ก



ที่มาของเพลงวิหคเหินลม โดย คีตา พญาไท

พ.ศ. ๒๔๙๔ ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ได้แต่งเพลงวิหคเหินลม ร่วมกันกับครูสมาน กาญจนะผลิน แล้วมอบให้เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เป็นผู้ขับร้อง ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับเพ็ญศรี พุ่มชูศรี มากอีกเพลงหนึ่ง นอกเหนือไปจากเพลงความรักเจ้าขา เพลงรักประดับชีวิน ฯลฯ
        
เพลงวิหคเหินลม
คำร้อง สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์/ทำนอง สมาน กาญจนะผลิน

แสนสุขสม นั่งชมวิหค
อยากเป็นนก เหลือเกิน
      
นกหนอนกเจ้าหกเจ้าเหิน
ทั้งวันนกเจ้าคงเพลิน เหินลอยละลิ่วล่องลม
      
แม้นเป็นนักได้ ดังใจจินตนา
ฉันคงเริงร่า ลอยลม
      
ขอเพียงเชยชม ดังใจจินตนา
ให้สุดขอบฟ้า สุขาวดี
      
ฉิมพลี วิมานเมืองฟ้า
ค่ำคืน จะทนฝืนบิน
      
เหินไป ทั่วถิ่นที่มันมีดารา
เพราะอยากจะรู้ เป็นนักเป็นหนา
      
ดารา พริบตาอยู่ไย
ยั่วเย้า กระเซ้าหรือไร
      
หรือดาว ยั่วใคร เหตุใดดาวจึงซน

(บันทึกแผ่นเสียงโดยเพ็ญศรี พุ่มชูศรี พ.ศ.  ๒๔๙๔)
      
เป็นเพลงที่บรรเลงในแนวสังคีตประยุกต์ เป็นเพลงแรกของครูสมาน กาญจนะผลิน ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗
      
สุภัทร สวัสดิรักษ์ บรรณาธิการบริหารของ นิตยสารสกุลไทย ผู้ล่วงลับไปแล้ว บอกว่า
      
"...เพลงของพี่โจ๊วที่ฉันประทับใจมากเพลงหนึ่ง คือ เพลงวิหคเหินลม เพราะตรงใจที่เนื้อร้องและท่วงทำนอง บ่งบอกความหมายถึงชีวิตอิสรเสรีของนก เสียงเพลงของพี่โจ๊ว เป็นเสียงที่ให้อารมณ์ และมโนภาพที่งดงาม มองเห็นนกครั้งใด ก็เหมือนได้ยินเสียงเพลงของพี่โจ๊วกังวานอยู่ในใจทุกครั้ง ..."
      
ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เขียนเล่าถึงเพลงวิหคเหินลม ไว้ในหนังสือ ๑๐๐ ปี เกษม พินิจดุลอัฎว่า
      
"...เพลงนี้เดิมทีเดียว เนื้อร้องไม่ได้เป็นอย่างนี้ ที่แต่งไว้ครั้งแรกเป็นเพลงผู้หญิงร้องกระแนะกระแหนผู้ชายว่าเจ้าชู้ ชอบหลอกลวง เชื่อไม่ได้ ไว้ใจอะไรไม่ได้ อะไรทำนองนั้น
      
แต่เวลาไปอัดแผ่นเสียงซ้อมเท่าไหร่ๆ ก็ฟังดูไม่ดีสักที พอดีผู้แต่งไปอยู่ที่ห้องอัดเสียงด้วย ท่านเจ้าของห้องอัดเสียงฟิลิปส์ซึ่งเป็นผู้อัดเสียงเพลงนี้เป็นครั้งแรกได้เดินมาบอกว่า เพลงนี้เป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ฟังดูไม่ดีสักที ลองเปลี่ยนเนื้อร้องใหม่ได้ไหม เผื่อจะดีขึ้น
      
เลยตอบไปว่า ลองดูก็ได้ แต่ต้องขอเวลาหน่อย ระหว่างนี้ อัดเพลงอื่นไปก่อนก็แล้วกัน
      
ขอกระดาษเขียนหนังสือมา ๒ แผ่น ออกมานั่งหน้าห้องอัดเสียง ลักษณะเป็นห้องเล็ก ๆ มีหน้าต่างรอ บๆ สั่งโอเลี้ยงมาแล้ว ๑ แก้ว นั่งคิดไปคิดมาว่า จะเขียนอย่างไรดี พล็อตเดิมใช้ไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนเรื่องใหม่หมด
      
มองไปนอกหน้าต่าง เห็นนกหลายตัวเหมือนกัน บินไปบินมาอย่างสนุกสนาน (ห้าสิบกว่าปีก่อน แถบถนนสาทร ยังมีนกบินอยู่) เลยได้ความคิดขึ้นมาว่า เป็นนกดีกว่า
      
ออกมาเป็น "วิหคเหินลม" ใช้เวลาประมาณเกือบหนึ่งชั่วโมง
      
พอแต่งเสร็จ โอเลี้ยงหมดแก้วพอดี ต่อมาเลยได้ฉายาจาก ส. อาสนจินดา (นักประพันธ์ชื่อดังในสมัยนั้น) ว่า "นักแต่งเพลงโอเลี้ยงแก้วเดียว"
      
เพลงนี้สุวัฒน์ วรดิลก นักประพันธ์ใหญ่ของไทย บอกเอาไว้ในหนังสือ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสมาน กาญจนะผลิน ในคอลัมน์ "ผู้รู้วันตาย" ไว้ว่า
      
"..."น้าหมาน" ซึ่งพัฒนาตัวเองอยู่เป็นอาจินต์ได้นำเอาดนตรีสากลบรรเลงผสมกับดนตรีไทย (วงปี่พาทย์) ขอให้ผู้เขียนตั้งชื่อ การแสดงดนตรีประเภทนี้
      
เราหารือกันที่บ้าน สง่า อารัมภีร ผู้เขียนได้เสนอชื่อ "สังคีตประยุกต์"
      
เพลงแรกคือ "วิหคเหินลม" เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ขับร้อง น้าหมาน สร้างทำนองมาจากเพลงไทย "ลาวลอดค่าย"(บ้างก็ว่า ลาวดอย)
      
สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ แต่งเนื้อร้อง (ผู้เขียน คิดว่าเป็นเนื้อเพลงไทยสากลที่ดีที่สุดอีกเพลงหนึ่งของวงการเพลงเมืองไทย) เพลงวิหคเหินลม กลายมาเป็นเพลงอมตะจนทุกวันนี้..."

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 13:21

นึกเอ๋ยนึกถึง
เพลงเพลงหนึ่งซึ่งกล่าวขานนานหนักหนา
ชื่อว่าเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา
มาเรามานั่งฟังอย่างตั้งใจ

พร่างพรายแสงดวงดาวน้อยสกาว
ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล
ดั่งโคมทองผ่องเรืองรุ่งในหทัย
เหมือนธงชัยส่งนำจากห้วงทุกข์ทน

พายุฟ้าครืนข่มคุกคาม
เดือนลับยามแผ่นดินมืดมน
ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน
ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย

ขอเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
แม้ผืนฟ้ามืดดับเดือนลับละลาย
ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน (เอย)




คำร้องและทำนอง โดย จิตร  ภูมิศักดิ์


        ถ้าจำไม่ผิดคุณเพ็ญศรีเคยร้องเพลงนี้สดๆ บนเวทีที่ธรรมศาสตร์ ต่อมาจึงได้ร้องบันทึกเสียง
ลงในอัลบั้ม สายทิพย์ 
            รู้สึกดีใจ และชื่นชมผู้ที่คัดเลือกเพลงเพื่อชีวิตที่แสนไพเราะนี้มาให้ท่านบันทึกฝากเสียงเพลงไว้
เป็นการจับคู่ทางเพลงที่สวยงาม


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 19:24



ศกุนตลา เป็นอีกเพลงหนึ่งที่คุณเพ็ญศรีร้องได้ไพเราะไม่มีใครเหมือน    กลายมาเป็นเพลงประจำตัวของเธอในช่วงเวลาหนึ่ง   ที่มาของเพลงนี้คือคุณสุวัฒน์ วรดิลก หรือ "รพีพร" คู่ชีวิตของเธอตั้งไนท์คลับชื่อ "ศกุนตลา"ขึ้น ในพ.ศ. 2511 จึงได้ขอให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน แต่งทำนอง เพลงศกุนตลา และให้ คุณทวีปวร (ทวีป วรดิลก) แต่งคำร้อง เพื่อนำไปใช้ในการโปรโมทไนท์คลับ "ศกุนตลา"

คุณทวีป วรดิลก ศิลปินแห่งชาติ แต่งเนื้อร้องด้วยฉันทลักษณ์กลอน 6-7   ท่านเขียนเล่าเบื้องหลังการแต่งเพลงนี้ไว้ในบทความ  "จาก 'โดมในดวงใจ' ถึง 'ศกุนตลา'" ว่า

"หลังจาก 'มนต์รักนวลจันทร์' กับ 'นิมิตสวรรค์' แล้ว ผมก็ไม่ได้แต่งเพลงอีกเลย จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 2508 เกิดมีศกุนตลาไนท์คลับขึ้น และผมก็ได้รับหน้าที่แต่งเนื้อเพลง ศกุนตลา ซึ่งร้องโดยเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ซึ่งก็ไม่มีปัญหาที่ว่า คุณเอื้อก็รับภาระแต่งทำนองอีก

เพลงนี้ก็เช่นเดียวกับ 'โดมในดวงใจ' คือผมแต่งคำประพันธ์ก่อน แล้วคุณเอื้อก็แต่งทำนองทีหลัง โดยผมตั้งใจมานานแล้ว ที่จะชมโฉมผู้หญิงด้วยสำนวนกวีที่แหวกแนวออกไปอย่างเช่น 'น้ำค้างค้างกลีบกุหลาบอ่อน คือเนตรบังอรหยาดหวาน โอษฐ์อิ่มพริ้มรัตต์ (รัตต์=สีแดง-เทพกร) ชัชวาล เพลิงบุณย์อรุณกาลผ่านทรวง ... ศกุนตลา นางฟ้าแมกฟ้าจากสรวง คลื่นสมุทรสุดฤทัยไหวปวง คือทรวงนางสะท้อนถอนใจ..."

วรรคต่อมาที่ว่า 'ยอดมณีศรีศิลป์ปิ่นสรรค์...' หลังจากที่คุณเอื้อแต่งทำนองเสร็จแล้ว และเพ็ญศรีกำลังซ้อมร้องอยู่ จึงได้ทราบว่า คุณเอื้อเข้าใจผิด คือเข้าใจว่าเนื้อร้องเป็น 'ยอดมณีศรีศิลปินสรรค์' จึงได้แต่งทำนองไปตามถ้อยคำดังนี้ ผมฟังเพ็ญศรีร้องก็รู้สึกแต่เพราะดี สมควรจะร้องไปเช่นนี้ แต่เมื่อคุณเอื้อทราบเข้าก็ไม่ยอม เปลี่ยนตัวโน้ตให้เข้ากับคำเดิมของผมทันที แล้วที่สำคัญยิ่งกว่านี้ก็คือ ดูจะเพราะยิ่งกว่าเดิมเสียอีก!

เท่าที่ผมฟังเพ็ญศรีเล่า คุณเอื้อสนใจในคำประพันธ์ของผมมาก เมื่อจะต่อให้เพ็ญศรี หลังจากแต่งทำนองเสร็จแล้ว ก็ได้อธิบายว่า ทำนองที่แต่งมีความมุ่งหมายเช่นไร โดยคุณเอื้อมุ่งที่จะให้ลีลาของดนตรีปูความรู้สึกให้กับผู้ฟังทีละน้อยเป็นลำดับไป ตราบจนผู้ฟังรู้สึกได้ถึงความงามที่เด่นเป็นพิเศษอย่างที่ผมได้ตั้งใจไว้ในตอนเขียน จากที่เพ็ญศรีเล่า คำอธิบายของคุณเอื้อตามที่ผมได้ฟังนั้น คุณเอื้อไม่ใช่นักแต่งเพลงธรรมดา ๆ เลย หากแต่เป็นคีตกวีที่แท้จริง ที่ 'เข้าถึง' จินตนาการของกวี และยังสามารถถ่ายทอดกวีวัจนะออกมาเป็นภาษาดนตรีที่ละเอียดอ่อนละเมียดละไมในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของกวีโดยแท้จริง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 19:29

ศกุนตลา

คำร้อง ทวีปวร        ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   
ศกุนตลา
นางฟ้าแมกฟ้าหรือไฉน
เดินดินนางเดียวเปลี่ยวใจ
นางไม้แมกไม้มิได้ปาน

น้ำค้างค้างกลีบกุหลาบอ่อน
คือเนตรบังอรหยาดหวาน
โอษฐ์อิ่มพริ้มรัตต์ชัชวาล
เพลิงบุณย์อรุณกาลผ่านทรวง

ศกุนตลา
นางฟ้าแมกฟ้าจากสรวง
คลื่นสมุทรสุดฤทัยไหวปวง
คือทรวงนางสะท้อนถอนใจ

* ยอดมณีศรีศิลป์ปิ่นสรรค์
หล่อหลอมจอมขวัญผ่องใส
คือแก้วแพร้วพร่างกระจ่างใจ
อาบไออมฤตนิจนิรันดร์

สำนวนกวีของคุณทวีปวรไพเราะมาก    มีลีลาเปรียบเทียบความงามของนางในวรรณคดีเป็นแบบฉบับของตัวเอง  ไม่ซ้ำกับขนบที่เขียนกันมาก่อนหน้านี้    เช่นเทียบดวงตาว่าหวานเหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบอ่อน  อ่านแล้วศกุนตลาคงเป็นหญิงสาวดวงตาใสแจ๋ว  สวยหวานไร้เดียงสา
แต่มีวรรคหนึ่ง แปลไม่ออกจนบัดนี้  เคยถามศิลปินแห่งชาติสาขากวีนิพนธ์อีกท่านหนึ่งท่านก็แปลไม่ออกเหมือนกัน คือ "เพลิงบุณย์อรุณกาลผ่านทรวง"  ใครพอจะนึกได้บ้างกรุณาแปลไว้ในกระทู้นี้จะเป็นพระคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 20:38

   ขอรำลึกถึงคุณเพ็ญศรีด้วยเพลงที่ร้องยากสุดๆเพลงหนึ่ง  ชื่อ "มนต์รักนวลจันทร์" เป็นเพลงคู่ของเธอกับคุณสุเทพ วงศ์กำแหง   เพลงนี้ นอกจากนักร้องชายหญิงเป็นศิลปินแห่งชาติทั้งคู่แล้ว  คนแต่งเนื้อร้องซึ่งมี 2 แต่งตอนต้นกับตอนปลายกันคนละท่อน ก็เป็นศิลปินแห่งชาติด้วยกันทั้งสองคน คือคุณสง่า อารัมภีร และคุณทวีป วรดิลก
   เพลงนี้ต้องร้องเสียงสูงมาก เกือบจะเป็นเสียงโซปราโน    มีหลายตอนด้วยกัน   ถ้าเสียงขึ้นไม่ถึงจะล่มเสียตั้งแต่กลางเพลง  ไปไม่รอดจนตลอดเพลง   
, " มนต์รักนวลจันทร์ " เป็นเพลงเอกของละครเวทีชื่อเดียวกันกับเพลง แสดงในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นละครที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงก่อนการฉายภาพยนตร์รอบแรกที่เรียกกันว่ารอบปฐมทัศน์ เป็นฝีมือการเขียนบทและกำกับการแสดงของพี่ชายของ ทวีปวร คือ รพีพร หรือ สุวัฒน์ วรดิลก

   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 20:39

มนต์รักนวลจันทร์

คำร้อง ทวีปวร-สง่า อารัมภีร์            ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   
ช.เดือนเด่นลอยคว้างกลางสรวง
ทอแสงช่วงนวลอะคร้าวพราวพราย
เมื่อมองเดือนใจเราสะเทือนไม่วาย
สงสัยว่าเดือนอายแก่นางฟ้าลาวัณย์
ลมที่เคยพลิ้วโชยมา
ดูเหมือนว่าตะลึงจนหลงงงงัน
เพลินชมนางที่แสนสะอาง พร่างพรรณ
โอ้ลมและดวงจันทร์หมายมั่นนางดั่งเรา
จงโปรดมองดูข้านี้ ในทรวงนี่มีแต่รักนงเยาว์
อาบอิ่มใจแม้เห็นนวลนางเพียงเงา
ก็คลายทุกข์คลายเศร้า หายร้อนรุ่มอุรา
นวลนางเอยไยไม่เอ่ยคำ
ร้องขับลำนำเป็นมนต์รักตรึงตรา
จงเอ็นดูยวนยิ้มเผยวาจา
ให้ฟ้าและดินถวิลท่ามกลางนวลจันทร์

ญ. แผ่นฟ้าพราวพรรณแจ่มใจ ตระหนกกระไรแม้มีใครจะมาสัมพันธ์
ถิ่นนี้เคยอยู่นิรันดร์ สงบสบสรรไร้คนข้องเกี่ยวเรานี้
กลิ่นซึ้งสุคนธ์อบอวล แต่ใจยังครวญหวนแต่ในสิ่งเลอศรี
หาใดในแหล่งปฐพี ฤาเทียบภาระเรามิซึ้งสุดใจ
คนธรรม์จะครวญเพลงทิพย์วิมาน
นภางค์ตระการวิภา เพราะจันทร์แจ่มเลอไฉไล
สุดแดน แม้องค์เทพอวยรักใด
จากชั้นทิพย์ประทานสถานฟ่องฟ้า
จิตนี้ธำรงยั่งยืนหากหน่ายกลับคืนเป็นบาปอยู่ตรึงตรา
รักเราที่มุ่งศรัทธาให้ทั่วโลกา สุขซึ้งสุดดังใจ
ช. นาง..นภาพรรณผ่องอำไพ
สิ่งซึ่งวิไลนั้นเลิศเลอเพราะด้วยใดกัน
ญ. นั้นฤาสิ่งอันผจงห่อฟ้าอำพัน
สิ่งอันสรรให้จิตใจใหลหลงนามว่าเมฆา
ช. นาง..สายลมบรรเจิดชีวา
แจ่มใจนี้นานั้นเลิศเลอเพราะด้วยอันใด
ญ. ดอกไม้สุคนธ์มนต์รักชื่นใจ
ช. เหตุใดหนอนางว่ารัก
ญ. เมื่อจันทร์ซบพักตร์เมฆมา
ช. เหตุใดหนอจึงจันทราแมกมนต์
ญ. สุดซึ้งเสาวคนธ์
ช. ดุจมนต์ดลใจ
(พร้อม) แจ่มจันทร์ขวัญใจ..สองเรา
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 19 ส.ค. 12, 10:32

อ้างถึง
"เพลิงบุณย์อรุณกาลผ่านทรวง"  ใครพอจะนึกได้บ้างกรุณาแปลไว้ในกระทู้นี้

        อาจารย์เคยถามถึงความหมายของวรรคนี้ในกระทู้เก่าก่อนหลายปีแล้ว

         ขอตีความหมายว่า ผลบุญที่แรงดังไฟ สว่างดุจแสงยามเช้าตรู่ส่งผลผ่านทรวงของศกุนตลา
ทำให้มีผลเป็นดังในท่อนต่อมาว่า

           คลื่นสมุทรสุดฤทัยไหวปวง
คือทรวงนางสะท้อนถอนใจ    ยิงฟันยิ้ม

         คิดอีกทีหรือ "อรุณกาล" อาจจะหมายถึงเมื่อกาลก่อน > ผลบุญที่แรงดังไฟจากเมื่อกาลก่อน

ภาพศกุนตลา ฝีมือครูเหม เวชกร


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 35
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 20 คำสั่ง