เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 35
  พิมพ์  
อ่าน: 197968 รำลึกถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 10 ส.ค. 12, 19:57



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 11 ส.ค. 12, 11:10

        คุณเรวัติทั้งแต่งแล้วร้องเองและให้คนอื่นร้อง รวมทั้งเป็นโพรดิวเซอร์ให้นักร้องคนอื่น
มีผลงานเพลงมากมายในยุคนั้น แต่ บางผลงานฟังแล้วรู้สึกได้ว่าคลับคล้ายเคยฟังเพลงฝรั่งแบบนี้มาก่อน
เพลงในช่วงแรกๆ นั้นมี “รูปแบบ” ที่เรียกได้ว่าก็อป (หรือได้บันดาลใจจาก)เพลงฝรั่งซึ่งเจ้าตัวเองก็ยอมรับ

         นอกจากเป็นนักร้อง โปรดิวเซอร์แล้ว คุณเรวัติยังเป็นนักแสดงด้วย
ในหนังเรื่อง น้ำพุ รับบท น้าแพ็ท ครับ

           
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 11 ส.ค. 12, 19:03

ชอบเพลงที่คุณเต๋อแต่งให้เบิร์ด ธงไชยร้อง  โดยเฉพาะเพลงนี้ 
ใครที่เคยเริ่มต้นชีวิตคู่ หรือกำลังเริ่ม คงจำความรู้สึกนี้ได้



 ถึงวันที่เราใฝ่และฝัน
ถึงวันที่เราจะเดินด้วยกัน
มองที่ตา เราต่างก็รู้ใจกัน
จะฝ่าฟัน สู่วันของเรา
ทุกข์ภัยที่เจอจะหนักดั่งภูเขา
สองเราไม่เคยมีใจไหวหวั่น
เราสองคนจะสุขจะทุกข์เคียงกัน
มีฉันก็ต้องมีเธอ
พร้อมจะอดทน เราพร้อมใจเดินตากฝน
พร้อมผจญ เดินฝ่าลมพายุร้าย
แม้วันที่เราจะเหนื่อยเพียงไหน
สองมือก็จูงกันไปไม่หวั่น
ใจสองเรา ไปสู่จุดหมายเดียวกัน
มีฉัน ก็ต้องมีเธอ

พร้อมจะอดทน
เราพร้อมใจเดินตากฝน
พร้อมผจญ เดินฝ่าลมพายุร้าย

ทุกข์ภัยที่เจอจะหนักดั่งภูเขา
สองเราไม่เคยมีใจ ไหวหวั่น
เราสองคน จะสุขจะทุกข์เคียงกัน
ฝ่าฟัน สู่วันของเรา

แม้วันที่เราจะเหนื่อยเพียงไหน
สองมือก็จูงกันไปไม่หวั่น
ใจสองใจ ไปสู่จุดหมายเดียวกัน
มีฉันก็ต้องมีเธอ
แม้วันที่เราจะเหนื่อยเพียงไหน
สองมือก็จูงกันไป ไม่หวั่น
ถึงวันที่เราใฝ่และฝัน
ถึงวันที่เราจะเดินด้วยกัน  ตลอดไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 14 ส.ค. 12, 09:17

นักร้องที่อายุสั้นอีกคนหนึ่งคือบุบผา สายชล นักร้องลูกทุ่ง   เธออายุ 43 เท่านั้นเมื่อเสียชีวิตเพราะเส้นโลหิตในสมองแตก จากโรคความดันโลหิตสูง เมื่อพ.ศ. 2533
เพลงโด่งดังที่สุดของบุบผาน่าจะเป็น ยมบาลเจ้าขา ที่ไพบูลย์ บุตรขันแต่งให้เธอร้อง     เพื่อปรับทุกข์เรื่องการที่คนดีตายเร็ว คนชั่วตายช้า
สมัยนั้น คำว่า ยมบาล ออกเสียงว่า ยม-พะ-บาน     เดี๋ยวนี้ออกเสียงว่ายังไงต้องถามยามภาษาอย่างคุณเพ็ญชมพู   royin ไม่ได้ออกเสียงไว้ให้รู้ค่ะ

 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 14 ส.ค. 12, 10:21

         อีกหนึ่งเพลงเอกของคุณบุปผา สายชล ในภาพยนตร์ไทยระดับตำนาน มนต์รักลูกทุ่ง ครับ

รูปหล่อถมไป

           

          คุณบุปผาหน้าตาสะสวย คู่ชีวิตคือคุณศรีไพร ใจพระจึงจัดให้ได้เป็นนางเอกหนังด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 14 ส.ค. 12, 10:40

คุณ SILA  นึกถึงใครออกอีกบ้างไหมคะ     ขอเชิญล่วงหน้าไปก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 14 ส.ค. 12, 10:55

สมัยนั้น คำว่า ยมบาล ออกเสียงว่า ยม-พะ-บาน     เดี๋ยวนี้ออกเสียงว่ายังไงต้องถามยามภาษาอย่างคุณเพ็ญชมพู   royin ไม่ได้ออกเสียงไว้ให้รู้ค่ะ

คำว่า ยมบาล  ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ เขียนไว้ในหนังสือ ภาษาไทยไขขาน ว่า

"คำว่า “ยมบาล” (ยม-มะ-บาน) ทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัว พ อยู่ด้วยเลย ยังมีผู้ออกเสียงเป็น “ยม-พะ-บาน” อยู่บ่อย ๆ อย่างเพลง “ยมบาลเจ้าขา” ในสมัยหนึ่ง ก็มีผู้ร้องเป็น “ยมพะบาลเจ้าขา” แล้วก็เลยเขียนเป็น “ยมพบาล” ไปด้วย ทั้งนี้เพราะถ้าออกเสียงตามตัวว่า “ยม-มะ-บาน” ฟังแล้วไม่เพราะเท่า “ยม-พะ-บาน

คำที่มักอ่านผิดและเขียนผิดกันอยู่เสมอ โดยออกเสียงเติมเข้ามา แล้วก็เขียนคำเพิ่มเข้ามาอย่างนี้ ทางนิรุกติศาสตร์ เรียกว่า “อุจจารณวิลาส” (อุด-จา-ระ-นะ-วิ-ลาด) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Euphony”

อุจจารณวิลาส มี ๖ พยางค์ต้องออกเสียงให้ครบ

ถ้าออกเสียงเพียง ๓ พยางค์จะเป็นเรื่อง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 10:23

          ค่าน้ำนม เพลงเก่าคุ้นหูที่ถูกนำมาเปิดมาร้องทุกปีในวันที่ ๑๒ สิงหาคม

คุณศุภาศิริ สุพรรณเภสัช เขียนเล่าเรื่องเพลงนี้ในมติชนฉบับวันอาทิตย์ 12 สิงหาคม ปีนี้ ตัดตอนได้ความว่า

           คนสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิด "วันแม่แห่งชาติ" ขึ้นในประเทศไทย ไม่ใช่ท่านผู้หญิง(ละเอียด พิบูลสงคราม)
ท่านผู้ชาย(จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ที่ไหน แต่เป็นนักแต่งเพลงชั้นครู
              ครูไพบูลย์ บุตรขัน คนที่แต่งเพลง "ค่าน้ำนม" นั่นยังไงล่ะ
     
           ครูไพบูลย์แต่ง "ค่าน้ำนม" ขึ้นร่วมหนึ่งปีก่อนที่รัฐบาลจะจัดให้มีวันแม่แห่งชาติ
ว่ากันว่า "ค่าน้ำนม" ของครูฮิตเหลือเกิน จับใจแฟนเพลงสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่ารากหญ้าหรือศักดินา
ล้วนซาบซึ้งกับ "ค่าน้ำนม" ไม่น้อยหน้ากัน
           แผ่นเสียง "ค่าน้ำนม" ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จนต้องขึ้นราคาเพราะปั๊มแผ่นไม่ทัน สถานีวิทยุ
และโรงภาพยนตร์ หรือร้านค้า เปิดเพลง "ค่าน้ำนม" กันไม่รู้เบื่อ ด้วยแฟนเพลงเรียกร้อง
           สมัยนั้นแผ่นเสียงยังทำจากครั่งสีดำ (ซึ่งฝรั่งเรียกสั้นๆ ว่าแว็กซ์แทนที่จะเรียกเชลแล็ก) ทั้งหนาและหนัก
เพราะมีขนาดกว้าง 10 นิ้ว คือประมาณจานข้าว แผ่นครั่งนี้จะหมุนด้วยสปีด 78 คือ 78 รอบต่อนาที
บรรจุหน้าละเพลง แผ่นหนึ่งจึงมีแค่สองเพลง
           นอกจากจะหนาและหนักแล้ว แผ่นครั่งยังเก็บยากด้วย ร้อนไปก็งอ ตกก็แตกง่าย กระแทกนิดก็บิ่น
เครื่องเล่นแผ่นเสียงมีเข็มที่ครูดไปตามร่องบนแผ่น เล่นมากๆ ร่องจะสึก เกิดอาการตกร่อง

          ความนิยมของประชาชนมีมากจนมีข้าราชการหัวใสเสนอให้ท่านผู้ใหญ่ของบ้านเมืองพิจารณาจัดงาน
"วันแม่แห่งชาติ" ขึ้นในวันที่ 15 เมษายน 2493


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 10:28

          ท่านผู้ใหญ่เหล่านั้นคงนึกไม่ถึงว่า วันข้างหน้า ท่านจะต้องเป็นไม้เบื่อไม้เมากับครูไพบูลย์ บุตรขัน
เพราะครูจะแต่งเพลงบรรยายชีวิตและความทุกข์ยากของชนชั้นแรงงาน จนท่านผู้ใหญ่ระคายหู เรียกเพลงของครู
ว่าเป็นเพลงคอมมิวนิสต์

           สมัยที่ครูเริ่มเป็นที่รู้จัก เพลงไทยสากลยังไม่ได้แบ่งประเภทเป็นลูกทุ่ง-ลูกกรุง แต่สมัยนี้จะจัดเพลง
ส่วนใหญ่ของครูไพบูลย์ไปอยู่ในประเภทลูกทุ่ง อย่างเพลง กลิ่นโคลนสาบควาย น้ำค้างเดือนหก ชายสามโบสถ์
ยมบาลเจ้าขา หรือ โลกนี้คือละคร

           ชีวิตของครูไพบูลย์มีขึ้นอย่างสูงสุด แต่งเพลงอะไรก็ฮิตไปหมด เหมือนไร่นาที่อุดมสมบูรณ์แล้วพลัน
ก็เกิดภัยแล้งปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ครูแต่งเพลงอะไรออกมาก็ไม่เป็นที่นิยม นักร้อง บริษัทแผ่นเสียง วงดนตรีที่เคย
เก็บดอกผลจากสมองอันอุดมสมบูรณ์ด้วยคำร้องและทำนองของครูก็เริ่มถอยห่าง ตีจากไป
           เป็นช่วงที่ครู "ดวงตก" อย่างที่สุด

           นอกจากนี้ครูไพบูลย์ยังมีโรคเรื้อนเป็นโรคร้ายประจำตัว ในสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญ การเงินก็ขัดสน
ทำให้โรคมีแต่รุนแรงขึ้น
           เล่ากันว่า ส่วนใหญ่ครูเก็บตัวอยู่ในบ้าน ไม่พยายามออกไปให้ใครพบเห็น คนรู้จักส่วนใหญ่ก็ตีตัวออกห่าง
มีแม่คนเดียวเท่านั้นที่อยู่ดูแลใกล้ชิดตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตแม่
           แม่ที่ "มีบุญคุณอันใหญ่หลวง" ของครูไพบูลย์ เป็นแม่แสนประเสริฐ จนไม่น่าแปลกใจที่ครูจะประพันธ์เพลง
ยกย่องแม่ได้กินใจนักฟังทุกรุ่น ทุกวัย

             จากวันนั้นถึงวันนี้ "ค่าน้ำนม" เป็นเพลงยอดนิยมของคนไทยมากว่า 60 ปีแล้ว นานกว่าที่เมืองไทย
มี "วันแม่แห่งชาติ" มาเสียอีก

        
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 10:30

            เพลงค่าน้ำนมนี้ ในหนังสืออนุสรณ์ พระราชทานเพลงศพ นายชาญ เย็นแข เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2531
ระบุไว้ว่า
      
               เพลงแรกที่บันทึกเสียงเพลงชื่อค่าน้ำนม ผู้ประพันธ์เนื้อ ทำนอง ไพบูลย์ บุตรขัน พ.ศ.2492
บริษัทนำไทยจำกัด แผ่นเสียงตราสุนัขสลากเขียว ขนาด 10" วงดนตรี สง่า อารัมภีร์      

ประวัติของท่านจาก http://www.oknation.net/blog/kritwat/2009/08/11/entry-2
กล่าวว่า

                 ชาญ  เย็นแข เป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2469
มีความรักในการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก สมัยสงครามโลก พ.ศ.2486-2488 ชาญ ได้แอบหนีไปสมัคร
ประกวดร้องเพลงทุกวัดที่มีงาน
          ได้รับการสนับสนุนจาก สมพงษ์  พงษ์มิตร(นักแสดงตลกอาวุโส ผู้ล่วงลับไปแล้ว)ให้เข้าเป็นนักร้องประจำ
คณะละครศิวารมย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 โดยมี สง่า  อารัมภีร์ เป็นผู้ควบคุมวงดนตรี  และมีโอกาสบันทึกแผ่นเสียง
เป็นครั้งแรกในชีวิตด้วยเพลง ค่าน้ำนม ผลงานเพลงของครูไพบูลย์  บุตรขัน
          จริงๆแล้ว ตอนนั้น บุญช่วย หิรัญสุนทร ซึ่งจะต้องเป็นผู้ร้องเพลงนี้ไม่มา ครูสง่า จึงให้ ชาญ เย็นแข ร้อง
และบันทึกเสียงแทน
          ชาญ  เย็นแข  ได้จากโลกดนตรีและเสียงเพลงไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 ด้วยโรคหัวใจ รวมอายุ
ได้ 62 ปี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 10:47

         ท่านผู้ใหญ่เหล่านั้นคงนึกไม่ถึงว่า วันข้างหน้า ท่านจะต้องเป็นไม้เบื่อไม้เมากับครูไพบูลย์ บุตรขัน
เพราะครูจะแต่งเพลงบรรยายชีวิตและความทุกข์ยากของชนชั้นแรงงาน จนท่านผู้ใหญ่ระคายหู เรียกเพลงของครู
ว่าเป็นเพลงคอมมิวนิสต์

           สมัยที่ครูเริ่มเป็นที่รู้จัก เพลงไทยสากลยังไม่ได้แบ่งประเภทเป็นลูกทุ่ง-ลูกกรุง แต่สมัยนี้จะจัดเพลงส่วนใหญ่
ของครูไพบูลย์ไปอยู่ในประเภทลูกทุ่ง อย่างเพลง กลิ่นโคลนสาบควาย น้ำค้างเดือนหก ชายสามโบสถ์ ยมบาลเจ้าขา
หรือ โลกนี้คือละคร

เพลงคอมมิวนิสต์เพลงนั้น คือ "กลิ่นโคลนสาบควาย"



เพลงกลิ่นโคลนสาบควาย แต่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๖  ลาวัณย์ โชตามระ เขียนเล่าเอาไว้ใน "ไพบูลย์ บุตรขัน" นักแต่งเพลง "ประวัติการณ์" ว่า...
      
"...นับว่าเป็นประวัติการณ์ทีเดียวที่เพลงไทยถูกทางการสั่งห้ามออกอากาศโดยอ้างว่าเนื้อเพลงมีข้อความที่ไม่เหมาะสม แสดงถึงความเหลื่อมล้ำแห่งชีวิตของชนชั้น เพลงที่ว่านี้คือเพลงกลิ่นโคลนสาบควายของไพบูลย์ บุตรขัน...
      
และนี่ก็เป็นประวัติการณ์อีกเหมือนกันที่ว่า พอถึงวันแม่ซึ่งทางการยุคหนึ่งกำหนดให้ถือเอา วันที่ ๑๕ เมษายน ตลอดวันวิทยุก็จะกระจายเสียง แต่เพลงที่เขาแต่งขึ้นอีกนั่นแหละ นั่นคือเพลงชุด "แม่" อันได้แก่ เพลงค่าน้ำนม ที่มีเนื้อร้องขึ้นต้นว่า "แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง..."

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 10:53

อีกหนึ่งเพลงเอกของคุณชาญ เย็นแข ที่ขึ้นหิ้งระดับตำนานเป็นหมุดหมายของประวัติเพลงไทยคือ

         เพลง กลิ่นโคลนสาบควาย

ชาญ เย็นแข ขับร้องต้นฉบับ เมื่อปีพศ. 2496

        เพลงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงที่เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่งในยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยก
ว่าเป็นเพลงลูกกรุงหรือลูกทุ่งอย่างชัดเจน  
        ครูไพบูลย์แต่งขึ้นในปี พ.ศ.2496 ชาญ เย็นแขเป็นผู้ร้องเป็นคนแรกและดังระเบิดในวงการเพลงยุคนั้น
ยิ่งถูกห้ามเปิดก็ยิ่งมีคนอยากฟัง ในหนังสืออนุสรณ์ พระราชทานเพลงศพ นายชาญ เย็นแข เมื่อ 29 พฤศจิกายน
2531 ระบุไว้ว่า
      
         เพลงที่บันทึกเสียงแล้วขายดีที่สุด เพลงชื่อกลิ่นโคลนสาบควาย พ.ศ.2496 ผู้ประพันธ์คือ ไพบูลย์ บุตรขัน
บริษัท ดีคูเปอร์ แอนด์ยอนสตัน อัดแผ่นเสียงจำนวน 6,000 แผ่น ขายหมดตลาดใน 15 วัน ทำให้บริษัทจ่ายรางวัล
พิเศษผู้ร้องและผู้ประพันธ์คนละ 5,000 บาท ต่างหาก"

             ชาญ เย็นแข เองก็ได้เขียนเล่าเอาไว้ เมื่อมิถุนายน พ.ศ.2527 ว่า

         แผ่นเสียงเพลงกลิ่นโคลนสาบควายเป็นแผ่นที่ขายดีที่สุดในยุคนั้น สมัยก่อน เพลงไหนดังทางโรงหนัง
เกือบทุกโรงจะต้องซื้อไปเปิด โรงละ 2- 3 แผ่นถึงขนาดทางร้านต้องขึ้นราคา จาก 17 บาทมาเป็น 30 - 40 บาท
เพราะมันขายดีมาก บริษัทเรียกตัวผมไปรับรางวัล ครูไพบูลย์ ได้ 5,000 บาท ผมได้ 3,000 บาท
                ครูไพบูลย์ แต่งเพลงนี้กินใจมากเพลงในแนวชีวิตละเอียดอ่อน ต้องครูไพบูลย์แต่ง
ผมรับรองว่า ในกรุงรัตนโกสินทร์หาใครแต่งได้เท่าครูไพบูลย์ไม่มีอีกแล้ว ทุกวันนี้ผมร้องเพลงตามห้องอาหาร
ยังมีคนขอให้ร้องทุกคืน..."

บทความจาก คีตาพญาไท (เว็บผู้จัดการ online)

        http://www.youtube.com/watch?v=SIY_GNonMDk
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 11:21

สองจิตสองใจไม่รู้จะต่อไปทางคุณชาญ เย็นแข หรือครูไพบูลย์ บุตรขัน ดี   แต่ในเมื่อกระทู้ชื่อดาวเสียงก็ตกลงใจว่าจะต่อทางคุณชาญดีกว่า   แต่ถ้าคุณ SILA และคุณเพ็ญชมพูจะนำผลงานครูไพบูลย์มาลงก็ไม่ขัดข้องนะคะ    เพลงของท่านยากจะหาใครเปรียบได้ทั้งทำนองและเนื้อร้อง  ถือเป็นตำนานเพลงไทยสากล

ชาญ เย็นแข มีพลังเสียงห้าวใหญ่กังวาน   ฟังมาดแมนเต็มตัว    ใครชอบเสียงแบบนี้ในปัจจุบัน  ถ้าอยากฟังเห็นจะต้องไปหาเพลงของแอ๊ด คาราบาว        ส่วนนักร้องชายในค่ายเพลงต่างๆ เสียงใสไปในทางนกคีรีบูนกันหมดแล้ว
น้ำเสียงชาญแม้ห้าวใหญ่  ไม่นุ่มอย่างเสียงของทนงศักดิ์ แต่เขาก็ร้องเพลงเศร้าระทมได้ไพเราะเช่นกัน    อย่างเพลงนี้ค่ะ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 11:33



เพลงนี้ดัดแปลงทำนองจากเพลงไทยเดิม สุดสงวน 
คำร้องประพันธ์โดย พร ภิรมย์ และ ประสพโชค เย็นแข
เนื้อเพลงใช้สัญลักษณ์แมลงกับดอกไม้ตามแบบวรรณคดีไทย  แต่แปลงเป็นเนื้อหารักสามเส้า ระหว่างดอกบัว  ผึ้งและสายลม  ด้วยชั้นเชิงทางภาษาซับซ้อน และงดงาม   เป็นเนื้อเพลงรุ่นเก่าที่ควรเก็บไว้ศึกษาพัฒนาการของเนื้อเพลง

หอมเอยดอกบัวยั่วอารมณ์   พลิ้วตามสายลม ชื่นชมยามเจ้าขึ้นเคล้าลมเล่น
พลิ้วก้านใบไสวดอกพราวแลขาวเด่น  โน้มเอนชูช่อเบิกบาน
พระพายอวลกลิ่นเกสรสุคนธ์  ล้อลมเวียนวน กลีบอุบลตระการ
กลิ่นเจ้าเร้ารื่น ชื่นบาน   สายลมพลิ้วจูบเจ้า คล้ายจะเอาเจ้าขึ้นวิมาน
เป่ามนต์ดลใจให้ร้าวราน  ทะยานลืมสระจะละก้านใบ หมายไปเริงรื่นกับลม

ภมรร่อนมาเมื่อคราหอม หมายชมดมดอม ผึ้งหมายจะตอมยั่วย้อมอารมณ์
เสียงหวี่หวู่ดังรู้เล่ห์กลมนต์รักข่ม    หวังชมเพียงกลิ่นอุบล
ภมรครวญคร่ำคงช้ำชอกใจ  ร้องครวญหวนไห้  บัวไม่ปล่อยตน
ต้องมนต์ไหวก้านกับลม    แสนสุดตรมใจผึ้ง  ต้องช้ำวิโยคโศกตรึงใจตรม   
ถูกลมรังแกเจ้าแพ้ลม   ระทมดวงจิตเป็นพิษเจ็บกาย เสียดายเพียงช่อดอกบัว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 15 ส.ค. 12, 13:11



อีกเพลงหนึ่งที่ครูไพบูลย์ บุตรขันแต่งเนื้อร้องและทำนอง   ชาญ เย็นแขขับร้อง

ดวงใจอาดูรสูญความรักในฤทัย
โอ้ชีวิตระบมตรมในนั้นใครไหนเล่าดังเราตรอมตรม
สาปแล้วความรักเอย  ชมเชยแต่ความระทม
ผ่านความช้ำข่ม  เหยียบจมใต้พระธรณี

อาวรณ์ซมซาน  ร้าวรานฤดีคิดไป
โลกจึงเหมือนตารางดวงใจ  แม้ใครพบผ่านมารแห่งชีวี
ต่อนี้ไปไกลกัน  ดั่งจันทร์และดวงสุรีย์
จากกันเหมือนพี่จากน้องที่นองน้ำตา

ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ไร้สุขเกิดกรรม
โอ้จริงเหมือนคำพระศาสดา
อธิษฐานวาจา เกิดชาติใดหนาอย่ารักใคร
ตารางดวงใจ อย่าได้มาพาน

ดวงใจอาดูร  สูญความรักไปแล้วเอย
ผ่านไปเหมือนดังลมรำเพย ชิดเชยแล้วจากดังกรรมบันดาล
ฝากฝันลอยตามลม  ระทมอยู่ในดวงมาลย์
ชั่วชีวิตผ่านแต่ช้ำระกำดวงใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 35
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง