เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 35
  พิมพ์  
อ่าน: 197209 รำลึกถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 11:52

เพลงอีกเพลงที่บุษยาร้องคู่  คือ เมื่อฝนโปรย ร้องคู่กับสุนทราภรณ์(ครูเอื้อ สุนทรสนาน)  เป็นการบันทึกเสียงครั้งที่สอง  ครั้งแรกครูเอื้อร้องคู่กับชวลี ช่วงวิทย์
เคยฟังเมดเล่ย์  เพลงเมื่อฝนโปรย ประสานเสียงกับเพลง กรุงเทพราตรี   ออกมากลมกลืนกันได้น่าอัศจรรย์ใจ   เสียดายหาไม่เจอในยูทูบค่ะ



คำร้อง     แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง    เอื้อ สุนทรสนาน   

หญิง) เมื่อฝนโปรยมาเราบังชายคา
แผ่นดินแผ่นฟ้าชุ่มฉ่ำ
ชาย) แผ่นดินฉ่ำน้ำดูนอง
หญิง) แผ่นดินฉ่ำน้ำดูนอง
ชาย) เหมือนใจฉ่ำรักเธอเคยรอง
หญิง) รักนองท่วมล้นจนเกินปอง
ชาย) หัวใจก็นองเจิ่งล้น
เมฆฝนอมฝนนานเกินจะทน จึงคายเป็นฝนไหลบ่า
หญิง) บ่าจากฟากฟ้าเมืองบน
ชาย) บ่าจากฟากฟ้าเมืองบน
หญิง) เหมือนรักอมกลั้นตันกมล
ชาย) คับใจเต็มกลั้นมันเกินทน
หญิง) รักหลั่งกว่าฝนล้นหลั่ง
พร้อม) มองฟ้าคร่ำดำหมอง
ชาย) หมองใจเมื่อไร้เธอครอง อกเราก็หมองชิงชัง
หญิง) แม้เราจากกันโศกศัลย์สุดสั่ง
น้ำตาจะพาไหลหลั่งดั่งฝนพราวพรู
ชาย) อย่าเอาคำน้ำตามาเปรียบเรา
หญิง) เปรียบอย่างนั้นใจมันแสนเศร้า
ชาย) เศร้าจริงเจียวพธู
พร้อม) ฝนเอย ตกต้องตามฤดู
ตกแต่รักเราพราวอยู่ ตกจนไม่รู้เวลา

ชาย) เมื่อร้อนเต็มทนไอดินลอยวน  แต่พอได้ฝนก็ฉ่ำ
หญิง) แผ่นดินดูดน้ำซึมมา
ชาย) แผ่นดินดูดน้ำซึมมา
หญิง) เหมือนใจดูดรักเรานำพา
ชาย) รักเราดูดรักเต็มอุรา
หญิง) น้ำใจก็พาเศร้าหาย
ต้นไม้จวนตายพิรุณโปรยปราย
เหี่ยวแห้งก็หายคลายแห้ง
ชาย) กิ่งใบแห้งแล้งพลันคลาย
หญิง) กิ่งใบแห้งแล้งพลันคลาย
ชาย) เหมือนใจที่แห้งจวนจะตาย
หญิง) รักโปรยมาหล่อพอสบาย
พร้อม) ความโศกที่ร้ายหายขุ่น
หญิง) เย็นหนาวสั่นปานใด
ชาย) หนาวเย็นเถิบชิดดวงใจ
เบียดให้ใกล้เนื้อนวลละมุน
หญิง) ไอตัวอบตัว อุ่นเนื้ออบอุ่น
ชาย) ขวัญใจกลิ่นไอหอมกรุ่น  อุ่นเหมือนผิงไฟ
หญิง) อุ่นอบกายหัวใจก็อุ่นพลอย
ชาย) อุ่นด้วยกายโดนปลายนิ้วก้อย
หญิง) พล่อยจนเกินไป
พร้อม) ฝนมาอย่าเพิ่งซาหายไป
ตกมาทั้งวันก็ได้จะได้แนบเนื้อนานนาน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 12:11

เพลงนี้กระมัง ครับ

           เพลงแห่งความหลัง ร้องนำโดย คุณวินัย

       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 12:20

เยี่ยมมากค่ะ  คุณ SILA
เป็นเมดเล่ย์ กรุงเทพราตรี บึงน้ำรัก เมื่อฝนโปรย เจ้าพระยา และเพลงแห่งความหลัง   นำเพลงสี่แรกเฉพาะบางท่อนมารวมไว้เป็นเพลงเดียวกัน  วินัย จุลละบุษปะ ร้องนำ ชื่อ เพลงแห่งความหลัง
ถือเป็นการเรียบเรียงที่สุดยอดของสุนทราภรณ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 17:24

เราพูดกันถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปของสุนทราภรณ์มาหลายคนแล้ว  ขอเปลี่ยนทิศทางเป็นดาวเสียงแนวอื่นบ้าง
นานมาแล้ว  ได้ยินเพลงเนื้อร้องแปลกหูเพลงหนึ่งเป็นครั้งแรก  ฟังเสียงร้อง เนื้อร้องและท่วงทำนอง ประกอบเสียงกีต้าร์ก็ติดใจทันที   เป็นครั้งแรกที่ได้ยินเพลงป๊อบร้องด้วยภาษาไทยที่แทรกภาษาล้านนา   เรียกกันว่าโฟล์คซองคำเมือง
เพลงนั้นคือ อุ๊ยคำ    
(คุณเพ็ญชมพูอย่าเพิ่งตรวจภาษา  เพลงนี้สะกดบนแผ่นว่า อุ้ยคำ แต่คนร้องออกเสียงเป็น อุ๊ยคำ)  เป็นเพลง ballad  คือเพลงที่เล่าเรื่องราวต้นจนจบในเนื้อร้อง

ศิลปินผู้ร้อง มีเสียงนุ่มนวลน่าฟังมาก   ออกสำเนียงถิ่นเหนือได้ไพเราะติดหู
จึงจำชื่อจรัล มโนเพ็ชร ได้นับแต่นั้น



.อุ๊ยคำ อุ๊ยคำ อุ๊ยคำ
อุ๊ยคำคนแก่ ท่าทางใจดี
ลูกผัวบ่มี อยู่ตัวคนเดียว
มะแลงแดดอ่อน อุ๊ยคำกำเคียว
เกี่ยวผักบุ้ง ใส่บุงกลางหนอง
ตาก่ฝ้า ก่ฟาง หลังก่งุ้ม ก่ก่อง
อยู่กลางหนอง จนมืด จนค่ำ
แล้วแกก็แบ่ง (แล้วแกก็แบ่ง)
ผักบุ้งเป็นก๋ำ (ผักบุ้งเป็นก๋ำ)
ส่งขาประจำ เลี้ยงตัว สืบมา
อุ๊ยคำเกยบอก เล่าความเป๋นมา
ลูกผัวก่อนหน้า นั้นอยู่ตวยกั๋น
แล้วมาวันหนึ่ง (แล้วมาวันหนึ่ง)
ผัวแกก่พลัน (ผัวแกก่พลัน)
มาต๋ายละกั๋น เหลือเพียงลูกสาว
แต่แล้วแฮม บ่เมิน มีเรื่องอื้อฉาว
ลูกสาวหนีโต๋ย ปอจาย
อุ๊ยคำเลยอยู่คนเดียวเปลี่ยวดาย
ตุ๊กใจ๋ ตุ๊กก๋าย ปี้น้อง บ่มี

อุ๊ยคำ อุ๊ยคำ อุ๊ยคำ
อุ๊ยคำคนแก่ ท่าทางใจ๋ดี
ลูกผัวบ่มี เป็นดี้เอ็นดูล้ำ
แลงนี้แดดอ่อน บ่หันอุ๊ยคำ
เกยมาประจำ อุ๊ยคำ ไปไหน
หมู่ผักบุ้ง ยอดซมเซาซบ บ่ไหว
เป็นจะใดไปแล้วอุ๊ยคำ
ฟ้ามืดมัวหม่น เมฆฝนครื้มดำ
เสียงพระอ่านธรรม ขออุ๊ยคำไปดี
อุ๊ยคำ อุ๊ยคำ อุ๊ยคำ

เพลงนี้เข้าใจว่าคุณจรัลแต่งเนื้อร้อง  ส่วนทำนองมาจากเพลง   - MAN COMES INTO EGYPT  ของ Hellerman and Minkoff, ร้องโดย PETER PAUL & MARY

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 22:39

ประวัติของจรัล มโนเพ็ชร์ในวิกิพีเดีย

ในบรรดาเพลงทั้งหมดของคุณจรัล  เพลงนี้เป็นเพลงโปรด



เนื้อร้อง -ทำนอง  จรัล มโนเพ็ชร

อย่ากลับคืนคำเมื่อเธอย้ำสัญญา
อย่าเปลี่ยนวาจาเมื่อเวลาแปรเปลี่ยนไป
ให้เธอหมายมั่นคง แล้วอย่าหลงไปเชื่อใคร
เดินทางไป... อย่าหวั่นใครกางกั้น ..

มีดวงตะวันส่องเป็นแสงสีทอง
กระจ่างครรลองให้ใฝ่ปองและสร้างสรรค์
เมื่อดอกไม้แย้มบาน ให้คนหาญสู้ไม่หวั่น
คือรางวัลแด่ความฝันอันยิ่งใหญ่... ให้เธอ

บนทางเดินที่มีขวากหนาม
ถ้าเธอคร้ามถอยไปฉันคงเก้อ
ฉันยังพร้อมช่วยเธอเสมอ
เพียงตัวเธอไม่หนีไปเสียก่อน

จะปลอบดวงใจให้เธอหายร้าวราน
จะเป็นสะพานให้เธอเดินไปแน่นอน
จะเป็นสายน้ำเย็น ดับกระหายยามโหยอ่อน
คอยอวยพรให้เธอสมดังหวังได้... นิรันดร์..
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 09:33

เพลงอีกเพลงหนึ่งที่โด่งดังไม่แพ้ อุ๊ยคำ  คือเพลง มิดะ  เนื้อเพลงพูดถึงลานสาวกอด หรือประเพณีของชาวอาข่า ที่มี "มิดะ" ซึ่งเป็นคำเรียกแม่ม่ายผู้ทำหน้าที่สอนเพศศึกษาให้หนุ่มๆ     
คนฟังก็เข้าใจกันตามเนื้อเพลงว่านี่คือประเพณีหนึ่งของชาวอาข่า   อาข่าก็เลยดังขึ้นมาด้วยเพลงนี้  จนชาวอาข่าอดรนทนไม่ได้ ต้องออกมาประกาศว่าไม่ใช่เรื่องจริง  อาข่าไม่เคยมีประเพณีดังกล่าว    มิดะ ไม่มีตัวตน มีแต่คำว่า หมีดะ ซึ่งหมายถึงหญิงสาวโสด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 09:38

แถลงการณ์ มายาคติ คลายปมมิดะและลานสาวกอด

กราบเรียน ท่านผู้อาวุโสอาข่าทุกท่าน นักวิชาการ นักเขียน เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชนทุกแขนง

อาข่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ ในภาคพื้นเอเชียคือ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และทางเหนือของประเทศไทย คนไทยรู้จักชาว "อาข่า" มาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะ "มิดะ" และ "ลานสาวกอด"
คำว่า "มิดะ" เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2492 ในหนังสือภาษาไทยเรื่อง "30 ชาติในเชียงราย" โดยผู้เขียนชื่อบุญช่วย ศรีสวัสดิ์  และหลังจากนั้นปีพ.ศ.2496 ได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อ "ชาวเขาในประเทศไทย"  ต่อมามีหนังสือมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้น เช่น หนังสือ "เรื่องลับน่ารู้ของอีก้อ" ที่เขียนโดย ปิยพงศ์

แต่สิ่งที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่รู้จักคำว่า "มิดะ" นั้นมาจากศิลปินเพลงชาวเหนือ จรัล  มโนเพชร ได้แต่งเพลงชื่อว่า "มิดะ" ที่กล่าวถึง "มิดะ" หญิงสาวผู้เป็นครูสอนเพศศึกษาให้แก่ชายหนุ่มชาวอาข่าที่กำลังเข้าสู่วัยออกเรือน อีกทั้งยังกล่าวถึง "ลานสาวกอด" อีกด้วย จากชื่อ "ลานสาวกอด" นี้ ทำให้คนทั่วไปเกิดความเข้าใจว่า ลานสาวกอดเป็นสถานที่พลอดรัก เป็นสถานที่ที่สามารถกอดสาวได้ตามใจชอบ

 ด้วยความเข้าใจใน "มิดะ" และ ไลานสาวกอด" ที่ได้ถ่ายทอด ตอกย้ำ ซ้ำ ทวน ตามสื่อต่างๆ ทั้งบทเพลง หนังสือ ภาพยนตร์ การ์ตูน จึงทำให้เกิดวาทะกรรม "มิดะ" และ "ลานสาวกอด" ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่อผู้หญิงอาข่ารวมถึงผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกด้วย ทำให้ชาวอาข่าออกมาแสดงความคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างอัตลักษณ์ "ความเป็นอาข่า" ในแบบที่เขาไม่ได้เป็นผู้สร้าง

 ชาวอาข่าได้กล่าวถึงคำว่า "มิดะ" หรือ "หมี่ดะ" ว่า เป็นคำเรียก หญิงสาวธรรมดาของอาข่าที่ยังไม่ได้แต่งงาน ไม่ได้เป็นชื่อตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น ส่วน "ลานสาวกอด" นั้นไม่มีอยู่จริง มีเพียงแต่ "ลานวัฒนธรรม" หรือ "แต ห่อง" เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในทางพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับคนในหมู่บ้าน เป็นแหล่งถ่ายทอดบูรณาการความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เป็นแหล่งแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างความสมัครสามัคคีแก่ผู้คนในหมู่บ้าน ดังนั้นเรื่องราวด้านเพศสัมพันธ์ของชาวอาข่า โดยเฉพาะที่ว่าด้วย "มิดะ" และ "ลานสาวกอด" นั้น จึงเป็นเพียงจินตนาการของผู้เขียนสารคดีและบทเพลงเท่านั้น

 "มิดะ" ที่เป็นแม่ครูชำนาญโลกีย์สอนลีลารักแก่ชายหนุ่มนั้นจึงไม่เคยมีอยู่จริงในสังคมอาข่า มีแต่ "หมี่ดะ" ที่เป็นหญิงบริสุทธิ์ผู้เตรียมพร้อมต่อหน้าที่เมียและแม่ของตน  "กะลาล่าเซอ" ที่ไม่ใช่ "ลานสาวกอด" และ "ลานสาวกอด" ที่ไม่ได้มีไว้กอดสาว แต่คือ "แดข่อง" ลานประเพณีที่ชายหญิงมาร่วมกันร้องเพลงเต้นรำขับกล่อมหมู่บ้านและผู้คนให้ซึมซับวิถีแห่งวัฒนธรรมอาข่า  โลกทางวัฒนธรรมทางเพศของชาวอาข่าที่แท้จริงนั้นจึงมีความละเมียดละไมและกลิ่นอายความงดงามในฐานะมนุษย์ธรรมดาๆ กลุ่มหนึ่งอยู่อย่างเต็มเปี่ยม มิใช่สังคมอิสระทางเพศดังที่หลายๆคนเข้าใจ

 ดังนั้นจากนี้เป็นต้นไป หากสื่อใดๆ มีความประสงค์ที่จะเผยแพร่เรื่องราวของ มิดะและลานสาวกอดก็ให้ถือการแถลงข่าวนี้เป็นหลัก และหากสำนักพิมพ์ใดๆ มีความประสงค์จะตีพิมพ์ก็ขอให้เอาแถลงการณ์นี้แนบท้ายก็จะดียิ่ง

 ขอขอบพระคุณ ณ โอกาสนี้ สวัสดีครับ

 อาจู จูเปาะ
 ประธานชมรมอาข่าในประเทศไทย

 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20110131/374707/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B0-%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C---%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%94.html
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 09:46

            นอกจากร้องและแต่งเพลงไพเราะแล้ว คุณจรัลยังมีความสามารถทางการแสดงที่โดดเด่น
ทั้งบนเวที ในละครเพลงสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ บนจอเงินในเรื่องด้วยเกล้า และจอแก้วในเรื่องขมิ้นกับปูน

คลิปบางตอนจาก ด้วยเกล้า เล่าเรื่องราวชีวิตชาวนา ความแห้งแล้งและฝนหลวง

           
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 09:47

            ชอบเพลงรางวัลแด่คนช่างฝันมากเช่นกัน ครับ เป็นเพลงเอกของคุณจรัล
ที่มีนักร้องนำมาร้องต่อกันไปนับสิบคน

              เวอร์ชั่นนี้ไพเราะหรูหราบรรเลงด้วยวงไหมไทย  ในอัลบั้มลำนำแห่งขุนเขา ครับ

     
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 09:48

และ   อีกหนึ่งเพลงจากอัลบั้มเดียวกัน  ครับ

               ล่องแม่ปิง

     ...ดอกบัวตองนั้นบานอยู่บนยอดดอย
ดอกเอื้องสามปอย บ่เกยเบ่งบานบนลานพื้นดิน
ไม้ใหญ่ไพรสูง นกยูงมาอยู่กิน
เสียงซึงสะล้อ..จ๊อยซอเสียงพิณ
คู่กับแดนดินของเวียงเจียงใหม่
สาวเจ้าควรภูมิใจ บ่ลืมว่าเฮาลูกแม่ระมิงค์

...* คนงามงามต้องงามคู่ความเด่นดี
ต้องฮักศักดิ์ศรีของกุลสตรีแม่ญ่าแม่ญิง
เยือกเย็นสดใส..เหมือนน้ำแม่ปิง
มั่นคงจริงใจ ฮักใครฮักจริง
สาวเอยสาวเวียงพิงค์ สาวเครือฟ้าเคยซมซาน
อีกแม่สาวบัวบาน..นั่นคือนิทานสอนใจ

        
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 10:15


เพลง    ของกิ๋นคนเมือง
ศิลปิน    จรัล มโนเพชร

        ช.ของกิ๋นบ้านเฮา.
        เลือกเอาเต๊อะนาย.
        ญ.เป๋นของพื้นเมือง.
        เป๋นเรื่อง สบาย.
        (ช+ญ) ล้วน ซะป๊ะ มากมี
        ฟังฮื้อดีเน้อ.
        ฟั่งใค้ อยากจนเผลอ
        มาบลืนน้ำลาย
        ช.แก๋งแคจิ้นงัว
        ญ.ใส้อั่วจิ้นหมู
        ช.แก๋งหน่อไม้ซาง
        ญ.ขั่วบ่าถั่วปู
        (ช+ญ)น้ำพริกแมงดา
        กับน้ำพริกอ่อง.
        คั่วผักกุ่มดอง
        หนังปองน้ำปู๋
        ช.แก๋งผักเซี้ยงดา
        ญ.ใส่ป๋าแห้งตวย เน้อเจ๊า
        ช.แก๋งบอนแก๋งตูน
        ญ.กับแก๋งหยวกกล้วย
        (ช+ญ) ต๋ำบ่าหนุนยำเตา
        ซ้าบ่าเขือผ่อย
        แก๋งเห็ด แก๋งหอย
        ก้อยป๋าดุ๊กอุย
        ช.แก๋งบ่าค้อนก้อม
        ญ.แก๋งอ่อมเครื่องใน
        ช.แก๋งผักเฮือดลอ
        ญ.อ๋อยำหน่อไม้
        (ช+ญ)น้ำเมี้ยงน้ำตับ
        กับแก๋งฮังเล
        น้ำพริกอีเก๋ เฮ้ยำจิ้นไก่
        ช.ลาบงัวตั๋วลาย
        ญ.ลาบควายตั๋วดำ
        ช.ลาบไก่ยกมา
        ญ.ลาบป๋าสร้อย ก็ลำกา
        ช.กิ๋นอะหยังระวังพ่อง
        ญ.ลุต๊องจะว่าบ่าบอก
        ช.ส่วนบ้านผม กิ๊กก๊อก
        ญ.ยอกแก๋งโฮะ ตึงวัน
        ช.ของกิ๋นบ้านเฮา.
        เลือกเอาเต๊อะนาย.
        ญ.เป๋นของพื้นเมือง.
        เป๋นเรื่อง สบาย.
        ช+ญ) ล้วน ซะป๊ะ มากมี
        ฟังฮื้อดีเน้อ.
        ฟั่งใค้ อยากจนเผลอ
        มาบลืนน้ำลาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 15:28

เพลงสำหรับคนไกลบ้าน เป็นอีกเพลงหนึ่งที่จรัลแต่งและร้องได้อารมณ์โหยหาถึงถิ่นเดิม 
ชาวเรือนไทยคนไหนอยู่ไกลบ้าน น่าจะชอบฟัง



มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน
มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน
มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน
ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน

* อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน

มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 17:49

       ฟังคุณจรัลร้องเพลงของตัวเองแต่งแล้ว เชิญฟังคุณจรัล cover เพลงเก่า - คืนหนึ่ง

คลิปเพลงนี้จากละครโทรทัศน์เรื่อง เมื่อดอกรักบาน

          


ทำนองโดยครูแจ๋ว สง่า อารัมภีร์ คำร้องโดย เสด็จองค์ชายใหญ่และครูแจ๋ว

แต่เดิมเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง จำปูน ครับ    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 19:54

ขอย้อนถอยหลังไปจากยุคคุณจรัล  ถึงในรัชกาลที่ 6   ดช.สมยศ ทัศนพันธ์ ถือกำเนิดมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2458 
ประวัติในวิกิพีเดียบอกว่าเป็นบุตรของ ร.อ.เจริญ ทัศนพันธ์ ร.น. เกิดที่ย่านบ้านหม้อ ถนนเจริญกรุง ที่ร้านเจริญกิจมาลาของผู้เป็นบิดา มารดาเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก จึงอยู่กับบิดาและแม่เลี้ยง เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดสุทัศน์และโรงเรียนวัดราชบพิธและศึกษาต่อด้านวิจิตรศิลป์ ที่โรงเรียนเพาะช่าง

สมยศ ทัศนพันธ์ ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก เคยรวมกลุ่มกับเพื่อนเล่นดนตรี และประกวดร้องเพลงตามงานวัดได้รางวัลมากมาย สมัยเรียนเพาะช่าง เกิดขัดแย้งกับแม่เลี้ยงซึ่งไม่พอใจที่สมยศซ้อมร้องเพลงหนวกหูทุกวัน จึงหนีออกจากบ้านไปอยู่กับเพื่อน และเลิกเรียนหนังสือ
ต่อมาได้ข่าวว่ากองทัพเรือไทยรับสมัครนักร้องและนักแต่งเพลงประจำกองดุริยางค์ทหารเรือ จึงเข้าไปสมัครแข่ง โดยร้องเพลง "บางปู" ของครูล้วน ควันธรรม ได้ที่หนึ่งและบรรจุเข้ารับราชการ รุ่นเดียวกับสุรสิทธิ์ สัตย์วงศ์ เสน่ห์ โกมารชุน สมศักดิ์ เทพานนท์ และปิติ เปลี่ยนสายสืบ

สมยศ ทัศนพันธ์ เป็นผู้แต่งทำนองเพลงให้กับกองดุริยางค์ทหารเรือ โดยมีครูสกนธ์ มิตรานนท์เป็นผู้แต่งคำร้อง เช่น "ลมทะเล" "วอลท์ซนาวี" "หน้าที่ทหารเรือ" และเพลงดัง เช่น "เซียมซีเสี่ยงรัก" "รอยแผลเก่า" "น้ำตาผู้ชาย" "ดาวร่วง" "รักครั้งแรก" "ขวัญอ่อน" "เกร็ดแก้ว" และเป็นผู้สนับสนุนให้ครูพยงค์ มุกดาเข้ามาอยู่ในกองดุริยางค์ทหารเรือ

สมยศ ทัศนพันธ์รับราชการอยู่เป็นเวลา 16 ปีจนกระทั่งมียศเป็นเรือตรี จึงลาออกจากราชการและตั้งวงดนตรีเดินสายทั่วประเทศ เป็นนักร้องคนแรกที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในสาขาเพลงลูกทุ่ง ในปี พ.ศ. 2508 จากเพลง "ช่อทิพย์รวงทอง" ผลงานประพันธ์ของพยงค์ มุกดา บันทึกเสียงเมื่อ พ.ศ. 2498

สมยศ ทัศนพันธ์ เสียชีวิตด้วยวัย 67 ปี ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ด้วยโรคหัวใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 02 ส.ค. 12, 19:58



ช่อทิพย์รวงทอง
คำร้อง ทำนอง ครู พยงค์ มุกดา  ศิลปินแห่งชาติ

รุ่งแล้วอรุณอุ่นไอแสงส่อง ทั่วท้องคันนา
อร่ามงามตาช่อทิพย์รวงทอง
ชูช่อเหลืองประเทืองงามผ่อง
ดั่งหนึ่งน้องพธูนารี โพสพเทวีเฉิดฉันท์

รุ่งทิพย์รวงทองพี่มองเหมือนเช่นได้เห็นอนงค์
ยืนอวดเอวองค์อ่อนช้อยลาวัณย์
งามดุจฟ้าเทวามาปั้น  ดังสวรรค์ประทานนางมา เมื่อฟ้าสีทองอุทัย
รวงทองชูต้นเหมือนคนใจเดียว  รอฤดูเก็บเกี่ยว
แหงนคอรอเคียวเกี่ยวไป
สาวเอยแม่มัวเฉยเมยคอยใคร
ให้พี่เก็บเกี่ยวเจ้าไป สู่ยุ้งฉางในหทัยรักพี่

ช่อทิพย์รวงทองพี่น้องน้องยิ่งกว่าหญิงใดๆ
จะเก็บเกี่ยวไปเป็นขวัญชีวี
เป็นช่อทิพย์ในดวงใจพี่
รวงทองนี้ปรานีให้เคียว เกี่ยวน้องไว้ครองคู่เอย

เพลงนี้ชรินทร์ นันทนาครนำมาร้องอีกครั้งก็ประสบความสำเร็จมาก   ดิฉันจึงอยากถามคุณ SILA ว่าเพลงลูกทุ่งในสมัยนั้น เขานับกันที่การเปล่งเสียงออกเหน่อๆ แบบลูกทุ่งเท่านั้นหรือเปล่า  เพราะจะว่าไปทำนอง ตลอดจนเนื้อร้อง ก็ไม่ต่างจากเพลงลูกกรุง   
เคยได้ยินนักร้องรุ่นใหญ่อย่างวงจันทร์ ไพโรจน์มาร้องเพลงลูกกรุง  ชรินทร์ ไปร้องเพลงลูกทุ่งอย่างเพลงนี้ ก็ร้องตามแนวของตนเองได้เนียนสนิทดี  ไม่ต้องเปลี่ยนลีลา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 35
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง