เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 35
  พิมพ์  
อ่าน: 198158 รำลึกถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 02 พ.ค. 15, 07:54

ทุกครั้งที่กระทู้นี้เปิดขึ้นมาในหน้าแรกอีก  ก็ได้แต่ใจหาย เพราะรู้ว่าศิลปินที่ขับกล่อมให้พวกเราเป็นสุขด้วยเสียงเพลง
ได้จากไปอีกคนหนึ่งแล้ว
ขอให้วิญญาณคุณลินจงไปสู่สุคติค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 02 พ.ค. 15, 08:08

ฟังเพลงจีน เถียนมีมี่จากคุณลินจงแล้วใจหายอีกครั้ง     เธอยิ้มอย่างเป็นสุขเมื่อร้องเพลงนี้  เหมือนได้กำลังใจจากเพลงที่เธอรักอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 03 พ.ค. 15, 10:10

           ป้าหลินเคยเล่าว่า เป็นกำพร้าแต่เล็กเมื่อพ่อกลับไปเมืองจีนแล้วไม่กลับมาอีกเลย
ในวัยเด็กป้าได้เล่าเรียนร.ร. สองภาษาคือไทย จีน ทำให้ได้ใช้วิชาร้องเพลงจีนมาแต่เด็ก             
            ตอนดูรายการทีวีเห็นป้านั่งรถเข็นร้องเพลงได้เหมือนปกติในรายการดนตรีในสวน
ยังนึกว่าป้าป่วยด้วยโรคทางกระดูก เมื่อตามข่าวรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นโรคร้าย(มาก) ก็อดจะ
ใจหายไม่ได้ เพราะเคยคุ้นได้เห็น ได้ยินเสียงป้ามาแต่เด็กๆ

ตอนแรกป้าหลินใช้ชื่อนามสกุลว่า บุนนาก ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นบุนนากรินทร์ในเวลาต่อมา
ภาพจาก thaigramophone.com


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 03 พ.ค. 15, 10:11

          หนึ่งในเพลงฮิทของป้า ซึ่งเป็นเพลงคู่ คือเพลง มนต์รักดอกคำใต้ ผลงานการประพันธ์
โดยคู่คีตกวี สง่า ชาลี เว็บสมาพันธ์เรดิโอ กล่าวว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 03 พ.ค. 15, 10:13

        นอกจากเพลงมนต์รักดอกคำใต้ ซึ่งใช้ประกอบหนังเรื่องแมวไทย เพลงดังของป้าเพลงอื่นๆ
จากหนังยังมีอีก เช่น จากกันอย่าลา จากเรื่อง เมขลา จูบฉันแล้วจงตายเสีย จาก กระเบนธง และ
เพลงโปรดคุณอาชา จันทร์เอ๋ย ก็จำได้ว่าเป็นเพลงในละครทีวี เรื่อง รถรางสายปรารถนา

      
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 03 พ.ค. 15, 22:48

ข้อมูลใน wiki บอกว่าจัทร์เอ๋ยเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องปิดทองหลังพระ ปี 2482 ซึ่งถ้าข้อมูลถูกต้องแสดงว่าคุณลินจงไม่ใช่ผู้ร้องเพลงนี้เป็นท่านแรกครับ

ผมรู้จักเพลงนี้จากละครเรื่อง ซอยปรารถนา ๒๕๐๐ (เป็นละครสักสิบกว่าปีที่แล้ว ไม่ได้ฉายปี ๒๕๐๐ นะครับ) เข้าใจว่าเป็นคุณลินจงร้องครับ แต่ไม่ทราบว่าร้องเพื่อประกอบละครเรื่องนี้โดยเฉพาะ หรือว่าบันทึกเสียงไว้ก่อนหน้านั้นนานแล้วนะครับ

ต้องชมเชยคุณสินนภา สารสาส ผู้ทำเพลงประกอบละครเรื่องนี้ เลือกเอาเพลงจันทร์เอ๋ยมาใช้ร่วมกับ Symphony No.9 "From the New World" ของ Antonin Dvorak ได้อย่างเหมาะเจาะมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 04 พ.ค. 15, 07:37

จันทร์เอ๋ย ไม่ใช่คุณลินจงร้องเป็นคนแรกแน่นอนค่ะ   ดิฉันจำเพลงนี้ได้ตั้งแต่เด็ก   เคยคิดว่าเป็นเพลงประกอบละครเวทีมาก่อน   ท่วงทำนองเป็นเพลงยุคก่อนสงครามโลก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 04 พ.ค. 15, 10:25

          ละครหลังข่าวช่องเจ็ดสีเรื่องเดียวกัน ครับ
          แต่จำชื่อ เป็นรถรางฯ ด้วยความคุ้นเคยจากบทละครดั้งเดิม(ต่อมาเป็นหนัง) เรื่อง
A Streetcar Named Desire ของ Tennessee Williams ที่อ.มัทนีแห่งมธ.แรกนำ
มาทำเป็นละครเวทีเมื่อหลายสิบปีก่อน และใช้ชื่อว่า รถรางคันนั้นชื่อปรารถนา จากนั้นจึงมี
การจัดแสดงที่อื่นๆ เป็นครั้งคราว

          เพลงนี้เคยรวบรวมอยู่ในอัลบั้ม พวงร้อย ที่ได้รับคำนิยมในปี 2508 เสียงร้องโดย
คุณวิสุตา สาณะเสน ภรรยาของอ.อวบ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักดนตรี(ไวโอลิน) แบ็คอัพด้วย 

             
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 04 พ.ค. 15, 10:31



เพลงนี้ประพันธ์คำร้องโดยพระยาโกมารกุลมนตรี ทำนองโดยท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (สนิทวงศ์) ศิลปินแห่งชาติ ๒๕๒๙ สาขาเพลงไทยสากล ในฐานะนักดนตรีเอกและนักประพันธ์เพลงหญิงคนแรกของไทย เพลงนี้ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง " ปิดทองหลังพระ " ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ฉบับนี้ขับร้องโดย คุณวิสุตา สาณะเสน ดนตรีโดย คณะดนตรีอาจารย์ปิยะพันธ์และเพื่อน
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 10:23

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 14:30

ไม่กี่วันมานี้  เพื่อนส่งคลิปวิดีโอมาให้ทางไลน์ เพื่อจะถามชื่อเพลงและหาเพลงเต็มๆ  ก็เลยไปค้นให้ทางยูทูป  จึงพบชื่อบุญช่วย หิรัญสุนทร  นักร้องเพลงไทยสากลรุ่นเก่า ว่าเป็นผู้ร้องเพลงนี้   
ไปหาประวัติคุณบุญช่วย พบว่าดับแสงไปตั้งแต่พ.ศ. 2438  จึงขอนำมารวมไว้ในกระทู้นี้ค่ะ

บุญช่วย หิรัญสุนทร เป็นชาวกรุงเทพฯ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 บิดารับราชการตำรวจ ชีวิตวัยเด็กต้องติดตามบิดาไปราชการในจังหวัดต่างๆหลายครั้ง และได้กลับมากรุงเทพฯ
เริ่มเข้าสู่วงการศิลปินเพราะมีเพื่อนนักแสดงประจำละครร้องคณะ”แม่เลื่อน” ซึ่งเป็นละครที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น เพื่อนผู้นั้นได้ฝากบุญช่วยเข้าอยู่กับคณะแม่เลื่อนในตำแหน่งลูกหาบ และได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดต่างๆ อีกครั้งในวัยรุ่นกับคณะแม่เลื่อน จนกระทั่งเลิกละครหญิงและสลายตัว
เกิดละครยุคใหม่ คือละครชายหญิงแท้ บุญช่วยจึงสมัครเข้าไปอยู่กับคณะ”ศิวารมณ์” โดยเริ่มจากเป็นเด็กยกฉากละคร และเปลี่ยนมาหัดตีกลองจนได้ตำแหน่งใหม่เป็นนักดนตรี
ได้มีโอกาสรู้จักกับ สง่า อารัมภีร์ ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงคณะศิวารมณ์ขึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ครูสง่าเห็นแววว่านอกจากจะเป็นนักดนตรีแล้ว บุญช่วยยังมีเสียงกังวาน เสียงที่จะเป็นนักร้องที่ดีได้ จึงสนับสนุนให้ขึ้นร้องเพลงสลับหน้าม่านเวลาละครเปลี่ยนฉากเลยได้เป็นนักร้องอย่างเต็มตัวอีกตำแหน่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากแฟนละคร

ต่อมาเขาได้เริ่มแต่งเพลงเอง และแต่งให้เพื่อนนักร้องอื่นๆ ร้องจนได้รับความนิยมมาตลอดทั้งในด้านเวทีและแผ่นเสียง นอกจากจะร้องประจำคณะศิวรมณ์แล้ว บุญช่วยยังได้เคยร่วมร้องกับคณะเทพศิลปะ-คณะพันตรีศิลปะของพันตรีโปรย อังสุกรานต์ และวงดนตรีดุริยโยธิน ของกองดุริยางค์ทหารบกอีกด้วย
จนกระทั่งถึงวันเกียรติยศ เมื่อกรมโฆษณาจัดการประกวดนักร้องแห่งประเทศไทยครั้งแรกขึ้น ในปี พ.ศ. 2492 คณะพันตรีศิลปะส่งเขาเข้าประกวด เขาได้รับรางวัลชนะเลิศได้ตำแหน่งนักร้องแห่งประเทศไทย

ในช่วงปี 2492-2494 บุญช่วยได้ร้องเพลงบันทึกลงแผ่นเสียงไว้จำนวนมาก เช่น น้ำตาแสงใต้, นางแก้วในดวงใจ, รักข้ามขอบฟ้า, อ้อมอกแม่

ปี 2495 ได้เดินทางไปกล่อมขวัญทหารไทยในราชการสงคราม ที่ประเทศเกาหลี ได้รับเหรียญทหารผ่านศึกไว้เป็นเกียรติประวัติ

กลับจากราชการสงคาม ได้เดินทางไปพากย์ภาพยนตร์ตามจังหวัดต่างๆ อยู่ระยะหนึ่ง ควบคู่กับการร้องเพลงทั้งในไนท์คลับ ภัตตาคาร และงานต่างๆอย่างต่อเนื่อง

ต้นปีพ.ศ. 2535 เข้าร้องเพลงประจำที่ ครัวรสสุคนธ์ คฤหาสน์เพลงเก่าของโรงแรมแปซิฟิค พลาซ่า และเสียชีวิตลงด้วยหัวใจล้มเหลวแบบเฉียบพลันบนเวทีคฤหาสน์เพลงเก่า เมื่อเวลา21.40น. ในคืนวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2538



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 14:34

เกียรติศักดิ์ทหารเสือ   เนื้อร้องจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 14:43

เพลง กล่อมนิทรา ที่บุญช่วยร้อง  น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ทำนองเดียวกันกับ  สั่งฟ้าฝากดิน ที่ชรินทร์ นันทนาครขับร้อง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 14:45

เพลงปลุกใจ สดุดีบรรพไทย  มีประวัติบอกไว้สั้นๆว่า
คำร้อง : แก้ว อัจฉริยกุล , ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน , ขับร้อง : ทัศนัย ชะอุ่มงาม , บุญช่วย หิรัญสุนทร ,
เป็น ๑ ใน ๔ เพลงที่ใช้เป็นเพลงบังคับในการประกวดนักร้­องแห่งประเทศไทย เพลงนี้แต่งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒
ปีนั้นประเทศไทยมีประชากร ๑๘ ล้านคน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 12 ม.ค. 16, 16:59

อาจจะช้าไปหน่อยนะคะ ที่จะรำลึกถึงดาวเสียงคนนี้   แต่มาช้ายังดีกว่าไม่มา

ในวงการบันเทิง รู้จักสีหนุ่ม เชิญยิ้มในฐานะตลกดัง  หนึ่งผู้ก่อตั้งตลกเชิญยิ้ม      ชื่อเสียงเขาโด่งดังด้านเล่นตลก  จนเกือบจะทำให้กลบพรสวรรค์อีกด้านหนึ่งของเขา คือนักร้องที่ร้องเพลงลูกทุ่ม และเพลงไทยเดิมได้ไพเราะหาตัวจับยาก

ครั้งแรกที่ได้ฟังวิดีโอคุณสีหนุ่ม ร้อง ลาวดวงเดือน   อัศจรรย์ใจจนนึกว่าพากย์เสียง  แต่มาดูอีกที   ก็ไม่น่าจะพากย์   น่าจะเป็นเสียงแท้
เป็นเสียงที่สูง หวาน เอื้อนเสียง ลงลูกคอ ได้ชัดเจนตามลำดับคีย์เสียงไม่มีผิดเพี้ยนเลย   น่าเสียดายมากที่คุณสีหนุ่มร้องเพลงไทยเดิมไว้เพียงสองสามเพลง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 พ.ย. 16, 18:49 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 35
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง