เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 35
  พิมพ์  
อ่าน: 197249 รำลึกถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 08:45

  ความพิเศษของนักแต่งเพลงรุ่นเก่า คือสามารถถอดบทกวีจากวรรณคดีออกมาเป็นเนื้อเพลงได้งามกลมกลืนกับดนตรี จนเกิดเป็นวรรณศิลป์ขึ้นในตัวอีกแขนงหนึ่ง     สุนทรภรณ์ที่ครูเพลงที่แต่งเนื้อเพลงได้เป็นเอกอยู่หลายท่านด้วยกัน  แต่ถ้าถอดจากวรรณคดีมาเป็นเพลง  ไม่มีใครเทียบเท่าครูแก้ว
  ตัวอย่างข้างล่างนี้คือเพลงที่นำเนื้อมาจากตำนานศรีปราชญ์ เรียบเรียงโดยพระยาปริยัติธรรมธาดา   ครูเอื้อแต่งร่วมกับครูแก้ว มี 3 เพลงด้วยกัน 

เพลงแรกที่จะนำลง คือ พรานล่อเนื้อ  ขับร้องโดยวินัย จุลละบุษปะ

โคลงบทเดิมคือ
เจ้าอย่าย้ายคิ้วให้          เรียมเหงา
ดูดุจนายพรานเขา         ล่อเนื้อ
จะยิงก็ยิงเอา              อกพี่ ราแม่
เจ็บไป่ปานเจ้าเงื้อ         เงือดแล้วราถอย

คลิปนี้เป็นเพลงจากต้นฉบับ  บันทึกเสียงเมื่อพ.ศ. 2492


พรานล่อเนื้อ

คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   
เจ้ายักคิ้วให้พี่
เจ้ายิ้มในทีเหมือนเจ้าจะมีรักอารมณ์
ยั่วเรียมให้เหงามิใช่เจ้าชื่นชม
อกเรียมก็ตรมตรมเพราะคมตาเจ้า

เรียมพะวักพะวง
เรียมคิดทะนงแล้วเรียมก็คงหลงตายเปล่า
ดังพรานล่อเนื้อเงื้อแล้วเล็งเพ่งเอา
ยั่วใจให้เมาเมาแล้วยิงนั่นแล

**น้าวศรเล็งเพ่งเอาทุกสิ่ง
หากเจ้าหมายยิงก็ยิงซิแม่
ยิงอกเรียมสักแผล
เงื้อแล้วแม่อย่าแปรอย่าเปลี่ยนใจ

เรียมเจ็บช้ำอุรา
เจ้าเงื้อเจ้าง่าแล้วเจ้าก็ล่าถอยทันใด
เจ็บปวดหนักหนาเงื้อแล้วราเลิกไป
เจ็บยิ่งสิ่งใดไยมิยิงพี่เอย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 08:50

เพลงที่สอง   นวลปรางนางหมอง  จากตำนานศรีปราชญ์เช่นกัน

อันใดย้ำแก้มแม่       หมองหมาย
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย       ลอบกล้ำ
ผิว(ะ)ชนแต่จักกราย       ยังยาก
ใครจักอาจให้ช้ำ       ชอกเนื้อเรียมสงวน



นวลปรางนางหมอง

คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   
นวลปรางนางดูช้ำ ใครทำให้หมอง
รัญจวนในนวลน้อง ฉันมองเศร้าใจ
ปรางนางเคยนวล ยวนเย้าฤดี
เสื่อมสิ้นราศีเศร้าไป
พี่มองแก้มนางหมางดวงใจ หมองใดไฉนเล่า
เสียดายปรางทองต้องตรม
ใครลอบชมแล้วฤาเจ้า
โถใครคงชมข่มเอา
เหลือจะเศร้าร้าวรัญจวน

เหลือบจะไต่ฤาริ้นไรแกล้งทำ
หรือพรายย้ำคนลอบทำกล้ำกวน
โถทำเสียจนสิ้นนวล
เรียมสู้สงวน ช้ำนวลตรมใจ
นวลปรางนางหมอง
พี่หวังปองต้องหมองไหม้
ปรางทองหมองลงไป
พี่พลอยหม่นหมองดวงใจ
พี่สุดแสนจะมองได้

โอ้ใจ จะขาด แล้ว เอย...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 08:58

เพลงที่สามอาจมีคนรู้จักกันน้อยกว่าสองเพลงแรก   เพราะไม่ค่อยจะนำออกมาบรรเลงกันนัก คือเพลง ยูงกระสันเมฆ  ขับร้องโดยคุณวินัยเช่นกัน    มีประวัติว่าเนื้อร้องท่อนหนึ่ง ถูกมองว่าน่าหวาดเสียวเอาการ เพลงเลยถูกเซนเซอร์ห้ามออกอากาศในสมัยหนึ่ง
เพลงนี้ครูแก้วแต่งจากโคลงในตำนานศรีปราชญ์    ถึงตอนที่ศรีปราชญ์ต่อปากต่อคำกับพระสนมของสมเด็จพระนารายณ์  นางว่าศรีปราชญ์ไม่เจียมตัว

หะหายกระต่ายเต้น         ชมจันทร์
มันบ่เจียมตัวมัน             ต่ำต้อย
นกยูงหากกระสัน           ถึงเมฆ
มันบ่เจียมตัวน้อย           ต่ำต้อยเดียรัจฉาน

จึงกลายมาเป็นเพลง ยูงกระสันเมฆ



ยูงกระสันเมฆ

คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   
นกยูงกระสันหมายมั่นเมฆฝนมา
แหงนมองจ้องฟ้าทุกวัน
เพราะรักจะชมสมเสก หมายรักถึงเมฆเทียวนั่น
เจ้าใฝ่กระสันผิดชั้นกันไกล
นกยูงศักดิ์น้อยหมายคอยเมฆฝนปอง
นกยูงก็หมองดวงใจ
รักสูงจูงใจให้ตรม เหินฟ้าไปชมไม่ได้
แหงนมองหมองใจให้ผูกพัน

* ใฝ่สูงเกินเจียม
ดังหัวใจแห่งเรียมใฝ่ฝัน
ใฝ่ฝืนตื้นตัน
เรียมกระสันมากไป
นกยูงกระสันหมายมั่นผสมพันธุ์
เหมือนเรียมกระสันขวัญใจ
รักสูงดังยูงรักเมฆ รักแล้วสมเสกไม่ได้
ระทมฤทัยจริงเจ้าเอย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:29

         นำเสนอเพลง ยากยิ่งสิ่งเดียว เสียงร้อง ทำนองโดยครูเอื้อ และคำร้องจากครูแก้ว เช่นกัน ครับ

          จะเรียนจะร่ำจะทำอะไรไม่ลำบาก
ยอดยากอยู่อย่างเดียวเกี้ยวผู้หญิง
คำครูสุนทรภู่กล่าวพาดพิง
ฉันไม่ท้วงติงเพราะว่าสมจริงยิ่งสิ่งใด
ยิ่งตรองยิ่งเห็นเป็นเรื่องหนักใจให้อาวรณ์

          แม่กงแม่กนจวบจนกบเกยเคยเรียนร่ำ
บากบั่นหมั่นท่องจำตามคำสอน
เรียนกันถึงโคลงดั้นกาพย์ฉันท์กลอน
ทุกบททุกตอนฉันไม่ร้าวรอนไม่อับจน
แต่เรียนเรื่องรักหนักในกมลจนปัญญา

            หากใครจะว่าปัญญาไม่มีก็ทนได้
โง่เง่ายิ่งกว่าใครใคร่ศึกษา
จำยอมสารภาพกราบสักครา
ขอบอกฉันมาฉันอ่อนระอาน่าเจ็บใจ
บอกมาสักคำจะทำอย่างไรให้กังวล

             บางคนไม่รักแสดงว่ารักล่อลวงได้
แกล้งยั่วอยู่ร่ำไปให้ฉงน
บางคนรักแน่แน่แต่ทำพิกล
ร้อยเล่ห์ร้อยกลเพราะโง่เหลือทนจนอดชม
อัดอั้นอุราปัญญาไม่คมโง่งมงาย

ที่เคยฟังมาเพลงจบที่ท่อนสอง ...หนักในกมลจนปัญญา ตามในคลิปครับ
 
      http://www.youtube.com/watch?v=Qg7GXBxxrCk

(วันนี้คอมพ์มีปัญหา ไม่ได้ยินเสียงเพลงในคลิป ครับ)
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 11:38

เว็บบ้านคนรักสุนทราภรณ์ว่า ครูแก้วประพันธ์เพลงนี้โดยนำ "คำครูสุนทรภู่กล่าวพาดพิง"

จาก           นิราศวัดเจ้าฟ้า ที่ว่า

        ถึงเกาะเรียนเรียนรักก็หนักอก      แสนวิตกเต็มตรองเจียวน้องเอ๋ย
เมื่อเรียนกนจนจบถึงกบเกย                ไม่ยากเลยเรียนได้ดังใจจง

ส่วนอีกหนึ่งความเห็นว่ามาจาก

               "พระอภัยมณี" ตอนที่ 45 "นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร" ที่ว่า

"จะเรียนร่ำทำอะไรไม่ลำบาก
มันยอดยากอย่างเดียวเกี้ยวผู้หญิง
ถึงยามดึกนึกนอนแนบหมอนอิง
เรไรหริ่งเรื่อยริมหิมวา"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:42

ครูแก้วน่าจะนำมาจากวรรณคดีทั้ง 2 เรื่องมาผสมผสานถ้อยคำเข้าด้วยกัน ค่ะ  ท่านเชื่อมต่อได้เนียนมาก  กลายเป็นบทเพลงเดียวกันที่ไม่สะดุดเลย

ขอต่อเรื่องเพลงคุณวินัยอีกหน่อยค่ะ
เสียงของคุณวินัยขึ้นลงทั้งสูงและต่ำได้แจ่มชัดทุกคำ  ไม่หลงไม่เพี้ยน และไม่ลดเสียงโน้ตลงต่ำ  เพลงช้าหรือเร็วก็ร้องจังหวะได้ไม่พลาดทั้งสองแบบ     เหมาะจะร้องเพลงไทยเดิม     จึงมีอยู่หลายเพลงที่ครูเอื้อดัดแปลงทำนองจากเพลงไทยเดิมมาเป็นไทยสากลให้คุณวินัยขับร้อง    
ในที่นี้ขอยกมาสัก 3 เพลง

เพลงแรก ทะเลบ้า  จากเพลงไทยเดิม ทะเลบ้า สองชั้น



ทะเลบ้า

คำร้อง แก้ว อัฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   
นั่งคนเดียวพลัดคู่เพ้ออยู่ริมทะเล
มองทะเลว้าเหว่ทวี
แต่ได้ยินเสียงซ่านึกว่าดวงฤดี
มองก็มีนทีอันกว้างใหญ่

ไม่มีใครอยู่อีกเลยคู่เชยก็ไม่มา
แล้วอะไรครืนซ่ามองหาอยู่ไหน
ฟังแล้วยังก้องไป
พาดวงใจเวียนวน

อ้อทะเลซัดซ่าร้องบ้าไปคนเดียว
เออทะเลมิเปลี่ยวใจจน
ทุ่มตัวเองฟาดฝั่งคลุ้มคลั่งในกมล
คงจะมีทุกข์ทนและหมองไหม้

ฟาดตัวเองอยู่ทำไมกลุ้มอะไรหนักหนา
หรือทะเลเป็นบ้าผวาหวาดไหว
ฟังแล้วยังกลุ้มใจพาอาลัยอาวรณ์

เสียงยังดังมา
ทั้งวันเวลาทะเลบ้าแน่นอน
รักคงราญรอน
มิเป็นอันนอนเสียงดังไม่หย่อนสักวัน

แม้รักเราอับปาง
จะจืดจางร้างราฉันก็คงเป็นบ้าผวาเช่นนั้น
คงวิกลเช่นกัน
คงจะรำพันจนตาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:51

เพลงที่สอง    สุดสงวน  ดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม  ชื่อ สุดสงวน 2 ชั้น


คำร้อง สุรัฐ พุกกะเวส
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน     
   

โอ้เจ้าสุดสงวน น้องรัญจวนใจพี่
รักจักปองแสนสุดปองขวัญชีวี รักเจ้าแต่พี่สุดชม

รักนวลสงวนต้องกลัวน้องจักตรม
พี่หักอารมณ์พี่ต้องสงวนนวลชม หักความรักข่มดวงใจ

เพราะพี่รักจริงเจ้า
กลัวน้องจะเศร้าเจ้าอย่าอาลัย
พี่สงวนนวลเจ้า เจ้าเห็นใจ
สงวนใจไว้ให้พี่นะแก้วตา สงวนตัวจนกว่าพี่มาชม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 20:56

เพลงที่สาม  คำหอม  ดัดแปลงจาก ลาวคำหอม บันทึกเสียงเมื่อพ.ศ. 2492



คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เวส สุนทรจามร     
   

ลมโบกหวนกลิ่นหอม
หอมชวนเด็ดดอม คำหอมเจ้าเอย
กลิ่นนี้พี่เคย เคยได้แนบเขนย อกเอ๋ยหวนคำนึง
เพียงแต่กลิ่นล่องลม ชื่นชมซาบซึ้ง
ชวนให้คิดติดตรึง ใจประหวัดคะนึงถึง ถึงสาวเจ้า
ชวนให้ใจพี่เหงา จำว่ากลิ่นเจ้า เศร้าอยู่ในใจ

เนื้อเจ้าอวลกลิ่นประทินเดียวกัน
ขวัญเคยแนบขวัญ รักกันชิดใกล้
หอมเอยเคยชื่นใจ
หอมใดไม่ซึ้งถึงอารมณ์

ขวัญพุ่มปทุมมา
กลีบบัวยั่วตาพลิ้วพากระเพื่อมลม
ผ่องศรีที่พี่ชม สีนวลชวนชื่นอารมณ์
ดุจดังสีแพรเจ้าห่ม ปิดถันกันลมซ้ำชมให้เศร้าใจ

เจ้าเอยเจ้าคำหอมเจ้าเนื้อหอมหอมชวนใคร่
ต้องจิตเตือนใจยิ่งคิดไปชวนให้ตระกอง
โอ้มือพี่เคยโลมเล้า สาวเจ้าเคยเอามือป้อง
แต่ไม่พ้นมือพี่ต้อง หวงยิ่งกว่าทองแต่น้องยังให้ชื่นใจ

ยอดชู้คู่เชย
ขวัญเอยอย่าเลยจากไป
โอ้คำหอมเอยเคยชิดใกล้
อีกนานเท่าใดขวัญใจจะกลับมา

ยอดชู้คู่ชม
ภิรมย์ชมชื่นอุรา
เพื่อนชายร้อยคนมากล้นค่า
ไม่ชื่นอุราเหมือนเจ้าเพื่อนชม

ท่อนสุดท้าย ครูแก้วนำมาจากนิราศพระแท่นดงรังของนายมี ศิษย์สุนทรภู่  ที่ว่า
ถึงมีเพื่อนก็เหมือนพี่ไม่มีเพื่อน
เพราะไม่เหมือนนุชนาฏที่มาดหมาย
มีเพื่อนเล่นก็ไม่เหมือนกับเพื่อนตาย
มีเพื่อนชายก็ไม่เหมือนกับเพื่อนชม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 09:39

ขอแจมเพลงที่ ๔ ครับ

           

                    มนต์สวาท 

คำร้อง เอิบ ประไพเพลงผสม            ทำนอง เวส สุนทรจามร       
 
ฉันเป็นไฉน ประหลาดใจหวั่นไหววิญญา
มีแต่กลุ้มอุรา ใจพะว้าพะวัง
หรือเป็นโรคใจ เกิดขิ้นภายในแน่แท้จริงจัง
ราวกับอกจะพัง คลุ้มคลั่งครวญ

ใครทำเสน่ห์ ใช้เล่ห์ลวงฉันรัญจวน
แกล้งทำยั่วยวน เนื้อนวลรูปหล่อมาล่อใจฉัน
โฉมยงนงราม แม่รูปงามหยาดฟ้าลาวัณย์
งามคู่เคียงเพียงจันทร์ หมายมั่นปอง

หญิงงามแดนไหน ประเทศไทยทั่วแคว้นแดนทอง
งามก็ยังเป็นรอง เพียงที่สองแม่งาม
คิ้วดังคันศร โก่งงามงอนดังศรพระราม
ตาแม่กลมคมงาม หลงพล่ามชม

อันมนต์สวาท สามารถคาถาอาคม
ผูกใจใคร่ชม อารมณ์ลอยเลื่อนเสมือนความฝัน
ฤทธิ์มนต์ดลใจ เข้าจับฤทัยคลั่งไคล้รำพัน
ตรึงหทัยใจฉันทุกวันคืน 

จากเพลงไทยเดิม ลาวครวญ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 20:50

^
เป็นเพลงที่ดัดแปลงจากลาวครวญได้ไพเราะทั้งทำนอง   และใส่เนื้อร้องได้วิจิตรบรรจง   ฟังแล้วนึกถึงอารมณ์ของพระลอที่กำลังหลงใหลพระเพื่อนพระแพง  หรือไม่ก็พระอภัยหลงรูปนางละเวง
ครูเอิบ ประไพเพลงผสม ถ้าจำไม่ผิดเป็นนักดนตรีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6

ดาวเสียงดวงต่อไปที่ลับฟ้าไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อพ.ศ. 2550 คือคุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา    ใครชอบเพลงลูกกรุงคงจำเสียงนุ่มและเศร้าของท่านได้  คุณทนงศักดิ์ร้องเพลงได้จับใจทั้งเพลงไทยสากล และเพลงที่ดัดแปลงจากไทยเดิม

ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2478  เป็นบุตรครูยอแสง ภักดีเทวา ครูโขนของกรมศิลปากร  มารดาคือสุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต หรือ 'ป้าทอง' นักแสดงอาวุโส    จบการบัญชีจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชี เมื่อปี พ.ศ.2499      เข้าสู่วงการดนตรีตั้งแต่ปี 2500   โดยอยู่กับครูสมาน กาญจนผลิน  ร้องเพลงของครูมาแต่แรกเริ่ม
ในยุคของทนงศักดิ์   โทรทัศน์เริ่มเป็นสื่อบันเทิงที่สำคัญ แม้ว่ามีเพียง 2 ช่องคือช่อง 4 บางขุนพรหม กับช่อง 7 กองทัพบก ก็มีประชาชนติดตามดูทั่วบ้านทั่วเมือง    รายการเพลงลูกกรุงเป็นที่นิยมกันมาก  สุเทพ วงศ์กำแหง เป็นโต้โผ ในรายการเพลง " สุเทพโชว์ " ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักร้องชายชื่อดัง 7 คน ใช้ชื่อวงว่า " สุเทพคอรัส " ร้องเพลงในแบบประสานเสียง ถือว่าเป็นบอยแบนด์ไทยยุคแรกๆ  ทนงศักดิ์เป็นตัวยืนในรายการนี้

ต่อมา เขามารวมตัวกับ มีศักดิ์ นาครัตน์, ศักรินทร์ บุญฤทธิ์  กลายเป็นวง " สามศักดิ์ " บวกกับนักร้องสาวคนเดียวในวงคืออรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา  มีชื่อเสียงเกรียวกราว  ทนงศักดิ์ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำถึง 3 ครั้ง   จากเพลง แมวเหมียว, ใกล้เข้ามาแล้ว และไร้อารมณ์
จากนั้นทนงศักดิ์ก็ร้องเพลงอัดแผ่นบ้าง เล่นละครทีวี และภาพยนตร์บ้าง เป็นที่รู้จักกันดีในวงการบันเทิง  จนกระทั่งอายุ 66 ปีก็ล้มป่วยด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก     จนถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. 2550   อายุ 72 ปี  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 20:56

หาเพลงแผ่นเสียงทองคำของทนงศักดิ์ทั้ง 3 เพลงจากยูทูป  แต่ไม่พบ    จึงได้แต่นำเพลงอื่นที่คุณทนงศักดิ์ร้องได้ไพเราะไม่น้อยกว่ากันมาให้ฟังแทนค่ะ



เดือนต่ำดาวตก
อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม) แต่ง
ดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม  พม่าแปลง 2 ชั้น


...เดือนต่ำดาวตกวิหคร้อง
เหมือนเสียงน้องครวญคร่ำร่ำเฉลย
สารภีโชยกลิ่นเรณูเชย
เหมือนพี่เคยจูบเกศแก้วกานดา
...หอมระรวยชวยชื่นระรื่นจิต
ถวิลคิดครั้งเมื่อขนิษฐา
สละศักดิ์ฐานันดรดวงดอกฟ้า
ต้องหนีหน้าวงศ์ญาติมาด้วยกัน
...ณ เวิ้งอ่าวชายฝั่งนทีนี้
น้องช่วยพี่สร้างห้องหอสวรรค์
กระท่อมน้อยคอยเตือนเงื่อนผูกพัน
ระลึกวันฝันสวาท อนาถรัก.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 21:04

น้ำตาแสงไต้  จากละครเวทีเรื่อง พันท้ายนรสิงห์



คำร้อง: มารุต - เนรมิตร
ทำนอง: สง่า อารัมภีร

    นวลเจ้าพี่เอย คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
    ถ้อยคำเหมือนจะชวน ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย

        น้ำตาอาบแก้ม เพียงแซมด้วยเพชรไสว
        แวววับจับหัวใจ เคล้าแสงไต้ งามจับตา

    นวลแสงเพชร เกล็ดแก้วอันล้ำค่า
    ยามเมื่อแสงไฟส่องมา แวววาวชวนชื่นชม

        น้ำตาแสงไต้ ดื่มใจพี่ร้าวระบม
        ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์ จำใจข่มใจไปจากนวล

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 28 ก.ค. 12, 21:10

ดึกเอยดึกแล้ว



คำร้อง - ทำนอง :  สาโรจน์  เสมทรัพย์
ครูสาโรจน์แต่งให้ทนงศักดิ์ร้อง อัดเสียงเป็นคนแรกเมื่อพ.ศ. 2519


ดึกเอยดึกแล้ว น้องเอยน้องแก้วหลับแล้วหรือยัง
ถ้าหากเจ้ายัง ผินฟังเสียงเพลงพี่ก่อน
น้องเอยเจ้าอยู่คนเดียว น้องเอยเจ้าอยู่คนเดียว
เจ้าอยู่คนเดียวภายในห้องนอน
ก่อนหลับตาลง น้องจงอย่าลืมลงกลอน
สวดมนต์ขอพรเทพเทวา
ปกป้องคุ้มครองน้องแก้วให้คลาดแคล้วโพยภัย

ป่านเอยป่านนี้ น้องเอยน้องพี่อยู่ดีหรือไร
เมื่อยามหลับไหลน้องนอนฝันถึงใครเล่า
โถเจ้านอนอยู่คนเดียว โถเจ้านอนอยู่คนเดียว
นอนอยู่คนเดียวอย่านอนซบเซา
หลับเถิดคนดี แล้วค่อยตอบพี่รุ่งเช้า
เจ้าหลับฝันเห็นพี่บ้างไหม
ส่งความคิดถึงมาให้ในภาพฝันหรือเปล่า

 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 09:23

          ทันดูคณะสามศักดิ์กับหนึ่งอรสา อิศรางกูรฯ ร้องเพลงออกรายการทางทีวี ครับ
ตอนนี้จากสามคงเหลือเพียงหนึ่งศักดิ์ คือคุณมีศักดิ์

            คุณทนงศักดิ์เสียงทุ้ม นุ่ม เบา (จนบางครั้งฟังไม่ถนัดชัดเจน)

          นามสกุลภักดีเทวา จำได้ว่า หมายถึงภักดี(พระยาอนิรุธ)เทวา 

หนึ่งในเพลงเอกจากคุณทนงศักดิ์ที่ชอบ ครับ

                   หอรัก หอร้าง

ข้อมูลว่า คำร้อง ทำนองโดย ป. วรานนท์

       

         
         เรือนหอหลังนี้พี่สร้างรอเจ้า แต่ต้องอับเฉา
เฝ้าแต่รอหม่นหมองฤดี เฝ้าแต่รอรักน้องมาร่วมชีวี
ฝันหวานคอยที่ สุขขีวันวิวาห์

        เรือนน้อยคอยรักคอยเธอเคียงคู่ ได้แต่แลดู
ขาดยอดชู้คู่ขวัญชีวา  สิ้นสลายรักคลายสัญญา
น้อยหรือแก้วตา เปลื่ยนวาจาลืมน้ำใจ

         ดึกดื่นตื่นตาอกผวาครวญ เห็นห้องให้หวลครวญคร่ำอาลัย
สายลมโชยกระซิบร่ำไห้
ห้องหอเรือนใจ ไร้เทวีเดียวครอง

          เรือนหอหลังนี้เห็นทีจะร้าง สวาทขาดจาง
เปลี่ยวอ้างว้างไม่สมปอง สร้างเรือนหอไว้รอปรางทอง
เหลือเพียงหอห้อง กับเจ้าของเรือนรักทลาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 29 ก.ค. 12, 09:39

คุณทนงศักดิ์เป็นนักร้องเสียงนุ่มและเศร้า จนได้รับฉายาว่า นักร้องเสียงระทม   คงจะเป็นเพราะเหตุนี้เพลงที่ครูเพลงแต่งให้ร้อง จึงออกมาเป็นเพลงอกหักเสียเป็นส่วนใหญ่

เพลง ยามชัง เป็นอีกเพลงหนึ่งที่นำชื่อเสียงมาให้    คู่กับเพลง ยามรัก ของม.ร.ว.ถนัดศรี  สวัสดิวัฒน์



เนื้อร้อง  ชาลี อินทรวิจิตร
ทำนอง สมาน กาญจนะผลิน
                                 
ยามชัง พี่ยิ่งช้ำ ทุกยามเช้า
ไม่เห็นเจ้าเหงาจิต คิดจนเกือบสาย
วานอย่าชัง ให้พี่ช้ำถึงยามบ่าย
อย่าให้ชายหมายคอย จนคล้อยเย็น

ค่ำแล้วแสงเดือนงามอร่ามสรวง
ดาวลอยดวง ดูกลับทรามเมื่อยามเห็น
ฟังเพลงรัก เหมือนเพลงลา น้ำตากระเซ็น
ไม่วายเว้น สวาทหวาม  ยามน้องชัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 35
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.104 วินาที กับ 19 คำสั่ง