เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 225 เมื่อ 11 ก.ย. 12, 22:33
|
|
ก็เพิ่งรู้จากคุณม้านี่ละค่ะ ว่าเป็นเพลงทำนองเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Matoom
อสุรผัด

ตอบ: 32
|
ความคิดเห็นที่ 226 เมื่อ 11 ก.ย. 12, 22:34
|
|
กรณีเพลงของคุณยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย "รักพี่ให้หนีพ่อ" ผมเคยอ่านและจำว่าช่วงที่เพลงนี้ดังมากๆ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงกับเรียกตัวผู้ขับร้องเข้าพบ จะคุยกันอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่ไม่นานให้หลัง เพลง "ขันหมากมาแล้ว" ก็ติดตามออกมา จากที่บอกว่า "หากรักพี่ จงหนีพ่อ พี่จะรอน้องอยู่ที่หน้าต่าง" กลายเป็น "เรื่องพาหนี พี่ไม่เอาแล้วน้อง พี่มาตรองคิดดู มันอดสูแก่ใจ ....พี่เป็นชายชาตรี ควรหรือจะขยี้ประเพณีของไทย" เพิ่งมาทราบเบื้องหลังก็ตอนนั้นเอง
ผมได้ดูคอนเสิร์ต "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย" เห็นคุณยงยุทธ ออกมาร้องเพลงขันหมากมาแล้ว พอร้องถึงท่อน "พี่เป็นชายชาตรี..." ท่านเอียงข้างนิดๆ แล้วแอ่นอก วางท่านิดเดียวแค่นี้ล่ะครับ สัมผัสวูบถึงความเป็นศิลปินเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Matoom
อสุรผัด

ตอบ: 32
|
ความคิดเห็นที่ 227 เมื่อ 11 ก.ย. 12, 23:20
|
|
ขอย้อนกลับไปถึงเพลงของคุณบุษยา รังสี หนึ่งเพลงครับ ผมเป็นอีกคนที่ประทับใจมากกับเสียงของคุณบุษยา มีเพลงที่อยากนำมาฝากไว้ด้วยคือ กล่อมวนา ผู้แต่งคำร้องคือ ครูแก้ว อัฉริยะกุล ทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ร้องไว้ก่อนคุณบุษบา รังสี คือ คุณชวลีย์ ช่วงวิทย์
แต่คุณ Benjamin8404 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในยูทูปว่า...คุณมัณฑนา โมรากุลเคยร้องสดออกทางวิทยุกรมโฆษณาการจนปี 2494 ก่อนลาออกได้ขับร้องบันทึกลงในแม่พิมพ์ แต่เจ้ากรรมแม่พิมพ์ตกและแตกเป็นรอยจนซ่อมไม่ได้ ต่อมาครูเอื้อจึงให้คุณชวลีย์ร้องบันทึกลงแผ่นเพราะคุณมัณฑนาติดภาระครอบครัว ในงาน 80 ปีคุณมัณฑนา บุตรสาวคุณมัณฑนาคนเล็กเล่าว่าได้พยายามนำไปให้ช่างซ่อมและถ่ายเสียงลงซีดีแต่ไม่สำเร็จ คุณมัณฑนาก็เล่าว่าเป็นเพลงที่รักมากเพลงหนึ่งและก็เสียดายมากที่แม่พิมพ์เสียหาย
ฟังเพลงนี้ซาบซึ้งมากขึ้นครับ หลังจากได้หลงป่าแล้ว ท่านว่าถ้าพลัดไปลำพังในที่เปลี่ยว จงตั้งสติให้ดีๆ อย่าปล่อยให้ซัดส่ายไปกับความกลัว ขอให้นำอารักขกรรมฐานมาใช้ คือ พุทธานุสสติ แผ่เมตตา และ มรณานุสติ
ฉันต้องหลงอ้างว้างกลางป่า สุดเหลียวแลหาผู้อื่น ป่าเปลี่ยวเช่นนี้ไม่ชื่น ดึกดื่นค่ำคืนทอดถอน
เหงาสุดเหงาต้องทรุดลงนั่ง ต้องพักหยุดยั้งพลางก่อน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแรงอ่อน อกสั่นรอนรอนถอนใจ
หวาดกลัว อกเต้นระรัวแว่วไป เสียงดังมาไกลไกล ดุจดังผีพรายเรียกฉัน
ขอภูตผีนางไม้ในป่า โปรดคุ้มรักษาให้มั่น ยิ่งดึกยิ่งหนาวจนสั่น หวาดหวั่นไม่รู้ทาง
โถค่ำนี้นอนไหนกันเล่า ยิ่งคิดยิ่งเหงาไม่สร่าง ยิ่งดึกยิ่งนึกต่างต่าง หยุดหว่างกลางทางอยู่นาน
หนุนท่อนไม้แทนหมอนนอนป่า อาศัยเขตฟ้าแทนบ้าน กิ่งโศกแทนมุ้งและม่าน อุตส่าห์กัดฟันแข็งใจ
ไหว้วอน ลูกมาขอนอนกลางไพร เช้าขึ้นลูกจะไป โปรดจงคุ้มภัยเถิดหนา
เสียงหริ่งร้องแซ่ซ้องสนั่น ส่งเสียงกระชั้นลั่นป่า เปรียบหนึ่งเพลงซึ้งวิญญาณ์ กล่อมป่าคราฉันนอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 228 เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:03
|
|
คุณมัณฑนา คุณชวลี คุณเพ็ญศรี มีเสียงร้องในแนวทางเดียวกันคือสูง ใส เยือกเย็น เหมาะกับร้องเพลงท่วงทำนองช้า โอดครวญ ให้อารมณ์ดื่มด่ำ คุณบุษยาตามมาทีหลังแต่แนวทางก็เป็นแบบเดียวกัน แต่ว่าแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ได้ซ้ำแบบกันเป็นพิมพ์เดียว ดิฉันรู้สึกว่าเสียงคุณมัณฑนานั้นวิเวกวังเวงเพราะพริ้งก็จริง แต่เสียงเธอบอกอารมณ์เข้มแข็งกว่าเสียงของคุณชวลี ที่สูงใสเยือกเย็น ไไม่มีโศกเจือปน ส่วนคุณเพ็ญศรีเสียงเยือกเย็นและเศร้าไม่ว่าร้องเพลงอะไร อย่างเพลงสนต้องลมของคุณมัณฑนา ฟังแล้วสัมผัสลมหนาวที่ผ่านกิ่งสนเลยทีเดียว เหมือนฝนหยาดสุดท้ายที่คุณบุษยา ก็ให้อารมณ์หนาวเย็นเศร้าไปกับสายฝนพรำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 229 เมื่อ 13 ก.ย. 12, 11:18
|
|
นึกได้อีกท่านหนึ่งเลยย้อนกลับมาเข้ากระทู้อีกครั้งค่ะ พร ภิรมย์ หรือชื่อจริงว่าบุญสม มีสมวงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2471 เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียนที่โรงเรียนบพิตรพิมุขจนจบมัธยมปีที่ 3 มีเพื่อนเรียนร่วมรุ่นเช่น อารี มุกสิกพุก นินารถ ช่ำชองยุทธ ท้วม ทระนง นริส อารีย์ หลังจากนั้นก็ฝึกเล่นลิเก และงิ้ว จนมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะพระเอกลิเกของคณะครูเฉลียว โดยใช้ชื่อว่า บุญสม อยุธยา พร ภิรมย์ยังเชี่ยวชาญการร้องและเล่นดนตรีไทย ทำขวัญนาค พากย์หนัง มีชื่อเสียงโด่งดังจน ′′ครูมงคล อมาตยกุล′′ ชักชวนมาอยู่ ′′วงดนตรีจุฬารัตน์′′ ร้องเพลงอยู่กับวงดนตรีจุฬารัตน์หลายปี มีผลงานบันทึกเสียงประมาณ 200 เพลง เพลงที่ร้องส่วนใหญ่เป็นผู้แต่งเอง ในแนวนิทานชาดกแฝงธรรมะ ด้วยเทคนิคการแหล่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพลงแรกที่ได้รับความนิยมคือเพลง ′′บัวตูมบัวบาน′′ อันลือลั่นไปทั่วประเทศ ตามมาด้วย ′′ดาวลูกไก่′′, ′′ดาวจระเข้′′, ′′วังแม่ลูกอ่อน′′, ′′กลับเถิดลูกไทย′′ นอกจากประพันธ์เพลง ร้องเองแล้ว ก็ยังได้ประพันธ์ให้นักร้องอื่น ๆ อีกมากมาย มีผลงานเพลงรวมเกือบพันเพลง เคยแสดงภาพยนตร์เรื่อง เสน่ห์บางกอก เป็นพระเอกคู่กับ ภาวนา ชนะจิต และเรื่อง เงิน เงิน เงิน ฯลฯ ผลงานที่ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ พ.ศ.2509 เพลง บัวตูม บัวบาน และ เพลงดาวลูกไก่ พ.ศ.2514 เพลง กลับเถิดลูกไทย ผลงานที่ได้รับในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 12 ก.ย. พ.ศ.2532 เพลง บัวตูม บัวบาน 7 ก.ค. พ.ศ.2534 เพลง ดาวลูกไก่ 18 ต.ค. พ.ศ.2537 เพลง เห่ฉิมพลี ได้รับรางวัลเพลงลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรม จากนั้น ได้รับรางวัลการเชิดชูปูชนียบุคคลเกียรติยศ ทางด้านผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2553 ได้รางวัลพระคเณศ กรมศิลปากร จากผลงานรางวัลเพลง ดาวลูกไก่ เนื่องในโครงการเพชรในเพลง วันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2553
ในที่สุด พร ภิรมย์ก็บวชเป็นพระตั้งแต่ พ.ศ.2524 ได้รับฉายาว่า ปุญญวํโส หลังจากที่ได้ทำผลงานชิ้นสุดท้าย คือ วรรณกรรมสมเด็จพระนเรศวร เสร็จก็ได้บวชเพื่ออุทิศเป็นส่วนกุศลถวายโดยบวชที่วัด สมณโกศธาราม และจำพรรษาอยู่ที่วัดรัตนะชัย (วัดจีน) ต.หอรัตนชัย อ.เมือง จ.อยุธยา จนมรณภาพในผ้าเหลืองเมื่อพ.ศ. 2553
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 230 เมื่อ 13 ก.ย. 12, 11:19
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 231 เมื่อ 13 ก.ย. 12, 11:20
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 232 เมื่อ 14 ก.ย. 12, 16:17
|
|
เห่ฉิมพลี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 233 เมื่อ 14 ก.ย. 12, 19:52
|
|
ขอแยกซอยไปเพลงเก่าแก่อีกเพลงหนึ่งครับ ชอบมาก
ผมไม่ทราบชื่อเพลง แต่ เนื้อร้องในบรรทัดแรกๆ ว่า
ยามเมื่อฝนสั่งฟ้า แล้วลมหนาวพรายพัดมาเยื่ยมเยือน (ดำน้ำ้แล้วไปโผล่ว่า) รัก... (ดำน้ำ)...รื่นอุรา
ท่านผู้ใด พอจะทราบชื่อเพลงและเนื้อร้องใหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 234 เมื่อ 14 ก.ย. 12, 20:22
|
|
เพลงนี้หรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 235 เมื่อ 14 ก.ย. 12, 20:40
|
|
ใช่เลยครับ ขอบพระคุณมากๆ จริงๆครับ
เคยฟังคุณพ่อฮัมตั้งแต่เด็ก คงสักประมาณ 50 ปีมาแล้ว
จำใด้ว่าเิดิมเป็นผู้ชายร้อง ยังพอจะหาเสียงนั้นได้หรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 236 เมื่อ 14 ก.ย. 12, 22:53
|
|
เพลงนี้ผู้แต่งเนื้อร้อง/ทำนองคือคุณจงรัก จันทร์คณา บุตรของคุณ "พรานบูรพ์" ท่านอาจจะร้องเองกระมัง จนใจ หาเพลงที่ผู้ชายร้องไม่ได้เลยค่ะ คุณ SILA หรือคุณมะตูม พอจะหาได้ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 237 เมื่อ 18 ต.ค. 12, 19:23
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 238 เมื่อ 18 ต.ค. 12, 19:34
|
|
ขอรำลึกถึงคุณมีศักดิ์ ด้วยเพลง แดดออก
ทำนองจากเพลง Banana Boat Song ของ Henry Belafonte
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 239 เมื่อ 19 ต.ค. 12, 12:21
|
|
ตอนยังเด็กเคยดูรายการทีวีที่มีคุณมีศักดิ์และคณะสามศักดิ์ร้องเพลงเป็นครั้งคราว เมื่อโตขึ้นจึงรู้สึกคุ้นเคยคุณมีศักดิ์มากขึ้นจากรายการเพลงมิวสิคสแควร์ ทางช่องสามที่มี คุณมีศักดิ์ร่วมร้องในรายการเป็นประจำ อีกหนึ่งเพลงจากเสียงคุณมีศักดิ์ที่ตอนเด็กๆ เคยฟังแล้วยังจำได้ดี ครับ
หนูกับราชสีห์
ทำนองจากเพลง Tom Dooley ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำพูดอินโทรว่า Throughout history ที่ฟังเผินๆ ได้เป็น ราชสีห์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|