SILA
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 10:34
|
|
จำได้ตอนเป็นเด็กได้ดูคุณพิทยาร้องเพลงคู่ทางทีวี เป็นอีกเพลงหนึ่งที่โด่งดัง ของคุณพิทยาร้องคู่กับคุณชายถนัดศรี นั่นคือ เพลง รัก เพลงนี้มีเนื้อร้องขึ้นต้นว่า แสงจันทร์นวลผ่อง เหมือนกับเพลงคู่ของสุนทราภรณ์ - ดำเนินทราย อ่านเรื่องราวของคุณพิทยา ได้ที่นี่ ครับ http://www.chumchonradio.net/wizContent.asp?wizConID=831&txtmMenu_ID=7
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:24
|
|
จากลิ้งค์ที่คุณ SILA ทำให้ค่ะ "พิทยา บุณยรัตพันธ์ " เกิดวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่จังหวัด ธนบุรี เข้าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนจบมัธยมบริบูรณ์ ที่โรงเรียน สตรีวัดระฆัง เริ่มงานแสดงละครโรงเรียนเมื่ออยู่ชั้น ม. ๒ เพราะเธอมีเรือนร่างและใบหน้าที่ชวนมอง ต่อมาทุกครั้งที่มีงานโรงเรียนเธอจะถูกคัดเลือกให้ร่วมแสดงด้วยทุกครั้ง ส่วนงานรำไทยนั้นเธอได้รับการฝึกฝนจากครูของกรมศิลปากรที่มีนามว่า พนิดา สุนทรสนาน ส่วนงานที่ทำให้เธอได้รับความภาคภูมิใจมากที่สุดคือได้รับบทนางเอกละครเรื่อง “Mid Summer Night Dream" ที่คุรุสภา ซึ่งตอนนั้นยังตั้งอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ โดย พระองค์เปรม บุรฉัตร เป็นผู้ควบคุมการซ้อม ทำให้เธอถูกคาดว่าจะเป็นดาวเด่นในการแสดงละครทั้งจากครูบาอาจารย์ และเพื่อนฝูง แต่เธอกลับหันไปเรียนภาษาอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า ” ดีกว่าอยู่ว่างว่าง ” ต่อมาครู พนิดา สุนทรสนาน ได้แนะนำให้เธอไปสมัครสอบที่กรมโฆษณาการ(กรมประชาสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งมีผู้ที่สอบด้วยกันครั้งนั้นคือ ศรีสุดา รัชตะวรรณ และ สุรางค์ เชยเกษ มีบางข้อมูลแจ้งว่า เพลงที่เธอร้องเป็นเพลงแรกคือ เพลง “ ใจสาว ” คำร้องโดย สุรัฐ พุกกะเวส ทำนองโดย เอื้อ สุนทรสนาน ครูเอื้อตั้งใจแต่งให้ แต่ท่านลาออกไปเสียก่อน คุณพิทยา บุณยรัตพันธ์ ก็จึงไม่ได้บันทึกแผ่นเสียง เพลงใจสาว ตอนหลังมาร้องออกอากาศในรายการ 30 ปีสุนทราภรณ์ ออกอากาศที่ช่อง ๔ บางขุนพรหม และมีผู้บันทึกเทปไว้ได้ ซึ่งท่านได้ร้องผิดเนื้อไปนิดหนึ่งตรงที่ว่า"ความรักเหลือที่จะหักเมื่อถึงคราว....." ท่านร้องว่า "ความรักถึงคราวจะหักเมื่อถึงคราว..." แต่ไม่ทันอัดแผ่นก็ลาออกไปเสียก่อน ต่อมาคนที่ได้อัดแผ่นคือคุณชวลี ช่วงวิทย์ และอรุณี กาจนโกศล การที่เธอได้ลาออกจากกรมโฆษณาการ เพื่อประกอบกิจการสวนตัวนี่นเอง (เพลงแรกที่ขับร้องบันทึกเสียง คือเพลง “ สาวสะอื้น ” คำร้อง สุรัฐ พุกกะเวส ทำนอง ธนิต ผลประเสริฐ) หลังจากนั้นเธอก็ได้มาร่วมขับร้องอยู่กับวงดนตรีประสานมิตรของ พันตำรวจเอก พุฒ บูรณสมภพ(อายุของวงอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐) ประมาณ ๒ ปีเศษ ในยุคนั้นเชอิ๊ฟไนต์คลับ มีเพียงนักร้องไทย ๒ ท่านที่ได้ร้องเพลงในคลับแห่งนี้คือ เพ็ญแข กัลยจารึก และ พิทยา บุญยรัตพันธุ์ เท่านั้น อาจจะเป็นเพราะเธอได้รับการฝึกฝนภาษาอังกฤษมาอย่างดี และเธอตักตวงประสบการณ์จากไนต์คลับต่างๆจนมาถึงยุคกินรีนาวา ภัตตาคารและไนต์คลับกลางน้ำที่ สวนลุมพินี ต่อมาเธอได้หันมาทำธุรกิจไนต์คลับด้วยตัวเองที่ สีดาไนต์คลับ ซึ่งได้เปิดบริการเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ พิทยา บุณยรัตพันธ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่บ้านพัก ด้วยโรคชราในวัย ๗๗ ปี มีกำหนดสวดพระอภิธรรมที่วัดหัวลำโพง ศาลา ๕ และณาปนกิจวันที่ ๑๙ เมษายนนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 13:31
|
|
เคยฟังเพลงนี้จากเสียงของศรีไสล สุชาติวุฒิ และต่อมาคือวงแกรนด์เอกซ์ เพิ่งรู้ว่าคนร้องคนแรกคือคุณพิทยานี่เอง เป็นเพลงที่ครูชาลีเขียนเนื้อได้เซกซี่มากเพลงหนึ่ง โดยเฉพาะวรรคที่ว่า "เลือดสาวของฉันนั้นเบาเหมือนฟองสบู่ ไม่ต้องถูไม่ต้องขยี้ก็พอมีฟอง" เป็นคำเปรียบที่โดดเด่นเฉพาะตัวมาก ไม่เคยเห็นสำนวนนี้จากที่อื่น อ่านแล้วตีความให้คิดได้ไม่ยากว่าผู้หญิงคนนี้ทอดสะพานเชิญชวนอย่างมีศิลปะขนาดไหน
ถ้าฉันจะรัก คำร้อง : ชาลี อินทรวิจิตร - ทำนอง : สมาน กาญจนผลิน
ถ้าฉันจะรัก รักใครฝังใจรักมั่น ขอให้ฉันโชคดีที่ได้รักเธอ เพราะเธออยู่ในสายตาของฉันเสมอ หากเธอรักฉัน ฉันจะรักเธอเสนอสนอง
เลือดสาวของฉันนั้นเบาเหมือนฟองสบู่ ไม่ต้องถูไม่ต้องขยี้ก็พอมีฟอง คนรักกันชอบกัน ดวงตามันฟ้อง ความรักเรียกร้องปรารถนามารักกัน
แถมพิเศษด้วยคลิปเสียงของคุณศรีไสล สุชาติวุฒิ ในเพลงเดียวกันค่ะ ไพเราะกันไปคนละอารมณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 16:35
|
|
ดาวเสียงดวงต่อไป แม้ว่าไม่ใช่นักร้องอย่างคนอื่นๆในกระทู้นี้ แต่ก็เป็นที่รู้จักด้วย " เสียง" ของท่านจริงๆ ชาวเรือนไทยคงจำได้จากภาพยนตร์จีนชุดเปาบุ้นจิ้น ทางช่อง 3 เมื่อพ.ศ. 2538 คนดูติดกันงอมแงม พลังเสียงอันทรงอำนาจของท่านเปายามตะโกน "หวังเฉา หม่าฮั่น จางหลง เจ้าหู่" กับ " เครื่องประหารหัวสุนัข!" เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความประทับใจนอกเหนือจากคุณธรรมของท่านเปา
ผู้อยู่เบื้องหลังเสียงของท่านเปา ก็คือ คุณกำธร สุวรรณปิยะศิริ ท่านดับแสงไปอย่างน่าเสียดายในวัย 75 ปี เมื่อพ.ศ. 2553 นี้เอง
รูปคุณกำธรสมัยเป็นพระเอกละครโทรทัศน์ช่อง 3 วังบางขุนพรหม และต่อมา เมื่อเป็นนักพากย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 17:16
|
|
คุณกำธรเข้าสู่วงการโทรทัศน์ประมาณพ.ศ. 2504 เมื่อยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ละครเรื่องแรกคือ "มาร์โคโปโล" ของกาญจนาคพันธุ์(ขุนวิจิตรมาตรา) ในเรื่องนี้คุณกำธรร้องเพลงแรก รำพึงรัก ผลงานของครูเอื้อ สุนทรสนาน กับขุนวิจิตรมาตรา
รำพึงรัก คำร้อง ขุนวิจิตรมาตรา ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน หากนภาฟ้าอร่ามผุดผ่องงาม แขแอร่ม นอนกลางทรายดินแซม.. ฮัม... นำสุขดล เหมือนโฉมตรูอยู่เคียงตน ถึงยากจนใจก็แจ่มใสเปรมปรีดิ์
หากนภาฟ้ากระจ่าง กลับเลือนรางแสงริบหรี่ เพียงดังดวงชีวี.. ฮัม... หรี่ขาดรอน ขวัญตาเอย ก่อนเคยนอน ลับลาจร เหลือจะหักรักรำพึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 20 ส.ค. 12, 17:21
|
|
คุณกำธรมาโด่งดังทะลุฟ้าในบทเสมา พระเอกเรื่อง ขุนศึก ซึ่งเป็นละครโทรทัศน์เรื่องยาวของช่อง 4 บางขุนพรหม คู่กับนางเอกละครโทรทัศน์ที่ดังที่สุดในยุคนั้น คุณอารีย์ นักดนตรี เพลงเอกในเรื่อง คือ ฟ้ารักดิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 21 ส.ค. 12, 14:36
|
|
ทันได้ดูและฟังคุณกำธร ทางไทยทีวีช่องสี่ บางขุนพรหม
ผลงานละครที่โดดเด่นจะเป็นละครของคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ที่คุณกำธรผูกขาดเป็นพระเอกอยู่หลายปี เปลี่ยนนางเอกหลายคน สมัยนั้นละครออกอากาศเป็นรายการสุดท้ายเดือนละครั้ง กว่าละครจะจบก็ใช้เป็นเดือน ๆ เรื่องยาวๆ อย่างขุนศึกจึงกินเวลาแรมปี คุณกำธรแสดงละครย้อนยุคจากบทประพันธ์ของไม้ เมืองเดิม, หลวงวิจิตรวาทการ, รพีพร นอกจาก เรื่องขุนศึกแล้ว อีกเรื่องสำคัญก็คือ แผลเก่า คุณกำธรรับบทขวัญคู่กับเรียมที่รับบทโดยคุณนันทวัน เมฆใหญ่ ซึ่งหลังจากแสดงละครเรื่องนี้จบก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ แต่ยังคงติดต่อกับคุณกำธรจนกลับมา เมืองไทยและได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลสุวรรณปิยะศิริ
หนึ่งในเพลงไพเราะจากแผลเก่า ผลงานของครูพรานบูรพ์ ครับ
สั่งเรียม
คุณกำธรพากย์หนังทีวีตั้งแต่สมัยไทยทีวีก่อนที่จะมาโด่งดังสุดๆ กับเปาบุ้นจิ้นทางช่องสาม
ภาพคุณกำธรและคุณอารีย์ นักดนตรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 22 ส.ค. 12, 12:13
|
|
ใช่ค่ะ ขุนศึกดูเหมือนจะยาวข้าม 2 ปีกว่าจะจบ เป็นละครคืนวันเสาร์ เล่นกันรอบดึก เป็นรายการสุดท้าย คนดูก็ยอมอดนอนดูกันทั้งบ้านทั้งเมือง คุณนันทวันเป็นนางเอกอีกคนที่สวยหวาน แต่งชุดไทยได้ขึ้นมาก ชีวิตคู่ของคุณกำธรและคุณนันทวันเป็นแบบอย่างที่ควรชื่นชม ในความซื่อตรงและมั่นคงที่มีต่อกันมาจนตลอดชีวิต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 22 ส.ค. 12, 12:21
|
|
คีตาลัย
ก่อนตาวันเยี่ยมฟ้าเบิกตาโลก พลันลมโบกน้ำฟ้าย้อยละห้อยหา "เปาบุ้นจิ้น" สิ้นเสียงสั่งระฆังลา บอก "ขุนศึก" - "ไอ้เสมา" ลาไปพลัน เลยโลมเรียมเลียบละเมาะแมกหมู่ไม้ พร้อง "น้ำตาแสงไต้" จับใจมหันต์ หลากร้องเพลงพร้องคล้องคู่ขวัญ "นันทวัน" คือสวรรค์สรรเป็น "ดาวประดับใจ" โอ้ห้วงฟ้าเคยพร่างพราวดาวประดับ พร้อมกับมาลาลับดับแสงใส แต่ลำนำคำกวีคีตาลัย จักร้อยร่ำด่ำหทัยในนิรันดร์
ด้วยรักและอาลัยยิ่งแด่ กำธร สุวรรณปิยะศิริ ประพันธ์โดย ราตรี ประดับดาว จากนสพ.แนวหน้า ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๓
elated
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 22 ส.ค. 12, 13:11
|
|
พระเอกที่มีรูปเรียงกันเป็นตับข้างล่างนี้ ล้วนแต่เคยรับบทเดียวกันมาทั้งสิ้น คือบท "ชายกลาง" แห่งบ้านทรายทอง จากภาพยนตร์บ้าง จากละครโทรทัศน์บ้าง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 22 ส.ค. 12, 13:30
|
|
แต่คงมีน้อยคนรู้จัก ชายกลาง คนแรก คือเจ้าของเสียงในคลิปเพลงชุดนี้
คุณฉลอง สิมะเสถียร เป็นพระเอกละครเวทีมาก่อนจะเข้าสู่วงการโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ด้วยรูปร่างหน้าตาสง่างามและน้ำเสียงน่าฟัง ร้องเพลงเสียงนุ่มนวล จึงไปเข้าตาคณะละคร "ศิวารมณ์" และต่อมา คือ"อัศวินการละคร" ที่มีเจ้าของและผู้กำกับคนสำคัญ พระองค์เจ้าวรวงศ์เธฮพระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล คุณฉลองเป็นที่เลื่องลือจากบทชายกลางในละครเรื่อง ” บ้านทรายทอง ” ของ ก. สุรางคนางค์ จนอัศวินการละครยุบไปเป็นอัศวินภาพยนตร์ ก็ได้รับการชักชวนจาก คุณจำนง รังสิกุล โดยผ่านทางคุณสะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ให้มาร่วมงานในฝ่ายจัดรายการของบริษัทไทยโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 22 ส.ค. 12, 13:45
|
|
คุณฉลองมักได้รับบทพระเอกหนุ่มใหญ่มาดโก้ สวมสูทอยู่เป็นประจำ บางทีก็สูบไปป์ ไม่ได้เล่นบทพระเอกนักเลง บทบู๊หรือบทตลก หนึ่งในบทดังของคุณฉลองคือบทพระเอกเรื่อง ค่าของคน ของโรสลาเรน(ทมยันตี) เรื่องเดียวกับที่ป้อง ณวัฒน์ เป็นพระเอก มีคุณอรัญญา นามวงศ์เป็นนางเอก คุณฉลองร้องเพลงชื่อ ค่าของคน เป็นเพลงประกอบละครเรื่องนี้ด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 23 ส.ค. 12, 09:41
|
|
เมื่อรำลึกถึงคุณฉลอง ก็ต้องรำลึกถึงคู่ชีวิตของท่านด้วย เธอคือคุณกัณฑรีย์ นาคประภา (ต่อมาใช้ชื่อว่ากัณฑรีย์ น. สิมะเสถียร) ดาราเจ้าบทบาทอีกคนหนึ่งของวงการโทรทัศน์ช่อง 4 วังบางขุนพรหม คุณกัณฑรีย์ทั้งๆอยู่ในวัยเดียวกับสามี แต่มักจะได้รับบทบาทสูงอายุกว่าตัวเองมาก เป็นบทพี่ บทแม่ บทป้า บทที่เธอตีบทแตกมักเป็นตัวร้ายแบบผู้ดีแปดสาแหรก ไม่เอะอะกรี๊ดกร๊าด แต่ดูเชิดและเย่อหยิ่ง คนดูทั้งๆเกลียดก็ติดกันทั้งเมือง เธอเคยรับบทหญิงเล็กในบ้านทรายทองเมื่อครั้งเป็นละครเวทีในพ.ศ. 2494
จำคุณกัณฑรีย์ได้เป็นครั้งสุดท้ายจากละครเรื่อง วนิดา ที่หมิวเล่นเป็นนางเอกคู่กับศรัณยู วงศ์กระจ่าง เธอเล่นเป็นคุณนายน้อมแม่ผัวตัวร้าย จากนั้นคุณกัณฑรีย์เล่นเรื่องอะไรอีกหรือไม่ จำไม่ได้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 23 ส.ค. 12, 09:47
|
|
คุณสะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ดาราอาวุโสอีกท่านหนึ่งของช่อง 4 เขียนรำลึกถึงคุณฉลอง สิมะเสถียรไว้ในคอลัมน์: "โปกฮา...ดารารุ่นเดอะ: พระเอกในดวงใจฉลอง สิมะเสถียร" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2553
วันก่อนนี้ ผมไปงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีสมคิด พลพงษ์ เพื่อนรุ่นเดียวกัน สมัยที่ผมเรียนอยู่ที่ รร.มัธยมชาย อำเภอหาดใหญ่ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ไปแล้ว ตอนจะเดินไปขึ้นรถกลับบ้าน ผมต้องผ่านเมรุอีกเมรุหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดการที่จะทำการฌาปนกิจในเวลาถัดมา ขณะที่กำลังเดินจะผ่านศาลาที่บรรดาญาติๆ เขากำลังเตรียมงานกันอยู่ ก็มีโอกาสได้พบปะกับผู้จัดละครคนดังในยุคหนึ่งของช่อง ๔ บางขุนพรหม และ ช่อง ๓-๙ อ.ส.ม.ท. คือ หนู กัญชลิกา สิมะเสถียร ลูกสาวคนเดียวของพี่ฉลอง และพี่กัณฑรีย์ (นาคประภา) สิมะเสถียร ถามไถ่ว่า ขณะนี้ทำอะไรอยู่หลังจากที่ได้เลิกราในการเป็นผู้จัดละครไปแล้ว..ได้รับคำตอบอย่างที่ไม่อยากจะได้ยินเลยจากปากเธอว่า "ไม่ได้ทำอะไรค่ะอา กำลังคิดจะขายบ้าน ไปหาซื้อคอนโดอยู่"
ผมจึงนึกเสียดายความเจนจัดในการจัดละครของเธอในอดีต ที่เคยได้รับการถ่ายทอดสืบมาจากคุณพ่อและคุณแม่ของเธอเป็นอย่างยิ่ง
จริงๆ แล้วผมรู้จักเด็กคนนี้มาตั้งแต่ยังไม่ผูกคอซองจนเรียนจบมหาวิทยาลัย ความที่คุณพ่อและคุณแม่เธอมีลูกสาวเพียงคนเดียว จึงเอาชื่อของลูกสาวมาตั้งเป็นชื่อคณะละครกัญชลิกา ป้อนงานละครให้กับช่อง ๔ เป็นสถานีแรก จวบจนเธอเติบโตจบการศึกษาแล้ว จึงได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดอย่างเต็มตัว
เมื่อคุณพ่อของเธอถึงแก่กรรมลง และต่อมาคุณแม่ก็มาพลอยถึงแก่กรรมลงไปอีกคน เธอก็เริ่มห่างหายไปจากวงการนักจัดละครทีวีไปในที่สุด อย่างน่าเสียดาย
ผมสนิทกับครอบครัวนี้สมัยที่ผมอาศัยอยู่กับบ้านพ่อตาแม่ยาย ที่ซอยมหาพฤฒาราม สี่พระยาสมัยนั้น พี่ฉลองและพี่กัณฑรีย์อยู่ในซอยเดียวกัน แต่ลึกเข้าไปอีกหน่อยถึงสุดซอย
ผมไปเชิญและขอให้มาเล่นละครเรื่อง ฉันรักนุสรา จากบทประพันธ์โทรทัศน์ของ "สุขหฤทัย" (พี่เทพ สุทธิพงศ์) โดยมีคุณอารีย์ นักดนตรี แสดงเป็นนุสรา (นางเอก) พี่ฉลอง แสดงเป็น ทายาท (พระเอก) ละครชุดนี้ดังเอามากๆ ทางช่อง ๔ สมัยนั้น และนั่นคือสาเหตุหนึ่งที่ผมถือโอกาสชักชวนให้พี่ฉลองมาเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำฝ่ายจัดรายการฝ่ายโทรทัศน์ เช่นเดียวกันกับผมต่อมาจนกระทั่งพี่เขาเสียชีวิตลงก่อนเกษียณเพียงเล็กน้อย
ต้องขอเล่าย้อนไปสักเล็กน้อยถึงที่มา คือก่อนที่จะได้ไปดึงเอาพี่เขามาร่วมทำงานด้วยกันที่ทีวีช่อง ๔ สมัยก่อนที่ผมจะได้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นนั้น ผมเป็นแฟนละครตัวยงคนหนึ่งทีเดียว และอาจเป็นเพราะนิสัยชอบละครเป็นชีวิตจิตใจนี้กระมัง จึงทำให้ผมฝังตัวเองให้ต้องมาเวียนว่ายอยู่ในแวดวงอาชีพนี้จนถึงปัจจุบัน
พี่ฉลองของผมในยุคละครเวทีเห็นจะต้องขอยกให้เป็นพระเอกที่รูปหล่อที่สุดไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ตั้งแต่ พี่พร้อม พันคำ, พี่สุรสิทธิ์ สัตยาวงศ์ พี่ ส. ส.อาสนจินดา, พี่ควร สมควร กระจ่างศาสตร์, พี่วสันต์ สุนทรปักษิณ, พี่สมชาย ตันกำเนิด ฯลฯ พี่ฉลองของผมกินขาด สวยทั้งรูปร่าง หน้าตา สุ้มเสียง ในยุคของอัศวินการละคร พี่เขาแสดงเรื่องนันทาเทวี เป็นพระเอกตอนหนุ่ม รับช่วงจากพระเอกตอนเด็ก (รุ่น) ที่แสดงโดยปรีชา บุญยเกียรติ ซึ่งละครเรื่องนี้เริ่มความแปลกใหม่ด้วยวิธีการอันแสนชาญฉลาดอย่างสุดๆ ด้วยการนำเพลงนันทาเทวี อันเป็นเพลงเอกในเรื่อง ที่เริ่มร้องช่วงต้นที่แสดงโดยปรีชา บุญยเกียรติ (พระเอกในวัยเด็ก) และใช้วิธีซ้อนเวลากันสดๆ บนเวที เพียงแค่.. ให้ตัวละครเดินร้องผ่านพุ่มไม้บนเวที.. เป็นการเปลี่ยนตัวพระเอกเป็นฉลอง สิมะเสถียร ตอนหนุ่ม (ในฉากเดียวกัน) ซึ่งสมัยนั้นนับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าที่พัฒนาไปอีกรูปแบบหนึ่งของวงการละครเวทีเมืองไทย ที่จะทำไม่ได้อย่างสมบูรณ์เลย หากผู้แสดงไม่มีต้นทุนที่คล้ายๆกันเกือบทุกๆ ด้านอย่างคู่นี้
ที่ทำให้คนดูฮือฮากันมากในยุคนั้น เพราะปรีชา บุญยเกียรติเอง ก็เป็นเด็กวัยรุ่นที่มีรูปร่างดีเท่าๆ กับพี่ฉลอง แถมเสียงยังดีด้วยกันทั้งคู่ คือ เป็นนักร้อง ที่สามารถเปล่งเสียงออกมาจากช่องท้อง ผ่านลำคอได้อย่างนุ่มนวลและเพราะพริ้ง ยุคหลังๆ ต่อมา ผมยังไม่เห็นจะมีใครร้องได้เหมือน จะมีก็กำธร สุวรรณปิยะศิริอีกคน ที่ทำท่าว่าจะร้องในรูปแบบเดียวกัน แต่บังเอิญเพื่อนผมคนนี้ไม่ได้ติดใจที่จะคิดเอาดีทางนี้อย่างจริงจัง ผู้หญิงก็คงเหลือให้เห็น ให้ได้ฟังเสียงเหลืออยู่เพียงคนเดียวเท่านั้น คือ คุณสวลี ผกาพันธุ์
พี่ฉลองปกติเป็นคนอารมณ์ดี เวลานั่งพิมพ์งาน (คำประกาศ) ที่ผู้ประกาศของสถานีจะต้องนำไปใช้ในประจำคืน เวลาเปิดและปิดสถานี ซึ่งเป็นงานของหัวหน้าแผนกผู้ประกาศที่พี่ฉลองดำรงตำแหน่งอยู่ พวกเราจะได้ยินเสียงฮัมเพลงเพราะๆ ที่พวกเราชอบได้ฟังกันเสมอๆ
ตั้งแต่ร่วมงานในฝ่ายจัดรายการด้วยกันมา เชื่อผมไหมครับว่า ไม่ว่าจะเป็นวันฝนตก ฟ้าร้อง หรือตัวเองจะเป็นไข้ ถ้าไม่ถึงกับจะลุกไม่ขึ้นแล้ว พี่ฉลองไม่เคยขาด พี่เขาไม่เคยลางาน หรือฝากงานให้เพื่อนต้องทำแทนเลยสักวันเดียว ที่พูดอย่างนี้ผมกล้ายืนยันได้ เพราะเราทำงานอยู่ในห้องเดียวกันมาตลอด
นอกจากความขยันแล้ว พี่เขายังเป็นคนมัธยัสถ์ บทละครที่ใช้ในคณะกัญชลิกาพี่เขาก็ทำบทเอง พิมพ์บทเอง ไม่ต้องจ้างใคร จนโดนพวกเราล้อเอาว่า นี่ถ้าละครเล่นได้สองคนคงไม่ต้องไปจ้างใคร.. สงสัยจัง..
แต่เรื่องจ้างนักแสดงดังๆ ให้มาแสดงแล้วละก็.. ทั้งพี่ฉลอง และพี่กัณฑรีย์ไม่เคยน้อยหน้าใคร มีดาราดังหลายคนที่เคยมาแสดงประจำ และเกิดจากคณะกัญชลิกาก็มีหลายคน และแน่ละ ในเมื่อหัวหน้าคณะเองก็เป็นดาราดังระดับแนวหน้า ที่มีแฟนละครทีวีอยู่ทั่วทุกมุมเมือง ดาราคู่ขวัญที่นำแสดงก็ไม่พ้นเจ้าของคณะนั่นแหละครับ ที่ต้องมีบทร่วมแสดงอยู่ด้วยเสมอๆ
ความเกรียงไกรของมาดพระเอกเสียงทองตลอดกาล และเพราะความสุขุมละเอียดอ่อนในการสรรหาเรื่องที่จะนำมาแสดงให้เข้ากับคาแรคเตอร์ของตัวเอง พี่ฉลองจึงเป็นพระเอกได้จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยความอาลัยอาวรณ์ของเพื่อนฝูง และบรรดาแฟนๆ ละครจอแก้วทั้งประเทศ
ตลอดชีวิตการทำงานของลูกผู้ชายที่ชื่อฉลอง สิมะเสถียร คนนี้ จึงมีแต่ความงดงาม ที่เพื่อนๆ ในทีวีช่อง ๔ ได้ยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง แม้ตัวผมเองก็ใช้ความพยายามอยู่อย่างมากที่จะเป็นคนดี อย่างคนที่เคยเป็นพระเอกใจดวงใจของผม แม้จะได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของพี่เขา ผมก็ยังไม่เคย ที่จะเลิกพยายามครับ...แม้ปัจจุบัน !
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 23 ส.ค. 12, 09:48
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|