เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 35
  พิมพ์  
อ่าน: 198308 รำลึกถึงดาวเสียงที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 13:31

เพลงของนริศ อารีย์ ที่เอามาให้ฟังกันมักเป็นเพลงหวานๆ เศร้าๆ  แต่เพลงทำนองและเนื้อสนุกสนานที่ลือลั่นไปทั้งเมืองใน 55 ปีก่อนก็มีเหมือนกัน     เพลงแรกชื่อ เปียจ๋า  บันทึกแผ่นเสียงเมื่อปีพศ. 2500    ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองคือ สุรพล โทณะวณิก ปัจจุบันก็เป็นศิลปินแห่งชาติอีกท่านหนึ่ง



เปียจ๋าเปีย เปียคนดี
เปียสวยออกอย่างนี้น่าชื่นชม
ผมเปียไกวต้านลม
เปียทั้งคู่ดูงามสมใครได้ชมคงชื่นใจ

เปียจ๋าเปียเปียคนงอน
ดูสิชอบมองค้อนอยู่ร่ำไป
ยิ้มหน่อยจะได้ไหม
ลองยิ้มให้พี่ได้เห็นคงจะเป็นบุญตา

เปียจ๋าเปีย อย่าเอาแต่ดื้ออยู่เลยเปียจ๋า
ไหนลองยิ้มให้หวานสักครา
ยิ้มเพียงหน่อยเดียวเปียจ๋า
ยิ้มเถอะนะเปียของพี่

เปียจ๋าเปียเปียคนงาม
ลองนึกตอบคำถามให้พี่ที
ถามว่าในโลกนี้ใครหนอดื้อ ดื้อสิ้นดี เปียจ๋า

คุณสุรพล โทณวณิกเล่าว่า ท่านแต่งขึ้นในปี พ.ศ.2499 ในช่วงถูกเกณฑ์ทหาร และหนีทหาร เลยถูกขังอยู่ในคุกทหาร
 
“...ตอนที่ติดคุกอยู่นั้นแลเห็นลุกสาวผู้หมวด ซึ่งบ้านอยู่หลังคุก อายุประมาณสามสี่ขวบน่ารักมาก ไว้ผมเปีย  ผมเลยได้ความคิด แต่งในห้องขังนั่นแหละหนึ่งท่อน กันลืม พอออกจากห้องขัง ผมก็หนีทหาร นำเพลงนี้ไปบันทึกเสียงให้ นริศ อารีย์เพื่อนรักเจ้าบทบาทของผมเป็นผู้ร้อง บันทึกเสร็จ ผมก็กลับไปมอบตัวเข้าห้องขังใหม่ไม่ให้เสียประเพณีคนหนีทหาร.."
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 13:38

หลังความสำเร็จของ "เปียจ๋า "ถึงพ.ศ. 2502   คุณสุรพลก็แต่งเพลงทั้งเนื้อร้องและทำนอง ชื่อ "ม่วยจ๋า " ให้นริศ อารีย์ร้องอีกหนึ่งเพลง  เป็นเพลงฮิททั่วบ้านทั่วเมืองไม่แพ้เพลงแรก
เพลงนี้ใช้จังหวะชะชะช่า ซึ่งเป็นจังหวะเต้นรำที่หนุ่มสาวยุคกึ่งพุทธกาลนิยมกันอยู่ในตอนนั้น



ม่วยจ๋าอย่านึกรังเกียจเลยหนา ว่าพี่นี้เป็นคนไทย
ชาติจีน ไม่ใช่อื่นไกล  เรารักกันไว้จะได้เป็นทองแผ่นเดียวกัน
ม่วยจ๋าจงรู้ใจพี่เถิดหนาว่าพี่รักดังชีวัน
ตั้งแต่ได้พบหน้ากัน  ความรักม่วยนั้นมันตื้นตันอารมณ์

ม่วยงามเหมือนดอกโบตั๋น ผิวพรรณม่วยนั้นเกินชม
อย่างอนให้พี่ต้องตรม พี่ชมน้องม่วยด้วยใจ
ม่วยจ๋า  เตี่ยคงไม่ว่าหรอกหนา
ที่ม่วยรักชายเป็นไทย เตี่ยเองก็นั่นปะไร
อาม้าใช่ใคร เป็นคนไทยเหมือนกัน

สังเกตว่า คำเรียกสาวรุ่นในสมัยโน้น ออกเสียงว่า ม่วย ไม่ใช่ หมวย อย่างเดี๋ยวนี้
พ่อกับแม่  เรียกว่าเตี่ยกับอาม้า  ไม่ใช่ป๊ากับมาม้า 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 14:31

        ชอบเพลงช้าๆ หวานๆ เศร้าๆ ของคุณนริศ ครับ จึงไม่ปลื้มสองเพลงหลังนี้
ที่ออกแนวเพลงเร็วคึกคักสนุกสนาน ฟังแล้วรู้สึกประมาณผิดหวังในตัวคนที่แอบชื่นชม ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 14:40

^
รีบเอาเพลงข้างล่างของคุณนริศ มาปลอบใจคุณ SILA เป็นการด่วน   เศร้า
เป็นเพลงหาฟังยากอีกเพลงหนึ่ง  หวานและเศร้า
เสียดายไม่มีข้อมูลว่าใครแต่งเนื้อร้อง-ทำนองนะคะ
เข้าใจว่าทำนองเอามาจากเพลงไทยเดิม  แต่นึกไม่ออกว่าเพลงอะไร



เมื่อเธอจากไป โอ้หัวใจจะขาดลอยร่วง
ใจพี่เฝ้าคอยหวงพุ่มพวง เมื่อไรจะมา
ค่ำคืนมีดาวแสงวับวาวพร่างพราวนภา
พี่เคยเปรียบดาราว่าแพ้นัยนาน้องนาง
 พี่เคยชมเดือน ว่าเดือนที่งามสะพรั่ง
แม้เดือนจะงามกระจ่าง พักตร์น้องนางยังงามข่มเดือนผ่อง

โอ้เจ้าลำดวน เจ้าหอมอวลหอมเกินจำปาทอง
เจ้าก็ยังเป็นรองกลิ่นแก้มบัวทองน้องนาง
ลมโชยรวยริน โอ้ประทินกลิ่นหอมสะพรั่ง
หอมเอยหอมดังกลิ่นปราง หอมน้องนางอวลดั่งกลิ่นธูปฟ้า
พี่เฝ้าคอยเธอ เฝ้าละเมอพร่ำเพ้อทุกเวลา
แต่น้องคลาดตา ไม่กลับมาให้พี่เชยชม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 14:46

ขอย้อนกลับไปหาคุณเลิศ ประสมทรัพย์ที่คุณ SILA เล่าไว้     ฟังเสียงคุณเลิศแล้วพลอยสนุกสนานอารมณ์ดีไปด้วย   โดยเฉพาะเพลงนี้ค่ะ  ใครร้องก็ไม่เหมือน
ชอบเนื้อเพลงสุนทราภรณ์ฝีมือครูแก้ว อัจฉริยกุลมากที่สุดในบรรดาครูเพลงค่ะ



ข้างขึ้นเดือนหงาย เราขี่ควายชมจันทร์ เพลิดเพลินใจฉัน โคมสวรรค์พราวพราย
ไขว่ห้างนั่งเฉย เออระเหยลอยชาย เป่าขลุ่ยเพลงหนัง บนหลังควาย ชื่นพระพายโชยมา
แม้ว่าต้องการเพื่อนคุย ฉันมีเจ้าทุยสนทนา พูดจาตอบถามตามประสา ลัดเลี้ยวคันนาตามชอบใจ
สุขใจจริงหนอ เราไม่ง้อใครๆ เจอะหน้าคนรักก็รับไป เป่าขลุ่ยสอดคล้องเราร้องไป
ขี่ควายชมฟ้าเพลินตาเพลินใจ จันทร์แจ่มใสเต็มดวง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 15:23

เพลงคู่นำชื่อเสียงมาให้คุณเลิศ กับคุณศรีสุดา รัชตะวรรณ   เสียงของทั้งสองคนเข้ากันดีมาก  เสียงคุณศรีสุดาเปรี้ยวปรี๊ด เสียงคุณเลิศก็ขี้เล่นอารมณ์ดี   ยังหาคู่เพลงที่ร้องแบบนี้อีกไม่ได้เลย
เพลงนี้ เรียกได้ว่าเป็นเพลงลายเซ็นของคุณเลิศ-ศรีสุดา



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 15:29

ในสมัยที่คุณเลิศเป็นนักร้องนำองสุนทราภรณ์ ช่วงหลังสงครามโลกมาถึงกึ่งพุทธกาล    วงการบันเทิงมีจังหวะเพลงลีลาศเกิดใหม่เรียกว่า ตะลุง(หรือตลุง)เทมโป้   จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าคนคิดจังหวะคือครูล้วน ควันธรรม     ในเมื่องานลีลาศมีจัดกันบ่อยๆ  สุนทราภรณ์จึงแต่งเพลงจังหวะตะลุง ให้นักลีลาศเท้าไฟได้ซ้อมเท้ากันหลายเพลง
เพลงนี้นำมาจากวรรณคดีในรัชกาลที่ 3   เรื่องพระมะเหลเถไถ  ของคุณสุวรรณ   คุณเลิศร้องเพลงนี้ด้วยสำเนียงชาวใต้หน่อยๆ เพื่อให้รับกับจังหวะตะลุง



ปัจจุบันหาฟังยากแล้ว  เพราะจังหวะตะลุงถูกลืมเลือนไปจากนักลีลาศรุ่นหลังๆ  
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 15:49

สมัยที่ผมเรียนหนังสืออยู่สามย่านใช้วงสุนทราภรณ์ทุกงาน
ช่วงนั้นไม่มีวงดนตรีอื่น ที่จะมาเทียบเคียงได้
มีครั้งหนึ่งจัดที่สมาคมศิษย์เก่าอยู่เยื้อง รร.เตรียมอุดม ใช้วงสุนทราภรณ์
จะเป็นงานฉลองปริญญาหรือไรนี่แหละ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 16:03

คุณ visitna  คงทันเห็นงานฉลองปริญญาที่บัณฑิตหญิงแต่งชุดราตรียาวสีขาวล้วน  บัณฑิตชายสวมสูท(แต่ไม่ใช่สีขาว)  เสียดายที่หารูปมาลงให้ดูไม่ได้  ไม่เจอในกูเกิ้ล
งานฉลองปริญญาสมัยนั้นจัดที่ศาลาพระเกี้ยว     ในเมื่อฉลองกันด้วยเพลงลีลาศ   ก็ไม่มีวงไหนเหมาะเท่าบิ๊กแบนด์อย่างสุนทราภรณ์ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 16:50

ส่งคุณเลิศคืนกลับให้คุณ SILA  เผื่อคุณ SIlA จะมีเพลงมาให้ฟังกันอีกค่ะ

เมื่อฟังเพลงของนักร้องสุนทราภรณ์ท่านหนึ่ง ก็ทำให้คิดถึงอีกหลายท่าน ในรุ่นเดียวกัน  บัดนี้ขึ้นไปร้องบนสวรรค์กันหมดแล้ว  
หนึ่งในจำนวนนั้นที่ร้องเพลงไว้แทบนับไม่ถ้วนล้วนแต่ไพเราะ   คือคุณวินัย จุลละบุษปะ คู่ชีวิตของคุณศรีสุดา
คุณวินัยร้องเพลงจังหวะช้า  ถ้าเป็นจังหวะเร็วอย่างมากก็แทงโก้ คือยังจัดอยู่ในบอลรูมอยู่ดี     หลายเพลงเป็นเพลงที่ดัดแปลงจากไทยเดิม   มาเรียบเรียงใหม่เป็นเพลงไทยสากล   ที่เรามาเรียกว่าเพลงลูกกรุงในระยะหลัง
สุนทราภรณ์เป็นจุดกึ่งกลางที่บรรจบกันระหว่างเพลงไทยเดิมและเพลงสากล     ทำให้ฟังเพลงไทยเดิมได้ง่ายขึ้น แม้ว่านักอนุรักษ์ในสมัยครูเอื้อจะไม่ค่อยพอใจก็ตาม    แต่กาลเวลาก็ทำให้เห็นว่า  การปรับเพลงไทยเดิมมาเป็นไทยสากลเป็นทางหนึ่งที่อนุรักษ์เพลงเอาไว้ไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของสังคม

เพลงแรกที่ขอรำลึกถึงคุณวินัย จุลละบุษปะ คือเพลงที่หาฟังยากตามเคย  มนต์เทวี จากทำนองเพลงไทยเดิม   "ขับไม้บัณเฑาะว์ 2 ชั้น"



มนต์เทวี
คำร้อง :  แก้ว  อัจฉริยะกุล
ทำนอง :   เอื้อ  สุนทรสนาน

โอ้งามช่างงาม  แม่งามดังเทวี
รูปทรงโสภี   เตือนฤดีมิวางวาย
แม้นเดือนสกาว  เย้ยดาวที่เรียงราย
แต่เดือนยังเอียงอาย  เพียงพักตร์เจ้าเร้าใจใฝ่ฝัน

ชวนมองเพลิน  เห็นเธอเดินนาดกรายเฉิดฉัน
เมื่อสบตาทรามวัย  หัวใจไหวหวั่น
สุดจะพรั่นละเมอมอง

ทรวดทรงช่างงาม  แม่งามดังยูงทอง
เลื่อมลายเรืองรอง   ลอยฟ้าล่อง ฉันปองผูกพัน

ฉันมองอยู่นาน ชื่นบานดังวารี
ลูบโลมทั่วกายี  เย็นฤดีมิลืมเลือน
แม้นบุญช่วยพา  แก้วตาอย่าแชเชือน
พี่ปองเจ้าครองเรือน  ความรักเตือนเคล้าเคลียสุขสันต์

เป็นบุญพา แม้นได้มาชื่นชมเคียงกัน
สุดจะปลื้มเปรมปรีดิ์ เพราะมีใจมั่น
มอบชีวันจนวันตาย

แม้นบุญสมจริง  รักยิ่งไม่คลาคลาย
จวบจนฟ้าทลาย ปองรักใคร่ขวัญใจยั่งยืน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 16:51

ขับไม้บัณเฑาะว์เป็นเพลงโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา   นำมาดัดแปลงเป็นเพลงได้หลายแบบด้วยกัน  ทั้งเพลงปลุกใจและเพลงสถาบัน
เลยขอแถมให้ฟรีในค.ห.นี้ค่ะ

เพลง ตื่นเถิดไทย



เพลง อโยธยาคู่ฟ้า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 17:20

หลังจากบันทึกเสียงในพ.ศ. 2496  เพลงนี้ก็เป็นอีกเพลงหนึ่งที่ทำให้ชื่อเสียงคุณวินัยติดหูคนฟัง   ต่อมาเพลงนี้มีนักร้องนำมาร้องอีกหลายคน หลายรุ่นด้วยกัน  จนถึงทุกวันนี้



เพลงนี้แม้ว่าเนื้อร้องแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยากุล  แต่ทำนองไม่ได้แต่งโดยครูเอื้อ สุนทรสนานอย่างที่แฟนเพลงสุนทราภรณ์จำนวนมากเข้าใจผิดกัน    ผู้แต่งทำนองคือครูเวส สุนทรจามร

พรหมลิขิต

พรหมลิขิตบันดาลชักพา
ดลให้มาพบกันทันใด
ก่อนนี้อยู่กันแสนไกล
พรหมลิขิตดลจิตใจ
ฉันจึงได้มาใกล้กับเธอ

เออชะรอยคงเป็นเนื้อคู่
ควรอุ้มชูเลี้ยงดูบำเรอ
แต่ครั้งแรกเมื่อพบเธอ
ใจนึกเชื่อเมื่อแรกเจอ
ฉันและเธอคือคู่สร้างมา

เนื้อคู่ ถึงอยู่แสนไกลคงไม่คลาดคลา
มุ่งหวัง สมดังอุรา ไม่ว่าใคร ใคร

หากมิใช่คู่ครองแท้จริง
จะแอบอิงรักยิ่งปานใด
ยากนักที่จะสมใจ
คงพบเหตุอาเภทภัย
พลัดกันไปทำให้คลาดคลา

เราสองคนต้องเป็นเนื้อคู่
จึงชื่นชูรักใคร่บูชา
นี่เพราะว่าบุญหนุนพา
พรหมลิขิตขีดเส้นมา
ชี้ชะตาให้มาร่วมกัน

คนบางคนต้องเป็นเนื้อคู่
เพียงแต่ดูรู้ชื่อโดยพลัน
ก็รู้สึกนึกรักกันจนฝันใฝ่ใจผูกพัน
แม้ไม่ทันจะเห็นรูปกาย

ฉันเชื่อ เพราะเมื่อพบเธอ ฉันเพ้อมากมาย
เฝ้าหลง พะวงไม่วาย ไม่หน่ายกมล

พรหมลิขิตบันดาลทุกอย่าง
เป็นผู้วางหนทางปวงชน
ได้ลิขิตชีวิตคน
นำเนื้อคู่มาเปรอปรน
ทั้งยังดลเธอให้กับฉัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 19:57

ค้นประวัติของคุณวินัย จุลละบุษปะ มาได้ดังนี้
เป็นบุตรของขุนประมาณธนกิจ ( ถม จุลละบุษปะ ) และ นางน้อม เกิดที่บ้านข้างวัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ในรัชกาลที่ 6  บิดารับราชการเป็นคลังจังหวัดซึ่งต้องโยกย้ายไปตามจังหวัดต่างๆ  ทำให้วินัยต้องย้ายโรงเรียนตามพ่อ    ในที่สุดก็กลับมาเรียนที่โรงเรียนวัดราชบพิธ กระทั่งสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 6  เมื่อจบการศึกษาแล้วญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งรู้จักกับทางกรมโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เห็นว่าวินัยชอบร้องเพลง  จึงช่วยฝากงานให้ที่กรมโฆษณาการ
ระหว่างยังไม่สอบบรรจุวิชาข้าราชการพลเรือน วินัยได้ไปฝึกหัดร้องเพลงกับครูเวส สุนทรจามร ซึ่งเป็นรองหัวหน้าวงดนตรีกรมโฆษณาการ รองจากครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่บ้านข้างถนนตะนาวจนเข้าที่ ครูเวส ได้สอนหลักการร้องให้แก่วินัยพร้อมกับศิษย์อีกคน คือ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี จนได้บรรจุเป็นนักร้องกรมโฆษณาการเมื่อ พ.ศ.2488 ขณะวินัยอายุได้ 23 ปี
หลังจากวินัยสอบบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว ก็อยู่ที่กรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์นานถึง 38 ปี   ดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงแทนครูเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2515   ส่วนวินัยเองเกษียณอายุเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2526

วินัยอัดเพลงลงแผ่นเสียงเพลงแรกคือเพลง เรารักกัน บันทึกเสียงโดยห้างกมล สุโกศล ส่วนเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้อย่างมากคือ เย็นลมว่าว  พรหมลิขิต และเพลงในชุดจุฬาตรีคูณ  ขับร้องไว้ทั้งหมด 219 เพลง
ชีวิตส่วนตัว  วินัยสมรสกับศรีสุดา รัชตะวรรณ ตั้งแต่ พ.ศ.2499 แต่ไม่ได้ร้องเพลงคู่กัน  นักร้องหญิงที่ร้องเพลงคู่กับวินัยคือชวลี ช่วงวิทย์

วินัย จุลละบุษปะ ถึงแก่กรรมในวันที่ 14 กันยายน 2542    พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2542

วินัยเป็นนักร้องที่ร้องเพลงด้วยน้ำเสียงนุ่ม และเปล่งเสียงได้ชัดเจนถูกต้องทุกถ้อยคำ ทั้งอักขระและเสียงโน้ตดนตรี  เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เพลง เย็นลมว่าว ที่นำชื่อเสียงมาให้ได้รับคำชมเชยว่า ฟังแล้วเหมือนนั่งรับลม อยู่ท่ามกลางอากาศปลอดโปร่งในหน้าลมว่าว


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 05:31

ชอบเพลงเย็นลมว่าว ลีลาออกแนวแจ๊ซ คล้ายของ Glenn Miller


 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 08:23

คุณ visitna โพสต์คลิปผิดหรือเปล่าคะ    คุณมัณฑนา โมรากุลยังมีชีวิตอยู่ค่ะ    เธอได้เป็นศิลปินแห่งชาติปี 2552
ถ้าชอบเพลงแจ๊สของสุนทราภรณ์ ก็มีหลายเพลง โดยมากเป็นสุนทราภรณ์ในยุคต้น เพลงแจ๊สกำลังเป็นที่นิยม   เช่นคนึงครวญ  เมื่อไรจะให้พบ   ไม่อยากจากเธอ



ไม่อยากจากเธอ

คำร้อง แก้ว อัฉริยะกุล
ทำนอง หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์    
   
ไม่อยากจากเธอ อยากอยู่ด้วยเสมอ
หวานล้ำน้ำคำเธอ เธอเสนอให้ชื่นใจ

สุขเอยสุขใจ สุขกว่าคนอื่นใด
น้ำรักชักนำใจ ยังสดใสไม่แรมรา

หวานล้ำน้ำคำ ที่เธอชักนำมา
หวานรักชักพา พูดจาสัญญาตรงกัน

อกเราแนบกัน ปล่อยให้ใจใฝ่ฝัน
เคลิ้มรักภิรมย์กัน ดังสวรรค์สวาทเตือน

ไม่อยากจากเธอ อยากอยู่ด้วยเสมอ
หลงใหลน้ำใจเธอ เธอเสนอไม่บิดเบือน

ไม่ลืมไม่เลือน สุขไม่มีใครเหมือน
ร้อยรักชักนำเตือน ก็ไม่เหมือนกับเธอเลย

รักเร้าเย้ายวน นิ่มนวลชิดชวนเชย
รักไหนใดเอย ไม่เคยชิดเชยนำพา

เด่นเดือนดารา ก็ยังมีจากฟ้า
รักนี้มิคลายคลา ปรารถนาไม่จากเธอ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 35
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง