เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7649 อยากทราบว่าท่านเป็นใครค่ะ
sally chu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


 เมื่อ 22 ก.ค. 12, 19:24

เข้าใจว่าฉายที่รัสเซีย ไฟล์ที่สองเป็นด้านหลังของภาพค่ะ ใครจะพอช่วยได้มั้ยคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
atsk
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 19:48

หม่อมเจ้า นิกรเทวัญ เทวกุล  หรือเปล่าครับ อ่านจากชื่อที่เขียนในภาพ 

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 20:44

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสังข์ เนื่องในวันเสกสมรส เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๐

จากขวามาซ้าย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์, หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล, หม่อมเจ้าสมทรง เทวกุล, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม


บันทึกการเข้า
sally chu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 21:17

ขอบคุณมากๆค่ะ มาถามที่นี่ไม่เคยผิดหวัง ท่านศึกษาที่รัสเซียหรือคะ ช่วงไหนคะ ไม่แน่ใจว่าเหตุใดจึงมีพระรูปนี้ที่บ้าน
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 14:41

ท่านเป็นราชเลขาธิการ นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์มาเป็นสำนักราชเลขาธิการเมื่อ พ.ศ.2493 กล่าวได้ว่า หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการเป็นคนแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และนอกจากจะทรงดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะองคมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการ จนมีพระชันษาครบเกษียณอายุราชการ จึงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงต่ออายุราชการอีกคราวละ 1 ปี จนครบ 5 ปี จากนั้นจึงกราบถวายบังคมลาออกเป็นข้าราชการบำนาญ เมื่อ พ.ศ.2505
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 14:52

คุณวันดีให้ข้อมูลตำแหน่งใน พ.ศ. ๒๔๗๕



-อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ (อ้างอิงเดิม  หน้า ๖๘๙)


อธิบดี                                       ม.อ.ต.  หม่อมเจ้านิกรเทวัญ   เทวกุล

ผู้ช่วยอธิบดี                                 อ.ท.  หลวงวิจิตรวาทการ


ผู้ช่วยอธิบดี ชื่อคุ้น ๆ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 17:09

ม.จ.นิกรเทวัญ  เทวกุล  เป็นพระโอรสลำดับที่ ๑๕ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการ
ประสูติแต่หม่อมพุก  เทวกุล ณ อยุธยา  เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๔๐  ณ วังสะพานถ่าน  ถนนตีทอง  พระนคร
ทรงมีพี่น้องร่วมหม่อมมารดาเดียวกันดังนี้

พล.ต. ม.จ.ปรีดิเทพย์พงษ์  เทวกุล
ม.จ.วงศ์ทิพยสุดา  เทวกุล
ม.จ.วิไลยกัญญา  ภาณุพันธุ์
ม.จ.สมรศรีโสภา  เทวกุล
ม.จ.อาทิตย์อุไทย  เทวกุล
ม.จ.พวงรัตนประไพ  ชุมพล
ม.จ.แขไขจรัส  เกษมศรี
ม.จ.อัศนีฟ่องฟ้า  เทวกุล
ม.จ.ประภาภรณี  เทวกุล
ม.จ.จิราโรหิณี  เทวกุล

เมื่อทรงเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาหนังสือไทยกับพระอาจารย์มุ่ย  วัดสุทัศน์เทพวราราม  แล้วทรงศึกาาต่อในโรงเรียน
กระทรวงธรรมการที่วัดนั้น  จนถึงชั้น ป. ๓ จึงได้ทรงย้ายไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย ที่อาคารสายสวลีภิรมย์
ใกล้สะพานกษัตริย์ศึก ทรงศึกษาจนถึงชั้น ๔ อังกฤษ  ก็ทรงย้ายไปเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบก  เมื่อ วันที่ ๗ พ.ค. ๒๔๕๒


เมื่อทรงศึกษาจบหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยชั้น ๓  และทรงสอบไล่ได้ลำดับที่ ๓ เมื่อปลายปี ๒๔๕๖  ได้รับพระราชทานกระบี่
เป็นนักเรียนทำการนายร้อย (คือว่าที่ร้อยตรี) ประจำกองบังคับการนักเรียนนายร้อยชั้นมัธยม เมื่อ ๑ พ.ค. ๒๔๕๗
รับเงินเดือนเดือนละ ๖๐ บาท เมื่อชันษาได้ ๑๗ ปี

๒๔ มิถุนายน  ๒๔๕๗  กระทรวงกลาดหมได้ส่งม.จ.นิกรเทวัญ  ไปทรงศึกษาวิชาการทหารที่ประเทสรัสเซีย  
เป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกต่างประเทศ  สังกัดกรมเสนาธิการต่างประเทศ  เสด็จออกเดินทางจากประเทศไทย
ราวต้นเดือน ก.ค. ๒๔๕๗  พร้อมด้วย ม.จ.อนันตนรไชย  เทวกุล และม.จ.ลักษณเลิศ  ชยางกูร

ม.จ.นิกรเทวัญ เสด็จถึงกรุงเบอร์ลินแล้ว  ม.จ.ไตรทศประพันธ์  เทวกุล  ออท.ประจำกรุงเบอร์ลิน  ได้โปรดให้พักอยู่ที่สถาน ออท.ก่อน
เพื่อรอ ออท. ประจำกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจัดส่งคนมารับไปตามที่ได้ตกลงกันไว้

ในระหว่างนี้  ม.จ.นิกรเทวัญ  ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ด้วย
หลังจากที่  ประทับอยู่ที่เยอรมันได้ไม่ถึง ๑ สัปดาห์  ก็เกิดมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ ส.ค. ๒๔๕๗
(รัสเซียประกาศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี)

ระหว่างที่รอ ออท.ที่รัสเซียส่งคนมารับนั้น  ออท.ที่กรุงเบอร์ลินได้ส่งม.จ.นิกรเทวัญ พร้อมหม่อมเจ้าอีก ๒ องค์
ไปเรียนวิชากับศ.ไฮเน  ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ที่โกรส ลิชแตร์เฟลเด  เพื่อทรงศึกษาวิชาสามัญก่อน

เมื่อถึงต้นฤดูหนาว ปี ๒๔๕๗  ออท.ที่รัสเซีย  ได้ส่ง พระลิปิกรณ์โกศล (สวัสดิ์ เทพาคำ)  เลขานุการเอก
มารับหม่อมเจ้าทั้งสามองค์ไปยังรัสเซีย   แต่เนื่องด้วยภาวะสงคราม  ทำให้ต้องเดินทางจากเยอรมนีไปยังสวีเดน
เข้าฟินแลนด์แล้วจึงเข้าไปยังรัสเซียเพื่อตรงไปยังกรุงเปโตรกราด (เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก)  เมื่อเสด็จถึงที่หมายแล้ว
ออท.ที่รัสเซีย  คือ พระัยาวิศาล.......ได้จัดการใ้ห้ทรงแยกย้ายไปอยู่ในความปกครองของอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กหลวง
(CORPS DER PAGES) ซึ่งมีนักเรียนไทยมาเข้าศึกษาอยู่ก่อนแล้ว

ม.จ.นิกรเทวัญ กับม.จ.ลักษณเลิศ ได้เสด็จไปอยู่ในการปกครองของนายพันเอก เกย์มันน์ ได้ทรงศึกษาภาษารัสเซียและวิชาการพื้นฐาน
เตรียมพระองค์สำหรับเข้าสอบวิชาการทหารบกในโรงเรียนนายร้อยรัสเซียต่อไป

แต่...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 17:52

แต่ก็มีเหตุการณืหนึ่งเกิดขึ้น ทำให้ ม.จ.นิกรเทวัญ ไม่สามารถเข้าสอบไล่เพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนายร้อยทหารบกได้
เพราะทรงประชวรด้วยโรควักกะพิการ  ต้องได้รับการผ่าตัดวักกะทั้งสองข้างเร่งด่วน และใช้เวลารักษาพระองค์นาน
ทำให้มิได้ทรงศึกาาวิชาทหารบกตามที่ได้ตั้งพระทัย  ในระหว่างที่ทรงรักษาพระองค์มิได้ทรงปล่อยเวลาให้สูญเปล่า
ได้ทรงศึกษาวิชารัสเซียและภาษาต่างประเทศอื่นๆ  ด้วยพระองค์เองจนมีความรู้ชำนาญ

ต่อมารัสเซียเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์  ได้ตั้งกฎห้ามมิให้ชาวต่างชาติเข้าเรียนในโรงเรียนวิชาการชั้นสูง
ทำให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถมีรับสั่งให้นักเรียนไทยในรัสเซียทั้งหมดเดินทางกลับประเทศไทยโดยด่วน
โดยให้เดินทางด้วยรถไฟสายไวบีเรียไปยังวลาดิวอสตอค  แล้วเดินทางข้ามามายังญี่ปุ่นเพื่อเดินทางต่อมายังประเทศไทย

ม.จ.นิกรเทวัญ ซึ่งทรงเจ็บป่วยอยุ่  พลานามัยยังไม่สู้ทรงแข็งแรงมากพอที่จะเสด็จทางไกลได้ จึงไม่สามารถเสด็จพร้อมกับนักเรียนไทยทั้งหมดได้
สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศืวโรประการทรงห่วงใยมาก  จึงได้ทรงติดต่อขอความอนุเคราะห์ไปยังรัฐบาลอังกฤษ
ให้ช่วยเหลือม.จ.นิกรเทวัญเสด็จออกมาจากประเทศรัสเซียด้วย   จากนั้น  ราว ๖-๗ เดือน  รัฐบาลอังกฤษได้จัดส่งเรือรบหลวง
เนลสันไปรับม.จ.นิกรเทวัญ ที่แหลมไครเมีย เดินทางผ่านช่องแคบดาดาร์เนลส์  แล้วมาต่อเรือโดยสารอีกทอดหนึ่ง
เพื่อเสด็จมายังสิงคโปร์และเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๑  ก.พ. ๒๔๖๑    ในครั้งนั้น  สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการได้ทรงตอบแทน
ไมตรีของรัฐบาลอังกฤษที่ได้ช่วยเหลือม.จ.นิกรเทวัญ ได้เสด็จกลับเมืองไทยอย่างปลอดภัย  ด้วยการประทานเงินส่วนพระองค์แก่สภากาชาดอังกฤษด้วย


เมื่อม.จ.นิกรเทวัญ เสด็จกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว  อาการประชวรก็ยังมิได้ทุเลาลง  ทำให้ทรงรับราชการมิได้
คงเป็นแต่นักเรียนทำการนายร้อยประจำกรมเสนาธิการทหารบกอยู่เช่นนั้น   ในที่สุดแพทย์ที่รักษาลงความเห็นว่า
อาการวักกะพิการของม.จ.นิกรเทวัญ ไม่มีกำหนดหายที่แน่นอน  รัชกาลที่ ๖ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานยศนายร้อยตรี  แล้วปลดเป็นนายทหารกองหนุน  สังกัดกรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ
เมื่อวันที่ ๒๓ ก.ค. ๒๔๖๒

ม.จ.นิกรเทวัญ ทรงรักษาพระองค์จนถึงปี ๒๔๖๔  ระหว่างนั้น ได้ทรงศึกาาความรู้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง และทรงใช้
แพทย์แผนไทยในการรักษาร่วมด้วย  ทำให้พลานามัยดีขึ้นมาโดยลำดับ   สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการ
ทรงเห็นว่าม.จ.นิกรเทวัญเอาพระทัยใส่ในการสึกษาหาความรู้อยู่  มีสติปัญญาที่จะรับราชการในฝ่ายต่างประเทศได้
จึงได้โปรดให้ม.จ.นิกรเทวัญมารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่นั้นมา

ครั้นปี ๒๔๖๖  สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการสิ้นพระชนม์ และทรงโรงพยาบาลกับแพทย์ได้รักษาม.จ.นิกรเทวัญ
ที่รัสเซียได้ส่งบิลเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลมายังกระทรวงการต่างประเทศ  และเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ซึ่งพระองค์ไม่สามารถ
ชำระได้ด้วยกำลังทรัพย์ของพระองค์  ความทุกข์ดังกล่าวทราบถึงรัชกาลที่ ๖  ได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่ม.จ.นิกรเทวัญ
โดยทรงชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวแก่ม.จ.นิกรเทวัญ  ด้วยเหตุดังกล่าว  ทำให้พระองค์ตั้งพระทัยรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแด่รัชกาลที่ ๖ จนตลอดพระชนม์ชีพ

ม.จ.นิกรเทวัญ ได้ทรงรับราชการในกระทรวงต่างประเทศมาโดยลำดับ  ดังนี้
๓๐ ก.ย. ๒๔๖๕ เป็นผู้ช่วยในกรมที่ปรึกษาง
๓๐ ธ.ค. ๒๔๕  เป็น ร.อ.อ.
๑ ม.ค. ๒๔๖๗  เป็น อ.ต.
๑ ต.ค. ๒๔๖๙ เป็น หน.กองบัญชาการ
๘ พ.ย. ๒๔๗๐ เป็น อ.อ.
๑ เม.ย. ๒๔๗๑ เป็น เจ้ากรมบัญชาการ
๑ ก.ค. ๒๔๗๒ เป็น ม.อ.ต.
๑๑ ม.ค. ๒๔๗๒ เป็น อธิบดีกรมการเมือง
๑ ก.ค. ๒๔๗๗ เป็น ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ในระหว่างนี้  ได้ทรงรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาการทูตแก่ นศ.ป.โท ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองด้วย

ครั้นถึงปี ๒๔๘๒  ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการด้วยเหตุผลทางการเมืองบางประการในขณะนั้น
เมื่อทรงเกษียณแล้ว  ก็ทรงดำรงชนม์ชีพอย่างสันโดษ  ด้วยการทรงหนังสือ ทรงเลี้ยงดูบุตรธิดา และทรงสอนหนังสือ
จากนั้น ปี ๒๔๘๕   ชายา คือ ม.จ.สมทรง (เกษมศรี) เทวกุล  ก็ประชวรและสิ้นชีพิตักษัย  ทำให้ต้องทรงรับภาระครอบครัว
ทั้งหมด  ในระหว่างนี้ได้ทรงสอนหนังสือที่โรงเรียนราชินีบนด้วย  และเสด็จไปประทับที่นาคลองรังสิตอยู่เสมอ
ด้วยโปรดชีวิตเรียบง่าย

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 18:03

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงในปลายปี ๒๔๘๘
เดือนมีนาคม ๒๔๘๙ รัชกาลที่ ๘ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ม.จ.นิกรเทวัญ ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์
และเมื่อรัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคตแล้ว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงไว้วางพระราชหฤทัย
ให้ม.จ.นิกรเทวัญ ทรงรับราชการในตำแหน่งดังกล่าวสืบต่อมาจนกระทั่งทรงเกษียณอายุราชการเมื่อปี ๒๕๐๐
จากนั้น  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่ออายุราชการคราวละ ๑ ปี อีกจนครบ ๕ ปี จึงได้พ้นจากราชการไปในปี ๒๕๐๕
รวมเวลาที่ทรงรับราชการในตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์และราชเลขาธิการ  เป้นเวลา ๑๖ ปี

ม.จ.นิกรเทวัญ เทวกุล ได้เสกสมรสกับม.จ.สมทรง  เกษมศรี พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ
ได้รับพระราชทานน้ำพระมหาสังข์จากรัชกาลที่ ๗ เมื่อ ๑๖ ม.ค. ๒๔๗๐   และมีบุตรธิดา ดังนี้

๑. ม.ร.ว.อนงคเทวัญ  

๒. ม.ร.ว.อุทัยเทวัญ

๓. ม.ร.ว.ทรงเทวัญ

๔. ม.ร.ว.อติเทวัญ

ม.จ.นิกรเทวัญ  สิ้นชีพิตักษัย  เมื่อ ๓ ส.ค. ๒๕๑๙  ชันษา ๗๘ ปีเศษ


หมายเหตุ  ขออภัยเจ้าของกระทู้   ที่ผมเขียนตอบยาวเยิ่นเย้อเกินไปถึง ๓ ความเห็น
ทั้งที่ควรจะเขียนสั้นแค่ความเห็นเดียว  แต่เพราะข้อมูลมีรายละเอียดมาก  จะตอบแห้งๆ สั้นๆ ก็เกรงว่าจะเสียความ
จึงได้พยายามย่อเอาแต่สาระเท่าที่จดจำได้มาตอบ  หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจค้นคว้าประวัติบุคคลบ้าง

และเนื่องจากเอกสารอยู่ห่างมือจึงอาจจะมีข้อมูลบางประการ
ตกหล่นหรือผิดพลาดไปบ้าง  ถ้าท่านผู้ใดมีน้ำใจจะช่วยช่วยแก้ไขให้สมบูรณ์ก็จะยินดียิ่งและขอบคุณมาล่วงหน้า
(จะแก้คำสะกดผิดก็ได้  เพราะรีบพิมพ์คงจะพิมพ์ผิดหลายแห่ง)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 20:11

เก็บตกจาก กระทู้ "นามนั้นสำคัญไฉน" โดย คุณกัมม์ จาก พันทิป

พระนามพระโอรสธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

อัปสรสมาน
บรรสานสนิท
พิจิตรจิราภา
สุธาสิโนทัย
ไตรทศประพันธ์
จันทรนิภา
ทิศากร
บังอรรัต
ดำรัสดำรง
พงศ์ทินเทพ
เสพยสุมนัส
ทิพยรัตนประภา
นาราวดี
ตรีทิเพศพงศ์
วงศ์นิรชร
มรุพรพันธ์
กันดารา
ดาราจรัสศรี
ปรีดิเทพย์พงศ์
วงศ์ทิพยสุดา
อัจฉราฉวี
ศรีทศาลัย
ไตรทิพเทพสุต
สุรวุฒิประวัติ
ทัศศศิธร
นิกรเทวัญ
อนันตนรไชย
วิไลยกัญญา
สุชาดามณี
สมรศรีโสภา
อาทิตย์อุไทย
เจริญวัยวัฒนา
วงศานุวัติ
พวงรัตนประไพ
แขไขจรัสศรี
อัศนีฟ่องฟ้า
ประภาภรณี
โชติศรีกฤติกา
จีราโรหิณี

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
sally chu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 22:23

ขอขอบคุณทุกๆท่านมากๆค่ะ ดีใจที่ตอบยาวค่ะ ได้ความรู้มากมาย อยากทราบว่ารายละเอียดอย่างนี้บันทึกไว้ที่ไหนคะ ไม่ได้เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่ชอบอ่านค่ะ ท่านกล่าวถึง ม.จ. ลักษณเลิศ ชยางกูร ด้วย เลยขอส่งถาพท่านที่ฉายที่รัสเซียมาให้ดูด้วยค่ะ  ยิ้มกว้างๆ  หากท่านมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ม.จ. ลักษณเลิศ  ก็จะขอบคุณมากค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 22:37



คุณหลวงเล็กเป็นบุคคลหาได้ยาก     ทราบแน่ชัดว่าท่านเขียนจากความทรงจำทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
lantum
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 20:07

แต่ละท่านช่างมีความจำเป็นเลิศมากจริงๆ แปลกใจว่าทำไมดิฉันเพิ่งจะมาเจอเรือนไทย น่าจะได้เจอนานแล้ว

แต่ไม่เป็นไรคะ จะตามอ่านกระทู้ที่ชอบและสนใจคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 ก.ค. 12, 21:14

ขอต้อนรับค่ะ เชิญหามุมนั่งตามสบายนะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง