เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 22028 ดวงเมือง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 18 ก.ค. 12, 13:48

มีคำถามมาขอคำอธิบายจากสมาชิกเรือนไทยค่ะ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี โปรดเกล้าฯให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมือง
พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล รุ่งแล้ว 9 บาท
ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325

คำถามที่อยากทราบคือ รุ่งแล้ว 9 บาท หมายถึงเวลากี่โมง  มีวิธีนับอย่างไรคะ
ในเมื่อเวลาเช้าเย็นของแต่ละฤดูไม่เหมือนกัน   หน้าร้อนดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วตกช้า   หน้าหนาวดวงอาทิตย์ขึ้นช้าตกเร็ว  แล้วจะมีมาตรฐานเวลา "รุ่ง" อย่างไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 14:07

คัดจากราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔ เมื่อเดือนแปด ขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะเมีย สัมฤทธิศก เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาล ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

"อนึ่งโมงหนึ่ง ตามอย่างไทยแบ่ง ๑๐ ส่วน เรียกว่า บาท นับว่า บาทที่ ๑ บาทที่ ๒ บาทที่ ๓ จนถึงบาทที่ ๙"

ดังนั้นเมื่อแปลความหมายอย่างปัจจุบันก็หมายว่า โมงหนึ่ง = ๖๐ นาที แบ่งออกสิบส่วนคือ ๖ นาที่ = ๑ บาท

ดังนั้น ๑ บาท จึงเท่ากับ ๖ นาที ส่วน ๙ บาทก็เป็นเวลา ๕๔ นาที
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 14:15

"ย่ำรุ่ง"

ในประกาศเดียวกันอธิบายการเรียก ทุม และ โมง ซึ่งเวลาไทยแบ่งเป็น ๑๒ ช่วงอย่างเท่า ๆ กัน

ตีสาม ไทยเรียกว่า สามยาม

ตีสี่ ไทยเรียกว่า ๑๐ ทุ่ม

ตีห้า ไทยเรียกว่า ๑๑ ทุ่ม

หกนาฬิกา ไทยเรียกว่า "ย่ำรุ่ง"

เจ็ดนาฬิกาเช้า ไทยเรียกว่า โมง ๑
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 14:51

ขอบคุณมากค่ะคุณหนุ่มสยาม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 15:17

การบรรจุดวงเมืองในไม้ศาลหลักเมืองนั้น เป็นพระราชพิธีนครถาน โดยขุดหลุมลึก ๗๙ นิ้ว เป็น ๑๒ เหลี่ยม ๆ ละ ๖ นิ้ว เสานั้นทำด้วยไม้ไชยพฤกษ ยาว ๑๘๗ นิ้ว ฝังในดินลึก ๗๙ นิ้ว พร้อมกับให้ตั้งศาลบูชาเทวาทั้ง ๘ ทิศ

เมื่อได้ฤกษ์จากพระโหราธิบดีแล้วจึงได้นำดินทั้ง ๔ ทิศโยนลงไปในหลุมพร้อมกับแผ่นศิลา เมื่อตั้งเสาแล้วก็บรรจุพระชะตาดวงเมือง พระสงฆ์เจริญสวดพระพุทธมนต์ ตั้งพระไชยวัฒน์เป็นประธาน สวดมนต์อยู่ ๓ วัน ๓ คืนแล้ววันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ ๔ ก็อัญเชิญพระสงฆ์ประพรมโดยทรายที่ขุดรากก่อกำแพงเมือง

มาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงแก้ดวงเมืองใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม ด้วยทรงผูกดวงกรุงเทพพบความคลาดเคลื่อนของตัวเลข จึงโปรดเกล้าให้ถอนเสาหลักเมืองเก่าออก และสถาปนาหลักเมืองขึ้นมาใหม่และบรรจุดวงพระชะตาเมืองใหม่ลงไป ส่วนเสาหลักเมืองเดิมก็ให้พาดพิงไว้ไม่ได้ยกไปไหนอยู่มาจนกระทั่งพระนครฉลอง ๒๐๐ ปี จึงได้ซ่อมแซมบูรณะเสาหลักเดิมนำมาวางเคียงข้างกันอย่างในปัจจุบัน

ในการฝังเสาหลักเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีการเล่าลือกันในสมัยรัชกาลที่ ๗ เกี่ยวกับชะตาบ้านเมืองว่า เมื่อขุดหลุมพร้อมที่จะลงเสาหลักเมือง พระโหราธิบดีก็ได้ให้เจ้าหน้าที่หย่อนเสาลงไป แต่บังเอิญเหลือบไปเห็นงู ๔ ตัวอยู่ในก้นหลุม แต่ช้าเกินไปที่ห้ามไว้ เสาหลักเมืองได้ลงไปเรียบร้อยแล้ว

รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้ให้โหรตรวจทำนายดูว่าเหตุการณ์ร้ายหรือดี ซึ่งโหรก็ทูลว่าจะมีเคราะห์กับบ้านเมือง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๗ มีกระแสเหล่านี้แรงมาก พระองค์โปรดเกล้าฯให้สหชาติ ปีมะเส็ง เรียกว่า ๔ มะเส็ง ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลถวาย สร้างถาวรวัตถุไว้ในช่วงพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 15:42

คัดจากพงศาวดารรัชกาลที่ ๑


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 07:13

^
เยี่ยมมาก
ถ้างั้น ดวงเมืองที่แท้จริง  ควรจะเป็นอย่างที่ลงเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๑   หรือว่าเป็นอย่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงแก้ไขในรัชกาลที่ ๔ คะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 07:48


ถ้างั้น ดวงเมืองที่แท้จริง  ควรจะเป็นอย่างที่ลงเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ ๑   หรือว่าเป็นอย่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงแก้ไขในรัชกาลที่ ๔ คะ


ถึงตอนนี้ก็ควรนับดวงเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔ เนื่องจากมีการถอนเสาหลักเมืองในสมับรัชกาลที่ ๑ ออกไป และมีการสร้างดวงเมือง และสร้างไม้ไชยพฤกษ์ และมีการประกอบการฝังหลักเมืองใหม่ ดังนั้นจึงต้องเป็นดวงเมืองสมัยรัชกาลที่ ๔ ครับ

โดยโปรดเกล้าให้พระยาโหราธิบดี ขุนโชตนาพรหมา กับ ขุนเทพากร คำนวณดวงชะตาพระนครใหม่ ในวันอาทิตย์ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ กระทำเขียนดวงพระชะตาบนแผ่นเงิน และแผ่นทองกว้าง ๕ นิ้ว ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสาดาราม มีประธานสงฆ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส พร้อมด้วยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

แต่โดยนัยแล้วทางโหราศาสตร์การคำนวณดวงเมืองมักจะกระทำดวงเมืองเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ มากกว่าโดยให้เหตุผลในเชิงว่า ดวงเมืองสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่บรรจุลงใหม่นี้เป็นการเสริมดวงเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๑ เสียมากกว่า
บันทึกการเข้า
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 10:20

ดวงเมือง ส.แสงตะวัน ผู้ล่วงลับเขียนไว้พิศดารที่สุด ในหนังสือ เผยความลับโหราศาสตร์ 1,2


ข้อมูลที่ผมเอามาลงนี้ส่วนแรกได้จาก หนังสือของ อ.แสงตะวัน(ยังลงไม่หมด และต้องตรวจทานอีกที เพราะใช้ปฏิทินของ ทองเจือ อ่างแก้ว ในการคำนวน)

ดวงเมืองกรุงเทพฯ  อาทิตย์ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๖ ปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ เวลารุ่งเเล้ว ๙ บาท

โดยใช้โหรจากอินเดีย ๙ คนเป็นผู้ให้ฤกษ์ เรียกว่าเพชรฤกษ์มงคลทั่วไป 

                                                                              ลางฤกษ์เรียก มาณพน้อยใส่หมวกเหล็ก 

                                                                               โหรเรียก กำแพงแก้ว ๓ ชั้น   
                                                         
                                                                               โดยกำแพงแก้ว ๓ ชั้นคือ

                                                             เกณท์ฤกษ์ ชั้นที่ ๑  พระ ๒ เป็นองค์พระฤกษ์  พระ ๖ เป็นองค์คู่ฤกษ์
                                                             เกณท์ฤกษ์ชั้นที่ ๒   พระ ๖ เป็นองค์พระฤกษ์   พระ ๔ เป็นองค์คู่ฤกษ์
                                                             เกณท์ฤกษ์ชั้นที่ ๓   พระ ๕ เป็นองค์พระฤกษ์   พระ ๖ เป็นองค์คู่ฤกษ์     
     
เมื่อถึงเวลาวางฤกษ์คือรุ่งเช้า ๙ บาท(ใช้แสงแดดวัดเงา ได้ ๙ ฝ่าเท้า) เป็นช่วงที่มีเรือสำเภาส่งสินค้าจากเมืองจีนเข้ามาเทียบแล้ว
ลูกเรือก็ขนกระทะเหล็กเดินผ่านเข้ามาในเขตุทำพิธีถือเป็นลางฤกษ์ ของเวลาจริงคือลางฤกษ์มาณพน้อยใส่หมวกเหล็ก 
(โดยปกติตอนผูกดวงฤกษ์ โหรที่เก่งจริงๆจะรู้ว่าในเวลานี้จะมีอะไรเกิดขึ้นในทำนองนี้)

เจ้าหน้าที่จึงได้ลั่นฆ้องลงเสาหลักเมือง(ถ้าเป็นฝรั่งหรือทางตะวันตกเขาใช้การสั่นกระดิ่ง)
เมื่อปล่อยเสาลงหลุมปรากฏว่ามีลูกงูสิงห์มาจากไหนก็ไม่รู้มาอยู่ที่ก้นหลุม  ทางโหรถือเป็นเทพนิมิตร และได้ทำนายว่าราชวงศ์จะเจริญไปได้ ๑๕๐ ปีจะสูญสิ้น 

มีทางที่แก้ไขได้ทางเดียวคือการสร้างวัดไว้ในทิศใกล้จึงจะบรรเทาได้ ทางพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงให้สร้างวัดพระแก้วขึ้น เป็นการแก้อาถรรพ์ เพื่อปกปักรักษาพระนคร


http://www.108dee.com/horaforcast.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 10:55

ประเพณีสร้างวัดหลวงในพระบรมมหาราชวังมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วไม่ใช่หรือคะ   เห็นได้จากวัดพระศรีสรรเพชญ
บันทึกการเข้า
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 13:39

จากวิกิ

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ
แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง(วังสร้างก่อนวัด)

จากที่ลงรูปข้างต้น ข้ามมาฝั่งนี้ วางหลักเมืองก่อน แล้วค่อยสร้างวังทีหลัง  วังมักสร้างบนที่ดอนใกล้น้ำ

ถ้าเชื่อที่ส.แสงตะวันเขียน แสดงว่าวัดสร้างก่อนวัง
จากรูปทรงอาคาร โบสถ์วัดพระแก้วสร้างแบบอยุธยาตอนปลาย เสาบัวแวง เสมาในซุ้ม แต่จั่วหลังคาแคบ ไม่ป้านแบบวังหน้า หรือวังเดิม

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง
แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา(วัดสร้างก่อนวัง)

ดวงชะตาของเมืองลงในแผ่นทองคำ ดังนี้

ลัคนาสถิตราศีเมษ กุมอาทิตย์
เกตุอังคารอยู่ราศรีพฤกษภ มฤตยูอยู่ราศีเมถุน
จันทร์ราศีกรกฎ เสาร์และพฤหัสราศีธนู
ราหูศุกร์ และพุธราศีมีน

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/หลักเมือง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 14:20

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วังสร้างก่อนวัด

การลงเสาหลักเมือง บ่งชี้ว่าได้กระทำการตั้งเสาลงหลักปักฐาน ณ ผืนแผ่นดินด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕

และแล้วจึงเกณฑ์ไพร่พลเขมร ลาว ป้อม กำแพงวังปักไม้ระเนียดทาดินแดง รื้ออิฐจากกรุงเก่ามาสร้างพระบรมมหาราชวัง และวังหน้าขึ้นพร้อมกันในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๒๕

ครั้นล้อมรั้วกำแพงสร้างป้อมแล้วก่อรากพระบรมมหาราชวัง และ แบ่งส่วนหนึ่งยกเป็นพื้นที่สำหรับประดิษฐานพระแก้วมรกต แบ่งอาณาเขตยกขึ้นเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง

การสร้างวัดพระแก้วกำหนดแล้วเสร็จใช้เวลา ๒ ปี ตกพ.ศ. ๒๓๒๗ ฉลองพระอุโบสถอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐาน

การสร้างพระบรมมหาราชวังเสร็จในเบื้องต้นก่อนวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงนั่งเรือข้ามฟากมายังฉนวนท่าวังใหม่ พร้อมกับประกาศให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเบื้องต้น การก่อสร้างพระบรมมหาราชวังใช้เวลาก่อสร้างราว ๓ ปีจึงแล้วเสร็จ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 15:22

อยากอ่านต่อ ตอนสร้างวัง ๓ ปีครับ  ครับคุณ siamese
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 ก.ค. 12, 16:13

อยากอ่านต่อ ตอนสร้างวัง ๓ ปีครับ  ครับคุณ siamese

การสร้างพระมหามณเฑียรในพระราชพงศาวดารพูดน้อยนัก แต่ดูจากลักษณะสิ่งก่อสร้างที่จำลองบรรยากาศพระราชวังให้มีลีลาอย่างพระราชวังกรุงศรีอยุธยา คือ มีพระมหามณเฑียร และท้องพระโรงสำหรับออกว่าราชการ มีโรงช้าง โรงม้าและตำหนักฝ่ายใน

มีการสร้างหมู่พระมหามณเฑียร ด้วยอิฐและไม้ผสมกัน ท้องพระโรงพระที่นั่งอัมริทรวินิจฉัยก็ยังเป็นเสาไม้ ไม่มีผนังเปิดโล่งแบบพระราชวังเดิม ทาไม้สีแดง และที่ริมน้ำก็โปรดให้สร้างพระมหาปราสาทขนาดใหญ่ ชื่อว่า พระที่นั่งอินทราภิเษก กว้างและยาวเทียมเท่าพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท สำหรับออกว่าราชการ ส่วนฝ่ายในก็สร้างตำหนักด้วยเรือนไทยฝากระดาน

ทั้งนี้ยังมีงานก่อสร้างพระนครอีกมาก เช่น การขุดคลอง การก่อสร้างป้อม ประตูเมือง กำแพงพระนครล้อมกรุงเทพไว้ และยังมีศึกสงคราม ๙ ทัพอีก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 ก.ค. 12, 22:52

ผมสนใจอ่านเรื่องของ astrology เล็กๆน้อยๆพอสมควร เพียงเป็นการติดตามความเคลื่อนไหว ศึกษา ทำความเข้าใจกับปรัญชา ความนึกคิด การแปลความหมาย และพัฒนาการของโหราศาสตร์

เมื่อไม่นานมานี้ได้ download โปรแกรมฟรี เป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่คำนวนเส้นทางของดาวที่โคจรพาดผ่านตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวโลก  ผมสนใจก็เพราะว่า เคยได้อ่านพบว่า เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ดาวพลูโต ได้โคจรอยู่เหนือหัวผ่านประเทศทั้งหลายในยุโรปที่เป็นสนามสู้รบกัน และเส้นทางผ่านไทยด้วย

โปรแกรมนี้ไม่ได้แสดงเส้นทางโคจรบนบนแผนที่โลก แต่เพื่อค้นหาว่า ณ จุดที่กำหนดบนผิวโลก (ละติจูด,ลองติจูด) ณ วันที่นั้นๆ มีดาวอะไรเดินทางผ่านในละแวกจุดนั้นบ้าง   

ลองย้อนไปดูวันที่เกิดเหตุการณ์ไม่ดีกับประเทศไทย เช่น การเสียดินแดน การเปลี่ยนแปลงการปกครอง   ปรากฎว่า บางกรณ๊มีดาวที่มีความหมายแรงๆผ่านอยู่เหนือหัวที่ กมท.ก็มี (ดวงเดียวก็มี เป็นกลุ่มก็มี) หลายกรณ๊ผ่านอยู่ใกล้ๆจุดเหนือหัวก็มี

ในช่วงนี้ เส้นทางพาดผ่านของดาวอังคาร อยู่เหนือหัวของกรุงเทพฯพอดีครับ  จะแปลเป็นเรื่องอะไรได้บ้างก็ไม่รู้  แต่กรุณาอย่าไปแปลว่าเป็นทหารก็แล้วกัน คงไม่ใช่อยู่แล้ว  อาจจะเป็นเรื่องของพลัง (energy หรือ power) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเรื่องของมวล (mass หรือ momentum) หรือเรื่องของ....

ผิดวิกหรือเปล่าหนอ  ยิงฟันยิ้ม 

   
 

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง