เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 71425 คดีลอบสังหาร จอมพลป. : เงื่อนงำเบื้องหลัง ๑๘ ศพ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 10:26

อ้างถึง
อีกจุดหนึ่งที่สำคัญคือ ทางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคือใครก็ไม่รู้ เพราะไม่มีตัวชูเช่นโฮจิมินห์อย่างเช่นญวน เจ้าสุวรรณภูมาเชื้อพระวงศ์ลาวที่นิยมคอมมิวนิสต์ หรือเจ้านโรดมของเขมรที่โดนนายพลลอนนอลซึ่งซีไอเอหนุนหลังอยู่ทำการรัฐประหาร ทำให้ต้องหนีไปจีนและร่วมมือกับคอมมิวนิสต์ศัตรูเก่า จัดตั้งขบวนการเขมรแดงเข้ามาปลดปล่อยเขมรแบบล้างเผ่าพันธุ์  ดังนั้น จะเป็นไปไม่ได้หรือที่พวกคอมมิวนิสต์ไทยจะไม่นึกถึงนายปรีดีและจอมพลป. จะดูหรูทีเดียวหากว่าทั้งสองยอมจับมือกันเพื่อแสดงตนเป็นหัวหน้าขบวนการล้มเจ้าในประเทศไทย แต่หลังจากนั้นก็ พี่แก่แล้วไม่ต้องน้องแสดงเอง
^
คิดอย่างนี้เหมือนกัน     อาจจะต่างกันในรายละเอียดนิดหน่อย
เดี๋ยวจะต้องลงจากเรือนไทยไปทำกิจกรรมนอกเรือน  ค่ำๆจะกลับมาต่อเรื่องนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 17:06

ไม่นานมานี้ผมได้อ่านงานของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งพยายามชี้ชวน โน้มน้าว และในที่สุดก็สรุปว่า สาเหตุสำคัญที่ จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารจอมพล ป ก็คือ การที่จอมพล ป มีความพยายามจะรื้อฟื้นคดีลอบปลงพระชนม์ ร 8 และสมศักดิ์บอกว่า จอมพล ป ถึงกับพยายามติดต่อให้นายปรีดีกลับมาเพื่อรื้อฟื้นคดีด้วย  ที่จริงแกเขียนชี้นำลึกกว่านี้อีก แต่ด้วยความเป็นนักเขียนชั้นเซียน แกเลยสื่อสารให้ผู้อ่านรู้ได้ว่าแกคิดอะไร แต่จะไปเอาผิดกล่าวหาอะไรแกไม่ได้เลย

ผมอยากเรียนถามความเห็นของ อาจารย์นวรัตน์ อาจารย์เทาชมพู และเพื่อนๆนักเรียนในห้องเรียนประวัติศาตร์เรือนไทยแห่งนี้ด้วย 
ว่าถ้าประเมินจากสิ่งที่เกิดขึ้ิน สภาวะแวดล้อมในยุคนั้น รวมไปถึงเรื่องราวที่เกินความรู้นักเรียนอย่างเราแล้ว  ข้อสันนิษฐานของ สมศักดิ์ เจียมฯ เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 17:35

กลับขึ้นเรือนไทย

ขอเท้าความว่า ครั้งแรกที่ดิฉันได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับท่านปรีดีนั้น นานมากแล้วสมัยเรียนจบใหม่ๆ      หนังสือเล่มและข่าวหนังสือพิมพ์ทั้งในและนอกประเทศรื้อฟื้นเรื่องในอดีตของไทยขึ้นมามากมาย   ชื่อของท่านถูกหยิบยกขึ้นมาเชิดชูเหนือกว่าใครๆ   ในฐานะผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  2475     ชื่อของพระยาพหลฯ ถูกเอ่ยไว้นิดหน่อยไม่มากนัก  ชื่อของพระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พระประศาสน์ฯ อยู่ไหนไม่รู้ ไม่ได้ยินเลยสักชื่อเดียว       นโยบายเศรษฐกิจของท่านถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีก ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของสังคมไทย   
แต่ว่าเรื่องนี้ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าอีกเรื่องหนึ่ง คือกระแสที่แพร่สะพัดว่า ท่านปรีดีต้องลี้ภัยออกจากประเทศไทยเพราะถูกใส่ร้ายป้ายสีกรณีสวรรคต    ทำให้ผู้บริสุทธิ์ที่มีคุณค่ายิ่งต่อประเทศชาติกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนไม่ได้    ท่านเองก็รู้อยู่เต็มอกว่าใครใส่ร้ายท่าน แต่ท่านก็ไม่พูด    มีแต่คนอื่นๆพูดแทน  เป็นเดือดเป็นแค้นแทนว่าท่านกลับไม่ได้เพราะถูกใส่ร้ายนี่แหละ   จากนั้นก็ประณามทั้งทางตรงทางอ้อม ถึงตัวการแท้จริงที่ยังลอยนวล
แต่...สังเกตอยู่อย่างว่า  ผู้เป็นเดือดเป็นแค้นแทนท่าน ไม่เคยเอ่ยชื่อจอมพลป.เลย   เหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเรื่องนี้

ตอนนั้นดิฉันก็ได้แต่สงสัยไปตามประสา  ว่าคนที่เชิดชูท่านก็รุ่นๆดิฉันนี่แหละ หรือไม่ก็อ่อนกว่าหลายปี    เขาเกิดไม่ทันเห็นท่านปรีดีแน่ๆ  เพราะท่านลี้ภัยการเมืองไปตั้งแต่พ.ศ. 2492   แล้วไม่เคยกลับมาอีก   ก็แปลว่าหลังจากนั้นท่านไม่มีกิจกรรมใดๆในประเทศไทย  ผลงานอะไรต่างๆในไทยก็ย่อมไม่มีโอกาสทำเช่นกัน     
แล้วทำไมคนบางคนที่รุ่นดิฉันหรืออายุน้อยกว่า   จึงพากันรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมยกย่องเชิดชูผลงานก่อนพวกเราเกิดกันนักหนา  แม้งานของท่านจะทิ้งช่วงห่างจากสมัยพวกเราเรียนจบทำงานกันแล้วเกือบ 30 ปี ก็ไม่เห็นจะมีช่องว่างอะไรในความรู้สึกของพวกเขา   งานเหล่านั้นเคยได้ผลหรือไม่ได้ผลยังไงในทางปฏิบัติ  ก็ไม่มีใครประเมินในด้านนี้ออกมาให้ได้อ่านกันชัดๆ 
แต่คนอื่นๆ ที่อยู่ในประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่ก่อนพวกเราเกิด   ทำงานในประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่พวกเราเล็กจนโตเป็นผู้ใหญ๋  มีผลงานใหญ่น้อยที่ควรจะหยิบยกมากล่าวกันได้   พวกนี้กลับไม่เคยเอ่ยถึงเลย  หรือเอ่ยก็ไม่เคยเอ่ยในทางดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 17:51

เมื่อสงสัยขึ้นมาแล้ว  ดิฉันก็หาคำตอบ  ด้วยการไปหาครูบาอาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์แล้วขอให้ท่านแนะนำหนังสือและเอกสารต่างๆให้   เพื่อจะหาคำตอบให้หายสงสัย   ในที่สุดก็ได้ข้อเท็จจริงมาว่า
๑   กรณีสวรรคตเกิดเมื่อพ.ศ. 2489   เป็นเวลาถึง 3 ปี ก่อนหน้าท่านปรีดีจะออกจากประเทศไทยอย่างถาวร ในพ.ศ. 2492  ไม่ใช่เหตุการณ์ต่อเนื่องกัน ว่าเมื่อเกิดกรณีสวรรคตแล้ว จากนั้นไม่กี่เดือนหรือไม่กี่วันท่านปรีดีก็จำต้องออกจากประเทศไทยไป เพราะถูกใส่ร้ายป้ายสี    ดังที่มีเสียงกล่าวกันทั้งวาจาและลายลักษณ์อักษร ในอีก 30 ปีต่อมา ให้คนรุ่นหลังคือรุ่นดิฉันเข้าใจทำนองนั้น
๒   สาเหตุที่ท่านปรีดีออกไป  มีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดจากกบฏวังหลวง  ที่ท่านและผู้ร่วมก่อการได้ยึดพระบรมมหาราชวังเป็นกองบัญชาการ   ใช้อาวุธต่อสู้กับรัฐบาลของจอมพลป.  แต่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้      ตำรวจทางรัฐบาลตามล่าตัวข้อหากบฏซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต  เป็นใครใครก็ต้องหนี   จึงไม่แปลก และไม่จำเป็นต้องมีเบื้องหลังซับซ้อน  มันมีเบื้องหน้าที่เห็นอยู่โต้งๆแล้วว่าทำไมท่านจึงต้องหนีออกจากประเทศไป 
๓   หัวหน้าฝ่ายรัฐบาลที่เป็นปรปักษ์โดยหน้าที่ ในกบฏวังหลวง คือจอมพลป. พิบูลสงคราม    คนที่สั่งจับกุม สั่งให้ส่งขึ้นศาล  คือนายกรัฐมนตรี  ไม่ใช่ผู้อื่น   เพราะในพ.ศ. 2492  ไม่มีกลุ่มอำนาจอื่นใดนอกจากนายกรัฐมนตรี    หลักฐานทางฝ่ายรัฐบาลมีชัดเจนเพราะกบฏวังหลวงเป็นกบฏที่ลงมือยึดสถานที่และใช้อาวุธ     ไม่ใช่กบฏประเภททางการสืบทราบได้แต่ไม่เคยลงมืออย่างกบฎนักโทษประหาร 18 คน

เอา 3 ข้อแค่นี้ก่อนนะคะ    คุณ paganini คงตอบแทนดิฉันได้ว่าข้อสันนิษฐานที่คุณถาม  ดิฉันเห็นว่าเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 18:17

ผมขอสารภาพว่าผมไม่ได้ติดตามอ่านข้อเขียนของสมศักด์เจียมแบบขาประจำ แต่พอจะรู้ว่าแกออกแนวอะไร

คนอายุเท่าๆกับผม เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาอยู่เมืองไทยอย่างถาวรแล้ว ตั้งแต่เด็ก เรื่องที่เคยได้ฟังฝ่ายตรงกันข้ามโจมตีพระองค์หนักๆก็เป็นเรื่องเดียวกับเรื่องที่สมศักดิ์เจียมและพวกร่วมอุดมการณ์กำลังกระทำอยู่นี่แหละ แต่พระองค์มิเคยทรงโต้ตอบ หากทรงสร้างพระบารมีด้วยการกระทำพระราชกรณียกิจต่างๆเพื่อประชาชน จนเป็นที่ยอมรับของคนไทยทั้งชาติ และทรงผ่านพ้นสถานการณ์อันมิพึงปรารถนามาได้ตลอด ใครที่มาเป็นรัฐบาลก็ย่อมตระหนัก การกระทำใดๆที่เสมือนให้ท้ายพวกที่โจมตีพระองค์ คือการสร้างความแตกแยกของคนในชาติ และรัฐบาลเองนั่นแหละจะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นก็จริงของเขาส่วนหนึ่งที่ว่า เมื่อทหารการเมืองจะปฏิวัติ ก็มักจะอ้างว่ากระทำเพื่อปกป้องพระราชบัลลังก์เสมอ ใช่สิ เพราะถ้าไม่อ้างเช่นนั้นก็เท่ากับประกาศตนเป็นศัตรูของประชาชนเท่านั้นเอง

ส่วนเหตุผลที่จอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติจอมพลป. ผมเชื่อว่าเป็นเพราะประชาชนไม่เอาจอมพลป.เพราะเกลียดเผ่า เหมือนที่ไม่เอาจอมพลถนอมเพราะเกลียดณรงค์  ครั้งนั้นประชาชนเชื่อเสียแล้วว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นการเลือกตั้งที่สกปรก เมื่อพลังบริสุทธิ์จำนวนมหาศาลทนไม่ไหวถึงกับออกมาเดินขบวนขับไล่รัฐบาล ยังไงๆก็ต้องจบที่การปฏิวัติรัฐประหาร ถ้าจังหวะนั้นสฤษดิ์ไม่ทำ เผ่าก็คงจะทำ

ส่วนคำถามสุดท้ายที่ถามมา
ผมไม่ให้ค่าต่อคนอย่างสมศักด์เจียมครับ ต่างคนต่างอยู่ที่ชอบๆก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 18:31

เมื่ออ่านเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ก็มักมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจ เป็นธรรมดาค่ะ  โดยเฉพาะเมื่อบางเรื่องมันขัดต่อสามัญสำนึก   แต่เมื่อเจอแล้ว  ก็เป็นโอกาสดีที่จะทำให้อยากค้นคว้าหาคำตอบ   ที่เคยไม่รู้ก็จะเริ่มรู้ขึ้นมาได้    อย่างเช่นคุณผกานินีก็สงสัยเลยมาถามเรือนไทย   ดิฉันสงสัยก็ไปหาอาจารย์สาขาประวัติศาสตร์   แต่ถ้าไม่เข้าใจ แล้วก็เอาแต่งงงัน ไม่ยอมหาคำตอบต่างหากล่ะคะ  ถึงจะเรียกว่ามืดบอดเท่าเดิม

อาจารย์สมศักดิ์เคยเข้ามาหาความรู้ในเรือนไทยมาก่อน  แต่ท่านไม่ค่อยจะถูกใจในตัวเจ้าของเรือนก็เลยหายไปไม่มาอีก     ล่าสุดได้อ่านข้อสงสัยของท่านใน Facebook  อย่างที่ลงไว้ข้างล่างนี้   ก็ได้แต่เอาใจช่วยให้หาคำตอบปริศนาข้อนี้ได้พบ     เพราะดิฉันเชื่อว่าคุณจีรนันท์และคุณคมทวนได้พบแล้ว  เช่นเดียวกับประชาชนไทยทุกคนที่รักในหลวง     
ส่วนดิฉันนอกจากรัก  ยังเพิ่มอีกข้อหนึ่งคือสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ที่ทรงเมตตาให้ที่อยู่อาศัย ที่ทำมาหากินแก่ปู่ย่าตาทวดของดิฉัน จนอยู่ร่มเย็นเป็นสุขมาทุกชั่วคน  ทำให้ลูกหลานได้มีวันนี้ขึ้นมา  ถ้าไปเกิดในแผ่นดินถิ่นอื่น  ก็คงจะไม่เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้   

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/374618275924791


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 18:40

คุณผกานินีอ่านบทกวีที่คุณจิรนันท์แต่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จทุ่งมะขามหย่องหรือยังคะ  ไพเราะประทับใจมาก  เป็นผลงานชิ้นที่ดิฉันชอบมากที่สุดในผลงานทั้งหมดของคุณจีรนันท์ พิตรปรีชา
ขอนำมาให้อ่านกันค่ะ

ณ ชานกรุงทุ่งกว้าง                อโยธยา 

มะขามหย่องเคยยาตรา            ศึกสู้ 

ยุทธหัตถีหลังคชา                 สละชีพ
ศรีสุริโยทัย
สถิตคู่                  ถิ่นถุ้งทิพย์สวรรค์ 



ณ ชานกรุงทุ่งกว้าง                อโยธยา 

มะขามหย่องยามฝนมา            รับน้ำ 

ชัยภูมิป้องนครา                    กรุงเก่า กลศึก
ทัพใหญ่อริรุกล้ำ                   ท่วมน้ำถอยหนี 



ทุ่งมะขาม ยามศึก จารึกค่า 

ภูมิปัญญา ป้องภัย ให้เมืองหลวง 

ประวัติศาสตร์ ซึมซับ รับผลพวง

เวลาล่วง หลายร้อยปี ที่ลืมเลือน 



ทุ่งมะขาม ยามนี้ ยิ่งมีค่า 

เมื่อถึงครา ป้องภัย น้ำใต้เขื่อน 

เป็นแก้มลิง โอมอุ้ม คุ้มบ้านเรือน 

ครั้นถึงเดือน ร้อนแล้ง เป็นแอ่งธาร



น้ำเลี้ยงนา พานิเวศน์ เกษตรสุข 

ยามท่วมทุกข์ ผันเบี่ยง เลี่ยงเมืองบ้าน

สร้างอาชีพ สร้างชุมชน ดลบันดาล 

ร้อยโครงการ ชุบทุ่งทอง ให้รองเรือง



น้ำพระทัย สองพระองค์ หลั่งลงรด

ให้ปรากฎ แผ่นดินทอง นองสุขเนื่อง

ณ วันนี้ ทุ่งนี้ ที่แก้มเมือง

อีกบทเบื้อง ประวัติศาสตร์ สร้างชาติไทย



เพลงขลุ่ยพลิ้ว ริ้วทุ่ง มะขามหย่อง

ราชานุสาวรีย์ ทอดมอง ส่องสมัย

พสกพร้อม น้อมหมาย ถวายชัย

ใต้ร่มเงา น้ำพระทัย น้ำใจเมือง


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 18:52

สังคมไทยเป็นสังคมที่เคารพครูบาอาจารย์  เรื่องที่มีคนยกย่องหลวงประดิษฐ์มนูธรรมแล้วพยายามป้ายสีดังที่ท่านอาจารย์ใหญ่กล่าวถึงนั้นก็มาจากเหตุผลนี้
เคยได้ยินผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่บิดาของท่านเป็นายแพทย์จบมาจากต่างประเทศ  และเป็นแพทย์ที่สนิทสนมคุ้นเคยกับทั้งหลวงประดิษฐ์ฯ  หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (คง  อภัยวงศ์)
หลวงพิบูลสงคราม  รวมทั้งสมาชิกครธราษฎรที่เป็นนักเรียนนอกทั้งหลาย  รวมถึงท่านอาจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  ผู้ใหญ่ท่านนี้ท่านเล่าว่า ผู้ที่ออกนามมาแล้วนั้นมีกจะ
แหมุนเวียนมาพบคุณพ่อของท่านและรับประทานอาหารที่บ้านท่าน  โดยตัวท่านซึ่งเวลานั้นยังเป็นเด็กนักเรียนที่มีความสนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้มีโอกาสฟังท่าน
ผู้ใหญ่ท่านคุยกันอยู่เสมอ  โดยเฉพาะท่านอาจารย์สัญญานั้นท่านได้มีโอกาสซักถามหลายเรื่องหลายประเด็นเพราะเวลานั้นท่านเริ่มโตและรู้ความมากขึ้นแล้ว  เสียดายที่
ท่านผู้นี้กลับไปเรียนทางวิศซกรรมศาสตร์และไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเสียเกือบค่อนชีวิต  เพิ่งจะกลับมาเมืองไทยเมื่อเกษียณแล้ว  เมื่อนำเร่องที่ท่านเล่าให้ฟังผนวกรวม
กับประวัติศาสตร์ของโรงเรียนวชิราวุธแล้ว  ก็พอปะติดปะต่อจิ๊กซอว์เรื่องมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ชัดเจนขึ้น

ผู้ใหญ่ท่านนั้นท่านเล่าถึงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น  เป้นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เสด็จ
ประพาสสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ เมื่อเสด็จฯ กลับมาแล้วทรงจ้างครูฝรั่งเข้ามาจัดตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้น  เป็นโรงเรียนหลวงสอนภาาาอังกฤษแบบโรงเรียนแรฟเฟิลส์
ที่สิงคโปร์  ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นแล้ว  ก็ทรงขอโรงเรียนราชวิทยาลัยไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม  เพื่อให้นักเรียน
ที่จบจากโรงเรียนราชวิทยาลัยที่เป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษดีเข้าเรียนต่อวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมาย  ถึงรัชกาลที่ ๖ เจ้าพระยาอภัยราชาฯ เสนาบดียุติธรรมเห็นว่า โรงเรียนมาอยู่
ในกระทรวงยุติธรรมนั้นไม่เหมาะ  จึงได้ถวายโรงเรียนนี้แด่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ให้เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์คู่กับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  สองโรงเรียนนี้เป็นคู่แข่งขัน
กันมาตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ สวรรคต  รัชกาลที่ ๗ โปรดให้ยุบโรงเรียนราชวิทยาลัยมารวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  แล้วพระราชทานชื่อให้ใหม่
ว่า "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย"  

เมื่อนักเรียนราชวิทยาลัยถูกย้ายมาเรียนรวมกับนักเรียนมหาดเล็กหลวงตอนต้นรัชกาลที่ ๗ นั้น  ก็มีการตั้งแง่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นมหาดเล็กหลวง  หากแต่นับว่าตนเป็นนักเรียน
วชิราวุธวิทยาลัยที่เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่  และเมื่อนักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวงจัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธขึ้นเพื่อรณรงค์จัดหาเงินทุนจัดสร้างพระบรมรูปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
ที่แรกว่าจะประดิษฐานที่โรงเรียน  บรรดานักเรียนเก่าราชวิทยาลัยที่รับราชการเป็นผู้พิพากษากันเป็นส่วนใหญ่ก็พากันตั้งสมาคมราชวิทยาลัยขึ้นมา  เรียกว่าไม่ยอมลงให้กันมาตลอด  
ที่สำคัญคือผู้ใหญ่ท่านนั้นท่านเล่าว่า พวกนักเรียนเก่าราชวิทยาลัยนั้นมีความไม่พอใจในหลวงรัชกาลที่ ๗ ที่ไปยุบโรงเรียนของเขาเป็นทุนอยู่แล้ว  เมื่อคณะผู้ก่อการที่เป็นนักเรียน
ฝรั่งเศสมาชักชวนเข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พวกนักเรียนเก่าราชวิทยาลัยเหล่านี้จึงเข้าร่วมกับคณะราษฎร  และมีส่วนผลักดันให้ยกโรงเรียนกฎหมายซึ่งเป็นโรงเรียน
ในพระบรมราชูปถัมภ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ ออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  และยกหลวงประดิษฐ์ฯ ขึ้นเป็นผู้ประศาธน์การ
ให้เหมือนกับที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 19:51

แล้วที่ดินที่ตั้งธรรมศาสตร์เอามาจากไหน
ผมไม่รู้จริงๆว่าเดิมเป็นที่ของใคร ใครรู้ช่วยเล่าหน่อย
......เป็นที่ดินราชพัสดุ ของหลวง หรือ ของทรัพย์สินฯ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 20:00

แรกจะตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
แต่เมื่อมีการยุบเลิกหน่วยทหารระดับกองพลและกรมลงเหลือเฉพาะหน่วยระดับกองพัน  ทำให้พื้นที่บริเวณท่าพระจันทร์ที่เป็นที่ตั้งเดิมของกรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ว่างลง
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจึงได้มาตั้งที่ท่าพระจันทร์แทน ร.๑๑ ร.อ.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 05 ส.ค. 12, 22:03

ก่อนจะเป็นกรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ในสมัยรัชกาลที่๕ ที่ตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าในสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 00:09

ขอบพระคุณ อาจารย์เทาชมพูและอาจารย์นวรัตน์ครับ

เป็นอย่างที่ท่าน อจ เทาชมพูว่านั่นแหละ ผมอ่านสมศํกดิ์แล้วตะหงิดๆ ไม่ได้เชื่อตาม เลยมาสอบถามจากผู้รักประวัติศาสตร์หลายๆท่านเพื่อเป็นข้อมูลประกอบ  

เรารู้มาพอสมควรว่า สฤษดิ์ กับ จอมพล ป + เผ่า ต่างระแวงกันมานานแล้ว พอมีเหตุการณ์ที่ นศ ประท้วง (ดังรายละเอียดกระทู้ จอมพล ป 2 ไม่ผ่านขึ้น ป 3) แล้วสฤษดิ์พลิกสถานการณ์เป็นพระเอก อีกฝั่งก็กลายเป็นผู้ร้ายไป  พอความตึงเครียดถึงขีดสุดก็ต้องมีฝ่ายทีชิงลงมือก่อน  ไม่ต่างกับ รปห ในครั้งหลังๆเช่น รสช หรือ คมช   ผมว่าข่าวและข้อมูลเหล่านี้มีเยอะแยะมากจนไม่น่าเชื่อว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไม่นำไปประกอบพิจารณาเลย เอาแต่สรุปว่าที่เกิด รปห 2500 รฐบ จอมพล ป เพราะว่าจะมีการเอาปรีดีกลับมาและรื้อคดีลอบปลงพระชนม์  นี่ยังไม่นับถึงเบื้องหลังการเล่นการเมืองแบบตัวแทน ของประเทศมหาอำนาจอย่างจีนอเมริกาอีก   อีกกระแสที่ผมเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่เปรยๆให้ฟังคือ แต่ละฝ่ายต่างมีแบ๊คเป็นอเมริกาเหมือนกัน แต่ฝ่ายหนึ่งเป็น FBI อีกฝ่ายเป็น CIA ผมจำไม่ได้ว่าใครหนุนใคร แต่ฟังมาลักษณะนี้  ท่านอาจารย์ทั้งหลายมีอะไรจะต่อเติมมั้ยครับ?

อาจารย์เทาชมพูครับ  ผมว่างานที่ทุ่งมะขามหย่อง  กวีทั้งสี่สร้างผลงานสุดยอดในชีวิตในงานนี้แหละครับ ไม่ว่า อ จิรนันท์ อ เนาวรัตน์ อ ธนิสร์ และ แอ๊ด คาราบาว  ผมพอดีฟังจากวิทยุในรถ ขนลุกเลยครับเขียนได้ดีทุกท่านเลย
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 00:39

ผมมองว่า อ. สมศักดิ์แกมีอคติเยอะเกินไป ทำให้งานหรือบทความของแกจะนำเสนออะไรที่เป็นด้านเดียว จึงขาดความเป็นกลาง แต่ในแง่ของข้อมูลดิบ สำหรับผมก็นับว่ารับฟังได้ เป็นข้อมูลที่เราสามารถรับฟังแล้วมาไตร่ตรองด้วยตัวเราเองต่อได้เพื่อให้ภาพรวมของที่มาที่ไปเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้อยู่ ผมจึงยังตามอ่านงานต่างๆ ของแก แม้ว่าจะอ่านไปหงุดหงิดไปเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งถึงกับโมโห  แต่การนำเสนอข้อมูลบางอย่างถ้าไม่ตามอ่านจากแกก็ไม่รู้จะไปหาอ่านที่ไหน


การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในบ้านเรามักเป็นการให้ข้อมูลด้านเดียวหรือฝั่งเดียว ให้ภาพของขาวกับดำเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงทุกเรื่องราวมีสีเทาๆ ประทับทั้งนั้น เพียงแต่เทามากหรือเทาน้อย ถูกบังไว้มากแค่ไหน ดังนั้นเราจึงไม่ควรเชื่อฝ่ายใดทั้งหมด และใช้ระบบการกลั่นกรองที่ฝึกจากการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์มาสอนตัวเราให้รู้เท่าทันและไม่หลงเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อไม่ว่าจากฝ่ายใดๆ เพื่อจะไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร


นักประวัติศาสตร์บางคน มักใช้อคติความรักความเกลียดมาบดบัง บ้างก็เสนองานวิชาการเพื่อรับใช้กลุ่มอำนาจใดอำนาจหนึ่ง เช่นพวกที่อ้างเป็นนักประวัติศาสตร์อิสระในหนังสือพิมพ์บางฉบับ  ทำให้งานวิชาการหรือบทความต่างๆ ที่ผลิตออกมาพลอยหมดคุณค่าไปด้วย แถมกลายเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปซะฉิบ


เรื่องการล้มอำนาจของจอมพล ป. นี่ผมว่ามันมีที่มาที่ไปลึกซึ้งมากกว่าเรื่องการรื้อฟื้นคดีศวรรคตฯ หรือแค่ความทะเยอทะยานของเผ่าหรือจอมพลสฤษดิ์เยอะ มีทั้งเรื่องการชิงบทบาทระหว่างสถาบันฯ กับตัวจอมพล ป.   ทั้งปัญหาคอมมิวนิสต์ การแทรกแทรงจากมหาอำนาจ ฯลฯ  แต่ ณ ปัจจุบันคงยังไม่ถึงเวลาที่เราจะมาถกกันได้โดยไม่สร้างปัญหาให้ท่านอาจารย์ใหญ่ รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 05:55

อ้างถึง
อีกกระแสที่ผมเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่เปรยๆให้ฟังคือ แต่ละฝ่ายต่างมีแบ๊คเป็นอเมริกาเหมือนกัน แต่ฝ่ายหนึ่งเป็น FBI อีกฝ่ายเป็น CIA ผมจำไม่ได้ว่าใครหนุนใคร แต่ฟังมาลักษณะนี้  ท่านอาจารย์ทั้งหลายมีอะไรจะต่อเติมมั้ยครับ?

ซีไอเอ (CIA -Central intelligence Agency) เป็นองค์การกลางของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่สืบราชการลับ หาข่าวกรองข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งต่อมาได้ขยายบทบาทไปแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆที่เห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพวกสหรัฐอเมริกา

ส่วนเอฟบีไอ(FBI-Federal Bureau of Investigation) เป็นหน่วยสืบสวนคดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกา  เป็นงานต่อต้านอาชญากรรมในประเทศนั้น มากกว่างานต่างประเทศ

ผมคิดว่าเอฟบีไอไม่น่าจะมาจุ้นจ้านสนับสนุนนักการเมืองในประเทศไทย หากจะช่วยเหลือทางวิชาการ และฝึกงานให้แก่กรมตำรวจของเผ่าบ้างก็เป็นได้ แต่ซีไอเอนั้นเข้ามาทำงานในเมืองไทยแน่ ทั้งในรูปองค์กรเช่นแฝงอยู่ในยูซ่อม (USOM-United States Operations Mission)ที่เข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพ ให้ความช่วยเหลือไทยด้านต่างๆแบบให้เปล่า และบริษัทเอกชนเช่น Air America รับจ้างขนสัมภาระทางอากาศ เป็นต้น

รัฐบาลจอมพลป.นั้น ระดับบิ๊กทั้งหลายโปรอเมริกันทุกคน ถึงตัวจอมพลป.จะรู้เห็นเป็นใจให้สายของตนติดต่อกับจีนแผ่นดินใหญ่บ้างก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา รัฐบาลประเทศไหนก็ทำกัน ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาทตายถึงกับซีไอเอจะต้องมายุให้สฤษดิ์ปฏิวัติ

เมื่อสฤษดิ์กับเผ่าแข่งกันสะสมอำนาจนั้น อเมริกันเล่นด้วยทั้งสองฝ่าย ใครชนะก็ได้ ไม่เป็นอะไร เพราะทั้งสองคนเกลียดคอมมิวนิสต์เข้ากระดูกดำ ซึ่งช่วงนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่จีนให้ความสนับสนุนเข้ามาแทรกซึมทางอีสานเต็มไปหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 06:28

อ้างถึง
มีทั้งเรื่องการชิงบทบาทระหว่างสถาบันฯ กับตัวจอมพล ป.


นั่นเป็นสิ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญพึงมีหน้าที่ต่อแผ่นดิน ในการที่จะตั้งคำถามและกรองการกระทำบางอย่างของรัฐบาลไว้บ้าง เพื่อมิให้เหลิงอำนาจแบบเผด็จการ

อย่าลืมว่า ในหลวงตอนนั้นท่านก็ทรงเป็น"นักเรียนนอก" และเป็น"คนหนุ่มไฟแรง" เหมือนที่พวกผู้ก่อการอภิวัฒน์ทั้งหลายเคยเป็นนั่นแหละ เมื่อต้องทรงรับหน้าที่ให้เป็นพระมหากษัตริย์ ท่านจึงมิอาจฝืนพระทัยเหมือนอย่างที่บรรดาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในอดีตที่เคยยอมศิโรราบให้แก่จอมพลป.ได้

นายกรัฐมนตรีไทย ไม่ใช่ประธานาธิบดีนี่ครับ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทของพระองค์ชัดอยู่ ว่าต้องทำอะไร เพื่อใคร ไม่จำเป็นต้องไป"ชิงบทบาท"กับนายกรัฐมนตรีคนใดที่เดี๋ยวก็มา เดี๋ยวก็ไปทั้งสิ้น ท่านประทับอยู่ในหัวใจประชาชนอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง