NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 120 เมื่อ 23 ก.ค. 12, 17:56
|
|
แต่เมื่อแรกที่เขาจะเล่นเกมนี้กันให้ได้นั้น กระทั่งพระยาพหลซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ยังเลือกที่จะหลบออกจากกรุงเทพไปตั้งหลักอยู่กับลูกน้องเก่าในกรมทหารปืนใหญ่ที่โคกกระทียม พร้อมด้วยพ.อ.พระสุริยสัตย์ เจ้ากรมการเงิน กระทรวงกลาโหมผู้เป็นเพื่อน และพ.อ.พระศัลยเวชวิศิษฐ์ หมอประจำตัว โดยออกเดินทางเมื่อวันที่๒๗มกราคม เพียงวันเดียวก่อนที่หลวงอดุลเดชจรัส รัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมตำรวจ จะลงมือปฏิบัติการตามคำเห็นชอบของหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
หลังจากจับแพะมาใส่กรงขังได้เพียงสองสามวันเท่านั้น รัฐบาลก็ได้เสนอพ.ร.บ.การจัดตั้งศาลพิเศษเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในวันที่๒กุมภาพันธ์ แต่ในวันนั้นเพื่อนรักทั้งสองศรีคือหลวงพิบูลและหลวงอดุล ก็นัดกันเขินอาย มิยอมมาเข้าร่วมประชุมสภาด้วย หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม จึงเป็นผู้เสนอร่างแทนแต่เพียงผู้เดียว ฝ่ายค้านก็ทำการค้านแบบกลัวๆกล้าๆ ก็มันเห็นๆอยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไร ณ เณรผู้ไม่กลัวใครก็ถูกจับไปแล้ว ทั้งฒ ผู้เฒ่าและด เด็กก็หัวหด พอลงมติ บรรดาส.ส.ทั้งหลายก็แสดงการกระทำว่ากูก็เป็นพวกมึงนะ ด้วยการออกเสียงยอมรับพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นเอกฉันท์
เมื่อเหตุการณ์ทั้งหลายผ่านไปแล้ว พระยาพหลจึงเดินทางกลับมาในวันที่๙กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒ เท่ากับว่าท่านประกาศกลายๆว่า ฉันไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วย และเป็นที่ทราบกันด้วยว่า ท่านได้ขอชีวิตเหยื่อการเมืองไว้ได้๓ท่าน ที่เหลือเขาไม่ยกให้
เมือศาลพิพากษาแล้ว นักโทษที่ถูกศาลพิเศษตัดสินให้ประหารชีวิต ได้ทำฎีกายื่นขอพระราชทานอภัยโทษต่อคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อันมีพระองค์อาทิตย์เป็นประธาน แต่หลังจากหลับพระเนตรของพระองค์เห็นสายตาอันดุดันของหลวงอดุลจ้องมองถมึงทึงมาที่องค์ท่านแล้ว ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็สั่นระรัวพระหัตถ์ลงพระนามยกฎีกาของนักโทษประหารทั้ง๑๘คนนั้นเสีย
เมื่อฆ่ากันไปเสร็จแล้ว สังคมคนกรุงเทพยังฮือฮาเรื่องนี้กันมาก ในที่สุดสื่อมวลชนถูกกดดันให้กล้าถาม และคำตอบของหลวงพิบูลก็เด็ดขาดมากว่า “ประหารชีวิตเพียง๑๘คนเท่านั้น ไม่มากมายอะไรเลย การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เขาตัดหัวใส่เกวียนเป็นแถวๆ”
เป็นอันว่าหมดคำถาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 121 เมื่อ 23 ก.ค. 12, 19:49
|
|
บางคนอ่านกระทู้แล้วอาจวาดภาพว่า จอมพลป. คงเป็นคนดุดันน่ากลัว น่าเกรงขาม ใครๆก็ระย่อไม่กล้าสบตาด้วย แต่ตัวจริงของท่านจากผู้ที่ประสบพบเห็น เป็นภาพอีกอย่างหนึ่งที่ตรงกันข้าม
ศ.กนต์ธีร์ ศุภมงคล เขียนไว้ในหนังสือครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า
“ท่านจอมพลเป็นผู้มีเสน่ห์ทางการเมืองเป็นพิเศษ มีเหลี่ยมคูหาเสมอเหมือนมิได้ สามารถใช้ถ้อยคำนุ่มนวล อ่อนหวาน ดูดดึงใจอย่างกว้างขวาง นักการเมืองสมัยท่านต่างพากันเรียงหน้าวิ่งเข้าหา ต่างกับนายกรัฐมนตรีสมัยหลังๆที่ต้องออดอ้อนพะเน้าพะนอนักการเมืองเพื่อคะแนนเสียงสนับสนุนในรัฐสภา แม้แต่ทูตต่างประเทศที่ประจำอยู่ในประเทศไทย อยู่ได้ไม่นานเท่าใดพอใกล้ชิดท่านล้วนถูกโน้มน้าว เกิดศรัทธาในตัวท่าน ทุกคนนิยมติดต่อกับท่านโดยตรง”
หลังจากจับแพะกวาดล้างไปได้หมดแล้ว คดีกบฎครั้งนี้ก็ถูกลบหายไปจากสังคมเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นเลย จะมีก็แต่ญาติพ่อแม่พี่น้องลูกหลานของครอบครัวนักโทษการเมืองเหล่านั้นที่จดจำได้ แต่ต้องปิดปากเงียบ เผชิญความทุกข์ระทมไปตามยะถากรรม โดยไม่อาจจะขอความยุติธรรมจากใครได้ ส่วนประชาชนทั่วไปก็จะได้รับข่าวด้านดีจากรัฐบาลอยู่เสมอ สิ่งใหม่ในยุคนั้นคือการปลุกใจเรื่องชาตินิยม ว่าประเทศไทยกำลังจะรุ่งเรืองศรีวิไลเทียบเท่ามหาอำนาจตะวันตก ก่อให้เกิดความฮึกเหิมและหวังในทางดี 2 ปีต่อมาคนไทยก็ถูกปลุกใจให้เดินขบวนเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกลับคืนมาเป็นของไทย แล้วก็ได้คืนมาสำเร็จ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 122 เมื่อ 23 ก.ค. 12, 20:09
|
|
แต่ว่าโชคชะตาก็ไม่ได้โหดร้ายถึงขีดสุดกับนักโทษการเมืองที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตเสียทีเดียว เมื่อจอมพลป.พ้นอำนาจไปในพ.ศ. 2487 นักโทษการเมืองทั้งหลายก็ได้รับอิสรภาพจากพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่นายควง อภัยวงศ์เป็นผู้นำเสนอต่อรัฐสภา นักโทษการเมืองเหล่านั้นบางคนก็กลับคืนสู่ความรุ่งเรืองมีหน้ามีตาอีกครั้ง บางคนก็กลับถิ่นเดิมไปอยู่กับญาติ ล้างมือจากการเมืองโดยสิ้นเชิง
กระทู้นี้ก็ขอจบลงเพียงแค่นี้ค่ะ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมออกความคิดเห็นและติดตามมาจนถึงค.ห.สุดท้าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 123 เมื่อ 23 ก.ค. 12, 22:17
|
|
ก่อนจะปิดกระทู้นี้ตามคำสั่งของท่านอาจารย์ใหญ่ ท่านที่ได้อ่านเรื่องราวในกระทู้นี้มาคงจะเห็นได้ว่า ท่านผู้นำได้กระทำไว้กับพลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อย่างสาหัสสากรรจ์เลยทีเดียว แต่เมื่อท่านผู้นำกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลับแต่งตั้งท่านเจ้าคุณคู่อาฆาต เป็นรัฐมนตรีคมนาคมร่วมในรัฐบาลของท่าน นี่คงจะเป็นพยานสำคัญสำหรับประโยคที่ว่า "ม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร ในแวดวงการเมืองไทย"
ตกมาถึงรุ่นหลาน ผมก็ให้เผอิญมีเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นเรียนเป็นหลานปู่ของทั้งท่านผู้นำและท่านเจ้าคุณเทพฯ แล้วที่แปลกก็คือหลานของท่านทั้งสองนั้นกลับเป็นเพื่อนรักกันโดยไม่มีวี่แววความบาดหมางของบรรพบุรุษเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 124 เมื่อ 23 ก.ค. 12, 22:26
|
|
ท่าน V_Mee มาเปิดประเด็นทิ้งท้าย กระทบใจ ดิฉันเลยปิดไม่ได้ ขอเปิดอีกครั้งค่ะ
พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 20กันยายน2487 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลา3ปีต่อมา ในเดือนกันยายน 2490 หลายปีต่อมา พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับหนังสือขอโทษจากจอมพล ป.พิบูลสงครามที่ได้เข้าใจผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขออโหสิกรรมในสิ่งที่ทำลงไป แปลอย่างอื่นไม่ได้นอกจากว่า นอกจากเอาพ่อเข้าคุกแล้วยังประหารชีวิตลูกชายท่านไปอีก 2 คน ทั้งๆบุคคลทั้งสามนี้บริสุทธิ์
พร้อมกับมองเห็นได้อีกอย่างว่า คนขออโหสิกรรมไม่ยักใช่คณะผู้พิพากษาที่ตัดสิน แต่เป็นจอมพลป. ซึ่งเคยกล่าวว่าพยายามขอให้อภัยโทษประหารชีวิตแล้ว แต่หลวงอดุลเดชจรัสไม่ยอม
ต่อมา พระยาเทพหัสดิน ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พระยาเทพหัสดิน และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 แสดงว่าท่านได้ให้อโหสิกรรมแก่จอมพลป. แล้ว
" การรู้จักอโหสิกรรมเป็นยอดแห่งความเป็นผู้ดี" จากหนังสือ “จงรักเกียรติยิ่งชีวิต” ของ เนตรเสลา สิงหะ สุตเธียรกุล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 125 เมื่อ 24 ก.ค. 12, 08:15
|
|
เมื่อท่านผู้นำกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลับแต่งตั้งท่านเจ้าคุณคู่อาฆาต เป็นรัฐมนตรีคมนาคมร่วมในรัฐบาลของท่าน นี่คงจะเป็นพยานสำคัญสำหรับประโยคที่ว่า "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร ในแวดวงการเมืองไทย" ดิฉันเชื่อมั่นอย่างไม่มีข้อสงสัยเลยว่าเจ้าคุณเทพฯ ท่านให้อโหสิกรรมจอมพลป. ด้วยน้ำใจผู้ดีของท่าน จึงรับตำแหน่งรัฐมนตรีคมนาคม และเชื่อต่อมาว่า ตำแหน่งนี้จอมพลป.น่าจะมอบให้เพื่อเป็นการชดเชยการกระทำในอดีต ไม่มากก็น้อย ส่วนประโยคของคุณ V_Mee ดิฉันก็เห็นด้วย แต่ขอตีความอีกทางหนึ่งว่า ต่อให้ลูกหลานบางท่านในตระกูลยังไม่ลืมอดีต ก็คงไม่อยากให้เจ้าคุณท่านปฏิเสธตำแหน่งร่วมรัฐบาลอยู่ดี เพราะจอมพลป. ท่านก็ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาล ดีไม่ดีท่านน้อยใจว่าเจ้าคุณไม่ให้อภัยผมอยู่มั้ง ผมไม่ถือสา แต่อธิบดีตำรวจผมน่ะซีเขาไม่ยอม ประวัติศาสตร์อาจจะซ้ำรอยก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 126 เมื่อ 02 ส.ค. 12, 10:24
|
|
กระทู้นี้จะขาดข้อมูลทั้งสองด้านไปถ้าไม่มีความเห็นของฝ่ายหลวงพิบูล หรือจอมพลแปลก ซึ่งเขียนโดย อ. พิบูลสงครามบุตรชายของท่าน ผมขออนุญาตมาลงเพิ่มเติมดังนี้
ที่ขีดเส้นแดง หรือท่านจะบอกเป็นนัยว่าทั้งหมดที่พ่อท่านโดนโจมตีนั้น แท้จริงในครอบครัว ทราบกันดีว่าเป็นฝีมือของคนนี้ (ขอโทษที่บางช่วงไม่ชัด แต่คงพออ่านกันได้นะครับ)
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 127 เมื่อ 02 ส.ค. 12, 10:37
|
|
ขีดเส้นใต้ตอนบนไว้ให้เป็นที่สังเกตว่า อะไรที่ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ พวกก็มักจะอ้างว่าเป็นพระราชกระแส แบบห้วนๆ คนที่อ่านอย่างฉาบฉวยก็จะนึกว่าเป็นพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่ใช่ ที่จริงแล้วผู้ที่ใช้พระราชกระแสในขณะนั้นคือรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่บีบบังคับองคมนตรีให้ลงพระนามเป็นตรายางในเอกสารทุกชิ้นที่กฎหมายระบุให้นำเสนอเพื่อลงพระปรมาภิไธย
ขีดเส้นใต้ตอนล่างเพื่อขอโอกาสวิภาคบ้างว่า คุณบิดาปราบเพื่อนร่วมขบวนการ๒๔๗๕ไปหมดแล้วด้วยตนเอง แต่ลูกชายยังเพ้อถึงคณะราษฏรและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอยู่
ผู้ที่ขับไล่จอมพลป.ไปคือจอมพลสฤษฏ์น่ะครับ ตอนนั้นประชาชนเขาเฮกันทั้งเมือง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 128 เมื่อ 02 ส.ค. 12, 19:31
|
|
อ่านแล้วสรุปบางประเด็นว่า ๑ พลต.อ.อดุล คือบุคคลที่อยู่เบื้องหลังคดีนักโทษประหาร ๒ พลต.อ.อดุลมีอำนาจมากกว่าจอมพลป. เสียอีก เพราะทั้งๆจอมพลป.รู้ว่าตัวเองเป็นแพะรับบาปก็ทำอะไรพลต.อ.อดุลไม่ได้ ๓ ผู้เขียนคงไม่ทราบว่าจอมพลป.เองก็มีหนังสือขอโทษบิดาของนักโทษประหารว่าตัวเองเข้าใจผิด ๔ จอมพลป.ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคดีกบฏครั้งนี้ ทุกท่านสามารถรับฟังได้ด้วยวิจารณญาณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 129 เมื่อ 03 ส.ค. 12, 10:14
|
|
จากหนังสือที่เขียนจากฝ่ายผู้ถูกกระทำ ตรงบรรทัดที่ขีดเส้นใต้น่าสนใจนะครับ ใคร และเหตุใดคนผู้นั้น จึงมีอำนาจเหนือจอมพล ป. สารคดีนี้เขียนและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ๒๔๗๙ และพิมพ์รวมเล่มต่อมาอีกหลายครั้ง ไม่มีคำปฏิเสธจากผู้ถูกพาดพิงหรือลูกชายของท่าน ก็ต้องแปลว่าใช่ แต่ที่ไม่มีคำอธิบายต่อคำถามข้างต้นอาจเป็นเพราะรู้เห็นเป็นใจกัน แบบผู้กำกับการแสดงกับดารา ละครจะดีหรือจะเลวก็เป็นผลงานของทั้งคู่นั่นแหละ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3419.0 ใครยังไม่ได้อ่าน ไปอ่านเสียนะครับ หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 130 เมื่อ 03 ส.ค. 12, 10:28
|
|
ถ้าใครสักคนมีอิทธิพลเหนือใคร ก็แปลว่าคนแรกต้องมีอะไรเหนือกว่าคนหลัง ไม่ใช่ว่าใครอยากมีอิทธิพลเหนือใครก็ขอกันได้ง่ายๆ เพราะผู้ที่ตกเป็นเบี้ยล่างจะต้องอยู่ในภาวะจำยอม ยังไม่เคยเห็นใครยิ้มแย้มส่งอิทธิพลให้อีกฝ่ายอยู่เหนือตนเองด้วยความสมัครใจ มันต้องมีเงื่อนไขบางอย่างมาทำให้หือไม่ขึ้น อีกฝ่ายจะกำหนดทิศทางยังไงก็ต้องยอมหันตามไป ร้อยทั้งร้อยถึงไม่เต็มใจก็จำต้องหันอยู่ดี คำถามคือ สมมุติว่าพลต.อ.อดุลท่านมีอิทธิพลเหนือจอมพลป.จริงๆ ท่านเอาอะไรมาเหนือ? หรือพูดอีกทีคือท่านใช้สิทธิ์หรืออำนาจอะไรมาเหนือกว่าได้ จากประวัติที่ลงในกระทู้ "หลวงอดุล-หลวงพิบูล คู่รัก, พล.ต.อ อดุล-จอมพล ป. คู่แค้น " พลต.อ.อดุลไม่อยากโอนจากทหารเป็นตำรวจ แต่เพื่อนรักจะให้เป็นเพื่อให้ช่วยเป็นหูเป็นตาให้ ก็จำใจต้องไป เรื่องแค่นี้พลต.อ.อดุลยังขัดใจเพื่อนไม่ได้ทั้งๆหมายถึงอนาคตตัวเอง ที่ต้องเปลี่ยนงานเปลี่ยนความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง ยังต้องทำเพราะเป็นความประสงค์ของเพื่อน แล้วท่านจะขัดใจเพื่อนได้หรือ ถ้าเพื่อนขอให้ลดโทษยิงเป้าคนตั้ง 18 คนให้เหลือแค่จำคุกตลอดชีวิต เพื่อนคนนั้นก็ไม่ใช่เพื่อนธรรมดาที่ขอกันได้มั่งไม่ได้มั่ง ก็หยวนๆกันไป แต่เป็นถึงนายกรัฐมนตรีที่จะปลดอธิบดีตำรวจออกจากตำแหน่งเมื่อใดก็ได้ ปลดเมื่อไร เลื่อนรองอธิบดีตำรวจขึ้นมา ก็จบ เพราะตำรวจไม่มีกำลังจะรัฐประหารอยู่แล้ว
สมมุติต่อไปให้สุดๆว่า ถ้าหากว่าจอมพลป.ไม่กล้าขัดใจเพราะกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ถูกลอบสังหารอีก ก็ในเมื่อมือปืนแต่ละคนที่ถูกจ้างมา ฝีมือระดับเด็กเล่นขนาดไหนก็เห็นกันอยู่แล้ว ท่านยังจะกลัวอีกหรือว่าคราวหน้าจะมีมือปืนชั้นดีเข้ามาแทน ตัวท่านไม่มีความสามารถจะเรียกบอดี้การ์ดชั้นเยี่ยมมาใช้งานบ้างหรือ?
คิดได้แค่นี้ค่ะ ไม่ทราบว่าท่านอื่นๆเห็นอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 131 เมื่อ 03 ส.ค. 12, 10:52
|
|
คนบางคนมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น เพราะกำความลับที่สำคัญบางอย่างของเขาไว้
บางที ความลับนั้นก็เกิดจากการกระทำผิดกฏหมายหรือศีลธรรมร่วมกันนั่นแล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 132 เมื่อ 03 ส.ค. 12, 11:21
|
|
พวกกำความลับ มักจะอายุสั้นค่ะ น้อยคนจะอายุยืนกว่าคนที่ตัวเองกุมความลับอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 133 เมื่อ 04 ส.ค. 12, 17:54
|
|
ต้องถามต่อว่า ถ้ามีผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการกระทำครั้งนี้จริง เขาได้รับผลดีอะไรจากการปราบกบฏครั้งนี้บ้าง ในการปราบปรามพระยาทรงสุรเดช ลูกศิษย์ลูกหา บวกกับทหารและพลเรือนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่มีทั้งกำลังคนและกำลังอาวุธ ใครได้รับผลดีมากที่สุด ก็คนนั้นแหละ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 134 เมื่อ 04 ส.ค. 12, 18:17
|
|
เพิ่งอ่านเล่มนี้เกือบจบแล้ว น่าสนใจอย่างยิ่งกับคณะราษฏร ที่พยายามหวนกลับมากุมอำนาจอีกครั้ง แต่สังขารเขาถึงจุดสุดท้าย น่าสงสารเมืองไทย แม้เขาจะเป็นกลุ่มสุดท้ายของคณะราษฏร แต่ก็มีลูกหลานของคนเหล่านี้ดำเนินกิจกรรมแบบเดียวกันต่อ
เพื่อ อำนาจ(นำมาซึ่งผลประโยชน์)เป็นแค่สิ่งเดียวที่คนเหล่านี้คิด
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|