เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 71463 คดีลอบสังหาร จอมพลป. : เงื่อนงำเบื้องหลัง ๑๘ ศพ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12602



ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 06:53

มีทั้งเรื่องการชิงบทบาทระหว่างสถาบันฯ กับตัวจอมพล ป. 

เรื่องนี้มีขยายไว้ที่ พันทิป

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 10:23

ผมขลุกกับการเมืองมาตั้งแต่เล็ก เพราะชอบอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ตั้งแต่อยู่ชั้นประถม (เหตุเพราะไม่รู้จะทำอะไร ยูทูบก็ไม่มี มิวสิควีดิโอก็ไม่มี) ไปร่วมชุมนุมวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ที่ธรรมศาสตร์ตั้งแต่อยู่ชั้น ป.6 (วันศุกร์ดิบก่อนวันมหาวิปโยค) ยังจำได้ดีถึงภาพข่าวที่ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสว่า "...วันนี้คือวันมหาวิปโยค..." 
ในช่วงวัยนั้น ผมเองก็เหมือนคนหนุ่มทุกคนที่อยากเห็นบ้านเมืองดีเหมือนดังประเทศทางตะวันตก (ทั้งที่ยังไม่เคยไปมา ไม่เคยมีข้อมูลเชิงลึกด้านประวัติศาสตร์ของประเทศตะวันตก ได้ยินแต่ข่าวด้านดีด้านความเจริญขอประเทศตะวันตกที่เขาส่งมาให้ด้านเดียว) อยากเห็นความเป็นธรรมในทุกเรื่อง (โดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง) แม้แต่ขณะนั่งในรถเมล์ (ทั้งที่นั่งฟรีไม่เสียเงินเพราะเป็นเด็ก)และต้องจอดนิ่งเพราะเจอขบวนเสด็จ ก็พาลคิดอกุศลว่า "รถติดเพราะขบวนเสด็จ ถาไม่มีขบวนเสด็จรถก็ไม่ติด" (โดยที่ไม่ได้คิดเลยว่า นี่คือระบบความปลอดภัย ไม่ว่าจะปกครองระบอบใด ก็ต้องมีสิ่งนี้ หรือแม้แต่ถ้า "คนอยู่ดูไบ" มาเป็นประธานาธิบดีของสารขัณฑ์ มันก็จะต้องมีระบบนี้อยู่ดี) ความคิดเชิงลบต่อพระราชวงศ์ก็สะสมพอกพูน ยิ่งได้มีโอกาสไปเดินศูนย์หนังสือสนามหลวงในสมัยนั้น (ใต้ต้นมะขามหน้าศาล) ก็ไปพบหนังสือมากมายเกี่ยวกับคดีลอบปลงพระชนม์ (ดูคล้ายเป็นหนังสือลับ หนังสือใต้ดิน ที่เผยแพร่ไม่ได้ ทำให้รู้สึกคล้ายว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความจริง) ความคิดเชิงลบก็ยิ่งเตลิดไปใหญ่ ยิ่งประสบกับเรื่องในสมัยก่อนที่มีคนไปทำความผิดโดยไปอวดเบ่งว่าเป็นคนทำงานในรั้วในวังหรือทำงานใกล้ชิด ก็เลยพาลคิดไปถึงว่า "ถ้าไม่มีราชวงศ์ บ้านเมืองคงเจริญกว่านี้" 
  แต่นั่นคือเด็ก คือคนหนุ่มที่อ่อนต่อโลก คือคนที่มองด้านเดียว คือคนที่ไม่มีข้อมูลรวมทั้งไม่มีความรู้จักคิดในเชิงการเปรียบเทียบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบเทียบอย่างรอบด้านในเรื่องของ "ช่วงเวลา" และการเปรียบเทียบถึงพัฒนาการของแต่ละประเทศรวมทั้งสิ่งที่สูญเสียที่ผ่านมาของประเทศตะวันตกและสิ่งที่จะต้องสูญเสียในอนาคตของประเทศเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันเราเห็นภาพเหล่านี้อย่างชัดเจนในวิกฤตการณ์ต่างๆในปัจจุบันซึ่งก็คืออนาคตของอดีตที่ผ่านมา และนี่คือต้นทุนของสิ่งที่เรียกว่า "วิวัฒนาการ"
  เมื่อโตขึ้นมีความอยากที่จะพัฒนาตนเอง ผมก็ต้องพัฒนาการรับรู้รับฟังไม่ยึดติด ผมเองก็เริ่มได้คิด ได้มองอย่างรอบด้าน ไม่หลงกับการโฆษณาชวนเชื่อที่มาจากประเทศตะวันตก ก็เริ่มเห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว โลกมีพัฒนาการมานานแสนนานนับแต่สมัยเมโสโปเตเมีย (ระบบการศึกษาของบ้านเราก็สอนแต่คำ "เมโสโปเตเมีย" เพื่อสอบ แต่ไม่เคยอธิบายว่า ที่เรียกเช่นนี้เพราะอยู่ "ระหว่าง" "แม่น้ำ" ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจและเรียนสนุกขึ้นอีกมาก) สมัยอียิปต์ จีน อิสลาม แต่ฝรั่งชาติตะวันตกก็ฉกฉวยเอาทั้งวิชาการความรู้ปรัชญาไปหาผลประโยชน์ว่าตนเป็นผู้สร้างผู้คิด ก็เลยทำให้คนหนุ่มเทอดทูนบูชาตะวันตก รวมทั้ง "คณะราษฎร์" ยิ่งเมื่อผูกกับความอยากใหญ่อยากโตของตนก็เลยยิ่งทำให้ปัญญาปิดทึบไป
 มาถึงวัยนี้ ความคิดของผมต่อระบบกษัตริย์เปลี่ยนไป ผมกลับคิดว่า ที่เมืองไทยดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขมาอย่างยาวนาน (ก่อนที่คนมักใหญ่ใฝ่สูงจะมาสร้างความป่นป่วนในบ้านเมืองเราในช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมานั้น) ทั้งที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ชาติพันธ์ ระดับชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก ก็เพราะเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์และมีองค์ในหลวงที่ทรงประเสริฐ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้เราอยู่ด้วยกันอย่างรู้จักอภัย 
มีผู้รู้หลายท่าน นักวิชาการหลายคนบอกว่า สังคมไทยต้องแก้ไขความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ก่อน สังคมไทยจึงจะเดินหน้าต่อได้ ผมจึงเขียนบทความเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะ แต่อยากบอกว่า ความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้มีในทุกสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต เราท่านทำงานก็เพื่อมีรายได้มีความมั่นคงมากขึ้น นั่นมิใช่การเปลี่ยน "กลุ่ม" ของเราท่านหรือครับ นั่นก็สะท้อนให้เห็นว่า "กลุ่ม" ของรายได้มีอยู่และจะคงอยู่ตลอดไป ซึ่งมิใช่เรื่องแปลกหรือผิดแผกอะไร ตราบเท่าที่คนมียังช่วยคนจนยังคิดถึงคนจน ยังตระหนักว่าครั้งหนึ่งเราก็เคยจน และเราช่วยคนจนก็เพื่อที่ว่าสักวันหนึ่งคนจนที่เราช่วยจะมั่งมีขึ้นมาและจะยังช่วยคนจนคนอื่นต่อไป (คงไม่สามารถบรรยายรายละเอียดที่เขียนได้ ท่านที่สนใจหาอ่านได้ที่ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000072783 และที่ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000037495 
ถ้าผิดจริงก็ต้องไม่มีคำว่า "ประเทศพัฒนา" "ประเทศกำลังพัฒนา" ต้องไม่กลุ่ม จี7 จี20
หลายคนเรียกร้องระบบประธานาธิบดี (หนึ่งในนั้นคงรวมทั้ง "กัลยาณมิตร" ผู้ยิ่งใหญ่ด้วย) โดยมีคำโฆษณาชวนเชื่อว่า เพราะ "ประชาธิปไตย" ทุกคนต้องสิทธิเท่าเทียมกัน ถามว่า ถ้าคนๆหนึ่งมาเป็นประธานาธิบดีแล้วนำพาประเทศไปสู่ความเสียหายอย่างรุนแรงจน "ล่มสลาย" (อย่าคิดว่า "ไม่มี" เพราะหลายประเทศที่เคยเกิดมาอยู่โลกผืนนี้และก็หายไปจากแผนที่โลก ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนเช่น มอญ) แล้วเขาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง คำตอบที่ได้ยินเสมอคือ "คราวหน้าก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก" นี่ไม่ใช่ความรับผิดชอบ นี่คือการสูญเสียโอกาส เปรียบเสมือนแม่จะยกไฟแช็คและน้ำมันให้ลูกเล็กไปเล่น ข้างบ้านถามว่าไม่กลัวว่าเด็กจะไปเล่นจนไฟไหม้บ้านหรือ แม่บอกว่า ไม่เกิดหรอก ถ้าเกิดล่ะก้อ คราวหลังเด็กจะถูกลงโทษโดยไม่ให้เล่นไฟแช็คกับน้ำมันอีก 
อยากจะบอกว่า โดยกลไกของสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบ "สาธารณรัฐ" คือการมีประธานาธิบดีนั้น มีโอกาสสูงมากที่ผู้นำจะขึ้นมาเพื่อ "กอบโกย" เพราะตนเองจะต้องลงจากตำแหน่งในที่สุด มี"เวลา"น้อย ดังนั้นต้องดูดซับผละโยชน์เข้า "ตน" อย่างเต็มที่ในรูปแบบต่างๆ 
  มีบ้างไหมที่ประเทศหนึ่งประเทศใดจะได้ประธานาธิบดีที่ดี คำตอบคือ "มี" แต่นั่นเพราะ "บุคคล" คนนั้น  มิใช่ตัวระบบที่ทำให้ได้ผู้นำดี โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศเพิ่งผ่านศึกสงคราม ผ่านความบอบช้ำ ผ่านความสูญเสีย แต่เมื่อประเทศผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าว "นักบุญ" ก็จะกลายร่างเป็น "ปีศาจ"  เพราะกิเลสมันยั่ว ดังเช่นที่เกิดในทุกมุมโลกในขณะนี้ และคาดเดาได้เลยว่า ด้วยระบบนี้จะทำให้สถานการณ์ทั้งภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และต่อโลก จะทวีความรุนแรงและเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ
แต่ความรับผิดชอบของระบบกษัตริย์นั้นในสมัยอดีตคือ การถูกล้างทั้งราชวงศ์ หรือการไม่ได้เกิดอีกเลย ซึ่งเดิมพันสูงกว่าการไม่ได้รับเลือกมากมาย
แล้วถามว่าระบบกษัตริย์สามารถอยู่คู่กับประชาธิปไตยได้หรือไม่ ตอบว่า ประชาธิปไตยคือ "จุดหมาย" ในขณะที่ระบบกษัตริย์คือ "วิธีการ" เช่นเดียวกับระบบประธานาธิบดีซึ่งก็เป็น "วิธีการ" ดังนั้นไม่มีความขัดแย้งระหว่างระบบกษัตริย์กับประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง แต่ระบบกษัตริย์ย่อมที่จะขัดแย้งกับระบบประธานาธิบดี เพราะต่างก็กลุ่มเดียวกันคือเป็น "วิธีการ" ซึ่งประเทศต้องเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่ง จะเลือกสองวิธีไม่ได้

ที่ผมเขียนมาอย่างยืดยาวก็เพราะเท่าที่อ่านในกระทู้นี้ทำให้ผมตระหนักว่าทุกท่านในที่นี้ เป็นวิญญูชน เป็นคนที่รักบ้านรักเมือง และเป็นปัญญาชน ผมดีใจที่สังคมมีคนอย่างพวกท่าน

อยากขอหยิบท่อนหนึ่งของเพลงที่มีผู้ส่งเข้าประกวด ในการประกวดวีดิทัศน์สั้น เป็นเพลงที่กินใจผมมาก ได้เคยเปิดให้ภรรยาที่บ้านฟังสามครั้ง แกร้องไห้ทั้งสามครั้ง
http://www.รวมใจไทยเป็นหนึ่ง.com/vdo_detail.php?id=110
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 10:57

ทำคลิปให้ค่ะ



บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 14:26

ขอบคุณท่านเทาชมพูที่ช่วยกรุณาทำลิงค์ให้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 14:57

ความคิดอย่างคุณ Sujitra เมื่อสมัยยังเด็ก  ไม่ใช่ความคิดที่ประหลาดหรือผิดอะไรตรงไหน  เป็นธรรมดาที่เยาวชนซึ่งมีสติปัญญา พ้นวัยไร้เดียงสา เริ่มคิดเป็นก็จะเริ่มตั้งปัญหาถึงความไม่ถูกต้องในสภาพแวดล้อม ปรารถนาจะหลุดพ้นจากปัญหากลายเป็นสังคมที่ดีขึ้น ในความรู้สึกของเขา    จากนั้นความไม่พอใจต่ออะไรๆที่ผ่านเข้ามาในสายตาก็เกิดขึ้น    ยิ่งปัญญาดีมากยิ่งคิดแรงมาก   ฝรั่งเขาเรียกคนพวกนี้ว่า angry young man   
แต่พอโตขึ้นกว่านี้ รู้เห็นโลกมากขึ้น สายตากว้างไกลขึ้น    อารมณ์ก็เริ่มเยือกเย็น   ยืดหยุ่นมากขึ้น  ปรับตัวได้มากขึ้น ก็เริ่มทบทวนและมองหาทางออกของปัญหาโดยมองหลายๆด้าน ไม่ได้มองด้านเดียว สามารถอยู่กับความไม่ได้ดังใจได้อย่างสงบมากขึ้น  และค้นพบหนทางที่อยู่ได้อย่างมีคุณภาพ     นี่คือวุฒิภาวะของคนที่เป็นไปตามวัย   เพราะเหตุนี้คนอายุ 40-50 ก็จะไม่คิดอย่าง 15-20 ปี

ถ้าอยู่มาจนแก่แล้วยังคิดฝังใจ หัวปักหัวปำอยู่กับอารมณ์โกรธแค้นไม่พอใจกับอะไรที่เคยเป็นเมื่อหนุ่มๆ  ก็ยังคิดเหมือนเดิม    ตัวเองเกรี้ยวกราดโจมตีคนอื่นได้เสียๆหายๆ   แต่ตัวข้าใครอย่าแตะ    ก็จะกลายเป็น angry old man   ไป   เข้าข่ายโตเพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน แต่ขาดพัฒนาทางความคิด 
มีผลเสียคือเมื่อพัฒนาตัวเองไม่ได้   ก็ไม่อาจหวังว่าจะไปพัฒนาบ้านเมืองได้
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 15:49

ต้องขออภัยท่านอาจารย์นวรัตนที่ผมใช้ถ้อยคำไม่ค่อยเหมาะสมนักด้วยนะครับ ตรงคำว่าชิงบทบาท (หาอีโมรูปไหว้ขอโทษไม่ได้แฮะ)

ตอนเขียนก็ไม่ได้คิดให้ลึกซึ้ง เลยไม่ทันที่จะหาคำที่เหมาะสมกว่านี้ จริงๆ อยากจะหมายความดังนี้ครับ
คือพระมหากษัตริย์เรา แม้จะทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว แต่ไม่ได้ทรงทำตัวเป็นแค่ประมุขของประเทศอย่างเดียว แต่ทรงถือภาระหน้าที่จำกัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ราษฏรเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งด้วย
ในขณะที่จอมพล ป. นั้น ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าไม่ชอบเห็นใครเด่นกว่า ไม่ว่าใครก็ตาม ดังนั้นจึงค่อนข้างจะขัดขวางพระราชภารกิจนี้ไม่ให้ทรงกระทำได้โดยสะดวกนัก ดัง link ที่ท่าน อ. เพ็ญชมพูยกมา ตรงนี้ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้จอมพล ป. ล้มไป แต่จะว่าไม่มีส่วนเลยก็อาจจะไม่ได้
ฟ้าก็คือฟ้า  ใครทำตัวเสมอฟ้าก็เห็นตกลงมาคอหักทุกคน บั้นปลายยังไม่เห็นใครได้ดี  ไม่ได้พังเพราะฟ้า แต่พังเพราะคนอื่นๆ ที่อยู่ใต้ฟ้าด้วยกันนั่นแหละ

เรื่องหลักๆ  ที่ล้ม ผมมองว่าน่าจะมาจากความไม่พอใจของคนทั่วไปที่มีต่อจอมพล ป ที่อยู่ในอำนาจยาวนาน แต่จริงๆ แล้วช่วงนั้นอำนาจบารมีต่างๆ ก็ลดน้อยถอยลงไปมาก ถอยตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกแล้ว ยังอยู่ได้เพราะคนรอบข้างยังยกไว้เพราะยังหาใครมายกแทนไม่ได้ แต่ไม่ได้ชี้เป็นชี้ตายได้เหมือนสมัยหนุ่มๆ  ไม่งั้นสมัยกบฏแมนฮัตตั้นคงไม่มีใครกล้าสั่งบอมเรือรบที่จอมพลถูกจับไว้หรอก   แถมบวกกับความกร่างแบบหาดีไม่ได้ของนายเผ่าอีกคน สถานการณ์โลกก็ไม่น่าไว้วางใจ ไม่แปลกที่จะล้มไป

เรียนท่านอาจารย์เทาชมพู ผมเพิ่งจะอายุครบบวชไม่กี่ปีนี้เองนะคร๊าบ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 16:12

หา emo มาให้เด็กชายประกอบค่ะ

ป.ล. ไม่เคยคิดว่าอะไรเด็กชายประกอบนะคะ   เล็งไปทางอื่น   ทำไมวิ่งมาแอ่นอกรับกระสุนเข้าจนได้
 ลังเล


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 16:36

เด็กวัยกำลังห้าวก็แบบนี้แหละครับ มีอะไรชอบร้อนตัวไว้ก่อน เลยต้องออกตัวไว้ก่อนว่ายังเด็ก  แหะแหะ  เจ๋ง

แต่เด็กจริงรึเปล่าก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 18:41

อ้างถึง
ต้องขออภัยท่านอาจารย์นวรัตนที่ผมใช้ถ้อยคำไม่ค่อยเหมาะสมนักด้วยนะครับ ตรงคำว่าชิงบทบาท

ผมไม่ได้คิดว่าคุณประกอบเป็นผู้ประดิษฐ์คำนี้มา เพียงแต่เอาคำที่พวกนั้นประดิษฐ์ขึ้นใช้กันเกร่อขึ้นมาเอ่ยเข้าทางปืนผมพอดี อยากจะซัดสักตูมมานานแล้วเพิ่งจะมีโอกาส แต่คุณประกอบคงทราบได้เองว่าผมไม่ได้เล็งไปที่คุณดังที่อาจารย์ใหญ่ท่านว่าไปแล้ว

ผมประทับใจในสิ่งที่พวกคุณทั้งหลายที่เป็นคนรุ่นหนุ่มแสดงออก คุณผกาและสุจิตรา(สงสัยจะเป็นชื่อคนข้างตัว)ด้วยนะครับ
อันที่จริงผมปลงอนิจจังต่อโลกไปแล้วว่า พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงงานหนักมาตลอดชีวิต โดยเฉพาะเพื่อชาวชนบทที่ทรงใกล้ชิดเสียจนคนกรุงเทพอิจฉา แต่พอถึงช่วงชีวิตที่พระพลานามัยต้องเสื่อมถอย ทรงสมบุกสมบันงานหนักเหมือนเดิมไม่ได้ คนไทย(บางส่วนนะครับ บางส่วน)ก็ลืมท่าน เด็กรุ่นที่อยู่ในวัยก่อนบวชทั้งหลายดูเหมือนจะไม่อินังขังขอบกับพระองค์ท่านเช่นคนรุ่นก่อน และถูกคนกลุ่มหนึ่งปั่นหัวได้ง่ายๆ เห็นที่แสดงออกทางสื่อสมัยใม่กันรุนแรงหยาบคายเกินทน ถ้าไม่เอาธรรมะเข้าข่ม จิตคงตกอกคงไหม้ไปแล้ว

ต้องขอขอบคุณนะครับที่เข้ามาแสดงความเห็นในกระทู้ ปกติที่นี่เขาจะแค่มาเข้าซุ่มอ่านเงียบๆกัน พวกคุณทำให้หัวใจของผมชุ่มชื่นขึ้นมาก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 06 ส.ค. 12, 20:32

อ้างถึง
เห็นที่แสดงออกทางสื่อสมัยใหม่กันรุนแรงหยาบคายเกินทน ถ้าไม่เอาธรรมะเข้าข่ม จิตคงตกอกคงไหม้ไปแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรม
เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ เป็น
กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

การกระทำของคนเป็นความดีหรือความชั่วอยู่ในตัวของมันเอง  ไม่ได้อยู่ว่าคนอื่นเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรแค่ไหน   ถ้าทำชั่ว  ถึงมีคนจำนวนมากเห็นดีด้วยก็ไม่ได้ทำให้การกระทำชั่วกลายเป็นเรื่องดีไปได้   ถ้าทำดี ต่อให้คนจำนวนมากเห็นว่าเลว ก็ไม่ได้ทำให้ความดีกลายเป็นเลวได้เช่นกัน
ไม่ว่าคุณนวรัตนจะจิตตก หรือปลงได้    พวกนั้นเขาก็ย่อมได้รับผลกรรมจากการกระทำของเขา ดีหรือชั่วตามการกระทำเท่าเดิมอยู่ดีละค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 24 ก.พ. 14, 15:40

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง  เพื่อจะบันทึกท้ายกระทู้ว่า เคยมีความพยายามจะนำประวัติศาสตร์ช่วงนี้ไปเป็นภาพยนตร์  โดยคุณยุทธนา มุกดาสนิท ผู้กำกับหนังน้ำดีคนหนึ่งของไทย
แต่ก็ถูกเบรคโดยทายาทของจอมพลป.   หนังจึงสะดุดลงแค่ภาพถ่ายดาราว่าใครแสดงเป็นใคร
ดูจากความประณีตของการคัดเลือกดาราเจ้าบทบาท การแต่งกาย แต่งหน้าทำผม และการวางท่าในการถ่าย ก็พอมองเห็นความตั้งใจของคุณยุทธนา
จึงน่าเสียดายอย่างยิ่งว่าเราไม่มีโอกาสได้ดูชีวิตของบุคคลในประวัติศาสตร์เหล่านี้ สะท้อนออกมาในจอเงิน

ฉัตรชัยรับบทจอมพลป. พิบูลสงคราม และสปัน เสลาคุณรับบทท่านผู้หญิงละเอียด



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 24 ก.พ. 14, 15:41

สหชัย ชุมนุม  รับบทพลต.อ.หลวงอดุลเดชจรัส   อธิบดีตำรวจเพื่อนสนิทของจอมพลป.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 24 ก.พ. 14, 15:42

นพพล โกมารชุน- พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ที่ปรึกษาคู่บารมีของจอมพลป.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 24 ก.พ. 14, 15:43

สันติสุข พรหมศิริ - ร.ท.เณร ตาละลักษมณ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 24 ก.พ. 14, 15:47

ศรัณยู วงศ์กระจ่าง-ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง