เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7415 "มะจาเร่", "ฮัดช่า", "ฮัลเลวังกา" แปลว่าอะไร
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


 เมื่อ 16 ก.ค. 12, 13:30

มาจากภาษาใด แล้วยี่เก โบราณต่างจากสมัยนี้มากไหม แล้วกลายเป็นการแสดงได้อย่างไร

ต่างจากละครพันทางอย่างไร นอกจากเสื้อผ้า เพราะบทเจรจาเป็นกลอน ไม่ใช่แบบละครเวที
แล้วเสื่อมความนิยมแบบงิ้วหรือเปล่า สมัยก่อนช่อง9 จะมีลิเกตอนบ่าย หรือซื้อวิทยุไปฟังลิเก แล้วลูกค้าเอามาคืนเพราะมีแต่ทหารพูดออกวิทยุ

เวลาออก " แขก "ของ " ลิเก "  บ้านเรา

ก็จะมีคนแต่งตัวเหมือนแขก " อินเดีย "  ออกมาร้องว่า .............. " ฮัลวังกา เชิญทัศนา ชมลิเก " เป็นมุสลิมอย่างเดียวหรือ

อย่างในหนังโหมโรง จะมีอาบังมาออกแขก แล้วไปพูดกระทบ เลยไม่ได้เล่น แสดงว่าในแต่ละวันลีลาออกแขก จะไม่ซ้ำกันใช่หรือไม่

ลิเกของเรามาแล้ว ขอเชิญน้องพี่ เข้ามานั่งสิ
ลีลาไม่ทันสมัย ต้องของอภัย ประทานโทษที
(จำไม่ได้ แต่กล่าวกระทบท่านผู้นำ)
ฮัลเลวังกา...ลิเกไม่มี

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 09:27

ในสมัยช่วง ๒๐ ปีมานี้มารายการโทรทัศน์ของกองทัพบกช่อง ๕ แพร่ภาพออกอากาศ "ลิเก" คณะวิญญู จันทร์เจ้า เพื่อสืบทอดศิลปะการแสดงลิเกไว้

การออกแขกเสมือนหนึ่งการไหว้ครูโขน ครูละคร ต้องมีการออกแขกทุกครั้ง ซึ่งคำว่า "ลิเก" มาจากคำว่า "ดิเกร์" เป็นภาษาเปอร์เซียร์

ดิเกร์ นั้นมีรากศัพท์ดั้งเดิมจากคำว่า "ซิกูร์" ซึ่งมีความหมายว่า เป็นพิธีการสวดอย่างหนึ่งในระหว่างสวดพระคัมภีร์อัลกุลอ่าน ซึ่งการสวดพระคัมภีร์กินเวลานาน มีการสวดอยู่ ๒ แบบคือ สวดแบบออกเสียง และไม่ออกเสียง ซึ่งในสมัยราชวงศ์โมกุล ที่ประเทศอินเดียได้รับวัฒนธรรมมุสลิมเข้าไปผสม จึงเรียกการสวดในลักษณะที่ออกเสียงว่า Dhikir - ดฮิกิร โดยเป็นการสวดพระคัมภีร์ที่โยกตัวไปมา และเปล่งเสียงเพื่อลดความง่วงในระหว่างการสวด

พ่อค้าชาวอินเดียเข้ามาค้าขายที่หมู่เกาะสุมาตรา ก็นำเอาหลักศาสนาและวิธีการสวดพระคัมภีร์อัลกุลอ่านติดเข้ามาด้วย และเรียกเพี้ยนกันไปว่า Dikir - ดจิกะระ และยังมีผลเข้ามายังดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยแล้วเรียกเพี้ยนไปอีกทอดหนึ่งว่า Dikay - ดิจเก เมื่อวัฒธรรมนี้เข้ามาในช่วงรัชกาลที่ ๓ - ๕ ชาวสยามก็เรียกกันเลยว่า "ยี่เก"

เมื่อดิเกร์ - ลักษณะการสวดพระคัมภีร์อัลกุลอ่าน ผสมผสานกับการร้องลำตัด กลายเป็นศิลปะการแสดงประเภทใหม่ เรียกว่า ดิเกร์ มัลฮาแบร์ - ลิเกฮูลู โดยใช้รำมะนา ประกอบการจังหวะแต่สำหรับชาวสยาม รับยี่เก ในอีกลักษณะหนึ่ง เป็นการแสดงการร้อง เล่นบนเวที แต่ยังคงไว้ซึ่งเครื่องดนตรีหลักคือ รำมะนา

ยี่เก กลายเป็น ลิเกพื้นบ้าน ลิเกป่า ลิเกทรงเครื่อง ลิเกไฮเทค และยังคงพัฒนาต่อมา สัปดาห์ที่แล้วเห็นมีการนำเอาดิจิตัล มาทำการสร้างฉากเสมือนจริง โดยไม่มีการวาดภาพพื้นฉากท้องพระโรง ป่าไม้ แต่เป็นระบบดิจิตอลสร้างภาพฉากท้องพระโรง ป่าไม้ ให้เสมือนจริง เป็นการต่อยอดลิเก ให้ล้ำยุคพัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 09:42

ลิเก ในสังคมชาวสยามมีอยู่ ๓ ลักษณะ ที่เกิดขึ้นในระวางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

๑. ลิเกบันตน

๒. ลิเกลูกบท

๓. ลิเกทรงเครื่อง

แต่ก็ไม่มีอะไรจะเทียบเท่าลิเกทรงเครื่องของลิเกของพระยาเพชรปราณี ที่คิดเครื่องแต่งตัวอย่างกษัตริย์ พระมเหษี ท้าวพระยา สวมถุงเท้าขาว ใส่กำไลเท้า เล่นเรื่องจักรจักรวงศ์วงศ์ โดยมีการเล่นเรื่องแรกคือ "ลัษณะวงศ์" และเครื่องประดับก็เป็นเงิน ติดเพชรแพรวพราว บ้างสวมพู่ขนนกพองขาวไว้ที่ศีรษะ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของยี่เก


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง