เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 19807 อยากทราบคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสมัยรัชกาลรัชกาลที่ 4-6 พร้อมตัวอย่างค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 22:07

บทนี้ไม่ใช่เรื่องคำทับศัพท์ครับ แต่เป็นการผสมผสานเนื้อความที่เข้ากันโดยแท้จริง เข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของ ร.6 ได้ทรงใว้

ของส่งสาส์นมาสมาน my dear สมร
I love you very much อย่าตัดรอน
I จะจร to your house เล่าก็ไกล
เผย window โผล่พิศ moon จรูญกล้า
หมู่ star ล้อมรอบขอบบุหรัน
I did not see you อยู่หลายวัน
เชิญจอมขวัญตอบ letter อย่าเผลอเลย

สองส่องอินทรเนตรได้ความว่าเป็นบทประพันธ์ของคุณถ่ายเถา สุจริตกุล ลงพิมพ์ในนิตยสารนิตยสารพลอยแกมเพชร ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖

http://www.kroobannok.com/blog/7299

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 06:42

แสดงว่าคุณถ่ายเถา สุจริตกุล เขียนไว้ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2500    ห้าสิบกว่าปีมาแล้ว และต้องดังมากพอที่เด็กๆรุ่นผมและคุณเนาวรัตน์เอามาท่องจนติดปากติดใจอยู่จนถึงปัจจุบัน

ขออภัยที่เข้าใจผิด ครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 07:24

ไม่ใช่ค่ะ คุณถ่ายเถาดัดแปลงมาจากกลอนที่เก่ากว่านั้นอีกค่ะ   
ที่บอกได้เพราะดิฉันจำได้เหมือนกันจากที่แม่เคยท่องให้ฟัง ตอนลูกยังเด็กๆ
ถ้าเป็นกลอนสมัยแม่ ก็ต้องก่อนคุณถ่ายเถาเกิดอย่างแน่นอน

บัดนี้ความจำชักกลับบ้านเดิมไปมากแล้ว   เลยเหลือกระท่อนกระแท่น

ของส่งสาส์นมาสมานไมตรีสมร
I love you very much อย่าตัดรอน
I จะจร to  visit ก็คิดแคลง

I love you โปรดเอ็นดู write answer
In order to marry พี่ไม่แหนง
My Darling แม่อย่ากริ่ง ใจระแวง
......................
มาตกม้าตายวรรคสุดท้าย   อายจัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 08:14

มายืนยันคคห.ของนายตั้งครับ

เราท่องกลอนที่ว่านั้นได้ตั้งเด็ก ก่อนพ.ศ. ๒๕๔๖หลายสิบปีอยู่ 
มีต่างกันนิดหน่อย แต่ตรงไหนนั้น ท่านกรุณาหาเอง

ของส่งสาส์นมาสมาน my dear สมร
I love you very much อย่าตัดรอน
I จะจร to your house เล่าก็ไกล
เผย window โผล่พิศ moon จรูญกล้า
หมู่ star ล้อมรอบขอบบุหรัน
I did not see you อยู่หลายวัน
เชิญจอมขวัญตอบ letter อย่าเผลอเลย



ขอส่งสารมาสมาน my dear สมร
I love you very much อย่าตัดรอน
แต่จะจร to your house เล่าก็ไกล
เผย window โผล่พิศ moon จรูญหล้า
หมู่ stars ล้อมรอบขอบบุหรัน
I haven't seen you อยู่หลายวัน
เชิญจอมขวัญตอบ letter อย่าเผลอเอย [/color]


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 09:38



บรัดเลย์บอกว่า   เรียกเข้าแฟนั้นไม่ถูก   เรียกว่ากาเฟถูก
(อธิบายต่อไว้อีกยาว)

ความช่วงนี้นำมาจาก บางกอกรีคอเดอร์ ค่ะ

กัมเปนี            company
ยุรบ
ยูนิเวอซิติ
เคาเวอรเม็นต์             กระจายต่อไปเป็น          กัดฟันมันในเอกสารอื่น
รติไฟ       ratify
เกอเน็ล    colonel
เปรศซิเด็นต์
เอ็มปีเรอ

ตำราวิทยาศาสตร์  ขอผ่านค่ะ  ไม่สนุก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 09:57

กวีน - Queen

กัปตัน

เยนเนอรัล

ก๊าด - Card

แมนเนเยอร์

เอดิเตอร์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 10:08

วันนี้เปรียบเสมือนนำแป้งน้ำมันมาขายที่ท้ายวัง


จากตำราปืนใหญ่โบราณ



มิละตารี  แอนแยน           military  engine

คนอังกฤษชื่อ  ราชจาเบกกัน        Richard  Bacon

เมืองแยระมานี                        Germany

พวกอะละมาร                          German

ม่อตา                                   mortar

เมืองกะเลีย                             Calais

ปืนชื่อ เดวือละ                         Devil

โดวะกา  สะเตอ                        Dover Castle

ปืนมือเสื้อของเจ้าเมืองผู้หญิงที่ชื่อว่า  เอเลษซีเบด        กวีนเอเลษซีเบด ป่อเกษ  ปิศต่อละ         Queen Elizabeth's Pocket Pistol

ซันแดะ  แปลว่า ฟ้าร้อง               Thunder  (ชื่อกระสุนหนัก  ๘๐ ปอนด์)

แตระเบีย   แปลว่า ตกใจ              Terrible  (ชื่อกระสุนหนัก ๘๐ ปอนด์)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 12:45

ความช่วงนี้นำมาจาก บางกอกรีคอเดอร์ ค่ะ
.............
ยุรบ
.............

หนังสือเล่มไหนใช้ว่า "อีหรอบ" บ้างหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 18:57

เอาคำสั่งฝึกทหารแบบ อีหรอบ ของคุณนวรัตน มาให้ลองแปลกันอีกที

จำได้อีกว่าคำสั่งทหารฝึกแบบอีหรอบนี่ มีอีกคำสั่งหนึ่งคือ

อินทร์ ปะสันตา พรหม ปะสันตา


ทุกคำทราบความหมาย

เหลือแต่คำว่า "ปะ" นี่แหละ แปลว่าอะไรหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 19:57

ในตำนานกรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ กล่าวถึงคำทับศัพท์ในราชการทหารยุคต้นรัชกาลที่ ๕ ไว้หลายคำ เช่น
คอลอแนล  = Colonel = นายพันเอก
ลุตเตแนลคอลอแนล = Lieutenant  Colonel = นายพันโท
แอดยุแตนท์ = Adjutant = ปลัดกอง
ซายันต์เมเยอร์ = Sergeant  Major = จ่านายสิบ
ซายันต์ = Sergeant = นายสิบเอก
กอมปนี = Company = กองร้อย
กอปอรัล = coพporal = นายสิบโท
เปย์มาสเตอร์ = Pay Master = สมุห์บัญชี
ควอเตอร์มาสเตอร์ = Quater Master = เจ้าพนักงานยุทธภัณพืหรือการโรงทหาร
เซอเยอน = Surgeon = นายแพทย์
แชบเลน = Chaplain = ผู้แสดงธรรม (อนุศาสนาจารย์)
กัปตัน = Captain = นายร้อยเอก
ลุตเตแนนต์ =  Lieutenant = นายร้อยโท
เอนไซน์ = Ensign = นายร้อยตรี
ฯ ล ฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 21:00

ในตำนานกรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ กล่าวถึงคำทับศัพท์ในราชการทหารยุคต้นรัชกาลที่ ๕ ไว้หลายคำ เช่น
..........
แอดยุแตนท์ = Adjutant = ปลัดกอง
.........

ก.ศ.ร. กุหลาบก็เคยเป็น adjutant

เมื่อเจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิตได้ตั้งกรมทหารรักษาลำน้ำ  กุหลาบได้ตำแหน่ง แอศยุแตน
ก.ศ.ร. บอกว่าเป็น adjutant general   ได้รับเงินเดือนๆ ละ ๑๒๐ บาทเป็นเวลา ๘ ปี


adjutant  นี่คือ นายเวรสารบรรณ

ตำแหน่งที่สูงกว่านี้คือ  นายเวรพิเศษ


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 21:17

หนังสือฉบับนี้ถึง นายกุหลาบแอศยุแตนต์ผู้ว่าการกรมทหารกองลาดตระเวรลำน้ำเจ้าพระยา

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 ก.ค. 12, 21:55

แจ้งมายังคุณเพ็ญทราบ


รักษาตัวสะกดเดิม

ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ  ประวัตท่านเจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต)
(กล่าวอย่างพิสดารอย่างเอก)

แจกเป็นที่ระลึกสำหรับเกียรติยศ
ร.ศ. ๑๓๑




หน้า ๘๗

"ล้วนถือปืนสพายกระบี่สั้นเป็นกรมทหารย้ำแท้ ๆ(ไม่ใข่พลตระเวณแน่)

 เครื่องแต่งกายก็เป็นทหารทุกคน




หน้า ๘๘
"ส่วนท่านเจ้าคุณนรรัตน์นั้น  ท่านเป็น เยนิราลอธิบดีที่ ๑(คล้าย ๆ กับนายพลโท  ในตำแหน่งนายทหารสมัยใหม่)

ท่านเจ้าคุณกราบบังคมทูลพระกรุณา  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต  ตั้งนายกุหลาบมหาดเล็กเวรศักดิ์  เปนที่แอชยุแตนต์เยนิราล
(คล้าย ๆ นายพันตรี) เป็นผู้บังคับการที่ ๒  รองเจ้าคุณเยนิราล"


        เคยเรียนคุณเพ็ญไว้แล้วว่า  ข้อมูลของดิฉันพัฒนาอยู่ตลอดเวลา   ข้อเขียนถ้าได้มาใหม่จะไม่เหมือนเดิมเลย


        ตอนนี้เพิ่งค้นได้เอกสารหลายร้อยหน้า   แสดงว่าสืบเนื่องจากเหตุการณ์ไม่พึงกล่าวในตอนนี้   ในปี พ.ศ.​๒๔๒๙   ก.ศ.ร. กุหลาบถูกให้ออกจากราชการค่ะ

นายกุหลาบพูดจากล้าหาญองอาจนัก   ไว้ค้นไปถึงจะลอกมาลง(เป็นเอกสารของราชการค่ะ)

ข่าวนี้ก็แจ้งไปเพียง สาม - สี่รายเท่านั้น   เพราะถ้าไม่แย้มผอบบ้างก็หาคนคุยด้วยยากเต็มที

ศัพท์อีกคำที่ ก.ศ.ร. ใช้  คือ รีโปสรายวัน   ซึ่งน่าจะเป็นบันทึกประจำวันมากกว่า


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 09:44

ความช่วงนี้นำมาจาก บางกอกรีคอเดอร์ ค่ะ
.............
ยุรบ
.............

หนังสือเล่มไหนใช้ว่า "อีหรอบ" บ้างหนอ

 ฮืม


"เมื่อครั้งชาวต่างประเทศชาติอีรอบเข้ามาตั้งทำการค้าขายในบูรพทิศ"

ทวีปัญญา ฉบับที่ ๒๒ เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๒๔
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 ก.ค. 12, 09:57

การอินเวศต์เมนต์

แบงก์ออฟอิงแลนด์นั้น  แต่เดิมก็เปนยอยนต์สตอก
แบงก์  ตั้งขึ้นในเมืองอังกฤษ  ฅอเวอนเมนต์ให้-----------
ประโยชน์  ทำการในเมืองหลวงแห่งเดียว  มาจน
คฤษตศักราช ๑๘๓๔  ลอนดอนแอนเวศตมิศเตอร์แบงก์
จึ่งได้ตั้งขึ้นแลแบงก์อื่น ๆ ก็ขอชาเตอตั้งขึ้นเปน
ยอยนต์สตอกแบงก์   แบงก์ออฟอิงแลนด์จึ่งได้เปนแบงก์
สำหรับแผ่นดิน  แบงก์นี้สำหรับเก็บเงินจ่ายเงินของ
แผ่นดิน  แลเงินของผู้หนึ่งผู้ใด ที่ฝากแต่ไม่ใคร่จะ
รับเงินที่ฝากเอาดอกเบี้ย  แลผู้ที่ฝากเงินต่ำกว่า
๕๐๐ ปอนด์ก็ไม่รับ  แลแบงก์รับซื้อบิลต่าง ๆ  ที่
มีกำหนด      เดือน  แลคิดเอาอิฐเกนต์กับบิลทั้งหลาย
เหล่านี้ที่ซื้อไว้  ตามหนังสือพิมพ์ชื่ออิโคโนมิศต์แบงก์
ออฟอิงแลนด์นั้น  เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนออคโตเบอร์ ใน
ปีมีคฤษตศักราช ๑๘๗๖ นั้น

เงินที่มีตัวแลผู้ที่รับประกัน  ยังมากอยู่กว่าเงิน
ที่จะใช้  แลรับฝาก  ๓๐๗๕๖๕๙  ปอนด์  เปน
เงินพักดังเช่นจดบาญชีไว้ข้างบน นั้น

๔  ยอยนตสตอกแบงก์นั้น  เปนแบงก์ปับลิกเข้าหุ้น
ส่วนกัน มีกำหนดทุนกำหนดแชส่วน  แลเงินคงแบงก์
แลขออำนาจต่อฅอเวอนเมนต์ บาญชีของแบงก์นั้น
ฅอเวอนเมนต์ต้องตรวจ หรือผู้หนึ่งผู้ใดที่เกี่ยวข้อง
ในแบงก์นั้นก็ตรวจดูบาญชีได้  เปนการเปิดเผยไม่
ปิดบังเหมือนดังไปรเวตแบงก์  แบงก์ชนิดนี้ลางแบงก์
ก็เปนลิมิติด  ลางแบงก์ก็เปนอันลิมิติด  แบงก์
ที่เปนลิมิติดนั้น  ผู้ที่เข้าหุ้นเข้าส่วนรับประกันเพียง
ทุน  ที่กำหนดไว้ต่อฅอเวอนเมนต์นั้น  แม้นผู้ที่
ฝากเงินมากไปกว่าทุน  ถ้าแบงก์ล้มผู้ที่เข้าหุ้นเข้า
ส่วน  ก็ต้องเสียเพียงเงินทุนที่กำหนด  ผู้ที่ฝากจะ
ฟ้องเอาให้ครบเงินที่ตัวฝาก  แก่ผู้เข้าหุ้นเข้าส่วน
ไม่ได้  แบงก์ที่เปนอันลิมิติดนั้น  ผู้ที่จะฝากเงิน
มากกว่าทุนของแบงก์ที่กำหนดไว้ก็ได้  แม้นถึงว่า
แบงก์จะล้ม  ผู้ที่ฝากเงินก็ฟ้องเอาเงินต่อผู้ที่เข้าหุ้น
เข้าส่วนได้จนครบ  ยอยนตสตอดแบงก์ทั้งหลายเหล่า
นี้  เสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ที่ฝากเงินน้อยกว่าแบงก์
ไปรเวต  เพราะมีประกันแน่นหนา  แลผู้ฝากเงินก็
มาก  ยอยนต์สตอกแบงก์อยู่ที่กรุงลอนดอนทั้งลิมิ
ติด ๖๗ แบงก์  จึ่งมีบาญชีแจ้งอยู่ในหนังสือประฏิ
ทิน นั้นแล้ว  แต่แบงก์ที่มีราคาแชดีนั้น  คือ ๑
ลอนดอนแอนเกาติแบงก์ ตั้งขึ้นเมื่อคฤษตศักราช ๑๓๓๖
ทุนที่กำหนดกับฅอเวอนเมนต์ ๓๗๕๐๐๐๐    ปอนด์ 
แบงก์เปนแชละ ๕๐ ปอนด์ ได้รับแล้ว ๑๔๒๓๗๙๐
ปอนด์  แชที่ได้ใช้ไปเงินไปแล้ว  แชละ ๒๐ ปอนด์ 
เงินคงแบงก์ ๖๓๖๘๙๕  กำไรเมื่อครบปีแบ่งออกเปน
๑๘ เปอเซนร์  ราคาแชที่จะขาย ๖๓ ปอนด์

ที่มา วชิรญาณวิเศษ ร.ศ. ๑๐๙
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง