เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 19812 อยากทราบคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในสมัยรัชกาลรัชกาลที่ 4-6 พร้อมตัวอย่างค่ะ
sriput
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 11 ก.ค. 12, 01:26

ทราบว่าในสมัยที่ยังไม่มีศัพท์บัญญัตินั้น เราต้องใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวนมาก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 4-6 เช่น บริษัทสยามกัมมาจล (Siam Commercial) จึงอยากทราบว่ายังมีคำไหนอีกบ้าง และหากมีตัวอย่างงานพระราชนิพนธ์หรืองานเขียนในสมัยนั้นจะเป็นประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 02:45

จะเอาไปทำรายงานหรือเปล่าคะ
อยากจะช่วยค่ะ.  แต่อยากขอให้คุณช่วยยกศัพท์ที่รวบรวมมาแล้วให้ดูเป็นตัวอย่างบ้าง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 07:11

อยากช่วยเช่นกัน แต่รบกวนตอบคำถามของเจ้าเรือน อ.เทาชมพูเสียก่อนครับ  เจ๋ง
บันทึกการเข้า
sriput
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 20:50

เป็นความสนใจส่วนตัวค่ะ งั้นขอไปทำการบ้านมาก่อน แล้วจะกลับมาใหม่นะคะ เพียงแต่จะกรุณาจะแนะนำแหล่งข้อมูลได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 21:52


        ประวัติศาสตร์เรื่องชาวต่างประเทศเริ่มเข้ามาในสยามตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๓     ก็พอจะมีศัพท์ทางการเมืองสนุก ๆ

จดหมายต่าง ๆ     ชื่อบุคคล   น่าสนใจค่ะ  ทำให้เราจำกันได้

ที่เห็นจะมีศัพท์เป็นเรื่องเป็นราวก็ ตำราปืนใหญ่โบราณค่ะ   ฉบับ ๒๔๗๖    มีการออกคำสั่งที่ลอกแบบฝรั่งมาเปี๊ยบ

ตำราบอกว่าให้พลปืนยืนสลับที่กัน  เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ  ถ้าเกิดอะไรขึ้น  คนอื่นจะได้ปฎิบัติหน้าที่สู้รบต่อไปได้

ดูหนังไทยในโทรทัศน์เห็นยืนเกาะกลุ่มกัน   ตูมมาทีก็สอยกวาดไปทั้งกลุ่ม

หลังจากทำความเข้าใจได้เพียงเล็กน้อย       คุณ  sriput  จะเบิกบานมาก  รับประกันค่ะ

เริ่มต้นอย่างนี้ก่อนนะคะ

        ข้าราชสำนักหรือขุนนางผู้น้อยของเราในรัชกาลที่ ๕        ถ้าอ่านจากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน

ทับศัพท์กันมากค่ะ        คงไม่ยากที่จะหาอ่านได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 08:17

^
คุณวันดีลงกระทู้สนามนี้ คงไม่ตายหมู่กันแล้ว  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

การทับศัพท์ในสมัยรัชกาลที่ ๓-๖ มีอยู่มากในเอกสารหลาย ๆ ประเภทเนื่องจากคนไทย ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ต่างประเทศกับภาษาไทย เรียกให้ตรงกัน กอรปทั้งสำเนียงก็อ่านเพี้ยนตามปาก จะเขียนก็เขียนไม่ถูก จะพูดก็พูดไม่ถนัด ประดักประเดิกกันไปหมด

พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๔ และพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ในรัชกาลที่ ๕ ช่วยท่านได้หลายครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 09:02

ตำราปืนใหญ่โบราณนั้น   ท่าทางจะเป็นฉบับที่มิสู้จะพิมพ์แพร่หลาย
เพราะที่เห็นและอ่านกันคุ้นเคย  คือ ตำราปืนใหญ่พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชะรอยว่า  ตำราที่คุณวันดีจะเป็นตำราเก่าราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์มหินทรายุธยามหาดิลกภพ


อันที่จริงเรื่องการทับศัพท์ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่นๆ ในภาษาไทย มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔
แต่ยังไม่มากเท่าใด  เพราะการพิมพ์ยังไม่แพร่หลาย  จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๓ หมอบรัดเลพิมพ์หนังสือ
บางกอกรีคอเดอ  การทับศัพท์ภาษาอังกฤษก็เริ่มต้นมากขึ้นนับแต่บัดนั้น   

ใจจริงอยากแนะนำ จขกท ให้อ่านบางกอกรีคอเดอ  สยามไสมย  ราชกิจจานุเบกษาต้นรัชกาลที่ ๕
จะเห็นคำทับศัพท์มากมาย  จำได้ว่า  มีนักศึกษาปริญญาโทบางมหาวิทยาลัยทำเป็นวิทยานิพนธ์ด้วย
ถ้าสนใจก็สามารถหาอ่านได้ไม่ยาก
 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 10:07


สยามไสมยนั้นมีรายละเอียดมากมาย   คนที่อ่านเป็นครั้งแรกจะหลงทางด้วยความสนุกสนาน

ผู้อ่านหาข้อมูลต้องทุ่มเวลาอ่านและกลับมาจดทันที

บางกอกรีคอเดอนั้นจะว่าไปแล้วเสียหน้ากระดาษไปกับวิทยาศาสตร์ "ออกซุเจน"   เรื่องของมนเซียโอบาเรต์

เรื่องเจ้านายไทยเมาสุรา  และเรื่องผู้หญิงไทยคนหนึ่งหาสามีได้หลายคนซึ่งไม่ทราบว่าบรัดเลถือสิทธิ์ไปนินทา

เธอได้อย่างไร   ฝรั่งที่แปลกแท้เชียว  ไหนอ้างว่าตัวศรีวิไลย   หมิ่นประมาทหญิงไทยที่ตอนนั้นเธอก็มีสามีเป็นตัวคนแล้ว

ราชกิจจา ฯ  ต้องตั้งใจอ่านแบบรวดเร็วจึงจะหาศัพท์ได้   แถวนี้มีคนอ่านออกอยู่สองคนเป็นพราหมณ์นครปฐมและลูกศิษย์

(อ่านออกและตอบคำถามได้ทันการ)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 10:56

สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ - ๔  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพระนครที่พอจะเอามาเขียนข่าวได้นั้นมีไม่มาก
ถ้าเป็นเรื่องของคนทั่วไป  ก็ไม่สู้จะน่าสนใจ ถ้าไม่ใช่เหตุการณ์ใหญ่ เขียนไปก็จะไม่มีใครซื้ออ่าน
หมอบรัดเลเองก็ไม่สามารถเที่ยวไปหาข่าวตามใจ   เพราะตนเองเป็นชาวต่างชาติ  จะเดินทางไปที่ใด
ถ้าเป็นนอกพระนครต้องขออนุญาตทางการสยาม

ฉะนั้น  ข่าวและบทความที่หมอบรัดเลเอามาลงในบางกอกรีคอเดอ จึงต้องเรื่องที่แปลจากหนังสือฝรั่ง
มาลงเป็นตอนๆ พอให้ปิดเล่มได้   และข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆ  ถ้าเป็นการรายงานตามข้อเท็จจริง
ก็คงไม่น่าสนใจ  และเขียนได้ไม่ยาว  หมอจึงต้องเอาความเห็นใส่ลงไป  อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเขาทำอยู่เป็นปกติ  สุดแต่จะมากหรือน้อย   แต่อาจจะเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทย
ที่เพิ่งรู้จักหนังสือพิมพ์และฐานันดรที่สี่  

ส่วนที่หมอจะวิพากษ์วิจารณ์คนไทยสังคมไทย  นั่นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ  เพราะหมอมาจากสังคมวัฒนธรรมอื่น
เมื่อมาพบเจอคนในต่างสังคมต่างวัฒนธรรม  ย่อมเกิดความคิดความเห็นเป็นปฏิกิริยาเป็นธรรมดา
เพียงแต่คนไทยยังไม่เคยวิจารณ์ในรูปการเขียน  คุ้นเคยแต่การพูดการนินทา  


ราชกิจจาฯ อ่านง่าย   อ่านยาก  ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน  ใช้บ่อยๆ ก็ชำนาญไปเอง
บางคนก็ทำคู่มือราชกิจจาฯ ไว้  แต่เสียดายว่า  ไม่สามารถเอื้อเฟื้อแก่ใครได้ 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 11:21



ตำรา ปืนใหญ่โบราณ   เล่มนี้  คือเล่มที่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๘๔   ค่ะ

ถึงจะมีอรรถรสทางทหารก็ถือเป็นเครื่องมือทางโบราณคดี

มีทำเนียบนามปืนใหญ่  ที่คุ้นกันก็มี    ชวารำกฤช   มุหงิดทะลวงฟัน   มักสันแหกค่าย   ฝรั่งรายปืนแม่น  ฯลฯ
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 14:40

นึกออกอยู่คำหนึ่งครับ
ราชปะแตน  (ราช + pattern)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 15:25

นึกถึงเพลง "คุณหลวง" กับ "แมมซี้" ของคุณนวรัตน


แมมซี้  แมมซี้  เปนเมี่ย มิด_เต่อ จอน

แมมซี้  แมมซี้  เปนเมี่ย มิด_เต่อ จอน

….ราดร่ดที นอน  มิดเตอจอนไลเตะตกเตียง
นางเซียใจไปนังรองให่อยู่ใต่ทุ่นเตียง


(จุดจุดจุด คือกิริยาที่เป็นผลจากการกินอาหารเสาะท้องเข้าไปดังท่านอาจารย์เทาชมพูใบ้ไว้)


เพลงแหม่มศรีของคุณนวรัตน ก็ไม่น่าร้องยาก ใช้ทำนองเพลง "Marching Through Georgia" ท่อนประสานเสียงที่ว่า

Hurrah! Hurrah! we bring the jubilee!
Hurrah! Hurrah! the flag that makes you free!
So we sang the chorus from Atlanta to the sea
While we were marching through Georgia.

เพลงนี้เป็นเพลงมาร์ชสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกาของกองทัพสหรัฐอเมริกาฝ่ายเหนือ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ โดยเฮนรี เคลย์ เวิร์ค (Henry Clay Work)



เพลง Marching Through Georgia เข้ามาในเมืองไทยเมื่อกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้เดินเรือรบชื่อเทนเนสซี (Tennessy) มาอวดธงที่สยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งต่อมานักดนตรีไทยได้จำทำนองไปเล่นในวงดนตรีไทยและใส่เนื้อร้องเสียใหม่ในชื่อเพลง "คุณหลวง"

ยังจำกันได้ไหมเอ่ย

คุณหลวง...คุณหลวง       อยู่กระทรวงยุทธนาฯ
ใส่เสื้อราชปะแตน          ทำไมไม่แขวนนาฬิกา
เงินเดือนยี่สิบบาท          ดูเปิ๊ดสะก๊าดเสียเต็มประดา

http://th.wikipedia.org/wiki/Marching_Through_Georgia

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 18:27

 เปิ๊ดสะก๊าด ก็มาจาก first class ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 19:38

telegraph = ตะแล๊ปแก๊ป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 20:26

บทนี้ไม่ใช่เรื่องคำทับศัพท์ครับ แต่เป็นการผสมผสานเนื้อความที่เข้ากันโดยแท้จริง เข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์ของ ร.6 ได้ทรงใว้

ของส่งสาส์นมาสมาน my dear สมร
I love you very much อย่าตัดรอน
I จะจร to your house เล่าก็ไกล
เผย window โผล่พิศ moon จรูญกล้า
หมู่ star ล้อมรอบขอบบุหรัน
I did not see you อยู่หลายวัน
เชิญจอมขวัญตอบ letter อย่าเผลอเลย

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง