เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 19096 ยศและตำแหน่งขุนนางบางท่านในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 09:44

ขอบคุณมากค่ะคุณ V_Mee
ลอกลงใน word โดยฉับพลัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 09:44

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน "พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน" มีความว่า
 
ส่วนที่เป็นทหารรักษาพระองค์นั้น คือกรมพระตำรวจ ๘ กรม กรมพลพัน กรมทนายเลือก กรมคู่ชัก กรมทหารใน กรมเหล่านี้เป็นทหารรักษาพระองค์ ต้องนอนประจำเวรในพระบรมมหาราชวัง เมื่อมีที่เสด็จพระราชดำเนินทางบกทางเรือ ในการสงครามหรือในการประพาสก็เป็นพนักงานที่จะแห่ห้อมล้อมประจำการในที่ใกล้เคียงพระองค์ จนที่สุดเวลาเสด็จออกท้องพระโรง กรมเหล่านี้ต้องเข้าเฝ้าก่อนขุนนางกรมอื่น ๆ เป็นผู้ซึ่งจะมีอาวุธเข้ามาในท้องพระโรงได้พวกเดียว
 
กรมพระตำรวจ ๘ กรมนั้น ได้แก่กรมตำรวจใหญ่ซ้ายขวา กรมตำรวจในซ้ายขวา กรมตำรวจนอกซ้ายขวา กรมตำรวจช่างทหารใน กรมตำรวจสนมทหารซ้าย ทุกกรมมีเจ้ากรม ปลัดกรม จ่า และนายเวร ขุนหมื่น รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี ส่วนพลตำรวจนั้นก็แบ่งเวรกันเข้าประจำการเป็นผลัด ๆ
 
โดยเฉพาะกรมพระตำรวจใหญ่ขวาได้บังคับบัญชากรมฝีพายมาแต่เดิมด้วย เมื่อมีราชการอันใด ซึ่งเป็นทางใกล้ก็ดีหรือไปในหัวเมืองไกลก็ดี เมื่อจะต้องมีข้าหลวงออกไปด้วยข้อราชการนั้น ๆ ก็ใช้กรมพระตำรวจโดยมาก เพราะฉะนั้นแม้ว่ากรมพระตำรวจแบ่งอยู่ในฝ่ายทหาร แต่ก็มิได้เกี่ยวข้องกับกรมพระกลาโหมเลยแต่เดิมมา ทั้งมีข้อห้ามมิให้เสนาบดีผู้ใดผู้หนึ่งขอให้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้ากรมปลัดกรมพระตำรวจ ต้องแล้วแต่พระเจ้าแผ่นดินจะทรงตั้งได้พระองค์เดียว บรรดาพระราชอาญาทั้งปวงซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะลงโทษแก่ผู้หนึ่งผู้ใดย่อมใช้กรมพระตำรวจทั้งสิ้น จึงมิได้ให้กรมพระตำรวจอยู่ในบังคับผู้ใด ฟังคำสั่งจากพระเจ้าแผ่นดินโดยตรงแห่งเดียว
 
แต่กรมรักษาพระองค์นั้น ประจำรักษาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเมื่อมีที่เสด็จไปแห่งใดคล้ายกันกับตำรวจ แต่เมื่อถึงที่ประทับหรือเมื่อประจำอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เป็นผู้รักษาชั้นในใกล้เคียงชิดพระเจ้าแผ่นดินกว่ากรมพระตำรวจอีก เป็นผู้ซึ่งใช้ราชการได้ตลอดถึงพระบรมมหาราชวังชั้นในในการบางสิ่ง นับว่าเป็นผู้ใกล้ชิดชั้นที่สองรองจากชาวที่ซึ่งอยู่ในฝ่ายพลเรือนลงมา แต่ไม่ได้เป็นผู้พิจารณาความศาลรับสั่ง เป็นพนักงานการซึ่งจะเป็นที่สำราญพระราชหฤทัยต่าง ๆ มีพนักงานรักษาต้นไม้เลี้ยงสัตว์เป็นต้น เป็นนายด้านทำการในพระบรมมหาราชวังปนกันไปกับกรมวัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 10:33

กรมพระตำรวจมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่อย่างองค์รักษ์หรือ Body Guard คอยหมอบกราบอยู่หน้าพระราขบังลังก์ชั้นนอกถัดจากชั้นมหาดเล็ก ป้องกันไม่ให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้ามาถึงองค์พระมหากษัตริย์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตำแหน่งพระตำรวจไม่มีการแต่งตั้งมีแต่ตำแหน่งมหาดเล็กรักษาพระองค์ และเริ่มปรากฎในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้เริ่มมีตำแหน่งพระตำรวจ กำหนดยศบรรดาศักดิ์ดังนี้

นายจ่าห้าวยุทธการ กรมพระตำรวจในขวา

นายจ่าหาญยุทธกิจ กรมพระตำรวจในซ้าย

นายจ่าผลาญอริยพิศม์ กรมพระตำรวจใหญ่ขวา

นายจ่าแผลงฤทธิรอญราญ กรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย

นายจ่าแรง กรมพระตำรวจนอกขวา

นายจ่าเร่ง กรมพระตำรวจนอกซ้าย
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 22:14

นายจ่าแรง กรมพระตำรวจนอกขวา

นายจ่าเร่ง กรมพระตำรวจนอกซ้าย

เสริมออกขุนอีกนิดหน่อย

จ่าแรงรับราชการ กรมพระตำรวจนอกขวา
จ่าเร่งงานรัดรุด กรมพระตำรวจนอกซ้าย

ปล. ไม่เคยเห็นโบราณท่านเรียกว่า "นายจ่า" เลย ท่านเรียก "จ่า" เท่านั้นนะขอรับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 06:19

นอกจากจะได้รายละเอียดประกอบประวัติบรรพชนของคุณหน่าแล้ว   ทำท่าว่าจะได้นิยายอิงประวัติศาสตร์เล่มใหม่ขึ้นมาสักเรื่องหนึ่งด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 07:15

ยศ "จ่า" มีใช้ทั้งในกรมมหาดเล็ก กมพระตำรวจ และกรมราชเลขาธิการ
แต่ก็เห็นท่านผู้ใหญ่ท่านออกนามประดาจ่าทั้งหลายกันแต่ "จ่า"
เช่น จ่าห้าวยุทธการ  ก็ออกนามกันสั้นๆ ว่า "จ่าห้าส"
จ่าเร่ง  มาจากนาม จ่าเร่งงานรัดรุด
มีอยู่ท่านหนึ่งเป็นจ่าเหมือนกัน  แต่ท่านไม่นิยมให้ออกนามท่านว่า จ่าดำริห์งานประจง
ซึ่งมียศเป็นหุมแพรพิเศษ เทียบเท่านายพันตรี  ท่านว่าเรียกจ่าแล้วเหมือนจ่าตำรวจ
ท่านจึงนิยมให้ออกชื่อท่านว่า นายประจวบ  จันทรเสวี
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 07:19

ขออนุญาตแปะภาพประกอบเรื่อง ภาพไม่ชัดเนื่องจากใช้วิธีถ่ายด้วยกล้องจากหนังสือครับ



บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 08:54

ยศ "จ่า" มีใช้ทั้งในกรมมหาดเล็ก กมพระตำรวจ และกรมราชเลขาธิการ
แต่ก็เห็นท่านผู้ใหญ่ท่านออกนามประดาจ่าทั้งหลายกันแต่ "จ่า"
เช่น จ่าห้าวยุทธการ  ก็ออกนามกันสั้นๆ ว่า "จ่าห้าส"
จ่าเร่ง  มาจากนาม จ่าเร่งงานรัดรุด
มีอยู่ท่านหนึ่งเป็นจ่าเหมือนกัน  แต่ท่านไม่นิยมให้ออกนามท่านว่า จ่าดำริห์งานประจง
ซึ่งมียศเป็นหุมแพรพิเศษ เทียบเท่านายพันตรี  ท่านว่าเรียกจ่าแล้วเหมือนจ่าตำรวจ
ท่านจึงนิยมให้ออกชื่อท่านว่า นายประจวบ  จันทรเสวี

"จ่า" ที่มีตำแหน่งอยู่ในกรมต่างๆ นั้น ถึงบรรดาศักดิ์เหมือนกัน แต่ฐานะไม่เท่ากัน

ในกรมมหาดเล็ก เช่น จ่าเรศ จ่ารง จ่ายง จ่ายวด มียศเป็น "เสวกตรี" ตำแหน่งจ่าเวรมหาดเล็ก

ในกรมวัง เช่น จ่าโชนเชิดประทีปใน จ่าช่วงไฟประทีปวัง มียศเป็น "รองเสวกเอก" ตำแหน่งจ่ากรมวังขวา-ซ้าย

ในกรมพระตำรวจ เช่น จ่าห้าวยุทธการ จ่าหาญยุทธกิจ มียศเป็น "นายตำรวจโท" ตำแหน่งจ่ากรมพระตำรวจ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 09:26

กรมพระตำรวจมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่อย่างองค์รักษ์หรือ Body Guard คอยหมอบกราบอยู่หน้าพระราขบังลังก์ชั้นนอกถัดจากชั้นมหาดเล็ก ป้องกันไม่ให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้ามาถึงองค์พระมหากษัตริย์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตำแหน่งพระตำรวจไม่มีการแต่งตั้งมีแต่ตำแหน่งมหาดเล็กรักษาพระองค์ และเริ่มปรากฎในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้เริ่มมีตำแหน่งพระตำรวจ กำหนดยศบรรดาศักดิ์ดังนี้

นายจ่าห้าวยุทธการ กรมพระตำรวจในขวา

นายจ่าหาญยุทธกิจ กรมพระตำรวจในซ้าย

นายจ่าผลาญอริยพิศม์ กรมพระตำรวจใหญ่ขวา

นายจ่าแผลงฤทธิรอญราญ กรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย

นายจ่าแรง กรมพระตำรวจนอกขวา

นายจ่าเร่ง กรมพระตำรวจนอกซ้าย

นายจ่าแรง กรมพระตำรวจนอกขวา

นายจ่าเร่ง กรมพระตำรวจนอกซ้าย

เสริมออกขุนอีกนิดหน่อย

จ่าแรงรับราชการ กรมพระตำรวจนอกขวา
จ่าเร่งงานรัดรุด กรมพระตำรวจนอกซ้าย

ปล. ไม่เคยเห็นโบราณท่านเรียกว่า "นายจ่า" เลย ท่านเรียก "จ่า" เท่านั้นนะขอรับ  ยิงฟันยิ้ม

บรรดาศักดิ์ข้าราชการในกรมพระตำรวจ ชั้น "จ่า" นั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
ออกพระราชบัญญัติประกาศ ตั้งบรรดาศักดิ์ขุนนางชั้น จ่า ในกรมพระตำรวจ จำนวน  ๑๔  ตำแหน่ง
เมื่อปีฉลูเบญจศก  ๑๒๑๕  ดังนี้

ตำแหน่งจ่าจางวางกรมพระตำรวจ  จำนวน  ๒ ตำแหน่ง  คือ
จ่าจางวางในกรมพระตำรวจขวา  จ่าชำนิทั่วด้าน  
จ่าจางวางในกรมพระตำรวจซ้าย  จ่าชำนาญทั่วด้าว

ตำแหน่งจ่าเจ้ากรมพระตำรวจ  จำนวน ๘ ตำแหน่ง  (เฉพาะที่ไม่มีวงเล็บ)คือ
จ่าห้าวยุทธการ  ศักดินา ๖๐๐ ไร่  อยู่กรมพระตำรวจในขวา ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าฤทธิพิไชย   ศักดินา  ๓๐๐ ไร่  อยู่กรมพระตำรวจในขวา ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าหาญยุทธกิจ  ศักดินา ๖๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจในซ้าย ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่ารณวิชิต  ศักดินา  ๓๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจในซ้าย ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าผลาญอริพิศม์  ศักดินา ๖๐๐ ไร่  อยู่กรมพระตำรวจใหญ่ขวา ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าใจสุระแกว่น  ศักดินา  ๓๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจใหญ่ขวา ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าแผลงฤทธิรอนราญ ศักดินา ๖๐๐ ไร่  อยู่กรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย  ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าจิตรสรไกร  ศักดินา  ๓๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย  ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าแรงรับราชการ  ศักดินา  ๖๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจนอกขวา  ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าแล่นผจญผลาญ  ศักดินา ๓๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจนอกขวา  ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าเร่งงานรัดรุด  ศักดินา ๖๐๐ ไร่  อยู่กรมพระตำรวจนอกซ้าย  ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าไล่พลแสน  ศักดินา ๓๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจนอกซ้าย  ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าเขม็งสัตริยาวุธ  ศักดินา ๖๐๐ ไร่  อยู่กรมพระตำรวจสนมทหารขวา ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าการประกอบกิจ  ศักดินา  ๓๐๐  ไร่ อยู่กรมพระตำรวจสนมทหารขวา ฝ่ายพระราชวังบวร)

จ่าเขม้นสรยุทธ์ยิ่ง  ศักดินา  ๖๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจสนมทหารซ้าย ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
(จ่าแกว่นประกวดงาน  ศักดินา  ๓๐๐  ไร่  อยู่กรมพระตำรวจสนมทหารซ้าย ฝ่ายพระราชวังบวร)

ตำแหน่งจ่าตำรวจหลัง  จำนวน  ๒ ตำแหน่ง  คือ
จ่าเผ่นผยองยิ่ง ขวา   และ  จ่าโผนวิ่งชิงไชย  ซ้าย

ตำแหน่งจ่าตำรวจวัง  จำนวน  ๒  ตำแหน่ง  คือ
จ่าโชติประทีปใน ขวา  และ  จ่าช่วงไฟประทีปวัง ซ้าย

ตำแหน่งจ่ากรมพระตำรวจเหล่านี้  คนทั่วไปมักเรียกกันว่า  นายจ่า  
เช่นเดียวกันกับขุนนางชั้น จ่า ในกรมมหาดเล็ก  อย่าง  นายจ่าเรศ  นายจ่ารง  เป็นต้น  
ทั้งนี้เป็นเพราะจ่าเหล่านี้ มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชากำลังคนในกรม
ส่วนใครที่ไม่เคยเห็นคนโบราณเรียกว่า นายจ่า  ก็ขอให้ไปอ่านหนังสือนายกุหลาบ
และหนังสือราชการเก่าๆ มีปรากฏให้เห็นดาษดื่น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 16 ก.ค. 12, 08:55

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (ทองดี)

ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (ทองดี) ได้เป็นเสนาบดีจตุสดม์กรมวัง บ้านเดิมบางลำเจียก ในคลองบางกอกใหญ่ ครับผม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง