เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 19098 ยศและตำแหน่งขุนนางบางท่านในอดีต
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 22:22

สะกดก็แบบโบราณที่คุณเพ็ญชมพูมาเห็นคงอยากจะแก้ให้ถูกต้องตามรอยอินเสียทุกบรรทัด    
ความจริงมีอยู่ว่าเอกสารนี้เขียนขึ้นก่อนราชบัณฑิตยสถานจะถือกำเนิดมา  เลยไม่มีใครบอกได้ว่าสะกดแบบไหนถึงจะถูก

คงไม่ถึงกับอย่างนั้นหรอก

ถึงแม้ปัจจุบันนี้ก็เถอะ มีหลายคำที่ยังไม่เห็นด้วยกับท่านรอยอิน

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 05:03



        ยังไม่สามารถจับตัวบุคคลวางลงในตำแหน่งได้ค่ะ

นึกถึง หลวงอัคคีพินาศ    จำได้ว่าท่านพาลูกน้องไปดับไฟ  โดยมี ถ้งตักน้ำ เชือก และ ตะกร้อ เอาไว้รื้อหลังคาสะกัดไฟ

ตะกร้อใช้เกี่ยวและดึง          เวลาไฟไหม้เจ้านายฝ่ายหน้าก็เสด็จออกมาและใช้สอยผู้คนของท่านเข้าร่วมปฎิบัติการดับไฟพร้อมกัน


        เอกสารที่พอจะเกี่ยว ๆ อยู่บ้าง มี

ทำเนียบนาม ภาคที่ ๒  พิมพ์ครั้งที่สาม ๒๕๑๑

และ  ทำเนียบข้าราชการวังหลัง   พิมพ์ครั้งที่ สี่   ๒๕๑๑


       
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 05:20

คัดมาจากกระทู้ พี่น้องของนางตรุศ มารดาของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เห็นว่ามีกล่าวถึงพระอรรคีพินาศ


Wandee:


ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะที่เอื้อเฟื้ออยู่เสมอ ๆ

สำหรับคุณหลวงเล็กที่นับถืออย่างยิ่ง      ต้องไปค้นที่เกวียนของ ก.ศ.ร.  หาเรื่องการทำงานของนายสิน หรือ พระยาสมุทรบุรารักษ์มานำเสนอ
คงพอจะอ่านได้

สยามประเภทเล่ม ๔  เล่าไว้ยืดยาว  จึงขอย่อตอนท้ายไว้ดังนี้
พระยาสมุทรบุรารักษ์และท่านผู้หญิงปริก  มีบุตร ๑๕ คน

บิดาของท่านผู้หญิงปริกชื่อ กุหลาบ  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง  ได้เป็นหลวงพิพิธสมบัติ  แล้วเลื่อนเป็นพระนเรนทรรักษา
ปลัดจางวางกรมรักษาพระองค์ซ้าย
เป็นพระอัคคีพินาศ จางวางกรมพลพัน(ตำรวจหลัง)

มารดาของพระอัคคีพินาศ คือ พระนมน้อย  พระนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้ถวายกษิธาราต่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าด้วย

เรื่องนี้ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ที่ต้องตามเก็บ    สนุกดี   

ถ้านายกุหลาบไม่พิมพ์หนังสือ ขาดทุนเป็นหนักหนา  เพราะตามเก็บสตางค์ไม่ได้  ก็คงมีฐานะที่มั่นคงน้อง ๆ  นายสิน

ลืมบอกไปค่ะคุณหลวง   นายสินท่านถือแบบฝรั่ง คือมีภรรยาคนเดียว

และจากเรื่องประวัติตำรจดับเพลิง
งานป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับประเทศไทย ได้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ในรัชสมัยพระราชาธิราช ประมาณ พ.ศ. 2057 – 2071 ได้จัดให้มีหมู่เวรยามรักษาการณ์ระวังภัย มีทั้งการสอดแนมระวังผู้ที่มารุกราน การก่อวินาศกรรม และวางเพลิงเผาเมือง ประจักษ์พยานที่เห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือ การตั้งหอกลอง ขึ้นภายในกำแพงพระนคร สูงประมาณ 1 เส้น หอกลองที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น มีอยู่ 3 ชนิด คือ


1. กองมหาฤกษ์ ใช้ตีเมื่อเวลามีข้าศึกหรือเกิดจลาจล มีขบถขึ้นกลางเมือง
2. กลองพระมหาระงับดับเพลิง ใช้ตีเมื่อเวลาไฟไหม้ในกำแพงเมืองให้ตี 3 รา ไหม้นอกกำแพงเมืองพนักงานจะตีกลองเป็นจังหวะสม่ำเสมอไปจนกว่าไฟจะดับ
3. กลองพระทีพาราตรี ใช้ตีบอกเวลาย่ำรุ่งและย่ำค่ำ
 กลองทั้ง 3 ชนิดนี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนเสียใหม่เป็นกลองนำพระสุริยศรี กลองอัคคีพินาศ และกลองพิฆาตไพรี  เพิ่งมาเลิกใช้กลองในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 05:43

หลังจากไล่ต้อนไก่กลับเข้าเล้าไปแล้ว ก็ขอออกมาขอบคุณท่านทั้งหลายที่ทยอยกันเข้ามาร่วมมืออย่างดียิ่ง

ตำแหน่งหน้าที่ของพระอรรคคีพินาจ (อัคคีพินาศ) เห็นจะรับผิดชอบเรื่องดับเพลิง   ไม่ใช่ดูแลรักษาปืนไฟอย่างดิฉันนึกตอนแรก
แต่เหตุใดพระอรรคคีพินาจจึงมาเป็นเจ้ากรมพระแสงต้น  ไม่ใช่จางวางกรมพลพัน(ตำรวจหลัง)  นึกออกอย่างเดียวคือหน้าที่การงาน

สมัยรัชกาลที่ ๑ อาจจะยังไม่ลงตัวอย่างรัชกาลต่อๆมากระมัง     ตำแหน่งไหนว่างลงกะทันหัน อาจจะไปลงตำแหน่งนั้น  หรือแล้วแต่พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปลงตำแหน่งไหน

ส่วนกรมพระแสงต้น  ดิฉันสงสัยว่าจะพัฒนามาเป็นส่วนหนึ่งของกรมสรรพาวุธทหารบก   ด้วยการรวมกรมแสงสรรพยุทธ กรมแสงต้น กรมแสงปืนโรงใหญ่ กรมกองแก้วจินดา กรมรักษาตึกดิน กองตำดิน 
ข้อนี้แค่สงสัยเฉยๆ  ดูจากชื่อของกรม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 07:53

ขอต่อไปยังตำแหน่งใหม่ของบุคคลในตระกูลนี้ค่ะ  เพื่อจะดูปริศนาในตำแหน่งที่ ๒

ขอผ่านจากท่านทองดีลงไปถึงบุตรของท่าน  มีนามว่า ทองสุข  รับราชการอยู่ในรัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงแต่งตั้งเป็น เจ้ากรมบัญชาการในกรมฝีพายหลวง  มีคำอธิบายขยายความสั้นๆว่า
"ซึ่งก็คือทหารเรือในปัจจุบันนี้"

กรมฝีพายขึ้นอยู่กับกรมพระตำรวจใหญ่ขวา  ข้าราชการกรมนี้มีไว้สำหรับพายเรือพระที่นั่ง พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จทรงเรือเมื่อใด หรือจะมีเรือพระที่นั่งกระบวนเห่เสด็จกี่ลำ ก็มีคนกรมฝีพายเป็นคนพายทั้งสิ้น เจ้ากรมฝีพายเป็นผู้สั่งเรียกคน

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าถึงพวกฝีพายไว้ใน สาส์นสมเด็จ ภาค ๓๙ ตอนหนึ่งว่า

ตามประเพณีมีมาแต่โบราณการเลือกสรรฝีพายเรือพระที่นั่งเพื่อให้ได้คนมีกำลังและไว้ใจได้ จึงใช้คนกำหนดเป็นตำบลคือ บรรดาคนในตำบลที่กำหนดนั้นงดเว้นราชการอย่างอื่นหมด ให้เป็นแต่ฝีพายเรือหลวงอย่างเดียว เช่น คนในตำบลบ้านผักไห่ และบ้านตาลาน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น และยังมีตำบลอื่นอีกเป็นฝีพายทั้งนั้น

แม้เรือดั้งคู่ชักก็มีฝีพายประจำตำบล ลำ ๑ ใช้คนบ้านใหม่แขวง จังหวัดอ่างทอง อีกลำ ๑ ใช้คนบ้านโพเรียงในแขวงจังหวัดอ่างทองเหมือนกัน เมื่อใดเรียกระดมฝีพายพวกนายหมวดนายกองต้องเลือกสรรคนฉกรรจ์ที่กำลังล่ำสันส่งเข้ามาให้พอพายเรือหลวง

ฝีพายเรือพระที่นั่งเดิมแต่งตัวนุ่งกางเกงมัสรู่ คาดผ้ากราบ ตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ และมีพระราชกำหนดว่า ถ้าฝีพายต้องรับพระราชอาญาห้ามมิให้เฆี่ยนหลัง เพราะจะทำให้เสียโฉมและมีประเพณีเนื่องต่อออกไป

อีกอย่าง ๑ ถ้าเสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินวัดที่มีเจ้าของ เช่น วัดประยุรวงศาวาส เป็นต้น หรือวัดในหัวเมือง เช่น วัดเฉลิมพระเกียรติใน จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น เจ้าของวัดและเจ้าเมืองย่อมแจกผ้าคาดสีนวลชุบน้ำหอมแก่ฝีพายเรือพระที่นั่ง สำหรับเช็ดเหงื่อและให้ชื่นใจด้วยกลิ่นหอม แล้วคาดผ้าเปียกนั้นไว้กับอกตามนิยมกันในสมัยนั้นพายเรือพระที่นั่งไม่ห้ามปราม

ฝีพายเรือพระที่นั่งได้ใส่เสื้อในรัชกาลที่ ๔ หรือรัชกาลที่ ๕ ไม่แน่ชัด แต่ครั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังเป็นทหารมหาดเล็กเคยไปจอดเรือดูกระบวนพระราชวังบวรวิชัยชาญเสด็จไปทอดผ้ากฐิน ณ วัดสุวรรณารามครั้งหนึ่ง เห็นทรงเรือพระที่นั่งกราบหลังคากัญญาคาดกระแซง ฝีพายยังตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ

เสื้อฝีพายเรือพระที่นั่งนั้นแรกใส่เสื้อกระบอกผ้าขาว มาจนจัดฝีพายเป็นทหารจึงเปลี่ยนเป็นแต่งเครื่องแบบใส่หมวกทรงประพาส เสื้อสักหลาดสีแดงคาดเข็มขัดคันชีพ นุ่งกางเกงดำ แต่ตามจดหมายเหตุเรื่องแห่พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ในรัชกาลที่ ๒ ฝีพายที่ก็ใส่เสื้อ ส่วนฝีพายที่ไม่ใส่เสื้ออาจจอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๓ ก็ได้ เพราะในรัชกาลนี้ไม่โปรดให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า

สำหรับเครื่องแต่งกายของฝีพาย นาวาเอกพระยาศราภัยพิพัฒน์เล่าไว้ในเรื่อง ขบวนเรือพยุหยาตรา ตอนหนึ่งว่า เดิมทีเรือพระที่นั่งขึ้นอยู่กับกรมทหารฝีพายกระทรวงกลาโหม ซึ่งในสมัยนั้นแยกกันอยู่คนละกระทรวงกับทหารเรือ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้โอนเรือพระราชพิธีมาขึ้นกับทหารเรือ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๔ เพื่อเตรียมจัดกระบวนพยุหยาตราในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในเวลานั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไขพิธีการหลายอย่าง ตลอดจนเครื่องแต่งกายฝีพายให้เหมาะกับการสมัยที่ใช้ทหารเรือประจำการ เช่น ฝีพายประจำเรือไชย เรือพระที่นั่งลำทรง เรือพลับพลา เรือพระที่นั่งรอง ซึ่งแต่เดิมนุ่งผ้าโจงกระเบงก็เปลี่ยนมาสวมกางเกงดำ เสื้อแดง หมวกทรงประพาสปิดหู ดาบขัดหลัง รองเท้าดำ สนับแข้งขาว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในระเบียบเรือพระราชพิธีที่กำหนดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้กล่าวถึงพวกฝีพายไว้ว่า พลฝีพายในเรือพระที่นั่งทรงพระที่นั่งรอง และเรือทรงผ้าไตร ๓ ลำนี้ ถ้าหมายกระทรวงวังสั่งให้ข้าราชการแต่งเต็มยศ หรือครึ่งยศรับเสด็จ ฝีพายต้องแต่งกายเต็มยศอย่างทุกวันนี้และใช้พายทองและพายเงิน ถ้าหมายกำหนดให้ข้าราชการแต่งกายปกติรับเสด็จ พลฝีพายเรือ ๓ ลำนี้ จะแต่งกายดำสวมหมวกกลีบลำดวนใช้พายทาน้ำมัน


ปัญหาที่ยังมืดมนสำหรับลูกหลานก็คือ   ไม่รู้ว่าท่านทองสุข เจ้ากรมบัญชาการในกรมฝีพายหลวงนี้ท่านมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่าอะไรค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 08:22

ขอวกกลับไปที่หลวงอรรคคีพินาศ  เจ้ากรมพระแสงต้น อีกสักหน่อย
ผมสงสัยตั้งแต่เมื่อเริ่มกระทู้แล้วว่า  ราชทินนามนี้คงจะคัดหรือจำมาจนคลาดเคลื่อนไป
เนื่องจากราชทินนามกับตำแหน่งหน้าที่ไม่เหมาะสมกัน และไม่เคยมีะรรมเนียมปฏิบัติ
ที่จะข้าราชการฝ่ายศาลตระลาการไปกำกับดูแลกรมอื่น

คุณเทาชมพูมาแก้ไขว่าอ่านเอกสารพลาดไปจึงทำให้ได้ราชทินนามคลาดเคลื่อน
ครั้นได้ราชทินนามที่ถูกต้องแล้ว  ก็ควรวิเคราะห์ต่อไปอีกสักหน่อยว่า
กรมพระแสงต้นนั้น เป็นหน่วยงานที่ดูแลรักษาเครื่องราชูปโภคที่เป็นเครื่องราชศัสตราวุธ
กรมนี้เข้าใจว่าน่าจะสังกัดกรมวัง  กรมพระตำรวจนั้นมีหลายกรมมีชื่อต่างๆ กัน
กรมพระตำรวจนี้คือราชองครักษ์  ข้าราชการในกรมนี้ย่อมเชี่ยวชาญอาวุธ
ถ้าจะมาควบคุมดูแลกรมพระแสงต้นด้วยก็ไม่แปลก   เพราะกรมพระแสงต้นไม่ใช่กรมราชการใหญ่โต
มีข้าราชการในสังกัดไม่มากนัก  ผู้ดูแลรักษาพระแสงต้นควรจะเป็นผู้มีความรู้ด้านอาวุธ
ฉะนั้น  กรมพระตำรวจก็ถือว่าเหมาะแล้วที่จะได้รับหน้าที่นั้น

ข้าราชการกรมพระตำรวจ  เท่าที่เคยเห็นข้อมูลมา  มักจะมาจากพวกข้าราชการมหาดเล็กมาก่อน
อนึ่ง  ข้าราชการกรมพระตำรวจนั้น  นอกจากมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยถวายอารักขาพระเจ้าแผ่นดิน
และดูแลความเรียบร้อยเขตพระราชฐานแล้ว  ยังมีหน้าที่อื่นๆ อีก เช่น  ดับไฟในเวลาที่เกิดไฟไหม้
ในพระนคร  เป็นตระลาการศาลรับสั่ง  เป็นนายด้านสร้างพระเมรุ   สร้างวัด  สร้างพระัที่นั่ง
เป็นแม่ทัพนำไพร่พลไปปราบอั้งยี่  โจร  หรือผู้ก่อการกบฏตามหัวเมือง  และอื่นๆ อีกมากมาย
ตามแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสั่งให้ไปปฏิบัติ  
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 09:20

ข้าพเจ้าก็เห็นคล้อยตามคารมคุณหลวงเล็ก ... หามิได้....หากแต่ความคิดในเบื้องต้นมีความคิดคล้ายกันคือ เจ้ากรมแสง สังกัดวัง ควรจะดูแลเกี่ยวกับเครื่องศาสตราวุธทั้งหลาย ซึ่งก็มีอยู่หลายเล่ม

ทั้งนี้ "อรรคคีพินาจ" หรือ อัคคีพินาจ ก็ยังชวนให้นึำถึงไฟไหม้พระที่่นั่งอัมรินทราภิเษกมหาปราสาท ที่ต้องสายฟ้าฟาดไหม้ไปทั้งหลัง บรรดาข้าราชการต่างรุดกันช่วยดับไฟ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 09:30



เสื้อฝีพายเรือพระที่นั่งนั้นแรกใส่เสื้อกระบอกผ้าขาว มาจนจัดฝีพายเป็นทหารจึงเปลี่ยนเป็นแต่งเครื่องแบบใส่หมวกทรงประพาส เสื้อสักหลาดสีแดงคาดเข็มขัดคันชีพ นุ่งกางเกงดำ แต่ตามจดหมายเหตุเรื่องแห่พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ในรัชกาลที่ ๒ ฝีพายที่ก็ใส่เสื้อ ส่วนฝีพายที่ไม่ใส่เสื้ออาจจอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๓ ก็ได้ เพราะในรัชกาลนี้ไม่โปรดให้สวมเสื้อเข้าเฝ้า


การแต่งกายของฝีพายในกระบวนเสด็จทอดผ้าพระกฐิน ถ่ายโดยจอห์น ทอมป์สัน ฝีพายใส่เสื้อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 09:35

ภาพวาดในสมัยรัชกาลที่ ๓ วาดโดยนักธรรมชาติวิทยา ฟินเลสัน เขียนภาพขบวนพยุหยาตราแห่งสยาม ยังคงวาดให้เห็นฝีพายสวมเสื้อพื้นแดง คาดเข็มขัด สวมหมวก

ภาพจากงานฉลองความสัมพันธ์ไทย-อังกฤษ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 09:43

ภาพวาดฝีพายหัวเรือรูปสัตว์ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ฝีพายไม่สวมเสื้อ มีผ้าพันคอผูกไว้เท่านั้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 09:47

ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังในรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 11:33

ท่านอาจารย์ใหญ่ให้ข้อมูลเพิ่มเรื่องบุตรท่านทองดีที่ชื่อท่านทองศุข  ได้เป็นเจ้ากรมบัญชาการในกรมฝีพายหลวง  ในรัชกาลที่ ๒ เช่นนี้
พอจะจับเค้าได้ว่า หลวงอรรคคีพินาจ (ทอองดี) คงจะมีตำแหน่งราชการในกรมพระตำรวจเป็นแน่
เพราะในอดีตนั้นเมื่อบุตรหลานข้าราชการคนใดได้บวชเรียนรู้หนังสือแล้ว  ถ้าเป็นบุตรขุนนางหรือผู้มีตำแหน่งราชการ
ก็มักจะนำถวายตัวแล้วจัดเข้ารับราชการอยู่กับบิดา  เพื่อเรียนรู้วิชาจากบิดา  ตัวอย่างในเรื่องนี้ที่เห็นได้ชัดคือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ นั้นทรงบัญชาการกรมพระคชบาลรวมทั้งกรมช่างสิบหมู่
เมื่อพระโอรสคือ หม่อมเจ้าขจรซึ่งต่อมาเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ทรงเจริญพระชันษาก็ได้โปรด
ให้เข้ารับราชการในกรมพระคชบาลและกรมช่างสิบหมู่จนได้ทรงบัญชาการทั้งสองกรมนั้นต่อมา  ถึงรุ่นถัดมาคือ
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม  มาลากุล) ก็ได้บัญชาการกรมพระคชบาลและเป็นอธิบดีกรมศิลปากรสืบต่อมา
ทั้งยังพบพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๖ ที่โปรดให้เจ้าพระยาธรรมาฯ รับตัว ม.ร.ว.โป๊ะ  มาลากุล (พระยาชาติเดชอุดม)
ผู้เป็นน้องชายซึ่งเวลานั้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชย์มาฝึกหัดราชการกรมพระคชบาลและงานช่างสิบหมู่
เพื่อสืบทอดวิชาของสายราชสกุลนี้มิให้สิ้นสูญ

การที่หลวงอรรคคีพินาจมีตำแหน่งในราชการกรมพระตำรวจแล้วไปเป็นเจ้ากรมพระแสงต้นอีกตำแหน่งก็อาจเป็นได้
แต่การที่ราชทินนามเป็นของกรมพระตำรวจนั้น  อาจจะเป็นไปได้ว่าเมื่อย้ายไปเป็นเจ้ากรมพระแสงต้นนั้นยังไม่ทันได้รับ
พระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามตามตำแหน่งใหม่  แล้วท่านเกิดเสียชีวิตไปก่อน  ดังเช่น หลวงอนุภาณสิศยานุสรรค์ (เรื่อ  หงสกุล)
ซึ่งกระทรวงธรรมการกราบบังคมทูลขอพระราชทานเลื่อนเป็นพระอนุภาณสิศยานุสรรค์  และพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
แต่ยังมิทันส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน  คุณหลวงอนุภาณฯ เกิดเสียชีวิตเพราะไข้ไทฟอยด์เสียก่อน  ก็เลยคงเป็นแค่คุณหลวงฯ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 11:53

กรมพระแสงต้น

มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคที่เป็นศัสตราวุธ เช่น พระแสงดาบ พระแสงหอก พระแสงปืน

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เชิญพระแสงต่างๆ ตามเสด็จพระราชดำเนินที่ต่างๆ ด้วยตั้งแต่สมัยอดีตถึงปัจจุบัน

อย่างเมื่อคราวพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เสด็จเลียบมณฑลพายัพ

ก็มีพนักงานพระแสงตามเสด็จด้วย เช่นเดียวกับกรมวัง หรือมหาดเล็ก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:04

กรมพระแสงต้น

มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคที่เป็นศัสตราวุธ เช่น พระแสงดาบ พระแสงหอก พระแสงปืน

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เชิญพระแสงต่างๆ ตามเสด็จพระราชดำเนินที่ต่างๆ ด้วยตั้งแต่สมัยอดีตถึงปัจจุบัน

อย่างเมื่อคราวพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เสด็จเลียบมณฑลพายัพ

ก็มีพนักงานพระแสงตามเสด็จด้วย เช่นเดียวกับกรมวัง หรือมหาดเล็ก

กรมพระแสงต้น  ดูแลรักษาพระแสงศัสตราวุธ ตลอดจนควบคุมดูแลการเบิกและคืนพระแสงต่างๆ
จากมหาดเล็กและข้าราชการกรมวัง

การเชิญพระแสงต่างๆ ในกระบวนเสด็จนั้น  เป็นหน้าที่มหาดเล็กมาแต่เดิม
ดังปรากฏหน้าที่ในตำราหน้าที่มหาดเล็กของเก่า  ต่อมาภายหลังจึงได้ให้ข้าราชการกรมวัง
ปฏิบัติหน้าที่

อนึ่ง พนักงานเชิญพระแสงตามเสด็จนั้น  ฝ่ายหน้าผู้เชิญคือมหาดเล็ก  และมีระเบียบวางไว้ว่า

"ถ้าจะถวายเครื่องแลพระแสง  ให้ผู้น้อยส่งผู้ใหญ่ถวาย  อย่าให้ผู้น้อยล่วงผู้ใหญ่ขึ้นไปถวาย
ถ้าจะเชิญเครื่องแลพระแสง แลรับต่อพระหัตถ์ก็ดี  ให้จบศีรษะเอางานเสียก่อน
จึ่งถวายพระแสงถวายเครื่องรับเครื่องเชิญเครื่อง   พระแสงแลเครื่อง ถึงลับพระที่นั่งให้เอางานก่อนจึ่งเชิญ
ถ้าเชิญพระแสงเข้ามาถวายแลตามเสด็จ  อย่าให้กลับคมกลับปลายพระแสงเข้ามาต่อพระที่นั่ง
ถ้าจะเชิญพระแสงดาบ พระแสงกระบี่ตามเสด็จ  ให้เชิญสองมือ ให้คมลงไว้ข้างบ่า
อย่าให้ถือมือเดียวพาดบ่าดุจแบกดาบขุนนาง   ถ้าจะเชิญเครื่องแลตามเสด็จในท้องพระโรง
แลที่เสด็จออกปูเสื่อปูพรม ให้คุกเข่าคลานอย่าให้เดิน...

"อนึ่ง  พระแสงง้าวทอดที่ข้างใน แลพระแสงกระบี่  พระแสงดาบทรงอยู่ที่ข้างในนั้น
เดือนหนึ่งสองเดือน  ให้หัวหมื่นนายเวรจ่าหุ้มแพร เชิญพระแสงคู่ผลัดเข้าไปกราบบังคมทูล
พระกรุณาผลัดออกมาชำระ...

"ถ้าแต่งพระบรรทมแลที่เสด็จออกพระตำหนักพลับพลาแห่งใดๆ นั้น 
มหาดเล็กพนักงานเชิญพระแสงง้าวล่วงไปทอดที่  ถ้าเสด็จทอดพระเนตรเสือนั้น
พระแสงหอกบั้งถอดฝักไว้  พระแสงง้าวถอดกัลเม็ดไว้

"อนึ่ง  ถ้าเสด็จไปประพาส  ถ้าแลทรงประพาสให้มหาดเล้กคอยรับพระแสงกระบี่
พระแสงดาบทรง  ครั้นทรงรัดพระองค์แล้วจึ่งถวายพระกั้นหยั่น  ต่อทรงเครื่องต้นพระมาลาฝรั่งแล้ว 
จึ่งถวายพระแสงดาบเชลยแล................................................(ขี้เกียจคัดต่อ)



ต่อมา  ระเบียบการเชิญพระแสงได้มีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกมาก  ผู้ใคร่รู้ไปหาอ่านเอาเถิด
(จะไปถามท่านผู้อาวุโสก็ได้นะ เผื่อท่านจะใจดีอธิบายให้ฟัง ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:16



มีหนังสืออีกเล่มหนึ่งค่ะ  ชื่อ  ประกาศ ตั้ง  ย้าย  เปลี่ยน  เสนาบดี  ผู้รั้ง  ผู้แทน  และรองเสนาบดี

(ตั้งแต้ พ.ศ. ๒๔๓๕ -  ๒๔๖๙)

พระยาราชพินิจฉัย  (อุไทยวรรณ  อมาตยกุล )  รวบรวมจากราชกิจจานุเบกษา
 

 เมษายน  พ.ศ. ๒๕๗๐   พิมพ์ที่โรงพิมพ์ โสภณพิพรรณธนากร   ตำบลถนนราชบพิธ   จังหวัดพระนคร

 ยังค้นไม่เจอเรื่องที่พวกเรากำลังหาอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.171 วินาที กับ 20 คำสั่ง