เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 19097 ยศและตำแหน่งขุนนางบางท่านในอดีต
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 10 ก.ค. 12, 05:43

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา  มีงานชุมนุมลูกหลานในสกุลหนึ่ง บำเพ็ญกุศลประจำปีให้บรรพบุรุษ  ในงานนี้มีบุคคลที่เป็นแกนกลางในการจัดงาน  ขอเรียกชื่อเล่นๆว่า "คุณหน่า" ตั้งใจจะทำหนังสือรวบรวมประวัติสกุลบรรพชนฝ่ายมารดาของเธอ พร้อมทั้งสาแหรกว่าใครเป็นลูกเต้าเหล่าใคร  เรียงลำดับกันใหม่จากที่ญาติๆ เคยทำกันมาครั้งหนึ่งประมาณสามสิบกว่าปีมาแล้ว  เพราะตอนนี้สมาชิกหนุ่มสาวและลูกเล็กเด็กแดงก็เพิ่มมากขึ้นอีกหลายสิบคน    สมควรจะชำระกันใหม่เสียที    

คุณหน่าขอร้องให้ดิฉันร่วมมือเขียนประวัติของสกุลเธอให้หน่อย     กะว่าจะพิมพ์หนังสือแจกทันปีหน้า    ดิฉันก็รับปาก     ล่วงเลยมาจนบัดนี้เราสองคนก็ต่างมีงานยุ่งจนไม่ได้เจอหน้ากันอีก    นึกขึ้นมาได้ ถึงเดือนก.ค.แล้ว   ถ้าไม่ลงมือทำอะไรลงไปเสียเดี๋ยวนี้ นึกได้อีกทีคงถึงเมษายนปีหน้าพอดี

ดิฉันก็ไปเปิดหนังสือประวัติ ซึ่งลอกจากของเก่า ที่คุณหน่าส่งมาให้    พบว่ามีข้อติดขัดบางอย่างที่สมาชิกเรือนไทยน่าจะช่วยเหลือได้ อย่างตำแหน่งขุนนางบางตำแหน่งในประวัติ ที่ดิฉันไม่มีรายละเอียด
ถ้าช่วยได้ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง    
หนังสือเสร็จเป็นเล่มเมื่อไร  จะขอคุณหน่ามาจำนวนหนึ่ง   มอบให้ท่านที่เข้ามาช่วยเหลือในกระทู้นี้ท่านละ ๑ เล่ม ทุกท่าน  เป็นการตอบแทนน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน

ขอเริ่มเล่าในกระทู้เลยนะคะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 05:56

ตามหลักฐานที่บันทึกไว้    ต้นสกุลนี้ย้อนหลังไปได้ถึงสมัยปลายอยุธยา   แต่เพิ่งจะมีรายละเอียดให้บันทึกได้ก็เมื่อถึงสมัยธนบุรี   บรรพบุรุษคนแรกที่เป็นขุนนางมีนามเดิมว่า "ทองดี"   ท่านทองดีได้ติดตามเจ้าพระยาจักรีไปทำศึกที่พิษณุโลก ในคราวศึกอะแซหวุ่นกี้   ตอนนั้นยังเป็นสามัญชนไม่มีบรรดาศักดิ์
ต่อมาเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านทองดีเป็น หลวงอรรถคดีพินาจ  เจ้ากรมพระแสงต้น

กรมพระแสงต้น สังกัด วัง   ในรายชื่อทำเนียบขุนนางวังหลวง คุณ Art47 ระบุไว้ว่า

ขุนสำเรจพระขรรค  } เจ้ากรมพระแสงต้น ขวา  }                              นาคล ๘๐๐
นสรรพาวุทธ                                 ซ้าย
หมื่นทิพสุคนธ  } ปลัดกรมแสงต้น ขวา  }                                     นาคล ๖๐๐
หมื่นทณะเทพ                      ซ้าย
หมื่นช่างในกรม พนักงานพระแสงต้น                                            นา ๒๐๐
นายพกำนันพระแสงต้น                                                          นาคล ๒๐๐
เลวในกรมพระแสงต้น                                                           นาคล ๕๐

หลวงอรรถคดีพินาจ จะเป็นเจ้ากรมพระแสงต้นได้หรือไม่  หรือว่าเป็นเจ้ากรมอื่น  ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 06:04

คำถามต่อไปคือบทบาทหน้าที่ของกรมพระแสงต้น

พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง  ในกฎหมายตราสามดวง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถระบุตำแหน่งของขุนนางและหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอาวุธไว้ คือกรมแสงสรรพยุทธ กรมแสงต้น กรมแสงปืนโรงใหญ่ กรมกองแก้วจินดา กรมรักษาตึกดิน กองตำดิน ฯลฯ เป็นต้น
มีชื่อขุนนางตามนี้

ขุนสำเร็จพระขรรค  เจ้ากรมแสงต้น ขวา              นาคล ๘๐๐
ขุนสรรพาวุทธ      เจ้ากรมแสงต้น ซ้าย              นาคล ๘๐๐

ขุนช่างปืนในกรม ๓ คน                                นา ๓๐๐
หมื่นช่างในกรม ๕ คน                                 นา ๒๐๐
หัวสิบในกรมช่างปืน ๒๙ คน                          นา ๕๐
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 08:39

กรมพระแสงต้นคงมีหน้าที่เกี่ยวกับอาวุธ ไม่เข้ากับชื่อราชทินนามของหลวงอรรถคดีพินาจเลย

ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเห็นจะเป็น "ยกกระบัตร"

ยกกระบัตร (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 09:08

ในสมัยต้นกรุง (ร.๑-๔) ตำแหน่งยกกระบัตร ในบาดหมายราชการท่านจะเขียนไว้ว่า "หลวงยกกระบัตร"
น้อยนักที่จะบอกราชทินนามยกกระบัตรเมืองนั้นๆ

อย่างมาก็บอกเพียง "หลวงยกกระบัตร (ด้วง) เมืองราชบุรี" ดังนี้

เช่นเดียวกับ "พระยานครไชยศรี" "พระปลัดเมืองเพชรบุรี"




ราชทินนามนาม "หลวงอรรถ" มีส่วนที่จะเป็นตำแหน่งยกกระบัตรได้

แต่ส่วนมากจะเริ่มใช้ในช่วงรัชกาลที่ ๖-๗ ที่จะพระราชทานราชทินนามแก่อัยการประจำจังหวัดต่างๆ เป็นชุดๆ คล้องจองกัน

ซึ่งก่อนหน้านั้น ยังไม่เคยเห็นมากนัก  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 09:58

ยกระบัตร เป็นชื่อตำแหน่งหน้าที่  ไม่ใช่ราชทินนาม หรือบรรดาศักดิ์
ยกระบัตรเป็นตำแหน่งราชการหัวเมืองที่สำคัญ มีหน้าที่หลายอย่างซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมายตราสามดวง
ยกระบัตรเท่าที่เคยเห็นมา  มีชั้นบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ขุนขึ้นไปจนถึงพระ
ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งยกระบัตรมักต้องผ่านการรับราชการมหาดเล็กมาแทบทั้งนั้น
เพราะต้องมาเรียนรู้ราชการและธรรมเนียมปฏิบัติจากส่วนกลางเมื่อมีความรู้แล้วเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้
ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งมหาดเล็กเหล่านั้นไปรับราชการเป็นยกระบัตรหัวเมืองตามความเหมาะสม
ด้วยเหตุนี้ บรรดาตระกูลเจ้าเมืองจึงมักส่งลูกหลานมาเป็นมหาดเล็กเรียนรู้ราชการในส่วนกลาง
เพื่อที่จะได้ไต่ขึ้นไปเจ้าเมืองหรือกรมการเมืองที่ตระกูลนั้นปกครองอยู่ต่อไป

หลวงอรรถคดีพินาจ  เจ้ากรมพระแสงต้น  พิจารราตามชื่อบรรดาศักดิ์ กับ ชื่อตำแหน่งดูขัดๆ กันพิกล
ราชทินนามดูน่าจะอยู่กรมลูกขุน หรือนั่งศาลกรมต่างๆ แต่นี่มาเป็นเจ้ากรมพระแสงต้น สังกัดกรมวัง คงมีเหตุผลบางอย่าง
ชะรอยว่า  เมื่อต้นรัชกาล  ข้าราชการขุนนางยังมีตัวไม่พอกับตำแหน่งราชการ  จึงได้ทรงแต่งตั้งให้
ข้าราชการบางคนกำกับดูแลราชการมากกว่า ๑ ตำแหน่งไปจนกว่าจะหาคนมากินตำแหน่งได้

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 10:42


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านทองดีเป็น หลวงอรรถคดีพินาจ  เจ้ากรมพระแสงต้น



ยังติดใจอยู่ที่ราชทินนาม "หลวงอรรถคดีพินาจ"

"พินาจ" จักแปลว่าอะไรได้บ้าง

"พินาศ" หรือไม่

ถ้าใช่ "อรรถคดีพินาศ" - "ความคดีสูญสิ้นไป" ก็เข้าท่าเข้าทางอยู่ที่จะไปกินตำแหน่งในลูกขุน ณ ศาลหลวง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 11:03


        เอกสารประวัติสกุลทั้งหลายจะบันทึกเฉพาะลูกชายที่รับราชการ  หรือ ธิดาที่สมรสกับขุนนางเท่านั้น

มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ๒ เล่มใหญ่จะเป็นรายละเอียดของสกุลบุนนาค  ๑ เล่ม และสกุลฝ่ายจีน(เล่มนี้ไม่เคยอ่านค่ะ) ๑ เล่ม


        ได้ตรวจพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑  ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขำ  บุนนาค)

เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย  และข้าหลวงเดิมทั้งปวง    มีแต่จมื่นศรีสรลักษณ์  ที่นามเดิมทองดี   ต่อมาได้เป็นธรรมา


        การตรวจสอบบุคคลนั้น    ควรรู้จักสกุลต่าง ๆที่เกี่ยวพันด้วย  

ขอเรียนว่าได้พยายามหารายละเอียดของ สกุลชูโต  ที่เกี่ยวข้องกับบุนนาคอยู่     ติดขัดที่จุดนี้นานมาก   เพิ่งไปเจอในหนังสืออนุสรณ์  

ลำดับเครือญาติในสกุลสุนทรวาสี และ ณ มหาชัย ที่  พระยานรนาถภักดี(ปุย  บุนนาค) เรียบเรียง

เรื่องเครือญาตินี้     จะเห็นได้ว่าสกุลใหญ่ ๆ นั้นจะสมรสข้ามตระกูลกันไปมา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 11:15

       ได้ตรวจพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑  ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขำ  บุนนาค)

เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย  และข้าหลวงเดิมทั้งปวง    มีแต่จมื่นศรีสรลักษณ์  ที่นามเดิมทองดี   ต่อมาได้เป็นธรรมา

คุณวิกกี้ ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี) ต้นสกุลธรรมสโรช นามเดิมว่า ทองดี เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยชั้นเดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระยาพิพัฒน์โกษาและได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าพระยาธรรมากรณาธิบดี เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวังคนที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 21:12

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาช่วยเหลือในกระทู้นี้ค่ะ
ขอตอบเป็นข้อๆดีกว่า
๑  สงสัยเหมือนกันว่า อรรถคดีพินาจ แปลว่าอะไร    เชื่อว่าไม่ใช่ พินาศ  เพราะอะไรที่เหมาะจะพินาศเห็นทีจะไม่ใช่สิ่งดี    นึกออกตอนนี้คือราชทินนามปัจจนึกพินาศ    ถ้าอรรถคดีพินาศไปคุณหลวงเจ้ากรมเห็นทีจะโดนโทษหนัก  เพราะแปลว่างานการเจ๊งหมด
    ก็เลยนึกถึงคำว่า พินิจ ขึ้นมา   สมัยต้นรัตนโกสินทร์การเขียนสะกดคำฝีมืออาลักษณ์ยังลักลั่นกันอยู่มาก    เป็นได้ว่า พินิจ อาจกลายเป็น พินัจ แล้วยาวออกไปเป็น พินาจ     ถ้าพิจารณาความหมาย  อรรถคดีพินิจก็นับว่ามีความหมายลงตัวดี
    อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำนี้ยังไม่ยุติ   ขอเชิญวิเคราะห์ตีความกันต่อไปตามสะดวก

๒  สงสัยว่าเป็นไปได้อย่างคุณหลวงเล็กว่า  คือสมัยรัชกาลที่ ๑  ตำแหน่งงานอาจจะมากกว่าอัตราคน   อาจเกิดจากคนน้อยกว่างาน เพราะเพิ่งสถาปนาอาณาจักรใหม่  ต้องแต่งตั้งคนใหม่มาแทนคนเก่าในอาณาจักรเก่าที่ถูกปลดกันไป ยังตั้งได้ไม่ครบ 
หรือว่ารบทัพจับศึกกันไม่เว้นว่าง  ขุนนางไปตายในสนามรบกันเยอะ   ที่รอดกลับมาทำงานต่อในเมืองหลวงก็อาจต้องควบสองตำแหน่งบ้างก็ได้     
     ความเป็นไปได้อีกอย่างคือย้ายมากินตำแหน่งใหม่ แต่คงราชทินนามเก่า   เพราะบรรดาศักดิ์เดิมสูงกว่าอยู่แล้ว   เช่นในกรณีนี้ คุณหลวงอรรถคดีอาจมากินตำแหน่งเจ้ากรมพระแสงต้น ในขณะที่เจ้ากรมพระแสงต้นแต่เดิมเป็นแค่ขุน   จะเลื่อนหลวงลงไปเป็นขุนก็ไม่ได้   เลยคงไว้เป็นคุณหลวงตามเดิม
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 21:17

ชื่อคนไทยสมัยก่อนซ้ำกันมาก   จนน่าปวดหัวถ้าหากว่ารู้แต่เพียงชื่อเดิมและบรรดาศักดิ์   โดยไม่รู้เทือกเถาเหล่ากอมากกว่านั้น
ท่านทองดีในกระทู้นี้ไม่ได้นามสกุลธรรมสโรชค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 21:28

หนังสือเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลที่ ๑ มีเจ้าพระยาธรรมา ๓ ท่านคือ

เจ้าพระยาธรรมา บุญรอด (วังหลวง) สิ้นในรัชกาลที่ ๒

เจ้าพระยาธรรมา ทองดี (วังหลวง) สิ้นในรัชกาลที่ ๑
 
เจ้าพระยาธรรมา สด (วังหน้า) สิ้นในรัชกาลที่ ๒
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 21:50

ตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ต้องรู้เรื่องชาววังมาพอสมควร ดังเช่น  เมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑ มีหน้าที่กล่าวทูลถวายคือ

"ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย พระมหามณเฑียรปราสาทราชนิเวศน์มหาสถาน พระราเชนทราชยาน ทั้งเครื่องสูงเฉลิมพระเกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระบรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว"

ในการรบที่ทวาย รัชกาลที่ ๑ พร้อมด้วยวังหน้า เสด็จออกรบที่เมืองทวาย ปรากฎตำแห่ง "พระยาธรรมา (ทองดี)" เป็นผู้รักษาพระนคร ร่วมกับกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระยาพลเทพ (ปิ่น) พระยาเพ็ชรพิไชย พระยามหาธิราช
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 22:02

สังกัดกรมวัง

พระยาธรรมาธิกรณ์ (ทองดี) รับราชการในพระองค์ได้เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ เมื่อปราบดาภิเษก แล้วเลื่อนเป็นพระยาพิพัฒนโกษา แล้งจึงได้เป็นพระยาธรรมาธิกรณ์ อสัญกรรมในรัชกาลที่ ๑
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 22:06

เกิดความผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย    ขออภัยท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งด้วย

ย้อนกลับไปอ่านเอกสารซึ่งถ่ายจากตัวพิมพ์รุ่นโบราณ  หน้าตาเหมือนตัวพิมพ์ดีดโบราณ (แต่อาจเป็นตัวหล่อตะกั่วก็ได้) อ่านยาก     สะกดก็แบบโบราณที่คุณเพ็ญชมพูมาเห็นคงอยากจะแก้ให้ถูกต้องตามรอยอินเสียทุกบรรทัด    
ความจริงมีอยู่ว่าเอกสารนี้เขียนขึ้นก่อนราชบัณฑิตยสถานจะถือกำเนิดมา  เลยไม่มีใครบอกได้ว่าสะกดแบบไหนถึงจะถูก

ราชทินนามของคุณหลวงทองดีนั้น ไม่ใช่อรรถคดีพินาจ    แต่เป็น  อรรคคีพินาจ เจ้ากรมพระแสงต้น
อรรคคีพินาจ = อัคคีพินาศ
หน้าที่ของท่านน่าจะเกี่ยวกับ
๑  ปืนไฟ   ถ้าหากว่าเป็นเจ้ากรมพระแสงต้นละก็   ฮืม  ฮืม
๒  ดับไฟ    ฮืม  ฮืม

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง