เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 19094 ยศและตำแหน่งขุนนางบางท่านในอดีต
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:22

ข้าพเจ้าก็เห็นคล้อยตามคารมคุณหลวงเล็ก ... หามิได้....หากแต่ความคิดในเบื้องต้นมีความคิดคล้ายกันคือ เจ้ากรมแสง สังกัดวัง ควรจะดูแลเกี่ยวกับเครื่องศาสตราวุธทั้งหลาย ซึ่งก็มีอยู่หลายเล่ม

ทั้งนี้ "อรรคคีพินาจ" หรือ อัคคีพินาจ ก็ยังชวนให้นึำถึงไฟไหม้พระที่่นั่งอัมรินทราภิเษกมหาปราสาท ที่ต้องสายฟ้าฟาดไหม้ไปทั้งหลัง บรรดาข้าราชการต่างรุดกันช่วยดับไฟ

กรมพระแสงต้นนั้นดูแลแต่เครื่องศัสตราวุธที่เป็นเครื่องราชูปโภค  ไม่ได้ดูแลเครื่องศัสตราวุธทั่วไป
ซึ่งหากเป็นเครื่องศัสตราวุธทั่วไปที่ใช้ในราชการสงครามหรือราชการในการเฝ้าระวังความปลอดภัย
จะมีหน่วยราชการกรมอื่นดูแล คือ กรมพระคลังแสงสรรพยุทธ เข้าใจว่าแต่เดิมน่าจะมีกรมนี้
ทั้งฝ่ายมหาดไทยและฝ่ายพระกระลาโหม  กรมท่ามีหรือเปล่าไม่แน่ใจ

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว  กรมพระตำรวจนั้น  ทำราชการได้หลากหลาย ไม่เฉพาะรักษาความปลอดภัยถวายพระเจ้าแผ่นดิน
การดับเพลิงไม่ว่าในหรือนอกกำแพงพระบรมมหาราชวัง  ก็เป็นกิจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยเช่นกัน
ราชทินนาม อรรคคีพินาจ ย่อมบ่งบอกหน้าที่ดังกล่าวได้  แต่ที่มาว่าราชการกำกับกรมพระแสงต้น
เข้าใจว่า  เจ้ากรมคนก่อนคงจะวายชนม์กระทันหัน  จึงโปรดเกล้าฯ ให้คุณหลวงว่าที่แทนไปก่อน
แต่คงยังไม่ได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนราชทินนามใหม่ให้เข้ากับหน้าที่   คุณหลวงอาจจะถึงแก่กรรมไปก่อนก็เป็นได้

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:22

พระแสง ศาสตราวุธ ในรัชกาลที่ ๑

ทวนทอง ลูกแก้วลงยาราชาวดี มีพู่จามรี

เสโล่ห์ถม

พระแสงของ้าว แสนพลพ่าย

พระแสงดาบเชลย

พระแสงดาบหน้ามนุษย์

พระแสงขอพก ฝักทองคำ

พระแสงทวน

พระแสงกั้นหยั่งฝังเพชรซีก

พระแสงหอก ทวนกะไหล่ด้ามถม

พระแสงหอก ทวนลงยาใบเทศ ด้ามไม้ไผ่
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:28



มีหนังสืออีกเล่มหนึ่งค่ะ  ชื่อ  ประกาศ ตั้ง  ย้าย  เปลี่ยน  เสนาบดี  ผู้รั้ง  ผู้แทน  และรองเสนาบดี

(ตั้งแต้ พ.ศ. ๒๔๓๕ -  ๒๔๖๙)

พระยาราชพินิจฉัย  (อุไทยวรรณ  อมาตยกุล )  รวบรวมจากราชกิจจานุเบกษา
 

 เมษายน  พ.ศ. ๒๕๗๐   พิมพ์ที่โรงพิมพ์ โสภณพิพรรณธนากร   ตำบลถนนราชบพิธ   จังหวัดพระนคร

 ยังค้นไม่เจอเรื่องที่พวกเรากำลังหาอยู่ค่ะ

แหม  เล่มนี้ท่าจะดีนักนะคุณวันดี  เข้าใจว่าเล่มไม่หนาเท่าใด
นี่ก็เพิ่งไปได้หนังสืองานศพนายอุไทยวรรน  อมาตยกุล มา  (ท่านลาออกจากบรรดาศักดิ์)
ประวัติของท่านก็น่าสนใจดี  แต่อาจจะไม่ระทึกใจเท่าบิดา  
คุณวันดีคงได้อ่านมาเสียจนจำได้ทุกช่องไฟอักษรแล้วกระมัง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 15:35


มี ๒๒๐  หน้าค่ะ       กระดาษดีมาก  ไม่กรอบ

มีหน้าว่าง ๖๐ หน้าให้เจ้าของบันทึกเองด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 06:48

กรมฝีพายหลวง เข้าใจว่าสังกัดวัง   ไม่แน่ใจว่าเรียก "กรมฝีพาย" เฉยๆ ในบางแห่งหรือไม่
ถ้าหากว่าได้ชื่อเจ้ากรมมา ก็เป็นอันได้คำตอบถึงบรรดาศักดิ์ของท่านทองสุขค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 06:52

มีผู้อยู่ในสกุลนี้อีกท่านหนึ่ง   ได้ประวัติมาแล้ว  จึงไม่ขอลงซ้ำในกระทู้นี้
ในประวัติ ระบุตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณราชการว่า ปลัดบาญชี กระทรวงกระลาโหม
มีใครพอทราบตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมบ้างไหมคะ ว่า ปลัดบาญชีที่ว่าตรงกับตำแหน่งอะไรในสมัยนี้   น่าจะเป็นตำแหน่งใหญ่พอสมควร   เพราะก่อนหน้านี้เป็นเจ้ากรม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 09:02

ตำแหน่งปลัดบาญชีนั้น  ตำแหน่งนี่อย่างน้อยๆ ต้องเป็นพระยาเพราะเป็นผู้ถือหรือคุมบัญชีเลกไพร่กำลังพลสังกัดกรมพระกลาโหมทั้งหมด 
เทียบกับตำแหน่งเจ้ากรมพระสุรัสวดี ผู้มีหน้าที่เกณฑ์และสักเลกไพร่ทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว  คงจะอยู่ในระนาบเดียวกันหรือสูงขึ้นไปอีกชั้น
ถ้าเทียบกับปัจจุบันน่าจะเป็นตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกำลังสำรองหรือเดิมเรียกว่ากรมการรักษาดินแดน  ที่เคยมีผู้รู้เทียบว่า
เป็นแม่ทัพภาคที่ ๕ เลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 09:26

ปลัดบาญชี กระทรวงกลาโหมนั้น ต้องดูว่าเป็นในช่วงสมัยใดครับ

เพราะทำหน้าที่แตกต่างกันมากเลยทีเดียว

อย่างก่อนการปฏิรูประบบราชการของพระพุทธเจ้าหลวง
ตำแหน่งปลัดบาญชีในสมัยนั้น จะใช้อยู่แต่กรมใหญ่เท่านั้น เช่น มหาดไทย กลาโหม ถ้าเป็นกรมเล็ก ก็ใช้ สมุห์บัญชี
หน้าที่ก็ตรงตามชื่อ คือเรื่องควบคุมบัญชีกำลังเลกในสังกัด ว่าอยู่ครบจำนวนหรือไม่
เพื่อในทันสมัยต่อการเกณฑ์ใช้งานในยามทัพศึกหรือยามสงบ
(อย่างปลัดบาญชีกลาโหม ก็จะดูแลจำนวนเลกของกลาโหมอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับกรมอื่นๆ)

พอสมัยตั้งเป็นกรมยุทธนาธิการ ถ้าจำไม่ผิดจะเปลี่ยนเป็นเรียกว่า "เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการฝ่ายใช้จ่าย"
มีหน้าที่เรื่องเงินๆ ทองๆ
ส่วนการควบคุมกำลังคน ถูกแยกไปตั้งเป็น "กรมสัสดี"

ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ ๖-๗ ก็กลับเป็น "ปลัดบัญชี" มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน

ถ้าในปัจจุบันคงเทียบกับ "เจ้ากรมการเงินทหาร" หรือไม่ก็ "ปลัดบัญชีทหาร" กระมั้งครับ ขึ้นกับกองบัญชาการกองทัพไทย
มียศเป็น "พลโท" ทั้งสองตำแหน่ง
(ถ้าเป็นตำแหน่งในเหล่าทัพทั้งสาม จะเป็น "พลตรี" "พลเรือตรี" "พลอากาศตรี")
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 09:28

ขอบคุณทั้งสองท่าน คุณ V_Mee และคุณ art47 มากค่ะ
เท่าที่ทราบ  ท่านผู้นี้ทำงานอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 09:40

ขอบคุณทั้งสองท่าน คุณ V_Mee และคุณ art47 มากค่ะ
เท่าที่ทราบ  ท่านผู้นี้ทำงานอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๖

เช่นนั้นคงเป็นเจ้าคุณท่านนั้น

ถ้าอาจารย์เทาดูประวัติรับราชการ ก็จะสังเกตว่า ช่วงแรกๆ ท่านรับราชการในกระทรวงพระคลังอยู่แล้ว
ภายหลังจึงย้ายไปรับราชการทางทหาร ก็เกี่ยวกับพัสดุ และเงินทองอยู่เหมือนเดิม จนปลดเกษียณ

แสดงว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินของท่านน่าจะอยู่ในขั้นชำนาญ ไม่เช่นนั้นท่านคงไม่ย้ายไปรับราชการทหาร
เนื่องด้วยในสมัยนั้น องค์เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ท่านต้องการให้ผู้รู้วิชาแขนงต่างๆ เช่น แพทย์ หรือผู้รู้ภาษาต่างประเทศ
(กรมหมื่นพิทยาลาภฯ ท่านก็เคยถูกชักชวนเช่นกัน) ให้ไปรับราชการเป็นทหารจำนวนมาก
เพื่อพัฒนาความสามารถและความเจริญแก่กองทัพบกสยาม

ตัวเจ้าคุณเองอาจจะเข้าข่ายนี้ได้เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 12:45

ถ้าเป็นปลัดบาญชี กระทรวงกลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ ๖  ก็คือเจ้าพนักงานใหญ่ฝ่ายการบัญชีและการเงินของกระทรวงกลาโหม
ซึ่งเวลานั้นกระทรวงกลาโหมบังคับบัญชาราชการฝ่ายทหารบก  ถ้าเทียบปัจจุบันซึ่งยังคงรักษาแบบธรรมเนียมเดิมของกองทัพอยู่
ตำแหน่งนี้ในปัจจุบันจึงตรงกับ ปลัดบัญชีทหารบก ครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 13:36


ถ้าอาจารย์เทาดูประวัติรับราชการ ก็จะสังเกตว่า ช่วงแรกๆ ท่านรับราชการในกระทรวงพระคลังอยู่แล้ว
ภายหลังจึงย้ายไปรับราชการทางทหาร ก็เกี่ยวกับพัสดุ และเงินทองอยู่เหมือนเดิม จนปลดเกษียณ


พนาย  กลับไปดูรายละเอียดประวัติเจ้าคุณคนนั้นใหม่เถิด
ตอนที่ท่านเริ่มรับราชการ  ท่านรับราชการเป็นทหารมหาดเล็กไม่ใช่หรือ และก็รับราชการอยู่นานราว ๑๒ ปี
แล้วจึงได้ย้ายไปทำราชการที่กรมพระคลังมหาสมบัติ (สมัยนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ)
เมื่อไปอยู่กรมพระคลังมหาสมบัติ/กระทรวงพระคลังมหาสมบัติก็เจริยในหน้าที่ราชการมาโดยลำดับ
ได้ออกไปรับราชการตามหัวเมืองด้วย  จนถึงปี ร,ศ, ๑๒๐  ถึงได้ย้ายโอนไปรับราชการที่ฝ่ายทหาร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 14:24

ขอบคุณท่านทั้งหลายที่ช่วยเหลืออย่างดียิ่งค่ะ
แต่เพื่อประหยัดเวลาของท่าน.  ไม่ให้ถกเถียงกันมากกว่านี้ ขอบอกว่าท่านที่เป็นปลัดบัญชีกลาโหม. ไม่ใช่ท่านที่ทำงานกรมพระคลังมหาสมบัติ
ดิฉันโดดข้ามไปถึงรัชกาลที่ ๖ แล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 06:41

ด้วยความช่วยเหลือของสมาชิกเรือนไทย  ข้อมูลก็ได้เพิ่มมากขึ้นพอสมควร    แจ้งให้คุณหน่าทราบแล้ว เจ้าตัวก็ดีใจมาก
มีคำถามอีกคำถามหนึ่ง
กรมพระตำรวจ กับกรมพระตำรวจใน  แตกต่างกันอย่างไรคะ   
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 08:42

กรมพระตำรวจเป็นกรมใหญ่  มีจางวางกำกับราชการ คือ พระยาอภัยรณฤทธิ์ กับพระยาอนุชิดทะราชา
ต่อมาในตอนต้นรัชกาลที่ ๖ มีจางวางคือ พระยาอภิชิตชาญยุทธ กับพระยาอนุชิตชาญไชย
กรมพระตำรวจแยกย่อยลงไปอีกหลายกรม อาทิ
กรมพระตำรวจใน  ขวา ซ้าย 
กรมพระตำรวจนอก  ขวา  ซ้าย
กรมพระตำรวจใหญ่  ขวา  ซ้าย
และกรมอื่นๆ อีก แต่ประทานโทษจำชื่อไม่ได้ครับ 

ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อกรมพระตำรวจเป็น กรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์
มีสมุหพระตำรวจหลวงรักษษพระองค์มีเกียรติยศเสมอสมุหราชองครักษ์เป็นผู้บังคับบัญชา
กับได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมวังซึ่งมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยในพระราชฐานเป็นกรมตำรวจวัง

กรมพระตำรวจใน ขวา ซ้าย นั้นเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหามนตรีศรีองครักษ์สมุห  กับพระยามหาเทพกษัตรสมุห
เมื่อพูดถึงพระตำรวจใน  กับพระตำรวจนอก  ขอให้นึกถึงสี่พระตำรวจที่สวมหมวกทรงประพาส  เสื้อราชปะแตน  นุ่งโจง
สะพายกระบี่  เดิินนำเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คู่ในคือคู่ที่อยู่ชิดพระองค์  เป็นหน้าที่เจ้ากรมพระตำรวจใน ขวา ซ้าย
ส่วนคู่หน้าที่อยู่นอกสุดคือ เจ้ากรมพระตำรวจนอก ขวา ซ้าย  พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคริก) เล่าไว้ว่า เวลาทรง
พระคชาธาร  สี่พระตำรวจนี้ก็คือ จตุรงคบาท ประจำตำแหน่งสี่เท้าช้าง  เวลาเข้าริ้วกระบวนพยุหยาตรา  เลกไพร่ในกรมพระตำรวจ
ก็ต้องเข้ากระบวนแห่เป็นร้วในริ้วนอกตามตำแหน่ง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง