Wandee
|
หนังสืออนุสรณ์ ที่นักอ่านไม่น่าพลาด
งานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม
วันอังคารที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ดิฉันตามเก็บหนังสืออนุสรณ์โดยบอกกล่าวไปยังดีลเลอร์หนังสือมือสองที่คุ้นเคยกัน ต่อมาก็ได้ติดต่อ
โดยตรงกับเอเย่นต์ของดีลเลอร์ ว่าถ้ามีหนังสืออนุสรณ์ของข้าราชการ นักประพันธ์ ก็โปรดช่วยเก็บไว้ให้ด้วย
เล่มที่มีประวัติ และมีสาแหรกสกุลอยากได้ทุกเล่ม ได้รับความร่วมมืออย่างดีเสมอมา เพราะเอเย่นต์เดินถนนก็รักหนังสือ
เท่าๆกับนักอ่าน ไม่อยากให้หนังสือดี ๆ สูญไป ถ้าเป็นหนังสือเก่าร้อยกว่าปีขึ้นไป ดิฉันก็ยืมอ่านด้วยความชำนาญ
แต่จะยืมกับเจ้าของเท่านั้น ไม่เคยยืมต่อเลยเพราะถือว่าอาจเป็นการบังคับใจผู้ที่ถือหนังสือในขณะนั้น และไม่ยุติธรรมกับเจ้าของตัวจริง
หนังสืออนุสรณ์ของคุณหญิงอมร สีบุญเรือง เป็นหนังสือที่มีค่ามาก เพราะบอกเล่าเรื่องราวที่สำตัญในประวัติศาสตร์ไว้หลายเรื่อง
บางเรื่องดิฉันก็ไม่เคยอ่านพบ
มีเรื่องจีนโนสยามวารศัพท์ที่ค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ขอขอบพระคุณคณะผู้จัดทำเป็นอย่างยิ่ง ที่ประวัติการพิมพ์ของไทยเราจะไม่ขาดตอนไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 07 ก.ค. 12, 12:07
|
|
ขอตัดตอนความสำคัญของหนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ มาเล่าไปก่อนนะคะ สลับกับความทรงจำของคุณหญิงอมร
หน้า ๘๓ - ๘๔ คัดลอกมาอย่างละเอียดเพราะความสำคัญของเรื่อง มิบังอาจจะเขียนขึ้นใหม่หรือย่อความได้
บันทึกของนายทรงขิม สีบุญเรือง เกี่ยวกับ เซียว ฮุดเส็ง สีบุญเรือง
....ผมเกิดในครอบครัวธรรมดา บิดาคือนายเซียว ฮุดเส็ง มารดาชื่อ กิมเหลียง มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน
ชาย ๓ หญิง ๒
ผู้หญิงพี่สาวหัวปีชื่อลม่อมเป็นนักประพันธ์สตรีมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ใช้นามปากกายูปิเตอร์
คนที่สองทรงสิน(ทิดเขียว)
คนที่สามทรงเขียน
ผมเป็นบุตรที่สี่
คนสุดท้องคือนางอมร
ในครอบครัวผมนี้เราอยู่อย่างครอบครัวคนไทยธรรมดา นอกจากบิดาผมแล้ว ไม่มีมีสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่งคนใดพูดจีนได้
ภาษาไทยคือภาษาของเรา บิดาผมไม่เคยส่งภาษาจีนกับพวกเราเลย เพราะพูดไปก็ไม่มีใครรู้เรื่อง
(เรื่องราวของเซียวฮุดเส็ง และโรงพิมพ์ของท่านที่อยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ตอนใต้ติดธนาคารฮ่องกง ไว้เล่ากันในตอนอื่น ๆ นะคะ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 07 ก.ค. 12, 12:31
|
|
(หน้า ๓๗ - ๓๘)
คุณพี่ลม่อมนอกจากจะเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนเซนต์โยเซฟจบจากที่นั่น ยังทำชื่อเสียงให้โรงเรียนไว้มากมาย
นอกจากจะเป็นครูสอนภาษาต่างประเทศที่โรงเรียนราชินีแล้ว เธอยังเป็นข้าหลวงสมเด็จพระพันปีหลวง
เป็นข้าหลวงเรือนนอกซึ่งเรียกกันสมัยนั้น กล่าวคือไม่ได้อยู่ในวังประจำ นอกจากจะมีราชอาคันตุกะหรือแขกต่างประเทศมาเยือน
เธอจะต้องเข้าเฝ้ารับใช้สนองเบื้องพระยุคลบาททุกโอกาส โดยท่านอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี ม.จ. หญิงพิจิตจิระภา
และบางทีก็มี ม.จ.หญิงจันทรนิภา ซึ่งเรียกกันว่าท่านอาจารย์น้อย สมัยนั้นครรู้ภาษาฝรั่งเศสดี ภาษาอังกฤษดี ไม่มีมาก
คุณพี่วาดภาพพระราชวังพญาไทด้วยสีน้ำมันขนาดโตเท่าบานหน้าต่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พร้อมกับถักไหมพรมฉลองพระองค์คลุมขึ้น
ทูลเกล้าสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดปรานมาก ทางโรงเรียนเซ็นโยเซฟได้รับพระราชทานเงินบำรุงปีละ ๓,๐๐๐ บาท
มายกเลิกเงินพระราชทานส่วนพระองค์ไปในสมัยรัชกาลที่ ๗
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 07 ก.ค. 12, 15:48
|
|
ความทรงจำในอดีต
คุณหญิงอมร สีบุญเรือง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เป็นบุตรีสุดท้องของ นายเซียว ฮุดเส็ง และนางเหรียญ สีบุญเรือง
พี่น้องร่วมบิดามารดาคือ
น.ส. ลม่อม สีบุญเรือง
นายทรงเขียน สีบุญเรือง
นายทรงขิม สีบุญเรือง
เจ้าของประวัติ
พี่ชายต่างมารดาคือ นายสิน สีบุญเรือง หรือ ทิดเขียว นักพากย์ภาพยนตร์
บ้านเกิด เราเกิดที่บ้านปากคลองผดุงกรุงเกษมติดกับฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงค์ นายเตี่ยท่านก่อกำแพงกั้น
ระหว่างธนาคารกับบ้านเสียสูงลิ่วและแข็งแรงแน่นหนามาก พูดกันว่าท่านมีลูกสาวถึง ๒ คน พวกเราทุกคนจะต้องเรียน
หนังสืออยู่กับบ้านให้อ่านออกพอเขียนได้ แล้วจะส่งเข้าโรงเรียนคุณพี่ละม่อมได้อยู่ในความอบรมดูแลของคุณย่าและคุณอาเพชร
เมื่อเล็ก ๆ พูดถึงคุณย่า ว่าท่านดุเฉียบขาดยิ่งนัก ท่านสามารถคุมงานและคุมเงินตลอดจนคุมคนงานได้ตลอดมา เมื่อสิ้นบุญคุณก๋ง
ลูก ๆ อยู่ในวัยเล่าเรียนไม่สามารถดำเนินงานได้ คุณย่าเป็นสตรีที่เข้มแข็งสามารถสามารถทำโรงสีไฟต่อไปได้ คุณอาเพชรเล่าว่า
พี่ลม่อมอ่านหนังสือออกได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุเพียง ๔ ขวบเท่านั้น เป็นที่สุดสวาทของคุณย่า แม้จะเป็นหลานผู้หญิงคนแรกแทนที่จะเป็นผู้ชาย
ซึ่งนิยมกันว่าหลานหัวปีควรจะเป็นผู้ชาย
เมื่อครั้งสงครามโลกญี่ปุ่นบุกไทยทรัพย์สินวอดวายไปอย่างเหลือคณานับ โดยเฉพาะห้องสมุดของนายเตี่ย หนังสือจีนเก่าแก่และหนังสือ
ภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษของคุณพี่ลม่อม ซึ่งย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในวงจินตกวีว่าเธอเป็นผู้ทีชื่อเสียงเฟื่องในยุคนั้น เธอได้สะสมไว้เหลือหลาย
หนังสืออันล้ำค่าเหล่านี้ทหารญี่ปุ่นทุบตู้กระจกเอาทำเชื้อเพลิงหุงข้าวหมด เขาว่ามันไม่ได้แตะต้องเครื่องลายครามหรือของมีค่าอื่น ๆ เช่น งาช้าง ฯลฯ
เพื่งหายเมื่อหัวเลี้ยวหัวต่อญี่ปุ่นแพ้จะถอย หรือกำลังถอย สงสัยเป็นฝีมือคนไทยด้วยกันเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 07 ก.ค. 12, 16:10
|
|
คุณหญิงอมร สีบุญเรือน จบการศึกษาจากโรงเรียนเซ็นโยเซฟคอนแวนต์ แผนกฝรั่งเศส และจากหลักสูตรที่เข้มงวดของโรงเรียน
ทำให้คุณหญิงอมรสามารถใช้ภาษาต่างประเทศทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษได้คล่องแคล่ว ท่านจึงเป็นคนที่ทันสมัย ติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ
ในบ้านเมืองของเราและต่างประเทศโดยใกล้ชิด ในสมัยที่ประชาชนคนไทยอยู่ในยุคสวมหมวก ท่านก็เป็นสตรีไทยที่สวมหมวกได้อย่างสวยงาม
และยังได้เปิด "ร้านอมร" บนถนนราชดำเนินจำหน่ายหมวกอีกด้วย
นายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง เป็นเจ้าของกิจการโรงพิมพ์และออกหนังสือพิมพ์รายวันทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาจีน เป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง ๒๓ ปี
ได้แสดงทัศนะต่าง ๆ ในหนังสือพิมพ์ สนับสนุนการปฏิวัติล้มระบบการปกครองของกษัตริย์ราชวงศ์แมนจู จึงทำให้ดร.ซุนยัดเซ็น หัวหน้าคณะก๊กหมิ่งตั๋ง
สนใจในตัวท่านได้เดินทางมาประเทศไทยและพำนักอยู่บ่านท่าน เพื่อรณรงค์ขอความสนัยสนุนของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย
ต่อมาเมื่อคณะจีนกู้ชาติได้ล้มราชวงศ์แมนจู ได้ช่วยกันต่อต้านไล่กองทัพญี่ปุ่นออกจากแผ่นดินจีน นายเซียว ฮุดเส็งได้รับการ
แต่งตั้งจากรัฐบาลจีนประมาณปี ๒๔๗๔ ให้เป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงโพ้นทะเล บุตรชายคือนายทรงขิม สีบุญเรืองได้รับแต่งตั้ง
ให้เป็นนายพลประจำกองทัพจีนด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 07 ก.ค. 12, 16:28
|
|
คุณหญิงอมรสมรสกับพันตรีวิลาศ โอสถานนท์(บุตรพระยาประชากิจกรจักร กับ คุณหญิงนิล)
เมื่อมกราคม ๒๔๗๕ มีบุตรสองคนคือ
นายวิระ สมรสกับ น.ส. อรนุช บุณยประสพ ธิดาของนายอุดมและคุณหญิงแร่ม บุณยประสพ
นายอภิลาศ โอสถานนท์ สมรสกับน.ส. เปรมพันธุ์ เสตสุวรรณ ธิดาของนายสมศักดิ์และนางสงวน เสตสุวรรณ
เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นต้องการจับตัวครอบครัวทางฝ่ายบิดาของคุณหญิงอมร
เคราะห์ดีที่ท่านเซียว ฮุดเส็งได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่พี่ชายสองคนคือคุณทรงเขียน กับคุณทรงขิมต้องหลบหนีไปตามที่ต่าง ๆ คุณทรงขิม
ได้หลบเข้าป้่ไปในประเทศพม่า ส่วนพันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ แม้จะเป็นเพียงเขยของครอบครัว
ก็ถูกฝ่ายญี่ปุ่นยื่นเงื่อนไขให้รัฐบาลปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๔๘๔ (ญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทยเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 08 ก.ค. 12, 07:56
|
|
คุณวิลาศเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษติดต่อกันหลายสมัย คุณหญิงอมรเป็นกรรมการหลายสมาคม ถูกเชิญแสดงลครการกุศล
บ้าง เคยเล่นโขนกับม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมสร้อยระย้า ยุคล ท่านพระองค์ชายใหญ่ คือพระองค์ภาณุฯ และพระองค์ชายกลาง
คือพระองค์เฉลิมพล ฯ ในวันประสูติพระองค์หญิงเฉลิมเขต ฯ พระมารดา ตอนนางอัคคี มเหสีทศกัณฐ์หึงนางมณโฑ ท่านผู้หญิงแผ้วเป็นผู้ฝึกซ้อม
ในบทหึงกระชดกระช้อย รำให้ได้จังหวะ
คุณคึกฤทธิ์เป็นตัวทศกัณฐ์บอกว่าบอกว่า คุณอมรร้องกรี๊ด เปรี๊ยะเข้าหูทุกที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 08 ก.ค. 12, 08:08
|
|
"เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๘ ทางการดำริหาทุนบำรุงโรงพยาบาลโรคปอด เจ้าพระยารามราฆพนำคุณวิลาศกับ
เราเข้าเฝ้าถวายตัว เพื่อจะทำการเลหลังรูปที่ทรงถ่ายเอง ประทับอยู่ ณ ที่นั้นทั้งสามองค์ คือ
ล้นเกล้ารัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระบรมราชชนนี คืนนั้นเราประมูลภาพเล็ก ๆ ทั้ง ๔ ภาพได้เงินมากโขทีเดียวต่อหน้าพระที่นั่ง
เป็นเหตุการณ์มงคลในชีวิตที่มีโอกาสฉลองพระเดชพระคุณ ทั้งได้โดยเสด็จพระราชกุศล มาทราบภายหลังว่าทรงพอ
พระราชฤทัยมาก รับสั่งว่าสนุกจริง ๆ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 08 ก.ค. 12, 13:52
|
|
ความทรงจำในอดีต
คุณหญิงอมร สีบุญเรือง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
เป็นบุตรีสุดท้องของ นายเซียว ฮุดเส็ง และนางเหรียญ สีบุญเรือง
พี่น้องร่วมบิดามารดาคือ
น.ส. ลม่อม สีบุญเรือง
นายทรงเขียน สีบุญเรือง
นายทรงขิม สีบุญเรือง
เจ้าของประวัติ
พี่ชายต่างมารดาคือ นายสิน สีบุญเรือง หรือ ทิดเขียว นักพากย์ภาพยนตร์
บ้านเกิด เราเกิดที่บ้านปากคลองผดุงกรุงเกษมติดกับฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงค์ นายเตี่ยท่านก่อกำแพงกั้น
ระหว่างธนาคารกับบ้านเสียสูงลิ่วและแข็งแรงแน่นหนามาก พูดกันว่าท่านมีลูกสาวถึง ๒ คน พวกเราทุกคนจะต้องเรียน
หนังสืออยู่กับบ้านให้อ่านออกพอเขียนได้ แล้วจะส่งเข้าโรงเรียนคุณพี่ละม่อมได้อยู่ในความอบรมดูแลของคุณย่าและคุณอาเพชร
เมื่อเล็ก ๆ พูดถึงคุณย่า ว่าท่านดุเฉียบขาดยิ่งนัก ท่านสามารถคุมงานและคุมเงินตลอดจนคุมคนงานได้ตลอดมา เมื่อสิ้นบุญคุณก๋ง
ลูก ๆ อยู่ในวัยเล่าเรียนไม่สามารถดำเนินงานได้ คุณย่าเป็นสตรีที่เข้มแข็งสามารถสามารถทำโรงสีไฟต่อไปได้ คุณอาเพชรเล่าว่า
พี่ลม่อมอ่านหนังสือออกได้อย่างคล่องแคล่วตั้งแต่อายุเพียง ๔ ขวบเท่านั้น เป็นที่สุดสวาทของคุณย่า แม้จะเป็นหลานผู้หญิงคนแรกแทนที่จะเป็นผู้ชาย
ซึ่งนิยมกันว่าหลานหัวปีควรจะเป็นผู้ชาย
ขออนุญาตแทรกภาพประกอบ ไปคว้าภาพมาจากกระทู้ "รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก" สอดคล้องกับเนื้อความพอดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 08 ก.ค. 12, 16:34
|
|
ขอบคุณคุณลุงไก่ค่ะ
จำได้เสมอว่าค่ะว่าคุณลุงไก่ชอบอ่านขุนช้างขุนแผนตอนไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 09 ก.ค. 12, 11:03
|
|
เซียว ฮุดเส็ง สีบุญเรือง กับ จีนโนสยามวารศัพท์ และ ผดุงวิทยา
ท่านเป็นเจ้าของและเอดิเตอร์ ใช้นามปากกาว่า ผดุง และ อโยมัยเสตว์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมหากรุณาเมตตาเรียกท่านว่า "ซินแส"
เป็นความตั้งใจของดิฉันที่จะหาข้อมูลของจีนโนสยามวารศัพท์ ที่ได้พิมพ์เป็นภาษาไทยนาน ๑๖ ปี
ที่เวลานี้เหลืออยู่ตามแหล่งค้นคว้าประมาณ ๗ ปี ผดุงวิทยานั้น คณะผู้ค้นคว้าของหนังสืออนุสรณ์แจ้งว่ามีเหลืออยู่เพียง
๖ เล่ม
จีนโนสยามวารศัพท์ มีความสำคัญมากกว่าจะย่นย่อมาลงในกระทู้นี้
ขอขอบพระคุณคณะผู้จัดทำหนังสืออนุสรณ์ของคุณหญิงอมร สีบุญเรือง ที่ได้ชี้ทางไว้อย่างสว่างไสว
การอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน(เว้นเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดราชการ) เป็นเวลา ๗ ปีนั้น จะฝ่าฟันไปเท่าที่มีแรง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
piyasann
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 09 ก.ค. 12, 19:58
|
|
การอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน(เว้นเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดราชการ) เป็นเวลา ๗ ปีนั้น จะฝ่าฟันไปเท่าที่มีแรง
สู้ๆ ครับ เวลาอ่านหนังสือนั้น เวลามัก "ไวเหมือนโกหก" เพราะเพลิดเพลินดีแท้........
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
changnoi
อสุรผัด

ตอบ: 16
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 ส.ค. 12, 01:48
|
|
ไม่ค่อยรู้ว่าใครเป็นใครแต่อ่านตามแล้วเพลิดเพลิน มีจิตนการร่วมมันออกมาเองน่ะ สวยงามเชียวครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 ส.ค. 12, 10:27
|
|
คุณช้างน้อยมีคุณสมบัติของนักอ่านที่ดีค่ะ คือมีจินตนาการ ที่ทำให้เพลิดเพลินเจริญใจ
เซียวฮุดเส็งเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ในวงการหนังสือวงการพิมพ์ของประเทศเราค่ะ การที่ท่านไม่พูดภาษาจีนที่บ้าน
ก็เป็นเรื่องแปลก เรื่องราวของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชก็เป็นเรื่องน่าอ่านน่าจดจำ ไปเห็นที่ไหนก็เก็บมาเล่าต่อ
ให้ครึกครื้น หนังสือเป็นยิ่งกว่าแหล่งความรู้ที่ให้มากกว่าความสุขใจค่ะ เคยวางหนังสือกำลังภายในเป็นตั้ง ๆ ไว้รอบเตียง
ห้ามเคลื่อนย้าย วันก่อนคุยกับสหายที่นับถือเรื่องสามเกลอตอนแข่งขันกินจุ สหายระเบิดหัวเราะดังลั่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 09 พ.ย. 12, 23:11
|
|
สองท่านนี้ ผมไม่ทราบ ช่วยบอกด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|