เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 50268 ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 ต.ค. 12, 20:51

ดิฉันยังคงติดใจเหลือเกินกับคำว่า

"เริ่ด" และ "แซ่บ"  ร้องไห้
ไม่ว่าดิฉันจะเห็นกี่ที ๆ กับ 2 คำนี้ ดิฉันก็มักจะออกเสียงมันว่า
"เหริด" และ "แส็บ" อยู่เสมอเลย
เพราะเวลาออกเสียง เราก็มักจะออกว่า "เริด" "แซบ" อยู่ดี (ออกเสียงเหมือน เลิศ - แนบ)

คุณเพ็ญชมพูอธิบายไปรอบหนึ่งแล้ว     ถ้าคุณ MrMiu ยังปวดหัว  ลองวิธีนี้ไหมคะ  คือ
1  บอกตัวเองว่ามันไม่ได้อ่านว่า "เหริด" และ "แส็บ"แน่นอน  ถ้าอ่านว่า "เหริด" และ "แส็บ" ก็คงเขียนว่า "เหริด" และ "แส็บ" ไปแล้ว
2   มันเขียน เริ่ด และ แซ่บ   ถ้าอยากอ่านให้คุ้นหูตัวเอง เอาไม้เอกออกไป    เหลือ เริด และ แซบ   แต่ออกเสียงให้สั้น ไม่ต้องลากยาว   เท่านั้นพอ
อย่างนี้พอไหวไหมคะ
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 13:44

อา พอไหวค่ะ สรุปคือใส่ไม้เอกให้ออกเสียงสั้นลงหรือคะ

อืม ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 14:19

สิ่งที่ทำให้เสียงสั้นคือ "ไม้ไต่คู้" ซึ่งควรใส่แต่ปัจจุบันไม่สามารถใส่ลงร่วมกับสระบนและเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้

เมื่อใส่ไม้ไต่คู้ ทั้งสองคำก็จะอยู่ในประเภท "อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น" ซึ่งมีสิทธิ์ใช้ไม้เอก ("อักษรต่ำ คำตาย เสียงยาว" หมดสิทธิ์)

คุณมิอุดูตารางประกอบอีกที

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 14:26

โอเค พอจะเข้าใจแล้วค่ะ เรียนตามตรงว่าก็ไม่ค่อยแม่นตารางนี่สักเท่าไรค่ะ

เนื่องจากจริง ๆ แล้ว ลืมไปหมดแล้ว คำเป็นคำตายเอยอะไรเอย

เลิกเรียนมานานมากแล้ว พอไม่ค่อยได้ใช้ก็เลือน ๆ ไปเหมือนกันค่ะ  ร้องไห้


ขอบคุณทั้งสองท่านมาก ๆ เลยอีกครั้งนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 14:59

เลิกเรียนมานานมากแล้ว พอไม่ค่อยได้ใช้ก็เลือน ๆ ไปเหมือนกันค่ะ  ร้องไห้

๏ เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม           ดนตรี
อักขระห้าวันหนี      เนิ่นช้า
สามวันจากนารี                 เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า             อับเศร้าศรีหมอง ฯ

โคลงโลกนิติ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 21 ธ.ค. 12, 00:32

สวัสดีค่ะ วันนี้มีข้อสงสัยมารบกวนค่ะ

ที่หายไปนาน เพราะเวลาทำงานเบียดเบียนเวลาพักผ่อนมากมายจริง ๆ ค่ะ  ร้องไห้

ขออนุญาตเกริ่นว่า ...

งานที่ดิฉันทำ จำเป็นจะต้องอ่านชื่อของผู้คนอยู่ตลอดเวลา

และหลายครั้งมากที่จะเจอคนชื่อที่ใช้ตัวอักษร  " ฐ "


ดิฉันเข้าใจมาโดยตลอดว่า  ฐ ฐาน ออกเสียงว่า ถ ถาน


แต่ตอนนี้โดยส่วนตัวดิฉันชักจะเริ่มสับสนแล้ว ว่ามันออกเสียง ถ หรือ ท แน่

เห็นคนชื่อ "ฐิติมา" ดิฉันก็อ่าน ถิ-ติ-มา
แต่ดูเหมือนคนอื่น ๆ จะอ่าน "ทิ-ติ-มา"

หลายครั้งมากที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ทำให้ตอนนี้ดิฉันเริ่มไม่แน่ใจกับความทรงจำของตัวเองเสียแล้ว  ร้องไห้

รบกวนคุณ ๆ ผู้รู้ รบกวนชี้แนะดิฉันทีค่ะ  ลังเล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 21 ธ.ค. 12, 08:34

ฐ สัณฐาน  ออกเสียง ถ  เป็นอักษรสูงค่ะ
ชื่อ ฐิติมา  ออกเสียงว่า ถิ-ติ-มา  คุณออกเสียงถูกแล้ว    คนอื่นๆออกเสียงผิด    ถ้าออกเสียง ทิ  ต้องสะกดว่า ธิติมา ค่ะ

ว่าแต่เจ้าของชื่อเขาออกเสียงชื่อเขาแบบไหนล่ะคะ?
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 21 ธ.ค. 12, 08:45

ดิฉันมีข้อสงสัย...ขออนุญาติเรียนถามในกระทู้นี้ได้ไหมคะ.....คำว่า เนอะ เห็นคนนิยมใช้เยอะ...ความจริงตามหลักการผันวรรณยุกต์ต้องเขียนคำว่า เน้าะ...แต่ไม่มีคนนิยมเขียน...เห็นในนิคยสารชั้นนำก็ยังใช้คำว่า เนอะ.....เลยอยากถามท่านผู้รู้ว่าควรจะเขียนอย่างไรดีคะ.....เช่น ไปกินข้าวกันเนอะ....คือดิฉันใช้บ่อยเพราะดูเป็นตำที่อ่านแล้วดูอ่อนโยน....แต่ก็ตะหงิดในเรื่องหลักภาษาอยู่ตลอดค่ะ....ขอบคุณมากๆค่ะ.........
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 21 ธ.ค. 12, 09:10

ก่อนอื่นขออนุญาตแก้ไขคำที่เขียนผิด ๒ คำคือ อนุญาติ ที่ถูกคือ อนุญาต  และ ตะหงิด ที่ถูกคือ ตงิด

คำว่า "เน้าะ" ไม่มี  ถ้าเป็นเสียงโทคือ "เน่าะ" และ เสียงตรีคือ "เนาะ"

ทั้ง "เนอะ" และ "เนาะ" ไม่มีในพจนานุกรม แต่มีความหมายเดียวกับ "เน้อ" ท่านรอยอินให้ความหมายไว้ว่าเป็นคําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ

เข้าใจเนอะ เขียนให้ถูกเนาะ ไปก่อนเน้อ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 21 ธ.ค. 12, 16:38

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์...ดิฉันคงต้องเข้าห้องนี้บ่อยๆเสียแล้ว...เขียนผิดไปเยอะเลย..แหะๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 22 ธ.ค. 12, 00:33

ฐ สัณฐาน  ออกเสียง ถ  เป็นอักษรสูงค่ะ
ชื่อ ฐิติมา  ออกเสียงว่า ถิ-ติ-มา  คุณออกเสียงถูกแล้ว    คนอื่นๆออกเสียงผิด    ถ้าออกเสียง ทิ  ต้องสะกดว่า ธิติมา ค่ะ

ว่าแต่เจ้าของชื่อเขาออกเสียงชื่อเขาแบบไหนล่ะคะ?


ขอบคุณมาก ๆ นะคะ ที่ช่วยยืนยันความจำดิฉัน ว่าดิฉันจำถูกต้องแล้ว  เจ๋ง

เจ้าของชื่อเขาไม่ได้ออกเสียงให้ดิฉันฟังหรอกค่ะ แต่เขาก็ไม่ได้ค้านอะไรกับที่ดิฉันออกเสียงว่า ถิ-ติ-มา

วันนี้ดิฉันก็เจอคนชื่อ " ฐิติรัตน์ " ดิฉันก็อ่านเหมือนเดิมค่ะ  ถิ-ติ-รัด เขาก็ไม่ได้ค้านอะไรค่ะ

 อายจัง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 22 ธ.ค. 12, 05:33

ก่อนอื่นขออนุญาตแก้ไขคำที่เขียนผิด ๒ คำคือ อนุญาติ ที่ถูกคือ อนุญาต  และ ตะหงิด ที่ถูกคือ ตงิด

คำว่า "เน้าะ" ไม่มี  ถ้าเป็นเสียงโทคือ "เน่าะ" และ เสียงตรีคือ "เนาะ"

ทั้ง "เนอะ" และ "เนาะ" ไม่มีในพจนานุกรม แต่มีความหมายเดียวกับ "เน้อ" ท่านรอยอินให้ความหมายไว้ว่าเป็นคําทอดเสียงลงท้ายบอกให้รู้ เช่น ขนมเน้อ ไปก่อนเน้อ

เข้าใจเนอะ เขียนให้ถูกเนาะ ไปก่อนเน้อ

 ยิงฟันยิ้ม

คำ "เนาะ" และ "เนอะ" คงใช้เป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนกระมังครับ ท่านรอยอินจึงไม่บันทึกไว้
บันทึกการเข้า
warisa
อสุรผัด
*
ตอบ: 30


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 22 ธ.ค. 12, 17:21

...ดิฉันก็คิดว่าเป็นภาษาพูดค่ะคุณลุงไก่(ขออนุญาตเรียกคุณลุงนะคะ)...ดิฉันเห็นบ่อยเวลาเพื่อนสนทนากันในเฟ๊ซบุ๊ค(เขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่าคะ ยิ้ม)บางคนเขียน"เนาะ"..บางคนเขียน"เนอะ" ก็เลยสงสัยมาตลอดว่าควรจะเขียนอย่างไงให้ถูกต้อง..เช่น สินค้าชนิดนี้แพงจริงๆเนอะหรือเนาะ.....
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 22 ธ.ค. 12, 20:14

คำ "เนาะ" และ "เนอะ" คงใช้เป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนกระมังครับ ท่านรอยอินจึงไม่บันทึกไว้

ตามปรกติท่านรอยอินท่านก็บันทึกภาษาพูดไว้ด้วย ท่านเรียกว่า "ภาษาปาก" ตัวอย่างเช่น

เชย  ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมาเฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา;  (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 22 ธ.ค. 12, 20:29

ดิฉันเห็นบ่อยเวลาเพื่อนสนทนากันในเฟ๊ซบุ๊ค(เขียนแบบนี้ถูกหรือเปล่าคะ ยิ้ม)

ตาม หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ของราชบัณฑิตยสถาน

facebook = เฟซบุ๊ก

f = ฟ, ce = ซ, b = บ, k (เมื่อเป็นตัวสะกด) = ก

การเขียนคำทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้

คำว่า เฟซ จึงไม่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ แต่หากจะใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เพื่อให้ออกเสียงตรี ไม่ใช่ไม้ตรี - เฟ๊ซ แต่ควรเป็นไม้โท - เฟ้ซ

คำว่า บุ๊ก ที่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เนื่องจากอยู่ในหลักเกณฑ์ยกเว้น คือหากไม่มีไม้ตรีจะทำให้เกิดความสับสนกับคำไทยคือ บุก

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง