เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 50366 ขออนุญาตสอบถามข้อสงสัย ในคำภาษาไทย :)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 07:38

ค่ะ  ออกเสียงโท จริงด้วย
เผลอไป  ถ้าเสียงตรี ต้อง คะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 09:47

ก่อนจะพูดถึงคำว่า "แว่บ" ขอนำเสนอตารางนี้ให้ลองศึกษาไปพลาง ๆ ก่อน



มีระบุเสียงของคำว่า "ค่ะ" และ "คะ" ไว้ด้วย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 11:38

๑  แว่บ( หรือแวบ) ไม่ได้ออกเสียงว่า แหวบ   ไม่ว่าคำหลังนี้จะแปลว่าอะไรก็ตาม   ถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่า แวบ
๒ 
อ้างถึง
แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ
    ผิดค่ะ   คำตาย เสียงสั้น ไม่ใช้วรรณยุกต์เอก 
    ในที่นี้ควรอธิบายว่า  อักษรต่ำคำตาย (สะกดด้วยแม่ กก กด กบ) ออกเสียงเป็นโทในตัว  ไม่ต้องผันด้วยไม้เอก    เช่น แซก ไม่ใช่ แซ่ก   แลก ไม่ใช่แล่ก   
    ถ้าหากว่าจะทำให้คำตายนั้นเป็นเสียงเอก มี ๒ วิธี คือ
    ๑ ถ้าเป็นอักษรต่ำที่มีอักษรสูงเป็นเสียงคู่ เช่น ข-ค  ส-ซ  ห-ฮ     ต้องเขียนอักษรสูงแทน  เช่น แซบ จะออกเสียงเป็นเอก  ต้องเขียนว่า แสบ   คบ  ออกเสียงเป็นเอก สะกดว่า ขบ   ฮก ออกเสียงเป็นเอก คือ หก
    ๒  ถ้าเป็นอักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูง เป็นเสียงคู่ เช่น ตัว ว  น  ร ล  ฯลฯ   จะออกเสียงเอก ต้องใช้ ห นำ 
    วาด  ออกเสียงเอก เป็นหวาด   แลบ  ออกเสียงเอก เป็น แหลบ   ริบ  ออกเสียงเอก เป็น หริบ

ปัญหาเรื่องคำว่า "แว่บ"  เป็นกรณีเดียวกับคำว่า "แร่ด" และ "แซ่บ" ซึ่งได้เคยพูดถึงแล้วในกระทู้ "ขออนุญาตแก้คำที่สะกดผิด"

ถ้างั้นก็ควรมีคำที่ออกเสียงสั้นกว่าเสียงปกติ  สะกดต่างกัน เช่นคำว่า  ปะ-ป่ะ    อะ-อ่ะ   แรด-แร่ด  ฯลฯ

คำว่า แรด-แร่ด แซบ-แซ่บ กับ ปะ-ป่ะ อะ-อ่ะ   เป็นคนละกรณีกัน

แรด-แร่ด แซบ-แซ่บ เป็นเรื่องที่ไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้  ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ งง

ลองอ่านบทความเรื่อง ตำแหน่งของไม้ไต่คู้ (๒) โดยอาจารย์นิตยา กาญจนะวรรณ เช่นกัน

ไม้ไต่คู้ อักขระตัวแรกที่ค้นพบใน พ.ศ.๒๐๐๐ ดูเหมือนว่าจะเป็นอักขระที่อยู่คู่กับภาษาไทยมาอย่างยืนยงที่สุด เพราะในปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ และคำว่า ก็ ก็ยังคงเป็นคำพิเศษคำเดียวในภาษาไทยที่เขียนในลักษณะนี้

อย่างไรก็ตาม การใช้ไม้ไต่คู้ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปมิใช่น้อย เมื่อ ดร.นันทนา ด่านวิวัฒน์ ได้ค้นพบว่า ไม้ไต่คู้ ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดจุฬามณี พ.ศ.๒๒๓๐ มีหน้าที่ ทำให้สระเสียงยาวในพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์กลายเป็นเสียงสั้น นั้น อาจจะเป็นเพราะว่าในขณะนั้นยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นในสมัยหลัง และถึงแม้ว่าจะมีหน้าที่บังคับให้เสียงสั้นลงในทำนองเดียวกับไม้ตรี ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ประถม ก กา แต่ตำแหน่งของไม้ไต่คู้กลับถูกจำกัดลงไป ดังนี้

๑. ในอดีตทั้งไม้ไต่คู้และไม้ตรีปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ แต่ในปัจจุบันไม้ไต่คู้ไม่สามารถปรากฏอยู่เหนือสระบนได้ ดังที่ปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๙๑)

๒. ในอดีตไม้ไต่คู้สามารถปรากฏร่วมกับเครื่องหมายวรรณยุกต์ ได้ แต่ในปัจจุบันปรากฏร่วมไม่ได้ ดังปรากฏในเอกสารต่อไปนี้

(จากหนังสือ แบบเรียนเร็ว ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๒ : เล่ม ๑ หน้า ๗๑)

การนำไม้ไต่คู้กลับมาสู่ตำแหน่งเดิมอาจจะให้ทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือ ทำให้การอ่านง่ายขึ้น เพราะสามารถระบุได้ชัดเจนว่า สระที่เปลี่ยนรูปไปนั้นมาจากสระสั้นหรือสระยาว เช่น

เก่ง อ่านเสียงสั้น เพราะมาจาก เกะ + ง เปลี่ยนรูปสระอะ เป็นไม้ไต่คู้ แล้วใช้ร่วมกับไม้เอก

เก้ง อ่านเสียงยาว เพราะมาจาก เก + ง แล้วใช้รูปไม้โทอย่างเดียว

ในปัจจุบันนี้ที่เราอ่านได้ว่าตัวหนึ่งสั้นตัวหนึ่งยาวก็เพราะความเคยชิน แต่รูปการเขียนมิได้ช่วยอะไรเลย

ข้อเสียคือ จะต้องมีการปรับปรุงรูปการเขียนภาษาไทยเสียใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้ภาษาสับสน นอกจากนี้ ยังต้องปรับปรุงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถแสดงตำแหน่งได้ เพราะในปัจจุบันนี้ทำอย่างไรก็ไม่สามารถจะพิมพ์ไม้ไต่คู้ร่วมกับรูปวรรณยุกต์อื่นหรือสระบน (สระอิ สระอี สระอึ สระอือ) ได้ นอกจากจะใช้วิธีแทรก (insert) สัญลักษณ์ (symbol) ซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งผ่านทางอีเมล์ได้

ใครมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร เชิญได้เลยจ้ะ



ถ้าไม่ให้งง แร่ด  และ แซ่บ ต้องเขียนตามคำแนะนำข้างบนดังนี้




ไม่อาจจะรับแซ่บได้ เพราะยังสงสัย
แรด - แร็ด   คำแรกเป็นเสียงโท คำที่สองเป็นเสียงตรี  ไม้ไต่คู้มาเปลี่ยนเสียงคำเสียแล้ว  จนเมื่อเติมไม้เอกเข้าไป จึงถูกกำหนดให้เป็นเสียงเอก
ถ้างั้นจะให้เขียนว่าอะไรดี



แรด - แร็ด   คำแรกเป็นเสียงโท คำที่สองเป็นเสียงตรี  ไม้ไต่คู้มาเปลี่ยนเสียงคำเสียแล้ว  จนเมื่อเติมไม้เอกเข้าไป จึงถูกกำหนดให้เป็นเสียงเอก

เสียงวรรณยุกต์เป็นดังนี้

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว (สระแอ)   แหรด (เอก)  แรด (โท)    แร้ด (ตรี)       

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น  (สระแอะ)  แหร็ด (เอก)   แร่ด (โท)   แร็ด (ตรี)

เติมไม้เอกเข้าไป ก็ยังเป็นเสียงโทอยู่นั่นเอง


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 12:22

ดังนั้น

๑  ถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่า แวบ

ไม่ถูก เพราะแว่บเป็นเสียงสั้น (สระแอะ) ส่วนแวบเป็นเสียงยาว (สระแอ)

๒ 
อ้างถึง
แว่บ เป็นคำตาย เสียงสั้น (สระแอะ ลดรูป) ผันด้วยวรรณยุกต์เอก ต้องออกเสียงโทครับ
    ผิดค่ะ   คำตาย เสียงสั้น ไม่ใช้วรรณยุกต์เอก

ข้อความที่คุณมิอุอ้างมานั้น ถูกต้องแล้ว แต่ควรระบุเพิ่มเติมว่าเป็นในกรณีอักษรต่ำ

     ในที่นี้ควรอธิบายว่า  อักษรต่ำคำตาย (สะกดด้วยแม่ กก กด กบ) ออกเสียงเป็นโทในตัว  ไม่ต้องผันด้วยไม้เอก    เช่น แซก ไม่ใช่ แซ่ก   แลก ไม่ใช่แล่ก

อักษรต่ำ คำตาย เสียงยาว ไม่มีรูปวรรณยุกต์ (แซก, แลก) จะเป็นเสียงโท   ส่วนอักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น ใส่ไม้เอก (แซ่ก, แล่ก) จึงจะเป็นเสียงโท

หากดูตารางประกอบแล้วจะเข้าใจดีขึ้น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 12:41

แล้วถ้าจะออกเสียงคำว่า แว่บ  ต้องเขียนว่าอะไรคะ
ในเมื่อคำนี้ไม่มีในพจนานุกรม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 ก.ค. 12, 14:00

"ง่อกแง่ก" และ "แน่บ" ออกเสียงต่างกับ "งอกแงก" และ "แนบ" ฉันใด

"แว่บ" ก็ออกเสียงต่างกับ "แวบ" ฉันนั้น

สองคำข้างบนมีอยู่ในพจนานุกรม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
MrMiu
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 02:27

อ่านแล้วเครียดจริงอะไรจริงค่ะ

ดิฉันเองก็มีตารางผันนั้น แต่ทว่าก็ทำให้สับสนมิใช่น้อย


ยิ่งตอนนี้กุมขมับแล้วค่ะ  ร้องไห้

ขอตัวไปเครียดก่อนจะมีข้อสงสัยใหม่ค่ะ ไม่ไหวแล้ว  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 03:59

ดิฉันก็เครียดเหมือนกันค่ะ   ยิ้มเท่ห์
เห็นจะมีแต่คุณเพ็ญชมพูเท่านั้นที่ไม่เครียด  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

เอาไว้คุณหายเครียดแล้วค่อยมาคุยกันต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 ก.ค. 12, 08:54

เรียนคุณมิอุ

ทำใจให้สบาย หายใจยาว ๆ เดี๋ยวก็หายเครียด  แต่อย่าถึงกับ คลั่ง เลยหนา

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ก.ค. 12, 10:11

กลับมาอีกครั้ง หวังว่าทั้งสองท่านคงหายเครียดแล้ว

ขออนุญาตขยายความข้างล่าง  หวังว่าคงไม่เพิ่มความเครียดขึ้น  ยิ้มเท่ห์

สะกดก็แบบโบราณที่คุณเพ็ญชมพูมาเห็นคงอยากจะแก้ให้ถูกต้องตามรอยอินเสียทุกบรรทัด   
ความจริงมีอยู่ว่าเอกสารนี้เขียนขึ้นก่อนราชบัณฑิตยสถานจะถือกำเนิดมา  เลยไม่มีใครบอกได้ว่าสะกดแบบไหนถึงจะถูก

คงไม่ถึงกับอย่างนั้นหรอก

ถึงแม้ปัจจุบันนี้ก็เถอะ มีหลายคำที่ยังไม่เห็นด้วยกับท่านรอยอิน

ดังที่ยกตัวอย่างคำที่ใช้อักษรต่ำ คำตาย เสียงสั้น ใช้วรรณยุกต์เอก มาสองคำ คือ "ง่อกแง่ก" และ "แน่บ" ซึ่งมีในพจนานุกรม

ยังมีอีกหลายคำทีมีลักษณะเดียวกัน แต่ท่านรอยอินไม่อนุญาตให้ใช้วรรณยุกต์เอก

รูปแบบ "ง่อกแง่ก"  -  ซอกแซก, ลอกแลก, วอกแวก

รูปแบบ   "แน่บ"    -   แซ่บ, แร่ด, แว่บ

คำเหล่านี้ท่านออกเสียงสั้นหรือยาว

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
zeffier
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 18:32

ขอรบกวนในกระทู้นี้ด้วยแล้วกันครับ พอดีไปเจอในหนังสือการ์ตูนมีคนใช้คำว่า ราชิอาณาจักร
โดยให้ความหมายไว้ว่ามาจาก ราชินีผสมกับคำว่าอาณาจักร (Queendom)

ไม่ทราบว่าใช้คำนี้ได้ด้วยหรือครับตามความหมายจริงๆครับ ขอบคุณครับ

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 20:31

ประเทศอังกฤษ มีกษัตริย์เป็นสตรีมาหลายยุคหลายสมัย ก็ยังใช้คำว่า United Kingdom มาตลอด ไม่เคยใช้ชื่อว่า United Queendom

ทั้งคนเขียนและคนแปลการ์ตูนเขาคงบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเองหรอกครับ ... ผมว่าอย่างนั้นนะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 21:36

queendom แปลได้ ๒ อย่างคือตำแหน่งราชินีและอาณาจักรของราชินี  

เทียบกับ kingdom ใช้ว่า ราชอาณาจักร ซึ่งเป็นคำสมาส  ดังนั้น queendom ควรใช้ว่า ราชินีอาณาจักร หรือ ราชญีอาณาจักร  ส่วน ราชิอาณาจักร คงไม่มีความหมายตามที่ต้องการ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 22:03

ราชินี + อาณาจักร
ตามหลักการสนธิ  สระ อี  เมื่อสนธิกับคำหลัง  เปลี่ยนได้ 2 แบบคือลดรูปสระในคำท้ายสุด กับเปลี่ยนเป็น ย
เช่น
ราชินี + อุปถัมภ์= ราชินูปถัมภ์
สามัคคี + อาจารย์ = สามัคยาจารย์

ราชินี + อาณาจักร  = ราชินาณาจักร  หรือ ราชิยาณาจักร  
แต่ฟังคำไหนมันก็อ่านยากจำยากอยู่ดี   แถมประดักประเดิด ทำไมเขาไม่เรียกอาณาจักรราชินีเสียให้หมดเรื่องหมดราวไปล่ะคะ
บันทึกการเข้า
zeffier
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 00:13

ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอธิบายให้เข้าใจครับผม ผมยอมรับว่าคุ้นแต่กับคำว่าราชอาณาจักรจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง