ลุงไก่
|
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) ได้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขึ้น ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๗) มีจำนวนทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 495 กม. เป็นโครงข่ายสายหลัก 8 เส้นทาง และโครงข่ายสายรอง 4 เส้นทาง โครงข่ายสายหลักประกอบด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train, CT) จำนวน 2 เส้นทาง ร่วมกับระบบรถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ตลิงก์ 1 เส้นทาง รวมระยะทาง 176 กม. และโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit, MRT) จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทาง 217 กม. และโครงข่ายสายรองที่เป็นระบบขนส่งมวลชนรอง จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทาง 102 กม. http://www.otp.go.th/th/Bkk_mrt/progress.php
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 18:18
|
|
ระบบขนส่งมวลชนทางรางนี้ มีทั้งระบบเหนือดิน ได้แก่ระบบรถไฟฟ้า BTS ระบบรถไฟฟ้า Airport Links และระบบระไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดิน ได้แก่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน MRT
ในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแบบเหนือดินที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ในส่วนความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางบัวทอง-บางซื่อ) ในส่วนความรับผิดชอบของ รฟม. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ในความรับผิดชอบของ รฟม. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และท่าพระ-บางแค) ในความรับผิดชอบของ รฟม.
ในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแบบใต้ดินที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-ท่าพระ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 18:27
|
|
ในเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดินสายสีน้ำเงินส่วนขยาย สายหัวลำโพง-ท่าพระ จะมีช่วงหนึ่งของเส้นทางที่จะผ่านพื้นที่ประัวัติศาสตร์และพื้นที่อนุรักษ์ คือถนนเจริญกรุง จากหัวลำโพงถึงถนนสนามไชย โดยการก่อสร้างเส้นทางจะอยู่ใต้ดินในแนวถนนเจริญกรุงทั้งหมด และจะเบนเส้นทางเข้าถนนสนามไชยที่ใกล้กับปากคลองตลาด ก่อนที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปสู่ฝั่งธนบุรี เข้าสู่สถานีที่สี่แยกท่าพระต่อไป
ในช่วงเส้นทางนี้จะมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรวม ๓ สถานี คือ ๑. สถานีัวัดมังกร ตั้งอยู่ระหว่างแยกถนนแปลงนามถึงซอยอิศรานุภาพ ๒. สถานีวังบูรพา ตั้งอยู่ระหว่างสี่แยกสามยอดถึงสี่แยกอุณากรรณ และ ๓. สถานีมหาไชย ตั้งอยู่ถนนมหาไชยข้างโรงเรียนวัดราชบพิธ
ลักษณะของสถานีจะเป็นสถานี ๔ ชั้นแบบชานชาลาซ้อนกัน (Stacked Platform) แบบเดียวกับสถานีสามย่าน สถานีลุมพินี สถานีสีลม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 18:44
|
|
ถนนเจริญกรุงมีประวัติความเป็นมากว่า ๑๖๐ ปี ย่อมจะมีอะไรๆ ให้ศึกษาและระลึกถึงมากมาย มีเวปอื่นๆ มากมายที่เสนอประวัติความเป็นมาและรายละเอียดอื่นๆ แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อการอนุรักษ์สิ่งเก่าๆ ที่ทรงคุณค่าก็นำเข้าใช้ประสมประสานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่ก็จำเป็นต้องสูญเสียสิ่งเก่าๆ ที่มีคุณค่าไปบ้างตามความจำเป็น และกระทบกระเทือนถึงประชาชนผู้พักอาศัยและประกอบการค้าข้างเส้นทางก่อสร้างด้วยอย่างแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 18:50
|
|
เทคโนโลยีการขุดเจาะอุโมงค์ด้วยเครื่องเจาะทันสมัยและวิธีการอันเหมาะสมกับสภาพดินของกรุงเทพฯ จะช่วยให้สิ่งก่อสร้างบนดินได้รับผลกระทบน้อยที่สุด หรืออาจจะไม่ทราบเลยว่าขณะนี้ ที่ใต้พื้นดินเขากำลังขุดเจาะอุโมงค์กัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 18:58
|
|
ลักษณะของชั้นดินจากการขุดเจาะสำรวจจากสถานีหัวลำโพงจนถึงสถานีท่าพระในแนวเส้นทางก่อสร้าง ประมาณได้ดังภาพ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 19:06
|
|
ด้วยหัวเจาะระบบ EPB (Earth Balance Pressure) ที่ได้รับการยอมรับว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับลักษณะของชั้นดินเหนียว ชั้นดินปนทราย และชั้นทราย ในกรุงเทพมหานคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 20:13
|
|
หัวลำโพง ... จุดเริ่มต้นของการก่อสร้าง
ประวัติศาสตร์ของแห่งนี้มีมากมาย มีแพร่หลายอยู่แล้วในเวปต่างๆ จึงไม่ขอกล่าวถึงอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 01 ก.ค. 12, 21:17
|
|
ได้ข่าวว่า ตลอดถนนเยาวราชจะไม่มีสถานีเลย เพราะเดิมจะสร้างแถววัดเล่งเน่งยี่ ถูกเจ้าถิ่นต่อต้าน เลยไม่ทราบจะเอาไปไว้ที่ไหน
จริงหรือมั่วนิ่มครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 02 ก.ค. 12, 05:45
|
|
เส้นทางก่อสร้างจะอยู่ในแนวถนนเจริญกรุงตลอดสายครับ มิได้ล่วงล้ำเข้าถนนเยาวราชแม้แต่น้อย ในช่วงนี้จะมีสถานีวัดมังกรเพียงสถานีเดียว ก่อสร้างอยู่ระหว่างปากซอยอิศรานุภาพจนถึงหน้าโรงพยาบาลกว่องสิว มีแยกแปลงนามอยู่เหนือสถานีครับ ตัวสถานีส่นเหนือดินจะอยู่นอกแนวถนนครับ ตามผังที่แสดง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 02 ก.ค. 12, 05:47
|
|
สถานีัวังบูรพา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 02 ก.ค. 12, 05:51
|
|
และสถานีสนามไชย ก่อนที่แนวอุโมงค์รถไฟฟ้าจะมุดลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งธนบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 02 ก.ค. 12, 05:57
|
|
ก่อนที่จะเข้าสถานีสนามไชย แนวอุโมงค์จะลอดใต้อาคารกรมการรักษาดินแดนเดิม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร? เรียกไม่ถูก เป็นพื้นที่เดียวที่ล่วงล้ำออกนอกแนวถนนหลวง (กรุงเทพมหานคร) เข้าที่หลวง (กระทรวงกลาโหม)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 05 ก.ค. 12, 16:37
|
|
สถานีวังบูรพา จัดภาพเปรียบเทียบมาให้เพื่อเป็นภาพประวัติศาสตร์ต่อไป
ภาพซ้ายมือถ่ายโดยลุงไก่ จากอาคารสูงลงมายังอาคารเก่าซ้ายมือถนนมหาไชย ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งห้องแถวเก่า และโรงหวยด้านหลัง ซึ่งอนาคตจะเป็นสถานีรถไฟฟ้าวังบูรพา
ส่วนภาพขวาเป็นภาพอาคารก่อนรื้อถอนครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 05 ก.ค. 12, 21:21
|
|
ไม่ใช่นะครับคุณหนุ่ม ตึกที่ผมขึ้นไปถ่ายภาพบนดาดฟ้าคือตึกขาว ๔ ชั้นที่อยู่ถัดจากตึกเก่าไปต่างหาก
ส่วนตึก ๒ ชั้นเดิมในภาพ คือตรงสี่แยกอุณากรรณ สภาพปัจจุบันมีการต่อเติมขึ้นเป็นอาคาร ๔ ชั้น ซึ่งจะต้องถูกรื้อถอนออกเช่นกัน ขอบคุณกับภาพที่แสดงสภาพเดิมๆ มาให้ได้รับชม
มาดูส่วนนี้กันก่อน เป็นส่วนผนังกำแพงคอนกรีต (Diaphragm Wall) ที่หัวเจาะจะเริ่มต้นขุดผ่านในกรอบวงกลมที่เตรียมเอาไว้ เราเรียกว่า "ส่วนตาอ่อน (Soft Eye Area)" หรือจะเรียกว่า "พื้นที่ตาหวาน" ก็น่าจะได้เช่นกัน
อยู่ที่จุดตั้งต้นที่หลุมกลางถนนหน้าสถานีหัวลำโพงนั่นแหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|