เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 48370 จากหัวลำโพงสู่สนามชัย
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 17 ส.ค. 12, 12:29

ดังเช่นที่คุณ POJA กล่าวถึงครับ ที่ดินที่เวนคืนเกือบทั้งหมดอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเจ้าของอาคารใช้สิทธิเช่าที่ดินเท่านั้น ที่เหลือประมาณ 5% คือที่ดินส่วนของมูลนิธิจุมพฏ บริพัตร ซึ่งเป็นการเช่าที่ดินเช่นกันรวมกับที่ดินของเอกชนบางราย

แต่ทั้งนี้ทาง รฟม ก็ต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน ค่าชดเชยอาคารให้แก่ผู้ครอบครองอาคารตามมูลค่าปัจจุบันให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ และมูลนิธิฯ และเจ้าของอาคารเช่นกัน

ยกเว้นในพื้นที่ใต้ถนนในส่วนความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นแนวโครงสร้างของอุโมงค์รถไฟฟ้าที่ไม่ต้องจ่ายค่าเวนคืน

สำหรับสะพานเจริญสวัสดิ์ที่หัวลำโพงทีรื้อถอนออกเพราะต้องใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างในขณะนี้ ก็จะต้องสร้างกลับคืนให้กับ กทม ในรูปแบบเดิม







บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 21:52

งานขุดสำรวจเพื่อรื้อถอนฐานรากประตูสามยอดเริ่มขึ้นแล้ว ..



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 21:57

สังเกตลักษณะโครงสร้างของฐานรากประตู ... ทำให้รู้ว่าการก่อสร้างผิวการจราจรของถนนเจริญกรุง สร้างทับไปบนฐานรากโดยตรง โดยที่ไม่ได้ขุดทำลายทิ้งแต่อย่างใด

ขออนุโมทนาต่อกรุงเทพมหานครที่ทำให้เรายังเห็นร่องรอยของอดีตเมื่อกว่าร้อยห้าสิบปีมาแล้ว ...

แต่ก็คาดว่ามีส่วนที่ถูกทำลายไปแล้วด้วยจากการขุดเพื่อวางท่อน้ำประปา ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ท่อร้อยสายโทรศัพท์ใต้ดิน แต่คงไม่มากนัก (ขอให้เป็นอย่งที่คิดเถอะ)





บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 08:08

เห็นภาพการขุดเจาะฐานรากประตูสามยอดที่ "ลุงไก่" กรุณานำมาให้ชมแล้ว  ก็เกิดคำถามตามมาว่า ในการขุดรื้อ,านรากนี้มีนักโบราณคดี่ร่วมขุดเจาะและบันทึกข้อมูลเก็บไว้หรือไม่?
เพราะโอกาสที่จะบันทึกความรู้เช่นนี้คงจะหาไม่ได้อีกแล้ว  อีกทั้งยังจะเป็นรากฐานอ้างอิงสำหรับการขุดค้นประตูเมืองโบราณของไทยต่อไปอีกหลายแห่ง  อย่างเช่นประตูเมืองเชียงใหม่
ที่มีทั้งบันทึกและแผนที่ระบุว่าเป็นประตูเมืองสองชั้น  แต่เมื่อกรมศิลปากรไปขุดค้นกลับถูกต่อต้านว่าจะเป็นการฝังรูปฝังรอยทำร้ายคนอยู่ต่างแดนไปโน่น  จึงใคร่ขอเรียนเสนอว่าถ้าเป็นไปได้
น่าจะมีการเผยแพร่ข่าวขุดค้นฐานรากประตูสามยอดนี้ผ่านสื่อต่างๆ ให้กว้างขวาง  เพื่อให้ได้รับรู้ถึงคุณค่าการศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์แทนที่จะหลงงมงายเชื่อถือโชคลางโดยไม่มีเหตุผล
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 09:23

ตอนปี 2539 ผมสร้างบ้านตึก แม่ผมเอาแผ่นทองเงินนาค สามแผ่นมาฝังที่พื้นบ้าน

ประตูเมืองโบราณต้องมีการวางคาถาอาคมไว้      น่าจะมีเหลืออยู่ให้เห็นบ้าง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 ส.ค. 12, 19:22

เห็นภาพการขุดเจาะฐานรากประตูสามยอดที่ "ลุงไก่" กรุณานำมาให้ชมแล้ว  ก็เกิดคำถามตามมาว่า ในการขุดรื้อ,านรากนี้มีนักโบราณคดี่ร่วมขุดเจาะและบันทึกข้อมูลเก็บไว้หรือไม่?
เพราะโอกาสที่จะบันทึกความรู้เช่นนี้คงจะหาไม่ได้อีกแล้ว  อีกทั้งยังจะเป็นรากฐานอ้างอิงสำหรับการขุดค้นประตูเมืองโบราณของไทยต่อไปอีกหลายแห่ง  อย่างเช่นประตูเมืองเชียงใหม่
ที่มีทั้งบันทึกและแผนที่ระบุว่าเป็นประตูเมืองสองชั้น  แต่เมื่อกรมศิลปากรไปขุดค้นกลับถูกต่อต้านว่าจะเป็นการฝังรูปฝังรอยทำร้ายคนอยู่ต่างแดนไปโน่น  จึงใคร่ขอเรียนเสนอว่าถ้าเป็นไปได้
น่าจะมีการเผยแพร่ข่าวขุดค้นฐานรากประตูสามยอดนี้ผ่านสื่อต่างๆ ให้กว้างขวาง  เพื่อให้ได้รับรู้ถึงคุณค่าการศึกษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์แทนที่จะหลงงมงายเชื่อถือโชคลางโดยไม่มีเหตุผล

ก่อนหน้านี้ได้มีการสำรวจทางโบราณคดีเพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนในความควบคุมของกรมศิลปากรไปแล้วครับ

การขุดครั้งนี้เพื่อยกย้ายฐานรากประตูฯ ออกจากพื้นที่ก่อสร้างและนำส่งมอบให้กับกรมศิลปากรต่อไปครับ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:12

ประตูสามยอดอยู่ไกลๆ  ทิศทางน่าจะมองจากในเมือง
ถ้ามองจากเวิ้ง   สะพานจะบังเพราะมีมุมเอียงตรงแถวสะพาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 09:52

ตรงกลางภาพระหว่างตึกแถว จะมีสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายราวสะพาน ถ้าเป็นการมองออกไปทางนอกเมือง ช่องว่างระหว่างตึกน่าจะเป็นสี่แยกถนนตรีเพชรตัดถนนเจริญกรุง สังเกตจากรถรางที่กำลังเลี้ยวที่กลางสี่แยก





บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 13:36

จากหนังสือกรุงเทพเมื่อวานนี้ ของขุนวิจิตรฯ

อธิบายภาพของถนนเจริญกรุงไว้-----

--- เมื่อลงจากสะพานมอญ

ด้านขวามือ เป็นตึกแถวสองชั้น ตรงมุมเดิมใครเช่าไม่ทราบต่อมาเป็นโรงพิมพ์ศรีกรุง
ที่พิมพ์ ศรีกรุงรายเดือน และสยามราษฏร์ฉบับละ 3 สตางค์
ต่อจากนั้นเจ็ดแปดห้องเป็นร้านเสริมสวยร้านแรกในประเทศเป็นของสาวสวยชื่อ ประพี
แล้วสุดตึกแถวเป็นห้าง แอล.ยี.ริกัลตี (ต่อมาเปลี่ยนเป็นห้างเสนามาตยาภรณ์) ถึงแยกสี่กั๊กพระยาศรี

ข้ามถนนไปเป็นห้าง ย.ร.อันเดร ขายของเยอรมันและเพชรพลอย
แล้วเป็นตึกแถวยาวไปจนถึงถนนตรีเพชร(ที่ผ่าน รร.สวนกุหลาบฯ)
ช่วงประมาณกลางตึกแถวนี้มีตรอกชื่อ ตรอกพระยาวิสูตร์ ในตรอกมีบ้านหลายหลัง
หลังหนึ่งคือ พระวรเวทย์พิสิฐ (ซึ่งเป็นพ่อของ ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์)
ส่วนบ้านริมถนนของใครบ้างไม่รู้ มีห้องหนึ่งเป็นของหมอทาเคดาหมอหนุ่มชาวญี่ปุ่น
ต่อมาหมอย้ายออกไป  ห้องกลายเป็นร้านหนังสือกรุงเทพบรรณาคาร
สมัยสงครามโลกครั้งที่สองร้านนี้โดนระเบิดลง


ห้องจากตรอกพระยาวิสูตร์ไปห้องหนึ่งเป็นร้านบางกอกบรรรณกิจของนายแช เศรษฐบุตร

ข้ามถนนตรีเพชรไปหัวมุมเป็นตึกแถวธรรมดาสามสี่ห้อง (ทางด้านถนนตรีเพชรเหมือนกัน)
หมดตึกแถวทั้งสองด้านเป็นที่กว้างลึกเข้าไปเรียกว่าสนามนํ้าจืด(ต่อมาทำเป็นโรงหนังเจริญกรุง)
สมัยนั้นสนามนํ้าจืดเป็นเวิ้งกว้างมากมีทางออกทั้งถนนทหารบกทหารเรือ(หลังวังบูรพา) และออกถนนตรีเพชรอีกทาง
ในนั้นไม่เห็นมีสนามหญ้า มีแต่บ่อนํ้า มีการจัดการละเล่นต่างๆ ยิงเป้า โยนห่วง ลูกกลิ้ง
บางคราวมีม้าหมุน
มีออกร้านและการแสดงแปลกๆ มนิลาโชว์


ต่อจากทางเข้าสนามนํ้าจืดเป็นตึกแถวสี่ห้าห้องถึงมุมที่เป็นถนนทหารบกทหารเรือ(หลังวังบูรพา)
ข้ามถนนไปเป็นตึกแถวยาวจดถนนมหาไชยที่อยู่ริมกำแพงเมือง
ข้ามถนนมหาไชยตรงมุมเป็นห้าง บี กริม ที่อยู่เชิงสะพานเหล็ก

กลางตึกแถวช่วงนี้มีช่องเข้าไปเป็นโรงละครปราโมทัยของพระโสภณอักษรกิจ
ขุนวิจิตรบอกว่าท่านเดินไปดูหนังที่โรงหนังญี่ปุ่นเชิงสะพานเหล็กบ่อยแต่จำร้านแถวนี้ได้ไม่หมด
ริมทางเข้าโรงละครเป็นร้านสรรพานิชขายเหล้า
ต่อไปห้างปุสตาคารของนายกิมเจ็ง สุสังกรการ
ร้านขายแสตมป์ของนาย วีซี เทียน
ช่วงหลังมีห้างเซ่งซง ตัดรองเท้าของหลวงประดิษฐ์บาทุกา
ห้างจาตุรงค์อาภรณ์ขายเครืองแบบข้าราชการ-เสือป่า
สุดตึกที่มุมถนนมหาไชยเป็นห้างขายยาหมอเหล็ง

เอาทางด้านซ้ายของถนนเจริญกรุงบ้าง(พิมพ์ลำบากเอาแบบย่อๆ)
เริ่มที่ถนนตีทองทางซ้ายซึ่งตรงกับถนนตรีเพชรขางขวามือ
ร้านหัวมุมก่อนจะข้ามถนนตีทองเป็นร้านโรเบิร์ต เลนซ์ ต่อมากลายเป็นห้องฉายานรสิงห์
ข้ามถนนไปเป็นห้องแถวสองชั้นยาวถึงถนนอุณากรรณ (ตรงกับถนนทหารบกทหารเรือ)
เข้าใจว่าเนื้อที่เป็นเขตวังกรมพระยาเทวะวงศ์ ทัังหมด
ตัววังอยู่เลยมาทางสะพานถ่าน เป็นวังใหญ่  
รื้อลงสมัย ร6 ทำเป็นตลาดบำเพ็ญบุญ
เป็นตลาดสมัยใหม่ในยุคนั้น เป็นตึกสูง  
ชั้นบนมีระบำนายหรั่งหัวแดงที่โด่งดัง

ข้ามฟากถนนที่เป็นแยกอุณากรรณ-บูรพา
เป็นตึกแถวยาวถึงถนนมหาไชย
กึ่งกลางตึกแถวมีตรอกใหญ่เหมือนถนน
ลึกไปราวสี่ห้าวาเป็นโรงหนังปริ้นเที่ยเตอร์ หันหน้าไปทางถนนมหาไชย
จากหน้าโรงหนังมีตรอกตรงไปออกถนนมหาไชย(คิดว่า   โรงหนังหน้าหน้าไปตามถนนนี้)
ในตรอกนี้มีห้องแถวยาวตลอดทั้งสองด้านเป็นบ่อนบ้างที่อยู่บ้าง

ต่อจากตรอกโรงหนังปริ้นซ์ฯ ริมถนนเจริญกรุง
เป็นตึกแถวสองชั้นเหมือนอีกฟาก ยาวเกือบสิบห้อง
เคยมีร้านรองเท้าชื่อ ฟุงหลี  ที่มีชื่อดังเหมือนร้านเซ่งซง ที่อยู่ตรงข้าม(ตอนนี้ขุนวิจิตรจำชื่อร้านสับกันหรือไม่?)



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:43

อ้างจากข้อความในความเห็นที่ ๖๘

 เมื่อลงจากสะพานมอญ

ด้านขวามือ เป็นตึกแถวสองชั้น ตรงมุมเดิมใครเช่าไม่ทราบต่อมาเป็นโรงพิมพ์ศรีกรุง
ที่พิมพ์ ศรีกรุงรายเดือน และสยามราษฏร์ฉบับละ 3 สตางค์
ต่อจากนั้นเจ็ดแปดห้องเป็นร้านเสริมสวยร้านแรกในประเทศเป็นของสาวสวยชื่อ ประพี



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:45

อ้างจากข้อความในความเห็นที่ ๖๘

ต่อจากทางเข้าสนามนํ้าจืดเป็นตึกแถวสี่ห้าห้องถึงมุมที่เป็นถนนทหารบกทหารเรือ(หลังวังบูรพา)

(ห้องตรงกลางตึก คือร้านกาแฟ ออน ล๊อก หยุ่น ... ยังหาโอกาสไปนั่งทานกาแฟโบราณไม่ได้เลย สองห้องสุดท้ายเป็นร้านขายยา

ร้านปืนเพ็ญจันทร์ เมื่อก่อนเป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ชื่อร้านมิตรโภชนา ปัจจุบันร้านนี้ไปอยู่ที่ท่าพระจันทร์ ตามคำบอกเล่าของลุงแว่น แห่งห้องไร้สังกัด พันทิป)




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:51

อ้างถึงข้อความในความเห็นที่ ๖๘

สุดตึกที่มุมถนนมหาไชยเป็นห้างขายยาหมอเหล็ง (อาคารศรีจันทร์)

ปัจจุบันคือร้านขายอะไหล่เครื่องอิเลคทรอนิคส์ ชื่อร้าน บริษัทจเรจำกัด




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 12:03

อ้างจากความเห็นที่ ๖๘

ส่วนบ้านริมถนนของใครบ้างไม่รู้ มีห้องหนึ่งเป็นของหมอทาเคดาหมอหนุ่มชาวญี่ปุ่น ต่อมาหมอย้ายออกไป  
ห้องกลายเป็นร้านหนังสือกรุงเทพบรรณาคาร สมัยสงครามโลกครั้งที่สองร้านนี้โดนระเบิดลง

ปัจจุบันคือร้านหนังสือ นิพนธ์



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 12:15

อ้างถึงความเห็นที่ ๖๘

ช่วงประมาณกลางตึกแถวนี้มีตรอกชื่อ ตรอกพระยาวิสูตร์ ในตรอกมีบ้านหลายหลัง
หลังหนึ่งคือ พระวรเวทย์พิสิฐ (ซึ่งเป็นพ่อของ ดร.วิทย์ ศิวะศริยานนท์)

ตรงนี้ท่านขุนวิจิตรฯ จำผิดครับ ตรอกที่ท่านอ้างถึงนี้คือตรอกภาณุมาศ(ซอยเจริญกรุง ๒) ส่วนตรอกพระยาวิสูตร์อยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนเจริญกรุง (ซอยเจริญกรุง ๑)

ชุมชนในซอยนี้ถูกลูกหลงจากระเบิดคราวเดียวกับที่สัมพันธมิตรมาทิ้งลงที่โรงไฟฟ้าวัดเลียบรวมไปถึงโรงเรียนเพาะช่างด้วย (ข้อมูลจากคุณพี่สมชัยครับ)




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง